ขั้นตอนของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
Advertisements

การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
การเขียนโครงร่างวิจัย
อ. สิริพร มีนะนันทน์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
เครื่องชี้วัดคุณภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้เรียน
แนวทางการสอน เพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบการสอน
การสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
บทที่ 3 จัดทำและนำเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
วิชาโครงการ รหัส & ระดับ ปวช. และ ปวส.
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
นาย สรวิศ เตธัญญวรากูล ปวช.3/2 นาย ศิวกร มาลี ปวช.3/2.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
การจัดกิจกรรม ชุมนุม Science Club. การจัดกิจกรรมชุมนุมสนองตอบ วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา ตามมาตรา ๒๔ ได้อย่างครบถ้วน.
1. ด้าน หลักสูตร. จุดเน้นกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คุณภาพผู้เรียน “ คุณภาพผู้เรียน ที่ระบุในจุดเน้นมีอยู่ แล้วในหลักสูตร.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
ของรายงานการทำโครงงาน
ระบบ ISO 9001:2015 สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
หมวดศึกษาทั่วไป ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ผู้สอน : อ.สำราญ ผลดี
แนวทางจัดทำเอกสารประกอบการสอน เพิ่มเติม อีกรูปแบบ
กลุ่มเกษตรกร.
วาระที่ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำนักแผนงานและโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในพื้นที่
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
ข้อสังเกตโดยรวมของผลงานที่ได้คะแนน ระดับดีมาก - ดี
การขอโครงการวิจัย.
แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัด อปท. เข็มชาติ พิมพิลา รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียน เวียงเชียงรุ้งวิทยา.
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของบุคคลหลายท่านซึ่งไม่สามารถกล่าวไว้ในที่นี้ได้ทั้งหมดทุกท่าน ซึ่งท่านแรก ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ.
รายวิชา การบริหารการศึกษา
โครงงานกระปุกออมสินจากกะลามะพร้าว
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ.
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
โครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT/O-NET)
การจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม
02/08/62 การศึกษาพลังงานทางเลือกจากมูลช้างทำถ่านอัดแท่ง สู่ชุมชนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุรินทร์ The Study of Alternative Fuel From Elephant Dung Made Bar.
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
แนวทางการออกแบบนิตยสาร
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
การประกวดสิ่งประดิษฐ์ ของคนรุ่นใหม่
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ขั้นตอนของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่ปฏิบัติ สังเกตปัญหาต่าง ๆ รอบตัว เลือกปัญหาที่ ตนเองสนใจ และพิจารณาความเป็นไปได้ เพื่อกำหนดหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกหัวข้อโครงงาน วางแผนการทำโครงงาน ดังนี้ 1. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2. พิจารณาเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา 3. เขียนโครงร่างของโครงงาน 4. ขออนุมัติทำโครงงาน ขั้นที่ 2 การวางแผนโครงงาน

ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการโครงงาน ขั้นตอนการทำโครงงาน กิจกรรมที่ปฏิบัติ ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการโครงงาน ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ เช่น ทำการสำรวจทำ การทดลอง ทำสิ่งประดิษฐ์ (ตามประเภทของ โครงงานที่เลือก) โดยใช้ทักษะกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลตามจุดประสงค์ของโครงงาน โดยใช้ ทักษะต่อไปนี้ 1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2. ทักษะการบันทึกข้อมูล 3. ทักษะการปฏิบัติงาน

ขั้นที่ 4 การเขียนรายงาน โครงงาน ขั้นตอนการทำโครงงาน กิจกรรมที่ปฏิบัติ ขั้นที่ 4 การเขียนรายงาน โครงงาน ประมวลผลการทำโครงงาน สรุปเป็น เอกสารรายงานมี 5 บทได้แก่ 1. บทนำ 2. เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3. วิธีดำเนินการ 4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 5. สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

ขั้นตอนการทำโครงงาน กิจกรรมที่ปฏิบัติ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่โครงงานต่อ สาธารณชนด้วยการบรรยายประกอบ แผนโครงงานหรือจัดนิทรรศการ ขั้นที่ 5 การนำเสนอโครงงาน และแสดงผลงาน ทบทวนโครงงานที่ทำแล้วว่ายังมีประเด็น ปัญหาใดที่ควรทำโครงงานต่อไป เพื่อให้ ได้ความรู้ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แล้วทำเป็น โครงการต่อเนื่องหรือโครงงานใหม่ ขั้นที่ 6 การพัฒนาโครงงาน

การคิดหัวข้อเรื่องและการเลือกหัวข้อเรื่อง การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องของปัญหาเป็นขั้นตอนที่ยากเพราะเป็นปัญหาที่จะต้องเป็นเรื่องที่เหมาะสมกับระดับความรู้ ความสามารถของผู้เรียน และมีแนวทางที่จะหาคำตอบซึ่งโดยทั่วไปหัวข้อโครงงานมักจะได้จากปัญหาคำถามหรือความอยากรู้ อยากเห็นรอบ ๆ ผู้เรียน จึงควรให้ผู้เรียนเป็นผู้คิดและเลือกหัวข้อที่จะศึกษาด้วยตัวเอง

เทคนิคในการคิดหาหัวข้อโครงงาน โดยผู้สอนจะต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดปัญหาด้วยตัวเอง โดยอาจเริ่มจากการตั้งคำถามง่าย ๆ ใกล้ตัวก่อน

การเลือกหัวข้อเรื่องในการทำโครงงาน ผู้เรียนจะต้องคิดและเลือกด้วยตัวของผู้เรียนเอง ซึ่งแหล่งที่มาในการที่จะเลือกเรื่องที่ทำโครงงานมาจากแหล่งต่าง ๆ พอสรุปได้ดังนี้ จากการอ่านหนังสือพิมพ์พบว่า มีคำทับศัพท์ที่มาจากภาษาต่างประเทศหรือคำย่อต่าง ๆ อยู่มาก ก็อาจจะทำโครงงาน “สำรวจคำย่อและความหมายจากหนังสือพิมพ์” หรืออาจทำโครงงาน “คำทับศัพท์จากต่างประเทศที่พบเห็นและใช้ชีวิตประจำวัน”

จากการอ่านงานวิชาการต่าง ๆ เช่น ตำรา หนังสือพิมพ์ วารสาร งานวิจัย บทความหรือเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนเห็นปัญหาจากเนื้อหาวิชาการต่าง ๆ ที่น่าสนใจและสามารถหยิบยกทำโครงงาน “สำรวจความพึงพอใจของครู-อาจารย์ สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการใช้หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

จากการอ่านวารสารเกษตรต่าง ๆ พบว่า มะกรูดกับมะนาวเป็นพืชที่มีความใกล้ชิดกัน สามารถนำมะนาวมาเสียบยอดบนต้นมะกรูดได้ ก็อาจจะทำให้ผู้เรียนนำวิธีการดังกล่าวไปใช้กับต้นไม้อื่น ๆ ที่มีความใกล้ชิดกัน และอาจนำมาเสียบยอดกันได้ เช่น ต้นชบากับกระเจี๊ยบเขียวอยู่ในตระกูลเดียวกันหรือต้นมะลิลาอยู่ในตระกูลเดียวกันกับต้นพุด ผู้เรียนก็เลยคิดทำโครงงานเรื่อง “การเสียบยอดกระเจี๊ยบเขียวบนต้นชบา” หรือ “การเสียบยอดมะลิลา บนต้นพุด”

