การส่งเสริมการป้องกันการทุจริต พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 หมวด 9/1 การส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 1. จัดให้มีมาตรการคุ้มครองช่วยเหลือแก่ผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ทำคำร้อง ผู้ร้อง ทุกข์กล่าวโทษผู้ให้ถ้อยคำ ผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริต 2. จัดให้มีเงินสินบนแก่ผู้ชี้ช่อง แจ้งเบาะแสหรือให้ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ทรัพย์สินหรือหนี้สินของผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกตรวจสอบ กรณีศาลมีคำสั่งถึงที่สุด ให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน 3. จัดให้มีการกันบุคคล (ผู้ถูกกล่าวหา) ไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดี 4. การยกย่องผู้ประพฤติปฏิบัติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 5. มาตรการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง (เปิดเผยการกำหนดราคากลาง การ แสดงรายการรับจ่ายของโครงการ)
กฎหมายป้องกันการทุจริต ฉบับ ที่ ๓ 1. เรื่องอายุความ ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 74/1 กำหนดให้ในการดำเนินคดีอาญาตามพรบ. ป.ป.ช. ถ้าผู้ถูกกล่าวหาหลบหนี ไปในระหว่างถูกดำเนินคดีหรือระหว่างการพิจารณาของศาล อายุความจะสะดุดหยุดอยู่ และเมื่อได้มีคำพิพากษาถึง ที่สุดให้ลงโทษจำเลยแล้ว ถ้าจำเลยหลบหนีไปในระหว่างต้อง คำพิพากษาถึงที ่สุดให้ลงโทษ จะไม่นำเรื่องอายุ ความมาใช้บังคับ การแก้ไขนี้มิได้เป็นการขยายอายุความในคดีทุจริตแต่อย่างใดแต่เป็นการยกเว้นมิให้นับอายุความในกรณีที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีเท่านั้น ซึ่งหลักการนี้ได้บัญญัติไว้ในพรบ. ป.ป.ช. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554) อยู่แล้ว โดยกฎหมายใหม่ได้เพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมถึงการดำเนินคดีอาญาในทุกขั้นตอน ทั้งในกระบวนการ ไต่สวนข้อเท็จจริง กระบวนการฟ้องคดี กระบวนการพิจารณาของศาล รวมถึงกระบวนการภายหลังศาลมีคำพิพากษาด้วย
กฎหมายป้องกันการทุจริต ฉบับ ที่ ๓ 2. การกำหนดฐานความผิดสำหรับนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้สินบนเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 123/5 วรรค 2 กำหนดให้มีฐานความผิดเฉพาะสำหรับนิติบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการให้สินบนเจ้าหน้าที่ขึ้น เนื่องจากผลโยชน์ที่เกิดจากการให้สินบน เช่น การได้รับสัมปทาน หรือ โครงการขนาดใหญ่ ของรัฐ แท้จริงแล้วผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการติดสินบนดังกล่าวก็คือนิติบุคคลนั้นเอง กฎหมายใหม่จึงกำหนดให้นิติบุคคลมีความผิดถ้าคนที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคล เช่น ลูกจ้าง ตัวแทน ได้ให้สินบน เจ้าหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ไทยหรือต่างประเทศ และทำไปเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลนั้น โดยนิติบุคคลดังกล่าว ไม่มีมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน โดยมีการกำหนดโทษเป็นโทษปรับเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของ นิติบุคคลที่ไม่อาจรับโทษจำคุกได้โดยมีอัตราโทษปรับจากค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่นิติบุคคลนั้นได้รับ ซึ่งกรณีที่เป็นการให้สินบนในโครงการขนาดใหญ่อาจทำให้มีโทษปรับทางการเงินเป็นจำนวน หลายร้อยล้านบาท โดยมาตรการลงโทษทางการเงินนี้จะทำให้รัฐได้รับการเยียวยาความเสียหาย เพื่อเอาประโยชน์ ที่นิติบุคคล ไม่ควรได้ กลับคืน และเพื่อเป็นการป้องปรามการกระทำความผิด
กฎหมายป้องกันการทุจริต ฉบับ ที่ ๓ 3. บทกำหนดโทษสำหรับความผิดกรณีเรียกรับสินบน ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 123/2 กำหนดบทลงโทษกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐไทย เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ เรียกรับสินบน โดยมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต ซึ่งโทษประหารชีวิตนั้นมีกำหนดอยู่ แล้วตามฐานความผิดกรณีเจ้าพนักงานเรียกรับสินบน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 ซึ่งตามกฎหมาย ที่แก้ไขใหม่นี้ได้กำหนดตัวผู้กระทำความผิดเพิ่มเติม คือ ในส่วนของเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ของ องค์การระหว่างประเทศ และยกบทกำหนดโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาใช้ มีการปรับเปลี่ยนแค่ในส่วนของ อัตราโทษปรับที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดความเหมาะสม
