สุขอนามัยงานผสมเทียมและโรคที่สำคัญในโคและ กระบือ โดย นายสัตวแพทย์สุพจน์ หนูปัทยา กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหาร โทร.085 - 2743936.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

โทร. ๐-๔๕๗๙-๕๐๖๑ “ สุขภาพดีวิถีไทย สมุนไพร ได้มาตรฐาน บริการประทับใจ”
รายงานการฝึกงานทางสัตวศาสตร์
ส่วนประกอบในร่างกาย หัว ใบหน้า ร่างกาย ปาก.
ข้อมูลสถานการณ์ ระบาดวิทยา พฤศจิกายน 2557 กลุ่มงานควบคุมโรค.
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดนครปฐม ประจำเดือน กรกฎาคม 2555 ดร.นพ.ถวัลย์ พบลาภ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม.
สรุปสถานการณ์การ ระบาดเพลี้ยแป้ง ระหว่างวันที่ สิงหาคม 2554.
ผู้วิจัย : นางธนิตา ขาวทอง วิทยาลัยอาชีวศึกษาบริหารธุรกิจวิทยา สงขลา
การขัดเกลาทางสังคมซ้ำเพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ผู้วิจัย นภัสวรรณ บุญประเสริฐ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎี
พญ. ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ
ทีมคลินิกเบาหวาน/ความดัน
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
โครเมี่ยม (Cr).
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สถาบันด้านปัจจัยการ ผลิตทางการเษตร ( ตลาดแรงงาน ) ศ.491 การวิเคราะห์การผลิต และนโยบายการผลิตสินค้าเกษตร รศ. ภราดร ปรีดาศักดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
แผนการตรวจรับรอง สถานที่ทำงานน่าอยู่ น่า ทำงาน โดยศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี วันเวลาหน่วยงานทีมประเมิน 11 กค.59 เช้า - รพท. นภ. บ่าย สสอ. เมือง ศูนย์อนามัย.
หลักเกณฑ์วิธีที่ดีในการผลิตอาหาร
วัณโรคปอด สาเหตุการเกิดโรค วัณโรคการติดต่อได้อย่างไร การรักษาวัณโรค
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
เพลี้ยไฟมะม่วง ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืช Plant Protection Sakaeo
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
ตำรับยาเหลืองปิดสมุทร
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
สรุปแนวทางการดำเนินงานตามกลุ่มวัย
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
สรุปผลการดำเนินงานวิจัย สวส. ปี 2559
ผลการดำเนินงาน การบริหารจัดการประเมิน และดูแลผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน
ยาที่ใช้ในโรคไตเรื้อรัง (Pharmacotherapy in CKD) ประกอบการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพพยาบาล หน่วยปฐมภูมิ เขต 3 ภญ.จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม.
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการน้ำดื่ม คณะแพทยศาสตร์
การพัฒนาระบบการดูแลผู้รับบริการเพื่อตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ด้วยความห่วงใยจากฝ่ายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย
โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนบน Autosome
Delirium พญ. พอใจ มหาเทพ 22 มีนาคม 2561.
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า
SMS News Distribute Service
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
การผุพังอยู่กับที่ โดย นางสาวเนาวรัตน์ สุชีพ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
ประชุม คปสจ.ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙ MOTTO – กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
การดำเนินงานเชิงรุก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
บทที่ 3 โรงเรือนและอุปกรณ์โคเนื้อ
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
หัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ ปั๊มหัวใจ ทำอย่างไร ?
รู้เรื่องยา แท้งปลอดภัย
สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ข้อมูล ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2559
ชัยพฤกษ์รัตนาธิเบศร์ - วงแหวน
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
นวัตกรรม ขวดเก็บ Sputum culture
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
บทที่ 8 การจดบันทึกและทำบัญชี
นำเสนอโดย ABC DEFG คณะเกษตรศาสตร์สาขา สัตวศาสตร์
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

สุขอนามัยงานผสมเทียมและโรคที่สำคัญในโคและ กระบือ โดย นายสัตวแพทย์สุพจน์ หนูปัทยา กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหาร โทร.085 - 2743936 ส

