งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วัณโรคปอด สาเหตุการเกิดโรค วัณโรคการติดต่อได้อย่างไร การรักษาวัณโรค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วัณโรคปอด สาเหตุการเกิดโรค วัณโรคการติดต่อได้อย่างไร การรักษาวัณโรค"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วัณโรคปอด สาเหตุการเกิดโรค วัณโรคการติดต่อได้อย่างไร การรักษาวัณโรค
วัณโรค คืออะไร เป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ ที่เป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย โดยมากมักเป็นที่ปอด และเป็นที่ปอดข้างหนึ่งก่อนแล้วลามไปอีกข้างหนึ่ง ผู้ป่วยวัณโรคปอดในระยะแพร่เชื้อ 1 คน สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ คน ถ้าไม่ได้รับการรักษาภายในระยะเวลา 1-1½ ปี จะมีอัตราการตายสูงถึง ร้อยละ30-50 ภายในระยะเวลา 5 ปี วัณโรคเป็นโรคที่ร้ายแรง ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องทำให้จะหายจากโรค ได้ สาเหตุการเกิดโรค วัณโรคการติดต่อได้อย่างไร วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อมัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลสิส ที่มีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ เชื้อวัณโรคจะมีอยู่ในปอดของผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการรักษา เมื่อผู้อยู่ใกล้ชิดสูดหายใจเอาเชื้อวัณโรคเข้าไปสู่ร่างกาย ทำให้ติดเชื้อและป่วยเป็นวัณโรคได้ ผู้ป่วยวัณโรคปอด จะมีเชื้อวัณโรคอยู่ในปอดเมื่อผู้ป่วยไอ จาม โดยไม่ปิดปาก ปิดจมูก หรือบ้วนเสมหะ เชื้อวัณโรคจะออกมากับละอองเสมหะหรือน้ำลาย ละอองขนาดเล็กๆจะลอยอยู่ ในอากาศ หากผู้ใกล้ชิดสูดหายใจเอาเชื้อวัณโรคเข้าไปในปอด เชื้อวัณโรคจะเข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคได้ เชื้อวัณโรค อาการสำคัญของวัณโรค ไอเรื้อรังติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ ไอมีเสมหะปนเลือด อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไอแห้งๆ หรือ ไอมีเสมหะ มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่าย เหงื่อออกมากตอนกลางคืน อ่อนเพลีย มักเป็นตอนเช้ามากกว่า ตอนบ่าย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด การวินิจฉัยโรควัณโรค การตรวจเสมหะด้วยวิธีย้อมเชื้อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยเก็บเสมหะตอนเช้าส่งตรวจ 2 ตัวอย่าง การถ่ายภาพรังสีทรวงอก การเพาะเชื้อวัณโรคจากเสมหะ การทดสอบทูเบอร์คูลิน การรักษาวัณโรค หลักในการรักษาวัณโรค วัณโรครักษาให้หายขาดได้ โดยใช้ยา แต่ต้องกินยาครบตามมาตรฐานการรักษา มิฉะนั้นจะเกิดอาการ “เชื้อดื้อยา” ในอดีตใช้เวลารักษานาน 18 เดือนถึง 2 ปี ในปัจจุบันมียาที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด และใช้ระยะเวลาในการรักษาสั้นลงเพียง 6-9 เดือน ต้องใช้ยาอย่างน้อย 3-4 ชนิดพร้อมกัน ต้องใช้ยาในขนาดที่เพียงพอ ผู้ป่วยต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอ ระยะเวลาที่กินยาต้องครบตามมาตรฐานการรักษา ชนิดของยาที่ใช้ในการรักษาวัณโรคในปัจจุบัน การรักษาวัณโรค มี 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นระยะเข้มข้นของการรักษารักษา มีจุดประสงค์เพื่อฆ่าเชื้อวัณโรค ที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว โดยการใช้ยารวมกัน 3-4 ชนิด ระยะเวลา 2-3 เดือน ระยะที่ 2 เป็นระยะต่อเนื่อง การรักษาในระยะนี้ มีจุดประสงค์เพื่อฆ่าเชื้อวัณโรคที่มีการแบ่งตัวช้า ป้องกันการกลับเป็นใหม่ของโรคมีการลดชนิดของยาลง 1-2 ชนิด รักษาต่อเนื่องจากระยะแรก 4-9 เดือน ไอโซไนอาสิด ไรแฟมบิซิน แอธแธมบูทอล ไพราซินาไมด์ สเตร็บโตมัยซิน การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นวัณโรค กินยาตามชนิดและขนาดที่แพทย์สั่งสม่ำเสมอจนครบกำหนด สามารถกินยารักษาวัณโรคร่วมกับยาอื่นๆได้ รับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ อาหารประเภทไข่ นม ผัก และผลไม้ เป็นประจำทุกวันจะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค เมื่อกินยาไปประมาณ 2 สัปดาห์ อาการไอ และอาการต่างๆ จะลดลง รู้สึกว่าอาการดีขึ้น แต่เชื้อวัณโรคยังไม่หมดไป ไม่ควรหยุดยากินเอง ควรงดเหล้า บุหรี่ และยาเสพติด เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำลายสุขภาพ ให้เสื่อมโทรมและทำให้ประสิทธิภาพการรักษาลดลง ปิดปากและจมูก เวลาไอหรือจาม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น การสังเกตอาการข้างเคียงจากยา เช่น ผื่นคัน ตัว ตาเหลือง หูอื้อ วิงเวียนศีรษะ ตามัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร มี อาการชาปลายมือ ปลายเท้า ปวดตามข้อต่างๆ ถ้ามีอากาให้รีบ ปรึกษาแพทย์ทันที ไม่ควรหยุดยาเอง เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยน ยาให้ เปิดประตูหน้าต่างห้องนอน จัดบ้าน ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องถึง นำเครื่องนอนออกผึ่งแดดสัปดาห์ละครั้ง บ้วนเสมหะลงในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด ทำลายเสมหะโดยการเผา หรือฝังหรือทิ้งลงส้วมใช้น้ำราดไม่ควรทิ้งลงถังขยะ เพราะอาจเกิดการฟุ้งกระจายเชื้อได้ การป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นวัณโรค สร้างเสริมความต้านทานของร่างกาย รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยวัณโรคที่อยู่ในบ้าน ให้กินยาสม่ำเสมอ ไม่ขาดยา จนครบมาตรฐานการรักษา พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการ ทำงานหนักและอด นอน เพราะจะทำให้อาการ ของโรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ออกกำลังกายได้ พอควร แต่ไม่ควรหักโหม ถ้ามีอาการสงสัยวัณโรค เช่น ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ ไอมีเลือดออก มีไข้ต่ำๆ น้ำหนักลดเบื่ออาหาร ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจเสมหะและเอกซเรย์ปอด ไปตรวจพบแพทย์และรับยาตามนัดทุกครั้ง จัดสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยวัณโรค ผู้ที่อยู่บ้านเดียวกับผู้ป่วยวัณโรคปอด ควรได้รับการตรวจ เสมหะและเอกซเรย์ปอด สร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อวัณโรค โดยการฉีดวัคซีนบีซีจี ในเด็กอายุ 0-1 ปี วิไลลักษณ์ พิมรินทร์ ห้องตรวจวัณโรค


ดาวน์โหลด ppt วัณโรคปอด สาเหตุการเกิดโรค วัณโรคการติดต่อได้อย่างไร การรักษาวัณโรค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google