การกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ และการจัดทำรายงานขอซื้อขอจ้าง การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ (Spec) ของพัสดุ และคุณสมบัติของผู้เสนอราคาเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญของการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ เนื่องจากการจัดซื้อ จัดจ้างทุกครั้ง เจ้าหน้าที่พัสดุจะต้องจัดทำรายงานขอความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 27 กล่าวคือ ในข้อ 27 (2) ต้องรายงานถึงรายละเอียดพัสดุที่จะจัดซื้อจะจ้างและ โดยที่ระเบียบพัสดุฯ ข้อ 15 ทวิ กำหนดให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนของการจัดหา ต้องดำเนินการโดยเปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม โดยผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อจ้าง ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ เพื่อเปิดโอกาส ให้ผู้เสนอราคาสามารถเข้าร่วมแข่งขันกันได้มากราย ไม่กำหนด SPEC ที่เป็นผลให้กีดกัน ผู้เสนอราคารายใดรายหนึ่ง หรือ เข้าข้างผู้เสนอราคารายใดรายหนึ่ง ผลของการดำเนินการที่ไม่ชอบดังกล่าว อาจทำให้มีผู้เข้าแข่งขันได้น้อยราย ซึ่งอาจไม่ก่อให้เกิดการแข่งขัน อย่างแท้จริง เป็นเหตุให้ราชการเสียประโยชน์ได้
ผู้มีหน้าที่กำหนด Spec (ที่หน่วยงานแต่งตั้ง) คณะกรรมการกำหนดร่าง TOR ผู้ตั้งงบประมาณ ผู้ใช้ (วิธีตกลงราคา) คณะกรรมการ คณะทำงาน (ที่หน่วยงานแต่งตั้ง) - วิธีสอบราคา - วิธีประกวดราคา คณะกรรมการกำหนดร่าง TOR วิธี e -Auction โดยปกติในหลักการตามระเบียบฯ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบฯ ไม่ได้กำหนดในเรื่องของตัวบุคคลหรือคณะกรรมการที่จะเป็นผู้กำหนดคุณลักษณะเฉพาะหรือคุณสมบัติของผู้เสนอราคาซึ่งหากเป็นวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ จะกำหนดไว้ในระเบียบฯ พ.ศ.2549 ข้อ 8(1) ดังนั้นกรณีระเบียบฯ พ.ศ. 2535 ผู้กำหนด Spec จึงอาจเป็นผู้ตั้งงบประมาณ ผู้ใช้ของที่จะซื้อ หรือส่วนราชการการอาจแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงาน
ปัญหาในการกำหนด spec 1. ไม่มีที่มา 2. ไม่มีการสำรวจความต้องการ หรือสำรวจล่าช้า ไม่รู้ว่าต้องการอะไร 3. ไม่มีการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับพัสดุที่จัดหา เพื่อใช้งานปกติ เช่น ปริมาณ และคุณลักษณะเฉพาะ 4. กำหนดไม่ชัดเจน 5. ไม่รู้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หนังสือแจ้งเวียน ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดหาพัสดุด่านแรกที่ทำให้การจัดซื้อจัดจ้างสำเร็จลุล่วงที่สำคัญที่สุดก็คือการกำหนด Spec ให้ถูกต้อง ชัดเจน มีที่มา ที่สำคัญคือต้องกำหนดไม่ให้ขัดกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หนังสือแจ้งเวียนที่เกี่ยวข้อง หากกำหนดชัดเจนและถูกต้องแล้วจะทำให้การจัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้นสำเร็จลุล่วง
ระเบียบฯ ข้อ 13 หลังจากทราบยอดเงินที่จะนำมาใช้ในการจัดหา การเตรียมการจัดหา ระเบียบฯ ข้อ 13 หลังจากทราบยอดเงินที่จะนำมาใช้ในการจัดหา ให้หน่วยงานผู้จัดหารีบดำเนินการให้เป็นไปตามแผน... แนวตอบข้อหารือ กวพ. โดยกำหนดเงื่อนไขบังคับก่อนไว้ในเอกสารประกวดราคาว่าจะลงนามในสัญญาได้เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลบังคับและได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย จากสำนักงบประมาณแล้ว กรณีไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณ สามารถยกเลิกดำเนินการได้ การทราบยอดเงิน คือ การผ่านการพิจารณาอนุมัติงบประมาณจากรัฐสภา ประกอบคำอธิบายเอกสาร ที่ 5-6 ในเรื่องของการเตรียมการจัดหาการเริ่มต้นจัดทำ spec สามารถจัดทำได้ก่อนที่หน่วยงานจะทราบยอดเงิน เนื่องจากระเบียบ 35 ข้อ 13 กำหนดว่าหลังจากทราบยอดเงินให้รีบดำเนินการจัดหาซึ่งคำว่า “ดำเนินการจัดหา” หมายถึงขั้นตอนการก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก ส่วนการกำหนด spec เป็นเพียงขั้นตอนการดำเนินงานภายในของส่วนราชการยังมิได้ก่อนิติสัมพันธ์ กับบุคคลภายนอก จึงสามารถดำเนินการได้ก่อนทราบยอดเงิน โดยสามารถวางแผนการกำหนด spec ได้แต่เนิ่นๆ เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการบริหารงบประมาณล่าช้า โดยการทราบยอดเงินตามระเบียบฯ ข้อ 13 หมายถึงงบประมาณผ่านสภาวาระ 3
การเตรียมการจัดหา START การเริ่มดำเนินการจัดหา คือ การดำเนินการในขั้นตอนที่ต้องผูกพันบุคคลภายนอก (การประกาศฯ) การกำหนด spec. เป็นขั้นตอนภายในหน่วยงาน ยังไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่บุคคลภายนอก จึงสามารถดำเนินการไว้แต่เนิ่นได้ -
รายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ งานซื้อ / จ้าง ทั่วไป Spec. ในชั้นของการ ขอตั้งงบประมาณ งานจ้างก่อสร้าง Conceptual design งานซื้อ / จ้าง ทั่วไป ในชั้นการจัดหา งานจ้างก่อสร้าง Detail design โดยในชั้นของการขอตั้งงบประมาณหากเป็นงานก่อสร้าง ในรายการก่อสร้างจะกำหนดไว้กว้างเป็นConceptual design ซึ่งเมื่อถึงชั้นของการจัดหาส่วนราชการผู้จัดหาต้องมากำหนด Spec โดยละเอียด คือ กำหนดลงขั้น Detail design หรือในงานซื้องานจ้างทั่วไปบางครั้งในชั้นของการจัดหา Spec อาจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เช่น สินค้าเกี่ยวกับ IC ซึ่งเปลี่ยนแปลงเร็วทั้ง Spec และราคา ดังนั้นในชั้นของการจัดหาส่วนราชการ ผู้จัดหาจึงต้องพิจารณาก่อนดำเนินการ
หลักการในการกำหนด Spec. 1 2 3 การกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ หรืองานจ้าง / คุณสมบัติของผู้เสนอราคา หรือ ผู้เสนองาน การวินิจฉัยตีความคุณสมบัติของผู้เสนอราคา หรือ ผู้เสนองาน แต่ละรายว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่ เป็นอำนาจของหน่วยงานที่จัดหาพัสดุ สามารถใช้ดุลยพินิจกำหนดและวินิจฉัยได้ตามความต้องการของหน่วยงาน แต่ ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ -
ดุลยพินิจของหน่วยงาน ระเบียบฯ + หนังสือเวียน เงื่อนไขในการจัดหา ดุลยพินิจของหน่วยงาน ระเบียบฯ + หนังสือเวียน กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง การพิจารณาราคารวม หรือราคาแยก กำหนดยืนราคา การให้หรือขายเอกสาร / แบบรูป ระยะเวลาเข้าทำสัญญา การแบ่งงวดงาน/เงิน ฯลฯ การจ่ายเงินล่วงหน้า หลักประกัน การยึดหลักประกันซอง เงื่อนไขตามตัวอย่างเอกสารประกวดราคา ของ กวพ. / กวพ.อ. Minimum Bid ฯลฯ ประกาศ ปปช. คุณสมบัติ การกำหนดเงื่อนไขในการจัดหาจะมาจากสามส่วนที่เกี่ยวข้องคือกำหนดตามระเบียบฯ หนังสือแจ้งเวียนที่เกี่ยวข้อง ตามดุลยพินิจของหน่วยงานซึ่งจะต้องสอดคล้องกับความต้องการ ระยะเวลาใช้งาน ระยะเวลาใช้ของ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเช่น ต้องประกาศตามกฎหมาย ปปช. ในเรื่องคุณสมบัติของผู้ประสงค์จะเสนอราคากับหน่วยงานภาครัฐตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคล เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักการในการกำหนด Spec. 1 3 2 ความเปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศและกิจการของคนไทย การระบุคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งของหรือยี่ห้อสิ่งของ 4 5 การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณสมบัติของผู้เสนอราคาตามที่ กวพ. กำหนด และ การกำหนด Spec ที่ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ นั้น กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ดังกล่าว เท่าที่รวบรวมได้ เป็น 5 เรื่อง นี้
การระบุคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งของหรือยี่ห้อสิ่งของ 1 งานก่อสร้าง มติ ครม. 23 มี.ค. 20 (ที่ สร 0203/ว 52 ลว. 28 มี.ค. 20) กำหนดรายการในการก่อสร้าง 1. มี มอก. หรือ กระทรวง อุตสาหกรรมรับรองแล้ว หรือ มีมาตรฐานที่ส่วนราชการอื่น กำหนดไว้ ก็ให้ระบุตาม มาตรฐานนั้นได้ ตามความ จำเป็น 2. กรณียังไม่มีมาตรฐาน ถ้าส่วนราชการจำเป็นต้องใช้ สิ่งของที่เห็นว่ามีคุณภาพดีเป็นที่นิยมใช้ในขณะนั้น และจำเป็นต้องระบุชื่อยี่ห้อสิ่งของ ก็ให้ระบุได้ แต่ ต้องให้มากยี่ห้อที่สุดเท่าที่จะสามารถระบุได้ และสิ่งของที่มีคุณภาพเทียบเท่ากันก็ให้ใช้ได้ด้วย การกำหนดรายการในงานก่อสร้าง ให้กำหนดตามมาตรฐานกลาง เช่น มอก. หรือมาตรฐานที่ส่วนราชการอื่นกำหนดไว้ เช่น สำนักงบประมาณก็ให้ระบุ ตามมาตรฐานนั้น กรณีที่รายการในงานก่อสร้างใดยังไม่มีมาตรฐานกลางดังกล่าว หากมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุประเภทดังกล่าว ส่วนราชการสามารถกำหนดยี่ห้อของพัสดุ ลงไปได้ แต่ต้องระบุให้มีจำนวนยี่ห้อมากที่สุดเท่าที่จะสามารถระบุได้ และจะต้องใส่เงื่อนไขยอมรับพัสดุทุกยี่ห้อที่มีมาตรฐานเทียบเท่ากับพัสดุที่ระบุยี่ห้อไว้ เช่น “....ให้ใช้ยี่ห้อ ก. ข. ค. ง จ. หรือพัสดุที่มีมาตรฐานเทียบเท่าพัสดุยี่ห้อ ก ข ค ง จ” เป็นต้น ในกรณีที่ผู้เสนอขอใช้สิ่งของที่มีคุณภาพดีกว่าหรือเทียบเทาสิ่งของตามที่ส่วนราชการระบุชื่อยี่ห้อไว้ ก็ให้ผู้เสนอพิสูจน์ให้เป็นที่เชื่อถือและยอมรับของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไมน้อยกว่า 3 คน ซึ่งสวนราชการแต่งตั้งขึ้นจากผู้ชำนาญการหรือผู้แทนของส่วนราชการที่เกี่ยวของ ถาคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิยอมรับรองสิ่งของนั้นแลว ก็ให้ส่วนราชการยอมรับว่าเป็นสิ่งของเทียบเทาได้ความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ถือเป็นที่สุดเฉพาะคราว นั้น
ห้าม การระบุคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งของหรือยี่ห้อสิ่งของ งานซื้อ มติ ครม. ตามหนังสือ ที่ สร 0403/ว 93 ลว. 7 พ.ย. 12 และ ที่ สร 0203/ว 157 ลว. 27 ธ.ค. 19 2 คุณลักษณะเฉพาะของสิ่งของ 1. กำหนดให้ใกล้เคียงกับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง 2. ระบุยี่ห้อสิ่งของที่จะซื้อ เว้นแต่ ที่มี ข้อยกเว้นไว้ เช่น ยารักษาโรค เครื่องอะไหล่ เป็นต้น ห้าม กรณีเป็นงานซื้อมติ ครม. ว 93,ว 157 แจ้งตามหนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ สร ๐๒๐๓/ว๕๒ ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๐ กําหนดห้ามมิให้ส่วนราชการระบุยี่ห้อสินค้าที่จะซื้อ หรือกําหนดคุณลักษณะเฉพาะให้ใกล้เคียงยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง โดยมีข้อยกเว้น คือหากเป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจํากัดทางเทคนิค ที่จําเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ ตามระเบียบฯ ข้อ ๒๓(๖) สามารถระบุได้ แต่ต้องใช้วิธีพิเศษ จะใช้สอบราคาหรือประกวดราคาไม่ได้ เช่น ยารักษาโรค เครื่องอะไหล่
