แนวคิดการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ ภาคเรียน 2/2558 ผศ.ดร.อมร หล้าสมบูรณ์
แนวคิดการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ เครื่องจักรจะส่งผลโดยตรงต่อสมรรถนะขององค์การที่มีกระบวนการผลิตที่ต้องอาศัยเครื่องจักเป็นหลัก เนื่องจากเมื่อใดก็ตามที่เครื่องจักรเกิดการบกพร่อง โอกาสในการผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพจะลดลง ต้นทุนจะสูงขึ้น และการส่งมอบสินค้าอาจจะไม่ตรงเวลา แต่การบำรุงรักษาแบบดั้งเดิมก็ไม่สามารถทำให้เครื่องจักรทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพได้เนื่องจากเป็นการบำรุงรักษาที่ไม่เป็นระบบ และแนวคิดในเรื่องของการบำรุงรักษาที่ว่าการบำรุงรักษาเป็นหน้าที่ของฝ่ายซ่อมบำรุง ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายผลิต ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ควบคุมเครื่อง และไม่ใช่สิ่งที่ผู้บริหารต้องให้ความสนใจ เป็นแนวคิดที่ควรเปลี่ยนแปลง
การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ( Total productive Maintenance : TPM)เป็นรูปแบบการบำรุงรักษาที่เป็นประระบบ ประกอบด้วย การวัดผล การวางแผน การปฏิบัติการ การปรับปรุงและการป้องกัน รวมถึงการจัดฐานข้อมูลในงายบำรุงรักษา ซึ่งทุกฝ่ายจะร่วมมือกันปฏิบัติตามหน้าที่ที่มีการแบ่งไว้อย่างชัดเจน โดยมีผู้บริหารให้ผู้บริหารสนับสนุนและติดตามอย่างใกล้ชิด
สาระสำคัญ 1. การเพิ่มผลผลิตเป็นแนวคิดที่ได้รับการพัฒนาเพื่อสร้างจิตสำนึกของคนไทยในชาติให้รู้จักคุณค่าของทรัพยากร 2. เครื่องจักรที่บกพร่องทำให้เกิดต้นทุนที่ไม่จำเป็น มีโอกาสทำให้เกิดปัญหาทางด้านคุณภาพและทำให้งานล่าช้า จนอาจจะทำให้เกิดปัญหาการส่งมอบตามมา ซึ่งปัญหาต้นทุนปัญหาคุณภาพ และปัญหาการส่งมอบดังกล่าว เป็นปัจจัยสำคัญในการประเมินความพึงพอใจจากลูกค้า
3. เครื่องจักที่บกพร่องทำให้เกิดปัญหาทางด้านความปลอดภัย ทั้งกับผู้ใช้งานและผู้ที่ทำการซ่อมแซม อันจะทำให้เกิดปัญหาทางด้านขวัญกำลังใจของพนักงานตามมาทั้งปัญหาทางด้านความปลอดภัยและปัญหาทางด้านขวัญกำลังใจล้วนเป็นปัญหาที่ส่งผลโดยตรงต่อพนักงาน 4. เครื่องจักรที่บกพร่องมักจะไม่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดมลพิษ เช่น มลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ
สมรรถนะขององค์การ หมายถึง ผลการดำเนินงานขององค์การที่ออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ที่แสดงถึงความสามารถในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า พนักงาน และสังคมได้แก่ ต้นทุน (Cost) คุณภาพ (Quality) การส่งมอบ (Delivery) ความปลอดภัย (Safety) ขวัญกำลังใจ( Morale) และสิ่งแวดล้อม (Environment) โดยทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ องค์การต้องอยู่บนพื้นฐานของการใช้เครื่องจักรได้อย่างคุ้มค่าเพื่อให้เกิดการเพิ่มผลผลิต (Productivity)
