การจัดการความรู้ (Knowledge management) สำนักงานชลประทานที่ 8 จังหวัดนครราชสีมา
การจัดการความรู้ คืออะไร? คือ การรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ในส่วนงาน ซึ่งกระจัดกระจายที่มีอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้สามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองได้
ทำ KM ได้อะไร ? ทำให้ส่วนงานได้ทบทวนความรู้ของตน เพื่อการปฏิบัติงาน ได้ค้นหานำความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนงาน ให้บุคลากรในองค์กรมีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ เพิ่มศักยภาพในการตัดสินใจ เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน เพื่อให้ประสบผลสำเร็จได้รวดเร็ว ทำให้เกิดนวัตกรรมด้านกระบวนการทำงานและผลงาน ส่วนงานได้พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ จากการถ่ายทอดความรู้ให้อยู่กับส่วนงานได้ตลอดไป
ขั้นตอนกระบวนการจัดการความรู้ เริ่ม แต่งตั้งคณะทำงาน KM ของส่วนงาน รายงานผล/ปัญหา/อุปสรรค ทบทวนความรู้ที่จำเป็นของส่วนงาน ปรับปรุง พิจารณากำหนดประเด็นความรู้ที่ตรงกับความต้องการของส่วนงาน เรียนรู้ทำให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน แบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ จัดทำแผนจัดการความรู้ (KM)ของส่วนงาน ทำความรู้ให้เข้าถึงได้ง่าย สร้างและแสวงหาความรู้ตามแผนจัดการความรู้(KM)ของส่วนงาน ประมวลและกลั่นกรองความรู้ จัดความรู้ที่ได้ให้เป็นระบบ
Km Team Rid 8 มีใครและทำหน้าที่ อะไร? คุณเอื้อ (CKO ) คุณอำนวย (Facilitator) คุณลิขิต คุณวิศาสตร์ คุณประสาน คุณประสาน คุณประสาน คุณประสาน คุณประสาน คุณกิจ (Knowledge Workers)
การจัดทำ KM จำเป็นต้องมีคณะทำงาน มีการแบ่งบทบาทการทำงาน เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง ดังนี้ คุณเอื้อ (CKO) คือ ผู้บริหารที่ทำให้เกิดผลงาน KM คุณอำนวย คือ ผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ โดยเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติกับผู้บริหาร รวมถึงเชื่อมโยงระหว่างภายในองค์กรและภายนอกองค์กร คุณกิจ คือ ผู้ปฏิบัติงานตัวจริงของการจัดการความรู้ คุณลิขิต คือ ผู้ทำหน้าที่บันทึกความรู้ในระหว่างการประชุมกลุ่ม โดยจับประเด็นและบันทึกความรู้ คุณประสาน คือ ผู้ที่คอยประสานเชื่อมโยงเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างส่วนงาน คุณวิศาสตร์ คือ นัก IT ที่เข้ามาช่วยเป็นทีมงาน KM ว่าควรจะใช้ระบบ IT แบบไหนในการดำเนินการ KM และช่วยแก้ไขปัญหาด้านเทคนิคได้อย่างสะดวก
3.แหล่งผู้รู้ในองค์กร 4.ทบทวนหลังการปฏิบัติ การบันทึกแหล่งผู้รู้ในองค์กร ช่วยสร้างความเชื่อมโยงระหว่างคนที่ต้องการใช้ข้อมูลกับแหล่งข้อมูล เพื่อทำให้องค์กรรู้ว่ามีข้อมูลอยู่ที่ใด เมื่อทำงานเรื่องหนึ่งเสร็จแล้วก็มาทบทวนร่วมกัน ว่าทำเพื่ออะไร ทำแล้วได้ตามที่คาดหวังไหม ในระยะหลังมีการทบทวนก่อนปฏิบัติและขณะปฏิบัติ 4.ทบทวนหลังการปฏิบัติ
เครื่องมือจัดการความรู้ กลุ่มคนที่มีความสนใจตรงกัน ทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้และร่วมกันสร้างความรู้ใหม่ๆเพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกัน 1.ชุดนักปฏิบัติ การที่มีศูนย์กลางความรู้จากผู้เชียวชาญ ทำให้องค์กรสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เชียวชาญได้โดยตรง หากดำเนินการได้ดี ฐานองค์ความรู้นี้จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการองค์กร 2.ชุดฐานความรู้บทเรียนและความสำเร็จ
5.เพื่อนช่วยเพื่อน 6.การเสวนา หรือสุนทรียสนทนา การถ่ายทอดความรู้ จากผู้มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าไปยังผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อยกว่า 5.เพื่อนช่วยเพื่อน เป็นการพูดคุยเป็นระหว่างคนสองคนหรือเป็นกลุ่มโดยไม่มีหัวข้อหรือวาระล่วงหน้า พูดออกมาจากประสบการณ์โดยตรง หลังจากนั้นจึงจัดประชุมอภิปราย เพื่อหาผลหรือข้อยุติที่เกิดขึ้นต่อไป 6.การเสวนา หรือสุนทรียสนทนา
7.การใช้ที่ปรึกษา หรือพี่เลี้ยง 8.ฟอรัม ถาม-ตอบ 9.การเล่าเรื่อง การเชิญทีมอื่นมาแนะนำ แบ่งปันประสบการณ์ ให้เราได้นำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เว็บบอร์ด เป็นเว็บบอร์ดที่อยู่ในเว็บไซต์เพื่อเป็นตัวกลางในการใช้งานของผู้ใช้งาน ใช้สำหรับพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น 8.ฟอรัม ถาม-ตอบ 9.การเล่าเรื่อง การถอดความรู้ฝังลึกโดยให้ผู้ที่มีผลงานหรือวิธีการทำงานที่ดี มาเล่าให้คนอื่นๆฟัง คนเล่าจะต้องเล่าให้สนุก ร่าฟัง เร้าใจ ใช้ภาษาเชิงปฏิบัติจริง
10.การจัดมุมความรู้ การจัดมุมสาระความรู้ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงความรู้ได้หลายหลาก
Mapping โดย ภก.ประชาสรรณ์ แสนภักดี Download ได้จาก www.prachasan.com
CoP คืออะไร สร้างอย่างไร? CoP ย่อมาจาก Community of Practice ซึ่งหมายถึง ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่รวบรวมกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่ง Knowledge Assets:KA แล้วนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกแล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดบรรลุผล การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) โดยอาจจะเริ่มจากการพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้หรือประสบการณ์ในการทำงานของสมาชิก แล้วนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น เมื่อเกิดความรู้ใหม่ จึงทำการรวบรวมจัดทำเป็นฐานความรู้ที่จะสามารถนำไปเผยแพร่ให้เกิดการถ่ายทอดความรู้เป็นวงจรได้อย่างต่อเนื่อง
ความแตกต่างระหว่างงานสนับสนุนและ สายงานหลัก KM ของงานสนับสนุน มีขอบข่ายเฉพาะในเรื่องการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนงาน เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและเป็นช่องทางอำนวยความสะดวก สนับสนุน ให้กับสายงานหลักให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย KM ของสายงานหลัก ครอบคลุมพันธกิจ 4 ด้าน 1.พัฒนาแหล่งน้ำตามศักยภาพของลุ่มน้ำให้สมดุล 2.บริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง เป็นธรรม และยังยืน 3.เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำทุกระดับอย่างบูรณาการ 4.ดำเนินการป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ
Thank you