รูปแบบและขั้นตอนการเขียนเอกสารประกอบการสอน โดย รองศาสตราจารย์สนิท สัตโยภาส มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ประเด็นสนทนา คำนิยามและรูปแบบของเอกสารประกอบการสอน ขั้นตอนการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน การเขียนขยายเค้าโครงเอกสารแต่ละบทให้มีเนื้อหาสมบูรณ์
คำนิยาม เอกสารประกอบการสอน คือ ผลงานทางวิชาการ ที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีสอนอย่างเป็นระบบ จัดเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้สอนในการใช้ประกอบการสอน (เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ., 2550)
รูปแบบ เป็นเอกสารหรือสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในวิชาที่ตนสอน ประกอบด้วยแผนการสอน หัวข้อบรรยาย (มีรายละเอียดประกอบพอสมควร) และอาจมีสิ่งต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกก็ได้... (เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ., 2550)
องค์ประกอบของเอกสารประกอบการสอน ส่วนที่ 1 องค์ประกอบส่วนหน้า ประกอบด้วย 1.1 ปกนอก ปกใน 1.2 คำนิยม (ถ้ามี) 1.3 คำนำ 1.4 สารบัญ 1.5 สารบัญภาพ (ถ้ามี) 1.6 สารบัญตาราง (ถ้ามี)
องค์ประกอบของเอกสารประกอบการสอน 1.7 แผนการบริหารการสอนประจำวิชา 1.7.1. ชื่อรายวิชา รหัสวิชา หน่วยกิต/ชั่วโมง และรวมเวลาเรียน 1.7.2. คำอธิบายรายวิชา 1.7.3. วัตถุประสงค์ทั่วไป 1.7.4. เนื้อหาและเวลาที่ใช้สอน (แบ่งเป็นบท/หน่วย) 1.7.5. แผนการสอนตลอดรายวิชา 1.7.6. วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1.7.7. งานที่มอบหมายประจำวิชา 1.7.8. สื่อการเรียนการสอน 1.7.9. การวัดผลและประเมินผล
องค์ประกอบของเอกสารประกอบการสอน ส่วนที่ 2 แผนการบริหารการสอนประจำบท (หน่วย) 2.1. หัวข้อเนื้อหา 2.2. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 2.3. วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน (โดยสรุป) 2.4. สื่อการเรียนการสอน 2.5. การวัดผล (โดยสรุป)
ตัวอย่าง การเขียนวิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. ศึกษาเอกสารประกอบการสอน แล้วร่วมอภิปรายตามหัวข้อ ที่ครูกำหนดให้ 2. ร่วมอภิปรายเพื่อระดมสมองเกี่ยวกับเรื่องราวที่ต้องการศึกษา 3. แบ่งกลุ่มทำงานตามบัตรงานที่ครูแจกให้ 4. ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ตามหัวข้อที่ครูกำหนดให้จากห้องสมุด และแหล่งความรู้อื่นๆ 5. แบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อผลัดเปลี่ยนกันเข้าเรียน “ ศูนย์การเรียน ”
6. ชมการสาธิตการสอนของผู้สอน และจากวีดิทัศน์แล้วร่วมกันอภิปราย เพื่อให้ได้ความรู้และแนวคิดอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ 7. ผลัดกันถาม – ตอบระหว่างผู้สอนกับนักศึกษาและนักศึกษากับนักศึกษาเองในหัวข้อที่กำลังศึกษา 8. นักศึกษาฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสอนภาษาไทยเรื่องต่างๆ เช่น ฝึกจัดกิจกรรมเสริมทักษะภาษา ฝึกออกข้อทดสอบ ฝึกเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ฝึกทำโครงสร้างวิชา ฝึกเขียนโครงงาน สอนซ่อมเสริม และฝึกทดลองสอน เป็นต้น
องค์ประกอบของเอกสารประกอบการสอน ส่วนที่ 3 เนื้อหาสาระ (จัดเป็นบท / หน่วย) 3.1. บทที่ และชื่อบท 3.2. ความนำ/เกริ่นนำ (5 - 10 บรรทัด) 3.3. เสนอเนื้อหาทีละประเด็น โดยเรียงประเด็นใหญ่ ประเด็นรองและประเด็นย่อย ตามลำดับ 3.4. บทสรุป/สรุป (10 - 20 บรรทัด) 3.5. คำถามท้ายบท/กิจกรรมประจำบท 3.6. เอกสารอ้างอิง