1. 1. 1. เครื่องจักรกับการเพิ่มผลผลิต 1.1.1. เครื่องจักรกับการเพิ่มผลผลิต ความหมายของการเพิ่มผลผลิตมี 2 แนวคิด คือ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์และแนวคิดทางเศรษฐกิจสังคม ที่จะกล่าวถึงในที่นี้เป็นการกล่าวถึงการเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ การเพิ่มผลผลิต = ผลิตผล (output) (Productivity) ปัจจัยการผลิต (Input) ผลผลิต หมายถึง สินค้าหรือบริการต่าง ๆ เช่น รถยนต์ ตู้เย็น โทรทัศน์ อาหาร การขนส่ง การบริการโรงแรม
ปัจจัยการผลิต หมายถึง ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการนั้น ๆ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น แรงงาน วัตถุดิบ เครื่องจัก เงินทุน และพลังงาน เครื่องจักรในอุตสาหกรรมการผลิตสามารถทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิตได้ตามแนวทางต่อไปนี้
1. ใช้เครื่องจักรเท่าเดิม แต่ทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น หมายถึง การบำรุงรักษาเครื่องจักรให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ไม่มีการเสียหาย ไม่มีการรอคอยอะไหล่ และไม่ผลิตงานเสีย ทั้งนี้เพื่อให้มีเวลาสำหรับทำการผลิตมากขึ้น 2. ใช้เครื่องจักรน้อยลง แต่ผลผลิตเท่าเดิม แนวทางนี้อยู่ภายใต้แนวคิดที่ว่า ถ้าเราทำให้เครื่องจักรทุกเครื่องทำงานได้อย่างเต็มความสามารถแล้ว เราอาจจะไม่ต้องใช้จำนวนเครื่องจักรเท่าที่มีอยู่ในตอนนี้ก็ได้ แต่ยังสามารถทำการผลิตได้ในปริมาณเท่าเดิม
3. ใช้เครื่องจักรน้อยลง แต่ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น แนวทางนี้เป็นการเพิ่มผลผลิตโดยทำการทำให้เครื่องจักรมีกำลังการผลิตที่สูงขึ้นกว่าที่ออกแบบไว้อาจเป็นการดัดแปลงปรับปรุง หรือติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเข้าไป หรือการทำให้เครื่องจักรอยู่ในสภาพที่ต้องใช้เวลาในการดูแลรักษาน้อยที่สุด จากการเพิ่มผลผลิตที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรตามแนวทางทั้งสามดังกล่าว จะเห็นได้ว่าต้องมีระบบการบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพเป็นตัวจักรสำคัญ รวมถึงการปรับปรุงเครื่องจักร ไม่ใช่เพียงแต่รอให้เสียแล้วจึงซ่อมอย่างที่เคยเป็น
1.1.2 เครื่องจักรกับคุณภาพ ต้นทุน และการส่งมอบ เครื่องจักรเสียอยู่เป็นประจำ เครื่องจักสกปรก เครื่องจักรที่ไม่มีความเที่ยงตรง ทำให้เกิดปัญหาทางด้านคุณภาพการผลิต เครื่องจักรเสียใช้งานไม่ได้ ล้วนแล้วแต่มีโอกาสทำให้เกิดปัญหาทางด้านคุณภาพทั้งสิ้น ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากการปล่อยปละละเลยหรือไม่มีการบำรุงรักษาอย่างเป็นระบบ เครื่องจักรผลิตของเสียอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการทำงานล่าช้าจนในที่สุดไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตามนัดหมายนอกจากนั้นในบางกรณีอาจจะมีค่าปรับต่าง ๆ ตามมาอีก ระยะแรกจะส่งผลโดยตรงต่อลูกค้าที่ใช้สินค้าขอเรา แต่ระยะต่อไปเมื่อลูกค้าเริ่มหมดความอดทนหรือมีทางเลือกอื่น ก็จะเลิกใช้สินค้าของเรา ถึงตอนนั้นย่อมหนีไม่พ้นที่จะส่งผลกระทบทั้งองค์การ