เมื่อได้หัวข้อเรื่องแล้วให้นำมาปรึกษาหารือในกลุ่มคณะที่เราร่วมทำงานกัน เมื่อเลือกหัวข้อเรื่องหรืออาจจะนำหัวข้อเรื่องหลาย ๆ หัวข้อมาปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาพร้อม ๆ กับคณะที่ทำร่วมกันก็ได้ หลังจากนั้นสิ่งที่ผู้เรียนควรทำต่อไปคือ การตั้งชื่อโครงงานซึ่งชื่อเรื่องของโครงงานจะเป็นสิ่งที่จะชี้ให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหา วิธีการศึกษาของโครงงานนั้น ซึ่งชื่อเรื่องที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้

ตั้งชื่อเรื่องให้ตรงกับเรื่องที่ศึกษา ซึ่งเมื่ออ่านชื่อเรื่องแล้ว ทำให้เราสามารถบอกได้ว่าเรื่องนั้นมีลักษณะวิธีการศึกษาอย่างไร - ศึกษาการใช้สารบอแรกซ์ในหมูยอชื่อดัง 5 ยี่ห้อ - เปรียบเทียบแป้งในยาสีฟันชื่อดัง 5 ยี่ห้อ - ตรวจหาแบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์มในน้ำแข็งบด - การสกัดสีจากดอกกุหลาบ - พริกขี้หนูกำจัดแมลงสาบ - สมุนไพรกำจัดเหา - ความรุนแรงของน้ำมันทอดอาหารหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ตัวอย่างตารางวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจเลือกโครงงานของผู้เรียน ก่อนที่ผู้เรียนจะตัดสินใจทำโครงงานใด ผู้เรียนควรทำตารางวิเคราะห์ในลักษณะต่อไปนี้แล้วให้คะแนนตามรายการในช่องของแต่ละโครงงานดังนี้ (มากที่สุด = 4, มาก = 3, ปานกลาง = 2 และน้อย = 1) แล้วรวมคะแนนของแต่ละโครงงาน โครงงานที่ได้คะแนนมากที่สุดเป็นโครงงานที่ควรพิจารณาเลือก

ตารางแสดงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจเลือกโครงงาน รายการ โครงงานที่ 1 โครงงานที่ 2 โครงงานที่ 3 โครงงานที่ 4 1. ความถนัด/ความสนใจในการทำงานตามโครงงานนี้ 2. ประโยชน์ที่คิดว่าจะได้รับจากโครงงานนี้ 3. ความรู้/ประสบการณ์เดิมที่สามารถนำมาใช้ในโครงงานนี้ 4. ความพร้อมด้านแหล่งวิทยาการ 5. ความพร้อมด้านเวลา 6. ความพร้อมด้านเงินทุน 7. ความพร้อมของคณะผู้ร่วมงาน (ถ้าทำเป็นกลุ่ม) 8. ความสนับสนุนจากเพื่อนอื่น ๆ 9. ความสนับสนุนจากผู้ปกครอง 10. ความสนับสนุนจากอาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ที่ปรึกษา รวมคะแนน

การวางแผนโครงงานวิทยาศาสตร์ การทำโครงงานของผู้เรียนจะให้สำเร็จลุล่วงไปได้นั้น จะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบและบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อจะได้ตัดสินใจไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับสิ่งที่จะทำ คือ 5 W – 1H What - จะทำอะไร (หัวข้อและประเภทของโครงงาน) Why - ทำไมจึงต้องทำ (จุดประสงค์ของโครงงาน) Who - ใครเป็นผู้ทำ (ผู้รับผิดชอบโครงงาน) When - กระทำเมื่อไร (ระยะเวลาในการทำโครงงาน) Where - กระทำที่ไหน (สถานที่สำรวจเก็บข้อมูล / ทดลอง) How - จะทำอย่างไร (วิธีดำเนินการของโครงงาน)

เพื่อให้ผู้เรียนตอบคำถาม 5W – 1H ได้ ผู้เรียนจะต้องวางแผนโดยต้องปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ 1. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ศึกษาว่ามีเอกสารเล่มใดบ้างที่กล่าวถึงหลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือในเอกสารเล่มใดบ้างที่ระบุว่ามีผู้ได้ทำการศึกษาค้นคว้าทดลองมาแล้ว ถ้ามีเขาทำอย่างไร แหล่งข้อมูลสำคัญอีกแหล่งคือ การศึกษาผลงานของโครงงานวิทยาศาสตร์หรือปัญหาพิเศษจากเอกสารรายงานหรือการแสดงนิทรรศการ โครงงานวิทยาศาสตร์จะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับผู้เรียนในด้านความรู้ เทคนิคและวิธีการทดลอง ผลของการศึกษาทดลองตลอดจนข้อจำกัด รวมทั้งข้อเสนอแนะของการศึกษาทดลอง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดแนวคิดที่จะประยุกต์ดัดแปลงในการใช้วัสดุ การศึกษาทดลองดังกล่าวมาจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในเรื่องที่ตนสนใจด้วย

ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เอกสารอ้างอิงผู้เรียนจะต้องจดข้อความหรือถ่ายเอกสารมาด้วยเพื่อจะได้นำไปเขียนเป็นบท เอกสารในการจัดทำเค้าโครงและการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ พร้อมกับจดชื่อเอกสาร วารสาร หัวข้อเรื่องในวารสาร เอกสาร ชื่อผู้แต่ง สำนักพิมพ์ จังหวัด หรือประเทศที่พิมพ์ พ.ศ.ที่พิมพ์ และข้อความนั้นอยู่หน้าอะไรไว้ด้วยเพื่อจะได้ให้เกียรติแก่ผู้ที่ได้จัดทำเอกสาร วารสารนั้นไว้ในบรรณานุกรมของรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ฉบับสมบูรณ์

2. พิจารณาเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ การพิจารณาเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น ผู้เรียนควรเลือกให้สอดคล้องและเหมาะสมกับหัวข้อโครงงาน เพราะอาจารย์ที่ปรึกษาก็มีบทบาทมากเช่นเดียวกันในการแนะนำผู้เรียนที่จะทำโครงงาน หากอาจารย์มีความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อโครงงานแล้ว จะทำให้เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมโครงงานนั้น ๆ ด้วย

