สรุปผลการนิเทศงานเฉพาะกิจ งานข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข ระหว่างวันที่ 15 – 30 สิงหาคม 2560 (อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหงและอำเภออมก๋อย)
ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข ประเด็นปัญหาข้อมูลที่พบ ประเด็นปัญหา ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข 1. ข้อมูลประชากร (แฟ้มประชากร) พบความซ้ำซ้อนประชากรระหว่างหน่วยบริการ เนื่องจาก บางหน่วยบริการไม่ได้จัดทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน คนตายไม่ได้ถูกจำหน่ายในระบบฐานข้อมูลของหน่วยบริการ และบันทึกข้อมูลคนตายผิดพลาด เช่น ผิดคน ประชุมร่วมกันเพื่อตรวจสอบและจัดทำ ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ ที่ซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยบริการภายในอำเภอและปรับแก้ไขข้อมูลของแต่ละหน่วยบริการ งานข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ฯ สสจ.เชียงใหม่ จัดทำระบบอุทธรณ์ข้อมูลระหว่างหน่วยบริการข้ามสังกัดและข้ามอำเภอ ข้อมูลการตาย ให้ทุกหน่วยบริการตรวจสอบรายชื่อผู้ตายที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ ในระบบ eh และปรับปรุงแก้ไขในฐานข้อมูลของตนเอง กรณีที่พบว่ามีการบันทึกผู้ตายผิดคนโดยหน่วยบริการของตนหรือจากหน่วยบริการอื่น ให้ทำหนังสือลงนามโดยสาธารณสุขอำเภอแจ้งรหัสและชื่อหน่วยบริการที่รับผิดชอบหมายเลขบัตรประชาชน รายชื่อ ที่อยู่ ของผู้ตายที่ต้องการแก้ไข ส่งไปยังงานข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ฯ สสจ.เชียงใหม่ เพื่อแก้ไขในฐานข้อมูลกลางต่อไป
ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข ประเด็นปัญหา ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข 1. ข้อมูลประชากร (แฟ้มประชากร)- ต่อ บันทึกหมายเลขบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง ระบุเพศประชากรผิด เช่น เพศชายระบุเป็นเพศหญิง ทำให้เพิ่มเป้าหมายการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม บันทึกข้อมูลประชากรต่างด้าว เป็นสัญชาติไทย - การบันทึกหมายเลขบัตรประชาชน กรณีเด็กเกิดใหม่ ควรมีการปรับกระบวนการในการบันทึกและติดตามหมายเลขบัตรประชาชนที่แท้จริงนำมาบันทึกแก้ไขในระบบ กรณีที่ผู้รับบริการไม่ทราบเลขบัตรประชาชน ให้กำหนด typearea เป็นรหัส 4 พร้อมทั้งติดตามหมายเลขบัตรประชาชนที่แท้จริงนำมาบันทึกแก้ไขในระบบและกำหนด typearea ตามความเป็นจริง - ให้ทำการตรวจสอบในระบบ eh และปรับปรุงแก้ไขในฐานข้อมูลของตนเอง
ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข ประเด็นปัญหา ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข 2. ข้อมูลอนามัยแม่และเด็ก ไม่ได้บันทึกความครอบคลุมข้อมูลฝากครรภ์คนใน พื้นที่รับผิดชอบที่ไปฝากครรภ์กับสถานบริการอื่นๆ บันทึกจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ ในการฝากครรภ์ที่ เป็นครรภ์เดียวกันไม่ตรงกัน ทั้งในสถานบริการ เดียวกันและต่างสถานบริการ บันทึกจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ ในแฟ้มดูแลก่อน คลอด(ANC)และแฟ้มคลอด (Labour) ไม่ตรงกัน ทั้ง ในสถานบริการเดียวกันและต่างสถานบริการ บันทึกข้อมูลอายุครรภ์ผิดพลาด ไม่ได้บันทึกประจำเดือนครั้งสุดท้าย ทำให้ระบบ คำนวณกำหนดวันคลอดและอายุครรภ์ผิดพลาด หรือ ไม่จำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดแล้ว ด้วยการคลอด ทำให้เมื่อตั้งครรภ์ครั้งใหม่ถูกนับอายุครรภ์ต่อเนื่อง จากครรภ์ครั้งก่อน เช่น อายุครรภ์ 200 สัปดาห์ ข้อมูลการดูแลหลังคลอดไม่ถูกส่งออก เนื่องจาก ไม่ได้บันทึกข้อมูลการคลอดตั้งแต่แรก หรือ ไม่ได้ เลือกหัวข้อที่ถูกต้องในการส่งออกข้อมูล ข้อมูลแม่และลูก ไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ เนื่องจาก บันทึกข้อมูลแม่ไม่ได้บันทึกข้อมูลลูก หรือไม่ได้ บันทึกข้อมูลเลขบัตรประชาชนจริงของลูกในระบบ ให้มีการส่งต่อข้อมูลอนามัยแม่และเด็ก เช่น การฝากครรภ์ การคลอด และเด็ก ระหว่างหน่วยบริการในอำเภอหรือเครือข่ายเดียวกัน
ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข ประเด็นปัญหา ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข 3. ข้อมูลพัฒนาการเด็ก - ตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กไม่ตรงกับ ช่วงเวลาที่กำหนด บันทึกรหัสไม่ครบตามเงื่อนไขที่กำหนด 4.ข้อมูลบริการวัคซีน - บันทึกข้อมูลให้บริการวัคซีนเด็กก่อนคลอด บันทึกข้อมูลความครอบคลุมโดยวันที่รับบริการวัคซีนเป็นวันที่บันทึกข้อมูล รหัสวัคซีนไม่ตรงกับมาตรฐานกลาง 5.ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง - บันทึกข้อมูลผลการตรวจ HbA1c ของผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ถูกต้อง - บันทึกข้อมูลผลการตรวจ microalbumin/macroalbumin ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันไม่ถูกต้อง บันทึกค่าความดันไม่ถูกต้อง 6. ข้อมูลค่าใช้จ่ายของการบริการ - ไม่ได้บันทึกข้อมูลต้นทุนค่าบริการ - ให้หน่วยบริการตรวจสอบรายชื่อเด็กและช่วงเวลาในการคัดกรองพัฒนาการเด็กในระบบ HDC - ให้ทำการตรวจสอบในระบบ eh และปรับปรุงแก้ไขในฐานข้อมูลของตนเอง
ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข ประเด็นปัญหา ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข 7. ข้อมูลการให้บริการ บันทึกรหัสการวินิจฉัยโรค/รหัสหัตถการไม่ถูกต้อง 8. ข้อมูลการส่งต่อ (Refer) - บันทึกข้อมูลสาเหตุการส่งต่อแต่ไม่สามารถส่งออกข้อมูลได้ - จัดอบรมการให้รหัสโรค/รหัสหัตถการ - ให้งานข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข ตรวจสอบและหาแนวทางแก้ไข