1.1.3 เครื่องจักรกับความปลอดภัยและขวัญกำลังใจ เครื่องจักรอาจทำให้เกิดอันตรายได้กับทั้งผู้ใช้และผู้ซ่อม เนื่องจากใช้งานไม่ถูกต้อง บางครั้งเกิดจากการบำรุงรักษาที่มุ่งแต่จะเครื่องจักรใช้งานได้โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย เช่น การถอดอุปกรณ์ป้องกันออก การทำให้เครื่องเดินเร็วขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงสมรรถนุของเครื่อง
สาระสำคัญ 1. การจัดการาองค์การในการซ่อมบำรุงรักษาเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การบำรุงรักษาแบบดั้งเดิมไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเป็นการจัดการองค์การที่ไม่ได้ให้ผู้ใช้เครื่องจักรเข้ามามีส่วนร่วมในการบำรุงรักษา ผู้บริหารไม่รับรู้ประสิทธิภาพของการบำรุงรักษา ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อผลของการซ่อมบำรุง แต่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายซ่อมบำรุงเพียงฝ่ายเดียว 2. เป้าหมายในการบำรุงรักษาของฝ่ายต่าง ๆ ไม่ได้มุ่งไปที่ประสิทธิภาพการบำรุงรักษาที่เป็นแนวทางเดียวกันทั้งองค์การ ซึ่งเป็นสาเหตุให้การบำรุงรักษาไม่ประสบความสำเร็จ เช่นฝ่ายการมุ่งแต่ผลิตไม่สนใจการบำรุงรักษาเครื่องจักร ฝ่ายจัดซื้อมุ่งแต่หาชิ้นส่วนราคาถูกไม่สนใจเวลาที่ต้องการใช้ เป็นต้น
1.1.4 เครื่องจักรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม 1.1.4 เครื่องจักรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม เครื่องจักรที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างเพียงพอจะทำงานได้ไม่เต็มความสามารถของเครื่อง นอกจากนั้นเครื่องจักรดังกล่าวยังมีส่วนก่อมลภาวะด้านต่าง ๆ เช่น ทำให้เกิดเสียงดังอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เกิดควันจากการเผาไหม้ หรืออาจจะทำให้สารเคมีรั่วไหล เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะการได้มาซึ่งพลังงานส่วนใหญ่มักต้องแลกด้วยการทำลายสิ่งแวดล้อม
3. การบำรุงรักษาแบบดั้งเดิมมักจะไม่มีการเก็บข้อมูลในการบำรุงรักษาและไม่มีการวัดผลเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาทางป้องกัน รับมือ หรือพยากรณ์การเสียหายครั้งต่อไป 4. การซ่อมบำรุงที่ไม่มีการวางแผนหรือไม่มีการบำรุงรักษาตามแผน จะไม่ทำให้เกิดการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ไม่ทำให้เกิดการปรับปรุงเครื่องจักร และไม่มีการติดตามตรวจสอบอย่างเป็นระบบ
1.2.1 การจัดองค์การในการบำรุงรักษา การจัดองค์การในการบำรุงรักษาแบบดั้งเดิมที่ผ่านมา เป็นการจัดองค์การในการบำรุงรักษาที่ขึ้นอยู่กับฝ่ายซ่อมบำรุงเพียงฝ่ายเดียว ทำให้เกิดปัญหาอยู่เป็นประจำว่า พนักงานไม่ช่วยกันดูแลรักษาเรื่องจักร การจัดองค์การในการบำรุงรักษาที่ดี ควรทำให้เกิดการประสานงานที่ดีระหว่างฝ่ายซ่อมบำรุงในฐานะผู้ดูแลรักษาเครื่องจักรกับฝ่ายผลิตในฐานะผู้ใช้เครื่องและวางแผนการผลิต โดยมีฝ่ายต่าง ๆ ให้การสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ การจัดองค์การในการบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพ ก็คือ การจัดองค์การในการบริหารกิจกรรม TPM
