หนังสือรายงานผลการประเมิน ITA ต่อนายกรัฐมนตรี(ต่อ)
นายกรัฐมนตรีเห็นชอบและสั่งการ
เกียรติบัตรเชิดชูหน่วยงานที่มีผลการประเมิน ITA ในระดับสูงมาก
เปรียบเทียบผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 - 2559
ผลการประเมิน ITA ภาพรวมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 กรม ดัชนีความโปร่งใส = 82.54 ดัชนีความพร้อมรับผิด = 83.97 ดัชนีความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน = 92.81 ดัชนีวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร = 71.81 ดัชนีคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน = 66.45 กรม 80.43 จังหวัด 80.39 องค์การมหาชน 80.20 จังหวัด ดัชนีความโปร่งใส = 79.50 ดัชนีความพร้อมรับผิด = 80.95 ดัชนีความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน = 94.21 ดัชนีวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร = 73.16 ดัชนีคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน = 70.63 ITA 80.34 องค์การมหาชน ดัชนีความโปร่งใส = 81.57 ดัชนีความพร้อมรับผิด = 80.53 ดัชนีความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน = 95.29 ดัชนีวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร = 69.84 ดัชนีคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน = 68.36
ผลการประเมิน ITA 58-59 เปรียบเทียบแหล่งข้อมูล
ผลการประเมิน ITA 58-59 เปรียบเทียบดัชนี
เปรียบเทียบผลการประเมิน ITA 58-59 เปรียบเทียบหน่วยงาน
หลักการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงาน ของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and transparency assessment – ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
กระบวนงานตามภารกิจ (Process) หลักการประเมิน ITA INPUT OUTPUT ปัจจัยนำเข้า ผลผลิต กระบวนงานตามภารกิจ (Process) Evidence – Based (หลักฐานระบบงาน) External Perception (ผู้มีส่วนได้เสียภายนอก) Internal Perception (ผู้มีส่วนได้เสียภายใน) ITA Score นำผลคะแนนITA ไปปรับปรุงพัฒนาจุดบกพร่อง
วัตถุประสงค์การประเมิน 1. เพื่อประเมินผลด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ หน่วยงานภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 2. เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะสำหรับปรับปรุง/พัฒนาคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ 3. เพื่อให้ได้มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทั้งใน ระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ 4. เพื่อให้ได้แนวทางการนำเครื่องมือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐไปสู่การยกระดับดัชนีชี้วัด การรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย
การประเมิน ITA ใช้วิธีวิจัย 2 วิธี คือ วิธีการศึกษา การประเมิน ITA ใช้วิธีวิจัย 2 วิธี คือ วิจัยจากเอกสาร (Document Research) จัดเก็บข้อมูลจากเอกสาร/หลักฐานเชิงประจักษ์ (EBIT) โดยให้หน่วยงานภาครัฐตอบคำถามเกี่ยวกับ วิธีการปฏิบัติงาน กระบวนการ กิจกรรมที่ดำเนินการจริง ที่มีคุณลักษณะที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรมและความโปร่งใส วิจัยจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง (Sample Survey Research) จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับข้อคิดเห็น การรับรู้ และประสบการณ์จากกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสำรวจความคิดเห็น (IIT+EIT) เกี่ยวกับ การปฏิบัติงาน กระบวนการ และพฤติกรรมของบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ เรื่อง ความโปร่งใส ความพร้อมรับผิด ความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมคุณธรรมในหน่วยงาน และคุณธรรมในการทำงานในหน่วยงาน 12
แบบสำรวจ Evidence-based Evidence-based : EBIT เป็นการประเมินจากหลักฐานเชิงประจักษ์ของหน่วยงานภาครัฐเกี่ยวกับความโปร่งใส (Transparency) ความพร้อมรับผิด (Accountability) วัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร (Integrity Culture) และคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน (Work Integrity) โดยหน่วยงานภาครัฐตอบคำถามตามความเป็นจริงตามแบบประเมินโดยแนบเอกสารหรือหลักฐานประกอบหรืออ้างอิงโดยใช้แบบประเมิน ๑ ชุดต่อ ๑ หน่วยงาน
