วิชาการทำฟาร์มสุกร บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การผลิตบ่อพัก ทำเอง ใช้เอง หจก. มภัสกาญ คอนสตรัคชั่น
Advertisements

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
KM ข้าวไทยในแอฟริกา 8 มีนาคม 2553 โดย ศศิวิมล ทะสุนทร.
บทที่ 6 การจัดการองค์การ.
โครงงานเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี
การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในไทย
ของเทศบาลตำบลหนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี
การแต่งกายประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
Royal project and Government project พระบิดาแห่งชาวโคนมไทย.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
หลักการเลี้ยงสัตว์ คำบรรยาย โดย ครูสีกุน นุชชา
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
สมัยกลาง (EARLY MEDIVAL)
วัสดุและเทคนิค ทางการออกแบบ อ.สุวิธธ์ สาดสังข์ ( Material and
กลุ่มอาการของคนเนื่องจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อบางส่วน
ระดับความเสี่ยง (QQR)
อารยธรรมกรีกโบราณ Bilde: Akropolis.
FTA.
การเสริมไวตามิน อี ในสูตรอาหารสุกร
ปลาฉลามและนกชนิดต่างๆ
วิชาการเลี้ยงสุกร ระดับปวช.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย
งานสังคมครั้งที่ 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เว็บเบราว์เซอร์และโปรแกรมค้นหา
World Time อาจารย์สอง Satit UP
วิลเลี่ยม ฮาร์วี่ ได้กล่าวว่า..."ความเชื่อเปลี่ยนแปลงได้เสมอ   แต่ความจริงไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้" 
จัดทำโดย นาย วรปรัชญ์ ชาวเมือง เลขที่ 8 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.3
บทบาทหน้าของฝ่าย HR ในงานพัฒนาบุคคลและฝึกอบรม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
มาทำความรู้จักกับ เห็ดหนังช้าง.
การออกแบบลวดลาย ประวัติและความเป็นมา โดย อ.จรรจิรา โมน่า.
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
กฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ.....
ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
AUSTRALIA GEOGRAPHY OF AUSTRALIA-OCEANIA อาจารย์สอง : TAWEESAK GUNYOCHAI : Satit UP.
องค์กรต้นแบบอนามัยไร้พุง ปี 2552
ยุคกลาง : Medieval Age The Black Death A.D 1348 อาจารย์สอง Satit UP.
ยิ้มก่อนเรียน.
กิจกรรมที่ 7 นายปรีชา ขอวางกลาง
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
ระบบวรรณะ Caste System ( Varna )
Singapore ประเทศสิงคโปร์.
เพลง ปลุกใจ บ้านเรารู้ได้จักเพลงประเภทนี้ในรูปแบบสากลเป็นครั้งแรก ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อ ครูฝึกทหารวังหน้าชาวอังกฤษ.
การจัดการความรู้ด้านงานสนับสนุน
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
ประเทศบรูไน จัดทำโดย ด.ญ.ธัชพรรณ วรรณภิละ ม.2/8 เลขที่ 11
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทบาทหน้าของฝ่าย HR ในงานพัฒนาบุคคลและฝึกอบรม
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
คุณต้องรู้ว่าคุณกำลังมีปัญหาอะไร?
นำเสนอโดย ABC DEFG คณะเกษตรศาสตร์สาขา สัตวศาสตร์
เครื่องขุดหลุมปลูกยาสูบ
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วิชาการทำฟาร์มสุกร บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร การจัดจำพวก (classification) สุกรตามลักษณะทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้ Kingdom : Animalia เป็นสัตว์ Phylum : Chordata สัตว์มีกระดูกสันหลัง Class : Mammalia เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเลือดอุ่นมีขนปกคลุม Order : Artiodactyla เป็นสัตว์กีบคู่ Suborder : Suina Family : Suidea Genus : Sus Species : indica, scrofa และ domesticus

