งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แนวทางดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูป ระบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2 ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี สาขาการประถมศึกษา (โครงการคุรุทายาท) คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช ปริญญาโท สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาเอก สาขาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์ทำงาน ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ นักวิชาการศึกษา สังกัดสำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สทศ.สพฐ. รองผู้อำนวยการ สทศ.สพฐ. อาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน ผู้เขียนเอกสารทางวิชาการ (การวัดและประเมินผลการศึกษา และการประกันคุณภาพฯ) ให้กับ มสธ.และ สพฐ. รางวัล/คำยกย่องชมเชยที่เคยได้รับ รางวัลข้าราชการดีเด่น ระดับชำนาญการ สังกัดสำนักติดตามและประเมินผลฯ สพฐ. รางวัลพระเกี้ยวแก้ว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก 3 ปีการศึกษา วิทยานิพนธ์ระดับดีเด่น และมีเกรดเฉลี่ยสูงสุดของบัณฑิตศึกษาที่สำเร็จการศึกษา (4.00) รางวัลวิจัยระดับดี จากสภาวิจัยแห่งชาติในปี พ.ศ.2550 และ พ.ศ. 2552

3 บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อการขับเคลื่อนการประกันคุณภาพของสถานศึกษา
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมที่เกี่ยวกับรูปแบบและ เทคนิควิธีการประกันคุณภาพภายใน ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษา พัฒนาผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถเป็นคณะกรรมการติดตามตรวจสอบ คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา กำกับและดูแลคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับหรือรักษามาตรฐาน คุณภาพการศึกษา จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่าง น้อย 1 ครั้งต่อปี นำผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพไปใช้วางแผนและพัฒนาคุณภาพ การศึกษาอย่างต่อเนื่อง เผยแพร่ผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา เชื่อมโยงผลการประเมินคุณภาพภายนอกกับผลการประเมินภายใน สร้างเครือข่ายคุณภาพเพื่อร่วมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ การศึกษา ประกาศ เผยแพร่ผลการปฏิบัติดีของสถานศึกษา

4

5 จุดเน้น 3 การทดสอบ การประเมิน การประกันคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา

6 การปฏิรูประบบการประเมิน และการประกันคุณภาพการศึกษา

7 ข้อเสนอเกี่ยวกับรูปแบบและกระบวนการประเมินคุณภาพและมาตรฐานสถานศึกษา
หลักการประเมินเน้นการประเมินจากคนใน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินมีความยืดหยุ่น และต้องเป็นตัวบ่งชี้ที่ยุติธรรมกับโรงเรียน มาตรฐานและตัวบ่งชี้เป็นตัวบ่งชี้หลักที่สำคัญสะท้อนคุณภาพของสถานศึกษาอย่างชัดเจน กำหนดช่วงเวลาการประเมินตามสภาพความพร้อมของสถานศึกษา เน้นการประเมินตามสภาพจริง ลดการตรวจสอบเอกสารต่างๆ ให้น้อยลง ปรับวิธีการประเมินตัวบ่งชี้ด้านผลสัมฤทธิ์ (O-NET) ให้ถูกต้องตามหลักสถิติ และคำนึงถึงความหลากหลายและต้นทุนของสถานศึกษาที่แตกต่างกัน (Value added) กระบวนการประเมินต้องให้สถานศึกษานำเสนอโครงการ/กิจกรรมที่ทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐาน/ตัวบ่งชี้อย่างอิสระ ไม่ยึดติดรูปแบบหรือแบบฟอร์ม เป็นการทบทวนสิ่งที่สถานศึกษาภาคภูมิในแต่ละปี ผู้ประเมินมีสิทธิเก็บข้อมูลเพิ่มเติมได้ รูปแบบการประเมินมุ่งเน้นให้มีการนำผลการประเมินไปใช้ให้เกิดผลได้ผลเสียกับสถานศึกษา ปรับเกณฑ์การรับรองคุณภาพสถานศึกษาให้เหมาะสม ศูนย์ติดตามและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสถานศึกษาขึ้น ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๑๐๕๘/๒๕๕๗

