Gucci v. Guess
Gucci lost the court case in France to GUESS in February 2015 Gucci won the court case in Australia, in September 2015 Gucci won the court case in America in May 2013
Dumb Starbucks Coffee And Trademark Law: Brilliant Parody Or Blatant Infringement? 02/10/2014
เครื่องหมาย เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ ของกลุ่มธุรกิจ สินค้า บริการ รับรอง สินค้า/บริการ ของผู้อื่น เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายร่วม เครื่องหมายรับรอง
เครื่องหมาย (ม. 4) “ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน”
ลักษณะของเครื่องหมายที่ขอจดทะเบียนได้ (ม. 6) เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ และ ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายที่บุคคลอื่น ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าที่มี ลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้น ทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้า ที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น (มาตรา ๗ ว.๑) เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ – มาตรา ๗ วรรค ๒
ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศ ชื่อประเทศ ชื่อกลุ่มประเทศ ชื่อภูมิภาค หรือเขตปกครองตนเองซึ่ง มีลักษณะเช่นเดียวกับประเทศ ชื่อแคว้น รัฐ หรือมณฑล ๓. ชื่อเมืองหลวง เมืองท่า จังหวัด หรือเขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ๔. ชื่อทวีป ๕. ชื่อมหาสมุทร ทะเล อ่าว คาบสมุทรแหลม เกาะหมู่เกาะหรือทะเลสาบ ๖. ชื่อภูมิศาสตร์อื่นๆ ที่ประชาชนทั่วไปรู้จักแพร่หลาย เช่น ภูเขา แม่น้ำ ตำบล หมู่บ้าน ถนน
เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป (Well-known Marks) ห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมาย ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป (ม. ๘ (๑๐)) เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๒ ประการ สินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นจะต้องมีการจำหน่ายหรือมีการใช้ หรือมีการโฆษณา หรือได้มีการใช้เครื่องหมายโดยวิธีใดๆ เช่น ใช้เป็นเครื่อง หมายของทีมฟุตบอล เป็นต้น อย่างแพร่หลายตามปกติโดยสุจริต ไม่ว่าจะ กระทำโดยเจ้าของหรือผู้แทน หรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายนั้นไม่ว่า ในประเทศหรือต่างประเทศ จนทำให้สาธารณชนทั่วไป หรือสาธารณชนในสาขา ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดี ๒. เครื่องหมายนั้นจะต้องมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภค (ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ๒๑ ก.ย. ๔๗)
เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียน เหมือน/คล้ายกับเครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือ หลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า นายทะเบียนปฏิเสธการจดทะเบียน (ม. ๑๓) โดยมีข้อยกเว้นเรื่อง การใช้โดยสุจริต (ม. ๒๗) ๒. การสั่งไม่รับจดฯ ตาม ม. ๒๖ ๓. นายทะเบียนสั่งให้จดเป็นเครื่องหมายชุด (ม. ๑๔)
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้า (มาตรา ๙) การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น จะขอจดทะเบียนสำหรับ สินค้าเฉพาะอย่างในจำพวกเดียวกัน หรือ ต่างจำพวกกัน ก็ได้ แต่ต้องระบุรายการสินค้าแต่ละอย่างโดยชัดเจน คำขอจดทะเบียน ๑ ฉบับ เฉพาะสินค้าจำพวกเดียวกันเท่านั้น (ถ้าต่างจำพวกกันก็ต้องยื่นคำขอต่างหาก) (ม. ๙ ว. ๒)
