แนวทาง การจัดวางระบบการควบคุมภายใน และการประเมินผลการควบคุมภายใน
เนื้อหาการนำเสนอ 2. ความหมายและวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน 1. วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ 2. ความหมายและวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน 3. ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารต่อการควบคุมภายใน 4. สาระสำคัญของระเบียบ คตง.ว่าด้วยการกำหนด มาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544
1. วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ เมื่อเสร็จสิ้นการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมจะมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดวางระบบการควบคุมภายใน และประเมินผลการควบคุมภายใน รวมทั้งจะสามารถนำหลักการเกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมภายในไปใช้ปฏิบัติภายในหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินการของหน่วยงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในระดับที่น่าพอใจอยู่เสมอ 3
หน้าที่พื้นฐานของผู้บริหาร การวางแผน (Planing) การจัดองค์กร (Organizing) การควบคุม (Controlling) การอำนวยการ (Directing)
2. ความหมาย วัตถุประสงค์ แนวคิดการควบคุมภายใน หมายถึง กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยรับตรวจกำหนดให้มีขึ้น เพื่อให้มีความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน
2. ความหมาย วัตถุประสงค์ แนวคิดการควบคุมภายใน (ต่อ) เป็นกระบวนการที่รวมเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงานตามปกติ เกิดขึ้นได้โดยบุคลากรทุกระดับขององค์กร ให้ความเชื่อมั่นในระดับสมเหตุสมผล เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ 3 ประการของการควบคุม
ความหมาย วัตถุประสงค์ แนวคิดการควบคุมภายใน (ต่อ) 3 วัตถุประสงค์ 1. ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงานรวมทั้ง การดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันการรั่วไหล สูญเสีย และ การทุจริต (Operation = O) 2. ความเชื่อถือรายงานทางข้อมูล(Financial Reporting =F) 3. การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ( Compliance = C )
3. ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารต่อการควบคุมภายใน ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับรองลงมาทุกระดับ
หน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง รับผิดชอบโดยตรงในการจัดให้มีการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในระดับที่น่าพอใจอยู่เสมอ ประเมินผลการควบคุมภายในของหน่วยงาน กำหนดให้หน่วยตรวจสอบภายในเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมภายใน
หน้าที่ของผู้บริหารระดับรองลงมาทุกระดับ จัดให้มีการควบคุมภายในของส่วนงานที่ตนรับผิดชอบ สอบทานการปฏิบัติงานที่ใช้บังคับในหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการควบคุมภายในให้รัดกุม
ส่วนที่ 2 มาตรฐานการควบคุมภายใน 5 องค์ประกอบของการควบคุมภายใน 1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม 2. การประเมินความเสี่ยง 3. กิจกรรมการควบคุม 4. สารสนเทศและการสื่อสาร 5. การติดตามประเมินผล
1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมองค์ประกอบการควบคุม ภายในอื่น หรือการควบคุมที่มีอยู่ให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น เป็นเรื่องการสร้างความตระหนัก เน้นที่จิตสำนึก และให้ความสำคัญกับคุณภาพของคน เช่น ความซื่อสัตย์และจริยธรรมในทุกระดับองค์กร การพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากร ปรัชญาและรูปแบบการบริหาร โครงสร้างองค์กรที่ดี
2. การประเมินความเสี่ยง ความหมาย: ความเสี่ยง หมายถึงโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ซึ่งไม่พึงประสงค์ ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