กฎหมายป้องกันการทุจริต ฉบับ ที่ ๓ 4. ฐานความผิดเจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศเรียกรับสินบน ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 123/2 ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศหรือเจ้าหน้าที่องค์การ ระหว่างประเทศ มีความผิดหากมีการเรียกรับสินบน ซึ่งเป็นการกำหนดฐานความผิดเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับ อนุสัญญา UNCAC และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินคดีทุจริตระหว่างประเทศ ตามหลัก ความผิดอาญาสองรัฐ (Dual – Criminality)
กฎหมายป้องกันการทุจริต ฉบับ ที่ ๓ ๕. หลักการริบทรัพย์ตามมูลค่า (Value- Based Confiscation) ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 123/6 – 123/8 กำหนดให้การริบทรัพย์ในคดีทุจริตเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้ครอบคลุมถึงทรัพย์สินที่ได้มาแทนเนื่องจากมีการจำหน่าย จ่าย โอน หรือแปลงสภาพ ทรัพย์ไป และในกรณีที่ไม่สามารถติดตามทรัพย์คืนมาได้ หรือการติดตามเป็นไปได้โดยยาก ศาลสามารถกำหนดมูลค่า ของทรัพย์สิน และให้มีการชำระเป็นเงินหรือริบทรัพย์อื่นที่มีมูลค่าเท่ากันได้ หลักการนี้จะเป็นการสกัดการยักย้าย ถ่ายเททรัพย์สิน
การจ่ายเงินสินบนแก่ผู้ชี้ช่อง แจ้งเบาะแสเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติหรือการตรวจสอบทรัพย์สิน ใครมีสิทธิได้รับเงินสินบน ? คือ บุคคลผู้ชี้ช่อง แจ้งเบาะแสหรือให้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือหนี้สินของผู้ถูกกล่าวหา ในคดีร่ำรวยผิดปกติหรือของผู้ถูกตรวจสอบ ในการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินหรือหนี้สิน รวมทั้งตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และการชี้ช่อง แจ้งเบาะแส หรือ ให้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นผลให้ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติหรือทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกตินั้น ตกเป็นของแผ่นดิน โดยคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดของศาล และนำส่งกระทรวงการคลังแล้ว และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.
การแจ้งเบาะแสหรือให้ข้อมูล หรือข้อเท็จจริง ๑. ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย ๒. ต้องมีรายละเอียด ๒.๑ ชื่อ ที่อยู่ของผู้ชี้ช่องทาง แจ้งเบาะแส หรือให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง กรณีไม่ประสงค์แจ้งชื่อที่อยู่ของตน ให้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ในข้อมูลต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่อย่างน้อยสองคน ถ้าไม่สามารถทำได้ ให้จัดทำข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินและพิมพ์ลายนิ้วมือจำนวน ๒ ฉบับ ส่งให้ สำนักงาน ป.ป.ช. ๑ ฉบับ อีกฉบับ เก็บไว้เป็นหลักฐาน ๒.๒ ชื่อ ที่อยู่ สถานที่ทำงานหรือตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา หรือ ผู้ถูกตรวจสอบ
การแจ้งเบาะแสหรือให้ข้อมูล หรือข้อเท็จจริง (ต่อ) ๒.๓ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหา หรือผู้ถูกตรวจสอบ รวมทั้งตัวการผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนที่ชัดเจนเพียงพอ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต้องเป็นสาระสำคัญของการตรวจสอบ ซึ่งหากไม่มีการแจ้งข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเช่นว่านั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะไม่สามารถรู้หรือตรวจสอบการร่ำรวยผิดปกติหรือทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติได้ และต้องไม่เป็นปกติวิสัยที่จะตรวจพบได้อยุ่แล้ว
การจ่ายเงินสินบน การจ่ายเงินสินบนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสินบน ให้จ่ายเมื่อทรัพย์สินที่เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ หรือที่เพิ่มขึ้นผิดปกตินั้น หรือทรัพย์สินอื่นของผู้ถูกกล่าวหากรณีบังคับเอากับทรัพย์สินดังกล่าว ตกเป็นของแผ่นดิน อันเป็นผลมาจากศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ตกเป็นของแผ่นดิน โดยให้จ่ายในอัตราร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินที่นำส่งกระทรวงการคลังแต่ไม่เกินร้อยล้านบาท
การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๑๐๓ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประจำจังหวัดชลบุรี การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๑๐๓
มาตรา ๑๐๓ แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตได้กำหนดหลักการในการรับทรัพย์สินไว้เพื่อป้องกัน มิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเกิดการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม จากการได้รับทรัพย์สินฯ จากบุคคลใด แล้วได้นำความสัมพันธ์ในส่วนตนที่เกิดขึ้นจากการรับทรัพย์สินนี้ เข้าไปมีอิทธิพลในการดำเนินการหรือวินิจฉัยสั่งการ ในการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินและจะส่งผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมอย่างยิ่ง
