ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโครงการ
ความหมายของโครงการ โครงการหมายถึง กลุ่มของกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กัน การดำเนินกิจกรรมชั่วคราวอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างผลผลิต และบริการตามความต้องการของผู้ใช้งาน หรือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ภายใต้ข้อจำกัด ของเวลา งบประมาณและทรัพยากรที่กำหนดไว้ มีเจ้าของ ผู้ให้การสนับสนุนหรือมีผู้เกี่ยวข้องหลายกลุ่ม ใช้ทรัพยากร ร่วมกันกับหลายหน่วยงาน
ลักษณะของโครงการ มีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน (Clear Objective or Clear Purpose) ทุกโครงการต้อง มีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ซึ่งหมายถึงสิ่งที่โครงการมุ่งจะได้รับหรือบรรลุผลภายในเวลาที่กำหนด วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายจะเป็นตัวกำหนดทิศทางแนวทางในการบริหาร และควบคุมโครงการ การกำหนด ทรัพยากรที่ต้องใช้และระยะเวลาที่โครงการต้องดำเนินการแล้วเสร็จ มีกลุ่มของกิจกรรม (Group of Activities) ทุกโครงการจะต้องประกอบด้วยกลุ่มของกิจกรรม ซึ่งมี ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากกิจกรรมที่เน้นงานประจำ โดยจัดเรื่องต่อเนื่องตามลำดับก่อนหรือหลังอย่างเป็น ขั้นตอน มีลักษณะชั่วคราว (Temporary) โครงการมีขอบเขตระยะเวลา (Time Boundaries) ที่ชัดเจนทุก โครงการ มีการกำหนดเวลาเสร็จสิ้นโครงการที่แน่นอน มีสถานที่ตั้งโครงการ (Location) ทุกโครงการจะต้องมีสถานที่ตั้งเพื่อดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ความสะดวก และความประหยัด
ความหมายของการบริหาร การบริหารโครงการเป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับโครงการ โดยนำความรู้ ทักษะ วิธีการใหม่ๆ เครื่องมือและเทคนิคต่างๆมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้ กรอบด้วยงบประมาณและเวลาที่จำกัด
กระบวนการบริหารโครงการ การดำเนินงานโครงการมีกิจกรรมย่อยที่ซับซ้อนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหลายกิจกรรม โดยทุกกิจกรรมย่อย ทำงานร่วมกันเป็นกระบวนการเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน กระบวนการบริหารโครงการมี รายละเอียดดังนี้ กลุ่มกระบวนการเริ่มต้นโครงการ (Initial Process Group) มีกิจกรรมที่ต้องทำคือมีการนิยามโรงการ การกำหนดขอบเขตโครงการชัดเจน และการพัฒนาเอกสารสิทธิ์ของโครงการเพื่อขออนุมัติให้ดำเนินโครงการ กลุ่มกระบวนการวางแผน (Planning Process Group) ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดของการ บริหารโครงการ มีการจัดทำแผนบริหารโครงการเพื่อเก็บรวบรวม ประมวล และประสานแผนงานย่อยชนิดอื่นๆ รวมเข้าไว้ด้วยกัน และกลั่นกรองทบทวนวัตถุประสงค์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และถูกต้องเพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุ ปะสงค์ ซึ่งต้องทีกิจกรรมย่อยต่างๆที่ต้องดำเนินการในกระบวนการวางแผนดังนี้
- วางแผนกำหนดขอบเขตโครงการ (Scope Planning) เป็นการกำหนดขอบเขตของโครงการ เพื่อให้ทราบว่าโครงการที่จะดำเนินการจะทำอะไรบ้าง และมีการตรวจสอบควบคุมอย่างไร - นิยามขอบเขต (Scope Definition) เป็นกิจกรรมของการเขียนขอบเขตโครงการ - นิยามกิจกรรม (Activity Definition) เป็นการอธิบายรายละเอียดของแต่ละกิจกรรม คุณลักษณะและ เป้าหมาย - จัดทำโครงการสร้างงาน(Work Breakdown Structure : WBS) เป็นการแตกกิจกรรมออกเป็น กิจกรรมย่อยๆ โดยจัดเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อง่ายต่อการจัดการ - จัดลำดับกิจกรรม (Activity