หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง
หลักการแต่งโคลง เป็นคำประพันธ์ที่บังคับเอกโท โคลงที่ดีจะต้องประกอบด้วย รสคำ และรสความ
แผนผังโคลง ชนิดต่าง ๆ
โคลงสองสุภาพ บทหนึ่งมี ๑๔ คำ แบ่งเป็น ๒ บาท บาทแรกมี ๒ วรรค วรรคละ ๕ คำ บาทที่สองมี ๑ วรรค วรรคละ ๔ คำ อาจมีคำสร้อย ๒ คำ ในวรรคที่ ๒ ของบาทที่ ๒ สัมผัสบังคับ ได้แก่ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ บาทที่ ๑ สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ บาทที่ ๑ บทหนึ่งมีคำเอก ๓ คำ และคำโท ๓ คำ
ตัวอย่าง
โคลงสามสุภาพ บทหนึ่งมี ๑๙ คำ แบ่งเป็น ๒ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรค บาทแรกแบ่งเป็นวรรคละ ๕ คำ ส่วนบาทที่ ๒ วรรคแรกมี ๕ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ และอาจมีคำสร้อย ๒ คำ ท้ายบาทที่ ๒ สัมผัสบังคับ ได้แก่ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ บาทที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๑ ๒ หรือ ๓ ของวรรคที่ ๒ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ บาทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ บาทที่ ๒ นอกจากนี้ มีคำเอก ๓ คำ และคำโท ๓ คำ
ตัวอย่าง
เสีย สินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์ เสีย ศักดิ์สู้ประสงค์ สิ่งรู้ โคลงกระทู้ คำที่เป็นกระทู้จะเขียนไว้ต้นบาท ผู้เขียนจะต้องตีความกระทู้ให้เข้าใจ และเขียนอธิบายความหมายของกระทู้ ภายในโคลงบทนั้นโคลงกระทู้มีตั้งแต่ ๑-๔ คำ ตัวอย่าง โคลงกระทู้ ๑ คำ เสีย สินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์ เสีย ศักดิ์สู้ประสงค์ สิ่งรู้ เสีย รู้เร่งดำรง ความสัตย์ ไว้นา เสีย สัตย์อย่าเสียสู้ ชีพม้วยมรณา ฯ
โคลงสี่สุภาพ บทหนึ่งมี ๓๐ คำ แบ่งเป็น ๔ บาท แต่ละบาทมี ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๒ คำ ยกเว้นในบาทที่ ๔ วรรคหลังมี ๔ คำ อาจมีคำสร้อย ๒ คำ ท้ายบาทที่ ๑ และ ๓ สัมผัสบังคับ ได้แก่ คำสุดท้ายของบาทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของ วรรคหน้าในบาทที่ ๒ และ ๓ และคำสุดท้ายของบาทที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้าย ของวรรคหน้าในบาทที่ ๔ นอกจากนี้ มีคำเอก ๗ คำ และคำโท ๔ คำ
ตัวอย่าง
ศิลปะการแต่งโคลงสี่สุภาพ ๑. ใช้คำตายในตำแหน่งที่บังคับวรรณยุกต์เอกได้ ๒. คำจบบทต้องใช้เสียงสามัญหรือเสียงจัตวา ๓. ทุกบาทควรมีสัมผัสพยัญชนะที่ คำสุดท้ายของวรรคหน้ากับคำแรก ของวรรคหลัง เช่น เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย
๔.สลับตำแหน่งเอก โทของคำที่ ๔ และ ๕ ในบาทแรกได้ ๕.การใช้กลบทจะทำให้โคลงไพเราะยิ่งขึ้น เช่น กลบทวัวพันหลัก ลมหนาวกรรโชกชื้น ชาทรวง ทรวงครากจากนุชตวง แต่เศร้า ๖.การใช้ภาพพจน์และกลวิธีการแต่งคำประพันธ์ต่างๆ ทำให้โคลงมีความงามมากขึ้น
๗. คำสร้อยในโคลง ควรใช้เมื่อใจความของโคลงในบทนั้นยังไม่สมบูรณ์ ๘. ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำเอกโทษ โทโทษ ๙. การใช้กระทู้จะทำให้โคลงมีความไพเราะและน่าสนใจยิ่งขึ้น
คำเอก คำโท คือ คำเอก คือ พยางค์หรือคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุกต์โท ใช้ในคำประพันธ์ประเภทโคลง ลักษณะของคำเอก พยางค์หรือคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์เอก เช่นคำว่า แต่ ข่อย เฟื่อง ก่อ บ่าย ท่าน พี่ ช่วย บ่ คู่ อยู่ ฯลฯ คำเอก รวมถึงการอนุโลมให้ใช้คำตายแทนได้ (คำตาย คือ คำที่ประสมด้วยสระ เสียงสั้นและไม่มีตัวสะกด หรือคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กก แม่ กด แม่ กบ) เช่นคำว่า พระ ตราบ ออก ปะทะ จักร ขาด บัด ฯลฯ คำโท คือ พยางค์หรือคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์ โท เช่น ค้ำ ข้อง ไซร้ ทั้ง รู้ ไท้ เพี้ยง ฯลฯ
เอกโทษ โทโทษ เอกโทษ คือ คำที่มีความหมายและกำกับด้วยรูปวรรณยุกต์โท แต่มีความ จำเป็นที่ต้องแปลงให้เป็นคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก แม้ว่าคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกที่ได้ เปลี่ยนจากคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทแล้วนั้น ได้คำที่มีไม่มีความหมายแต่ยังคงให้มี ความหมายเหมือนคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับอยู่เดิม เช่นคำว่า สิ้นเลือด แปลงเป็น ซิ่นเลือด ภพหล้า แปลงเป็น ภพล่า เป็นต้น โทโทษ คือ คำที่มีความหมายและกำกับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก แต่มีความ จำเป็นที่ต้องแปลงให้เป็นคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท แม้ว่าคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทที่ได้เปลี่ยน จากคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกแล้ว นั้น ได้คำที่มีไม่มีความหมายแต่ยังคงให้มีความหมาย เหมือนคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก กำกับอยู่เดิม เช่นคำว่า เล่าเรื่อง แปลงเป็น เหล้าเรื่อง ค่าจ้าง แปลงเป็น ข้าจ้าง เป็นต้น
การฝึกแต่งโคลงอาจเริ่มต้นด้วยการเขียนถึงสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันโดยไม่จำเป็นต้องใช้ศัพท์ชั้นสูง เมื่อชำนาญ ฉันทลักษณ์แล้วจะสามารถแต่งโดยใช้ศัพท์แสงชั้นสูงได้ ไพวรินทร์ ขาวงาม กวีซีไรต์ พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้เคยให้ ข้อสังเกตเกี่ยวกับการแต่งโคลงว่า ในยุคที่โคลงกำลังจะตาย หากปรุงชีวิตชีวาใหม่ ๆ ให้โคลง ลดและหลีกเลี่ยงศัพท์ เขียนถึงสิ่งที่อยากเขียนถึง อาจเป็นสุนัข มด แมลง กรวด หิน ดิน ทราย โคลงก็อาจจะเป็นคำประพันธ์ที่มีผู้สนใจศึกษาและอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไป