โดย นายไพสุข สุขศรีเพ็ง รหัสนักศึกษา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 6: Sampling Distributions
Advertisements

Chapter 3: Expected Value of Random Variable
(Statistical Package for the Social Sciences : SPSS)
สถิติ Statistics โดย น.ท.อนุรักษ์ โชติดิลก
Basic Statistical Tools
Basic Statistical Tools
นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค ผลการสำรวจทัศนคติ ความเห็นของประชาชน DDC Poll ครั้งที่ 12 “ เรื่อง … รู้จักและเข้าใจโรคไข้หวัดใหญ่ 31 มีนาคม 2558.
กิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ e- meeting วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2555.
งานธุรการ ให้บริการผู้บริหาร ครู และบุคลากร เกี่ยวกับงานธุรการและ เอกสารสำคัญ บริการที่มีคุณภาพ ตอบสนองด้วยความเป็น มิตร รวดเร็ว มักจะเกิดปัญหาและอุปสรรคต่าง.
ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขางานการขาย รวมพร ประพฤติธรรม ผู้วิจัย วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชย การ.
การวิจัยในชั้นเรียน Classroom action Research
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ (Test Quality Analysis)
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อการทำวิจัยอย่างง่าย
สถิติเบื้องต้นในการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
การหาความสัมพันธ์ของตัวแปร
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
สถิติอ้างอิง: ไร้พารามิเตอร์ (Inferential Statistics: Nonparametric)
บทที่ 9 การกำหนดขนาดของตัวอย่าง
การวิจัยในชั้นเรียน ( Classroom Action Research)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ คุณภาพของเครื่องมือวัด
การวิจัยเชิงปริมาณ ดร.บรินดา สัณหฉวี.
วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
สถิติที่ใช้ในงาน การวิจัยเชิงปริมาณ
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจระหว่างประเทศ
วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
บทที่ 7 การสุ่มตัวอย่าง.
ประชากร การคำนวณขนาดตัวอย่าง และการเลือกวิธีการสุ่มตัวอย่าง
ปัจจัยที่มีผลต่อการแพ้ยาและ ผลของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง Factors Related to Readiness for Hospital Discharge.
วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา จังหวัดร้อยเอ็ด
การวิเคราะห์การถดถอย และสหสัมพันธ์อย่างง่าย
บทที่ 10 สถิติเชิงบรรยาย
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ
ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว
การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ
ผู้ดำเนินการวิจัย นางสาว นิลุบล สุวลักษณ์ รหัสนักศึกษา
การติดตามและการประเมินผลโครงการ
ผลงานประเภทวิจัยชั้นเรียน
การมีส่วนร่วมในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร
การนำเสนอผลงานการวิจัย
Statistical Method for Computer Science
ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET,NT 2558
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
กระบวนการเรียนการสอน
รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน วิชาการพัฒนาบุคลิกภาพ
โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
หลักการคำนวณค่าทางสถิติพื้นฐาน
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการ โลจิสติกส์
การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจระหว่างประเทศ
ดำเนินการวิจัย นางสาวขวัญใจ จันทรวงษ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
นางสาวกฤษฎาวรรณ ศิวิวงศ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
ชื่อเรื่องวิจัย ชื่อผู้วิจัย
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้จัดทำวิจัย
การนำเสนอผลงานการวิจัยครั้งที่ ๘
ประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2555
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
งานวิจัย.
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
ใบสำเนางานนำเสนอ:

โดย นายไพสุข สุขศรีเพ็ง รหัสนักศึกษา 485082397-7 การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง กรณีศึกษา : ภูผาเมฆ ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง โดย นายไพสุข สุขศรีเพ็ง รหัสนักศึกษา 485082397-7

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นภารกิจหนึ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการถ่ายโอนมาจากรัฐบาลส่วนกลาง โดยมีกลุ่มภารกิจต่างๆ จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 2. การคุ้มครองดูแลและการบำรุงรักษาป่า 3. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ และการดูแลรักษา ที่สาธารณะ บทที่ 1

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) สำหรับขอบเขตการถ่ายโอนนั้น ได้ระบุว่า “เขตพื้นที่ที่เป็น ป่าสงวนแห่งชาติ ยกเว้นพื้นที่อนุรักษ์ ได้แก่ เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการอยู่แล้วให้ถ่ายโอนได้ทันทีโดยมีเงื่อนไข คือ พื้นที่ป่าดังกล่าวต้องอยู่ติดกับชุมชนหรือชุมชนได้ดูแลป่านั้นอยู่แล้ว” ป่าชุมชน การป้องกันไฟป่า และควบคุมไฟป่าให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนดำเนินการและสนับสนุนด้านงบประมาณ ป่าชุมชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมดูแลป่าไม้และวางแผนใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนในท้องถิ่นของตน บทที่ 1