ตัวอย่าง ผู้เรียนต้องการทำโครงงานเรื่อง “เปรียบเทียบการใช้ปรอทแอมโมเนียในครีมกันแดดยี่ห้อดัง” ซึ่งโครงงานเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับเคมีผู้เรียนก็จะต้องไปหาอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับสารเคมีซึ่งก็น่าจะเป็นอาจารย์ที่สอนวิชาเคมี หรือผู้เรียนทำโครงงานเรื่อง “ไฟเลี้ยวรถจักรยาน” ซึ่งโครงงานประเภทนี้เกี่ยวข้องกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ อาจารย์ที่ปรึกษาก็ต้องเป็นอาจารย์ที่สอนฟิสิกส์หรือวิทยาศาสตร์ทั่วไป เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ที่ปรึกษายังจะต้องมีหน้าที่แนะนำเทคนิควิธีการต่าง ๆ ในการค้นเอกสารจากห้องสมุด ซึ่งอาจแนะนำให้ผู้เรียนไปศึกษากับบรรณารักษ์ห้องสมุดก็ได้ นอกจากนี้แล้วอาจารย์ที่ปรึกษาอาจจะต้องให้ความช่วยเหลือในการติดต่อห้องสมุดอื่น ๆ ในท้องถิ่นให้ผู้เรียนสามารถเข้าไปใช้บริการได้

3. การเขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์ 3.1 วิธีการเขียนเค้าโครงของโครงงา มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1) ชื่อโครงงาน (name project) คือปัญหาที่ผู้เรียนสนใจอยากศึกษา เขียนด้วยข้อความที่สั้น ชัดเจน สื่อความหมาย ได้ตรงกับสิ่งที่ผู้เรียนกำลังศึกษา อ่านแล้วรู้ว่าจะศึกษาเรื่องอะไร เป็นโครงงานประเภทใด เช่น โครงงานสำรวจข้อมูล โครงงานการทดลอง หรือโครงงานสิ่งประดิษฐ์ 2) ชื่อผู้ทำโครงงาน (participant) อาจเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม 3) ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน (adviser) หรืออาจารย์ผู้สอน (teacher’s name) ครู อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ควบคุมการทำโครงงานของผู้เรียน

4) ที่มาและความสำคัญของโครงงาน (utility of project) อธิบายถึงความเป็นมาเกี่ยวกับปัญหาที่น่าสนใจจะศึกษาว่ามีความเป็นมาอย่างไร เหตุใดจึงเลือกทำโครงการนั้น มีเหตุจูงใจอะไร มีความสำคัญอย่างไร ผู้เรียนอาจจะหาหลักฐานต่าง ๆ ประกอบ ซึ่งอาจจะเป็นหลักการ ทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้องมาประกอบการสนับสนุนด้วยก็ได้ เป็นเรื่องที่คิดขึ้นมาใหม่หรือเป็นการศึกษาต่อยอดจากโครงงานเดิมที่มีผู้อื่นทำมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ศึกษาในบางเรื่องหรือเป็นการทำซ้ำเพื่อตรวจสอบผลอีกครั้ง หรือเป็นเรื่องดัดแปลงจากเรื่องอื่น ๆ ต้องแสดงความเห็นด้วยว่าผู้ที่เคยศึกษามาแล้วเขาทำอย่างไรและในส่วนของเรานั้นทำอย่างไร

5) วัตถุประสงค์ของการศึกษา (objectives) เป็นการกำหนดจำเพาะเจาะจงว่าจะศึกษาอะไร โดยการเขียนเป็นข้อ ๆ โดยเขียนให้สอดคล้องกับสิ่งที่จะศึกษาหรือทดลอง เขียนให้ชัดเจน ไม่ยืดยาวและไม่ควรเขียนจุดประสงค์ไว้หลาย ๆ ข้อเกินความจำเป็นควรมี 1-2 ข้อก็เพียงพอ เพราะถ้ากำหนดไว้หลายข้อเวลาทำการทดลองจะต้องเป็นไปตามหัวข้อจุดประสงค์ หากทำไม่ครบทุกข้อก็จะทำให้โครงงานเรื่องนั้นไม่ประสบผลสำเร็จนั่นเอง

6) ขอบเขตของโครงงานที่ทำการศึกษา เป็นการระบุข้อจำกัดในการเก็บข้อมูล เช่น ระบุว่าหัวข้อเรื่องที่จะศึกษานี้จะศึกษาในเรื่องใดบ้าง จะไม่ศึกษาในเรื่องใดบ้าง ประชากรหรือตัวอย่างในการทดลองหรือผู้ที่เราขอข้อมูลเป็นใคร มาจากที่ไหน อยู่ระดับใด จำนวนเท่าใด เพื่อเป็นข้อตกลงว่าจะทำเพียงแค่ที่กำหนดไว้เท่านั้น

7) สมมติฐานของการศึกษา (hypothesis) ถ้ามีเป็นการคาดคะเนผลการทดลองไว้ล่วงหน้า การเขียนสมมติฐานควรมีเหตุผลโดยมีหลักการทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์รองรับ ซึ่งมักเขียนเป็นข้อความมองเห็นแนวในการดำเนินการทดลองหรือตรวจสอบได้

8) วิธีดำเนินการ (procedures) เป็นการกำหนดขั้นตอนที่เราจะต้องศึกษาทดลอง โดยกำหนดวิธีการทดลอง ตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของการศึกษาที่กำหนดไว้ทุกประการให้ระบุว่าต้องใช้อุปกรณ์อะไร ลักษณะเป็นอย่างไร มีขนาดเท่าใด ทำด้วยอะไร จะหามาจากแหล่งใด จะจัดซื้อหรือขอยืมจากที่ใด ใช้ปริมาณเท่าใด มีแนวทางในการศึกษาหรือทำการทดลองอย่างไร จะมีการออกแบบการทดลองเป็นอย่างไร มีการเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เก็บด้วยวิธีใด จากที่ไหนและอย่างไร มีการบันทึกข้อมูลด้วยวิธีการใด ข้อมูลที่เก็บมาได้จะทำการวิเคราะห์อย่างไร มีระยะเวลาในการดำเนินงานในแต่ละขั้นเท่าใด เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมีวิธีการนำเสนอในรูปแบบใด

9) ประโยชน์หรือผลที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้ (expected outcome) ให้กำหนดเป็นข้อ ๆ ว่าประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับทั้งที่จะได้กับตนเอง เพื่อนหรือผู้อื่นให้ชัดเจนว่าเมื่อนำโครงงานเรื่องดังกล่าวแล้วจะได้รับประโยชน์อะไร ทั้งในเรื่องผลผลิต กระบวนการและผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น ประโยชน์ด้านการเกษตรต่อเกษตรกร ในด้านการศึกษาเป็นเครื่องมือหรือแนวทางในการนำไปใช้ในบทเรียนที่กำลังเรียนในด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

10) เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม (bibliography) บอกชื่อเอกสาร ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่ใช้ทำโครงงานเพื่อให้ผู้อื่นทราบว่าผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลมาจากแหล่งใดบ้าง หากสนใจที่จะทำโครงงานในลักษณะเดียวกันในมุมมองอื่น ๆ ก็สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากแหล่งความรู้เหล่านั้น

