หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ การพัฒนาทักษะการพูด แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๑ ภาษาไทย ม. ๒ เล่ม ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ การพัฒนาทักษะการพูด แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๑ การพูดโน้มน้าวใจ เวลา ๑ ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๑ การพูดโน้มน้าวใจ เวลา ๑ ชั่วโมง ๔. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๔.๖ การพูดโน้มน้าวใจ จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๒ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
ร่วมแสดงความคิดเห็น ข้อความที่ ๑ ยาสีฟันขาวจัง ผสมด้วยสมุนไพร ฟลูออไรด์ และเกลือที่มีประโยชน์ ทำให้ แปรงฟันแล้วฟันขาวสะอาด กำจัดเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้หมดสิ้น ข้อความที่ ๒ การเล่นเกมออนไลน์ แม้จะมีประโยชน์อยู่บ้างที่เป็นการฝึกสมองประลอง ไหวพริบ ได้ฝึกใช้คอมพิวเตอร์ ได้ฝึกภาษาอังกฤษบ้าง แต่ถ้าเล่นจนติดนั้นเกิดโทษมากกว่าเกิดประโยชน์ นอกจากจะเสียการเรียน เสียสายตา บั่นทอนสุขภาพ แล้วยังสร้างนิสัยที่ชอบความรุนแรง เมื่อฟังอย่างนี้แล้วลองคิดดูซิว่า เราควรจะเล่นให้อยู่ในขอบเขต ไม่มากจนเกินไป ควรจะเล่นเพื่อเป็นการศึกษามากกว่าจะเล่นจนติดงอมแงม ๑) ครูให้นักเรียนอาสาสมัคร ๒ คน อ่านข้อความที่กำหนดให้คนละ ๑ ข้อความ ๒) นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อความที่ฟังว่ามีข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ๓) ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้เวลาประมาณ ๕ นาที หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม
เกลี้ยกล่อมให้เห็นด้วย ๔. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๔.๖ การพูดโน้มน้าวใจ โฆษณา กับ โน้มน้าวใจ แตกต่างกันอย่างไร โฆษณา โน้มน้าวใจ ประกาศเรื่องราว หรือข้อความให้รู้ เกลี้ยกล่อมให้เห็นด้วย ๔. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๔.๖ การพูดโน้มน้าวใจ ๑) ครูให้นักเรียนช่วยกันอธิบายถึงความแตกต่างของคำว่า โฆษณา กับ โน้มน้าวใจ ๒) ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มละ ๔ คน ให้ศึกษาเรื่อง การพูดโน้มน้าวใจ แล้วสรุปเป็น แผนภาพความคิด ๓) ครูสุ่มถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ ๔) ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมและครูอธิบายสรุปโดยใช้เวลาประมาณ ๑๐ นาที หรือให้ครู ใช้เวลาตามความเหมาะสม การพูดโน้มน้าวใจ เป็นการพูดให้ผู้ฟังเกิดความไว้วางใจ เชื่อถือ ประทับใจในถ้อยคำของผู้พูด และมีความคิดเห็นคล้อยตาม
จุดมุ่งหมายของการพูดโน้มน้าวใจ ๔. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๔.๖ การพูดโน้มน้าวใจ จุดมุ่งหมายของการพูดโน้มน้าวใจ ๑. เพื่อให้ผู้ฟังปฏิบัติตามในสิ่งที่ผู้พูดเสนอ ๒. เพื่อให้ผู้ฟังเลิกปฏิบัติในสิ่งนั้น ๆ ๓. เพื่อให้ผู้ฟังปฏิบัติสิ่งนั้นต่อไป ๔. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๔.๖ การพูดโน้มน้าวใจ ๑) ครูอธิบายสรุปจุดมุ่งหมายของการพูดโน้มน้าวใจ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๒ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงจุดมุ่งหมายของการพูดโน้มน้าวใจ
หลักการพูดโน้มน้าวใจ ๔. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๔.๖ การพูดโน้มน้าวใจ หลักการพูดโน้มน้าวใจ ๑. กำหนดจุดมุ่งหมายให้แน่นอนว่าต้องการพูดโน้มน้าวใจ ให้ผู้ฟังมีการตอบสนองอย่างไร ๒. แสดงให้ผู้ฟังเชื่อมั่นว่าผู้พูดมีความรู้ในเรื่องที่พูด ๓. ทำความรู้จักกับผู้ฟัง เพื่อสร้างความไว้วางใจ ๔. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๔.๖ การพูดโน้มน้าวใจ ๑) ครูอธิบายสรุปหลักการพูดโน้มน้าวใจ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๒ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงหลักการพูดโน้มน้าวใจ ๔. ใช้เหตุและผลในการนำเสนอ ๕. ใช้คำพูดสุภาพ สร้างสรรค์ เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย
