การวัดผลและประเมินผลพฤติกรรมของมนุษย์ นักจิตวิทยาแบ่งแยกลักษณะการวัดผลออกเป็น 3 ประเภท คือ การวัดผลและประเมินผลทาง ด้านพุทธิปัญญา (Cognitive Domain) ด้านความรู้สึกและค่านิยม (Affective Domain) และด้านทักษะ (Psychomotor Domain)
เครื่องมือในการวัดผลด้านพุทธิปัญญา การวัดผลด้านพุทธิปัญญา เป็นการวัดที่รวมไปถึงสมรรถภาพสมอง การพัฒนาของสติปัญญาและความสามารถในการเรียนรู้ของบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการวัดสมรรถภาพเหล่านี้ ส่วนมากจะเป็นแบบทดสอบ (Tests)
แบบทดสอบวัดความสัมฤทธิ์ผล (Achievement or Profeciency Tests) แบบทดสอบวัดความสัมฤทธิ์ผล เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความสามารถ ทางด้านวิชาการของผู้เรียนเกี่ยวกับสิ่งที่สอนในชั้นเรียนไปแล้ว เพื่อทราบสถานะของผู้เรียนในการเรียนวิชาต่างๆ หรือช่วยเป็นเครื่องมือ ในการตัดสินผลการเรียน
แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ที่ครูสร้างขึ้นเอง (Teacher-built tests) ครูผู้สอนวิชาต่างๆ สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบในการเรียนการสอน และตัดสินผลการเรียนของเด็กในชั้นเรียน เช่น ต้องการทราบว่า นักเรียน ได้เรียนรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ ที่สอนไปแต่ละหน่วยมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะได้ทราบว่าจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอนที่ตั้งไว้นั้นได้ประสบ ผลสำเร็จหรือไม่ และจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการจัดเนื้อหาวิชาในการเรียน ขั้นต่อๆ ไป มีจุดมุ่งหมายจำเพาะเจาะจง เน้นหนักตามหลักสูตรและรายละเอียดของ วิชาตามที่ทางโรงเรียนกำหนดไว้ ข้อคำถามในแบบทดสอบจะถามใน แต่ละเนื้อหาวิชาที่เรียนอย่างละเอียดและลึกซึ้ง
2. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ที่เป็นมาตรฐาน (Standardized Achievement tests) แบบทดสอบประเภทนี้ส่วนมากจะสร้างขึ้นโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้าน การวัดผลการศึกษา หรือสำนักงานที่เกี่ยวข้องกับการวัดผลและประเมินผล แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ที่เป็นมาตรฐานนี้ เนื้อหาและจุดมุ่งหมายของ แบบทดสอบจะกว้างกว่าแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเอง ข้อคำถามในแต่ละ วิชาจะถามความรู้และทักษะอย่างกว้างๆ
แบบทดสอบมาตรฐานใช้เป็นประโยชน์ได้ดีในกรณีที่ผู้ทดสอบต้องการ เปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนระหว่างโรงเรียนต่างๆ เปรียบเทียบ ความสามารถของนักเรียนในโรงเรียน กับเกณฑ์ปรกติของชาติ (national norm) และเปรียบเทียบความสัมฤทธิ์ผลในด้านต่างๆ ของเด็กแต่ละคน ในการแปลผล จากการสอบแบบทดสอบมาตรฐานนั้น ผู้ใช้จะต้องเปรียบเทียบผลที่ได้จาก การสอบของนักเรียนกับเกณฑ์ปรกติซึ่งผู้สร้างแบบทดสอบได้จัดทำขึ้น เช่น เกณฑ์ปรกติของอายุ (age norm) เกณฑ์ปรกติของชั้นเรียน (grade norm) เกณฑ์ปรกติของท้องถิ่นหรือของชาติ (local or national norm)
