งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน และ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน และ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน และ
การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน และ การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ สำนักงาน ก.พ.

2 ความหมาย : ผลประโยชน์ทับซ้อน
ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflicts of Interest) ■ ความหมายคือ ผลประโยชน์ส่วนบุคคล กับ ผลประโยชน์ส่วนรวม ขัดกัน ■ เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ ส่วนรวม การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ จึง ต้องไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง

3 ความหมาย : การทุจริตและประพฤติมิชอบ
ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น ใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ เพื่อแสวงหาประโยชน์มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

4 ความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์ส่วนรวม
“Conflict of Interests (COI)” หมายถึง สถานการณ์ หรือการกระทำที่บุคคลไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ข้าราชการ พนักงานบริษัท ผู้บริหาร มีผลประโยชน์ส่วนตัวมากจนมีผลต่อการตัดสินใจ หรือการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหน้าที่บุคคลนั้นรับผิดชอบอยู่ส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของส่วนรวม หมายถึง สถานการณ์ หรือการกระทำที่บุคคลไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ข้าราชการ พนักงานบริษัท ผู้บริหาร มีผลประโยชน์ส่วนตัวมากจนมีผลต่อการตัดสินใจ หรือการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหน้าที่บุคคลนั้นรับผิดชอบอยู่ส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของส่วนรวม

5 ปัจจัย 3 ประการที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
บุคคลดำรงตำแหน่งของรัฐที่ต้องรับผิดชอบต่อประโยชน์สาธารณะ เกิดภาวะผลประโยชน์ส่วนตนเข้ามาแทรกแซงการตัดสินใจหรือการใช้ดุลยพินิจ เกิดการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม

6 การฉ้อราษฎร์บังหลวง (Corruption)
1. พฤติกรรมหรือการกระทำ ไม่กระทำตาม กฎหมายที่กำหนดไว้(Nonfeasance) 2. การกระทำน้อยกว่าหรือไม่ดี เท่าที่กฎหมาย ระบุไว้(Malfeasance) 3. การกระทำเกินหรือมากกว่าที่กฎหมาย กำหนดไว้(Overfeasance) 4. เคารพ ยำเกรงคนรวยคนมีอำนาจ มากกว่าความดี(Misfeasance) ……………………….

7 จุดอ่อนของสังคมไทย 1. เป็นสังคมอุปถัมภ์ 2. ไม่เคร่งครัดต่อกฎหมาย
3. มีความอ่อนแอทางคุณธรรมและจริยธรรม 4. ยึดประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์สาธารณะ 5. เคารพยำเกรง คนรวยคนมีอำนาจ มากกว่าความดี

8 จุดอ่อนของสังคมนักการเมืองไทย
1. ยึดประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้องมากกว่า ประโยชน์สาธารณะ เช่น การออกนโยบาย, การจัดซื้อจัดจ้าง,การจ่ายเงินของรัฐ 2. สั่งการ หรือ ร้องขอ แม้เรื่องนั้น จะเป็นเรื่องที่มิชอบ 3. บริหารราชการ ขาดความโปร่งใส 4. ไม่เคร่งครัดต่อกฎหมายและระเบียบ ของทางราชการ 5. ขาดคุณธรรมและจริยธรรม

9 คำประกาศวาระแห่งชาติ ด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาคราชการ
ข้าพเจ้า พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีขอประกาศเจตนารมณ์ในอันที่จะมุ่งมั่นสร้างระบบการบริหารราชการแผ่นดินที่สุจริต เป็นธรรม และเป็นที่เชื่อมั่นศรัทธาของประชาชน รวมทั้งขจัดปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยมุ่งพัฒนาการบริหารราชการแผ่นดินและกฎระเบียบให้เหมาะสม สร้างระบบราชการให้มีภูมิคุ้มกันต่อปัญหาการทุจริตทั้งปวง จะมุ่งฟื้นฟูระบบคุณธรรม จริยธรรมและ ธรรมาภิบาลในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างเร่งด่วน โดยจะใช้กลไกของรัฐผลักดัน ให้เกิดการขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งระบบ เพื่อก่อให้เกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ประกาศ ณ วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี

10 วาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาลและ การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
- ลดและปิดโอกาสการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ เพื่อสร้างความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต ลดความสูญเสียและขจัดรูรั่ว ไหลในการปฏิบัติราชการ. - สร้างจิตสำนึกในการประพฤติชอบ ให้ยึดมั่นในหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ ความสุจริต ซื่อตรง เที่ยงธรรม เป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงการปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด เกิดความคุ้มค่า มีคุณภาพมาตรฐาน ถูกต้อง ตอบสนองความต้องการของประชาชน และความรับผิดชอบต่อสังคม. เป้าประสงค์ที่ 1. เป้าประสงค์ที่ 2.