หลักเกณฑ์การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ มติ ครม. 21 เม.ย. 52 - ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/ว 89 ลว. 28 เม.ย. 52 ** เรื่อง ข้อเสนอมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ต่อภาค อุตสาหกรรมไทย (การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศหรือเป็นกิจการของคนไทย) ระเบียบพัสดุฯ 35 ข้อ 16 มติ ครม. 29 พ.ค. 50 (ว.83) ส่วนราชการ องค์ปกครอง ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจและ องค์การมหาชน ไม่ให้ขัดหรือแย้ง กับข้อตกลงระหว่างประเทศ Ex. ข้อตกลงขององค์การการค้าโลก การประกวดราคานานาชาติ เป็นต้น + เคร่งครัด ขอความร่วมมือ ระวัง หลักเกณฑ์การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ 1 กฎหมายและระเบียบฯ มติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง ที่กำหนดแล้วต้องไม่ให้ขัดกันคือ เรื่องการสนับสนุนสินค้าที่ผลิตในประเทศและกิจการของคนไทย ซึ่งระเบียบฯ 35 ข้อ 16 กำหนดให้ส่วนราชการซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศและกิจการของคนไทย รวมถึงมติ ครม. ว 83 และ ว 89 กำหนดเป็นเชิงบังคับให้ส่วนราชการต้องกำหนดไม่ให้ขัดกับมติ ครม. และระเบียบฯ ดังกล่าว และสำหรับรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขอความร่วมมือให้ซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศและกิจการของคนไทย โดยไม่ให้ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงระหว่างประเทศ
หลักเกณฑ์การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ 2 มติ ครม. 29 พ.ค. 50 - ที่ นร 0505/ว 83 ลว. 30 พ.ค. 50 1. การจัดหาพัสดุที่มีผลิตในประเทศ 1.1 1.2 ให้หน่วยงานของรัฐใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ และถือปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานผู้ดำเนินการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ถ้าไม่มีพัสดุที่ผลิตในประเทศ ให้จัดหาตามหลักเกณฑ์ปกติ กรณีต่อไปนี้ ให้เสนอรัฐมนตรีพิจารณา ** ถ้ามีพัสดุที่ผลิตในประเทศ แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ หรือมีน้อยราย หรือจำเป็นต้องใช้พัสดุที่ผลิตจากต่างประเทศ หรือจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศในกรณีเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า หลักเกณฑ์ในการใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศตามมติ ครม.ว 83 ดังกล่าวเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ข้อ 1 และข้อ 2
คุณสมบัติของผู้เสนอราคา งานซื้อ/จ้าง ทั่วไป พิจารณาตามตัวอย่างเอกสาร ประกวดราคาที่ กวพ. กำหนด งานจ้างก่อสร้าง ต้อง ทำตามตัวอย่างเอกสารประกวดราคาที่ กวพ.กำหนด 1 ประการสุดท้ายที่จะต้องกำหนดที่จะไม่ให้ขัดคือ คุณสมบัติของผู้เสนอราคาคือต้องกำหนดตามตัวอย่างเอกสารประกวดราคาที่ กวพ. กำหนด ซึ่งมีหนังสือแจ้งเวียนที่เกี่ยวข้อง คือ ว 7914 การกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคาในงานจ้างก่อสร้าง, ว 7286 เป็นเรื่องการตรวจสอบผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้เสนอราคาและเสนองาน ที่ นร (กวพ) 1305/ว 7914 ลว. 22 ก.ย. 43 ประกอบ 2 ด่วนมาก ที่ นร (กวพ) 1305/ว 7286 ลว. 20 ส.ค. 42
