กฎหมายว่าด้วยบริษัทจำกัด รศ.ดร. อนันต์ จันทรโอภากร น.บ. (เกียรตินิยมอันดับสอง)(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ปริญญาโทกฎหมาย (LL.M.)(Yale University) ปริญญาเอกกฎหมาย (J.S.D.)(Yale University)
ลักษณะทั่วไปของบริษัทจำกัด มาตรา ๑๐๙๖ อันว่าบริษัทจำกัดนั้น คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ ทุนต้องแบ่งออกเป็นหุ้นมูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นต่างรับรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้น มีสภาพเป็นนิติบุคคล
ทุนของบริษัทต้องแบ่งออกเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน ต่างกับห้างหุ้นส่วน หุ้น (shares/stock) แต่ละหุ้นและมูลค่าหุ้นที่ตั้งไว้ (par value) เป็นตัวกำหนดสิทธิและความรับผิดของผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของสิทธิในหุ้น เมื่อหุ้นถูกโอนไป ไม่ว่าโดยนิติกรรมหรือโดยผลของกฎหมาย สิทธิในหุ้นก็ตกได้กับผู้รับโอน
4. การดำรงอยู่ของบริษัทไม่ได้ผูกติดอยู่กับตัวผู้ถือหุ้น บริษัทจึงมีความดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง (perpetually) จึงเหมาะสมกับกับการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่และเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ หุ้นที่บริษัทออกนั้น ไม่ว่าจะเป็นการออกให้แก่ผู้จองซื้อหุ้น (subscribers) ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนบริษัท หรือเป็นหุ้นที่ออกเพื่อเพิ่มทุนในภายหลัง จะต้องมีการกำหนดตั้งมูลค่าไว้ (par value) โดยจะต้องจดลงรายการไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ (มาตรา ๑๐๙๘(๕))
6. มูลค่าของหุ้นที่ตังไว้นั้นแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน และจะต้องไม่ต่ำกว่าห้าบาท (มาตรา ๑๐๙๖ และมาตรา ๑๑๑๗) 7. กฎหมายไทยจึงไม่อนุญาตให้มีการออกหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่ตั้งไว้ หรืออกหุ้นชนิดไม่มีการกำหนดมูลค่า (no-par value shares) เหมือนบางประเทศ
8. บริษัทสามารถออกหุ้นสูงกว่ามูลค่าที่ตั้งไว้ได้ หากหนังสือบริคณห์สนธิให้อำนาจไว้ ส่วนของราคาที่เกินกว่ามูลค่าที่ตั้งไว้ เรียกว่าส่วนล้ำมูลค่า โดยผู้ซื้อหุ้นจากบริษัทจะต้องส่งใช้จำนวนที่ล้ำมูลค่าไปพร้อมกันกับการส่งใช้เงินค่าหุ้นคราวแรกด้วย (มาตรา ๑๑๐๕ วรรค ๑ และวรรค ๒) 9. การที่กฎหมายกำหนดหุ้นต้องมีมูลค่าที่ตั้งไว้ (par value) เป็นไปตามแนวคิดแบบดั้งเดิม (traditional concept) ในเรื่องของการรักษาทุนของบริษัท ไม่ให้ลดน้อยถอยลงไปกว่าทุนที่ได้จดทะเบียนไว้ (capital maintenance) ซึ่งหลายประเทศได้เลิกแนวคิดนี้ไปแล้ว เพราะไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในทางธุรกิจ
10. มูลค่าที่ตั้งไว้นี้กฎหมายใช้เป็นพื้นฐานในการคำนวณทุนจะทะเบียนด้วย โดย มาตรา ๑๐๙๘(๕) กำหนดให้ต้องมีการเกี่ยวกับ “จำนวนทุนเรือนหุ้นซึ่งบริษัท คิดจะจดทะเบียนแบ่งออกเป็นหุ้นมีมูลค่ากำหนดหุ้นละเท่าไร” ผลรวมของมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่บริษัทออกคือทุนจดทะเบียนของบริษัท
11. กฎหมายไม่ได้กำหนดเพดานของมูลค่าหุ้นที่ตั้งไว้ 11. กฎหมายไม่ได้กำหนดเพดานของมูลค่าหุ้นที่ตั้งไว้ เพียงแต่กำหนดมูลค่าขั้นต่ำไว้ว่าจะต้องไม่ต่ำกว่าห้า บาท ดังนั้นบริษัทจะตั้งมูลค่าหุ้นให้สูงกว่าห้าบาทขึ้น ไปเท่าใดก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติก็ต้องคิดถึงความ เหมาะสมด้วย เพราะความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้น ขึ้นอยู่กับมูลค่าของหุ้นที่บริษัทตั้งไว้ด้วย
12. จำนวนหุ้นที่บริษัทคิดจะจดทะเบียนนั้น ต้องมีผู้ 12. จำนวนหุ้นที่บริษัทคิดจะจดทะเบียนนั้น ต้องมีผู้ เข้าชื่อซื้อหรือออกให้กันเสร็จก่อนการจดทะเบียน บริษัท (มาตรา ๑๑๐๔) และในการส่งใช้ค่าหุ้น คราวแรกนั้น จะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า ของมูลค่าหุ้นที่ตั้งไว้
ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ ตัวอย่างเช่น บริษัท ก มีทุนจดทะเบียน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท แบ่งออกเป็นหุ้นทั้งหมดจำนวน ๑๐,๐๐๐ หุ้น แต่ละหุ้นมีมูลค่าที่ตั้งไว้ ๑๐๐ นาย ข ซื้อหุ้นจากบริษัทจำนวน ๑๕๐ หุ้น ถ้านาย ข ได้ส่งเงินใช้ค่าหุ้นไปแล้วเพียงร้อยละยี่สิบห้าหรือ ๓,๗๕๐ บาท ต่อมาบริษัทล้มละลาย นาย ข ต้องรับผิดต่อบริษัทหรือเจ้าหนี้ของบริษัทเพียง ๑๑,๒๕๐ บาทเท่านั้น แต่หากนาย ข ส่งใช้เงินค่าหุ้นไปแล้วทั้งหมด ๑๕,๐๐๐ นาย ข ก็ไม่ต้องรับผิดใด ๆ ต่อบริษัทหรือเจ้าหนี้ของบริษัทอีก
อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิด้วยว่าความรับผิดของผู้ถือหุ้นจะมีจำกัด (มาตรา ๑๐๙๘(๔)) การจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นในลักษณะดังกล่าวนี้มีประโยชน์ต่อการส่งเสริมการลงทุน และผู้ถือหุ้นแต่ละรายมีความเสมอภาคกัน