11 หลัก 4 ป. ของ นายกรัฐมนตรี
หลัก 4 ป. ของ นายกรัฐมนตรี เป็นธรรม สังคมคุณธรรม ในภาคราชการ ประหยัด โปร่งใส ประสิทธิภาพ

12 7 ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน หลัก (Selflessness)
ประการ ของ ข้าราชการ อังกฤษ Seven Principles of Public Life 7 มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Objectivity) มโนสุจริต (Integrity) รับผิดชอบ (Accountability) โปร่งใส (Openness) ซื่อสัตย์ (Honesty) Lord Nolan’s Report 1995 เป็นต้นแบบ (Leadership)

13 รูปแบบทั่วๆ ไปของการทุจริตและประพฤติมิชอบ
1. รับสินบน 2. คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย 3. ผลประโยชน์ทับซ้อน 4. การยักยอกทรัพย์สินของรัฐ 5. เอื้อประโยชน์แก่ตัวเอง พรรคพวก หรือพี่น้อง 6. จัดทำโครงการที่ได้ผลประโยชน์ตอบแทนไม่คุ้ม ค่าเงินที่ลงทุนไป.

14 สถานการณ์การทุจริตในสังคมไทย
องค์การนานาชาติมองสถานการณ์ทุจริต ในสังคมไทย อย่างไร องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ หรือ Transparency International Organization ทำดัชนีชี้วัด ค่าการคอร์รัปชั่น (Corruption Perception Index หรือ CPI) เพื่อจัดลำดับความโปร่งใสเกี่ยวกับคอร์รัปชั่นของ 159 ประเทศทั่วโลก (รวมทั้งประเทศไทย)

15 ดัชนีชี้วัดความโปร่งใสสำหรับประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539-2548 (10 ปี)
ดัชนีชี้วัดความโปร่งใสสำหรับประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ (10 ปี) ปี พ.ศ. ประเทศที่สำรวจ อันดับของไทย คะแนน (เต็ม 10) หมายเหตุ 2539 54 37 3.3 เพิ่ม 0.5 2540 52 39 3.0 ลด 0.2 2541 85 61 ลด 0.06 2542 98 68 3.2 เพิ่ม 0.2 2543 90 60 คงที่ 2544 91 2545 102 64 2536 133 70 เพิ่ม 0.1 2547 164 3.6 เพิ่ม 0.3 2548 159 59 3.8 เพิ่ม 02

16 Corruption Perception in Asia in 2004
Source : Political & Economic Risk Consultancy (PERC) อันดับ ประเทศ คะแนน อันดับ ประเทศ คะแนน 1 อินโดนีเซีย 9.25 6 เกาหลีไต้ 6.67 2 อินเดีย 8.90 7 ไต้หวัน 6.10 3 เวียตนาม 8.67 8 ฮ่องกง 3.60 4 ฟิลิปปินส์ 8.33 9 ญี่ปุ่น 3.50 5 ไทย มาเลเซีย จีน 7.33 10 สิงคโปร์ 0.50

17 ผลการศึกษา:สาเหตุและปัจจัยคอร์รัปชันสังคมไทย
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2547) ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญองค์กรหนึ่ง ได้ศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทยโดยสำรวจความเสียหายของผู้นำภาคประชาชนทุกจังหวัด ๆ ละ 100 คน รวม 7,191 คน พบว่า..

18 รูปแบบการทุจริตที่ประชาชนพบเห็น
มากที่สุด ได้แก่ การฮั้วการประมูลในการจัดซื้อจัดจ้าง ของทางราชการ (44.3%) ปานกลาง ได้แก่ 1. การเลือกตั้ง (44.2%) 2. กินตามน้ำหรือค่าน้ำร้อนน้ำชา (44.0%) 3. นักการเมืองขาดคุณธรรม (42.5%)

19 กลุ่มผู้ทุจริตที่ประชาชนพบเห็น
1. กลุ่มผู้กระทำการทุจริต มากที่สุด ข้าราชการ (47.8%) ปานกลาง - พนักงานบริษัทเอกชน (43.1%)- - พนักงานรัฐวิสาหกิจ (39.6%) - นักวิชาการ (34.0%) น้อยที่สุด เกษตรกร (31.8%)

20 สาเหตุการทุจริตที่ประชาชนพบเห็น
2. มูลเหตุสำคัญของการทุจริต (1) เจ้าหน้าที่ขาดคุณธรรมและไม่ปฏิบัติตาม จรรยาบรรณ (2) ขาดกลไกในการลงโทษและการบังคับใช้กฎหมาย (3) เจ้าหน้าที่ได้รับค่าตอบแทนต่ำไม่สัมพันธ์กับหน้าที่ รับผิดชอบ (4) สภาพการทำงานเปิดโอกาส เอื้ออำนวยต่อการ กระทำทุจริต กระบวนการปฏิบัติงานมีช่องโหว่

21 3. วิธีการและรูปแบบคอร์รัปชัน
ร้อยละ รับสินบน 43.9 2) รับส่วย รีดไถประชาชน 40.9 3) คอร์รัปชันเชิงนโยนบาย 40.3 4) แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ 40.0 5) ทุจริตเรื่องเวลาของข้าราชการ (เช้าชามเย็นชาม) 36.1

22 ตัวอย่างคอร์รัปชัน COI คอร์รัปชัน
เจ้าหน้าที่เรียกสินบนจากนักธุรกิจ/ประชาชนที่ทำผิดกฏหมายเพื่อไม่ให้ถูกปรับ เจ้าหน้าที่เรียกสินบนจากการกำหนดสเปคเพื่อให้บริษัทแห่งหนึ่งชนะการประมูล คอร์รัปชัน COI

23 ตัวอย่างคอร์รัปชันที่เกิดจาก COI
Corruption + COI นายกเทศมนตรีกำหนดสเปค ให้บริษัทก่อสร้างของตนชนะ การประกวดงานก่อสร้างในเทศบาลที่ตนบริหารงานอยู่ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ช่วยให้บริษัทไม่ถูกลงโทษจากความผิดในข้อหาหนีภาษี เนื่องจากเป็นบริษัทของภรรยา คอร์รัปชัน COI

24 ตัวอย่าง COI ที่เกิดจากนโยบาย
คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย (Corruption + COI) : นักการเมืองใช้อิทธิพลกำหนดกฎหมายเพื่อให้พรรคพวกที่ทำผิดกฎหมายไม่ถูกลงโทษ รัฐมนตรีกำหนดนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของครอบครัวและพรรคพวก คอร์รัปชัน COI

25 ตัวอย่าง COI แบบแท้จริง
บริษัทก่อสร้างของนายกเทศมนตรีชนะการประมูลงานในเทศบาลที่นายก ฯ บริหารแต่การประมูลเป็นไปอย่างเที่ยงธรรมและโปร่งใส COI อธิบดีกรมกำกับธุรกิจการเงินทำหน้าที่กำกับธุรกิจอย่างซื่อสัตย์ หลังเกษียณไปทำงานกับบริษัทการเงิน A โดยให้ข้อมูลสำคัญทางราชการที่ตนทราบระหว่างอธิบดี ผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่เป็นกรรมการควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่ หรือกรรมการที่ให้สิทธิพิเศษ แก่ธุรกิจที่ตนเกี่ยวข้อง กรรมการพิจารณาตัดสิน “โครงการ” หรือ “ความผิดของบุคคล” ตามใบสั่งของการเมืองเพราะเกรงถูกโยกย้าย/หวังได้ตำแหน่งหน้าที่ คอร์รัปชัน COI นักการเมืองพรรครัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการ X ขอให้กรรมการ ตั้งค่าธรรมเนียมกีดกันสินค้านำเข้าที่เป็นคู่แข่ง

26 รูปแบบของความขัดแย้งกันระหว่าง ผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
ที่พบเห็นบ่อย ๆ

27 การรับของขวัญ/รับผลประโยชน์ ที่เกินความเหมาะสม
บริษัทแห่งหนึ่งให้ของขวัญเป็นทองคำมูลค่า 10 บาท แก่เจ้าหน้าที่ในปีที่ผ่านมา และปีนี้เจ้าหน้าที่เร่งรัดคืนภาษีให้กับบริษัทนั้นเป็นพิเศษ โดยลัดคิวให้ก่อนบริษัทอื่น ๆ เพราะคาดว่าจะได้รับของขวัญอีก เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับชุดไม้กอล์ฟจากผู้บริหารของบริษัทเอกชน เมื่อต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเอกชนแห่งนั้น ก็ช่วยเหลือให้บริษัทนั้นได้รับสัมปทาน เนื่องจากรู้สึกว่าควรตอบแทนที่เคยได้รับของขวัญมา เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับของขวัญจากผู้บริหารของบริษัทเอกชน จึงช่วยเหลือลูกของผู้บริหารคนนั้นให้ได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น

28 การใช้ตำแหน่งหน้าที่หาประโยชน์ให้กับตนเอง ครอบครัว หรือพวกพ้อง
เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจหน้าที่ทำให้บริษัทของตนเองหรือบริษัทของครอบครัวได้งานรับเหมาของรัฐ หรือฝากลูกหลานเข้าทำงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดจ้างทำสัญญาให้หน่วยงานต้นสังกัดซื้อคอมพิวเตอร์สำนักงาน (PC) จำนวน 200 เครื่อง จากบริษัทของครอบครัวตนเอง การจัดจ้างบริษัทของภรรยาซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ให้เป็นผู้ซ่อมบำรุง (Maintenance) ระบบคอมพิวเตอร์ให้หน่วยงานต้นสังกัด อธิบดีใช้อำนาจให้หน่วยงานในสังกัดซื้อที่ดินของครอบครัวหรือพวกพ้องในการสร้างสำนักงานแห่งใหม่