องค์ประกอบการผสมเทียม 1.เจ้าหน้าที่ผสมเทียมที่มีความรู้ความสามารถ เน้นเทคนิคถูกต้องและสะอาด 2.สัตว์เพศเมียที่มีความสมบูรณ์พันธุ์ดี อยู่ในระหว่างเป็นสัด 3.น้ำเชื้อคุณภาพดีจากสัตว์พ่อพันธุ์ที่ผ่านการตรวจโรคต้องห้ามทั้งหลาย และผ่านกระบวนการผลิตเป็นน้ำเชื้อเพื่อการผสมเทียมตามมาตรฐานกรมปศุสัตว์ 4.เจ้าของสัตว์ที่ต้องสังเกตอาการเป็นสัด ได้อย่างถูกต้อง เป็นสัดต้องยืนนิ่งจริงๆ

สุขอนามัยงานผสมเทียม สุขอนามัยงานผสมเทียม คือ การที่เจ้าหน้าที่ผสมเทียมจัดการดูแลงานผสมเทียมได้อย่างเหมาะสม ถูกหลักวิชา กล่าวคือ ผสมเทียมด้วยเทคนิคที่ถูกต้องและ สะอาด เป็นผลให้งานประสบผลสำเร็จ คือ นำน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ที่มีคุณภาพดี ปล่อยที่ตำแหน่งที่ถูกต้อง แล้วไม่มีผลแทรกซ้อนที่ก่อความเสียหายให้กับสัตว์แม่พันธุ์ หากสัตว์เพศเมียมีความสมบูรณ์พันธุ์ดี จะเกิดการตั้งท้องและให้ลูกได้ในที่สุด

สุขอนามัยและโรคในระบบสืบพันธุ์ของโค เนื้อหาวิชา -โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ -การควบคุมคุณภาพและป้องกันโรคติดเชื้อในน้ำเชื้อแช่แข็ง -การดูแลป้องกันโรคติดต่ออื่นๆในการปฏิบัติงาน -ปัญหาการผสมติดยาก -โรคที่แพร่กระจายโดยพนักงานผสมเทียมและการป้องกัน

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) -เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ บรูเซลลา (Brucella spp.) -โรคระบาดในโค กระบือ แพะ แกะ สุกร และติดต่อในคน -เชื้อบรูเซลลาอะบอตัส(Brucella abortus)พบในโค กระบือ -เชื้อบรูเซลลา เมนลิเทนซิส(Brucella melitensis)พบในแพะ แกะ

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) -เชื้อบรูเซลลา ซูส(Brucella suis)พบในแพะ แกะ -จะเกิดปัญหาผสมติดยาก เป็นหมัน -แท้งลูกในช่วงกลางและช่วงท้ายของการตั้งท้อง -ลูกที่คลอดออกมาไม่แข็งแรง

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) การติดต่อ -โดยการผสมพันธุ์ -สัมผัสสิ่งขับออกมาทางช่องคลอดของตัวเมีย -น้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ -การกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อปน -การรีดนม -เชื้อเข้าสู่ร่างกายจะไปตามกระแสเลือดแล้วไปที่ต่อมน้ำเหลือง แล้วจึงกระจายไปที่เต้านม อวัยวะสืบพันธุ์

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) อาการ -แม่โคที่ตั้งท้องจะแท้งลูกในเดือนที่ 4 –7 -การแท้งมักจะเกิดในท้องแรกหรือท้องที่สองหลังจากนั้นแม่โคจะปรับตัวได้อาจจะไม่พบการแท้งในท้องต่อไป แต่ลูกที่เกิดมักจะอ่อนแอ น้ำหนักแรกคลอดน้อย หากเลี้ยงรอดจะเป็นตัวแพร่โรคในฝูง

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) อาการ -แม่โคหลังการคลอดลูกพบปัญหารกค้าง มีจุดเนื้อตายบนรก มดลูกอักเสบ -แม่โคพบปัญหาการผสมติดยาก -พ่อพันธุ์ลูกอัณฑะบวมอักเสบข้างใดข้างหนึ่ง ข้ออักเสบ เป็นหมัน