1.การระบุปัจจัยเสี่ยง (Risk Identification) ขั้นตอนในการประเมิน ความเสี่ยง 1.การระบุปัจจัยเสี่ยง (Risk Identification) 2.การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) 3.การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
การวิเคราะห์ผลกระทบของความเสี่ยง ระดับของความเสี่ยง (Degree of Risk) 5 4 3 2 1 มีความเสี่ยงสูงมาก มีความเสี่ยงสูง มีความเสี่ยงปานกลาง มีความเสี่ยงต่ำ ผลกระทบของความเสี่ยง 1 2 3 4 5 โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง
การบริหารความเสี่ยง การยอมรับความเสี่ยง(Take Risk) การควบคุมความเสี่ยง(Treat Risk) การถ่ายโอนความเสี่ยง(Transfer Risk) การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง(Terminate Risk)
3. กิจกรรมการควบคุม ได้รับการตอบสนองจากบุคลากรและนำมาใช้ในการ วิธีการต่างๆ ที่ฝ่ายบริหารกำหนดหรือออกแบบโดย ได้รับการตอบสนองจากบุคลากรและนำมาใช้ในการ ปฏิบัติงานเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยง ตัวอย่างกิจกรรมการควบคุม การกำหนดนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติงาน การแบ่งแยกหน้าที่ การอนุมัติ การดูแลป้องกันทรัพย์สิน
4. สารสนเทศและการสื่อสาร สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารทางการเงิน และข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ เกี่ยวกับการ ดำเนินงานของหน่วยงาน ทั้งข้อมูลจากแหล่งภายใน หรือภายนอก โดยลักษณะของสารสนเทศที่ดี เหมาะสมกับการใช้ ทันเวลา ถูกต้อง สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ เป็นปัจจุบัน
4. สารสนเทศและการสื่อสาร การสื่อสาร หมายถึง การส่งสารสนเทศระหว่างบุคลากร โดยจัดให้มีระบบการสื่อสารสองทาง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร
5. การติดตามประเมินผล การติดตามประเมินผล หมายถึงกระบวนการประเมินคุณภาพการปฎิบัติงาน และประเมินประสิทธิผลของการควบคุมภายในที่วางไว้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อทราบว่าระบบการควบคุมภายในที่มีอยู่สามารถป้องกันความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้หรือต้องปรับปรุง ให้ทันสมัยตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
5.การติดตามประเมินผล (ต่อ) การติดตามผลในระหว่างการปฏิบัติงาน การประเมินผลเป็นรายครั้ง 1. ประเมินการควบคุมด้วยตนเอง 2. ประเมินการควบคุมอย่างเป็นอิสระ
ส่วนที่ 1 ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินฯ คตง. ได้ออกระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 ข้อ 5 ให้หน่วยรับตรวจจัดวางระบบการควบคุมภายในให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ระเบียบใช้บังคับ ข้อ 6 ประเมินการควบคุมภายในและรายงานผลการประเมินอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ภายใน 90 วัน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ หรือปีปฏิทิน
ส่วนที่1: ตัวระเบียบ (ต่อ) การรายงานตามระเบียบฯ ข้อ 6 รายงานอย่างน้อยปีละครั้ง ทุกปี รายงานภายใน 90 วัน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ (ภายในเดือน ธ.ค.ของทุกปี) หรือปีปฏิทิน (ภายในเดือน มี.ค.ของทุกปี)
รายละเอียดที่ต้องรายงานตามระเบียบฯ ข้อ 6 การควบคุมภายในเป็นไปตามมาตรฐานการควบคุม หรือไม่ (ปอ.๑ ) ผลการประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบ การควบคุมภายใน และผลการประเมินองค์ประกอบของ การควบคุมภายใน (ปอ.๑,ปอ.๒) จุดอ่อน ข้อเสนอแนะ และแผนการปรับปรุงแก้ไข (แบบ ปอ.๓)
ระเบียบฯข้อ 8: การไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการควบคุมภายใน แจ้งกระทรวงเจ้าสังกัด หรือผู้บังคับบัญชา รายงานต่อประธานรัฐสภา คณะกรรมาธิการของรัฐสภา คณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี อาจต้องรับโทษปรับทางปกครอง ตามระเบียบ คตง.ว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง พ.ศ. 2544
สวัสดี
คุณกัฑณา ลิ่มชวลิต โทรฯ ๐๗๗-๘๐๐๑๗๒ สำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดระนอง อ.เมือง จ.ระนอง