1.2.2 เป้าหมายของฝ่ายต่าง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกันใน การบำรุงรักษา ฝ่ายบริหาร (Management) มีเป้าหมายอยู่ที่ปริมาณการผลิตของโรงงาน เพราะนั่นหมายถึงสิ่งที่จะทำให้เกิดรายได้กับบริษัท โดยไม่ได้ให้ความสนใจกับสถิติเครื่องจักรเสีย สถิติการซ่อมบำรุงจนทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างมุ่งไปสู่ปริมาณการผลิต ฝ่ายวิจัยและพัฒนา เมื่อมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยปกติฝ่ายวิจัยและพัฒนาจะได้รับข้อมูลความต้องการจากลูกค้าเพื่อนำไปออกแบบให้ตรงกับความต้องการ สังเกตได้ว่ากระบวนการทำงานของฝ่ายวิจัยและพัฒนาดังกล่าวมีเป้าหมายอยู่ที่การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับกรรมวิธีการผลิตเท่านั้น ไม่ได้คำนึงถึงการบำรุงรักษาเครื่องจักรว่าจะได้รับผลกระทบหรือไม่
ฝ่ายผลิต โดยทั่วไปจะมีเป้าหมายอยู่ที่การเร่งผลิตให้ได้ตามต้องการ ซึ่งบางครั้งไม่มีเวลาให้กับเครื่องจักรไหยุดพักเพื่อการตรวจเช็ค บางครั้งใช้งานเครื่องจักเกินกำลัง จนในที่สุดทำให้เครื่องจักรได้รับความเสียหาย ฝ่ายซ่อมบำรุง ที่มักจะมีแนวคิดแบบดั้งเดิมว่า ความสามารถของฝ่ายซ่อมบำรุงอยู่ที่การทำให้เครื่องจักรกลับมาใช้ได้ตามปกติไม่ว่าจะเสียด้วยสาเหตุใด ดังนั้นเป้าหมายของฝ่ายซ่อมบำรุงจึงไม่ใช่เพียงแค่ความสามารถในการแก้ไข หากต้องมีความสามารถในการป้องกัน และความสามารถในการปรับปรุงโดยฝ่ายซ่อมบำรุงต้องทำกิจกรรมการบำรุงรักษาที่เรียกว่า การบำรุงตามแผน
ฝ่ายจัดซื้อ มักจะมีเป้าหมายอยู่ที่ความได้เปรียบในการจัดซื้อ ไม่ว่าจะในด้านราคาที่ถูกปริมาณที่คุ้มค่า จนบางครั้งทำให้ขาดแคลนชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะใช้ในการซ่อมบำรุง การจัดซื้อไม่มีประสิทธิภาพ หรือไม่ได้คำนึงถึงเวลาที่เครื่องจักรต้องรอ อะไหล่ เครื่องมือ หรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการบำรุงรักษา
ผู้ใช้เครื่องจักร ตามแนวคิดการบำรุงรักษาแบบดั้งเดิม จะมีเป้าหมายเพียงแค่ทำการผลิตให้ได้ตามแผนการผลิตในแต่ละวัน และทำความสะอาดเครื่องจักรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยไม่ได้มีเป้าหมายทางด้านทางด้านการบำรุงรักษามากเท่าใดนัก ผู้ใช้เครื่องจักรต้องรู้จักสังเกตข้อบกพร่องของเครื่องจักร และรู้จักสังเกตจุดยากที่จะแก้ไขและต้นเหตุปัญหาของเครื่องจักร
TPM เป็นระบบการบำรุงรักษาที่ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีเป้าหมายร่วมกันในการบำรุงรักษาเครื่องจักร คือ มีเป้าหมายอยู่ที่ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร
1.2.3 การเก็บข้อมูลและการวัดผลการบำรุงรักษา 1.2.3 การเก็บข้อมูลและการวัดผลการบำรุงรักษา การบำรุงรักษาแบบดั้งเดิมมักจะมีมีการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในการบำรุงรักษาไว้ เครื่องจักรที่ดีไม่ใช่แค่เพียงเสียหรือไม่เสียนั้น หากแต่ต้องมีการเก็บข้อมูลทางด้านคุณภาพการใช้งาน ประสิทธิภาพการใช้งาน และอัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องจักร เพื่อวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร
1.2.4 การบำรุงรักษาตามแผน สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้การบำรุงรักษาแบบดั้งเดิมไม่ประสบผลสำเร็จ ก็คือ ไม่มีการวางแผนการบำรุงรักษาอย่างเป็นระยะ และไม่มีการบำรุงรักษาตามแผน ทำให้เครื่องจักรเสียอยู่เป็นประจำ โดยไม่มีเวลาที่จะทำการป้องกันการเสียหายของเครื่อง ปรับปรุงดัดแปลงเครื่องจักรหรือการเตรียมพร้อมหากเครื่องจักรเสียด้วยเทคนิคพยากรณ์
สาระสำคัญ 1. วัตถุประสงค์ของ TPM ก็คือ การทำให้ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์สูงที่สุดโดยอาศัยความสัมพันธ์ของทุกคนในองค์การกับเครื่องจักรอุปกรณ์ 2. วิธีการของ TPM คือ การกำจัดความสูญเสีย (Losses) ทุกอย่างที่เกิดขึ้นเนื่องจากเป็นสาเหตุภายในกระบวนการผลิตที่ถือเป็นหน้าที่ของทุกคน
สาเหตุที่ต้องทำ TPM ที่เห็นชัดที่สุดก็คือ การบำรุงรักษาแบบดั้งเดิมที่เราพบเห็นกันอยู่ไม่ประสบความสำเร็จ ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนที่ 1.2 ซึ่งมีสาเหตุโดยรวมมาจากระบบในการบำรุงรักษาที่ไม่มีการวัดผลและการวางแผน และอีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ทัศนคติของคนที่มีต่อการบำรุงรักษา ดังนั้นในตอนนี้ จึงขอกล่าวถึงสาเหตุที่ว่า ทำไมจึงต้องทำ TPM คำตอบก็คือ เพื่อพัฒนาเครื่องจักร อุปกรณ์ พัฒนาคน และพัฒนานาองค์การ
1.3.1 การพัฒนาเครื่องจักรอุปกรณ์ การพัฒนาเครื่องจักรอุปกรณ์ ก็คือ การระดมให้ทุกคนมีส่วนร่วมเพื่อก่อให้เกิด ประสิทธิผลสูงสุดของเครื่องจักรอุปกรณ์ (Equipment Effectiveness) ความไว้วางใจได้ในตัวเครื่องจักร (Reliability) คุณภาพของชิ้นงาน (Product Quality) การเพิ่มผลผลิตของเครื่องจักร (Machine Productivity) ความสามารถในการใช้เครื่องจักรให้ได้ตลอดอายุการใช้งาน (Total Service Lift)
1.3.2 การพัฒนาคน การพัฒนาคน คือ การให้ฝ่ายต่าง ๆ สามารถรับผิดชอบงานของตนเองใน TPM ได้ ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้เครื่องสามารถบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance) ฝ่ายผลิตสามารถลดความสูญเสียที่เกิดจากการใช้เครื่องจักรได้ (Individual Improvement) ฝ่ายซ่อมบำรุงสามารถบำรุงรักษาเครื่องจักรตามแผนได้ (Planned Maintenance) ฝ่ายออกแบบวิจัยและพัฒนา มีการออกแบบ วิจัย และพัฒนาสิ่งต่าง ๆ โดยคำนึงถึงการบำรุงรักษาตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบ (Initial – Phase Management) ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพในลักษณะของกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activity)
1.3.3 การพัฒนาองค์การ จากการพัฒนาเครื่องจักรอุปกรณ์และการพัฒนาคนดังกล่าว ทำให้เกิดการพัฒนาองค์การในรูปของ การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) การลดต้นทุน (Cost Reduction) การส่งมอบที่ตรงเวลา (Delivery) ความปลอดภัย (Safety) ขวัญและกำลังใจของพนักงาน (Morale) การรักษาสิ่งแวดล้อม (Environment)