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) การวินิจฉัย -สังเกตจากอาการ -ตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ -คนที่ติดเชื้อโรคนี้จะมีอาการไข้ ขึ้นๆลงๆ เหงื่อออกมากในเวลากลางคืน ปวดเมื่อยตามข้อและกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ตัวเหลืองซีด

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) การป้องกันและการรักษา -มักไม่ได้ผลสังเกตจากอาการ -การป้องกันฉีดวัคซินบรูเซลโลซิสชนิด 19 (สเตรน 19) ในลูกโคเพศเมีย อายุ 3-8 เดือน ตัวละ 2 ซีซี ใต้ผิวหนัง คุ้มโรคได้ 6 ปี -ตรวจโรคโคทุกตัวทุก 6 เดือน -คัดทิ้งตัวที่เป็นโรค ทำลายลูกที่แท้ง พร้อมรก ถุงน้ำคร่ำ โดยการเผาหรือฝังแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคแคมไพโลแบคเทอริโอซิส (Campylobacteriosis) -ชื่อเดิม วิบริโอซิส (Vibriosis) -เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ แคมไพโลแบคเตอร์ ฟีตัส (Campylobacter fetus var. venerealis) -ทำให้เกิดเป็นหมันชั่วคราวในโค -เกิดการแท้งประมาณ 10% ในระยะการตั้งท้อง 3-8 เดือน -พ่อโคเชื้อโรคจะอยู่บริเวณเยื่อบุลึงค์ ส่วนลึกของหนังหุ้มลึงค์ -เชื้อเข้าสู่อวัยวะสืบพันธุ์ตัวเมียโดยการผสมพันธุ์กับพ่อโคที่เป็นโรค

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคแคมไพโลแบคเทอริโอซิส (Campylobacteriosis) -โคเพศเมียที่เป็นโรคจะทำให้พ่อพันธุ์ที่ไม่เป็นโรคติดโรค -โคเพศเมียที่ติดเชื้อโรคนี้จะเกิดเยื่อบุมดลูกอักเสบ เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต -โคมีการกลับสัดหลังการผสมเพราะคัพภะตายโดยไม่มีอาการแท้งให้เห็น -โคตั้งท้องเชื้อจะทำลายตุ่มเกาะรกและเข้าไปอยู่ในตัวอ่อน -พ่อโคมักไม่แสดงอาการป่วยออกมาให้เห็น น้ำเชื้อปกติ -ความสมบูรณ์พันธุ์ของแม่โคและโคสาวจะลดลง

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคแคมไพโลแบคเทอริโอซิส (Campylobacteriosis) -อัตราการผสมติอของฝูงจะต่ำกว่า 5% -วงจรการเป็นสัดจะผิดปกติมีระยะห่างกว่าปกติ -พบหนองออกมาจากช่องคลอดเพราะช่องคลอดอักเสบหรือมดลูกอักเสบ -อาจพบน้ำเมือกมีสีขุ่นๆ

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคแคมไพโลแบคเทอริโอซิส (Campylobacteriosis) การป้องกัน -หลีกเลี่ยงการนำสัตว์ใหม่เข้าฝูง -ตรวจสัตว์ก่อนที่จะนำเข้าฝูงทุกครั้ง -ฟาร์มที่เกิดโรคใช้การผสมเทียมแทนการผสมโดยพ่อพันธุ์อย่างน้อย 2 ปี -มีการจัดการฝูงที่ดี โคตัวเมียไม่เป็นโรคใช้พ่อพันธุ์ที่ผ่านการตรวจโรคแล้วคุมฝูง โคที่ติดเชื้อใช้น้ำเชื้อที่ปลอดโรคผสมเทียม แยกสองกลุ่มให้ห่างกัน โคที่เป็นโรคจะหายเองย่างช้าๆ เชื้อโรคจะอยู่ในมดลูกได้นาน -ตรวจสุขภาพสัตว์ว่าปลอดโรคนี้โดยเฉพาะพ่อพันธุ์