29 ตัวอย่างอื่น ๆ ที่เกิดในรูปแบบเดียวกัน
สมาชิกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทห้างร้านในการยื่นซองประกวดราคา สมาชิกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นบุคคลร่วมเจรจาไกล่เกลี่ยในฐานะตัวแทนบริษัทห้างร้านในกรณีงานจ้างเหมามีปัญหา ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหาประโยชน์แก่ตนเองจากการเก็งกำไรจากราคาที่ดิน ทั้งในรูปแบบของการใช้ข้อมูลภายในไปซื้อที่กินไว้ก่อน หรืออาจเป็นรูปแบบที่กำหนดให้ตั้งโครงการในพื้นที่ที่ตนเองมีที่ดินอยู่ เพื่อจะได้ขายที่ดินของตนเองให้แก่รัฐในราคาสูง

30 ตัวอย่างอื่น ๆ ที่เกิดในรูปแบบเดียวกัน (ต่อ)
องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทำสัญญาเช่ารถไปสัมมนาและ ดูงานกับบริษัทซึ่งเป็นของสมาชิกขององค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่นนั้นเอง นายกเทศมนตรีและเทศมนตรีขายสินค้าหรือบริการของบริษัทตนเองให้กับเทศบาล

31 การทำงานหลังเกษียณ เป็นการไปทำงานหลังออกจากงานเดิม
โดยใช้ความรู้ ประสบการณ์ หรืออิทธิพลจากที่เคยดำรงตำแหน่งมารับงาน หรือ เอาประโยชน์ให้กับตนเองหรือพวกพ้อง

32 ตัวอย่างการทำงานหลังเกษียณ
ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การด้านเวชภัณฑ์และสุขภาพออกจากราชการไปทำงานในบริษัทผลิตหรือขายยา ผู้บริหารด้านโทรคมนาคม ภายหลังออกไปทำงานเป็นผู้บริหารของบริษัทธุรกิจสื่อสาร การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐปลดเกษียณแล้ว ใช้อิทธิพลจากที่เคยดำรงตำแหน่งในหน่วยงานรัฐรับเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทเอกชนที่ตนเคยติดต่อประสานงาน โดยอ่างว่าจะทำการติดต่อประสานงาน โดยอ้างว่าจะทำการติดต่อกับหน่วยงานรัฐได้อย่างราบรื่น

33 การทำงานพิเศษ การเป็นที่ปรึกษาและการจ้างงานให้แก่ตนเอง รวมถึงการใช้ตำแหน่งสถานภาพ การทำงานสาธารณะ ในการที่จะเข้าไปเป็นนายจ้างของภาคเอกชน หรือเป็นเจ้าของตนเอง ตลอดจนการใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ของรัฐ ในการทำงานพิเศษภายนอก

34 ตัวอย่างการทำงานพิเศษ
ผู้ตรวจสอบบัญชีภาครัฐรับงานพิเศษเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นผู้ทำบัญชีให้กับบริษัทที่ต้องถูกตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ของรัฐอาศัยตำแหน่งหน้าที่ทางราชการรับจ้างเป็นที่ปรึกษาโครงการ เพื่อให้บริษัทเอกชนที่ว่าจ้างนั้นเกิดความน่าเชือถือกว่าบริษัทคู่แข่ง ข้าราชการครูที่สอนไม่เต็มที่ในเวลาราชการและต้องการให้นักเรียนไปเรียนพิเศษกับตนนอกเวลาราชการ

35 การรู้ข้อมูลภายใน การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐรู้เห็นในข้อมูลลับ
ของทางราชการ นำข้อมูลไปเปิดเผยเพื่อรับ สิ่งตอบแทนที่เป็นประโยชน์ในรูปแบบของเงินหรือประโยชน์อื่น ๆ หรือนำข้อมูลไปเปิดเผยให้แก่ญาติหรือพวกพ้องและแสวงหาผลประโยชน์ จากข้อมูลเหล่านั้น

36 ตัวอย่างการรู้ข้อมูลภายใน
เจ้าหน้าที่ของรัฐได้ทราบข้อมูลโครงการตัดถนนเข้าหมู่บ้าน จึงบอกให้ญาติพี่น้องไปซื้อที่ดินบริเวณโครงการดังกล่าวนั้น เพื่อขายให้กับราชการในราคาที่สูงขึ้น เจ้าหน้าที่กระทรวงคมนาคมทราบมาตรฐาน (SPEC) วัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการวางโครงข่ายโทรคมนาคมแล้ว ให้ข้อมูลกับบริษัทเอกชนที่ตนรู้จัก เพื่อให้ได้เปรียบใน การประมูล