บทที่ 2 แนวคิด เครื่องจักรที่ดี คือ เครื่องจักรที่ใช้งานได้ตลอดเวลา ใช้งานได้เต็มกำลัง และไม่ผลิตของเสียโดยสามารถสังเกตได้จากอัตราการเดินเครื่อง (Availability) ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง (Performance Efficiency) และอัตราคุณภาพ (Quality Rate) การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) คือ การนำเอาอัตราการเดินเครื่องประสิทธิภาพการเดินเครื่อง และอัตราคุณภาพมาพิจารณาร่วมกัน เนื่องจากทั้ง 3 ปัจจัยเป็นสัมประสิทธิ์ซึ่งกันและกันในการส่งผลต่อประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากเครื่องจักรเป็นสิ่งที่ทำให้อัตราการเดินเครื่องต่ำ ประสิทธิภาพการเดินเครื่องต่ำ และอัตราคุณภาพ นั่นก็คือ ทำให้ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรต่ำ ดังนั้นการเพิ่ม OEE ก็คือการลด Loss นั่นเอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง TPM คือ กิจกรรมที่ให้ทุกคนช่วยกันลด Loss เพื่อเพิ่ม OEE
สาระสำคัญ 1. เครื่องจักรที่ดีคือเครื่องจักรที่ใช้งานได้ตลอดเวลา ใช้งานได้เต็มกำลัง และไม่ผลิตของเสียโดยไม่สามารถพิจารณาพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งได้ 2. อัตราการเดินเครื่องจักรเป็นสิ่งบ่งบอกว่า เครื่องจักรสามารถใช้งานได้ตลอดเวลาหรือไม่โดยการเทียบเวลาที่เครื่องจักรสามารถใช้งานได้จริงกับเวลาที่ต้องใช้ตามแผนที่วางไว้ 3. ประสิทธิภาพการเดินเครื่องเป็นสิ่งบ่งบอกว่า เครื่องจักรสามารถใช้งานได้กำลังหรือไม่โดยการเทียบกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับกำลังการผลิตที่ควรได้ตามแผนที่วางไว้ 4. อัตราคุณภาพเป็นสิ่งบ่งบอกว่า เครื่องจักรผลิตของเสียหรือไม่ โดยการเปรียบเทียบจำนวนชิ้นงานที่ไม่มีตำหนิและไม่มีการแก้ไขกับจำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ทั้งหมด
เครื่องจักรที่ดีไม่ใช่เป็นเพียงแค่เครื่องจักรที่ไม่เสีย เปิดสวิตซ์เมื่อใดทำงานได้เมื่อนั้น หากแต่ต้องเป็นเครื่องจักรที่เปิดขึ้นมาแล้ว ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และที่สำคัญเครื่องจักรที่ดีต้องใช้งานได้อย่างปลอดภัย
2.1.1 อัตราการเดินเครื่อง (Availability) เวลาทั้งหมด เวลารับภาระงาน เวลาเดินเครื่อง เวลาเดินเครื่องสุทธิ ที่เกิดมูลค่า ภาพที่ 2.1 เวลาที่ใช้ในการหาอัตราการเดินเครื่อง ประสิทธิภาพการเดินเครื่องและอัตราคุณภาพ
เวลาทั้งหมด (Total Time) หมายถึง เวลาที่เรามีเครื่องจักรอยู่ในโรงงาน แต่ไม่ได้หมายความความว่าเราจะต้องวางแผนการใช้เครื่องให้เท่ากับเวลาที่มีทั้งหมด เราคงต้องมีเวลาหยุดเพื่อการบำรุงรักษาประจำวัน เวลาหยุดเพื่อการประชุมชี้แนะ เวลาหยุดเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงงาน เช่น กิจกรรม 5ส เวลาหยุดที่เราตั้งใจทั้งหมดนั้น เราเรียกว่า เวลาหยุดตามแผน (Planned Shutdown) ดังนั้นเวลาที่เราต้องการให้เครื่องจักรใช้งานได้ตลอดจึงไม่ใช้เวลาทั้งหมด
เวลารับภาระงาน (Loading Time) หมายถึง เวลาที่มีการวางแผนไว้ว่า ต้องใช้ในการผลิตโดยนำเวลาทั้งหมดมาหักออกด้วยเลาหยุตามแผน และเวลารับภาระนี่เองที่เราต้องการให้เครื่องจักรเดินได้ตลอดเวลา = - อัตราการเดินเครื่องจักร = เวลาเดินเครื่อง (Operating Time) (Availability) เวลารับภาระ (Loading Time)
อัตราการเดินเครื่องจักร = อัตราการเดินเครื่องจักร = เวลาเดินเครื่อง (Operating Time) (Availability) เวลารับภาระ (Loading Time)