องค์ประกอบของเอกสารประกอบการสอน ส่วนที่ 4 องค์ประกอบส่วนหลัง ประกอบด้วย 4.1 บรรณานุกรม 4.2 ภาคผนวก (ถ้ามี) 4.3 ดัชนี (ถ้ามี) 4.4 อภิธานศัพท์ (ถ้ามี) 4.5 ประวัติผู้เขียน (ถ้ามี)
ขั้นตอนการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา ตัวอย่าง รายวิชา วิธีสอนภาษาไทย รหัส CI 4614 คำอธิบายรายวิชา ศึกษาหลักสูตรและเอกสารหลักสูตรภาษาไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์หลักสูตร หลักการจัดประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ ทักษะการผลิตและการใช้สื่อ อุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ การทดลองสอนในชั้นเรียน
กิจกรรม เนื้อหาหลัก 1. ศึกษา 1.1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน 1.1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน 1.2. เอกสารหลักสูตรภาษาไทยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1.3. หลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 1.4. การจัดการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ 1.5. การผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน
กิจกรรม เนื้อหาหลัก 2. วิเคราะห์ 3. ผลิต 4. ใช้ 2.1 หลักสูตร 3.1 สื่อการเรียนการสอน 4.1 สื่อการเรียนการสอน 4.2 อุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐาน ในการจัดการเรียนรู้ 4.3 ทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อการเรียนการสอน
กิจกรรม เนื้อหาหลัก 5. ทดลองสอน 5.1 การทดลองสอนในชั้นเรียน
ขั้นที่ 2 จัดหมวดหมู่และเรียงลำดับเนื้อหา 1 ขั้นที่ 2 จัดหมวดหมู่และเรียงลำดับเนื้อหา 1. หลักสูตรแกนกลางระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 2. เอกสารหลักสูตรภาษาไทยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3. หลักการจัดประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 4. สื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้
ขั้นที่ 3 ศึกษาค้นคว้าเนื้อหาสาระที่เป็นรายละเอียดของเนื้อหาหลัก ตำรา หนังสือ เอกสารประกอบการสอน เว็บไซต์ อื่น ๆ
ขั้นที่ 4 เขียนเค้าโครงเอกสารประกอบการสอน ขั้นที่ 4 เขียนเค้าโครงเอกสารประกอบการสอน บทที่ 1 หลักสูตรแกนกลางระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย บทที่ 2 เอกสารหลักสูตรภาษาไทยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน บทที่ 3 การสอนภาษาไทยแก่เด็กแรกเรียน บทที่ 4 หลักการจัดประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ บทที่ 5 การจัดการเรียนในศตวรรษที่ 21 บทที่ 6 กิจกรรมเสริมทักษะภาษาไทย บทที่ 7 สื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ทางภาษาไทย บทที่ 8 การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนภาษาไทย บทที่ 9 การวางแผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ขั้นที่ 5 เขียนขยายเค้าโครงของแต่ละบท ขั้นที่ 5 เขียนขยายเค้าโครงของแต่ละบท บทที่ 9 การวางแผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภาษาไทย การวิเคราะห์หลักสูตรสู่การออกแบบการเรียนรู้ เหตุผลและส่วนดีที่ครูทำแผนการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบและวิธีเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมประจำบทที่ 9 เอกสารอ้างอิง
ขั้นที่ 6 เขียนขยายเค้าโครงของแต่ละบทให้มีเนื้อหาสมบูรณ์ ขั้นที่ 7 เขียนองค์ประกอบส่วนหน้าและส่วนหลัง และจัดพิมพ์ เป็นเล่มสมบูรณ์ ขั้นที่ 8 ทดลองใช้ (Try – out) ขั้นที่ 9 ปรับปรุง จัดพิมพ์ ใช้สอน เผยแพร่