8 ข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรฐานผู้ประเมิน
พัฒนามาตรฐานผู้ประเมินให้มีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ องค์ประกอบของผู้ประเมินอาจประกอบไปด้วยบุคคลทั้งภายในและภายนอก หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ใกล้เคียงสถานศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้าน หรืออาจให้ผู้บริหารสถานศึกษามีส่วนร่วมในการประเมิน ด้วยการให้ข้อมูล และรับฟัง ร่วมคิด ร่วมเสนอแนะอย่างใกล้ชิด ทำงานเป็นทีม อีกทั้งเป็นโอกาสอันดีที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะได้รับทราบภาพรวมของสถานศึกษาอีกทั้ง เพื่อเป็นการ “Walk Through” สิ่งที่สถานศึกษาทำอีกครั้ง หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประเมินเหมือน สมศ. ควรมีหลายองค์กร เพื่อให้แข่งขันและถ่วงดุลกัน เพื่อสถานศึกษามีสิทธิเลือกองค์กรที่ทำการประเมินได้ ผู้ประเมินควรใช้การตรวจสอบผ่านการแบ่งปันข้อมูลและการปรึกษาหารือ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโรงเรียน และไม่สร้างทัศนคติว่าการประเมินเป็นการหาจุดบกพร่องของโรงเรียน ศูนย์ติดตามและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสถานศึกษาขึ้น ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๑๐๕๘/๒๕๕๗

9 Road Map ปรับระบบการประเมินและการประกันคุณภาพฯ
ระยะที่ 1 (พ.ย.-ธ.ค.2558) สพฐ. และ สมศ. พัฒนา Quality Code/มาตรฐาน และระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานตนเอง ระยะที่ 2 (ก.พ.-เม.ย.2559) สพฐ. และ สมศ.กำหนด Quality Code/มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน และแนวทางการประเมินคุณภาพร่วมกัน และดำเนินงานทดลองระบบการประเมินคุณภาพ ระยะที่ 3 (พ.ค.-ก.ค. 2559) กำหนดวิธีการสรรหาผู้ประเมิน และพัฒนาผู้ประเมินให้ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับ ระยะที่ 4 (ส.ค.- ก.ย.2559) สพฐ.ทดลองใช้มาตรฐานฯ และแนวทางการประเมินคุณภาพภายในฯ

10 ข้อเสนอการปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา
ความสอดคล้องของ Quality code/มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก ระบบการประเมินและการประกันคุณภาพภายในที่ง่ายและชัดเจน การพัฒนา “Self Assessment Report: SAR” ของสถานศึกษา การซักซ้อมและทำความเข้าใจกับระบบการประเมินแนวใหม่ (Peer review/Expert judgement) แก่สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง การกำหนดวิธีการได้มาของผู้ประเมิน การอบรมและพัฒนาผู้ประเมิน

11 การสื่อสารและสร้างความเข้าใจ
เกี่ยวกับการปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษาใน 4 ภูมิภาค จุดที่ 1 เชียงใหม่ 3-6 ก.ค.59 จุดที่ 2 ตรัง ก.ค.59 จุดที่ 3 กทม ก.ค.59 จุดที่ 4 ขอนแก่น 2-5 ส.ค.59

12 แนวทางดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูป ระบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา

13 กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ
กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ 1. ให้สถานศึกษาดำเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ. ๒๕๕๓ สถานศึกษายังใช้มาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับเดิม เป็นกรอบในการดำเนินงาน จนกว่าจะมีการประกาศใช้มาตรฐานฯ ฉบับใหม่ มาตรฐานจำนวน 5 ด้าน 15 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1.1) มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน จำนวน 6 มาตรฐาน 1.2) มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา จำนวน 6 มาตรฐาน 1.3) มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ จำนวน 1 มาตรฐาน 1.4) มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา จำนวน 1 มาตรฐาน 1.5) มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม จำนวน 1 มาตรฐาน เช่นเดียวกับมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน ระดับการศึกษาปฐมวัย จำนวน 5 ด้าน 11 มาตรฐาน 51 ตัวบ่งชี้