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคบลูทัง (Blue tongue) -เกิดในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ได้แก่ แกะ โค แพะ กวาง แพะภูเขา และกวางแอนติโลบ -พาหะนำโรค ได้แก่ แมลงดูดเลือด เช่น ริ้นและยุง สาเหตุ -เกิดจากบลูทังไวรัส -รายงานครั้งแรกพบในแกะปี ค.ศ. 1905 ในประเทศแอฟริกาใต้ แกะมีอาการลิ้นจุกปากสีม่วง และมีรอยโรคในปาก

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคบลูทัง (Blue tongue) กระบวนการเกิดโรค -บลูทังไวรัสเข้าสู่ตัวสัตว์ ไวรัสจะไปตามกระแสเลือด เข้าสู่เม็ดเลือดขาว ต่อมาเข้าสู่เม็ดเลือดแดงและอยู่นาน 6 สัปดาห์ -สัตว์ป่วยมีไข้สูง -แกะและสัตว์ป่าเคี้ยวเอื้องพบรอยโรคที่ปาก และ -รอยโรคพบน้อยมากในโค ผลต่อระบบสืบพันธุ์ -พ่อโคที่มีการติดเชื้อไม่แสดงอาการผิดปกติ -ไวรัสถูกขับออกมากับน้ำเชื้อได้ระยะหนึ่งระหว่าง 8-16 วัน -แม่โคที่ผสมด้วยน้ำเชื้อที่มีไวรัสปะปนจะไม่แสดงอาการป่วย -แม่โคที่ติดเชื้อตั้งท้องประมาณ 125 วัน สมองของลูกโคจะมีลักษณะผิดปกติ เช่น สมองบวมน้ำ

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคทริโคโมเนียซิส (Tricomoniasis) สาเหตุ -เชื้อโปรโตซัว ชื่อ ทริโคโมนาส ฟีตัส (Tricimonas fetus) การติดต่อ -เชื้ออาศัยอยู่บริเวณเยื่อเมือกของลึงค์และผนังหุ้มลึงค์ ส่วนปลายท่อปัสสาวะของพ่อโค -เชื้อจะเข้าสู่โคเพศเมียโดยการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ เชื้อจะเข้าสู่ช่องคลอดในระยะแรก หลังจากนั้นจะแบ่งตัวและแพร่เข้าสู่มดลูก ท่อนำไข่ ผลต่อระบบสืบพันธุ์ -โคเพศเมียเกิดมดลูกอักเสบ มดลูกเป็นหนอง คัพภะตายในระยะต้นๆของการตั้งท้อง แท้งลูกในระหว่าง 2 - 4 เดือนแรก

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคทริโคโมเนียซิส (Tricomoniasis) -แม่โคจะมีการอักเสบของช่องคลอด อาจพบหนองข้นไหลออกมาจากช่องคลอด -พ่อโคไม่แสดงอาการให้เห็น -เชื้อนี้ไม่ขัดขวางต่อขบวนการปฏิสนธิ แต่เนื่องจากปีกมดลูกอักเสบทำให้ตัวอ่อนฝังตัวไม่ได้และเจริญต่อไปไม่ได้ -เชื้อจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 50 วันแต่แม่โคจะผสมไม่ติดนานถึง 2 – 6 เดือน -การติดเชื้ออาจจะมีการติดครั้งแรกคั้งเดียวหรือซ้ำหลายครั้งขึ้นกับการจัดการ -แม่โคสามารถสร้างภูมิต้านทานและขจัดเชื้อจากช่องสืบพันธุ์ได้เอง และผสมติดมีลูกได้ภายหลัง

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคทริโคโมเนียซิส (Tricomoniasis) การป้องกัน -ใช้วิธีการผสมเทียม -ตรวจหาโคตัวที่มีเชื้อเพื่อทำการรักษา -โคตัวเมียเป็นโรคงดผสมพันธุ์ -พ่อโคหนุ่มที่จะใช้ผสมธรรมชาติต้องตรวจโรคใช้ตัวที่มีสุขภาพดี -แม่โคที่มีปัญหาคัดทิ้ง