แบบทดสอบวัดสติปัญญา (Intelligence Tests) หมายถึงแบบทดสอบที่ใช้วัดสมรรถภาพสมองทั่วๆ ไปของบุคคล การทดสอบความแตกต่างระหว่างบุคคลในเชิงสมรรถภาพสมอง ด้านความเข้าใจ การแก้ปัญหา และสมรรถภาพทางด้านวิเคราะห์
แบบทดสอบวัดความถนัด (Aptitude Test) คือแบบทดสอบที่เราใช้สำหรับวัดความสามารถของบุคคลเพื่อนำผลที่ได้ มาทำนายผลสำเร็จของบุคคลนั้นๆ ในการเรียน การประกอบอาชีพ และ การฝึกอบรมต่างๆ แบบทดสอบชนิดนี้วัดความสามารถเฉพาะด้านของบุคคล ข้อคำถามในแบบทดสอบแต่ละฉบับจะถามเกี่ยวกับสมรรถภาพด้านใดด้านหนึ่ง ที่ต้องการวัดเท่านั้น เช่น แบบทดสอบวัดความถนัดทางด้านภาษา ด้านความมี เหตุผล ด้านการรับรู้ทางสายตา ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านความจำ และ ด้านความ สามารถในการใช้คำ เป็นต้น ผลที่ได้จากการสอบความถนัดแต่ละด้าน จะนำ มาเขียนลงเป็นเส้นภาพ (profile)
เพื่อแสดงให้เห็นจุดเด่นและจุดด้อยในแต่ละด้านของบุคคล ลักษณะเด่นของ แบบทดสอบความถนัดคือ การใช้เวลาในการสอบซึ่งจะใช้เวลาในการสอบ จำกัด (speed test) และผู้คุมสอบต้องรักษาเวลาอย่างเคร่งครัด ให้ผู้สอบเริ่มทำ พร้อมกันและเมื่อหมดเวลาให้หยุดทันที ทั้งนี้เพื่อจะวัดว่า ภายในเวลาเท่ากัน ความสามารถของใครจะสูงกว่ากัน แบบทดสอบความถนัดสร้างขึ้นมาเป็นชุด เพื่อวัดความถนัดหลาย ๆ ด้าน
เครื่องมือในการวัดผลด้านความรู้สึกและค่านิยม เป็นการวัดที่เน้นหนักเกี่ยวกับความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยม พัฒนาการในด้านสุนทรียวิจักษ์ และการปรับตัวของบุคคล ลักษณะของการตอบคำถามในการวัดพฤติกรรมด้านนี้ต่างกับ การตอบคำถามในการวัดพฤติกรรมด้านพุทธิปัญญา คือ ผู้ตอบเป็นผู้กำหนดคำตอบเอง และคำตอบที่แต่ละคนตอบไปนั้น ไม่มีการตัดสินว่า ถูกหรือผิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรู้สึกและทัศนคติ ของแต่ละบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลด้านความรู้สึกและค่านิยม แบ่งแยกตามลักษณะของพฤติกรรมที่วัดมีดังต่อไปนี้
