งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด
หนังสือ “การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น อ.สุภาณี นิตย์เสมอ” MC220 มี e-book และ จำหน่ายที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด อ.มาลี บุญศิริพันธ์” MCS1250 จำหน่ายที่ศูนย์หนังสือจุฬา

2 บทที่ ๑๒ เทคโนโลยีกับงานวารสารศาสตร์

3 งานด้านวารสารศาสตร์จะพัฒนาและสะดวกมากขึ้นเท่านั้น เพราะช่วยลดอุปสรรคด้านเวลาและขอบเขตที่ไร้พรมแดนของการสื่อสารได้อย่างดีมาก “ข้อมูลข่าวสาร” คือทรัพยากรที่มีคุณค่า สามารถใช้ต่อรองแข่งขันทางธุรกิจ การเมืองและสังคมได้ คำว่า “ข่าวสารคืออำนาจ” จึงเป็นคำพูดที่ใช้ได้ในยุคปัจจุบันนี้

4 บทบาทของเทคโนโลยีในงานหนังสือพิมพ์
บทบาทของทคโนโลยีคือการอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร (เป็นช่องทาง)ที่มีประสิทธิเรื่องเวลามาก และประโยชน์ช่วยผู้สื่อข่าวหาข้อมูล สืบค้นภูมิหลังได้ง่ายและดีกว่าวิธีการแบบเดิม “สื่อใหม่” ปัจจุบันสื่อดิจิตอลมีคุณสมบัติ ตอบโจทย์พฤติกรรมการรับสารของ ผู้บริโภคที่ไม่ค่อยมีเวลามากได้รับรู้ ข่าวสารได้แบบถึงที่ไม่ต้องไปแวะซื้อ หนังสือพิมพ์อ่านข่าวอีกต่อไป และยัง มีอิสระในการเลือกรับข่าวสารด้วย

5 บทบาทของเทคโนโลยีในงานหนังสือพิมพ์
ดังนั้นผู้สื่อข่าว หรือคนทำงานด้านสื่อควรต้องพัฒนา เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้นเพื่อประโยชน์ในการผลิตข่าวสารให้มีคุณภาพ การนำเทคโนโลยีมาช่วยทำให้งาน ข่าวสารมีประสิทธิภาพถือเป็นเครื่องมือ ในการค้นหาข้อมูล และเป็นประโยชน์ ของผู้บริโภคด้วยที่จะมีโอกาสเลือกรับ ความรู้ข่าวสารเชิงลึกและกว้างได้ด้วย ตัวเอง รวมทั้งได้ความรวดเร็วและ ประหยัดค่าใช้จ่าย

6 เทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนางานหนังสอพิมพ์ด้านไหนบ้าง ดังนี้
ห้องสมุดหนังสือพิมพ์ (morgue) ศูนย์บริการข้อมูล (commercial databases) แหล่งข้อมูลภาครัฐ (government) อินเทอร์เน็ต (internet)

7 เทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนางานหนังสอพิมพ์ด้านไหนบ้าง ดังนี้
ซีดีรอม (CD-ROM) เว็บเพจ (web-page) การสื่อข่าวด้วยคอมพิวเตอร์ (computer-assisted reporting/journalism) วารสารศาสตร์พลเมือง (citizen journalism)

8 ตัวอย่างการสื่อสารที่พัฒนางานหนังสอพิมพ์ในต่างประเทศ
สื่อพลเมือง (citizen media) เป็นช่องทางให้ประชาชนเป็นผู้รายงานข่าว แสดงความคิดเห็น และโต้ตอบบนเว็บเพจในอินเทอร์เน็ตได้ในลักษณะ online journalism เช่น ohmynews ของเกาหลีที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก การพัฒนาที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วย หรือพาหะแห่งการเปลี่ยนแปลง (กาญจนา แก้วเทพ,๒๕๕๕) ของการ สื่อสาร

9 พฤติกรรมผู้บริโภคสื่อออนไลน์
ผู้นิยมสื่อออนไลน์มักมีความกระตือรือร้นในการเลือกรับสาร (active audience) และชอบแสวงหาวิธีการเข้าถึงเว็บไซด์ต่างๆ ดังนั้นผู้ส่งสารทางอินเทอร์เน็ตจะสื่อสารกับผู้อ่านแบบผสมผสานเพื่อกระชับ เรียกว่า multimedia พฤติกรรมผู้บริโภคสื่อออนไลน์

10 พฤติกรรมผู้บริโภคสื่อออนไลน์
ศักยภาพอินเทอร์เน็ตที่ให้ความสำคัญเรื่องความรวดเร็ว สะดวก ทันใจในการหาข้อมูลเพียงแค่ “คลิก”เท่านั้น จึงตอบรับนิสัยการรับสารของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี พูดได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการปฏิวัติรูปแบบอุตสาหกรรมข่าวและธุรกิจหนังสือพิมพ์ได้เป็นอย่างมาก

