ความหมายของเลเซอร์ เลเซอร์ คือการแผ่รังสีของแสงโดยการกระตุ้นด้วยการขยายสัญญาณแสง คำว่า Laser ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation
องค์ประกอบของเลเซอร์ การเกิดเลเซอร์มีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ 1. สารเลเซอร์ คือ วัตถุที่เป็นตัวกลางเลเซอร์ซึ่งจะถูกกระตุ้นให้คายพลังงานออกมาในรูปของแสงเลเซอร์ สามารถมีสถานะได้ทั้งของแข็ง ของเหลว และ แก๊ส
องค์ประกอบของเลเซอร์ 2. ระบบจ่ายกำลัง เป็นการให้พลังงานแก่เนื้อวัสดุที่เป็นสารเลเซอร์ให้อยู่ในสภาพถูกกระตุ้น ซึ่งวิธีกระตุ้นสารเลเซอร์ที่สำคัญ มี 3 วิธี ได้แก่ การใช้แสงความเข้มสูง การใช้อิเล็กตรอนจากประจุไฟฟ้า และการแผ่รังสีนิวเคลียร์
องค์ประกอบของเลเซอร์ 3. ส่วนขยายสัญญาณแสง เป็นการทำให้แสงที่ได้จากการเปล่งแสงของสารเลเซอร์มีความเข้มสูง ซึ่งทำได้โดยให้แสงวิ่งกลับไปกลับมาผ่านเนื้อวัสดุเลเซอร์หลายๆครั้ง โดยใช้กระจก 2 ชิ้น มาวางขนานกัน ที่ปลายทั้ง สองเพื่อสะท้อนแสง จนกระทั่งแสงมีความเข้มสูงมาก จนสามารถทะลุผ่านกระจกบานนี้ได้ กระจกสองชิ้นที่ขนานกันนี้เรียกว่า “แควิตีแสง”
ชนิดของเลเซอร์ 1. เลเซอร์แข็ง ใช้สารที่มีสถานะของแข็งเป็นเลเซอร์ เช่น เลเซอร์ทับทิม เลเซอร์แย็ก เป็นต้น ทั้งสองเป็นผลึกของเนื้อวัสดุต้นกำเนิดเท่านั้น สิ่งที่ทำให้เกิดการเปล่งแสงคือสารเจือปนที่เติมในเนื้อวัสดุเหล่านั้น เช่น ทับทิมใช้โครเมียมเป็นสารเจือปน จะให้เลเซอร์ที่มีสีแดง ส่วนแย็ก จะใช้นีโอดีเนียมเป็นสารเจือปน
ชนิดของเลเซอร์ 2. เลเซอร์เหลว ใช้สารที่มีสถานะเป็นของเหลวเป็นสารเลเซอร์ เช่น ใช้สีย้อมผ้าผสมน้ำหรือแอลกอฮอล์ เลเซอร์ของเหลวนี้จะเป็นเลเซอร์ที่ให้สีที่ตามองเห็น ค่าความยาวคลื่นของแสงสามารถปรับได้
ชนิดของเลเซอร์ 3. เลเซอร์แก๊ส ใช้สารที่มีสถานะเป็นแก๊สเป็นสารเลเซอร์ แก๊สที่ทำเลเซอร์มีหลายชนิด เช่น แก๊สผสมฮีเลียม-นีออน แก๊สผสมคาร์บอนไดออกไซด์- ไนโตเจน-ฮีเลียม เป็นต้น
สมบัติของเลเซอร์ มีความยาวคลื่นที่แน่นอน มีหน้าคลื่นที่เป็นระเบียบ มีทิศทางที่แน่นอน มีความเข้มสูง
ประโยชน์ของเลเซอร์ 1. การวัด เช่น การวัดระยะห่างจากดวงจันทร์กับโลก การวัดความเร็วของวัตถุ เป็นต้น 2. การสร้างภาพสามมิติ เรียกว่า โฮโลกราฟี 3. การสื่อสารโทรคมนาคม เช่น ถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ โทรศัพท์ ถ่ายโอนข้อมูล
ประโยชน์ของเลเซอร์ 4. การแพทย์ เช่น การผ่าตัดต้อ การตรวจหาลายนิ้วมือ
ประโยชน์ของเลเซอร์ 5. การเจาะ ตัด และเชื่อม เนื่องจากมีความเข้มสูง จึงสามารถ ตัด เจาะ และเชื่อมวัสดุต่างๆ ได้ ทำให้ได้งานที่ละเอียดสูง
ใยแก้วนำแสง เส้นใยแก้วนำแสง เส้นใยขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เป็นตัวนำแสง ที่ทำมาจากแก้วที่มีความยืดหยุ่นสูง เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาด 0.01-0.1 mm ประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา เส้นใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยที่สุด
หลักการทำงาน เส้นใยแก้วจะถูกมัดรวมกันเป็นพันๆเส้น แต่ละเส้นจะเคลือบด้วยสารที่มีดรรชนีหักเหน้อยกว่า เพื่อให้รังสีแสงภายในแก้วเกิดการสะท้อนกลับหมด การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้งานจึงอาศัยหลักการสะท้อนกลับหมดของแสง
การนำมาใช้ประโยชน์ 1. ด้านการสื่อสาร เนื่องจากการส่งสัญญาณด้วยแสงซึ่งมีความเร็วมากจึงถูกนำมาใช้งานหลายด้าน เช่น - โทรศัพท์ ถูกนำมาใช้แทนเส้นลวดทองแดง โดยการสนทนาจะถูกส่งไปพร้อมกับแสง การสนทนาไม่ติดขัด
การนำมาใช้ประโยชน์ - ด้านคอมพิวเตอร์ ถูกนำมาใช้ในการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครือข่ายหรือเครื่องอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว
การนำมาใช้ประโยชน์ - ด้านโทรทัศน์ เส้นใยแก้วนำแสงสามารถส่งสัญญาณได้มากกว่า 10 ช่อง
ข้อดีของเส้นใยนำแสง สามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทั้งภาพและเสียง สัญญาณไม่ถูกรบกวนด้วยคลื่นอื่นๆ ข้อมูลมีความปลอดภัยสูง ไม่มีไฟฟ้าลัดวงจรเพราะเป็นฉนวนทั้งหมด