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคไอบีอาร์ (IBR) -เกิดจากเชื้อไอบีอาร์ไวรัส -โคที่ป่วยจะเป็นพาหะนำโรคไปตลอดชีวิต -พ่อโคที่ติดโรคจะตรวจพบเชื้อโรคได้ในน้ำเชื้อเมื่อได้รับการฉีดยากดภูมิต้านทาน หรือ ในขณะที่โคอยู่ในภาวะเครียด -พ่อโคหนุ่มที่จะใช้ผสมธรรมชาติหรือผลิตน้ำเชื้อต้องตรวจว่าปลอดโรคนี้ทุกๆ 6 เดือน -พ่อพันธุ์ตรวจพบภูมิคุ้มต่อไอบีอาร์ไวรัสต้องถูกคัดออก

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคไอบีอาร์ (IBR) -ป้องกันพ่อพันธุ์ไม่ให้ติดโรคต้องแยกเลี้ยงขังเดี่ยว -พ่อโคอาจไม่มีอาการผิดปกติ -แม่โคที่ได้รับการผสมพันธุ์กับพ่อโคที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการขึ้นกับปริมาณไวรัสในน้ำเชื้อ หรือสภาวะภูมิคุ้มโรคของแม่โค -แม่โคอาจแสดงอาการ ช่องคลอดอักเสบ มดลุกอักเสบ ผสมไม่ติด รอบการเป็นสัดสั้นลง อาการและความรุนแรงของโรคไม่แน่นอน

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคบีวีดี (BVD) -เกิดจากกเชื้อบีวีดีไวรัส -เป็นโรคที่เกิดแบบเฉียบพลันอาการคล้ายโรครินเดอร์เปสต์ -ตอนแรกโคป่วยจะมีไข้สูง(105 –108 องศาฟาเรนไฮท์) -มีแผลเลือดออกตลอดเยื่อบุทางเดินอาหาร -พบแผลที่ปาก จมูก ลิ้น -น้ำตาไหลและป่วยเรื้อรัง

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคบีวีดี (BVD) -โรคนี้ปัจจุบันมีการระบาดทั่วโรคทำให้เกิดอาการหลายชนิด -อาการป่วยมักไม่ชัดเจนเหมือนการระบาดแบบเฉียบพลัน -โคป่วยอาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการให้เห็น -โคที่ไวต่อการติดเชื้อได้แก่โครุ่นสาวเพราะภูมิคุ้มกันจากการกินนมน้ำเหลืองจากแม่จะลดลง -ปัญหาทางระบบสืบพันธุ์ เช่น การผสมติดยากเพราะตัวอ่อนตายในระยะต้นๆ แท้งลูก เป็นลูกกรอก

โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ โรคบีวีดี (BVD) -เชื้อไวรัสบีวีดีสามารถแพร่ผ่านรกได้ ทำให้มีผลต่อการตั้งท้อง เช่น ลูกอาจตายและแท้งออกมาเมื่อติดเชื้อในระยะการตั้งตั้ง 3 เดือนแรก -เกิดความผิดปกติของสมองหรือเกิดมาไม่แข้งแรงถ้ามีการติดเชื้อในระยะ 3 – 6 เดือนของการตั้งท้อง

การควบคุมคุณภาพและป้องกันการติดเชื้อในน้ำเชื้อแช่แข็ง -พ่อพันธุ์รีดเก็บน้ำเชื้อต้องเป็นพ่อพันธุ์ดี รูปร่างลักษณะดี ปลอดโรคที่ปนเปื้อนทางน้ำเชื้อ -กระบวนการรีดเก็บน้ำต้องถูกต้องตามระเบียบของกรมปศุสัตว์ -อุปกรณ์ที่รีดน้ำเชื้อต้องทำความสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อก่อนและหลังการใช้งาน -อุปกรณ์ที่รีดน้ำเชื้อใช้เฉพาะพ่อโคแต่ละตัว -ผู้รีดน้ำเชื้อต้องใส่ถุงมือยางและเปลี่ยนทุกครั้ง -ห้องปฏิบัติการน้ำเชื้อต้องแยกเป็นสัดส่วน สะอาดและปกปิดมิดชิด