37 การนำโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้ง เพื่อประโยชน์ทางการเมือง
การที่นักการเมืองในจังหวัดขอเพิ่มงบประมาณเพื่อนำโครงการตัดถนน สร้างสะพานลงในจังหวัด โดยใช้ชื่อ หรือนามสกุลของตนเองเป็นชื่อของสะพาน การที่รัฐมนตรีอนุมัติโครงการไปลงในพื้นที่หรือในบ้านเกิดของตนเอง การใช้งบสาธารณะในการหาเสียง

38 ตัวอย่างรูปแบบพฤติกรรมความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ที่พบเห็นบ่อย ๆ
การหาประโยชน์ให้ตนเอง การรับผลประโยชน์จากการที่ดำรงตำแหน่งหน้าที่ การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตน การใช้ข้อมูลลับของทางราชการ เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้อง การรับงานนอกแล้วส่งผลต่อความเสียหายของหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ

39 ตัวอย่างรูปแบบพฤติกรรมความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ที่พบเห็นบ่อย ๆ
การทำงานหลังจากออกจากตำแหน่ง และเอื้อประโยชน์ ต่อบริษัท การให้ของขวัญ ของกำนัล เพื่อหวังความก้าวหน้า การช่วยญาติมิตรให้ได้งานอย่างไม่เป็นธรรมในหน่วยงาน ที่ตนมีอำนาจ การซื้อขายตำแหน่ง การจ่ายผลประโยชน์ทั้งที่เป็นตัวเงินและประโยชน์รูปแบบอื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งการเลื่อนระดับ ตำแหน่ง หรือความดีความชอบพิเศษ

40 เมื่อ...พบเห็นและประสบกับปัญหา ความขัดแย้งกันระหว่าง ผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม... จะทำอย่างไร ?

41 เกิดขึ้นกับตัวเอง ให้พิจารณาผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นว่า ส่วนรวมเสียผลประโยชน์หรือไม่ หากส่วนรวมเสียประโยชน์ ท่านก็ควรหลีกเลี่ยง ตัวอย่างเช่น หากท่านเป็นคณะกรรมการพิจารณาจัดจ้างหรือพิจารณาความดีความชอบของบุคคลใกล้ชิด ท่านก็ควรถอนตัวจากการเป็นคณะกรรมการ หรืองดออกเสียง เนื่องจากการตัดสินใจอาจมีผลทำให้การพิจารณาเบี่ยงเบน แต่หากเป็นเพียงคนรู้จัดกันธรรม ท่านควรประกาศให้ทราบว่าท่านรู้จักบุคคลนั้นต่อคณะกรรมการ ทั้งนี้ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจของท่านและเพื่อความโปร่งใสด้วย

42 เกิดขึ้นกับผู้ร่วมงานหรือคนใกล้ตัว
ท่านควรให้คำแนะนำด้วยการอธิบายให้เข้าใจถึง กรณีต่าง ๆ และผลหรือโทษของความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งแนะนำวิธีการป้องกันตามที่กล่าวข้างต้น สร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน

43 หากท่านพบเห็นและมีหลักฐาน
หากท่านพบเห็นและมีหลักฐาน...ที่ทำให้มั่นใจว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตและปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของตนเองและทำให้ประโยชน์ส่วนรวมเสียหาย ท่านสามารถประสานเพื่อให้ข้อมูลกับหน่วยงาน ดังต่อไปนี้ หน่วยงานที่ต้นสังกัดของผู้กระทำความผิด สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย ศาลปกครอง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด สำนักงานกองทุนสื่อประชาสังคมด้านคอร์รัปชั่น (สปต.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

44 ตัวอย่าง โอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งกัน ระหว่าง ผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐกลุ่มต่าง ๆ

45 นักการเมือง กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง
การรับเงินหรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อแต่งตั้งหรือเลื่อนตำแหน่งข้าราชการขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูง การใช้อำนาจหน้าที่เพื่อให้บริษัทของตนหรือของพรรคพวกได้รับงาน/การจ้างเหมาจากรัฐ การใช้ข้อมูลของทางราชการเพื่อแสวงหาประโยชน์ การแต่งตั้งคนสนิท/พวกพ้องของตนเป็นกรรมการในหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล (Regulartors) สัญญาหรือสัมปทานของรัฐ

46 ข้าราชการการเมือง กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง การใช้ตำแหน่งหน้าที่เลือกผลักดันโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง/ญาติ/พวกพ้อง

47 ข้าราชการประจำ ทั่วไป กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง
การนำข้อมูลลับ/ข้อมูลภายในมาใช้หาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือพวกพ้อง หัวหน้าหน่วยงานซึ่งครอบครัวประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างแต่งตั้งให้ญาติ/คนสนิท/คนที่มีความสัมพันธ์ฉันญาติขึ้นเป็นผู้อำนวยการกองพัสดุ การช่วยญาติมิตรหรือคนสนิทให้ได้งานในหน่วยงานที่ตนมีอำนาจ การรับผลประโยชน์หรือการเรียกร้องสิ่งตอบแทนจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ

48 ข้าราชการประจำ กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง ทั่วไป (ต่อ)
การรับผลประโยชน์หรือการเรียกร้องสิ่งตอบแทนจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ การรับงานนอกหรือการทำธุรกิจที่เบียดบังเวลาราชการ/งานโดยรวมของหน่วยงาน การทำงานหลังเกษียณให้กับหน่วยงานที่มีผลประโยชน์ขัดกับหน่วยงานต้นสังกัดเดิม การนำรถราชการไปใช้ในกิจธุระส่วนตัวและในหลายกรณีมีการเบิกค่าน้ำมันด้วย การนำบุคลากรของหน่วยงานไปใช้เพื่อการส่วนตัว

49 ข้าราชการประจำ กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง
กลุ่มวิชาชีพที่เกี่ยวกับการ ตรวจสอบ ประเมินราคาและการจัดซื้อจัดจ้าง กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง การหาผลประโยชน์จากความไม่รู้ในระเบียบและข้อมูลของทางราชการของประชาชน ผู้บริหารสถาบันการเงินหวังก้าวหน้าในอาชีพจึงได้ร่วมมือและให้ความช่วยเหลือแก่นักการเมืองในการกู้เงินในวงเงินที่สูงกว่าความเป็นจริง ผู้บริหารสถาบันการเงินใช้อำนาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอขายที่ดินหรือบ้านพร้อมที่ดินในโครงการของตนให้แก่ลูกค้าของสถาบันการเงิน เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีอากรเลือกให้บริการเฉพาะรายที่ตนเองได้รับประโยชน์จากผู้เสียภาษีเท่านั้น

50 ข้าราชการประจำ กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง
กลุ่มวิชาชีพที่เกี่ยวกับการ ตรวจสอบ ประเมินราคาและการจัดซื้อจัดจ้าง (ต่อ) กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง การกำหนดมาตรฐาน (Specification) ในสินค้าที่จะจัดซื้อจัดจ้างให้บริษัทของตนหรือของพวกพ้องได้เปรียบหรือชนะในการประมูล การให้ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างแก่พรรคพวก/ญาติ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในการประมูลหรือการจ้างเหมา รวมถึงการปกปิดข้อมูล เช่น การปิดประกาศหรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารล่าช้าหรือ พ้นกำหนดการยื่นใบเสนอราคา เป็นต้น

51 ข้าราชการประจำ กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง กลุ่มวิชาชีพอิสระ
การรับงานจากภายนอกจนกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ประจำ การใช้สิทธิในการเบิกจ่ายยาให้แก่ญาติแล้วนำยาไปใช้ที่คลินิกส่วนตัว การรับประโยชน์จากระบบการล็อกบัตรคิวให้แก่เจ้าหน้าที่หรือญาติเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน

52 ข้าราชการประจำ กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง
กลุ่มวิชาชีพที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม การเรียกรับผลประโยชน์จากการอนุญาตให้คืน ของกลาง กลุ่มวิชาชีพวิชาการ คณะกรรมการตรวจรับผลงานทำหน้าที่เสมือนเป็นนายหน้าให้แก่บริษัทที่ปรึกษา โดยรับรายงานผลการศึกษามาพิจารณาก่อนและแก้ไขในประเด็นที่คาดว่าอาจถูกคณะกรรมการคนอื่นท้วงติง รวมถึงการเข้าไปแทรกแซงการพิจารณาของกรรมการคนอื่น

53 ข้าราชการท้องถิ่น กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง
การเข้ามาดำเนินธุรกิจและเป็นคู่สัญญากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง สมาชิก/ผู้บริหารสภาท้องถิ่นมาดำเนินธุรกิจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองเป็นสมาชิก ญาติ/ภรรยา (อาจไม่ได้จดทะเบียน) ของผู้บริหารสภาท้องถิ่นเป็นคู่สัญญาหรือรับเหมากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสีย ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทห้างร้านในการยื่นซองประกวดราคา สมาชิกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นบุคคลร่วมเจรจาไกล่เกลี่ยในฐานะตัวแทนบริษัทห้างร้านในกรณีงานจ้างมีปัญหา

54 ข้าราชการท้องถิ่น กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง
การเข้ามาดำเนินธุรกิจและเป็นคู่สัญญากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ต่อ) กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหาประโยชน์ส่วนตัวจากการเก็งกำไรจากราคาที่ดิน ทั้งในรูปของการใช้ข้อมูลภายในไปซื้อที่ดินไว้ก่อน หรืออาจเป็นในรูปแบบที่กำหนดที่ตั้งโครงการในพื้นที่ที่ตนเองมีที่ดินอยู่เพื่อขายที่ดินของตนเองในราคาที่สูง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทำสัญญาเช่ารถไปสัมมนาและดูงานกับบริษัทซึ่งเป็นของสมาชิกขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเอง นายกเทศมนตรีและเทศมนตรีขายสินค้าหรือบริการของบริษัทตนเองให้กับเทศบาล

