Systems Analysis and Design (การวิเคราะห์และออกแบบระบบ)
ความรู้เบื้องต้นในการวิเคราะห์และการออกแบบระบบ - ระบบสารสนเทศ (Information System) คืออะไร - ประเภทของระบบสารสนเทศ - ระดับการจัดการ (Management Level) - การวิเคราะห์และการออกแบบระบบคืออะไร - นักวิเคราะห์ระบบทำอะไรบ้าง - ใครคือผู้ใช้ระบบ (User) - กลยุทธ์ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ - Systems Development Life Cycle (SDLC) Systems Analysis & Design
ความหมายของระบบ ระบบ = มีลักษณะกลุ่ม (Set) ที่มีองค์ประกอบ (Component) หลาย ๆ ส่วนรวมกัน โดยแต่ละองค์ประกอบจะทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์อันเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ (HW + SW + PW) = ผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการ ระบบการเรียนการสอน ระบบการเรียนการสอน (ครู + นักเรียน + เนื้อหา + วิธีการสอน) = นักเรียนที่มีความรู้
ความหมายของระบบ ระบบ (System) คือ กลุ่มขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน โดยแต่ละองค์ประกอบจะทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน เช่น ระบบงานคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบ 3 ส่วนหลัก ๆ คือ Hardware, Software, Peopleware Systems Analysis & Design
ตัวอย่างระบบการเรียนการสอน INPUT PROCESS OUTPUT ครู นักเรียน เนื้อหา วิธีการสอน วิธีการเรียน นักเรียนที่มีความรู้
ภาพรวมของระบบ ระบบจะถูกกำหนดด้วยขอบเขต (Boundary) ซึ่งภายในระบบจะประกอบไปด้วยระบบย่อย (Sub system) ต่าง ๆ (ระบบย่อย ก็คือองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบ) ระบบที่ดี จะต้องมีการสื่อสารระหว่าง Sub system มีความ สมบูรณ์ในตัว เพื่อให้ระบบดำเนินไปสู่เป้าหมาย (Goal) ซึ่งการทำงานของระบบ จะมีสิ่งแวดล้อม (Environment) คอย สร้างสิ่งที่มีผลกระทบต่อระบบ
ภาพรวมของระบบ Environment Subsystem BOUNDARY Feedback Monitoring Systems Analysis & Design
ประเภทของระบบ ระบบปิด (Closed System) เป็นระบบที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม มีจุดมุ่งหมายในการทำงานภายในตัวเอง โดยไม่ยุ่งเกี่ยวหรือรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมใด ๆ เข้ามา ตัวอย่างเช่น สัญญาณจราจรแบบปิด ระบบเปิด (Open System) เป็นระบบที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยการแลกเปลี่ยน หรือรับข่าวสารจากสภาพแวดล้อมเข้ามาในระบบเพื่อทำการประมวลผลร่วม ตัวอย่างเช่น สัญญาณไฟจราจรแบบเปิด ที่มีตัวเซ็นเซอร์ตรวจจับความหนาแน่นของรถในแต่ละแยก Systems Analysis & Design
ภาพสัญญาณไฟจราจร
ระบบเปิด Open System เป็นระบบที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ให้สภาพแวดล้อม ภายนอกมาเป็นตัวแปรกำหนดการทำงาน เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันกับสภาพแวดล้อม ตัวอย่างเช่น สัญญาณไฟจราจร ตัวอย่างไฟฟ้าฉุกเฉินที่ จ่ายไฟอัตโนมัติ
ภาพสัญญาณไฟจราจร
ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ผลกระทบภายในระบบ (Internal Environment) ต้นทุนผลิตสูงขึ้น ปัญหาความขัดแย้งระหว่างพนักงาน ปัญหาการบังคับบัญชาในองค์การ ปัญหาการขาดพนักงานในตำแหน่งหน้าที่ ปัญหาการขาดงาน ผลกระทบภายนอกระบบ (External Environment) คู่แข่งทางการค้าหรือธุรกิจ นโยบาย กฎระเบียบของรัฐ ภัยธรรมชาติ ความต้องการของลูกค้า เทคโนโลยี ปัญหาภายในที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบ (ควบคุมได้) ปัญหาภายในที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบ (ควบคุมไม่ได้)
ระบบธุรกิจ ระบบธุรกิจ (Business System) : ส่วนใหญ่ประกอบด้วยระบบย่อยพื้นฐาน เช่น ระบบการผลิต ระบบการตลาด ระบบสินค้าคงคลัง ซึ่งมีความสัมพันธ์กันทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องและการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ ดังนั้นเมื่อมีการศึกษาระบบงาน ควรพิจารณาจากมุมมอง 4 ด้าน คือ What : วัตถุประสงค์ของระบบคืออะไร How : วิธีการทำงานอย่างไรเพื่อให้งานสำเร็จ When : การเริ่มดำเนินงานและผลสำเร็จจุลุล่วงเมื่อไร Who : บุคคลหรือคณะใดที่ผู้รับผิดชอบในขอบเขตงานของตน Systems Analysis & Design