คุณสมบัติของผู้เสนอราคา ตัวอย่างเอกสารประกวดราคา 2 1 ต้องเป็นผู้มีอาชีพขาย หรือ รับจ้าง ไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงาน และ ได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว หรือ ไม่เป็นผู้ได้รับผลของการสั่งให้นิติบุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ทิ้งงาน 3 ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน (ณ วันประกาศ) 3.1 การซื้อ/จ้าง ตามระเบียบพัสดุฯ 35 ผู้เสนอราคารายอื่น 3.2 การซื้อ/จ้าง ตามระเบียบพัสดุฯ 49 ผู้เสนอราคารายอื่น , และกับผู้ให้บริการกลางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ตัวอย่างเอกสารประกวดราคา
คุณสมบัติของผู้เสนอราคา ตัวอย่างเอกสารประกวดราคา 5 4 ต้องผ่านการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อหรือจ้าง ไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทย เว้นแต่ รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิและ ความคุ้มกันเช่นว่านั้น 6 ผู้เสนอราคาต้องเป็น นิติบุคคล และ มี ผลงานก่อสร้างประเภทเดียวกัน กับงานที่ประกวดราคาจ้าง ในวงเงินไม่น้อยกว่า.....บาท และ เป็นผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานเอกชนที่กรมเชื่อถือ กรณีหากส่วนราชการต้องการศักยภาพของผู้ขายสามารถกำหนดผลงานก่อสร้างได้ซึ่งต้องเป็นผลงานก่อสร้างประเภทเดียวกัน ในสัญญาเดียวซึ่งต้องกำหนดแล้ว ไม่เกินร้อยละ 50 ของวงเงินงบประมาณ หรือวงเงินประมาณการ
คุณสมบัติของผู้เสนอราคา *** ตัวอย่างเอกสารประกวดราคา *** 6.1 กรณีความเป็นนิติบุคคล งานก่อสร้าง วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ผู้เสนอราคา ต้องเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมาย มติ ครม. 6 มิ.ย. 21 – ด่วนมาก ที่ สร 0203/ว 80 ลว. 8 มิ.ย. 21 3 3 กรณีงานก่อสร้างที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป ให้ส่วนราชการกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคาต้องเป็นนิติบุคคล
คุณสมบัติของผู้เสนอราคา *** ตัวอย่างเอกสารประกวดราคา *** 6.2 กรณีผลงาน เพื่อให้ได้ทราบถึงศักยภาพของผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ** งานก่อสร้าง ** กำหนดได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของวงเงินงบประมาณ หรือวงเงินประมาณการ นร (กวพ) 1305/ว 7914 ลว. 22 ก.ย. 43 ประกอบ มติ ครม. 28 ธ.ค. 36 – ด่วนมาก นร 0202/ว 1 ลว. 3 ม.ค. 37 ต้องเป็นผลงานในสัญญาเดียวเท่านั้น นร (กวพ) 1204/ว 11441 ลว. 28 พ.ย. 39 1 4 1 กรณีการกำหนดผลงานก่อสร้างกำหนดได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของวงเงินงบประมาณหรือวงเงินประมาณการ ตาม ว 7914 และ ว1 โดยต้องเป็นผลงานในสัญญาเดียวกันเท่านั้น ซึ่งวัตถุประสงค์ของหนังสือ ว 11441 ก็เพื่อต้องการศักยภาพของผู้รับจ้างภายใต้การจ้างครั้งเดียวเท่านั้น ไม่ใช่หลายๆ ครั้งมารวมกัน 5
คุณสมบัติของผู้เสนอราคา *** ตัวอย่างเอกสารประกวดราคา *** 6.2 กรณีผลงาน งานก่อสร้าง (ต่อ) ผลงานประเภทเดียวกันกับงานที่ประกวดราคาจ้าง คือ ผลงานที่ ใช้เทคนิค ในการ ดำเนินการเหมือนกัน เป็นผลงานที่ผู้รับจ้างได้ทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาที่ได้มีการส่งมอบงานและ ตรวจรับเรียบร้อยแล้ว ต้องเป็นผลงานที่กระทำสัญญากับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างโดยตรง ไม่ใช่ผลงานอันเกิดจาก การรับจ้างช่วง (แนววินิจฉัยของ กวพ.) ผลงานที่นำมายื่นต้องใช้เทคนิคในการดำเนินการเหมือนกัน ต้องเป็น ผู้รับจ้างได้ทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาที่ได้มีการส่งมอบงานและตรวจรับเรียบร้อยแล้วต้องเป็นผลงานที่กระทำสัญญากับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างโดยตรง ไม่ใช่ผลงานอันเกิดจาก การรับจ้างช่วง (ซึ่งเป็นไปตามแนววินิจฉัยของ กวพ.)