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism) เป็นรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน เป็นการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดผลทางเศรษฐกิจโดยการใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้การท่องเที่ยวมีความมั่นคงยั่งยืนซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือ สนับสนุนส่งเสริมจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เป็นทางเลือกใหม่ในการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม สร้างรายได้เข้าสู่ตำบล และสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ปกป้องรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมทาง การท่องเที่ยวให้คงอยู่คู่สังคมมนุษย์นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ บทที่ 1

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) ลักษณะสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism) 1. จะต้องมีผลกระทบน้อยที่สุดต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น 2. จะต้องมีการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวโดยสื่อต่างๆ 3. ช่วยลดผลกระทบต่างๆที่อาจจะมีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. จะต้องให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ บทที่ 1

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) การมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ จำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรง ได้แก่ การมีส่วนร่วมใน การรับทราบข้อมูลข่าวสารทางราชการในเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การร้องเรียนกล่าวโทษผู้กระทำผิดต่อเจ้าพนักงานในกรณีกระทำการละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การให้ความร่วมมือและช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ (2) การมีส่วนร่วมของประชาชนทางอ้อม โดยให้ความสำคัญขององค์กรเอกชนที่จดทะเบียนเป็นองค์กรคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม บทที่ 1

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) สำหรับในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปรางนั้น มีพื้นที่ป่าชุมชนที่มีชื่อว่า “ภูผาเมฆ” ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าที่เป็นแหล่งอาหาร แหล่งศึกษาเรียนรู้ แหล่งทรัพยากรของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งกำลังถูกคุกคามจากบุคคลทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ หากป่าชุมชนแห่งนี้ได้รับการพัฒนาโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้ว เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีจิตสำนึกในการดูแลรักษาป่าชุมชน และเป็นการสร้างความร่วมมือกันทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่ ก่อให้เกิดการดูแลพื้นที่ป่าชุมชนที่มีศักยภาพสูงสุดและมีความยั่งยืนตลอดไป ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง กรณีศึกษา : ภูผาเมฆ ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง บทที่ 1

วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อศึกษานโยบายการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ในด้านนโยบาย ระบบ ความสำคัญ และผลกระทบ 2. เพื่อศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 4. เพื่อนำเสนอรูปแบบ แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนตามกรอบแนวคิดที่ได้จากการเก็บข้อมูล บทที่ 1

ขอบเขตการศึกษา 1. ด้านแนวคิด โดยใช้แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ด้านหน่วยในการศึกษา คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 3. ขอบเขตด้านระยะเวลา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม – กันยายน 2551 บทที่ 1

วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อวัดทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง บทที่ 1

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ทราบระดับการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 2. ทราบปัญหาและข้อคิดเห็นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 3. เป็นแนวทางให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ยั่งยืนต่อไป บทที่ 1

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (ต่อ) 4. ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากชุมชนได้อย่างยั่งยืนและถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย ไม่บุกรุก ทำลายป่ารอบข้าง ชุมชน โรงเรียน วัด สามารถใช้ป่าเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศน์ พืชสมุนไพร และสัตว์ต่างๆ 5. เป็นแนวทางแก่หน่วยงานที่สนใจในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้นต่อไป บทที่ 1

นิยามศัพท์ 1. การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมายถึง การท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปยังแหล่งธรรมชาติ และแหล่งวัฒนธรรมอย่างมีความรับผิดชอบ โดยไม่ก่อให้เกิด การรบกวนหรือทำความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแต่มีวัตถุประสงค์อย่างมุ่งมั่นเพื่อชื่นชมศึกษา เรียนรู้ และเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพ พืชพรรณ และสัตว์ป่าตลอดจนลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในแหล่งธรรมชาตินั้นอีกทั้งช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกิดประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นด้วย บทที่ 1

นิยามศัพท์ (ต่อ) 2. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมายถึง การปรับปรุง พัฒนาและการจัดการแหล่งท่องเที่ยวภูผาเมฆของชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 3. ประชาชน หมายถึง ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนครัวเรือนที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 4. อายุ หมายถึง อายุนับเป็นปีเต็ม(เศษมากกว่า 6 เดือน คิดเป็น 1 ปี) ในวันที่ตอบแบบสอบถาม บทที่ 1

