หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด หนังสือ “การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น อ.สุภาณี นิตย์เสมอ” MC220 มี e-book และ จำหน่ายที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง http://e-book.ram.edu/e-book/inside/html/dlbook.asp?code=MC220 http://www.rupress.ru.ac.th/bookstore/index.php?route=product/product&keyword=MC220&product_id=1509 หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด อ.มาลี บุญศิริพันธ์” MCS1250 จำหน่ายที่ศูนย์หนังสือจุฬา http://www.chulabook.com/description.asp?barcode=9786163140531
การควบคุมกันเองของหนังสือพิมพ์ บทที่ ๑๐
วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ควบคุมกันเองในรูปแบบ “สภาการ หนังสือพิมพ์” เพื่อสร้างภาพลักษณ์ ศรัทธาความเชื่อถือ และมาตรฐาน วิชาชีพหนังสือพิมพ์ ที่ดีแก่วงการวิชาชีพ หนังสือพิมพ์
แนวคิดในการควบคุมกันเอง “การควบคุมกันเองของหนังสือพิมพ์ คือ การที่ภายในวงการผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติ กำกับและดูแลกันเอง เพื่อรักษาและส่งเสริมมาตรฐานของวิชาชีพสื่อมวลชน ซึ่งจะทำให้หนังสือพิมพ์เป็นสถาบันที่ได้รับความนิยมเชื่อถือ เป็นที่ไว้วางใจแก่บุคคลทั่วไป โดยยึดหลักเสรีภาพและความรับผิดชอบเป็นสำคัญ”
แนวคิดในการควบคุมกันเอง เป้าหมายอย่างหนึ่งของการควบคุมกันเองก็เพื่อสร้างเกณฑ์กำกับนักหนังสือพิมพ์ให้ทำหน้าที่สื่อข่าวอย่างอิสะ เป็นธรรม และเป็นกลาง โดยมีความรับผิดชอบเป็นตัวชี้วัดคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อมวลชน แนวคิดในการควบคุมกันเอง
แนวทางการควบคุมหนังสือพิมพ์ ตัวแปรสำคัญที่เป็นแรงผลักดันให้หนังสือพิมพ์ควบคุมกันเองได้ ก็คือ พลังประชาชน สภาพแวดล้อมทางการเมือง และแรงดันจากสังคม แนวทางการควบคุมหนังสือพิมพ์
แนวทางการควบคุมหนังสือพิมพ์ ๑ การควบคุมโดยกฎหมาย การกำหนดบทบัญญัติรับรองสิทธิ และเสรีภาพของสื่อมวลชนและ หนังสือพิมพ์ในมาตรา ๓๙ ๔๐ ๔๑ ๕๘ ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับ หนังสือพิมพ์โดยตรงมี ๓ มาตรา คือ ๓๙ ๔๑ และ ๕๘ ๒ การควบคุมโดยผู้บริโภค เป็นการควบคุมหนังสือพิมพ์ที่มี ประสิทธิภาพสูงสุด ๓ การควบคุมกันเอง วัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งส่งเสริม วิชาการหนังสือพิมพ์และธุรกิจการ หนังสือพิมพ์ เป็นที่ส่งเสริม จรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์ แนวทางการควบคุมหนังสือพิมพ์
รูปแบบการควบคุมกันเองของหนังสือพิมพ์สามารถแบ่งได้ ๓ แบบ ๑ แบบสมัครใจของผู้ประกอบการวิชาชีพหนังสือพิมพ์เอง ๒ แบบครึ่งสมัครใจและครึ่งถูกกำหนดขากฝ่ายรัฐบาล ๓ แบบควบคุมกันเองแต่ในนาม แต่ในความเป็นจริงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เป้าหมายในการส่งเสริม ควบคุม ตรวจสอบ พัฒนาการประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ให้มีคุณภาพในลักษณะเดียวกับองค์กรวิชาชีพอื่นๆ มีการดำเนินงานในรูปคณะกรรมการ สภาการหนังสือพิมพ์ถือเป็นรูปแบบการควบคุมกันเองที่ เชื่อกันว่าสามารถคงไว้ซึ่งเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ ถึงยังไงสภาการหนังสือพิมพ์ก็ยังต้องขึ้นอยู่กับบรรยาย กาศทางการเมืองเพื่อให้เป็นไปตามครรลองของอิสร นิยมอยู่ดี
หลักการของสภาการหนังสือพิมพ์ สำหรับประเทศไทย สิทธิเสรีภาพของ หนังสือพิมพ์เพิ่งได้รับรอง อย่างเป็นทางการใน รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ คุณภาพของ “นักหนังสือพิมพ์” จึงเป็น หัวใจสำคัญที่องค์กร เกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ต้องให้ ความสนใจเป็นพิเศษ จริยธรรมของ นักหนังสือพิมพ์กลายเป็น เงื่อนไขสำคัญในการสร้าง วามเชื่อถือจากสังคม