Sequence) เป็นการลำดับก่อนหลังของกิจกรรมที่ต้องทำ - ประมาณการระยะเวลาดำเนินกิจกรรม (Activity Duration Estimating) เป็นการกำหนด ระยะเวลาแล้วเสร็จของแต่ละกิจกรรม - ประมาณการทรัพยากรที่กิจกรรมต้องการ (Activity Resource Estimating) เป็นการ ประมาณทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดำเนินโครงการ - จัดตารางงาน (Schedule Development) เป็นการระบุกิจกรรมที่ต้องทำ ระยะเวลาที่ใช้ ทรัพยากรที่ต้องการ ข้อจำกัดของกิจกรรม และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกิจกรรม
- การประมาณการต้นทุน (Cost Estimating) ประมาณการต้นทุนที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม - จัดทำงบประมาณ (Cost Budgeting) เป็นการประมาณการต้นทุนที่ใช้ในโครงการทั้งหมดทุก กิจกรรม - การวางแผนคุณภาพ (Quality Planning) เป็นการกำหนดมาตรฐานและระบุวิธีการดำเนินงาน ให้ตรงตามมาตรฐานเพื่อให้ได้คุณภาพ - วางแผนด้านบุคลากร (Human Resource Planning) จัดทำแผนการจัดสรรบุคลากร ระบุ หน้าที่ความรับผิดชอบแต่ละคนในทีม รวมถึงสายการบังคับบัญชาเพื่อให้เกิดความชัดเจน - วางแผนด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล (Communication Planning) กำหนดวิธีการ ติดต่อสื่อสาร การประสานงาน การจัดส่งรายงานและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารระหว่างบุคคล - การวางแผนจัดการความเสี่ยง (Risk Management Planning) กำหนดแนวทางในการ ดำเนินกิจกรรมจัดการความเสี่ยง รวมทั้งระบุความเสี่ยง วิเคราะห์ความเสี่ยงและวางแผนรับมือกับความเสี่ยง - วางแผนจัดซื้อ (Plan Purchase and Acquisition) กำหนดสิ่งที่ต้องการจัดซื้อ วิธีการ จัดซื้อ ช่วงระยะเวลาในการจัดซื้อ รวมทั้งงบประมาณที่ใช้ - วางแผนจัดสัญญา (Plan Contracting) จัดทำเอกสารความต้องการระบบ ผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อเสนอไปยังผู้ขายที่มีความเป็นไปได้
กลุ่มกระบวนการดำเนินโครงการ (Executing Process Group) เป็นกระบวนการที่ทำให้งานที่ กำหนดไว้ในแผนบริหารโครงการเสร็จสมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งต้องมีการพัฒนาทีมงานโครงการ และกำกับ การปฏิบัติงานโครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีกระบวนการย่อยต่อไปนี้ - กำกับและจัดการการดำเนินโครงการ (Direct and Manage Project) เป็นหน้าที่ของผู้บริหารหรือ ผู้จัดการโครงการที่ต้องคอยกำกับติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของทีมงาน เพื่อให้โครงการเป็นไปตามแผนที่ กำหนดไว้ - การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) เป็นการปรับใช้แผนงานและกิจกรรมในการสร้าง คุณภาพงานหรือโครงการอย่างเป็นระบบ เพื่อรับประกันว่าทุกกิจกรรมได้ดำเนินการตามแผนงาน - การจัดหารบุคลากร (Acquire Project Team) เป็นการจัดหาบุคลากรที่เหมาะสมเพื่อเข้าร่วม ทีมงานในโครงการ อาจะจะเป็นการว่าจ้างบุคลากรเข้ามาเสริมความเข้มแข็งในทีมงานโครงการ - การจัดทีมงาน (Develop Project Team) เป็นการกำหนดคนที่จะร่วมทำงานในโครงการ และจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลให้เหมาะสมตามความถนัดหรือความรู้ความสามารถ - การกระจายข่าวสาร (Information Team) เป็นกระบวนการในการกระจายข้อมูลข่าวสารของ โครงการไปยังบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ - การคัดเลือกผู้ขาย (Select Sellers) มีการทบทวนข้อเสนอ การเจรจาต่อรองเพื่อคัดเลือกผู้ขายและ ทำสัญญา