55 ข้าราชการท้องถิ่น กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง
การใช้งบประมาณหลวงเพื่อประโยชน์ส่วนตนและเพื่อหาเสียง กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง การจัดสรรงบประมาณหรือโครงการเข้าไปในพื้นที่ของตนเอง การใช้งบประมาณราชการทำโครงการพร้อมเขียนป้ายและชื่อของผู้ของบประมาณ ประกาศให้ชาวบ้านทราบเพื่อเป็นการหาเสียง การที่สมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งมีบทบาทในการอนุมัติและตรวจสอบการใช้งบประมาณของฝ่ายบริหารกลับไปมีส่วนในการใช้งบประมาณส่งผลต่อการทำหน้าที่ในการตรวจสอบ และใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจอนุมัติเอนเอียงจากความถูกต้องและประโยชน์

56 ประชาชน กิจกรรม ที่มี ความเสี่ยง การเสนอให้ค่าน้ำร้อนน้ำชา ให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อแลกกับการลัดคิวรับบริการ

57 ...มาตรการของรัฐในการป้องกันความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม...
กำหนดคุณสมบัติพึงประสงค์และคุณสมบัติต้องห้ามของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น รมต. หรือ ส.ส. ต้องไม่ดำรงตำแหน่งทางราชการหรือที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องไม่เป็นกรรมการบริษัท การเปิดเผยข้อมูลทรัพย์สิน หนี้สิน และธุรกิจครอบครัวต่อสาธารณะก่อนและหลังดำรงตำแหน่ง การกำหนดข้อพึงปฏิบัติ เพื่อเป็นการสร้างกรอบพฤติกรรมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณไม่ทำลายความเชื่อมั่นของสังคมหรือก่อให้เกิดวิกฤตศรัทธา

58 มาตรการ-กลไก ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามรัฐธรรมนูญ
1. มาตรการคัดสรรคนดีเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง 2. การกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในตำแหน่ง 3. การเพิ่มระบบและองค์การตรวจสอบการใช้อำนาจ 4. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต

59 1. มาตรการการคัดสรรคนดีเข้าสู่ตำแหน่ง
1.1 การลดและขจัดการซื้อเสียง 1.2 เปิดโอกาสให้คนดี มีความสามารถเข้าสู่ระบบการเมือง รัฐธรรมนูญ (ปี 2540) กำหนดมาตรการดังนี้ (1) การกำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ (ม.68) (2) การห้าม ครม.รักษาการระหว่างเลือกตั้ง แต่งตั้งหรือโยกย้าย ข้าราชการโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจาก กกต. (ม.215) (3) กำหนดให้รัฐต้องสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งและ พรรคการเมืองในการหาเสียง (ม.113,129)

60 1. มาตรการการคัดสรรคนดีเข้าสู่ตำแหน่ง
(4) จำกัดวงเงินหาเสียงของผู้สมัครและของพรรคการเมือง (5) ให้ผู้สมัครต้องตั้งสมุห์บัญชีเลือกตั้งคุมค่าใช้จ่ายในการ หาเสียง ตรวจสอบค่าใช้จ่ายผู้สมัคร (6) กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นอิสระ เป็นผู้จัดการเลือกตั้ง (7) กำหนดให้การนับคะแนนต้องทำ ณ ที่แห่งเดียว ในเขตเลือกตั้ง

61 2. การกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในตำแหน่ง
2.1การมีประมวลจริยธรรมและการห้ามผลประโยชน์ขัดกัน (1) การบังคับให้จัดทำประมวลจริยธรรม สำหรับผู้ดำรง ตำแหน่งการเมืองและข้าราชลการ (ม.77) ประมวล จริยธรรม ส.ส. และ สว. (ม.191) (2) กำหนดการห้ามผลประโยชนาขัดกัน ระหว่างประโยชน์ ส่วนตัวกับประโยชน์ของตำแหน่งหน้าที่ (ม.331(2)) (3) การห้าม ส.ส., ส.ว. และ รมต. รับสัมปทาน หรือสัญญา ที่มีลักษณะผูกขาดจากรัฐ (ม.110,128,208) ห้าม รมต ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน บริษัทเกินจำนวนที่กำหนด (ม.209)

62 2. การกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในตำแหน่ง
2.2 การให้แสดงบัญชีทรัพย์และหนี้สิน (ม ) ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส., ส.ว. ข้าราชการการเมืองอื่น ผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น ตามกฎหมายบัญญัติ ยื่นบัญชี ทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่ บรรลุ นิติภาวะ ต่อ ป.ป.ช.