แบบสำรวจ Internal แบบสำรวจ Internal : IIT เป็นการประเมินจากข้อคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐเกี่ยวกับความพร้อมรับผิด (Accountability) ความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน (Corruption-free) วัฒนธรรมคุณธรรม ในองค์กร (Integrity Culture) และคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน (Work Integrity) ใช้วิธีการสำรวจโดยการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า (Face to Face Interview) หรือการสำรวจทางไปรษณีย์ด้วยขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม และมีลักษณะของความเป็นตัวแทนที่ดีตามหลักวิชาการ
แบบสำรวจ External แบบสำรวจ External : EIT เป็นการประเมินจากข้อคิดเห็นของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานภาครัฐเกี่ยวกับความโปร่งใส (Transparency) ความพร้อมรับผิด (Accountability) ความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน (Corruption-free) และคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน (Work Integrity) ใช้วิธีการสำรวจโดยการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า (Face to Face Interview) หรือการสำรวจทางไปรษณีย์ด้วยขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม และมีลักษณะของ ความเป็นตัวแทนที่ดีตามหลักวิชาการ
กลุ่มตัวอย่างสำหรับ แบบสำรวจ Internal ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างสำหรับ แบบสำรวจ Internal ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐซึ่งปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และมีอายุการทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป (นับจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2560) โดยมีขนาดตัวอย่าง อย่างน้อย 100 ตัวอย่าง ครอบคลุมโครงสร้าง สายงาน กลุ่มตำแหน่งของแต่ละหน่วยงาน หากหน่วยงานมีจำนวนประชากรน้อยกว่า 100 ราย ที่ปรึกษาจะดำเนินการเก็บข้อมูล จากประชากรทั้งหมด ขอให้ส่งข้อมูลบุคลากรภายในหน่วยงาน (Internal) จำนวน 500 รายชื่อ หากมีน้อยกว่า 500 ราย ขอให้ส่งทั้งหมด โดยจัดทำข้อมูลเป็นไฟล์ Excel ส่งมาที่ E-mail: ita.admin@pacc.go.th ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560
กลุ่มตัวอย่างสำหรับ แบบสำรวจ External ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างสำหรับ แบบสำรวจ External ได้แก่ ผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานภาครัฐซึ่งมีความเกี่ยวข้องอันมี ส่วนได้ส่วนเสียในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ถึง 31 มกราคม 2560) โดยมีขนาดตัวอย่าง อย่างน้อย 100 ตัวอย่าง ครอบคลุมภารกิจและประเภทของการมีส่วนได้ส่วนเสียของแต่ละหน่วยงาน หากหน่วยงานมีจำนวนประชากรน้อยกว่า 100 ราย ที่ปรึกษาจะดำเนินการเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด ขอให้ส่งข้อมูลผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (External) จำนวน 500 รายชื่อ หากมีน้อยกว่า 500 ราย ขอให้ส่งทั้งหมด โดยจัดทำข้อมูลเป็นไฟล์ Excel ส่งมาที่ E-mail: ita.admin@pacc.go.th ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560
กลุ่มตัวอย่างสำหรับ แบบสำรวจ Evidence-based ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างสำหรับ แบบสำรวจ Evidence-based กลุ่มประชากรเป้าหมายสำหรับแบบสำรวจ Evidence-based ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการประเมินทุกหน่วยงาน โดยใช้แบบสำรวจ 1 ชุด ต่อ 1 หน่วยงาน การจัดส่งเอกสารประกอบข้อคำถามตามแบบสำรวจ Evidence-based รอบที่ 1 ภายในวันที่ 31 มกราคม 2560 รอบที่ 2 ภายในวันที่ 30 เมษายน 2560 โดยสามารถนำส่งด้วยตนเองหรือจัดส่งทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) ที่ สำนักงานโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ 457/33 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 35 แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
หน่วยงานกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายการที่เข้าร่วมโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยความรับผิดชอบดำเนินการของสำนักงาน ป.ป.ท. ร่วมกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จำนวนทั้งสิ้น ๒๒๕ หน่วยงาน (๓๗๗ หน่วยรับประเมิน) บริหารราชการส่วนกลาง ๑๔๙ กรม บริหารราชการ ส่วนภูมิภาค ๗๖ จังหวัด กรม (เฉพาะส่วนกลาง) รวม ๑๔๙ หน่วยงาน จังหวัด สำนักงานจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด รวม ๒๒๘ หน่วยงาน