ตัวอย่าง การพูดโน้มน้าวใจให้เลิกปฏิบัติ ๔. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๔.๖ การพูดโน้มน้าวใจ ตัวอย่าง การพูดโน้มน้าวใจให้เลิกปฏิบัติ ยาไม่สามารถรักษาโรคได้ทุกโรค เพราะโรคแต่ละโรคเกิดจากเชื้อโรค ที่แตกต่างกัน ตัวยาที่ใช้ในการรักษาก็แตกต่างกันด้วย คนที่ชอบซื้อยาชุดมากิน เวลาเจ็บป่วยควรจะได้รู้ถึงโทษที่จะเกิดขึ้นตามมา นั่นก็คือ ระบบการทำงานของตับ และไตถูกทำลาย กระดูกผุ ตัวบวม เป็นโรคกระเพาะ ซึ่งออกมาในลักษณะใดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่เรากินเข้าไป เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว ขอให้ทุกคนเลิกซื้อยาชุดตามร้านขายยากินเอง ให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธี ๔. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๔.๖ การพูดโน้มน้าวใจ ๑) ครูให้นักเรียนศึกษาตัวอย่างการพูดโน้มน้าวใจ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๒ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างการพูดโน้มน้าวใจ
ตัวอย่าง การพูดโน้มน้าวใจให้ปฏิบัติตาม ๔. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๔.๖ การพูดโน้มน้าวใจ ตัวอย่าง การพูดโน้มน้าวใจให้ปฏิบัติตาม ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติและเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาติไทย พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์มีส่วนสำคัญในการดำรงรักษาภาษาไทยไว้ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป แต่คนไทยในปัจจุบันกลับใช้ภาษาอย่างผิด ๆ จนเป็นความเคยชิน ทำให้เอกลักษณ์ทางภาษาถูกทำลาย ความมั่นคงของชาติก็ถูกบั่นทอนไปด้วย เราทุกคนจึงควรตระหนักถึงความสำคัญ ช่วยกันอนุรักษ์และพัฒนาภาษาไทยให้ คงอยู่กับชาติไทยตลอดไป อย่าให้ภาษาซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ของชาติต้องถูกทำลายด้วยมือของคนไทยเอง ๔. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๔.๖ การพูดโน้มน้าวใจ ๑) ครูให้นักเรียนศึกษาตัวอย่างการพูดโน้มน้าวใจ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๒ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างการพูดโน้มน้าวใจ
ฝึกพูดโน้มน้าวใจ เลือกพูดโน้มน้าวใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง • พูดโฆษณาขายสินค้าที่มีชื่อเสียงของชุมชน • พูดโน้มน้าวใจให้รุ่นน้องช่วยกันรักษา สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ๑) ให้นักเรียนจับสลากเลือกหัวข้อพูดโน้มน้าวใจคนละ ๑ หัวข้อ ๒) ให้นักเรียนออกมาพูดโน้มน้าวใจหน้าชั้นเรียน ๓) ครูและเพื่อนประเมินตามแบบประเมินการพูดในโอกาสต่าง ๆ ๔) ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมโดยใช้เวลาประมาณ ๒๒ นาที หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม
แบบประเมินการพูดในโอกาสต่าง ๆ รายการประเมิน ระดับคะแนน ๔ ๓ ๒ ๑ ๑. การเตรียมตัว ๒. เนื้อหาสาระ ๓. การใช้ภาษา ๔. บุคลิกภาพ ๕. มารยาท รวม ๑) ให้นักเรียนจับสลากเลือกหัวข้อพูดโน้มน้าวใจคนละ ๑ หัวข้อ ๒) ให้นักเรียนออกมาพูดโน้มน้าวใจหน้าชั้นเรียน ๓) ครูและเพื่อนประเมินตามแบบประเมินการพูดในโอกาสต่าง ๆ เกณฑ์การประเมิน ๔ = ดีมาก ๓ = ดี ๒ = ปานกลาง ๑ = ต้องปรับปรุง
สรุปความรู้ การพูดโน้มน้าวใจ จุดมุ่งหมายของการพูดโน้มน้าวใจ หลักการพูดโน้มน้าวใจ • กำหนดจุดมุ่งหมายให้แน่นอน • เพื่อให้ผู้ฟังปฏิบัติตาม • เพื่อให้ผู้ฟังเลิกปฏิบัติ • แสดงให้ผู้ฟังเชื่อมั่นว่ามีความรู้ • เพื่อให้ผู้ฟังปฏิบัติต่อไป • แนะนำตัวเองเพื่อทำความรู้จัก กับผู้ฟัง สรุปความรู้เรื่อง การพูดโน้มน้าวใจ ๑. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การพูดโน้มน้าวใจ ๒. ครูคลิกเพื่อแสดงข้อความสรุปทีละหัวข้อ ๓. ครูสรุปความรู้โดยใช้เวลาประมาณ ๓ นาที หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม • ใช้เหตุและผลในการนำเสนอ • ใช้คำพูดสุภาพ สร้างสรรค์ และน้ำเสียงที่เหมาะสม