กลุ่มกระบวนการติดตามและควบคุม (Monitoring and Controlling Process Group) เป็นกระบวนการติดตามและควบคุมการปฏิบัติงานของโครงการ โดยมีการเฝ้าดูและวัดผลความก้าวหน้าของการ ดำเนินงานเพื่อให้ทราบว่าการดำเนินงานเป็นไปตามแผนหรือไม่ ติดขัดและต้องแก้ไขหรือป้องกันไม่ให้มี ผลกระทบต่อการดำเนินงาน โดยมีกระบวนการดังนี้ - การควบคุมการเปลี่ยนแปลง (Change Control) เป็นการควบคุมปัจจัยที่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และพิจารณาถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อระบบถ้าเป็นไปในเชิงบวกและสร้างผลประโยชน์ที่คุ้มค่าจึง อนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลงได้ - ตรวจสอบขอบเขตโครงการ (Scope Verification) เป็นการตรวจสอบผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ได้จากโครงการว่าเป็นไปตามขอบเขตหรือตรงกับความต้องการที่กำหนดไว้หรือไม่ - ควบคุมขอบเขตโครงการ (Scope Control) เป็นการควบคุมขอบเขตของโครงการไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลง หรือขยายออกไปเกินขอบเขตที่กำหนดไว้ - ควบคุมตารางงาน (Schedule Control) เป็นการควบคุมตารางการทำงานที่จัดไว้แล้วไม่ให้มีการ เปลี่ยนแปลงที่อาจทำให้กระทบต่อทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด - ควบคุมต้นทุน (Cost Control) เป็นการควบคุมปัจจัยที่มีผลการเพิ่มต้นทุนในการดำเนินการ โดยควบคุมให้ อยู่ในกรอบงบประมาณที่ตั้งไว้ - ควบคุมคุณภาพ (Quality Control) เป็นการกำกับติดตามการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ กำหนดไว้ และหาวิธีแก้ปัญหากรณีที่งานไมได้คุณภาพ
- จัดการทีมงาน (Manage Project Team) เป็นการติดตามผลการทำงานของทีมงานโครงการ และมีการ แจ้งผลการติดตามการทำงานให้ทุกคนรับทราบอยู่เสมอ - จัดทำรายงานประสิทธิภาพในการทำงาน (Performance Reporting) เป็นการจัดทำรายงาน ความ คืบหน้าของโครงการ และรายงานแสดงสถานะต่างๆของกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง - จัดการกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Manage Stakeholders) เป็นการจัดการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร กับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปด้วยความราบรื่น - ติดตามและควบคุมความเสี่ยง (Risk Monitoring and Control) เป็นการติดตาม ประเมินความ เสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการบริหารโครงการและรับมือกับความเสี่ยงตามแผนที่วางไว้ - ดูแลสัญญา (Contract Administration) เป็นการทบทวนเอกสารสัญญาที่จะต้องใช้ลงนามร่วมกับ ผู้รับดำเนินการโครงการ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มกระบวนการปิดโครงการ (Closing Process Group) ประกอบด้วยกระบวนการย่อยเพื่อให้ โครงการยุติ พร้อมทั้งมีการส่งมอบระบบ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ได้จากการดำเนินโครงการแก่ผู้ใช้ระบบหรือเจ้าของ โครงการ แต่อย่างไรก็ตาม การปิดโครงการมี 2 ลักษณะคือ ปิดโครงการด้วยความสำเร็จ และปิดโครงการเนื่องจาก ความล้มเหลว ซึ่งอาจมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น โครงการใช้ระยะเวลาและงบประมาณเกินกว่าที่กำหนดไว้ หรือ ทีมงานไม่มีประสิทธิภาพไม่สามารถดำเนินงานได้เป็นต้น
องค์ความรู้ในการบริหารโครงการ สถาบันการบริหารโครงการ () ได้กำหนดแนวทางในการบริหารโครงการไว้ในเอกสารที่ชื่อว่า พิมบ็อกซ์ โดยกล่าวถึง สาระสำคัญที่ผู้บริหารโครงการหรือผู้จัดการโครงการความรู้เกี่ยวกับการบริหารโครงการไว้ทั้งหมด 9 ด้าน โดยแบ่ง ความรู้หลักในการบริหาร 4 ด้าน ความรู้ในการสนับสนุนโครงการ 5 ด้านดังนี้