การควบคุมคุณภาพและป้องกันการติดเชื้อในน้ำเชื้อแช่แข็ง -พ่อโคที่เป็นตัวยืนล่อต้องผ่านการตรวจโรค -พ่อโคที่จะนำเข้ามาใหม่ต้องกักตรวจโรคอย่างน้อย 30 วัน -การควบคุมการปนเปื้อนเชื้อโรคอื่นๆ เช่น Mycoplasma Ureaplasma Hemophilus somnus Campylobacter ให้เติมยาปฏิชีวนะ เช่น เจนตามัยซิน ไทโลซิน ลินโคมัยซิน สเปคโตมัยซิน ลงในสารละลายเจือจางน้ำเชื้อ

การควบคุมคุณภาพและป้องกันการติดเชื้อในน้ำเชื้อแช่แข็ง โรคที่สำคัญในพ่อโคที่เป็นพ่อพันธุ์ต้องปลอดจากโรค ดังนี้ วัณโรค ผลลบอย่างน้อย 60 วันโดยวิธีฉีดน้ำยาทดสอบที่โคนหาง โรคแท้งติดต่อ ผลลบอย่างน้อย 30 วัน โดยวิธีทดสอบเลือด โรคเลปโตสไปโรซีส ผลลบอย่างน้อย 60 วัน โดยวิธีทดสอบระดับภูมิคุ้มกัน

การควบคุมคุณภาพและป้องกันการติดเชื้อในน้ำเชื้อแช่แข็ง โรคที่สำคัญในพ่อโคที่เป็นพ่อพันธุ์ต้องปลอดจากโรค ดังนี้ 4. โรคบีวีดี ผลลบอย่างน้อย 30 วัน โดยวิธีเพาะเชื้อไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยง 5. โรคแคมไพโรแบคเตอร์ ผลลบจากการเพาะเชื้อแบคทีเรียจากตัวอย่างผนังหุ้มลึงคืพ่อโค ตรวจทุก 1 ปี 6. โรคไอบีอาร์ ตรวจทุก 1 ปี ตรวจจากเลือดหรือหาเชื้อไวรัสจากน้ำเชื้อ

การควบคุมคุณภาพและป้องกันการติดเชื้อในน้ำเชื้อแช่แข็ง โรคที่สำคัญในพ่อโคที่เป็นพ่อพันธุ์ต้องปลอดจากโรค ดังนี้ 7. โรคทริโคโมเนียซีส ผลลบจากการเพาะเลี้ยงโปรโตซัว เก็บตัวอย่างจากผนังหุ้มลึงค์ ตรวจทุก 1 ปี 8. โรควัณโรคเทียมหรือพาราทูเบอร์คิวโลซิส ตรวจทุก 1 ปี โดยตรวจจากเลือดหรือเพาะเชื้อจากมูลโค 9. โรคบลูทัง ตรวจจากเลือด

การดูแลป้องกันโรคติดต่ออื่นๆที่สำคัญในการปฏิบัติงาน โรคติดต่อที่สำคัญในโค โรคปากและเท้าเปื่อย โรคคอบวม โรคไข้เห็บ โรคอะนาพลาสโมซิส การเป็นพิษจากยูเรีย

ปัญหาการผสมติดยาก สาเหตุการผสมไม่ติด การไม่แสดงอาการเป็นสัด เช่น รังไข่ไม่ทำงาน แม่โคได้รับการผสมเทียมในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม ปัญหาการติดเชื้อของมดลูกหลังคลอดและการสูญเสียตัวอ่อนในระยะต้นจากโรคติดเชื้อ ความไม่สมบูรณ์ของแม่โคจากการเลี้ยงดูด้านอาหารและการจัดการ ปัญหาด้านน้ำเชื้อ

