เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด (Cleaner Technology - CT) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มงานเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด สำนักเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม เอกสารชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
เนื้อหา แรงผลักดันของ CT อะไรคือ CT ประโยชน์ของ CT ขั้นตอนการทำ CT
แรงผลักดันของ CT ลูกค้า ระบบมาตรฐาน การลดต้นทุน กฎหมาย พนักงาน องค์กรเอกชน พัฒนาประสิทธิภาพ ภาคการเงิน คุณภาพสิ่งแวดล้อม
ความหมาย ของ CT เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด หมายถึง การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต หรือผลิตภัณฑ์ เพื่อให้การใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้เปลี่ยนเป็นของเสียน้อยที่สุด หรือไม่มีเลย จึงเป็น การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด ทั้งนี้รวมถึงการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิตไปพร้อมกัน
สภาพก่อนและหลังการทำ CT ใช้วัตถุดิบ และทรัพยากรมาก และก่อให้เกิดของเสียมาก หลังทำ CT ใช้วัตถุดิบ และทรัพยากรเท่าที่จำเป็น ลดของเสียลง และเพิ่มผลผลิตมากขึ้น
ลำดับของการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Hierarchy) การลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด ก่อน หลัง การป้องกัน มลพิษ หรือ CT การใช้ซ้ำ(ในกระบวนการผลิต)/ การนำกลับมาใช้ใหม่ การบำบัดและ ทำลาย
ประโยชน์ของการทำ CT ลดต้นทุนการผลิต ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทาง ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น เป็นการใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า และเพิ่มผลผลิต
ประโยชน์ของการทำ CT สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงาน และระหว่างโรงงานกับชุมชนรอบด้าน เป็นผลดีต่อสุขภาพอนามัย และความปลอดภัย แบ่งเบาภาระการตรวจสอบของภาครัฐ สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ
หลักความคิดของ CT เกิดอะไร เกิดปริมาณเท่าใด ทำไมถึงเกิด เกิดเมื่อไหร่ เกิดได้อย่างไร ป้องกันได้อย่างไร
ขั้นตอนการทำ CT 1. วางแผนและจัดตั้งทีม CT 2. ตรวจประเมิน 5. ประเมินผล 4. จัดทำขั้นตอน การปฏิบัติและลงมือปฏิบัติ 3. วิเคราะห์ข้อมูล และศึกษาความเป็นไปได้
1. วางแผนและจัดตั้งทีม CT วัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดนโยบายสำหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้มีทีม CT สำหรับเป็นแกนหลักในการดำเนินงาน
นโยบาย CT ที่ดี ต้องรับรองโดยผู้บริหารสูงสุดของโรงงาน มีความชัดเจนว่าต้องการลดของเสียที่แหล่งกำเนิด มีเป้าหมายชัดเจนว่าเป็นการลดของเสียต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ มีการกำหนดกรอบเวลา มีความสัมพันธ์กับข้อบังคับทางกฎหมาย
ตัวอย่างนโยบาย CT ที่ดี โรงงานของเรามีเป้าหมายในการลดปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลงให้ได้ปีละ 10 % โรงงานของเราจะต้องลดปริมาณการใช้กรดต่อการผลิตยาง สกิมเครพลงให้เหลือ 0.45 กิโลกรัม/กิโลกรัมยางสกิมเครพ ภายในปี 2544