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร สุกรเป็นสัตว์กีบคู่มี 4 ขา แต่ละขามีกีบ 4 กีบ แต่กีบที่ 2 และ 3 เท่านั้นที่ใช้ในการยืน ฟันกัดของขากรรไกรบนมีลักษณะโค้งเป็นเขี้ยว มีจมูกกลมแบนติดอยู่ที่ปาก ขุดคุ้ยเก่ง ข้อขาแข็งแรง ไม่มีเขา ลำตัวมีขนปกคลุม ขนแข็งและหยาบ หนังหนา มีไขมันหนา ทำหน้าที่เป็นฉนวนทำให้ระบายความร้อนได้ยาก ถึงแม้ว่าสุกรจะมีต่อมที่บริเวณผิวหนังมาก แต่ต่อมเหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นต่อมเหงื่อเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย สุกรจึงชอบคลุกอยู่กับน้ำเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกายและชอบอยู่ในที่ร่มตามพุ่มไม้

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร การจัดจำพวก (classification) สุกรตามลักษณะทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้ Kingdom : Animalia เป็นสัตว์ Phylum : Chordata สัตว์มีกระดูกสันหลัง Class : Mammalia เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเลือดอุ่นมีขนปกคลุม Order : Artiodactyla เป็นสัตว์กีบคู่ Suborder : Suina Family : Suidea Genus : Sus Species : indica, scrofa และ domesticus

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร ภาพที่ 1.1 โครงร่างของสุกร (ที่มา: e-book.ram.edu)

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร ประวัติและถิ่นกำเนิดของสุกร ยุค Neolithesage สุกรที่พบมีต้นกำเนิดจากสุกรป่าแถบยุโรปและสุกรป่าแถบเอเชีย ชาติแรกที่มีการเลี้ยงสุกรคือ ประเทศจีนได้เริ่มเลี้ยงสุกรเป็นเวลากว่า 6,000 ปี ประเทศอังกฤษมีการเลี้ยงสุกรมาแล้วกว่า 2,700 ปี และค.ศ.1539 แพร่หลายไปในเขตอเมริกาโดยโคลัมบัส (ปีที่พบดินแดนใหม่) ส่วนประเทศไทยเริ่มเลี้ยงโดยชาวจีนที่อยู่ในประเทศไทย โดยเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารและอาชีพเสริม เป็นสุกรพันธุ์พื้นเมือง เช่น พันธุ์ไหหลำ เป็นต้น

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร ประวัติและถิ่นกำเนิดของสุกร ประเทศจีนมีการเลี้ยงสุกรมากที่สุดในโลก แต่ส่วนมากใช้บริโภคภายในประเทศ ส่วนประเทศที่มีการเลี้ยงสุกรส่งเป็นสินค้าออกสู่ตลาดโลก ได้แก่ เดนมาร์ค อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา สุกรพันธุ์ต่างประเทศ เช่น ลาร์จไวท์ (Large white) แลนด์เรซ (Landrace) ดูรอค (Duroc) เป็นต้น ที่นิยมเลี้ยงในปัจจุบันได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาจากบรรพบุรุษที่เป็นสุกรป่าแถบยุโรปและสุกรป่าแถบเอเซีย

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร ก. สุกรป่าแถบยุโรป (Sus scrofa) ถิ่นกำเนิด เป็นสุกรป่าของยุโรป แอฟริกา เอเชีย ซึ่งมีหลายชนิดด้วยกัน ลักษณะทั่วไป แข็งแรง ว่องไว ทนทาน ดุร้าย หัวยาวใหญ่ จมูกยาว ขายาว ไหล่กว้าง สะโพกและเอวเล็ก มีสีน้ำตาลหม่นหรือเทาปนแดง มีลายดำ เมื่อเล็กมีสีอ่อนลายเสือ เมื่อโตขึ้นลายเสือจะหายไป ผิวหยาบ ขนยุ่ง ไขมันน้อย โตเป็นหนุ่มเป็นสาวช้า ทนทานต่อโรคได้ดี

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร ภาพที่ 1.2 สุกรป่ายุโรป (ที่มา: uniprot.org/taxonomy/9823)