14 กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ
กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ 2. นโยบายการปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการดำเนินการปฏิรูปในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อลดภาระการประเมินที่ยุ่งยากกับสถานศึกษา ลดการจัดทำเอกสารเพื่อการประเมิน ปรับปรุงกระบวนการประเมินที่สร้างภาระแก่สถานศึกษา ปรับมาตรฐานผู้ประเมินให้ได้มาตรฐาน

15 กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ
กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ 3. ร่างมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่ จะมีความสอดคล้องและเป็นชุดเดียวกับมาตรฐานเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ของ สมศ. ร่างมาตรฐานฉบับใหม่ มีจำนวน 4 มาตรฐาน ดังนี้ 3.1) มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน 3.2) มาตรฐานด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3.3) มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา 3.4) มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพภายใน

16 กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ
กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ 4. สถานศึกษายังคงต้องดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเอง หน่วยงานต้นสังกัดก็ยังคงมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือ ติดตาม สร้างความเข้มแข็ง และเตรียมความพร้อมให้กับสถานศึกษา (ให้ชะลอการประเมิน โดยต้นสังกัดไว้ก่อน) ให้ต้นสังกัดดำเนินการสื่อสาร สร้างความเข้าใจระบบประเมินแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้น และการประเมินคุณภาพภายนอกจะเกิดขึ้นหลังจากปฏิรูประบบประเมินเสร็จสิ้น

17 กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ
กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ 5. การประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินคุณภาพภายในที่สถานศึกษาต้องดำเนินการประเมินตนเอง โดยแนวปฏิบัติในการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษายังคงยึดตามประกาศของคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้สถานศึกษาประเมินภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง มีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกที่ต้นสังกัดขึ้นทะเบียนไว้ร่วมเป็นคณะกรรมการประเมิน ให้ประเมินโดยใช้เครื่องมือและวิธีการประเมินที่เหมาะสม เชื่อถือได้ เป็นต้น

18 กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ
กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ 6. ให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยให้เน้นการเข้าไปช่วยเหลือ ชี้แนะ พัฒนาเตรียมความพร้อมสถานศึกษา รวมทั้ง ให้คำชี้แนะในการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ใช้ SAR เป็นเอกสารเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก สถานศึกษายังคงส่งรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ไปยังเขตพื้นที่การศึกษา ให้เขตพื้นที่การศึกษารวบรวมรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาในสังกัด สำหรับส่งต่อไปยัง สมศ.ต่อไป

19 กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ
กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ 7. สพฐ. มีแผนการดำเนินงานสรรหาและพัฒนาผู้ประเมินให้ได้มาตรฐาน ประมาณ 3,000 คน เพื่อให้เข้ารับการพัฒนาเป็นผู้ประเมินแล้วขึ้นทะเบียนผู้ประเมินระดับชาติ (National list of Evaluator) ประกอบด้วยศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูผู้สอน และข้าราชการบำนาญ บุคลากรที่ผ่านการพัฒนาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและประกาศขึ้นทะเบียนไว้ บุคลากรที่สังกัดชุมนุมนักวัดและประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย บุคลากรที่เขตพื้นที่เสนอชื่อเพิ่มเติม (ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ มีประสบการณ์ และได้รับการยอมรับ) คณะกรรมการประเมินคุณภาพภายนอก จะประกอบด้วยผู้ประเมินที่เป็นบุคลากรที่กระทรวงศึกษาธิการขึ้นทะเบียนไว้ และจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ร่วมกันทำหน้าที่เป็นผู้ประเมิน

20 กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ
กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ 8. กระบวนการประเมินแนวใหม่ที่จะเกิดขึ้นจะไม่เน้นเอกสารในกระบวนการประเมิน แต่เป็นการประเมินโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence based) มีนโยบายในการยกเลิก "ห้องประกัน" สำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก

21 กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ
กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ 9. สพฐ. จะดำเนินการสื่อสารและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวการดำเนินงานปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษาที่จะเกิดขึ้นใหม่ให้กับทุกเขตพื้นที่การศึกษารับทราบร่วมกัน จัดประชุมสัมมนา 4 ภูมิภาค (ณ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตรัง จังหวัดขอนแก่น และกรุงเทพมหานคร) กำหนดการจัดสัมมนาในช่วงเดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม 2559 มีผู้รับผิดชอบหลักประมาณ 2-3 คนต่อเขตพื้นที่ เข้าร่วมประชุมสัมมนาฯ ประกอบด้วยรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศฯ และศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา

22 กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ
กรอบและแนวทาง ดำเนินงานตามนโยบายฯ 10. สพฐ. จะร่วมมือกับ สมศ. ทดลองระบบการประเมินคุณภาพที่จะปรับเปลี่ยนใหม่ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของระบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา สถานศึกษานำร่อง ประมาณ 200 แห่ง ผู้ประเมินร่วมระหว่างกระทรวงและ สมศ.

23 การพัฒนา (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา พ.ศ. 2559

24 การประกันคุณภาพการศึกษา
ชั้นเรียน มาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ บริหารจัดการชั้นเรียนและ สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้ ติดตามตรวจสอบการจัดการเรียนรู้ ประเมินผลการเรียนรู้ รายงานผลการจัดการเรียนรู้ พัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โรงเรียน มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี ระบบบริหารและสารสนเทศ ดำเนินงานตามแผนฯ ติดตามและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เขียนรายงานประจำปี พัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง PLAN DO CHECK ACT

25 การพัฒนามาตรฐานฯ และแนวทางการประเมินคุณภาพภายใน
ปรับจำนวนมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่สะท้อนคุณภาพ ลดภาระการประเมินที่ยุ่งยากกับสถานศึกษา ลดการจัดทำเอกสารเพื่อการประเมิน ปรับปรุงกระบวนการประเมินที่สร้างภาระแก่สถานศึกษา ปรับมาตรฐานผู้ประเมินให้ได้มาตรฐาน

26 คณะทำงาน การพัฒนาร่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ
คณะทำงานปฏิรูประบบประเมินและประกันฯ คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะทำงานพิจารณามาตรฐานและตัวบ่งชี้เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ร่วมกับ สมศ.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานการศึกษาและหลักสูตร คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) รายชื่อคณะทำงาน พิจารณามาตรฐานและตัวบ่งชี้เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ร่วมกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงศุภรา เชาว์ปรีชา หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายโกวิท คูพะเนียด หัวหน้ากลุ่มงานกฏหมายการศึกษา สำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายชวลิต โพธิ์นคร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเครื่องมือวัดผล นางวิภาพร นิธิปรีชานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา นางสาวกัญนิกา พราหมณ์พิทักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษา นายวิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา นายชนาธิป ทุ้ยแป รองผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา นางจินตนา เหนือเกาะหวาย รองผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาภาคบังคับ นางสาวภาวิณี แสนทวีสุข นักวิชาการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา นางเพ็ญนภา แก้วเขียว นักวิชาการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา นางสาวโชติมา หนูพริก นักวิชาการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา นางณัฐา เพชรธนู นักวิชาการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา นางสาวอริสรา เริงสำราญ นักวิชาการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา

27 กระบวนการพัฒนามาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน คณะทำงาน/ผู้รับผิดชอบ
ที่ กิจกรรม คณะทำงาน/ผู้รับผิดชอบ วันเวลา 1 ประชุมเพื่อยกร่างและพัฒนามาตรฐานประกันคุณภาพภายในฯ จำนวน 4 ครั้ง กรรมการประกันคุณภาพภายในฯ จำนวน 10 คน ต.ค. 58 – ก.พ. 59 2 ประชุมเพื่อรับฟังแนวทางการประเมินและพัฒนามาตรฐาน จากประธานคณะปฏิรูประบบการประเมินและประกันคุณภาพภายในการศึกษา คณะทำงานปฏิรูประบบการประเมินและประกันคุณภาพการศึกษา คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในฯ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และนักวิชาการศึกษา สพฐ. รวมทั้งสิ้น 40 คน 9 ธ.ค. 58 3 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิพากษ์และจัดทำตัวอย่างการปฏิบัติ และแนวทางการประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานในรูปแบบใหม่ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และนักวิชาการศึกษา สพฐ. รวมทั้งสิ้น 40 คน 17–20 ม.ค.59 4 ประชุมรับฟังนโยบายจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และกำหนดแผน ระยะเวลาการดำเนินงานร่วมกันกับ สมศ. คณะทำงานปฏิรูประบบการประเมินและประกันคุณภาพการศึกษา ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และนักวิชาการศึกษา สพฐ. รวมจำนวน 20 คน 8 ก.พ. 59 5 ประชุมเพื่อจัดทำ Quality Code/ มาตรฐาน คณะกรรมการประกันคุณภาพภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับคณะกรรมการ สมศ. รวมจำนวน 28 คน ก.พ. 59

28 กระบวนการพัฒนามาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน คณะทำงาน/ผู้รับผิดชอบ
ที่ กิจกรรม คณะทำงาน/ผู้รับผิดชอบ วันเวลา 6 ประชุมเพื่อเสนอ Quality Code คณะกรรมการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา คณะกรรมการประกันคุณภาพภายใน สพฐ. และคณะกรรมการของ สมศ. รวมจำนวน 24 คน 16 ก.พ.59 7 ประชุมเพื่อปรับร่างมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ คณะกรรมการประกันคุณภาพภายใน สพฐ. คณะกรรมการ กพพ. และเจ้าหน้าที่ สมศ. รวมจำนวน 12 คน 18 ก.พ.59 8 ประชุมเพื่อเสนอร่างมาตรฐานและตัวบ่งชี้ต่อคณะกรรมการฯ คณะกรรมการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา คณะกรรมการประกันคุณภาพภายใน สพฐ. และคณะกรรมการของ สมศ. รวมจำนวน 35 คน 23 ก.พ.59 9 เสนอร่างมาตรฐานต่อคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 1 มี.ค.59 10 ประชุมพิจารณาร่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (จำนวน 2 ครั้ง) คณะที่ปรึกษาการปฏิรูปด้านการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา และผู้แทนคณะกรรมการประกันคุณภาพภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 31 มี.ค.59 และ 7 เม.ย.59 11 เสนอร่างมาตรฐานต่อคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานการศึกษาและหลักสูตร คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานด้านมาตรฐานการศึกษาและหลักสูตร และฝ่ายเลขานุการ รวมจำนวน 15 คน 21 ก.ค.59 12 เสนอร่างมาตรฐานฯ ต่อที่ประชุม กพฐ. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 26 ส.ค.59

29 (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา พ.ศ. 2559 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหาร สถานศึกษา มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล

30 (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในฯ พ.ศ. 2559
มาตรฐานที่ 1 มาตรฐานด้านผลการจัดการศึกษา คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ความสามารถในการอ่านเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตร พัฒนาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของผู้เรียน ความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงาน หรือการทำงานตามช่วงชั้น 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

31 (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในฯ พ.ศ. 2559
มาตรฐานที่ 2 มาตรฐานด้านการบริหารและจัดการศึกษา 2.1 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน การมีแผนพัฒนาวิชาการที่เน้นผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายและดำเนินการ อย่างเป็นรูปธรรม การมีแผนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ การมีการบริหารและการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ การมีแผนการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และการร่วมรับผิดรับชอบต่อผลการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

32 (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในฯ พ.ศ. 2559
มาตรฐานที่ 3 มาตรฐานด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3.1 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม การจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น การตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ มาตรฐานที่ 4 มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพภายใน 4.1 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล การใช้ระบบการประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น