หน้าที่ของทีม CT รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ จัดทำแผนภูมิการผลิตและแบ่งหน่วยการผลิตย่อย จัดทำสมดุลมวลของกระบวนการผลิต และหน่วยการผลิตที่สนใจ เก็บข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเป็นในการจัดทำสมดุลมวล นำเสนอทางเลือกด้าน CT ศึกษาความเป็นไปได้ของทางเลือกต่างๆ จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติของทางเลือกด้าน CT ที่ได้รับเลือก ติดตามประเมินผล
ตัวอย่างสมาชิกในทีม CT 2. หัวหน้าฝ่ายสาธารณูปโภค 3. หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อ 4. หัวหน้าฝ่ายบัญชี 5. เจ้าหน้าที่ป้องกันมลพิษ (หัวหน้าทีม) 6. พนักงานอื่นๆ ที่สมัครใจและสนใจ
คุณสมบัติของสมาชิกทีม CT มีความรับผิดชอบ สามารถทำงานเป็นทีม ช่างสังเกต ใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีการศึกษาสูง ทำงานมาเป็นเวลานาน
2. การตรวจประเมิน ประกอบด้วย การตรวจประเมินเบื้องต้น การตรวจประเมินโดยละเอียด
ตรวจประเมินเบื้องต้น วัตถุประสงค์ จัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต และรวมรวมข้อมูลเบื้องต้น แบ่งหน่วยการผลิตย่อยในกระบวนการผลิต สำรวจหาจุดที่มีความสูญเสีย ทั้งในเชิงปริมาณ (มากหรือน้อยเท่าใด) และในเชิงคุณภาพ (มีคุณสมบัติอย่างไร) เพื่อช่วยให้การกำหนดเป้าหมายของการทำ CT ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
ตัวอย่างแผนภูมิกระบวนการผลิต นมดิบ นมพร้อมดื่ม น้ำล้าง/กรด/ด่าง นมสูญเสีย น้ำทิ้งจากการล้าง รับนมดิบ นมค้างท่อ ฆ่าเชื้อด้วย ความร้อน ฟิล์ม/กล่อง ฟิล์ม/กล่องเสีย บรรจุ นมเสียหาย ห้องเย็น
ข้อควรระวัง แผนภูมิกระบวนการผลิต ต้องได้รับการรับรองความถูกต้องก่อนดำเนินการในขั้นต่อไป การแบ่งหน่วยกระบวนการผลิต ต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ที่เกี่ยวข้องว่ามีความถูกต้อง เหมาะสม ต่อการตรวจประเมินโดยละเอียดต่อไป
ตรวจประเมินโดยละเอียด วัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำสมดุลมวล และ/หรือ สมดุลพลังงานของแต่ละหน่วยการผลิตที่สนใจ เก็บข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการนำเสนอ ทางเลือกด้าน CT
หลักการทำสมดุลมวล มวลเข้าทั้งหมด = มวลออกทั้งหมด แบ่งหน่วยการผลิตออกเป็นหน่วยย่อยๆ ดูมวลเข้าสู่หน่วยการผลิต ดูว่าเกิดปฏิกริยาเคมีในหน่วยการผลิตหรือไม่ ดูมวลออกจากหน่วยการผลิต ดูว่ามีการหมุนเวียนมวลกลับมาใช้ใหม่หรือไม่
ตัวอย่างแสดงมวลเข้า-ออกจากหน่วยการผลิต สารเร่งปฏิกริยา ของเสีย/สารเคมีที่นำไปกำจัด หน่วยการผลิต วัตถุดิบ น้ำ/อากาศ พลังงาน ใช้ซ้ำ หมุนเวียนใช้ใหม่ในกระบวนการอื่น อากาศที่ระบายออก ผลิตภัณฑ์ ผลพลอยได้ (รวมของเสียสำหรับ นำกลับมาใช้ใหม่) น้ำทิ้ง วัสดุเหลือใช้ จาก Audit and Reduction Manual for Industrial Emission and Wastes, UNIDO
ข้อควรระวังในการทำสมดุลมวลและการเก็บข้อมูล กำหนดขอบเขตของหน่วยการผลิตให้ชัดเจน กำหนดขอบเขต/วิธีการในการนำพลังงานมาเกี่ยวข้อง (ปกติจะเป็นการบันทึกพลังงานที่สูญเสียไปเท่านั้น) ระวังการนับซ้ำในกรณี มีการหมุนเวียนภายใน เก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็น พยายามใช้ข้อมูลที่มีอยู่ หรือเก็บได้ง่ายและถูกต้อง คำนึงถึงกิจกรรมที่ดำเนินอยู่ช่วงที่ได้รับข้อมูลด้วย ดูว่าข้อมูลที่ได้เป็นตัวแทนที่ดีของโรงงานหรือไม่