3.2 ตัวอย่างเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์ 3.2 ตัวอย่างเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์ เปรียบเทียบแป้งในยาสีพันชื่อดัง 5 ยี่ห้อ 1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา ปัจจุบันมียาสีฟันหลายยี่ห้อ แข่งขันกันด้านสรรพคุณและการโฆษณา เพื่อดึงดูดลูกค้า แต่คุณสมบัติที่ดีนั้นควรมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ช่วยยังยั้งแบคทีเรีย ลดกรดในช่องปาก ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อนที่รุนแรงเกินไปและผสมแป้งเพียงเล็กน้อย แต่มีหลายยี่ห้อที่ผสมแป้งมากทั้งนี้เพื่อเพิ่มเนื้อยาสีฟัน จึงเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ดังนั้นจึงควรทดสอบปริมาณแป้งเพื่อให้ได้ยาสีฟันที่มีคุณภาพมากที่สุด

1) สารไอโอดีน 2) น้ำสะอาด 3) ช้อนคนสาร 4) แก้วพลาสติก 2. จุดมุ่งหมายของการศึกษา 1) เพื่อทดสอบแป้งในยาสีฟันชื่อดัง 5 ยี่ห้อ 2) เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้บริโภคในการเลือกซื้อยาสีฟันที่มีคุณภาพ 3. อุปกรณ์และสารเคมี 1) สารไอโอดีน 2) น้ำสะอาด 3) ช้อนคนสาร 4) แก้วพลาสติก

3)หยดสารละลายไอโอดีน 2 หยดลงในแต่ละตัวอย่าง สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง 4.วิธีการดำเนินการ(เก็บตัวอย่างและขั้นตอนทดสอบ) 1) เก็บตัวอย่างยาสีฟันในท้องตลาด 5 ยี่ห้อดัง คือ คอนเกร็ด เซ็นเสียดาย ดาร์ริ่ง ชิดใกล้ และฟูโอแคราย 2) บีบยาสีฟันประมาณ 5 กรัม ใส่ในแก้วพลาสติก ละลายด้วยน้ำสะอาด 1 มิลลิลิตร คนให้เข้ากัน (ห้ามนำช้อนหรือแก้วพลาสติกแต่ละตัวอย่างมาปะปนกัน) 3)หยดสารละลายไอโอดีน 2 หยดลงในแต่ละตัวอย่าง สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง ภาพที่ 3.2 แสดงอุปกรณ์ทดลองเปรียบเทียบแป้งในยาสีพันชื่อดัง 5 ยี่ห้อ

1 = สีม่วงจาง , 2 = สีม่วงเข้ม , 3 = สีดำ ผลการวิเคราะห์ ถ้าน้ำเปลี่ยนเป็นสีดำหรือม่วงแสดงว่ายาสีฟันนั้นมีแป้งผสม หากสีเข้มมากแสดงว่ามีแป้งผสมอยู่มาก กำหนดให้ 1 = สีม่วงจาง , 2 = สีม่วงเข้ม , 3 = สีดำ เปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ภาพ แสดงผลการทดลองเปรียบเทียบแป้งในยาสีพันชื่อดัง 5 ยี่ห้อ

ประโยชน์ของโครงงาน สามารถทดสอบเบื้องต้นว่ายาสีฟันยี่ห้อใดมีส่วนผสมของแป้งมากเกินไป และเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเลือกซื้อยาสีฟันให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด

ตาราง แสดงผลการทดสอบปริมาณแป้งในยาสีฟัน 5 ยี่ห้อ ตัวอย่างยาสีฟัน ปริมาณแป้งในยาสีฟัน คอนเกร็ด เซ็นเสียดาย ดาร์ริ่ง ชิดใกล้ ฟูโอแคราย

ตัวอย่างการตั้งคำถามของครู เค้าโครงของโครงงาน - ผู้เรียนอยากจะศึกษาเรื่องอะไร - ทำไมจึงอยากศึกษาเรื่องนั้น 1. หลักการและเหตุผลที่มาของโครงงาน - ผู้เรียนจะศึกษาเรื่องนั้นเพื่ออะไร 2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน - ผู้เรียนจะเริ่มต้นศึกษาอะไรก่อนเป็นลำดับแรก แล้วศึกษาอะไรเป็นลำดับต่อไป 3. วิธีการหรือขั้นตอนการทำโครงงาน - ผลการศึกษาเรื่องนั้นเป็นอย่างไรจะนำเสนอข้อมูลที่ได้ในรูปแบบใด (เขียนบรรยาย ตาราง รูปภาพ กราฟ) 4. ผลการศึกษา - เมื่อนำผลการศึกษาของแต่ละขั้นตอนมารวมกันแล้วสรุปผลสั้น ๆของโครงงานนี้ว่าคืออะไร 5. สรุปผลโครงงาน

คำถามของครู เค้าโครงของโครงงาน - จากสิ่งที่ทำมาทั้งหมดจะตั้งชื่อเรื่องว่าอะไรดี จึงจะสอดคล้องกับงานที่ทำ และผู้อื่นอ่านแล้วรู้ว่าโครงงานนี้ทำอะไร (การตั้งชื่ออาจจะตั้งชื่อโครงงานไว้ตั้งแต่ต้น เมื่อทำโครงงานเสร็จแล้วอาจจะทบทวนชื่อโครงงานอีกครั้งว่าตรงกับงานที่ทำหรือไม่ ถ้าไม่ตรงสามารถปรับเปลี่ยนชื่อโครงงานใหม่ให้เหมาะสมได้ 6. ชื่อโครงงาน - จะนำเสนอผลการศึกษาจากการทำโครงงานให้ผู้อื่นรับทราบได้ด้วยวิธีใด - เขียนรายงานผลโครงงานอย่างไรดี - เขียนบทคัดย่อของโครงงานอย่างไรดี - จัดทำแผนโครงงานอย่างไรดี - ทำแผ่นใสหรือสไลด์ สำหรับการบรรยายอย่างไรดี - จะบรรยายประกอบแผนโครงงานด้วยแผ่นใส สไลด์อย่างไรดี ผู้ฟังจึงจะเข้าใจง่ายและรู้เรื่องที่ผู้เรียนทำมากที่สุด 7. การนำเสนอโครงงาน - รายงานผลโครงงาน - บทคัดย่อของโครงงาน - แผงโครงงาน - การเตรียมเสนอผลงาน - วิธีการนำเสนอผลงาน

คำถามของครู เค้าโครงของโครงงาน - หลังจากทำโครงงานนี้แล้ว มีประเด็นใดบ้างที่น่าสนใจ น่าศึกษาต่อ และนำมาทำเป็นโครงงานใหม่ 8. การพัฒนาโครงงาน (การทำโครงงานใหม่) - โครงงานที่ทำมีประโยชน์อะไรบ้าง มีประโยชน์ต่อใคร หรือหน่วยงานใด 9. ประโยชน์ของโครงงานต่อบุคคล อื่น

การขออนุมัติทำโครงงาน เมื่อเขียนเค้าโครงของโครงงานเสร็จแล้วผู้เรียนต้องขออนุมัติทำโครงงานจากอาจารย์ผู้สอนวิชาโครงงานหรืออาจารย์ประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หรืออาจารย์ที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการอนุมัติโครงงานของโรงเรียนแล้วแต่กรณี เพียงตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมว่าโครงงานนั้นสามารถดำเนินได้จริง ตามที่เขียนเค้าโครงมาหรือไม่ 4. การขออนุมัติทำโครงงาน