การศึกษาและการพิจารณาระบบทั้ง 4 ด้าน What วัตถุประสงค์ ของระบบคืออะไร เพื่อให้ทราบว่าผลของการดำเนินงานคืออะไร How ระบบมีขั้นตอนวิธีการทำงานอย่างไร เพื่อให้ทราบว่า Goal ของระบบคืออะไร ทำอย่างไรให้งาน สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว When ระบบเริ่มดำเนินงานและสิ้นสุดเมื่อใด เพื่อให้ได้มีการจัดวางตารางเวลาอย่างเหมาะสม ไม่ให้ใช้เวลา มากเกินไปและลดค่าให้จ่ายของระบบให้น้อยที่สุด Who มีใครเป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อให้ได้มีการกำหนดหน้าที่อย่างชัดเจน และกำหนดขอบเขต ให้แน่นอน
องค์การและระบบสารสนเทศ องค์การ (Organization) เป็นโครงสร้างของสังคมที่มีการนำทรัพยากร จากสภาพแวดล้อมมาผ่านกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิต ออกมา โดยเป้าหมายองค์การทางธุรกิจ คือผลกำไรจากการดำเนินงาน ทางธุรกิจ ซึ่งมีรูปแบบของผลตอบแทน ดังนี้ 1. ผลตอบแทนที่สามารถประเมินค่าได้ (Tangible) เช่น การเพิ่มยอดขาย การลดค่าใช้จ่าย การประหยัดพลังงาน การเพิ่มช่องทางการตลาด 2. ผลตอบแทนที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ (Intangible) เช่น ทัศนคติของลูกค้า ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้น ขวัญและกำลังใจของพนักงาน เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความน่าเชื่อถือ การนำเสนอสารสนเทศตรงเวลา Systems Analysis & Design
ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information) ข้อมูล คือ ข้อมูลดิบ (Raw Data) หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ สารสนเทศ คือ การนำข้อมูลดิบมาผ่านกระบวนการ (Process) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ หรือสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อ การตัดสินใจ Data Process Information Systems Analysis & Design
ระบบสารสนเทศ (Information System) Hardware Software Procedure Data Peopleware Systems Analysis & Design
ประเภทของระบบสารสนเทศ (แบ่งตามผู้ใช้) 1. Transaction Processing System (TPS) 2. Management Information System (MIS) 3. Office Automation System/Office Information System(OAS/OIS) 4. Decision Support System (DSS) 5. Executive Support System (ESS) 6. Expert System (ES) Next Systems Analysis & Design
ระบบประมวลผลรายการประจำวัน เป็นการประมวลผบข้อมูลทางธุรกิจประจำวันที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินงานประจำวัน เช่น การบันทึกรายการสั่งซื้อสินค้า จากลูกค้า จัดเป็นการปฏิบัติงานที่กระทำซ้ำ ๆ ในแต่ละวัน และข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมเพื่อนำไปจัดทำรายงานตาม ความต้องการต่อไป ในบางครั้งอาจเรียกว่า ระบบปฏิบัติงาน (Operational Systems) Back
Management Information systems : MIS ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) เป็นแหล่ง รวมของระบบ TPS และเมื่อมีการทำรายงานสรุป ยอดประจำสัปดาห์ หรือประจำเดือน โดย MIS ตัวอย่าง ธนาคารจะดูรายงานเกี่ยวกับการฝาก ถอนเงินรวมในแต่ละเดือนของลูกค้า เพื่อเตรียม เงินสำรองไว้ให้สินเชื่อแก่ลูกค้า Back
Office Automation System : OAS Office Information System : OIS เป็นระบบที่เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานด้านการจัดการสำนักงาน และการสื่อสาร โดยมีผลิตภัณฑ์ Software ที่สนับสนุนงานในลักษณะนี้ ประกอบด้วย โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมตารางงาน โปรแกรมฐานข้อมูล โปรแกรมนำเสนอผลงาน โปรแกรมออกแบบกราฟิก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ Back Systems Analysis & Design
Decision Support Systems : DSS จัดทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหาร ด้วยการจัดทำ รายงานวิเคราะห์ผลทางสถิติ หรือในรูปของกราฟเปรียบเทียบ เพื่อนำไปประกอบเป็นทางเลือกในการตัดสินใจของผู้บริหาร หาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด นอกจากจะนำสารสนเทศภายใน ระบบ TPS และ MIS มาใช้งานแล้ว อาจจะนำสารสนเทศจาก ภายนอกระบบมาใช้งานร่วมด้วย เช่น ข้อมูลจากตลาดหุ้น หรือราคาของคู่แข่งขันมาประกอบ ในการพิจารณา Back Systems Analysis & Design