การกำหนดจำพวกสินค้าและบริการ (ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ๒๑ มี.ค. ๒๕๔๖) จำพวกสินค้า – จำพวกที่ ๑ - ๓๔ จำพวกบริการ – จำพวกที่ ๓๕ - ๔๕ ตัวอย่างจำพวกสินค้าและบริการ จำพวกที่ ๘ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้มือ เครื่องตัดจิ้ม อาวุธประจำกาย มีดโกน จำพวกที่ ๒๕ เครื่องนุ่งห่มหรือแต่งกาย เครื่องสวมใส่เท้า เครื่องปกคลุมศีรษะ จำพวกที่ ๓๖ การประกันภัย การคลัง การเงิน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำพวกที่ ๔๓ การบริการด้านการจัดหาอาหารและเครื่องดื่ม การจัดที่พักชั่วคราว
หลักเกณฑ์การยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ผู้ขอจดฯ ต้องมีสำนักงานหรือสถานที่ที่นายทะเบียนสามารถติดต่อได้ ในประเทศไทย (ม. ๑๐) ๒. เครื่องหมายการค้าที่ขอจดฯทั้งเครื่องหมาย หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดอันเป็น สาระสำคัญ ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดฯตาม ม. ๖ นทบ.ไม่รับจดฯ (ม.๑๖) ๒.๑ ถ้ามีส่วนที่มิใช่สาระสำคัญของเครื่องหมายฯไม่มีลักษณะตาม ม. ๖ หรือไม่ชอบ ม. ๙/๑๐ นทบ. สั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลง (ม. ๑๕) ๒.๒ ทั้งเครื่องหมายมีลักษณะตาม ม. ๖ แต่มีส่วนใดหรือหลายส่วน เป็น สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้า หรือ ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ นทบ. สั่งดังนี้ - ให้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือสิทธิในส่วนดังกล่าว - ให้แสดงปฏิเสธอย่างอื่นที่เห็นว่าจำเป็นต่อการกำหนดสิทธิจากการจดฯ ของเจ้าของเครื่องหมายการค้ารายนั้น (ม.๑๗)
(ต่อฯ) ๓. ผู้ขอหลายรายยื่นจดฯเครื่องหมายการค้าที่เหมือน/คล้ายกันจนอาจทำให้ ประชาชนสับสนฯผู้ยื่นขอจดฯรายแรกย่อมมีสิทธิได้รับการจดฯ (ม. ๒๐) ๓.๑ กรณีนทบ.เห็นว่าเครื่องหมายเหล่านั้นมีลักษณะอันพึงจดฯได้ ก็ให้ผู้ขอทั้งหลายตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้ขอยื่นจดฯ (ม. ๒๑, ๒๔) ๓.๒ ถ้าเครื่องหมายบางรายต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลง แต่บางรายมีส่วนที่เป็น สามัญ บางรายมีลักษณะตาม ม. ๖ ก็ให้รอการจดฯไว้จนกว่าจะได้ แก้ไขหรือแสดงปฏิเสธ แล้วก็ให้มีการตกลงระหว่างกันตาม ม. ๒๔ ถ้ากลุ่มผู้ขอฯที่ต้องแก้ไขและแสดงการปฏิเสธละทิ้งคำขอฯ ก็ให้กลุ่ม ที่มีเครื่องหมายถูกต้องตกลงกันตาม ม. ๒๔ (ม. ๒๒) ๓.๓ ถ้าทุกรายต้องแก้ไขหรือแสดงปฏิเสธ ก็ต้องรอการจดฯ แล้วให้ตกลง กันตาม ม. ๒๔ (ม. ๒๓)
การขอให้ถือเป็นวันยื่นฯวันแรกในไทย (Priority Date) (ม. ๒๘/๒๘ ทวิ) ยื่นขอจดฯ ครั้งแรกในต่างประเทศ และยื่นขอจดฯในไทยภายใน ๖ เดือน คุณสมบัติบุคคลที่จะถือประโยชน์การขอให้ถือเป็นวันยื่นฯวันแรกในไทย - มีสัญชาติไทย/นิติบุคคลที่มีสำนักงานใหญ่ในไทย - มีสัญชาติของประเทศที่เป็นภาคีในอนุสัญญาฯที่เกี่ยวกับการคุ้มครอง เครื่องหมายการค้าที่ไทยเป็นภาคี - มีภูมิลำเนา/ประกอบอุตสาหกรรม/พาณิชยกรรมอย่างจริงจังในไทยหรือ ในประเทศที่เป็นภาคีฯ ๓. การแสดงสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า ทั้งใน/ต่างประเทศโดยส่วนราชการฯ ถ้ายื่นคำขอจดฯ ภายใน ๖ เดือน นับแต่วันแสดงสินค้า ทั้งนี้ต้องไม่ขยาย เวลาตาม ม.๒๘
การไม่สามารถถือประโยชน์จาก Priority Date และข้อยกเว้น (ม. ๒๘ ว. ๒/๓) การยื่นครั้งแรกนอกประเทศถูกปฏิเสธ/ผู้ยื่นฯละทิ้งคำขอหรือถอนคืน ภายใน ๖ เดือน นับแต่วันยื่นฯครั้งแรก คำขอฯถูกปฏิเสธ/ผู้ยื่นฯละทิ้ง คำขอหรือถอนคืน ซ้ำ ผู้ยื่นจดฯยังสามารถขอถือประโยชน์จาก Priority Date ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ ๒.๑ ยังไม่มีการขอใช้สิทธิ และ ๒.๒ คำขอจดฯที่ถูกปฏิเสธ/ผู้ยื่นฯละทิ้งคำขอหรือถอนคืน นั้นไม่อาจ ดำเนินการต่อไปตามก.ม. เครื่องหมายการค้าของประเทศดังกล่าว และ ๒.๓ การถูกปฏิเสธ/ถอนคืน/ละทิ้งฯ ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชน
ผลแห่งการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมาย การค้านั้นสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ (ม. ๔๔) ๒. สิทธิในเครื่องหมายการค้าย่อมโอนหรือรับมรดกกันได้ (ม. ๔๙) ๓. สิทธิในการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน อาทิ ยกเลิกรายการสินค้าบางอย่าง (ม. ๕๒) ๔. สิทธิในการฟ้องละเมิด/ป้องกันการละเมิด จากการปลอม/เลียน/นำเข้า สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า (ม.๑๐๘, ๑๐๙ และ ๑๑๐) ขอให้ศาลสั่งตาม ม. ๑๑๖ ๕. เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้โดยมิได้ระบุสี ให้ถือว่าจดทะเบียน ไว้ทุกสี (ม. ๔๕)
ผลแห่งการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (ต่อ) ๖. สิทธิเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้า มีระยะเวลา ๑๐ ปี นับแต่วันยื่นคำขอจดทะเบียน และสามารถต่ออายุการจดทะเบียนได้คราวละ ๑๐ ปี ทั้งนี้ต้องขอต่ออายุภายใน ๙๐ วัน ก่อนวันสิ้นอายุ (ม. ๔๒, ๕๓, ๕๔ และ ๕๕ ว. ๑) วันจดฯ วันยื่นฯ ยื่นต่างประเทศ ๓๑ ม.ค. ยื่นในไทย ๓๐ มี.ค. ขอถือ Priority Date ในไทย ๓๑ ม.ค. อายุการคุ้มครองเริ่ม ๓๑ ม.ค.
สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน ไม่สามารถฟ้องคดีเพื่อป้องการละเมิดหรือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อ การละเมิดเครื่องหมายการค้าดังกล่าว (ม. ๔๖ ว. ๑) ๒. เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน สามารถจะฟ้องคดีเมื่อบุคคล อื่นเอาสินค้าของตนไปลวงขาย (Passing Off) ว่าเป็นสินค้าของเจ้าของ เครื่องหมายการค้านั้น (ม. ๔๖ ว. ๒)
การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า เจ้าของเครื่องหมายจดทะเบียน จะทำสัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่อง หมายจดทะเบียนนั้น สำหรับสินคาที่จดทะเบียนไว้ทั้งหมดหรือบางส่วน ก็ได้ (ม. ๖๘) สัญญาอนุญาตต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนาย ทะเบียน (ม. ๖๘ ว. ๒) ๒. รายการที่ต้องปรากฏในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ม. ๖๘ ว. ๓) (๑) เงื่อนไขข้อกำหนดที่ทำให้เจ้าของเครื่องหมายสามารถควบคุมคุณภาพ ของสินค้าของผู้ขอใช้สิทธิได้อย่างแท้จริง (ถ้าไม่อาจควบคุมได้ผู้มีส่วนได้ เสียหรือนายทะเบียนขอเพิกถอนการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตฯได้ ตาม ม. ๗๒ ว. ๓(๒)) (๒) สินค้าที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น
การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า (ต่อ) ๓. การใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ ให้ถือว่าเป็น การใช้เครื่องหมายการค้าโดยเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น (ม. ๗๐) ๔. ถ้ามิได้กำหนดไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะ อนุญาตให้บุคคลอื่นอีกก็ได้ (ม. ๗๗) ๕. ถ้ามิได้กำหนดไว้ในสัญญาอนุญาตใช้สิทธิเป็นอย่างอื่น ผู้ได้รับอนุญาตมีสิทธิ ใช้เครื่องหมายการค้านั้นทั่วประเทศ สำหรับสินค้าทั้งหมดที่ได้จดฯ ตลอด อายุการจดทะเบียนและรวมถึงการต่ออายุ (ม. ๗๘) ๖. ถ้ามิได้กำหนดไว้ในสัญญาอนุญาตใช้สิทธิเป็นอย่างอื่น ผู้ได้รับอนุญาตจะ โอนการอนุญาตดังกล่าวแก่บุคคลภายนอกมิได้ จะอนุญาตช่วงก็ไม่ได้ (ม.๗๙)
การเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เจ้าของเครื่องหมายไม่ต่ออายุภายใน ๙๐วัน ก่อนวันสิ้นอายุ ให้ถือว่าเครื่อง หมายการค้านั้นถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแล้ว (ม. ๕๖) ๒. การเพิกถอนฯนี้ ทำให้การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น ย่อมสิ้นผล ไปด้วย (ม. ๗๖) ๓. เจ้าของเครื่องหมายการค้าขอเพิกถอนเอง แต่ถ้าได้อนุญาตให้ใช้สิทธิแล้ว ต้องได้รับความยินยอมจากผู้นั้นด้วย เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (ม. ๕๗) ๔. นายทะเบียนสั่งเพิกถอนฯ ๔.๑ เจ้าของเครื่องหมายฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อจำกัด (ม. ๕๘) ๔.๒ เจ้าของเครื่องหมายหรือตัวแทน เลิกตั้งสำนักงานหรือสถานที่ได้จดฯ ไว้ (ม. ๕๙)
การเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (ต่อ) ๕. ผู้มีส่วนได้เสีย/นายทะเบียน ขอเพิกถอนฯต่อคณะกรรมการ ๕.๑ แสดงได้ว่าในขณะที่จดฯนั้น เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ, ต้องห้ามฯ, เหมือนเครื่องหมายที่จดฯของบุคคลอื่นฯ, คล้ายเครื่อง หมายที่จดฯของบุคคลอื่นจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนฯ (ม. ๖๑) ๕.๒ พิสูจน์ได้ว่าขณะที่ขอจดฯ ไม่ตั้งใจโดยสุจริตที่จะใช้เครื่องหมายกับ สินค้าที่จดทะเบียนไว้ และ ไม่เคยมีการใช้ตามจริง หรือ ระหว่าง ๓ ปี ก่อนขอเพิกถอนฯ ไม่เคยมีการใช้เครื่องหมายฯโดยสุจริต เว้นแต่ว่า เจ้าของเครื่องหมายฯพิสูจน์สาเหตุการไม่ใช้ดังกล่าวได้ และไม่มีเจตนา ละทิ้งเครื่องหมายฯ (ม. ๖๓) ๕.๓ แสดงได้ว่าเครื่องหมายนั้นกลายเป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างสามัญในการค้าขาย จนในวงการค้าหรือประชาชนเห็นว่า เครื่องหมายการค้านั้นสูญเสียความ หมายของการเป็นเครื่องหมายการค้า ไปแล้ว (ม. ๖๖)
การเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (ต่อ) ๖. ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาล ภายใน ๕ ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้จดทะเบียน หากแสดงได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า ถ้าดีกว่าเฉพาะสินค้าบางอย่าง ก็ให้ศาล มีคำสั่งจำกัดสิทธิแห่งการจดฯให้อยู่เฉพาะสินค้าที่ผู้ร้องไม่ได้แสดงสิทธิ ดีกว่า (ม. ๖๗) ๗. บุคคลใดขอเพิกถอนก็ได้ ต่อคณะกรรมการฯ ถ้าเห็นว่าเครื่องหมายการค้า นั้นขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมฯ หรือรัฐประศาสโนบาย (ม. ๖๒)
[Certification Marks] เครื่องหมายรับรอง [Certification Marks] เครื่องหมายรับรอง หมายความว่า เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรอง ใช้หรือจะใช้ เป็นที่หมายหรือเกี่ยงข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรอง เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้านั้น หรือเพื่อรับรองเกี่ยวกับสภาพ คุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น (ม. ๔ ว. ๔) เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในหมวด ๒ นี้ ให้นำบทบัญญัติเครื่องหมาย การค้ามาใช้บังคับแก่เครื่องหมายรับรองโดยอนุโลม (ม. ๘๑)
การขอจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง ๑. เป็นไปตามการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (ม. ๘๒ ว. ๑) ๒. ยื่นข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรอง ข้อบังคับนั้นต้องระบุ แหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใด ของสินค้า/บริการ ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการอนุญาต ให้ใช้สิทธิ (ม. ๘๒ ว. ๑(๑), ว. ๒)) ๓. แสดงตนว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะรับรองคุณลักษณะของสินค้า/บริการ (ม. ๘๒ ว. ๑(๒)) ถ้าผู้ขอจดฯไม่มีความสามารถเพียงพอ หรือนายทะเบียน เห็นว่าการรับจดฯนั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน นายทะเบียนปฏิเสธ การขอจดฯ (ม. ๘๔)
ผลการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง เจ้าของเครื่องหมายรับรองที่จดทะเบียนแล้ว จะใช้รับรองสินค้า/บริการของตน ไม่ได้ และจะอนุญาตบุคคลอื่นใช้เครื่องหมายรับรองนั้นกับสินค้า/บริการ ของเจ้าของไม่ได้ (ม. ๙๐) ๒. การใช้เครื่องหมายรับรองกับสินค้า/บริการนั้น ต้องทำเป็นหนังสือและลงลาย มือชื่อของเจ้าของเครื่องหมายรับรองนั้น (ม. ๙๑) ๓. เจ้าของเครื่องหมายรับรองที่จดทะเบียน สามารถโอนสิทธินั้นได้โดยต้องทำ เป็นหนังสือและจดทะเบียน นอกจากนั้นยังต้องแสดงว่าผู้รับโอนมีความ สามารถเพียงพอที่จะรับรองฯ (ม. ๙๒) ๔. เจ้าของเครื่องหมายรับรองที่จดทะเบียน สามารถขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อ บังคับได้ในลักษณะที่ไม่กระทบประโยชน์สาธารณชน ถ้ามิเช่นนั้นนทบ.สั่ง ไม่รับจดทะเบียนแก้ไขฯ (ม. ๘๖ และ ๘๘)
การสิ้นสุดสิทธิในเครื่องหมายรับรอง สิทธิในเครื่องหมายรับรองสิ้นสุดลงเมื่อเจ้าของเครื่องหมายรับรองตาย หรือสิ้นสภาพบุคคล (ม. ๙๓)
เครื่องหมายร่วม หมายความว่า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ (Collective Marks) เครื่องหมายร่วม หมายความว่า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ ที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของ สมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐ หรือเอกชน (ม. ๔ ว. ๕) ให้นำบทบัญญัติเครื่องหมายการค้าใช้บังคับโดยอนุโลม ยกเว้นในส่วนของ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ม. ๙๔)
บทกำหนดโทษ (นอกเหนือจากปพพ.) บุคคลใด กระทำต่อไปนี้มีโทษ ๑.๑ แสดงเครื่องหมายการค้า/บริการ ที่มิได้จดทะเบียนในไทย ว่าเป็นเครื่องหมายดังกล่าวที่จดทะเบียนในไทย (ม. ๑๑๑ (๑)) ๑.๒ จำหน่าย/มีไว้เพื่อจำหน่าย สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า/รับรอง/ เครื่องหมายร่วม ตาม ๑.๑ ทั้งนี้โดยรู้ว่าเป็นเท็จ (ม. ๑๑๑(๒)) ๑.๓ ให้บริการ/เสนอให้บริการ โดยแสดงเครื่องหมายบริการ/รับรอง/ เครื่องหมายร่วม ตาม ๑.๑ ทั้งนี้โดยรู้ว่าเป็นเท็จ (ม. ๑๑๑(๓)) ๒. การกระทำผิดซ้ำตามพ.ร.บ.นี้ภายใน ๕ ปี ให้ระวางโทษทวีคูณ (ม. ๑๑๓) ๓. ผู้กระทำผิดเป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบ ในการดำเนินงานของนิติบุคคล ผู้นั้นต้องรับโทษ (ม. ๑๑๔)
บทกำหนดโทษ (ต่อ) ๔. ให้ริบสินค้าที่นำเข้ามาในไทย อันเป็นสินค้าที่เกิดจากการกระทำผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ (ม. ๑๑๕) บทเฉพาะกาล เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๔๗๔ และยังคงจดฯอยู่ในวันที่พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ (ฉบับแก้ไข) ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นเครื่องหมายการค้าตามพ.ร.บ. นี้ (ม. ๑๑๗)
Section 1 Copyright and Related Rights The TRIPs Agreement Part I บททั่วไปและหลักการพื้นฐาน Part II มาตรฐานและขอบเขตของทรัพย์สินทางปัญญา Section 1 Copyright and Related Rights Section 2 Trademarks Section 3 Geographical Indications Section 4 Industrial Designs Section 5 Patents Section 6 Layout-Designs (Topographies) of Integrated Circuits Section 7 Protection of Undisclosed Information Section 8 Control of Anti-Competitive Practices in Contractual Licences Part III การบังคับสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา Section 1 General Obligations Section 2 Civil and Administrative Procedures and Remedies
The TRIPs Agreement (cont.) Part III Section 3 Provisional Measures Section 4 Special Requirements Related to Border Measures Section 5 Criminal Procedures Part V Dispute Prevention and Settlement