วิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา วิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา เสนอ อาจารย์ สุวิสาข์ เหล่าเกิด
1. นางสาว จุรีรัตน์ เชื้อดวงผูย เลขที่ 19 จัดทำโดย 1. นางสาว จุรีรัตน์ เชื้อดวงผูย เลขที่ 19 2. นางสาว นุสรา แก้วมะ เลขที่ 20 3. นางสาว วิดาอร แสนโสภา เลขที่ 33 สาขาการศึกษาปฐมวัย ปี 3 ห้อง 1
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน เรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน
ความหมาย ชุดการสอน เป็นกระบวนการสอนแบบโปรแกรมชนิดหนึ่ง อาศัยระบบสื่อประสมที่สอดคล้องกับเนื้อหา และประสบการณ์ของแต่หน่วยมาช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทฤษฏีและแนวคิด แนวคิดการพัฒนาชุดการสอน การพัฒนาชุดการสอนใช้แนวคิดหลัก 5 ประการเป็นแนวทางพัฒนา ดังนี้
แนวคิดที่ 1 ทฤษฏีความแตกต่างระหว่างบุคคล นักการศึกษาได้นำหลักจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความต้องการ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ
แนวคิดที่ 2 ความพยายามที่จะเปลี่ยนการเรียนการสอนที่ยึด ครู เป็นแหล่งความรู้หลักมาเป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน เรียนด้วยการใช้แหล่งความรู้จากสื่อการเรียนการสอนจากแหล่งต่างๆ
แนวคิดที่ 3 การใช้โสตทัศนูปกรณ์ในรูปของการจัด ระบบสื่อหลายอย่างมาบูรณาการให้เหมาะสม แนวคิดที่ 4 ปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับสภาพแวดล้อม
แนวคิดที่ 5 การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้โดยนำหลักจิตวิทยาการเรียนโดยการจัดสภาพการณ์ออกมาเป็นการสอนแบบโปรแกรม
ประโยชน์ของชุดการสอน 1. ช่วยให้ผู้สอนถ่ายทอดเนื้อหาและประสบการณ์ที่สลับซับซ้อนได้ 2. เร้าความสนใจของผู้เรียนต่อสิ่งที่กำลังศึกษา 3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น ฝึกการตัดสินใจ 4. เป็นการสร้างความพร้อมและความมั่นใจแก่ผู้สอน 5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนของผู้เรียน
ประโยชน์ของชุดการสอน (ต่อ) ประโยชน์ของชุดการสอน (ต่อ) 6. แก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล และส่งเสริมการศึกษารายบุคคล 7. ช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนครู 8. ช่วยนักเรียนให้รู้จุดมุ่งหมายของการเรียนได้ชัดเจน 9. ชุดการสอนจะกำหนดบทบาทของครูและนักเรียนไว้ชัดเจน 10. ชุดการสอนเกิดจากการนำวิธีเชิงระบบเข้ามาใช้
องค์ประกอบของชุดการสอน 1. คู่มือการใช้ชุดการสอน เป็นคู่มือที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ชุดการสอนศึกษาและปฏิบัติตาม เพื่อให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ อาจประกอบด้วยแผนการสอน สิ่งที่ครูต้องเตรียมก่อนสอน การจัดชั้นเรียน 2. บัตรงาน เป็นบัตรที่มีคำสั่งว่าจะให้ผู้เรียนปฏิบัติอะไรบ้าง โดยระบุกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนของการเรียน
องค์ประกอบของชุดการสอน (ต่อ) 3. แบบทดสอบวัดความก้าวหน้าของผู้เรียน เป็นแบบทดสอบที่ใช้สำหรับตรวจสอบว่า หลังจากเรียนชุดการสอนจบแล้วผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ 4. สื่อการเรียนต่างๆ เป็นสื่อสำหรับผู้เรียนได้ศึกษามีหลายชนิดประกอบกันอาจเป็นประเภทสิ่งพิมพ์ หรือประเภทโสตทัศนูปกรณ์
ขั้นตอนการพัฒนาและการใช้ชุดการสอน 1. การกำหนดหมวดหมู่ เนื้อหาและประสบการณ์ 2. การกำหนดหน่วยการสอน 3. การกำหนดหัวเรื่อง 4. การกำหนดมโนทัศน์และหลักการ 5. การกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับหัวเรื่อง 6. การกำหนดกิจกรรมการเรียน 7. การกำหนดแบบวัดและประเมินผล 8. การเลือกและผลิตสื่อการเรียนการสอน
ขั้นตอนการพัฒนาและการใช้ชุดการสอน (ต่อ) ขั้นตอนการพัฒนาและการใช้ชุดการสอน (ต่อ) 9.การหาประสิทธิภาพชุดการสอน ประสิทธิภาพของชุดการสอนที่สร้างขึ้นกำหนดไว้ 3 ระดับ คือ 1. สูงกว่าเกณฑ์ 2. เท่าเกณฑ์ 3. ต่ำกว่าเกณฑ์