Executive Support System : ESS ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS มักใช้กับงานด้านการพยากรณ์ และการทำนายเป็นส่วนใหญ่ จะใช้ประกอบการตัดสินใจของ ผู้บริหารระดับกลาง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร ESS จะคล้ายกับ DSS แต่จะต่างกันที่ ESS จะเป็นการตัดสินใจในระดับกลยุทธ์และ นโยบายของผู้บริหารระดับสูง Back Systems Analysis & Design
Expert Systems : ES เป็นการรวบรวมความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขา ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรืออาจเรียกว่า ระบบฐานความรู้ (Knowledge Base) เป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานเฉพาะ ด้าน เช่น นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร หมอ เป็นต้น นอกจากนี้ ES ยังเป็นแขนงหนึ่งของระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับสูง ขึ้นโดยมีระบบสมองกลเป็นผู้โปรแกรมคำสั่งโดยตรง Back Systems Analysis & Design
Systems Analysis & Design
การวิเคราะห์ (System Analysis) การวิเคราะห์ระบบ เป็นการศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานปัจจุบัน (Current System) เพื่อออกแบบระบบใหม่ (New System) เป้าหมายยังรวมถึง การปรับปรุงและแก้ไขระบบงานเดิมให้ดีขึ้น ในการวิเคราะห์ระบบเพื่อพัฒนา ระบบใหม่ทดแทนระบบงานเดิมจะประกอบด้วยเหตุผลดังนี้ ปรับปรุงบริการแก่ลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มกระบวนการควบคุมการทำงาน ลดต้นทุนการดำเนินงาน ต้องการสารสนเทศมากขึ้น Back
การสร้างระบบใหม่
การวิเคราะห์ (System Analysis) แนวทางในการจัดการดำเนินการของระบบจะประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ ปรับปรุงระบบเดิมให้ดีขึ้น พัฒนาระบบใหม่ Systems Analysis & Design Back
นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) System Analyst : SA เป็นผู้ที่ประสานการติดต่อบุคคลต่าง ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูล รวบรวมความต้องการในองค์กรที่ประสบกับปัญหา James A. Senn ได้กล่าวสรุปลักษณะงานของนักวิเคราห์ระบบ ไว้ดังนี้ 1. Information Analysts : ทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบเท่านั้น 2. Systems Designers : ทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ 3. Programmer Analysts : ทำหน้าที่วิเคราะห์ ออกแบบระบบ และเขียนโปรแกรม Systems Analysis & Design
ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศ
นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst : SA) 1. คือ ผู้ประสานการติดต่อบุคคลต่าง ๆ 2. เพื่อรวบรวมข้อมูลความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบ 3. แล้วนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ เพื่อทำการสร้างระบบใหม่ 4. งานหลัก คือ วางแผน (Planning) วิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis) พิจารณาตัดสินใจใช้ระบบสารสนเทศ กำหนดรายละเอียดระบบใหม่ จัดหา Hardware & Software ใหม่
นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) (ต่อ) เหตุผลที่ต้องมี SA SA มีวิธีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานพัฒนา ระบบงานข้อมูล เพื่อช่วยในงานธุรกิจ ซึ่งนักธุรกิจจะไม่มีความรู้ในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แต่ Programmer มีความรู้ในเทคนิคการเขียนโปรแกรม แต่อาจจะไม่เข้าใจในระบบธุรกิจ
นักวิเคราะห์ระบบกับการประสานงาน
ทีมงานพัฒนาระบบ คณะกรรมการดำเนินงาน (วางนโยบาย แนวทาง วัตถุประสงค์) ผู้จัดการระบบสารสนเทศ (ควบคุมระดับปฏิบัติการ 3 - 7) นักวิเคราะห์ระบบ (วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน) โปรแกรมเมอร์ (เขียนโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ออกแบบมา) วิศวกรระบบ (สร้างระบบสื่อสาร) ผู้สนับสนุนฝ่ายเทคนิค (ผู้ช่วยสนับสนุนทางเทคนิคต่าง ๆ) เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล (รวบรวมข้อมูลเพื่อการพัฒนา) ผู้ใช้งาน (ผู้ใช้งานระบบ, ผู้แจ้งความต้องการของระบบ)
The End Systems Analysis & Design