ปัญหาการผสมติดยาก การไม่เป็นสัด หรือเป็นสัดเงียบ หรือไม่แสดงอาการเป็นสัด เป็นโคฟรีมาตินหรือแฝดผู้เมีย โคมักไม่มีมดลูกหรือรังไข่ ลักษณะภายนอกปกติแต่เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์โคจะไม่เป็นสัด ตรวจพบโดยการล้วงตรวจอวัยะสืบพันธุ์และตรวจโครโมโซม โคสาวได้รับอาหารไม่สมบูรณ์ หรือแม่โคหลังการคลอดไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแล เกิดปัญหารังไข่ไม่ทำงาน ไม่สร้างฟอลลิเคิล คอร์ปัสลูเตียม ความผิดปกติของรังไข่ เช่น การเกิดพยาธิถุงน้ำที่รังไข่

ปัญหาการผสมติดยาก การไม่เป็นสัด หรือเป็นสัดเงียบ หรือไม่แสดงอาการเป็นสัด การเกิดพยาธิถุงน้ำที่รังไข่ โคจะแสดงอาการ 2 ลักษณะ คือ บางตัวแสดงอาการเป็นสัดบ่อยครั้งทำให้รอบการเป็นสัดสั้นลง หรือ บางตัวไม่แสดงอาการเป็นสัด อาจพบแม่โคมีอวัยวะเพศบวมขยายใหญ่ โคนหางยกสูงสาเหตุโน้มนำได้แก่ กรรมพันธุ์ การขาดอาหาร ต้องดูบันทึกการผสมเทียมจะพบรอบการเป็นสัดผิดปกติ แจ้งนายสัตวแพทย์ตรวจวินิจฉัยเพราะบางรายแก้ไขได้ แต่บางรายไม่สามารถแก้ไขได้

ปัญหาการผสมติดยาก แม่โคได้รับการผสมเทียมในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม ปัญหานี้ต้องแก้ไขโดยการวางงานเป็นระบบ เช่น กำหนดเวลาการรับแจ้งผสมเทียม บันทึกการผสมเทียมทุกครั้ง วางแผนการออกบริการผสมเทียม ไม่ผสมในช่วงที่เร็วเกินไป หรือช้าเกินไป

ปัญหาการผสมติดยาก ปัญหาการติดเชื้อของมดลูกหลังการคลอดและสูญเสียตัวอ่อนในระยะต้นจากการติดเชื้อ เข้มงวดด้านสุขอนามัย เครื่องมืออุปกรณ์ต้องสะอาดเก็บรักษาอย่างดี ป้องกันฝุ่นละออง การจับพลาสติกชีท หรือแซนนิทารีชีทต้องไม่จับบริเวณปลายที่จะต้องสอดเข้าคอมดลูก การใช้แซนิทารีชีทจะช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนเชื้อยูเรียพลาสมา และแบคทีเรียอื่นๆได้ การติดเชื้อมดลูกหลังคลอดจะมีเมือกขุ่นข้นหรือเป้นหนองออกมาจากช่องคลอดรีบแจ้งนายสัตวแพทย์รักษา

ปัญหาการผสมติดยาก ความไม่สมบูรณ์ของแม่โค สังเกตความสมบูรณืของร่างกายโค โคที่ผอมจนมองกระดูกเชิงกรานชัดมักจะมีปัญหาการผสมซ้ำ การขาดแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายส่งผลถึงความสมบูรณ์พันธุ์ แนะนำให้เกษตรกรแก้ไขด้านการจัดการ

ปัญหาการผสมติดยาก ปัญหาด้านน้ำเชื้อ เก็บรักษาน้ำเชื้อให้ถูกวิธี วางแผนการนำน้ำเชื้อไปใช้ผสมเทียม การละลายน้ำเชื้อถูกวิธี การหยิบน้ำเชื้อถูกวิธี

โรคที่แพร่กระจายโดยพนักงาน ผสมเทียมและการป้องกัน โรคยูเรียพลาสโมซิส (Ureapasmosis) เกิดจากเชื้อยูเรียพลาสมา ไดเวอซุม พบเชื้อที่บริเวณปากช่องคลอดและแอ่งคลิตอริส เชื้อเข้ามดลูก ทำให้มดลูกอักเสบ ผสมไม่ติด ตัวอ่อนตายในระยะต้น โรคแบ่งเป็น 2 ชนิด ชนิดเฉียบพลัน พบพนองเหนียว เปรอะเปื้อนที่หาง และขนบริเวณปากช่องคลอดหลังการผสมเทียม 3 – 6 วัน หนองจะไหลติดต่อกัน 3 – 10 วัน เยื่อบุช่องคลอดบวมแดง มีเม็ดตุ่มใส กระจายอยู่รอบๆแอ่งคลิตอริสหรือกระจายไปทั่วปากช่องคลอดด้านบน