การปฏิบัติการโครงงานหรือการลงมือทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เมื่อผู้เรียนได้รับความเห็นชอบจากการประชุมร่วมกันของสมาชิกในกลุ่มและผ่านการเสนอแนะพร้อมกับได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา รวมไปถึงการอนุมัติให้ได้รับทุนอุดหนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ เมื่อมีการเสนอขอรับทุนผู้เรียนก็ลงมือทำการศึกษาทดลองได้ทันที ซึ่งการปฏิบัติการโครงงานเป็นขั้นตอนการทำโครงงานที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นการทำโครงร่างของโครงงานมาปฏิบัติจริง เพื่อให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้

ในเบื้องต้นของเสนอว่า ผู้เรียนควรจะได้สุ่มการศึกษาทดลองก่อน โดยเลือกใช้วัสดุง่าย ๆ หรืออุปกรณ์ที่มีพอหาได้หรือมีอยู่ในห้องปฏิบัติการทำการศึกษาทดลองก่อนว่าน่าจะเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ในเค้าโครงนั้นหรือไม่ หากเป็นไปได้จึงเริ่มปฏิบัติการทดลองจริงซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้เรียนต้องลงมือสำรวจรวบรวมข้อมูล ทำการทดลองหรือประดิษฐ์ (ขึ้นอยู่กับประเภทของโครงงานที่ทำ) เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับปัญหาที่สงสัย ความรู้หรือความจริงในเรื่องนั้น

ในระหว่างการศึกษา ทดลองหรือประดิษฐ์ อาจจะเกิดปัญหานานาประการ ได้แก่ เครื่องมือ อุปกรณ์ไม่ทำงาน สารเคมีอาจเสื่อมคุณภาพ การทดลองหรือการศึกษาอาจไม่เป็นไปตามที่คาดคิด ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มจะต้องร่วมกันแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อาจเปลี่ยนอุปกรณ์ สารเคมี หรือเปลี่ยนวิธีการศึกษาแต่ในขณะเดียวกันผู้เรียนควรจะศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องในส่วนที่จะช่วยให้การทดลองหรือการศึกษาได้ผลดีมากขึ้น และจำเป็นที่จะต้องพบอาจารย์ที่ปรึกษาบ่อย ๆ เพื่อหาทางช่วยกันในการแก้ปัญหา ตลอดจนปรึกษาหารือในด้านข้อมูลหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ได้จากการศึกษา

การปฏิบัติการโครงงาน ต้องใช้ทักษะกระบวนการที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การจะได้มาซึ่งคำตอบที่เป็นความรู้หรือความจริง ผู้เรียนจะต้องใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีทั้งหมด 13 ทักษะ ในการเก็บรวมรวบข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษา (การสำรวจทดลอง หรือประดิษฐ์) 2. ทักษะการบันทึกข้อมูล เป็นการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงาน 3. ทักษะการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานโครงงานเป็นการทำงานตามขั้นตอนที่ได้รวมไว้ในเค้าโครงของโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา

การเขียนรายงานโครงงาน การเขียนรายงานของโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นขั้นสุดท้ายของการทำโครงงานของผู้เรียนหรือการทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์และการจัดทำ การเขียนจะต้องดำเนินการภายหลังได้ทำการศึกษา ทดลอง ประดิษฐ์เสร็จสิ้นตามขั้นตอน ตามแผนปฏิบัติการในเค้าโครงที่จัดทำขึ้น

3. ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรมและภาคผนวก การเขียนรายงานโครงงานนั้นเป็นการเก็บรายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้ทดลองทั้งหมดมาเขียนตามรูปแบบหรือแบบฟอร์มที่กำหนดให้ถูกต้อง ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ 1. ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกนอก ปกใน บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ คำนำ และสารบัญเรื่อง/ตาราง/ภาพประกอบ 2. ส่วนเนื้อหา แบ่งออกเป็น 5 บท ได้แก่ บทนำ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วิธีดำเนินการ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 3. ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรมและภาคผนวก

ส่วนประกอบสำคัญของรายงานโครงงาน รายละเอียดของส่วนประกอบ ตารางแสดงรูปแบบรายงานโครงงาน ส่วนประกอบสำคัญของรายงานโครงงาน รายละเอียดของส่วนประกอบ ส่วนประกอบตอนต้น 1.1 ปกนอก 1.2 ปกใน 1.3 บทคัดย่อ 1.4 กิตติกรรมประกาศ 1.5 คำนำ 1.6 สารบัญ 2. ส่วนเนื้อหา 2.1 บทที่ 1 บทนำ 2.2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา 2.3 บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน 2.4 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน 2.5 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 3. ส่วนประกอบตอนท้าย 3.1 เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม 3.2 ภาคผนวก (ถ้ามี)

1. ส่วนประกอบตอนต้นของรายงานโครงงาน 1.1 ปกนอก 1.1.1 ชื่อเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องที่ดีนั้นควรมีลักษณะ ดังนี้ 1.1.1.1 ไม่ควรเป็นประโยคคำถาม 1.1.1.2 ชื่อโครงงานควรกะทัดรัด แต่ได้ใจความ 1.1.1.3 ตรงกับเรื่องที่ศึกษามา เมื่ออ่านแล้วสามารถบอกได้ว่าเรื่องที่ทำนั้นเกี่ยวกับสิ่งใด 1.1.2 ชื่อผู้ทำโครงงาน 1.1.3 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา 1.1.4 หน่วยงานที่สังกัด

1.2 ปกใน 1.3 บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการและผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ อย่างย่อ ๆ ประมาณ 300-350 คำ ซึ่งไม่เกินครึ่งหน้ากระดาษ

1.4 กิตติกรรมประกาศหรือประกาศคุณูปการ เป็นการเขียนกล่าวคำขอบคุณผู้ที่ให้การสนับสนุน การให้ทุนสำหรับดำเนินงานหน่วยงานราชการหรือเอกชน ที่ให้ใช้สถานที่ ให้ยืมใช้เครื่องมือสำหรับการทดลอง การให้คำปรึกษา เป็นต้น 1.5 คำนำ การเขียนคำนำผู้เขียนขอเสนอการเขียนไว้ 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 (ย่อหน้าแรก) กล่าวถึงจุดประสงค์ของการทำโครงงาน ส่วนที่ 2 (ย่อหน้าที่ 2) กล่าวถึงวิธีการดำเนินงาน ส่วนที่ 3 กล่าวถึงผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงาน รวมทั้งกล่าวขอบคุณผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้อง การเขียนคำนำมีความยาวไม่ควรเกิน 1 หน้า

1.6 สารบัญ 1.6.1 สารบัญเรื่อง เป็นส่วนที่ระบุว่า ภายในเล่มรายงานโครงงานประกอบด้วยอะไรบ้าง โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามลักษณะการนำเสนอข้อมูลและเรียงลำดับ

สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ คำนำ บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 1 สมมติฐานของการศึกษา ... ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง คำนิยามศัพท์เฉพาะ ขอบเขตของการศึกษา สถานที่ทำการศึกษา ระยะเวลาในการศึกษา บทที่ 2 เอกสารและหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา .

สารบัญ เรื่อง หน้า บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการดำเนินการทดลอง ..... วัสดุ อุปกรณ์ ...... วิธีการดำเนินการทดลอง ...... บทที่ 4 ผลการทดลอง ...... บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ...... สรุปผลการศึกษา ...... อภิปรายผลการศึกษา ...... ข้อเสนอแนะ ...... บรรณานุกรม ...... ภาคผนวก ......

1.6.2 สารบัญตาราง การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางเป็นการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลที่ได้ศึกษา อีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อความสะดวกในการค้นหา ควรจัดทำสารบัญตารางบอกลำดับที่ ชื่อและหน้า ตาราง หน้า 1. แสดงหรือศึกษา................ ..... 2. แสดงหรือศึกษา................ ..... ฯลฯ

สารบัญภาพประกอบ ภาพประกอบ หน้า 1.6.3 สารบัญภาพประกอบ การถ่ายภาพ การเขียนแผนภูมิรูปแบบต่าง ๆ เป็นการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลที่ทำการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้กัน เพื่อสื่อความหมายข้อมูลซึ่งขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนั้น โดยนับลำดับที่ของภาพประกอบออกจากลำดับที่ของตาราง สารบัญภาพประกอบ ภาพประกอบ หน้า 1. แสดง................................. ..... 2. แผนภูมิแท่งแสดง................ ..... ฯลฯ

2. ส่วนเนื้อหาของรายงานโครงงาน 2.1 บทที่ 1 บทนำ 2.1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน อธิบายความสำคัญของโครงงาน เหตุผลที่เลือกทำโครงงานนี้ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงานเป็นอย่างไร โครงงานเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้เคยศึกษามาก่อน ถ้ามีได้ผลเป็นอย่างไร เรื่องที่ทำนี้ได้ขยายเพิ่มเติมหรือปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นได้ทำไว้อย่างไรบ้าง หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อทดสอบผล

2.1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา ในการเขียนจะกล่าวถึงสิ่งที่ต้องการศึกษาหาคำตอบ โดยนิยมเขียนในรูปความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม 2.1.3 สมมติฐานของการศึกษา เป็นการคาดคะเนคำตอบไว้ล่วงหน้า อาจถูกหรือผิดก็ได้ การเขียนสมมติฐานควรมีเหตุและมีผล มีทฤษฎีวิทยาศาสตร์รองรับในการเขียนรายงานวิทยาศาสตร์ต้องมีสมมติฐานของการศึกษา ยกเว้นโครงงานประเภทสำรวจ

2.1.4 ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือสิ่งที่เป็นสาเหตุ 2) ตัวแปรตามคือสิ่งที่เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรต้น 3) ตัวแปรควบคุมคือ สิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นจะต้องควบคุมให้หมด ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนได้

2.1.5 ขอบเขตของการศึกษาเป็นการกำหนดว่าจะศึกษาเรื่องอะไร ภายใต้เงื่อนไขอย่างไร เป็นระยะเวลานานเท่าใด 2.1.6 คำนิยามศัพท์เฉพาะ เป็นการกำหนดความและขอบเขตของคำต่าง ๆ ในสมมติฐาน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกัน สามารถตรวจสอบ สังเกตหรือวัดได้

2.1.7 สถานที่ทำการศึกษา ถ้าโครงงานประเภททดลองให้ เขียนบอกสถานที่ทำการทดลอง เช่น ห้องปฏิบัติการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ถ้าเป็นโครงงานประเภทสำรวจให้เขียนขอบเขตหรือบริเวณที่ทำการสำรวจ เช่น บริเวณโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 2.1.8 ระยะเวลาที่ทำการศึกษา ระบุวัน เดือน ปี ที่ทำการศึกษาตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงวันสิ้นสุดของโครงงาน

2.2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เป็นการศึกษาเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อาจเป็นหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการศึกษาค้นคว้าที่สอดคล้องกับหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน เช่น หัวข้อเรื่อง “กำจัดหนอนปลาร้าด้วยสมุนไพร” ความรู้หรือเนื้อหาสาระในบทเอกสารควรจะมี “สมุนไพรชื่อว่าหนอนตายยาก ชนิดของปลาที่นำมาทำปลาร้า วงจรชีวิตของหนอน งานวิจัยหรือโครงงานที่มีผู้ทำการศึกษาการกำจัดหนอนในปลาร้า” และต้องมีการเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหาที่กล่าวถึง เพื่อแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่ค้นคว้ามาโดยจะใช้การอ้างอิงตามหลักของสถาบันใดก็ได้ แต่ต้องใช้เป็นรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเอกสาร ซึ่งผู้เขียนได้เขียนรายละเอียดไว้ในบทที่ 7

2.3 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ ในส่วนนี้จะต้องแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการดำเนินการทดลอง 2.3.1. วัสดุ อุปกรณ์ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้มักจะประกอบไปด้วยเครื่องมือ เครื่องใช้ สารเคมีและสิ่งที่ใช้ในการศึกษา วัสดุ อุปกรณ์ประเภทเดียวกันควรเขียนเรียงตามลำดับไปจนครบ แล้วเขียนวัสดุอุปกรณ์ตัวอื่นต่อไป 2.3.2. วิธีดำเนินการทดลอง เป็นการอธิบาย ลำดับ ขั้นตอนของการศึกษาอย่างละเอียด

2.4 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต หรือจดบันทึกรวบรวมไว้จากการศึกษาค้นคว้า รวมทั้งเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ซึ่งข้อมูลที่ได้มี 2 ลักษณะ คือ 2.4.1. ข้อมูลเชิงปริมาณ อาจจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลในรูปตาราง หรือแผนภูมิก็ได้ โดยพิจารณาความเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 2.4.2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ อาจเขียนในลักษณะข้อความบรรยายสั้น ๆ หรือมีภาพประกอบข้อมูลด้วยก็ได้ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้โดยง่าย

2.5 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ 2.5.1. สรุปผลการศึกษา ควรยึดจุดมุ่งหมายเป็นหลักแล้วสรุปตามจุดมุ่งหมาย 2.5.2. อภิปรายผลการศึกษา อภิปรายผลเป็นการอ้างอิงหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้วว่าสัมพันธ์ สอดคล้องหรือขัดแย้งกับผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้อย่างไร 2.5.3. ข้อเสนอแนะเป็นการเสนอแนะสิ่งที่น่าจะศึกษาเพิ่มเติมต่อไป เพื่อจะได้ประโยชน์กับผู้ศึกษาต่อไปในอนาคต

3. ส่วนประกอบตอนท้ายของรายงานโครงงาน 3.1 เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม ก่อนถึงบรรณานุกรมควรมีหน้าบอกและให้วางคำ “บรรณานุกรม” ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษและนับหน้าด้วย แต่ไม่ต้องใส่หมายเลขหน้ากำกับ บรรณานุกรมเป็นการเขียนชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ที่นำมาใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้าเรียงลำดับตามตัวอักษร ตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดยไม่ต้องใส่เลขลำดับรายการ 3.1.1 ผู้แต่ง 1 คน สมาน แก้วไวยุทธ (2544) .วิทยาศาสตร์ ม.2. กรุงเทพฯ : ภูมิบัณฑิต.

3.2 ภาคผนวก ก่อนถึงภาคผนวกควรมีหน้าบอกให้วางคำ “ภาคผนวก” ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษและนับหน้านี้รวมกับหน้าอื่นด้วย แต่ไม่ต้องใส่หมายเลขกำกับในส่วนนี้ เป็นการนำส่วนที่บันทึกหรือข้อมูลที่ได้จากการศึกษาที่ต้องการแสดงเพิ่มเติม เช่น สูตรคำนวณ สูตรอาหาร เป็นต้น

การนำเสนอโครงงาน การนำเสนอโครงงาน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำเสนอ กระบวนการทำงานและผลผลิตที่เกิดจากการกระทำโครงงาน เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง และบุคคลอื่น ๆ ได้ทราบถึงเบื้องหลังการทำงานของผู้เรียนว่าเป็นอย่างไร จะต้องใช้ความพยายาม ความอดทนมากเพียงใด กว่าจะได้ผลงานหรือความรู้เรื่องนี้

ผลดีของการเรียนรู้โครงงานคือ การฝึกทักษะและวิธีการนำเสนอผลงาน เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำได้อย่างไร เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนซึ่งจะนำไปสู่ขั้นที่ 6 ของโครงงานคือ การพัฒนาโครงงานต่อเนื่อง ผลดีของการนำเสนอโครงงานคือ ทำให้ผู้เรียนกล้าแสดงออก มีไหวพริบปฏิภาณ ในการตอบคำถามผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และเกิดความภาคภูมิในความสำเร็จของตนเอง นับเป็นแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่จะพัฒนาการทำงานของตนเองให้ดีขึ้น โดยไม่ต้องให้ครูหรือผู้ปกครองมาบังคับ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือ ความรับผิดชอบเป็นผู้นำในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-directed learning)

การนำเสนอโครงงาน ทำได้หลายรูปแบบ ดังนี้ 1. จัดทำแฟ้มโครงงาน 2. การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ 3. การจัดนิทรรศการหรือป้ายนิเทศ 4. การเล่านิทานหรือเชิดหุ่นประกอบการบรรยาย 5. การบรรยายประกอบแผ่นใสหรือสไลด์ 6. การบรรยายประกอบแผนโครงงาน 7. วิธีการอื่น ๆ

ขอนำเสนอรูปแบบการนำเสนอโครงงานที่นิยมใช้กันทั่วไปเพียง 2 รูปแบบ คือ 1. การนำเสนอด้วยแผนโครงงาน การนำเสนอด้วยแผนโครงงาน เป็นนิทรรศการเล็ก ๆ และเบาเคลื่อนย้ายได้สะดวก ใช้งบประมาณไม่มาก จัดทำได้เองเป็นวิธีการนำเสนอที่นิยมมากที่สุด มีสาระสำคัญ ดังนี้

1.1 หัวข้อที่จะนำเสนอในแผนโครงงานประกอบด้วย 1.1.1 ชื่อผู้จัดทำ 1.1.2 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา 1.1.3 ที่มาของโครงงาน 1.1.4 ชื่อโครงงาน 1.1.5 ปัญหาที่ต้องการศึกษา 1.1.6 สมมติฐาน (ถ้ามี) 1.1.7 วิธีดำเนินการ (ถ้ามีรูปประกอบด้วยจะดีมาก) 1.1.8 ผลการทดลอง 1.1.9 สรุปผล 1.1.10 ข้อเสนอแนะ

1.2 ขนาดของแผงโครงงาน สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดแผงโครงงานวิทยาศาสตร์ที่จะส่งเข้าประกวด คือ แผงโครงงานจะต้องประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านหลัง และด้านข้าง 2 ด้าน ส่วนด้านหน้าเปิดให้ผู้ชมสามารถชมผลงานได้สะดวก แผงทั้ง 3 ด้านใช้ติดภาพแผนภูมิ คำอธิบาย หากมีสิ่งอื่นประกอบให้วางไว้บนโต๊ะตามความเหมาะสม แผงโครงงานมาตรฐานมีขนาดความกว้างยาว ดังนี้ แผ่น ก 1 ก 2 ขนาด 60 X 60 เซนติเมตร, แผ่น ข ขนาด 60 X 120 เซนติเมตร ติดบานพับระหว่าง แผ่น ก 1 กับ ข กับ ก 2 มีห่วงรับและขอสับทำมุมประมาณ 100 องศากับแผ่นกลาง สามารถพับเก็บได้ เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย

ข ก2 60 ซม 120 ซม ก1 ภาพ แผงโครงงานวิทยาศาสตร์ขนาดเล็ก 4. ชื่อโครงงาน 5. ปัญหา 6. สมมุติฐาน 7. วิธีดำเนินงาน 8. ผลการทดลอง 1. ชื่อผู้จัดทำ 2. ชื่ออาจารย์ ที่ปรึกษา 3. ที่มาของ โครงงาน 9. สรุปผล 10. ข้อเสนอแนะ ภาพ แผงโครงงานวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่

1.3 การจัดทำแผงโครงงานและวิธีการนำเสนอ 1.3.1 จัดทำโปสเตอร์เพื่อติดบนแผงโครงงาน ควรเน้นเฉพาะส่วนที่สำคัญ ใช้วิธีสื่อด้วยกราฟ แผนภูมิ รูปภาพหรือตารางด้วยความสั้น ง่ายและชัดเจน เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อื่น 1.3.2 ควรมีอุปกรณ์ หรือผลการทดลองที่เป็นของจริงสำหรับแสดงหน้าแผงโครงงาน 1.3.3 ตรวจสอบความถูกต้องทุก ๆ ส่วนที่ปรากฏอยู่บนแผงโครงงาน 1.3.4 มีความเหมาะสมและปลอดภัย ควรยึดแผงโครงงานให้แน่น 1.3.5 การอธิบายปากเปล่าหน้าแผงโครงงาน ผู้เรียนควรได้รับการฝึกมาจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และจัดลำดับการแบ่งเนื้อหาอธิบายของสมาชิกในทีม การแยกอุปกรณ์หรือผลการทดลองของจริงจะต้องอาศัยความร่วมมือที่สอดคล้องสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน โดยไม่ทำให้เกิดความผิดพลาด 1.3.6 การตอบข้อซักถาม ผู้เรียนควรได้รับการฝึกการตอบข้อซักถามจากอาจารย์ที่ปรึกษาได้ถูกทุกแง่มุม ในการตอบผู้จัดทำโครงงานต้องช่วยกันเสริมคำตอบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยจังหวะและช่วงเวลาการพูดที่เหมาะสม ไม่เกี่ยงกันตอบ