วัตถุประสงค์ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ คือ การส่งเสริมผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ให้มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ การส่งเสริมเสรีภาพ สนับสนุนสิทธิการรับรู้ข่าวสาร การแสดงความคิดเห็นของพลเมืองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข วัตถุประสงค์ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ คือ
สภาการหนังสือพิมพ์ มีการตรวจสอบ โดยใช้ธรรมนูญฯของสภา ข้อ ๑๕ ว่า “ผู้ได้รับความเสียหายจาก ข้อความ หรือภาพที่ปรากฏ ในหนังสือพิมพ์ที่เป็นสมาชิก หรือพฤติกรรมของผู้ ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ที่สังกัดสมาชิก ซึ่ง ผู้เสียหายเห็นว่าขัดต่อ ข้อบังคับสภาการ หนังสือพิมพ์ว่าด้วย จริยธรรมแห่งวิชาชีพ ให้ แจ้งเป็นหนังสือพิมพ์พร้อม ด้วยพยานหลักฐานต่อ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นโดยตรง เสียก่อน เพื่อให้ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ดำเนินการบรรเทาความ เสียหายตามควรแก่กรณี” สภาการหนังสือพิมพ์ มีการตรวจสอบ
ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๙ โดยที่เจ้าของ ผู้ประกอบการ บรรณาธิการ และผู้ ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ทั้งหลาย พร้อมใจกัน สถาปนาสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติให้เป็นองค์กร ทำหน้าที่กำกับดูแลกันเองในวิชาชีพหนังสือพิมพ์อย่าง เป็นอิสระ เพื่อนำเสนอข่าวสารด้วยความรับผิดชอบ บนพื้นฐานของจริยธรรม และสนับสนุนการใช้สื่อ หนังสือพิมพ์เพื่อการรับรู้ข่าวสารและการแสดงความ คิดเห็นของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สภาการหนังสือพิมพ์ แห่งชาติจึงออกข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพ หนังสือพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๑ มาบังคับใช้ แต่เนื่องจาก ประกาศใช้มานาน ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง คณะกรรมการจึงมีมติให้ยกเลิกข้อบังคับดังกล่าว และ ให้ใช้ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพ หนังสือพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ดังต่อไปนี้แทน
หมวด ๑ หมวดทั่วไป ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่ง วิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ ข่าว’หมายถึง เนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ปัจจุบัน ประกอบด้วย พาดหัวข่าว ความนำ เนื้อข่าว ภาพข่าว’หมายถึง ภาพเหตุการณ์หรือภาพบุคคลที่สื่อสาร เรื่องราว โดยมีหรือไม่มีคำบรรยายภาพรวมทั้งภาพอื่นใดที่นำ ลงในหนังสือพิมพ์ การแสดงความคิดเห็น’ หมายถึง บทบรรณาธิการ คอลัมน์ บทความ การ์ตูน หรือรูปแบบอื่นใดอันเป็นการติชม วิพากษ์วิจารณ์ หรือข้อเสนอแนะ เนื้อหาทั่วไป’ หมายถึง สารคดี สารคดีเชิงข่าวหรือรายงาน หรือสกู๊ปบทวิเคราะห์ หรือข้อเขียนอื่นใดที่ปรากฏใน หนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์’หมายถึง หนังสือพิมพ์ตามธรรมนูญสภาการ หนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๐ ข้อ ๓ซึ่งรวมถึงสื่อดิจิทัล ของหนังสือพิมพ์นั้น ๆ ด้วย ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์’หมายถึงผู้ประกอบวิชาชีพ หนังสือพิมพ์ตามธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๓ ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบวิชาชีพสื่อดิจิทัลของ หนังสือพิมพ์นั้น ๆ ด้วย ข้อ ๔ หนังสือพิมพ์และผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ต้องไม่ ประพฤติปฏิบัติการใด ๆ อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติ แห่งวิชาชีพ