63 2. การกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในตำแหน่ง
2.3 การใช้หลักโปร่งใสในการใช้อำนาจ (1) การเปิดเผยการดำเนินกิจการ บัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ที่มาของรายได้รายจ่ายของพรรคการเมือง (2) การตรวจสอบและประกาศผลตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง (3) การประกาศทรัพย์สินและหนี้สินของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี คู่สมรส บุตร (4) การบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของ ส.ส. , ส.ว. (5) การให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องเขียนคำวินิจฉัยส่วนตน (ม.267) ตลอดจนศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางเมือง (ม.311)

64 3. การเพิ่มระบบและองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจ
ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

65 4. การมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจ ทางการเมืองการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุก ระดับ(ม.76)

66 สิทธิตามรัฐธรรมนูญ (1) การมีส่วนร่วมในการรับรู้และเรียนรู้
(2) การมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น (3) การมีส่วนร่วมในการริเริ่ม เช่น เสนอกฎหมาย (4) การมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจ เช่น การเลือกตั้ง (5) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ (6) การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ

67 แนวทางปฏิบัติในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
1. หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2542 (1) หลักนิติธรรม (2) หลักคุณธรรม (3) หลักความโปร่งใส (4) หลักการมีส่วนร่วม (5) หลักความรับผิดชอบ (6) หลักความคุ้มค่า

68 แนวทางปฏิบัติในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
2. การประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2537 2.1 จรรยาบรรณต่อตนเอง 2.2 จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน 2.3 จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน 2.4 จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม

69 ค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
1. กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง 2. ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ 3. โปร่งใส ตรวจสอบได้ 4. ไม่เลือกปฏิบัติ 5. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (ตามหนังสือ ที่ นร 0706/654 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2543)

70 แนวทาง:การปฏิบัติตนของข้าราชการ เพื่อป้องกันการทุจริตอย่างไร
แนวทาง:การปฏิบัติตนของข้าราชการ เพื่อป้องกันการทุจริตอย่างไร 1. ไม่ทุจริต คือตัวเราไม่ทำทุจริต ไม่ทำให้เกิดความผิดพลาด 2. อย่าให้ผู้อื่นสงสัยว่าทุจริต ต้องทำงานรอบคอบ หาพยาน หลักฐานเพื่อยืนยันความทุจริต 3. อย่าให้คนอื่นทุจริต คือเราต้องป้องกันมิให้ผู้เกี่ยวข้อง กับเรากระทำการทุจริต

71 การรับทรัพย์สินของผู้อื่นตามกฎหมาย ป.ป.ช. (ม.103)
ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ รับทรัพย์สิน/ประโยชน์อื่นใด นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์ อันควรได้ตามกฎหมาย เว้นแต่โดยธรรมจรรยา จาก - ญาติ - บุคคลอื่น ไม่เกิน 3,000 บาท (ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2543)

72 การรับทรัพย์สินโดยธรรมจรรยา
การรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากญาติ หรือจากบุคคลที่ให้กันในโอกาสต่าง ๆ โดยปกติ ตามขนมธรรมเนียมประเพณี หรือวัฒนธรรม หรือ ให้กันตามมารยาทที่ปฏิบัติกันในสังคม

73 การรับทรัพย์สินจากญาติ
1. บุพการี 2. ผู้สืบสันดาน 3. พี่ น้อง 4. ลุง ป้า น้า อา 5. คู่สมรส ตลอดจนบุพการี ผู้สืบสันดานคู่สมรส 6. บุตรบุญธรรมหรือรับบุตรบุญธรรม

74 ทรัพย์สินที่เป็นประโยชน์อื่นใด
การลดราคา การรับความบันเทิง การรับการบริการ การรับการฝึกอบรม สิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน

75 หากมีความจำเป็นต้องรับ เพราะเพื่อรักษาไมตรี...จะทำอย่างไร
หากมีความจำเป็นต้องรับ เพราะเพื่อรักษาไมตรี...จะทำอย่างไร  แจ้งผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ วินิจฉัย  มีเหตุผล รับได้ – รับไว้  ไม่เหตุควรรับ - ส่งคืน ส่งคืนไม่ได้ มอบให้ส่วนราชการ

76 ผู้ฝ่าฝืนมีโทษทางอาญา
 จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ  ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือ  ทั้งจำทั้งปรับ

77 ปัญหาและอุปสรรค ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
■ การเมืองอำนาจรวมศูนย์อยู่ที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร ■ รัฐสภาไม่สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบ หรือยับยั้ง การใช้อำนาจที่กระทำโดยมิชอบได้ ■ กลไกตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่น ปปช. คตง ศาลรัฐธรรมนูญ ถูกครอบงำ ■ กลไกกลั่นกรองการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง กกต ถูกครอบงำ ■ ประชาชนระดับรากหญ้าถูกซื้อด้วยนโยบายประชานิยม.

78 ...ขอขอบคุณ...


ดาวน์โหลด ppt การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน และ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google