บริษัทต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ป.พ.พ. กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าการจัดตั้งบริษัทจะต้องจดทะเบียน (มาตรา ๑๑๑๑) และเมื่อจดทะเบียนถูกต้องครบถ้วนแล้ว บริษัทจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้นในบริษัท (มาตรา ๑๐๑๕) มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติ หรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง (มาตรา ๖๖) โดยนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น (มาตรา ๖๗)
ตัวอย่าง เช่น มีสิทธิที่จะใช้ชื่อและดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อของตนเอง คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๒๙/๒๕๒๖ โจทก์และจำเลยที่ ๑ ต่างจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยโจทก์จดทะเบียนก่อนใช้ชื่อว่าบริษัท ยูเนียนการ์เมนท์ จำกัด จำเลยที่ ๑ ใช้ชื่อว่า บริษัท ดียูเนียนการ์เมนท์ จำกัด เป็นการเลียนแบบ ถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิในนามของโจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา ๑๘ และมาตรา ๔๒๐ โจทก์ขอให้ห้ามใช้ชื่อได้
คำพิพากษากาที่ ๕๔๒/๒๕๔๖ ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าคำว่า SONY และโซนี่ของโจทก์เป็นที่แพร่หลายรู้จักกันทั่วไป จำเลยที่ ๑ ก็รู้ การที่จำเลยที่ ๑ ขอจดทะเบียนคำว่าบริษัทโซนี่ อิมเป็กซ์ จำกัด เป็นชื่อของบริษัทจำเลยที่ ๑ โดยใช้คำภาษาอังกฤษว่า SONY IMPEX CO., LTD. โดยไม่มีส่วนสัมพันธ์หรือส่วนเกี่ยวข้องหรือได้รับอนุญาตจากโจทก์ จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากความมีชื่อเสียงแพร่หลายของคำว่า SONY หรือโซนี่โดยไม่สุจริต ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดคิดว่าจำเลยที่ ๑ เป็นบริษัทในเครือ
ของโจทก์หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าของชื่อนิติบุคคล SONY และโซนี่ จึงมีสิทธิเรียกให้ระงับความเสียหายหรือขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้ใช้ชื่อดังกล่าวได้ตามป.พ.พ. มาตรา ๑๘ ประกอบด้วยมาตรา ๔๒๑ และมีสิทธิขัดขวางจำเลยที่ ๑, ๒ และที่ ๔-๘ ในการเครื่องหมายการค้า SONY หรือโซนี่ของโจทก์เป็นชื่อของจำเลยที่ ๑ ตามพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๔๗ ชื่อบริษัทของจำเลยที่ ๑ ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัท เพราะอาจก่อให้เกิดการสำคัญผิดเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ ลักษณะวัตถุประสงค์
ฐานะของกิจการหรือโดยประการอื่น ตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๑(๕) (ฉบับเดิม) จำเลยที่ ๙ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการรับจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จึงชอบที่จะปฏิเสธการรับจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่ ๑ ด้วยเหตุผลดังกล่าว แต่เมื่อรับจดทะเบียนไว้แล้ว ก็ต้องเพิกถอนชื่อออกจากทะเบียน
บริษัทมีภูมิลำเนาของตนเองแยกต่างหากจากภูมิลำเนาของผู้ถือหุ้น คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๗๔๑/๒๕๐๔ สาขาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท สำนักงานใหญ่และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน แต่มีภูมิลำเนาได้หลายแห่งสุดแต่กิจกรรมนั้น ๆ ว่าทำ ณ ที่ใด
มีสิทธิและหน้าที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น มีสิทธิที่จะเป็นคู่ความในคดี คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๒๕/๒๔๙๕ การฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยนั้น โจทก์เพียงแต่ระบุชื่อนิติบุคคลเป็นจำเลย โดยไม่ระบุชื่อผู้แทนนิติบุคคลมาด้วยก็ได้ เพราะนิติบุคคลย่อมมีผู้ดำเนินการอยู่ในตัวตามกฎหมาย มีสัญชาติของตนเอง
โดยทั่วไปแล้วบริษัทจำกัดจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศใด ก็จะมีสัญชาติของประเทศนั้น ยกเว้นจะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษ
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ. ศ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔ บัญญัติว่า คนต่างด้าว หมายความว่า บุคคลธรรมดา ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย นิติบุคคลซึ่งได้จดทะเบียนในประเทศไทย และมีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) นิติบุคคลซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม (๑) หรือ (๒) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (๑) หรือ (๒) ลงทุนมีมูลค่าตังแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น (ข) ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน ซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นบุคคลตาม (๑) (๔) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตังแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) หรือนิติบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น เพื่อประโยชน์แห่งคำนิยามนี้ให้ถือว่าหุ้นของบริษัทจำกัดที่มีใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือเป็นหุ้นของคนต่างด้าว เว้นแต่จะได้มีกฎกระทรวงกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น