นิยามศัพท์ (ต่อ) 2. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมายถึง การปรับปรุง พัฒนาและการจัดการแหล่งท่องเที่ยวภูผาเมฆของชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 3. ประชาชน หมายถึง ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนครัวเรือนที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 4. อายุ หมายถึง อายุนับเป็นปีเต็ม(เศษมากกว่า 6 เดือน คิดเป็น 1 ปี) ในวันที่ตอบแบบสอบถาม บทที่ 1

นิยามศัพท์ (ต่อ) 5. ระดับการศึกษา หมายถึง ระดับการศึกษาสูงสุดของผู้ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (อนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และปริญญาตรีหรือสูงกว่า 6. อาชีพ หมายถึง อาชีพหลักของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งได้แก่ อาชีพรับจ้าง เกษตรกร ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว ประมง รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และอาชีพอื่นๆนอกเหนือจากนี้ 7. รายได้ต่อเดือน หมายถึง รายได้ทั้งหมดต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม บทที่ 1

นิยามศัพท์ (ต่อ) 8. ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ หมายถึง ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ใน ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง คิดเป็นปี 9. ผู้นำท้องถิ่น หมายถึง การดำรงตำแหน่งในระดับท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ กำนัน หรือสารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน ผู้นำทางศาสนา นักการเมืองท้องถิ่น และตำแหน่งผู้นำชุมชน อื่นๆ 10. ทัศนคติต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมายถึง ทัศนคติของประชาชนต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่จัดการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง กรณีศึกษา ภูผาเมฆ ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับทัศนคติสูง ระดับทัศนคติปานกลาง และระดับทัศนคติต่ำ บทที่ 1

นิยามศัพท์ (ต่อ) 11. การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การที่ประชาชนหรือกลุ่มคนภายในสังคมได้เข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการทุกขั้นตอนของกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐบาลหรือองค์กรต่างๆโดยใช้ความพยายามหรือใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อเข้าร่วมทั้งทางกิจกรรมใน 4 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านร่วมตัดสินใจ ด้านร่วมปฏิบัติการ และด้านร่วมประเมินผลงาน ซึ่งการร่วมดำเนินการในกิจกรรมต่างๆจะเป็นไปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้นและให้เกิดการเรียนรู้ในการนำไปพัฒนาสิ่งต่างๆด้วยตนเอง อีกทั้งทำให้ชุมชนเกิดความเจริญเติบโต ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองในอนาคต บทที่ 1

การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว 2. แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 3. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชนในระดับท้องถิ่น 4. บทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 5. แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 2

การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยสรุป จากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นั้นมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องหลากหลายประการทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ที่เข้าไปศึกษาวิจัย ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้จึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึง ปัจจัยระดับบุคคล ซึ่งได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ การดำรงตำแหน่งในชุมชน ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่วมคิด ด้านร่วมตัดสินใจ ด้านร่วมปฏิบัติการ และด้านร่วมติดตามและประเมินผล บทที่ 2

กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ปัจจัยระดับบุคคล -เพศ - อายุ -ระดับการศึกษา - อาชีพ -รายได้ต่อเดือน -ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ - การดำรงตำแหน่งในชุมชน การมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วน ตำบลวังมะปราง 1. ด้านร่วมคิด 2. ด้านร่วมตัดสินใจ 3. ด้านร่วมปฏิบัติการ 4. ด้านร่วมติดตามและประเมินผล ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ บทที่ 3

กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย (ต่อ) ประชากร ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่อยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบล วังมะปราง จำนวน 1571 ครัวเรือน กลุ่มตัวอย่าง 1. การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มประชาชนที่เป็นหัวหน้าครอบครัว โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10 ดังนี้ n = (N)(10/100) = (1571)(.10) = 157.1 ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 157 คน บทที่ 3

กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย (ต่อ) 2. การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 1) ใช้วิธีการคัดเลือกแบบแบ่งชั้น (stratified sampling) ดังนี้ ก. ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากครัวเรือน ในตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง โดยแยกออกเป็นหมู่บ้าน จำนวน 11 หมู่บ้าน ข. เลือกตัวอย่างโดยกำหนดสัดส่วนที่เท่ากันจากครัวเรือนทั้งหมด คือ 1571 ครัวเรือน ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ คือ 157 ครัวเรือน คำนวณสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละหมู่บ้าน ดังนี้ S = N/n = 1571/157 = 10 ได้สัดส่วนจำนวนกลุ่มตัวอย่างต่อประชากรเท่ากับ 1 : 10 บทที่ 3

กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย (ต่อ) ค. ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยการสุ่มแบบไม่แทนที่ (Sampling without replacement) ด้วยวิธีการจับฉลากดำเนินการสุ่มทีละหมู่บ้านตามจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่คำนวณได้จนครบตามจำนวนที่คำนวณทุกหมู่บ้าน บทที่ 3

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วยปัจจัยระดับบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และการดำรงตำแหน่งในชุมชน ซึ่งเป็นคำถามปลายปิดในรูปแบบตรวจรายการ ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการวัดทัศนคติของประชาชนต่อการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 10 ข้อ บทที่ 3

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (ต่อ) ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 20 ข้อ แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการเสนอแนะปัญหา การมีส่วนร่วมในการวางแผน การมีส่วนร่วมด้านร่วมปฏิบัติตามโครงการและการมีส่วนร่วมในการติดตามผลและประเมินผล ตอนที่ 4 แบบสอบถามปัญหาและข้อคิดเห็นของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็น บทที่ 3

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content validity) โดยการนำแบบสอบถามทั้งหมดเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ หลังจากผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ผู้วิจัยปรับปรุงแบบสอบถามตามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ บทที่ 3

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การหาความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability) โดยนำเครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาไปทดลองใช้กับประชาชนตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง จำนวน 30 ราย แล้วนำวิเคราะห์หาความเชื่อมั่น โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น ดังนี้ แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติของประชาชนต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .83 แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .96 บทที่ 3

การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ศึกษาพื้นที่ที่จะดำเนินการเก็บข้อมูลในตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 2. ประสานกับองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรังในเรื่องการเก็บข้อมูล และนัดหมายกับกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาไว้ล่วงหน้า 3. ผู้วิจัยจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองและผู้ช่วยวิจัย จำนวน 2 คน โดยให้ผู้ตอบกรอกแบบสอบถาม และผู้วิจัยนั่งร่วมอยู่ด้วยเพื่อชี้แจงกรณีมีปัญหา 4. ผู้วิจัยตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำตอบในแบบสอบถาม ทุกชุด 5. นำแบบสอบถามที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป บทที่ 3

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ (Statistic Package for the Social Science) บทที่ 3

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ (ต่อ) 1. สถิติพรรณนา ได้แก่ ปัจจัยระดับบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ การดำรงตำแหน่งในชุมชน ทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในองค์การบริหารส่วนตำบล วังมะปราง โดยวิเคราะห์ด้วยสถิติ ร้อยละ (percent) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) บทที่ 3

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ (ต่อ) 2. สถิติวิเคราะห์ ได้แก่ 1) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ การดำรงตำแหน่งในชุมชนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในองค์การบริหารส่วนตำบล วังมะปราง โดยวิเคราะห์ด้วยค่าไคสแควร์ ( Chi square) 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับ การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง โดยวิเคราะห์ด้วยค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) บทที่ 3

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ส่วนที่ 3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่วมคิด ด้านร่วมตัดสินใจ ด้านร่วมปฏิบัติการ ด้านร่วมติดตามและประเมินผล ส่วนที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับการมีส่วนร่วมขอประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ส่วนที่ 5 ปัญหาและข้อคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ บทที่ 4

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป เพศ บทที่ 4

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป อายุ บทที่ 4

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ระดับการศึกษา บทที่ 4

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป อาชีพ บทที่ 4

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป รายได้ต่อเดือน บทที่ 4

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น บทที่ 4

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป การดำรงตำแหน่งในชุมชน บทที่ 4

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 2 ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทัศนคติรายข้อ สูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1. คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง ( X = 3.85, SD = 0.99) 2. คิดว่าการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จำเป็นต้องมีศูนย์ศึกษาธรรมชาติ ให้บริการอำนวยความสะดวกเบื้องต้นแก่นักท่องเที่ยว ( X = 3.75, S.D. = 1.02) 3. คิดว่าการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ภูผาเมฆเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ( X = 3.71, S.D. = 0.99) ทัศนคติภาพรวม พบว่า ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.59, S.D. = 0.81) บทที่ 4

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 3 ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง 1. การมีส่วนร่วมในการเสนอแนะปัญหา อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.98, S.D. = 1.11) 2. การมีส่วนร่วมในการวางแผน อยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.91, S.D. = 1.19) 3. การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามโครงการ อยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.51, S.D. = 1.17) บทที่ 4