มาตรา ๑๐๓ กำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎ ข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา ตามหลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด บทบัญญัติใน วรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของผู้ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้วยังไม่ถึงสองปีด้วยโดยอนุโลม
ใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่รัฐ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ เรื่องการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๑๐๓ ใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่รัฐ ทุกตำแหน่ง
บทกำหนดโทษ (มาตรา ๑๒๒) ระยะเวลาในการบังคับใช้ ใช้บังคับตั้งแต่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ และพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐมาแล้วยังไม่ถึงสองปี บทกำหนดโทษ (มาตรา ๑๒๒) จำคุกไม่เกิน ๓ ปี ปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ถือเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตาม ประมวลกฎหมายอาญา
ผลของการได้รับโทษทางอาญา ผลของการได้รับโทษทางอาญา จะส่งผลต่อคุณสมบัติของบุคคล ในการที่จะเข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม พ.ร.บ. ต่างๆ ที่ได้บัญญัติไว้และทำให้ความผิดดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรการ ป.ป.ช. ที่มีอำนาจในการไต่สวนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด
องค์ประกอบของกฎหมายตามมาตรา ๑๐๓ ที่สามารถรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดได้ แบ่งเป็น ๒ กรณี ๑. เมื่อมีกฎหมาย หรือกฎ ข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมายให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรับได้ เช่น เงินเดือน ค่าตอบแทน เบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าที่พัก ค่าสมนาคุณการเป็นวิทยากร เป็นต้น ๒. การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา ตามประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.๒๕๔๓
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๓ “การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยา” หมายความว่า การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติหรือจากบุคคลที่ให้กันในโอกาสต่าง ๆ โดยปกติตามขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือวัฒนธรรม หรือให้กันตามมารยาทที่ปฏิบัติกันในสังคม “ญาติ” หมายความว่า ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน พี่น้องร่วมบิดา มารดาหรือร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ลุง ป้า น้า อา คู่สมรส ผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส บุตรบุญธรรมหรือผู้รับบุตร บุญธรรม
“ประโยชน์อื่นใด” หมายความว่า สิ่งที่มีมูลค่า ได้แก่ การลดราคาการรับความบันเทิง การรับบริการ การรับการฝึกอบรม หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
เจ้าหน้าที่ของรัฐจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดย ธรรมจรรยาได้ ดังต่อไปนี้ (๑) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติซึ่งให้โดยเสน่หาตามจำนวนที่เหมาะสมตามฐานานุรูป (๒) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ญาติมีราคาหรือมูลค่าในการรับจากแต่ละบุคคล แต่ละโอกาสไม่เกินสามพันบาท (๓) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่การให้นั้นเป็นการให้ใน ลักษณะให้กับบุคคลทั่วไป
กรณี มิใช่หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า กรรมการหรือผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานฯ จะต้องดำเนินการ ตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๔ ดังนี้ต้องดำเนินการดังนี้ ๑. ในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรับไว้เพื่อรักษาไมตรีมิตรภาพ หรือความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล ๒. ต้องแจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน สถาบัน หรือองค์กรที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดในทันทีที่สามารถกระทำได้
๓. เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารสูงสุด วินิจฉัยว่ามีเหตุผลความจำเป็น ความเหมาะสม และสมควรที่จะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้น ไว้เป็นสิทธิของตนหรือไม่ ๔. ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารสูงสุด มีคำสั่งไม่ให้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นไว้ ก็ให้คืนทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นแก่ผู้ให้ในทันที แต่ในกรณีที่ไม่สามารถคืนได้เพราะเหตุใดๆ ก็ตาม ให้เจ้าหน้า ที่ของรัฐผู้ที่ได้รับทรัพย์สินฯ ต้องส่งมอบทรัพย์สินหรือประโยชน์ฯให้กับหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดโดยเร็ว และเมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐได้คืนหรือได้ส่งมอบแล้วให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นั้นไม่เคยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าว