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร ข. สุกรป่าแถบเอเซีย (Sus indica หรือ Sus vittatus บางครั้งเรียก East indica pig) ถิ่นกำเนิด เป็นสุกรที่ได้มาจากประเทศจีน ญี่ปุ่น เอเชียตะวันออก และไทย ลักษณะทั่วไป เลี้ยงง่าย ไม่ดุร้าย รูปร่างสี่เหลี่ยม หัวสั้น กระดูกเล็ก ตัวเล็ก มีสีดำหรือขาวปนกัน ผิวหนังเรียบ มีไขมันมาก เจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาวเร็ว ลูกไม่ดก

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร ภาพที่ 1.2 สุกรป่าเอเชีย (ที่มา: wikiwand.com/en/Wild_boar)

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร ค. สุกรบ้าน (Sus domesticus) เป็นสุกรที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์แล้ว นำมาเลี้ยงกันทั่วไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก พันธุ์ที่สำคัญคือ ลาร์จไวท์ แลนด์เรซ ดูรอค เป็นต้น ถิ่นกำเนิด ได้จากการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้สุกรพันธุ์ใน Sus scrofa และ Sus indica แล้วคัดเลือกจนเป็นพันธุ์แท้ ลักษณะทั่วไป เป็นสุกรที่ปรับปรุงให้มีลักษณะทางเศรษฐกิจที่ดี เช่น หัวเล็ก เนื้อมาก มันน้อย โตเร็ว ลูกดก เลี้ยงง่าย อัตราการเปลี่ยนอาหารดี แข็งแรง และทนทานต่อโรค

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร ภาพที่ 1.3 สุกรบ้านยุโรป (ที่มา: wikiwand.com)

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร ภาพที่ 1.3 สุกรบ้านอินเดีย (ที่มา: india-tour-guide.co.uk)

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร ประวัติการนำสุกรเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทย สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีผู้นำสุกรจากประเทศอังกฤษเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยจำนวน 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ลาร์จแบล็ค (Large black) และพันธุ์เอสเสค (Essex) ต่อมาพ.ศ.2461 สุกรทั้ง 2 พันธุ์นี้ได้ถูกนำไปเลี้ยงที่โรงเรียนเกษตรกรรมนครปฐมและได้สูญพันธุ์ไปในที่สุด

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร ประเภทของการเลี้ยงสุกร การเลี้ยงสุกรแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ ก. การเลี้ยงสุกรพันธุ์ เป็นการผลิตสุกรพันธุ์จำหน่ายเพื่อเป็นพ่อและแม่พันธุ์ สุกรที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นพันธุ์จากต่างประเทศ ได้แก่ พันธุ์ลาร์จไวท์ แลนด์เรซ และดูรอค ข. การเลี้ยงสุกรขุน เป็นการผลิตสุกรขุนจำหน่ายเพื่อส่งโรงฆ่าสัตว์ สุกรที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นสุกรลูกผสม 2 หรือ 3 หรือ 4 สายพันธุ์ ค. การเลี้ยงสุกรแบบหลังบ้าน เป็นการผลิตสุกรเป็นงานอดิเรกหรืออาชีพรอง ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่มีอาชีพหลักอยู่แล้ว

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร ปัญหาและการแก้ปัญหาในการเลี้ยงสุกร 1. ปัญหาด้านการตลาด 2. ปัญหาด้านการจัดการ 3. ปัญหาด้านพันธุ์สุกรที่นำมาเลี้ยง 4. ปัญหาด้านอาหาร 5. ปัญหาด้านโรคและพยาธิ

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร ปัญหาและการแก้ไขในการส่งออกสุกร 1. ปัญหาโรคระบาดในสุกร 2. ปัญหาวัฏจักรสุกร 3. ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง 4. ปัญหาการขาดแคลนโรงฆ่าและชำแหละสุกรที่ได้มาตรฐาน 5. ปัญหาสารตกค้างในเนื้อสุกร