11 อินเตอร์เน็ตกับงานวารสารศาสตร์
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคสื่ออินเทอร์เน็ต หรือเรียว่า “หนังสือพิมพ์ออนไลน์” รูปแบบจากหนังสือพิมพ์กระดาษลงสู่เว็ปไซด์โดยไม่ปรับเนื้อหา เรียกว่า “Shovelware” อินเตอร์เน็ตกับงานวารสารศาสตร์

12 อินเตอร์เน็ตกับงานวารสารศาสตร์
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยให้หนังสือพิมพ์และสื่อกระจายเสียงสามารถเสนอข่าวภาคประชาชนได้กว้างขวางขึ้นสอดคล้องกับพันธกิจหลักของงานวิชาชีพวารสารศาสตร์ ถือว่าอินเทอร์เน็ตกับงานวารสารศาสตร์เป็นองค์ประกอบที่สนับสนุนกันและกัน ข้อดีหลายด้านของเทคโนโลยี สารสนเทศ (internet)นั้นก็ยังมี ผลกระทบข้างเคียงต่อคุณภาพของ วิชาชีพวารสารศาสตร์เช่นกัน

13 ลักษณะของหนังสือพิมพ์ออนไลน์
“หนังสือพิมพ์ออนไลน์” ทำให้หนังสือพิมพ์ต้องปรับงานวารสารศาสตร์ให้เข้ากับสื่อรูปแบบใหม่ด้วย และมีการสร้างวัฒนธรรมการเลือกบริโภคสื่อแบบ “ชี้แล้วคลิก” สื่อเน้นกลยุทธ์การนำเสนอสาระแบบ ผสมผสาน (multimedia) ทั้งเนื้อหา ข้อความภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง กราฟิก ทำให้ผู้อ่านเพลิดเพลิน กับการโต้ตอบกับผู้ส่งข้อมูลได้

14 ข้อสรุปลักษณะเด่นของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ดังนี้
ทันเหตุการณ์ โต้ตอบได้ ใช้ง่ายและสะดวก ไม่จำกัดพื้นที่

15 ข้อสรุปลักษณะเด่นของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ดังนี้
สร้างสำนึกการมีส่วนร่วม ขยายเป้าหมายองค์กร สร้างความเชื่อถือ รวดเร็วทันใจ

16 ข้อจำกัดของหนังสือพิมพ์ออนไลน์
ข้อจำกัดอินเทอร์เน็ตผลกระทบโดยรวมของสังคม...คือ ข้อจำกัดธุรกิจหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ข้อพึงระวังสำหรับนักวารสารศาสตร์ที่ ต้องพึ่งสื่ออินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ แสวงหาข้อมูล...คือ

17 สิ่งที่นักวารสารศาสตร์ควรทราบเกี่ยวกับธรรมชาติของสื่ออินเทอร์เน็ต ๕ ประการ
๑ อินเทอร์เน็ตเป็นกล่องเครื่องมือที่ประกอบด้วยอุปกรณ์หลายชนิด ๒ นักวารสารศาสตร์ต้องตื่นตัวรับกับความ เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีตลอดเวลา ๓ ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีลักษณะสะท้อนอาการ ทาง ๔ อินเทอร์เน็ตสามารถแพร่กระจายไปได้ทุกแห่ง ในเวลาเดียวกัน ๕ อินเทอร์เน็ตเหมือนสิ่งเสพติด “เทคโนโลยีเป็นเพียงกล่องเครื่องมือช่วยเสริมและ สนับสนุนให้งานวารสารศาสตร์เข้มแข็งขึ้นใน บทบาทของสุนัขเฝ้าบ้านและเป็นสื่อกลางทาง ข่าวสารตามความคาดหวังของประชาชนในสังคม ระบอบเสรีประชาธิปไตยเท่านั้น”

18 1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม เมื่อปีที่ผ่านมา (2559) และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม ล่าสุด มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 24 พ.ค.นี้ 1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท 2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถ ปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท 3. ส่ง ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท 4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็น เรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมี ความผิดร่วม 5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อ ผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่ กระทบต่อบุคคลที่ 3 6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่ สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่ รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิด ตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟ ซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิด กฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด

19 8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชน ได้
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม เมื่อปีที่ผ่านมา (2559) และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม ล่าสุด มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 24 พ.ค.นี้ 7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด 8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชน ได้ 9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อ เป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ 10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อม เสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ ตามกฎหมาย 11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท 12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ 13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่ เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้

20 หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด
หนังสือ “การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น อ.สุภาณี นิตย์เสมอ” MC220 มี e-book และ จำหน่ายที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด อ.มาลี บุญศิริพันธ์” MCS1250 จำหน่ายที่ศูนย์หนังสือจุฬา


ดาวน์โหลด ppt หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google