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ได้รับทรัพย์สินไว้ตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า หรือเป็นกรรมการหรือผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานของรัฐ ให้แจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นต่อผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน ส่วนผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่ไม่มีผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจถอดถอนให้แจ้งต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการตามความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ได้รับทรัพย์สินไว้ตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้แจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้น ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภาหรือประธานสภาท้องถิ่นที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นเป็นสมาชิก แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด วิธีการและขั้นตอน การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ภายในประเทศ รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด * จากผู้ที่ไม่ใช่ญาติ ที่มิได้ให้โดยเสน่หา โดยมีเหตุผลความจำเป็นที่ต้องรับไว้ และเกินฐานานุรูป เพื่อรักษาไมตรี มิตรภาพ * มีราคาหรือมูลค่าเกินกว่า 3,000 บาท ความสัมพันธ์อันดี * มิใช่เป็นการให้ในลักษณะให้กับบุคคลทั่วไป เจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาทราบทันที (เพื่อวินิจฉัย) (มีต่อหน้าถัดไป)
การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด วิธีการและขั้นตอน การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ภายในประเทศ (ต่อ) เจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาทราบทันที (เพื่อวินิจฉัย) ผู้บังคับบัญชา (มีคำสั่งไม่สมควรรับ) ต้องคืนแก่ผู้ให้ทันที กรณีไม่สามารถคืนแก่ผู้ให้ได้ ต้องส่งมอบให้เป็นสิทธิของหน่วยงาน ที่สังกัด โดยเร็ว (ให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นไม่เคยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวเลย)
ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดชลบุรี วิธีการและขั้นตอน การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด กรณีผู้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชา 1. หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง 2. กรรมการ/ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ 3. ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานของรัฐ 1. ประธานกรรมการ/กรรมการ (องค์กรอิสระ) 2. ผู้ดำรงตำแหน่งที่ไม่มีผู้บังคับบัญชา ที่มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวต่อไป ให้แจ้งต่อ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน ให้แจ้งต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช.
1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2. สมาชิกวุฒิสภา 3. สมาชิกสภาท้องถิ่น แจ้งต่อ วิธีการและขั้นตอน การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด กรณีผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2. สมาชิกวุฒิสภา 3. สมาชิกสภาท้องถิ่น เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวต่อไป แจ้งต่อ ประธานสภาผู้แทนราษฎร แจ้งต่อ ประธานวุฒิสภา แจ้งต่อ ประธานสภาท้องถิ่น
เมื่อได้ดำเนินการตามความในวรรคสองแล้ว ให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้นั้นไม่เคยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวเลย
๒. การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดตามความใน มาตรา ๑๐๓ กับการให้หรือการรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือการรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๔ ๒.๑ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องไม่ให้ของขวัญแก่ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งได้แก่คู่สมรส บุตร บิดา มารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดามารดาเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้ที่เป็นปกติประเพณีนิยมที่มีการให้ของขวัญแก่กันและของขวัญที่ให้นั้นจะมีราคาหรือมูลค่าเกินจำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนดไว้มิได้ ทั้งนี้ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามมาตรา ๑๐๓ รวมถึงการห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำการเรี่ยไรเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดหรือใช้เงินสวัสดิการใดๆ เพื่อมอบให้หรือจัดหาของขวัญให้ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลในครอบครัวของผู้บังคับบัญชา ไม่ว่ากรณีใดๆ เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่สามารถดำเนินการเรี่ยไรในกรณีข้างต้นได้