33 การทดลองใช้ร่างมาตรฐานฯ และแนวทางการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ระยะที่ 4 (ส.ค.- ก.ย. 2559) การทดลองใช้ร่างมาตรฐานฯ และแนวทางการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 เขตพื้นที่ สถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย 300 แห่ง กรอบระยะเวลาทดลอง คือ สิงหาคม-กันยายน 2559 การดำเนินงานของเขตพื้นที่ คณะกรรมการประเมิน และสถานศึกษา ข้อสรุปที่ได้จากการทดลอง (วันที่ 26-๒๘ กันยายน 2559)

34 (ร่าง) รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
นำเสนอข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพได้ตามความเหมาะสม วิธีนำเสนอเป็นความเรียง ตารางประกอบความเรียง บรรยายประกอบแผนภูมิ รูปภาพ หรือกราฟ ฯลฯ ตามลักษณะของข้อมูล ใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย กระชับ สะท้อนคุณภาพตามมาตรฐาน สาระสำคัญของรายงานฯ แบ่งเป็น 4 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน ตอนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ตอนที่ 3 สรุปผลการพัฒนาและการนำไปใช้ ภาคผนวก

35 (ร่าง) โครงสร้างรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
ส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมินตนเองในภาพรวมของสถานศึกษา สรุปจุดเด่น จุดควรพัฒนา สรุปข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาในอนาคต ความต้องการและความช่วยเหลือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลครูและบุคลากร ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลงบประมาณ ข้อมูลชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน สรุปผลการประเมินปีที่ผ่านมาและข้อเสนอแนะ ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา ระดับคุณภาพของแต่ละมาตรฐาน กระบวนการพัฒนางาน (วิธีการทำงานที่ทำให้บรรลุมาตรฐาน) ผลการดำเนินงาน จุดเด่น จุดควรพัฒนา ส่วนที่ 4 ภาคผนวก หลักฐานข้อมูลสำคัญ เอกสารอ้างอิงต่างๆ

36 (ร่าง) โครงสร้างรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
ส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมินตนเองในภาพรวมของสถานศึกษา สรุปจุดเด่น จุดควรพัฒนา สรุปข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาในอนาคต ความต้องการและความช่วยเหลือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลครูและบุคลากร ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลงบประมาณ ข้อมูลชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน สรุปผลการประเมินปีที่ผ่านมาและข้อเสนอแนะ ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา ระดับคุณภาพของแต่ละมาตรฐาน กระบวนการพัฒนางาน (วิธีการทำงานที่ทำให้บรรลุมาตรฐาน) ผลการดำเนินงาน จุดเด่น จุดควรพัฒนา ส่วนที่ 4 ภาคผนวก หลักฐานข้อมูลสำคัญ เอกสารอ้างอิงต่างๆ

37 ระดับการปฏิบัติตามนโยบาย
การขับเคลื่อนนโยบาย: ข้อสังเกตบางประการ (Van meter and Van Horn, 1975) ระดับการปฏิบัติตามนโยบาย นโยบาย (ความชัดเจน ปฏิบัติได้ง่าย มีคุณค่าในการแก้ปัญหา) หน่วยปฏิบัติ (บรรยากาศองค์การตอบสนองการเปลี่ยนแปลง มีศักยภาพ) ผู้ขับเคลื่อนนโยบาย : Gatekeeper (มีภาวะผู้นำ มีองค์ความรู้) ผู้ปฏิบัติ (ยอมรับนโยบาย มีสมรรถนะในการปฏิบัติ) สภาพแวดล้อม (มีทรัพยากรและเวลาเพียงพอ มีความเข้าใจและให้ความร่วมมือการสนับสนุน และความชัดเจนจากหน่วยเหนือ

38 คุณภาพการศึกษา : ข้อสังเกตบางประการ
The Quality of an Education system cannot exceed the quality of its teachers The only way to improve outcomes (quality) is to improve instruction High performance (system) requires every child to succeed (McKinsey Report, 2007)


ดาวน์โหลด ppt ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google