หมวด ๒ หลักจริยธรรมทั่วไป ความถูกต้องและข้อเท็จจริง ข้อ ๕ หนังสือพิมพ์ต้องตรวจสอบและไม่แต่งเติม เนื้อหาสาระของข่าวจนคลาดเคลื่อนหรือเกินจาก ข้อเท็จจริง ข้อ ๖ หนังสือพิมพ์ต้องละเว้นการเสนอข่าวด้วย ความลำเอียงหรือมีอคติเป็นเหตุให้ข่าวนั้นบิดเบือนอัน อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลในข่าวและความ เข้าใจผิดในสังคม ข้อ ๗ หนังสือพิมพ์ต้องไม่พาดหัวข่าวและความนำ เกินไปจากข้อเท็จจริงในข่าว และต้องสะท้อนใจความ สำคัญหรือเนื้อหาหลักของข่าว ประโยชน์สาธารณะ ข้อ ๘ หนังสือพิมพ์ต้องนำเสนอข่าวภาพข่าว ความเห็น และเนื้อหาทั่วไป ด้วยความบริสุทธิ์ใจโดย ไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนหรือหมู่คณะ ข้อ ๙ หนังสือพิมพ์พึงเสนอข่าว ภาพข่าว ความเห็น และเนื้อหาทั่วไป โดยตระหนักถึง ความสำคัญและอรรถประโยชน์ของข่าวต่อสาธารณะ และไม่เสนอข่าวในทำนองชวนเชื่อหรือเร้าอารมณ์ให้ คนสนใจในเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
ความสมดุลและเป็นธรรม ข้อ ๑๐ หนังสือพิมพ์ต้องแสดงความพยายามในการให้ ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ข้อ ๑๑ หนังสือพิมพ์ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ถูก กล่าวหาแสดงข้อเท็จจริงเมื่อข่าวที่นำเสนอมีการพาดพิง อันอาจเกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือองค์กร หรือได้ แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการให้ความเป็นธรรม แล้ว ข้อ ๑๒ หนังสือพิมพ์ต้องให้ความเที่ยงธรรมเมื่อบุคคล หรือองค์กรที่ถูกพาดพิงเห็นว่าการแสดงความคิดเห็นหรือ การวิพากษ์วิจารณ์นั้น ไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง การเคารพสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ข้อ ๑๓ หนังสือพิมพ์ต้องเสนอข่าวโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ของบุคคลที่ตกเป็นข่าว โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ง ต้องให้ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัดต่อสิทธิมนุษยชน ของเด็ก สตรี ผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งต้องไม่เป็นการ ซ้ำเติมความทุกข์หรือโศกนาฏกรรมอันเกิดแก่เด็ก สตรี ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีอัตลักษณ์แตกต่างในสังคม ข้อ ๑๔ หนังสือพิมพ์ต้องไม่เสนอภาพข่าวที่อุจาด ลามกอนาจาร หรือน่าหวาดเสียวโดยไม่คำนึงถึง ความรู้สึกของสาธารณชนอย่างถี่ถ้วน
การเคารพสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ข้อ ๑๕ หนังสือพิมพ์พึงละเว้นการล่วงละเมิดสิทธิส่วน บุคคล เว้นแต่กรณีเพื่อประโยชน์สาธารณะ ข้อ ๑๖หนังสือพิมพ์พึงระมัดระวังการเสนอข่าวภาพข่าว ความเห็น หรือเนื้อหาทั่วไป ต่อสถานการณ์ที่มีความ ขัดแย้งหรือมีความรุนแรง อันจะเป็นการสร้างหรือเพิ่ม ความหวาดระแวงที่มีอยู่แล้วในชุมชนหรือสังคม ข้อ ๑๗หนังสือพิมพ์พึงระมัดระวังการเสนอข่าวภาพข่าว ความเห็น หรือเนื้อหาทั่วไป อันเป็นการไม่เคารพต่อ เชื้อชาติ ศาสนา และชาติพันธุ์ ข้อ ๑๘ หนังสือพิมพ์พึงหลีกเลี่ยงการใช้คำที่ไม่สุภาพ หรือภาษาที่สื่อความหมายเชิงเหยียดหยาม หรืออยู่ใน ข่ายประทุษวาจา หรือแสดงนัยเชิงลบ