๒.๒ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นผู้บังคับบัญชา จะยินยอมหรือรู้เห็น เป็นใจให้บุคคลในครอบครัวของตนรับของขวัญจากเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นผู้อยู่ในการบังคับบัญชามิได้ เว้นแต่เป็นการรับทรัพย์สินโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ตามปกติประเพณีนิยมที่มีการให้ของขวัญแก่กัน) ซึ่งผู้บังคับบัญชารวมถึงผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานที่แบ่งเป็นการภายในของหน่วยงานของรัฐและผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงกว่าและได้รับมอบหมายให้มีอำนาจบังคับบัญชาหรือกำกับดูแล
๒.๓ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลในครอบครัวของตนรับของขวัญจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐมิได้ เว้น แต่เฉพาะกรณีการรับของขวัญที่ให้ตามปกติประเพณีนิยมและของขวัญมีมูลค่าไม่เกินจำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนดไว้สำหรับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในกรณีนี้ได้แก่การห้ามรับของขวัญจากผู้ซึ่งมีคำขอให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างเช่น การขอใบรับรอง การขอให้ออกคำสั่งทางปกครอง การร้องเรียน หรือการรับของขวัญจากผู้ประกอบธุรกิจหรือมีส่วนได้เสียในธุรกิจที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างการได้รับสัมปทาน หรือการรับของขวัญจากผู้ซึ่งกำลังดำเนินกิจการใดๆ ที่มีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ควบคุมหรือกำกับดูแล เช่น การประกอบกิจการโรงงาน หรือธุรกิจหลักทรัพย์ เป็นต้น
๒.๔ การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๔ สำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ของรัฐที่เป็นข้าราชการการเมือง ให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นประพฤติปฏิบัติไม่เป็นไปตามคุณธรรมและจริยธรรม และให้ดำเนินการตามระเบียบที่นายกรัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีว่าด้วยมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการการเมือง สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นข้าราชการประเภทอื่นหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานของรัฐวิสาหกิจ ให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นเป็นผู้กระทำความผิดทางวินัย และให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ดำเนินการให้มีการลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น
๒.๕ เพื่อเป็นการเสริมสร้างให้เกิดทัศนคติในการประหยัดแก่ประชาชน ในการแสดงความยินดี การแสดงความปรารถนาดี การแสดงการต้อนรับหรือการแสดงความเสียใจในโอกาสต่างๆ ตามปกติประเพณีนิยมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐพยายามใช้วิธีการแสดงออกโดยใช้บัตรอวยพรการลงนามในสมุดอวยพร หรือใช้บัตรแสดงความเสียใจแทนการให้ของขวัญ
การรับทรัพย์สินที่เป็นการรับสินบนตามกฎหมาย หากเป็นการรับทรัพย์สินที่เป็นการเรียกรับสินบนของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ที่ได้รับทรัพย์สินจะต้องได้รับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับสินบน ตาม มาตรา ๑๔๙ และเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ที่ได้กระทำความผิดกฎหมายจะต้องรับโทษในทางอาญาซึ่งกฎหมายได้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิตหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้กระทำความผิดอาจจะต้องรับโทษตามกฎหมายว่าด้วยว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๐๒ แล้วแต่กรณี
แนวทางปฏิบัติในการรับทรัพย์สิน ตามมาตรา ๑๐๓ แห่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แนวทางปฏิบัติในการรับทรัพย์สิน ตามมาตรา ๑๐๓ แห่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดในระหว่างที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกตำแหน่ง จะต้องไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด จากบุคคลที่ไม่ใช่ญาติ หรือจากการให้ที่ไม่เป็นการให้ในลักษณะที่เป็นการทั่วไป สำหรับการรับทรัพย์สินจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องหลีกเลี่ยงการรับแต่ถ้าหากว่ามีความจำเป็นที่จะต้องรับไว้เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดี รักษาไมตรีและมิตรภาพกันไว้ และเป็นการให้ที่มีมูลค่าหรือราคาเกินกว่าสามพันบาทของการให้ในแต่ละโอกาส ต่อคนต่อครั้ง เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับจะต้องรายงานการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดนั้นๆต่อผู้บังคับบัญชาสูงสุดของตน หรือต่อผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนหรือต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้วแต่กรณี