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 3 ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง 4. การมีส่วนร่วมในการติดตามผลและประเมินผลส่วนใหญ่การมี ส่วนร่วม อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.01, S.D. = 1.15) ภาพรวม พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบล อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.85, S.D. = 1.15) บทที่ 4

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปัจจัย X2 p-value เพศ 7.319 .026* ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น 17.023 .030* การดำรงตำแหน่งในชุมชน 11.197 .004* บทที่ 4

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 4 ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปัจจัย r p-value ทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 59.173 .000* บทที่ 4

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 5 ปัญหาและข้อคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ก. ด้านปัญหาในการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พื้นที่จัดการเป็นแหล่งท่องเที่ยวไม่ได้อยู่ในหมู่บ้านตนเอง 2. ไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง 3. ผู้นำหมู่บ้านไม่ได้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบอย่างทั่วถึง 4. กิจกรรมของโครงการยังไม่เป็นที่รู้จัก 5. การเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมมีความยากลำบาก 6. คนในครอบครัวไม่ได้สนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรม บทที่ 4

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 5 ปัญหาและข้อคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้านข้อคิดเห็นของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 1. ควรเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวให้มากกว่าเดิม เช่น บันได เก้าอี้นั่งพักระหว่างขั้นบันได ป้ายบอกทาง ห้องสุขา ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น 2. ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ให้มากกว่าเดิมเพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว 3. ควรประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมสู่ประชาชนทั้งในตำบลและภายนอกตำบลให้มากขึ้น บทที่ 4

ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 5 ปัญหาและข้อคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้านข้อคิดเห็นของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 4. ควรส่งเสริมให้การจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานภายนอก เช่น การจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนอนุรักษ์ป่า การจัดอบรมอาสาสมัครพิทักษ์ป่า เป็นต้น 5. ควรจัดสรรสวัสดิการแก่อาสาสมัครที่เข้าร่วมกิจกรรม 6. หน่วยงานของรัฐควรเข้ามามีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมที่ต่อเนื่องและยั่งยืน 7. เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปรางควรมีความรู้เกี่ยวกับ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้มากกว่านี้ บทที่ 4

ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ 1. ในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ที่มีความเชียวชาญหรือเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ควรเข้ามาให้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องก่อนการดำเนินกิจกรรมต่างๆในกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดได้ตั้งแต่ขั้นค้นหาปัญหา ค้นหาความต้องการจากประชาชน ตลอดจนขั้นตอนการวางแผนกิจกรรม หากประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นมีความรู้ หรือมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากหลักฐานทางวิชาการก็อาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีได้ บทที่ 5

ข้อเสนอแนะ (ต่อ) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ (ต่อ) 2. ผู้รับผิดชอบหลักหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล ควรพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ให้มีความพร้อมในความรู้ด้านวิชาการเกี่ยวกับกระบวนการสร้างความมีส่วนร่วมให้กับประชาชน และความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 3. ควรมีการขยายกรอบการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้ครอบคลุมประชาชนทุกหมู่บ้านในตำบล เพราะประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นั้นส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยว จึงควรเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้านที่อยู่ห่างออกไปจากแหล่งท่องเที่ยวให้มากขึ้น บทที่ 5

ข้อเสนอแนะ (ต่อ) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ (ต่อ) 4. ในกระบวนสร้างการมีส่วนร่วมควรเพิ่มกลุ่มวัยอื่นๆที่ไม่ใช่กลุ่มวัยแรงงาน (หัวหน้าครอบครัว)ในการมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา ร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมตัดสินใจ เช่น ควรเพิ่มการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในกลุ่มเยาวชน ในชุมชนเพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกในการหวงแหนธรรมชาติและทรัพยากรทางธรรมชาติในท้องถิ่น เป็นต้น บทที่ 5

ข้อเสนอแนะ (ต่อ) ข้อเสนอแนะในการทำการศึกษาครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อค้นหาแนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อความยั่งยืน 2. ควรมีการศึกษาถึงความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในระยะติดตาม เช่น 1 ปี 3 ปี 5 ปี เป็นต้น 3. ควรมีการสำรวจความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทุกปี เพื่อค้นหาความต้องการที่เป็นจริงของประชาชนในพื้นที่ 4. ควรศึกษาความสำเร็จของแหล่งท่องเที่ยวอื่นทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัดที่มีลักษณะกิจกรรมในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่คล้ายคลึงกันเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเปรียบเทียบ บทที่ 5

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อนนักศึกษาหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นศูนย์ภูเก็ต รุ่นที่ 2 เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ดร.ศรีรัช เกตุเมือง ขอขอบคุณ