หมวด ๓ หลักกระบวนการทำงาน การปกปิดและเคารพแหล่งข่าว ข้อ ๑๙ หนังสือพิมพ์ต้องไม่เสนอข่าวโดยเลื่อนลอย ปราศจากแหล่งที่มา พึงระบุชื่อบุคคลที่ให้สัมภาษณ์หรือ ให้ข่าวอย่างเปิดเผย เว้นแต่จะมีเหตุอันควรปกปิดเพื่อ สวัสดิภาพและความปลอดภัยของแหล่งข่าว และต้องเป็น ประโยชน์ต่อสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของสาธารณชน ข้อ ๒๐ หนังสือพิมพ์ต้องปกปิดชื่อและฐานะของบุคคลที่ ให้ข่าวไว้เป็นความลับเมื่อได้ให้คำมั่นแก่แหล่ง ข่าวนั้นไว้ และต้องปกปิดนามปากกาหรือนามแฝงที่ปรากฏใน หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นไว้เป็นความลับ ความรับผิดชอบในการแก้ข่าว ข้อ ๒๑ หนังสือพิมพ์ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลง พิมพ์แก้ไขข้อผิดพลาดอันเกิดจากการเสนอข่าวโดยไม่ ชักช้า หากข้อผิดพลาดนั้นส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของ บุคคลหรือองค์กร ให้ดำเนินการขออภัยพร้อมกันไปด้วย การแยกแยะข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น ข้อ ๒๒ หนังสือพิมพ์ต้องไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงใน ข่าว
การละเว้นอามิสสินจ้างและประโยชน์ทับซ้อน ข้อ ๒๓ ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ต้องไม่ อวดอ้างหรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่เพื่อเรียกร้องสิทธิ หรือผล ประโยชน์ใด ๆ ที่ไม่ชอบธรรม ข้อ ๒๔ ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ต้องละเว้น การรับอามิสสินจ้างอันมีค่าหรือผลประโยชน์ใดๆ เพื่อ ให้กระทำการหรือไม่กระทำการใดอันจะขัดต่อการ ปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่าง ถูกต้อง รอบด้าน ข้อ ๒๕ ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์พึงละเว้นการ รับอภิสิทธิ์หรือตำแหน่งเพื่อให้กระทำการหรือไม่ กระทำการใดอันจะขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องรอบด้าน การได้มาซึ่งข้อมูลโดยไม่ละเมิด ข้อ ๒๖ หนังสือพิมพ์ต้องบอกที่มาของข้อความที่ คัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากการ ขออนุญาตจากแหล่งข้อมูลนั้นแล้ว ข้อ ๒๗ หนังสือพิมพ์พึงใช้วิธีที่สุภาพและซื่อสัตย์ใน การได้มาซึ่งข่าวสาร
โฆษณาที่ไม่แอบแฝงและงมงาย ข้อ ๒๘ หนังสือพิมพ์ต้องแสดงให้เห็นชัดว่าข้อความ ที่เป็นบทความซื้อพื้นที่คือประกาศโฆษณา จะแอบ แฝงเป็นการเสนอข่าวหรือความคิดเห็นมิได้ ข้อ ๒๙ หนังสือพิมพ์พึงใช้ความระมัดระวังอย่าง รอบคอบให้ประกาศโฆษณาทั้งหลายอยู่ภายใน ขอบเขต ของศีลธรรมและวัฒนธรรม และพึง ระมัดระวังที่จะไม่เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ประกาศ โฆษณาที่น่าจะเป็นภัยแก่สังคมหรือสาธารณะ ข้อ ๓๐ หนังสือพิมพ์พึงหลีกเลี่ยงการเผยแพร่ ประกาศโฆษณาที่มีเหตุให้น่าเชื่อว่าเจ้าของประกาศ โฆษณา นั้น เจตนาจะทำให้ผู้อ่านหลงเชื่อในสิ่งที่งม งาย ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด หนังสือ “การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น อ.สุภาณี นิตย์เสมอ” MC220 มี e-book และ จำหน่ายที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง http://e-book.ram.edu/e-book/inside/html/dlbook.asp?code=MC220 http://www.rupress.ru.ac.th/bookstore/index.php?route=product/product&keyword=MC220&product_id=1509 หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด อ.มาลี บุญศิริพันธ์” MCS1250 จำหน่ายที่ศูนย์หนังสือจุฬา http://www.chulabook.com/description.asp?barcode=9786163140531