ความรู้หลักในการบริหารโครงการ ประกอบด้วยความรู้ 4 ด้านดังนี้ - การบริหารขอบเขตโครงการ (Scope Management Plan) เป็นการกำหนดและบริหารขอบเขตของ งานทั้งหมดเพื่อให้โครงการเสร็จสมบูรณ์ - การบริหารเวลาโครงการ (Time Management Plan) เป็นการกำหนดกิจกรรมที่ต้องทำในโครงการ มี การจัดเรียงความสำคัญก่อนหลัง ประมาณระยะเวลาของแต่ละกิจกรรม และจัดตารางการดำเนินกิจกรรม - การบริหารค่าใช้จ่ายโครงการ (Cost Management Plan) เป็นการบริหารที่เน้นการใช้จ่ายงบประมาณ ในโครงการไม่ให้เกินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ โดยมีกิจกรรมที่ต้องทำคือ วางแผนการใช้ทรัพยากร ประมาณการ ต้นทุน จัดตั้งงบ และควบคุมต้นทุน - การบริหารคุณภาพโครงการ (Quality Management Plan) เป็นการบริหารที่เน้นให้ทุกกิจกรรมใน โครงการดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ โดยผู้บริหารมีการจัดทำระบบคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยการวางแผนคุณภาพ การ ประกันคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ และการปรับปรุงคุณภาพ
ความรู้ที่สนับสนุนการบริหารโครงการ ประกอบด้วยความรู้ 5 ด้านดังนี้ - การบริหารการบูรณาการโครงสร้าง (Stakeholder Management Plan) เป็นการบริหารงานที่มี การประสานงานทุกๆด้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้โครงการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมที่ต้องทำคือ จัดทำ แผนงานโครงการ ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผน และควบคุมการปรับเปลี่ยนแผนและทรัพยากร - การบริหารทรัพยากรมนุษย์โครงการ (Human Management Plan) เป็นการจัดสรรและการใช้ ทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด โดยจัดคนให้ทำงานตรงกับความรู้ ความเชี่ยวชาญของแต่ละ บุคคล กิจกรรมที่ต้องทำคือ วางแผนจัดโครงสร้างองค์กรของโครงการ จัดหาบุคลากรตามโครงสร้าง และจัดทีม โครงการ - การบริหารการสื่อสารโครงการ (Communication Management Plan) เป็นงานบริหารที่เน้น ให้มีการจัดทำรายงาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การเผยแพร่และการส่งข้อมูลข่าวสารที่มีความถูกต้อง กิจกรรมที่ต้อง ทำคือ การวางแผนการติดต่อสื่อสาร การกำหนดการกระจายข้อมูลไปยังกลุ่มบุคคล การจัดทำรายงานประสิทธิภาพ การทำงาน และการจัดทำรายงานเพื่อการปิดงานแต่ละระยะ - การบริหารความเสี่ยงโครงการ (Risk Management Plan) เป็นการเตรียมการเพื่อป้องกันหรือลด ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ ซึ่งทำให้โครงการเกิดความเสียหายหรือไม่เป็นไปตามแผนมีกิจกรรมที่ต้องทำ คือ กำหนดปัขขัยความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง จัดทำแผนรับมือความเสี่ยง - การบริหารการจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement Management Plan) เป็นการจัดซื้อจัดจ้างทรัพยากร ต่างๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินการโครงการ เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีกิจกรรมที่ ต้องทำคือ วางแผนจัดซื้อจัดจ้าง ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ทำสัญญา และยุติสัญญา
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการโครงการกับศาสตร์ด้านการจัดการ ทักษะด้านการจัดการทั่วไปถือเป็นรากฐานสำคัญต่อการบริหารจัดการโครงการโดยตรง ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ประเภทคือ ทักษะในการเป็นผู้นำ (Leading) ทักษะในการเจรจาต่อรอง (Negotiating) ทักษะในการแก้ปัญหา (Problem Solving) และทักษะในการสร้างอิทธิพลต่อองค์กร (Influencing the Organization) โดยที่การบริหารจัดการโครงการต้องพึ่งพาศาสตร์การจัดการรวมถึงศาสตร์เฉพาะทางอื่นๆ ดังความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ที่ใช้ในการบริหารจัดการกับความรู้ในแขนงอื่นดังแสดงในรูป