โรคที่แพร่กระจายโดยพนักงาน ผสมเทียมและการป้องกัน โรคยูเรียพลาสโมซิส (Ureapasmosis) ชนิดเรื้อรัง เป็นการติดเชื้อนาน จะไม่พบหนองไหล เยื่อบุช่องคลอดจะบวม มีน้ำหล่อลื่นคล้ายเมือกอาจพบตุ่มซีสเป็นกลุ่มบริเวณผนังปากช่องคลอด การป้องกันโรคโดยการใช้แซนนิทารีชีทสวมทับด้านนอกปีนฉีดน้ำเชื้อ

โรคที่แพร่กระจายโดยพนักงาน ผสมเทียมและการป้องกัน โรคลิวโคซีส (Bovine leucosis) เกิดจากเชื้อโบวายลิวโคซิสไวรัส มีผลทำให้เม็ดเลือดขาวเปลี่ยนไปและเกิดเป็นมะเร็งของระบบน้ำเหลือง อาการผิดปกติจะตรวจคลำพบว่าต่อมน้ำเหลืองขยายใหญ่ การขยายของต่อมน้ำเหลืองที่กระเพาะและลำไส้จะขัดขวางการเคลื่อนตัวของอาหาร ทำให้เกิดการอุดตัน โคจะผอมลงก่อนตาย

โรคที่แพร่กระจายโดยพนักงาน ผสมเทียมและการป้องกัน โรคลิวโคซีส (Bovine leucosis) มี 4 แบบ แบบที่ 1 เกิดในโคอายุมากกว่า 3 ปี สภาพจะทรุดโทรม น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลืองตามตัวขยายใหญ่ แบบที่ 2 พบได้ไม่บ่อยจะเกิดในโคอายุ 1 –2 ปี มีการบวมขยายใหญ่ของคอ แบบที่ 3 พบบ่อยในโคอายุเฉลี่ย 6 เดือน(แรกเกิดถึง 2 ปี) จะพบการขยายใหญ่ของต่อมน้ำเหลืองทั่วตัว แบบที่ 4 พบในโคอายุ 1.5 – 3 ปี พบน้อยมาก ผิวหนังจะมีลักษณะคล้ายหูด

โรคที่แพร่กระจายโดยพนักงาน ผสมเทียมและการป้องกัน โรคลิวโคซีส (Bovine leucosis) การติดต่อของโรค แมลงดูดเลือด ได้แก่ เหลือบ ดูดเลือดโคป่วยแล้วไปดูดโคไม่ป่วยแพร่ไวรัสซึ่งอยู่ในเม็ดเลือดขาวไปสู่โคตัวอื่นได้ เลือด จากการศึกษาพบว่าน้ำลายและน้ำมูกไม่เป็นสื่อในการติดโรค การตัดเขาหรือการฉีดวัคซีน การฉีดยา เกิดจากการใช้เครื่องมือ ผลการล้วงคลำจะเกิดชอกช้ำของผนังทวารหนักและมีเลือดออกในบางราย การใช้ถุงมือล้วงอันเดียวล้วงโคซ้ำหลายๆตัว อาจทำให้โรคแพร่จากโคป่วยไปโคตัวอื่นได้

โรคที่แพร่กระจายโดยพนักงาน ผสมเทียมและการป้องกัน โรคลิวโคซีส (Bovine leucosis) การติดโรคผ่านรกในโคขณะตั้งท้อง การกินนมไม่ควรนำนมจากแม่โคที่เป็นเต้านมอักเสบไปเลี้ยงลูกโคเพราะมีเม็ดเลือดขาวมาก ผลต่อระบบสืบพันธุ์ พ่อโคที่ติดเชื้อไม่มีความผิดปกติของน้ำเชื้อและตัวอสุจิ