จุดที่สามารถหาโอกาสในการลดของเสีย ประเภทและลักษณะของวัตถุดิบ การรับวัตถุดิบ การตรวจสอบคุณภาพ/ปริมาณ การใช้งาน และการเก็บรักษาวัตถุดิบ การขนส่งวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ (ในรูปของแข็ง ของเหลว ก๊าซ) ในกระบวนการผลิต การควบคุมขั้นตอน และกระบวนการผลิต การใช้น้ำล้าง การชะ และการหล่อเย็น การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์
3. วิเคราะห์ข้อมูลและศึกษาความเป็นไปได้ วัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอทางเลือกด้าน CT เพื่อให้ได้ทางเลือกด้าน CT ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงงาน (ทั้งในด้านเทคนิค และด้านเศรษฐศาสตร์)
การหาทางเลือกด้าน CT จากเจ้าหน้าที่ประจำเครื่อง จากความเห็นของเจ้าหน้าที่อื่นๆ ในโรงงาน จากทีม CT จากกรณีศึกษาของอุตสาหกรรมเดียวกัน จากกรณีศึกษาของอุตสกหกรรมอื่นมาประยุกต์ใช้ จากผู้เชี่ยวชาญ จากผู้จัดหาวัตถุดิบ / อุปกรณ์ จากลูกค้า / ตลาด
การศึกษาความเป็นไปได้ ด้านเทคนิค ขัดกับหลักการทางวิทยาศาสตร์หรือไม่ มีเทคโนโลยีอยู่หรือไม่ มีผู้ปฏิบัติแล้วหรือไม่ ด้านเศรษฐศาสตร์ มีการลงทุนหรือไม่ ค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้เป็นเท่าไร ระยะเวลาคืนทุนนานแค่ไหน
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ลดปริมาณวัตถุดิบ และพลังงานที่ใช้ไปอย่างไม่คุ้มค่าลงหรือไม่ ลดปริมาณของเสียที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการบำบัดลงหรือไม่ ลดปริมาณของเสียที่ออกสู่สิ่งแวดล้อมลงหรือไม่ สภาพแวดล้อมการทำงานของพนักงานดีขึ้นหรือไม่ การเจ็บป่วย และอุบัติเหตุลดลงหรือไม่
4. จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติและลงมือปฏิบัติ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้ขั้นตอนการปฏิบัติของทางเลือกด้าน CT ที่ได้รับเลือก เพื่อดำเนินการให้ได้ตามที่กำหนด
ตัวอย่างขั้นตอนการปฏิบัติงานด้าน CT
5. ประเมินผล วัตถุประสงค์ เพื่อสรุปผลความสำเร็จ และเริ่มต้นในทางเลือกอื่นๆ หรือเริ่มวงจรใหม่
ตัวอย่างการติดตามความคืบหน้า
ความสูญเสียมาจาก วัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพ / การเก็บรักษาวัตถุดิบไม่ดี เทคโนโลยีล้าสมัย / อุปกรณ์ไม่อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี วิธีการทำงาน / การจัดการก่อให้เกิดของเสีย ได้สิ่งที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเป็นจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุ / ไม่ได้คุณสมบัติตามต้องการ การทำซ้ำ
สาเหตุที่ความสูญเสียถูกละเลย ความเข้าใจและความสนใจจากผู้บริหาร ความเคยชินในการปฏิบัติงาน ไม่ทราบว่ากิจกรรมที่กระทำอยู่ก่อให้เกิดความสูญเสียอะไรบ้าง ไม่ทราบถึงข้อดีของการปฏิบัติงานในเชิงป้องกัน ไม่ทราบวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ขาดแรงจูงใจที่เหมาะสม
ประเภทของทางเลือกด้าน CT ปรับปรุงการทำงาน และการจัดการ หมุนเวียนมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิต หมุนเวียนมาใช้ใหม่ภายนอกกระบวนการผลิต ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงบางส่วน เปลี่ยนใหม่ทั้งหมด พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ พัฒนาการจัดการลูกโซ่ผลิตภัณฑ์
ตัวอย่างการติดตั้งถังหุ้มฉนวนสำหรับอุ่นไขมันเนย ก่อน หลัง