การบริหารรายละเอียดของโครงการ ประกอบด้วย กระบวนการประเมินความน่าจะเป็นของโครงการ การกำหนด หลักเกณฑ์การเลือกสรรโครงการ และการจัดลำดับก่อนหลังของโครงการ การบริหารจัดการแต่ละงานในโครงการ มีการนำเครื่องมือและเทคนิคต่างๆมาใช้ในการบริหารจัดการแต่ละงาน เพื่อให้เข้าใจง่ายและดำเนินงานได้สะดวกรวดเร็ว การบริหารสิ่งแวดล้อมในองค์กร ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรจะต้องเข้ามารับทราบและส่งเสริมการดำเนิน โครงการ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน เช่น กำหนดแนวทางก้าวหน้าทางวิชาชีพในอนาคต และมีระบบให้ รางวัลแก่งานโครงการที่ประสบความสำเร็จเป็นต้น
เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการบริหารโครงการ
เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการบริหารโครงการ (ต่อ)
สาเหตุของความล้มเหลวของโครงการ การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ถ้าผู้ใช้มีส่วนร่วมโอกาสที่โครงการจะประสบความสำเร็จก็มีมากขึ้น เนื่องจากผู้ใช้จะให้ เวลากับทีมงานเพื่อบอกความต้องการ ช่วยออกแบบส่วนประสานกับผู้ใช้ (User Interface) ช่วยทดสอบ รวมทั้งช่วยทีมงานในช่วงการนำระบบไปใช้งาน การสนับสนุนจากผู้บริหาร เนื่องจากการพัฒนาระบบสารสนเทศต้องเกี่ยวข้องกับหลายๆหน่วยงาน จึงต้องมี ผู้บริหารที่มีตำแหน่งสูง คอนแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ความชัดเจนของความต้องการ การเขียนความต้องการต้องกำหนดขอบเขตของงานว่ามีแค่ไหน เนื่องจากธรรมชาติ ของผู้ใช้เปลี่ยนความต้องการอยู่เรื่อยๆ ความต้องการเกิดขึ้นใหม่อยู่เรื่อยๆ ผู้จัดการโครงการต้องพิจารณาว่าการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตรงนั้นเกินขอบเขตงานหรือไม่ ถ้าระบุไม่ชัดเจน อาจทำให้โครงการไม่สามารถปิดได้ การวางแผนโครงการที่เหมาะสม วางแผนจะทำให้รู้ว่างานที่ต้องทำมีอะไรบ้าง เช่น ค่าใช้จ่าย ทรัพยากรที่ต้องการ ใช้ เวลาที่ต้องเสร็จ ถ้าไม่มีการวางแผนอาจทำให้ระยะเวลาโครงการขยายเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น และอาจทำให้ โครงการต้องยุติกลางคัน ความคาดหวังต่อโครงการที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ทีมงานจะต้องไม่สร้างความคาดหวังของผู้ใช้ที่มีต่อ โครงการเกินความเป็นจริง เพราะถ้าสุดท้ายแล้วผู้ใช้พบว่าระบบไม่สามารถทำได้อย่างที่ทีมงานพูดไว้ จะทำให้ผู้ใช้ ผิดหวังและเกิดความรู้สึกต่อต้าน
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ซึ่งจัดลำดับความสำคัญไว้ 10 ลำดับดังนี้ - ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ (User Invoivement) - ผู้บริหารระดับสูงให้การสนับสนุน (Executive Management Support) - วัตถุประสงค์และความต้องการมีความชัดเจน (Clear Statement of Requirement) - มีการวางแผนที่ดี (Proper Planning) - มีความคาดหวังที่เป็นไปได้จริง (Realistic Expectations) - มีการติดตามการดำเนินโครงการเป็นระยะ (Small Project Milestones) - มีบุคลากรที่มีความสามารถ (Competent Staff) - มีความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Ownership)
- มีวัตถุประสงค์และวิสัยทัศน์ชัดเจน (Clear Vision & Objective) มีทีมงานที่เข้มแข็ง (Hard-working. Focused Team) นอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดทำให้โครงการประสบความสำเร็จคือ การวางแผนงาน การกำหนดวัตถุประสงค์และ ความต้องการที่ชัดเจน การให้การสนับสนุนจากผู้บริหาร ความสามารถของทีมงาน การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ การประมาณการ การประสานงาน และการติดตามงานที่มีประสิทธิภาพ