แบบวัดความสนใจ (Interest Tests) การวัดความสนใจของบุคคลนั้นอาจกล่าวได้ว่าเริ่มมีพัฒนาการเนื่องมาจากความต้องการในด้าน ให้คำปรึกษาแนะนำ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ที่ให้คำปรึกษาแนะ นำนั้นสามารถนำผลที่ได้จากการวัด ความสนใจไปใช้เป็นประโยชน์ในการแนะแนวทางเลือกอาชีพหรือสาขาวิชาเรียนสำหรับ นักเรียนได้ ผลประโยชน์ที่ได้จากการวัดความสนใจนอกเหนือจากทางด้านการศึกษา ก็คือ ช่วยเป็นข้อมูลในการคัดเลือกบุคคลเข้า ทำงานในหน้าที่ต่างๆ สำหรับบริษัทหรือองค์การ เครื่องมือวัดความสนใจนั้นเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความรู้สึก ของบุคคลหรือความชอบ-ไม่ชอบ ในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้เช่น ลักษณะของบุคคล กิจกรรมต่างๆ การพักผ่อนหย่อนใจ อาชีพชนิดต่างๆ เป็นต้น เครื่องมือวัดความสนใจนั้นแตกต่างจากแบบทดสอบที่ใช้วัดทางด้านพุทธิปัญญาในแง่ที่ว่า เครื่องมือ วัดความสนใจเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้สำหรับจำแนกหมวดหมู่ คำตอบของผู้ตอบเท่านั้น และผู้ตอบ สามารถที่จะทำการทดสอบตนเองและให้คะแนนตนเองได้ และแปลความหมายที่ได้จากการสอบโดย ใช้เส้นภาพได้โดยไม่ต้องอาศัยผู้รู้เหมือนกับแบบทดสอบวัดความถนัด หรือแบบทดสอบสติปัญญา นักการศึกษาและจิตวิทยา
การวัดความสนใจที่แต่ละบุคคลแสดงออกมาในรูปของ พฤติกรรม การวัดความสนใจที่แต่ละบุคคลแสดงออกมาในรูปของ พฤติกรรม เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมนุมต่างๆ กิจกรรมในการทำงานอดิเรก เป็น ต้น อย่างไรก็ดี ผู้ที่ทำการวัดความสนใจโดยวิธีนี้ ควรจะระมัดระวังใน การแปลความหมายของผลที่ได้จากการวัดทั้งนี้เนื่องจากบุคคลบางคน เข้าร่วมกิจกรรมหรือทำกิจกรรมโดยหวังผลอย่างอื่นมากกว่าที่จะ เป็นไปโดยความสนใจอย่างแท้จริง เช่นในบางกรณีนักเรียนเข้าเป็น สมาชิกชมรมบางชมรมเพื่อที่จะยกฐานะตนเอง หวังผลในการ ประชาสัมพันธ์ มากกว่าที่จะสนใจในกิจกรรมของชมรมเหล่านั้น นอกจากนี้ก็ยังมีองค์ประกอบเกี่ยวกับ สถานะทางเศรษฐกิจและ สภาพแวดล้อมของบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย บางคนอาจจะสนใจใน กิจกรรมบางอย่างแต่สถานะทางการเงินและสภาพแวดล้อมไม่อำนวย ดังนั้นถึงแม้เราจะได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจของบุคคลจาก พฤติกรรมที่แสดงออกก็ตาม สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเพียงแนวทางกว้างๆ ใน การให้คำปรึกษาแนะนำเท่านั้น ไม่ควรถือเป็นข้อยุติในการแปล ความหมายผลจากการวัดความสนใจ
2. การวัดความสนใจโดยใช้แบบทดสอบ วิธีการนี้ผู้ที่ทำการวัดจะใช้แบบทดสอบซึ่งถามทางด้านคำศัพท์ และความรู้ทั่วไป หลักการในการวัดความสนใจวิธีนี้แตกต่างจากวิธีการวัดความสนใจที่กระทำกันส่วน ใหญ่ กล่าวคือ การวัดความสนใจวิธีนี้มีข้อตกลงเบื้องต้นว่า ความสนใจของบุคคลใน เรื่องต่างๆ นั้นเป็นผลเนื่องมาจากการที่บุคคลนั้นได้สะสมความรู้และทราบเกี่ยวกับ ศัพท์เฉพาะอย่างในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี แบบทดสอบที่ใช้วัดความสนใจตามวิธีการ นี้ คือ The Michigan Vocabulary Profile Test.