2. การนำเสนอโครงงานการด้วยนิทรรศการ การจัดนิทรรศการมีหลายระดับ ตั้งแต่ขนาดเล็ก ปานกลาง จนถึงขนาดใหญ่ การจัดนิทรรศการขนาดเล็กจัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงหัวข้อเดียว เรียกว่า display ถ้าจัดแสดงหลาย ๆ เรื่องรวมอยู่บริเวณเดียวกันเรียกว่า exhibition แต่ถ้าเป็นงานแสดงขนาดใหญ่ระดับชาติ เรียกว่า exposition

2.1 รูปแบบของการจัดนิทรรศการโครงงาน 2.1.1 นิทรรศการโครงงานแบบชั่วคราว เป็นการจัดนิทรรศการโครงงานของผู้เรียนในวันสำคัญของโรงเรียน เช่น วันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติที่โรงเรียนจัดขึ้น 2.1.2 นิทรรศการโครงงานแบบถาวรเป็นการจัดแสดงโครงงานระยะยาว เช่น 1. ปีการศึกษา เช่นโรงเรียนอาจจัดห้องนิทรรศการโครงงานดีเด่นที่ชนะการประกวดระดับจังหวัดหรือระดับประเทศ เพื่อให้คณะครูและผู้เรียนในโรงเรียนได้ชม รวมทั้งบุคคลภายนอกที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ตลอดเวลา

1. ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ทำโครงงาน ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา การนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยนิทรรศการ ควรครอบคลุม ประเด็นสำคัญ ต่อไปนี้ 1. ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ทำโครงงาน ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา 2. คำอธิบายย่อ ๆ ถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงานและ ความสำคัญของโครงงาน 3. วิธีการดำเนินการ โดยเลือกเฉพาะขั้นตอนที่เด่นและ สำคัญ 4. แสดงผลที่ได้จากการทดลองหรือตั้งสาธิตการทดลองไว้ 5. สรุปผลการศึกษาทดลองและชี้ประเด็นของข้อมูลเด่น ๆ หรือข้อสังเกตที่สำคัญที่ได้จากการทำโครงงานนั้น ภาพ การจัดนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่มา (สถาบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2542, หน้า 17

2.2 การจัดนิทรรศการแสดงโครงงาน ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ 2.2.1 ความเหมาะสมกับเนื้อที่ที่จัดแสดง 2.2.2 ความปลอดภัยของการจัดแสดง 2.2.3 ใช้รูปแบบแสดงที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดผู้เข้าชม 2.2.4 คำอธิบายที่เขียนแสดง ควรเน้นเฉพาะประเด็นสำคัญ ชัดเจน เข้าใจง่าย 2.2.5 สิ่งที่แสดงทุกอย่างต้องถูกต้องทั้งการอธิบาย หลักการ และข้อความ 2.2.6 ใช้ตารางหรือรูปภาพประกอบ โดยจัดวางอย่างเหมาะสม 2.2.7 ถ้ากรณีทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์นั้นพร้อมจะแสดงการทำงานได้อย่างสมบูรณ์

การพัฒนาโครงงาน การพัฒนาโครงงาน เป็นผลมาจากการทำโครงงานเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ทำโครงงานจะต้องทบทวนโครงงานที่ทำว่ายังมีประเด็นเรื่องใดที่น่าศึกษาต่อจากเรื่องที่ทำแล้ว เพื่อการศึกษาค้นคว้าที่สมบูรณ์ โดยทำเป็นโครงงานใหม่ อาจจะทำในรูปแบบบูรณาการทั้ง 8 กลุ่มสาระก็ได้ เช่น โครงงานเรื่องกล้วย กล้วย

ในขณะที่ผู้เรียนกลุ่มหนึ่ง กำลังทำโครงงานเรื่องสารพัดหยวกกล้วย ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ก็ทำโครงงานเกี่ยวกับเรื่องกล้วยในประเด็นอื่น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องกล้วยได้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และขยายโอกาสให้ผู้เรียนได้ต่อยอดโครงงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ตารางที่ 3.5 โครงงานต่อเนื่อง เพื่อบูรณาการกับกลุ่มอื่น ๆ ตารางที่ 3.5 โครงงานต่อเนื่อง เพื่อบูรณาการกับกลุ่มอื่น ๆ กลุ่มสาระ กิจกรรม แหล่งข้อมูล วิทยาศาสตร์ ศึกษาส่วนประกอบ ประโยชน์ ชนิด การขยายพันธุ์ วิธีการปลูก และการบำรุงรักษา - ห้องสมุด - Internet - เกษตรกร - ปราชญ์ชาวบ้าน ศิลปะ แต่งเพลงเกี่ยวกับกล้วย วาดภาพสะท้อนความรู้สึกเกี่ยวกับกล้วยในแง่มุมต่าง ๆ ผลงานจากกลุ่มตัวอย่าง ภาษาอังกฤษ คำศัพท์เกี่ยวกับกล้วย เขียนประโยค/เรื่อง/เรื่องสั้นเกี่ยวกับกล้วย - ครู/ชุมชน - ผู้ปกครอง - ปราชญ์ชาวบ้าน การงานอาชีพและเทคโนโลยี ประดิษฐ์กระเป๋าจากก้านใบของกล้วย การแปรรูป - ครู/เพื่อน/โรงงาน - แหล่งผลิตอื่น ๆ - ผลผลิต ภาษาไทย เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับกล้วย แต่งกลอน - สารานุกรม -ห้องสมุด/ครู คณิตศาสตร์ แปลงโจทย์ให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับกล้วย มีการชั่งคำนวณค่าใช้จ่ายในการผลิต

คำถามทบทวน( 10 คะแนน) 1.จากแนวคิดของนักการศึกษาที่ว่า “การคิดและเลือกหัวข้อของปัญหาเป็นขั้นตอนที่ยาก นักการศึกษาคิดว่าเพราะเหตุใด 2. ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์มี 7 ขั้น อะไรบ้างพร้อมอธิบายกิจกรรมสั้นๆ 3. นักศึกษาคิดว่าเมื่อได้หัวข้อโครงงานมาแล้วทำไมต้องใช้ตารางวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจเลือกโครงงาน 4. จงอธิบาย “5W – 1H” พอสังเขป 5. การเขียนเค้าโครงของโครงงานนั้นมีรายละเอียดอะไรบ้างอธิบาย 6. นักศึกษายกตัวอย่างเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์มา 1 โครงงาน 7. นักศึกษายกตัวอย่างคำถามของครูที่ช่วยกระตุ้นความคิดของของผู้เรียนในการเขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์ 8. การเขียนรายงานโครงงานนั้นจะต้องประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 3 อะไรบ้าง อธิบายสั้นๆ 9.หลักเกณฑ์ในการจัดแผงโครงงานวิทยาศาสตร์ตามสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยนั้นได้กำหนดไว้อย่างไร เขียนเป็นภาพ 10. นักศึกษาสรุปขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เป็น concept mapping

จบขั้นตอนของการทำโครงงานแล้วจ้าต่อไปพบกับความรู้และทักษะกระบวนการที่ใช้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์