ขั้นตอนการพัฒนาและการใช้ชุดการสอน (ต่อ) ขั้นตอนการพัฒนาและการใช้ชุดการสอน (ต่อ) 10. การใช้ชุดการสอน ชุดการสอนที่ได้ปรับปรุงแล้ว โดยกำหนดขั้นตอนการใช้ดังนี้ 1. ขั้นทดสอบความรู้เดิม 2. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 3. ขั้นดำเนินการจัดกิจรรมการเรียนรู้ 4. ขั้นสรุปบทเรียน ทำแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป
ผู้ค้นพบการวิจัย 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Stone (1975) ได้สร้างชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนเกรด 7 และ 8 พบว่า นักเรียนเกรด 7 ที่เรียนด้วยชุดการสอนมีความรู้วิชาคณิตศาสตร์ดีกว่านักเรียนระดับเดียวกัน Suggs (1998) ได้สร้างชุดการสอนด้วยตนเองสำหรับ พยาบาล พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
2. คุณลักษณะของผู้เรียน Vivas (1985) ได้ทำการวิจัยกับนักเรียนเกรด 1 ประเทศเวเนซูลา พบว่า ความสามารถที่เพิ่มขึ้นในด้านความคิด ด้านความพร้อมในการเรียน ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านเชาว์ปัญญา และด้านการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยชุดการสอนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ
3. การแก้ปัญหาเด็กเรียนช้า Wilson (1989) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลของการใช้ชุดการสอนของครูเพื่อแก้ปัญหาของเด็กเรียนช้าด้านคณิตศาสตร์ พบว่า ครูผู้สอนยอมรับว่าการสอนโดยใช้ชุดการสอนมีประสิทธิภาพสูงกว่าการสอนปกติ และยังสามารถแก้ปัญหาการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่เรียนช้าได้
4. ทัศนคติต่อวิชาที่เรียน Blankenship (1997) ได้สร้างชุดการสอนโดยใช้ภาพเพื่อศึกษาทัศนคติของเด็กที่มีต่อวิชาสังคมศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาล 3 ประเทศเยอรมัน พบว่า นักเรียนมีทัศนคติต่อวิชาสังคมดีขึ้น
5. ความสามารถในการเขียน Aibertson (2001) ได้สร้างชุดการสอนเพื่อเสนอวิธีการพัฒนาการเขียนหนังสือนิยายเรื่องยาวกับนักเรียนที่เรียนวิชาเอกการเขียน พบว่า ชุดการสอนทำให้ผู้เรียนพัฒนาการเขียนเนื้อหาในระดับที่ดีขึ้น และใช้ภาษาเขียนที่ไพเราะขึ้นกว่าเดิม
6. ความสามารถในการแก้ปัญหา รัตนา ฉายะเจริญ (2538) ได้สร้างชุดการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผลการทดสอบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนในด้านความสามารถแก้ปัญหาสูงขึ้น
คำถาม 1. ข้อใดคือความหมายของชุดการสอน ก. การสะสมงานอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงถึงผลงานความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ข. เป็นโครงการเรียนที่มีเนื้อหาจบในตัวเองสามารถใช้ได้กับผู้เรียนเป็นกลุ่มและรายบุคคล ค. เป็นกระบวนการสอนแบบโปรแกรมชนิดหนึ่งอาศัยระบบสื่อประสมที่สอดคล้องกับเนื้อหา ง. ถูกทั้งข้อ ข และ ค
2. ข้อใดคือประโยชน์ของชุดการสอน ก. เร้าความสนใจของผู้เรียนต่อสิ่งที่กำลังศึกษา ข. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น ค. เป็นการสร้างความพร้อมและความมั่นใจแก่ผู้สอน ง. ถูกทุกข้อ
3. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของชุดการสอน ก. แนวทางการจัดการเรียนรู้ ข. คู่มือการใช้ชุดการสอน ค. บัตรงาน ง. สื่อการเรียนต่างๆ
4. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนที่กำหนดไว้ในการใช้ชุดการสอน ก. ขั้นทดสอบความรู้เดิม ข. ขั้นทดลองสอน ค. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ง. ขั้นสรุปบทเรียน
5. จากการจัดการเรียนโดยใช้ชุดการสอนมีข้อค้นพบจากการวิจัยหลายข้อ รัตนา ฉายะเจริญ ได้ค้นพบวิจัยในข้อใด ก. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ข. การแก้ปัญหาเด็กเรียนช้า ค. ความสามารถในการเขียน ง. ความสามารถในการแก้ปัญหา
เฉลย 1. ค 2. ง 3. ก 4. ข 5. ง
จบการนำเสนอ สวัสดีค่ะ