3. การวัดความสนใจโดยใช้แบบสำรวจ แบบสำรวจความสนใจ เป็นเครื่องมือวัดผลที่ประกอบด้วยรายการต่างๆ เกี่ยวกับ อาชีพ กิจกรรมต่างๆ และให้ผู้ตอบเขียนตอบว่า ชอบ-ไม่ชอบ กิจกรรมอะไรบ้าง ข้อคำถามส่วนมากจะมีความสัมพันธ์ทางอ้อมกับอาชีพต่างๆ (ข้อคำถามในแบบ สำรวจความสนใจนี้มักจะหลีกเลี่ยงการถามอย่างตรงไปตรงมา) เป็นต้น
แบบวัดทัศนคติ (Attitude Tests) นักการศึกษาและจิตวิทยา เช่น Nunally (Cited in Adams, 1964) ได้ให้นิยาม ทัศนคติ ไว้ว่า คือ แนวโน้มที่จะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองว่า ชอบ-ไม่ชอบ ต่อสิ่งเร้าในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องเชื้อชาติ ประเพณี และสถาบันต่างๆ จากคำจำกัดความที่ได้กล่าวแล้วนี้ จะเห็นได้ว่า การวัด ทัศนคตินั้นจะต้องอุปมานจากพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกทั้งลายลักษณ์อักษรและปฏิกิริยา
เครื่องมือที่ใช้วัดทัศนคตินั้น ส่วนมากจะเป็นแบบสอบถาม (questionnaires) ซึ่งในแบบสอบถามนั้นประกอบด้วยข้อความ คำถามเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และให้ผู้ตอบ ตอบคำถามแต่ละข้อโดยเลือก คำตอบที่ตรงกับความรู้สึกและคิดเห็นของตนเอง มาตราวัดทัศนคติที่นิยมใช้กันนั้นมีอยู่ 2 มาตรา คือ Thurstone-type scale ซึ่งเป็นมาตราวัดที่ประกอบด้วยช่วงในการวัด 11 ช่วง ซึ่งเรียงจากเห็นด้วยที่สุด เฉยๆ ไปจนถึงไม่เห็นด้วยที่สุดสำหรับให้ผู้ตอบขีดตอบสำหรับข้อความแต่ละข้อ Likert-type scale เป็นมาตราวัดอีกชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยช่วงในการวัด 5 ช่วง เรียงลำดับจากเห็นด้วยอย่างยิ่ง ไปจนถึงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และให้ผู้ตอบขีดตอบข้อความแต่ละข้อที่ตรงกับความรู้สึกของ ตนเองในช่วงแต่ละช่วง ผลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามจะเป็นคะแนนซึ่งจะบอกทิศทางของทัศนคติของบุคคลว่าโน้ม เอียงไปในแนวใด เครื่องมือที่ใช้ในการวัดทัศนคตินั้น สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในหลายด้าน เช่น การสำรวจทัศนคติของประชาชน ใน เรื่องต่างๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเมือง การเลือกตั้ง ปัญหาทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการตลาด เช่น ความนิยมสินค้าชนิดต่างๆ เป็นต้น
แบบวัดบุคลิกภาพ (Personality Tests) เป็นเครื่องมือทดสอบที่ใช้วัด การปรับอารมณ์ (emotional adjustment) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal relations) การจูงใจ (motivation) ความสนใจ (interests) ทัศนคติ (attitude) ลักษณะของความสนใจ ทัศนคติ แรงจูงใจ และค่านิยมที่แต่ละบุคคล แสดงออกมาจะ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่บ่งชี้ บุคลิกภาพของบุคคลนั้น
วิธีการที่ใช้ในการวัดบุคลิกภาพอีกอย่างหนึ่งคือ การวัดผลโดยสร้างสถานการณ์ ขึ้นมา (situational tests) หรือการวัดผลโดยให้ปฏิบัติ (performance tests) ในการทดสอบชนิดนี้ผู้ที่ถูกทดสอบจะต้อง ปฏิบัติงานบางอย่างซึ่งเลียนแบบสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ผู้ที่ทำการ ทดสอบจะแปลความจากการปฏิบัตินั้นๆ
วิธีการอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมมากในการวัดบุคลิกภาพ คือ วิธีคาดการณ์ (Projective technique) วิธีการนี้ ผู้ที่ถูกทดสอบจะต้องทำงานบางอย่าง เป็นการตอบสนองต่อปัญหาหรือข้อสอบที่ให้มา วิธีการตอบสนองเป็นไปได้อย่างกว้างขวางมาก ผู้สอบสามารถจะใช้จินตนาการได้อย่างเต็มที่ ลักษณะของตัวข้อสอบนั้น สามารถตีความหมายได้หลายแง่และเคลือบคลุมคำชี้แจงในการสอบจะมีเพียงย่อๆ ทั้งนี้เพื่อให้ ผู้สอบได้ใช้จินตนาการอย่างเสรีในการตอบข้อคำถาม นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ได้ตั้งสมมติฐานและ ข้อตกลงเบื้องต้นไว้เกี่ยวกับบุคลิกของบุคคลที่เลือกคำตอบ แต่ละอย่าง การแปลผลที่ได้จากการสอบจะเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แบบวัดบุคลิกภาพที่ใช้วิธี คาดการณ์จากคำตอบนี้