คุณสมบัติของผู้เสนอราคา 6 จดทะเบียน คุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไข คุณสมบัติด้านผลงานก่อสร้าง ..... ใช้ผลงานของผู้เข้าร่วมค้าได้ ไม่จดทะเบียน คุณสมบัติทุกรายต้องครบถ้วนตามเงื่อนไข ข้อยกเว้น ตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ใครเป็นผู้รับชอบหลักในการเข้าเสนอราคาและแสดงหลักฐานพร้อมซองข้อเสนอราคา / ซองข้อเสนอทางเทคนิค ใช้ผลงานของผู้เข้าร่วมค้าหลักได้ ** ผลงาน กรณีกิจการร่วมค้า นร (กวพ) 1305/ว 2457 ลว. 16 มี.ค.43 คุณสมบัติของผู้เสนอราคากรณีเป็นกิจการร่วมค้า หากร่วมกันมา โดยไม่ จดทะเบียนคุณสมบัติทุกรายต้องครบถ้วน ต้องมีการตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องกำหนดให้ใครเป็นผู้รับชอบหลักในการเข้าเสนอราคาและแสดงหลักฐานพร้อมซองข้อเสนอราคา / ซองข้อเสนอทางเทคนิค ซึ่งสามารถใช้ผลงานของผู้เข้าร่วมค้าหลักได้ กรณีจดทะเบียนใช้ผลงานของผู้ร่วมค้ารายใดก็ได้
คุณสมบัติของผู้เสนอราคา *** งานซื้อ / จ้าง ทั่วไป *** ไม่มีหลักเกณฑ์เรื่องการกำหนดผลงาน แต่หากจำเป็นต้องกำหนด ก็เป็นดุลยพินิจ ของส่วนราชการที่จะอนุโลมนำหลักเกณฑ์ ของงานก่อสร้างมาใช้ได้ (แนววินิจฉัยของ กวพ.) กรณีทุนจดทะเบียน กำหนดไม่ได้ (แนววินิจฉัยของ กวพ.) ในงานซื้อจ้างหากจะกำหนดผลงานให้นำหลักเกณฑ์ในเรื่องงานก่อสร้าง มาใช้ได้ ซึ่งเป็นไปตามแนววินิจฉัยของ กวพ กรณีทุนจดทะเบียนไม่สามารถกำหนดได้
การระบุใน spac หรือ TOR จะระบุประเทศผู้ผลิต เช่น ยุโรป อเมริกา จะทำได้หรือไม่ กำหนดให้มีการไปฝึกอบรมในต่างประเทศกระทำได้หรือไม่ การกำหนด Spec ไม่ให้ระบุประเทศผู้ผลิต หากผลิตในไทยผู้เสนอราคาสามารถกำหนดได้ ซึ่งอาจได้แต้มต่อในเรื่อง เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศตามข้อ 16 หรือตามมติ ครม.
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่าย ของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ใช้บังคับกับ - สัญญาที่เกี่ยวกับการจัดหาพัสดุของหน่วยงานของรัฐตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ หรือระเบียบ ข้อกำหนด กฎ หรือข้อบังคับว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานของรัฐ - สัญญาสัมปทาน และ - สัญญาให้ทุนสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐเพื่อการวิจัยหรือเพื่อดำเนินกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง - มูลค่าตั้งแต่ 5 แสนบาทขึ้นไป เว้นแต่ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 55 – 31 มี.ค. 56 ใช้บังคับกับสัญญามูลค่าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ให้ดำเนินการให้เป็นไปตาม ประกาศของ ปปช
เงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐต้องนำไปกำหนดไว้ใน TOR ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่าย ของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐต้องนำไปกำหนดไว้ใน TOR - ผู้เสนอราคา ต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อว่าเป็นคู่สัญญาที่ไม่ได้แสดงบัญชีรายรับรายจ่าย หรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสำคัญตามประกาศฯ - ผู้เสนอราคาต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ได้ลงทะเบียนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลางที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ - ผู้เสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือก และหากมีการทำสัญญากับ (ชื่อหน่วยงาน) ต้องรับจ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝากกระสายวัน เว้นแต่การรับจ่ายเงินแต่ละครั้งซึ่งมีมูลค่าไม่เกินสามหมื่นบาทสามารถรับจ่ายเป็นเงินสดได้ และต้องจัดทำบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายยื่นต่อกรมสรรพากร และต้องปฏิบัติตามประกาศฯ ให้กำหนดเงื่อนไขให้เป็นไปประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ในเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งต้องกำหนดให้ - ผู้เสนอราคา ต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อว่าเป็นคู่สัญญาที่ไม่ได้แสดงบัญชีรายรับรายจ่าย หรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสำคัญตามประกาศฯ - ผู้เสนอราคาต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ได้ลงทะเบียนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลางที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ - ผู้เสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือก และหากมีการทำสัญญากับ (ชื่อหน่วยงาน) ต้องรับจ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝากกระสายวัน เว้นแต่การรับจ่ายเงินแต่ละครั้งซึ่งมีมูลค่าไม่เกินสามหมื่นบาทสามารถรับจ่ายเป็นเงินสดได้ และต้องจัดทำบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายยื่นต่อกรมสรรพากร และต้องปฏิบัติตามประกาศฯ
หลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง ของทางราชการ หลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง ของทางราชการ
แนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีปฏิบัติ ในการเปิดเผยราคากลาง ความเป็นมา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 103/7 ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้ มาตรา 103/8 ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรา 103/7 วรรคหนึ่ง โดยหน่วยงานของรัฐจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการดังกล่าว และให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่ติดตามผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในกรณีดังกล่าวด้วย
แนวทางปรับปรุงการเปิดเผยราคากลาง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ส. ค แนวทางปรับปรุงการเปิดเผยราคากลาง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2556 การจัดซื้อจัดจ้างประเภทอื่นที่มิใช่งานก่อสร้าง ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการประกาศรายละเอียดการคำนวณราคากลางตามแนวทางที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน ที่ประชุมเห็นควรเพิ่มเติมแนวทางการเปิดเผยราคากลาง ดังนี้
แนวทางปรับปรุงการเปิดเผยราคากลาง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ส. ค แนวทางปรับปรุงการเปิดเผยราคากลาง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2556 การเปิดเผยราคากลาง สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเกิน 100,000 บาท ให้หน่วยงาน ของรัฐ ประกาศราคากลาง และรายละเอียดการคำนวณราคากลางไว้ในเว็บไซต์ของหน่วยงาน และ เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (www.gprocurement.go.th) สำหรับคู่มือแนวทางการเปิดเผยรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างราคากลาง และการคำนวณราคากลาง ของ สำนักงาน ป.ป.ช. สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.nacc.go.th
การเปิดเผยราคากลางในระบบ e-GP งานก่อสร้าง ให้เปิดเผยราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0421.3/ว 90 ลงวันที่22 สิงหาคม 2555 โดยสามารถบันทึกในระบบ e-GP ได้ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. 2555 เป็นต้นมา
การเปิดเผยราคากลางในระบบ e-GP 2. การประกาศราคากลาง 2.1 การจัดหาที่มีการแข่งขัน ประกอบด้วย วิธีสอบราคา ประกวดราคา ประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ การจ้าง ออกแบบและควบคุมโดยวิธีคัดเลือก การจ้างออกแบบและควบคุม โดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด และการจ้างออกแบบและ ควบคุมโดยวิธีพิเศษแบบประกวดแบบ จะเปิดเผยพร้อมกับการ ประกาศเชิญชวนที่หน้าเว็บไซต์ 2.2 การจัดหาที่ไม่มีการแข่งขัน จะเปิดเผยข้อมูลราคากลาง เมื่อได้รับอนุมัติรายงานขอซื้อขอจ้าง หรืออนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างและ ส่วนราชการได้บันทึก เลขที่และวันที่เอกสารนั้น ในระบบ e-GP
แนวทางปรับปรุงการเปิดเผยราคากลาง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ก. พ แนวทางปรับปรุงการเปิดเผยราคากลาง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2556 (ต่อ) การเปิดเผยราคากลาง สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเกิน 100,000 บาท ให้หน่วยงานของรัฐ ประกาศราคากลาง และรายละเอียด การคำนวณราคากลางไว้ในเว็บไซต์ของหน่วยงานและเว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (www.gprocurement.go.th) สำหรับคู่มือแนวทางการเปิดเผยรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างราคากลาง และการคำนวณราคากลาง ของ สำนักงาน ป.ป.ช. สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.nacc.go.th