Curriculum Development การพัฒนาหลักสูตร

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
กองก่อสร้างโครงการย่อย กองก่อสร้างโครงการกลาง กองก่อสร้างโครงการใหญ่
Advertisements

การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กับการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
เรื่อง การศึกษาความต้องการและปัจจัยที่มีผล ต่อการเลือกสถานศึกษาเพื่อศึกษาต่อที่ โรงเรียน เทคนิควิมลบริหารธุรกิจ ของ นักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายใน โรงเรียนจังหวัด.
การสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศของ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม นางสาวพัชรี นาคทอง วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
การจัดทำแผนปฏิทินการจัดการความรู้ และแผนในการติดตามประเมินผลการจัดการความรู้ E:\ประกันคุณภาพ\ppt\ดูงาน\12-PPT_เสนอ_ครุศาสตร์_จุฬา_19_11_50.ppt.
มาตรฐานคุณภาพการสอน ของ คณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครู (The National Board for Professional Teaching Standards) วิกฤติอาชีพครู พัฒนาวิชาชีพครู
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)
วิชา หลักการตลาด บทที่ 3
แนวทางการสอน เพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบการสอน
ชื่อเรื่อง : ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาการบัญชีบริหาร ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองการวางแผนงบประมาณในธุรกิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์
มาตรฐานครูสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
การวางแผน การศึกษาระดับ จุลภาค Micro Planning.  ความเชื่อพื้นฐานทางการวางแผน การศึกษา  การวางแผนก็เปรียบเสมือนการจัดให้มี แนวปฏิบัติว่าในระยะเวลาหนึ่งจะต้องทำ.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ข้อที่เกณฑ์การประเมินการดำเนินงาน ข้อ 1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน.
รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา.
บทที่ 3 นักวิเคราะห์ระบบและการ วิเคราะห์ระบบ. 1. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 1.1 ความหมายของนักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis:
1. ด้าน หลักสูตร. จุดเน้นกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คุณภาพผู้เรียน “ คุณภาพผู้เรียน ที่ระบุในจุดเน้นมีอยู่ แล้วในหลักสูตร.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
โดย... นายวินิจ รักชาติ อดีตผู้อำนวยการ สำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จังหวัด กาญจนบุรี
ประเภทของ CRM. OPERATIONAL CRM เป็น CRM ที่ให้การสนับสนุนแก่กระบวนการธุรกิจ ที่เป็น “FRONT OFFICE” ต่างๆ อาทิ การขาย การตลาด และการ ให้บริการ SALES FORCE.
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
ความเป็นมา การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
การบริหารหลักสูตร.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การสร้างแผนปฏิบัติการระดับตำบลหรือท้องถิ่น
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
ระบบ ISO 9001:2015 สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร12
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 6 การพัฒนาระบบการสอนบนเครือข่าย
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
วิทยาลัยเทคโนโลยี ดอนบอสโกสุราษฎร์
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
ผลงานทางวิชาการ ความหมาย ลักษณะ ประเภท
แผนปฏิบัติการ กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8
กลุ่มที่ 7 กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา.
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
Professional Learning Community ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัด อปท. เข็มชาติ พิมพิลา รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียน เวียงเชียงรุ้งวิทยา.
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
บทที่ 4 หลักทฤษฎีและปฏิบัติการธุรกิจ ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ
Kerlinger (๑๙๘๘) กล่าวว่า การวิจัย เป็นรูปแบบหนึ่งของการแสวงหาความรู้ ความจริง ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
การนำเสนอผลงานการวิจัย
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
งานแนะแนว กับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ประวัติวิทยากร ปริญญาเอก ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ดร.วัชรศักดิ์ สงค์ปาน
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
วัสดุและเทคนิค ทางการออกแบบ อ.สุวิธธ์ สาดสังข์ ( Material and
การวิเคราะห์ข้อมูล การท่องเที่ยว เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ.
โครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT/O-NET)
ชื่อเรื่อง : แรงจูงใจที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ผู้วิจัย : นางสาวสิริรัตน์ เทียมเสรีวงศ์
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
โครงการ “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่)
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
นพ.อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์ รพ.ธัญญารักษ์เชียงใหม่ กรมการแพทย์
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Curriculum Development การพัฒนาหลักสูตร CLM6603 อ.ดร.กิตติศักดิ์ ลักษณา

คำอธิบายรายวิชา ความหมายและองค์ประกอบของหลักสูตร พื้นฐานทางสังคม ปรัชญาการศึกษา และจิตวิทยาสำหรับการพัฒนาหลักสูตร แนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตรประเภทต่าง ๆ หลักการและแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการพัฒนาหลักสูตรอย่างเป็นระบบ การออกแบบและพัฒนาหลักสูตรรูปแบบต่าง ๆ หลักสูตรการศึกษาเพื่ออาชีพ หลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรสถานศึกษาทุกระดับการศึกษา

คำอธิบายรายวิชา (ต่อ) หลักสูตรจุลภาคเพื่อการเรียนรู้เฉพาะเรื่อง หลักสูตรท้องถิ่นและชุมชน นวัตกรรมด้านหลักสูตร ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร การเขียนโครงการเพื่อเสนอหลักสูตร ภาวะผู้นำ คุณธรรมและจริยธรรมในการพัฒนาหลักสูตร ฝึกปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร และวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อจัดการเรียนรู้

การมอบหมายงานของผู้สอนครั้งที่ 1 ให้นักศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อทำหลักสูตรฝึกอบรม คนละ 1 เรื่อง (ส่งสัปดาห์ที่ 2)

การมอบหมายงานของผู้สอนครั้งที่ 1 2. ให้นักศึกษาค้นคว้าและถ่ายสำเนาบทความเกี่ยวกับหลักสูตรหรือการจัดการเรียนรู้ จากวารสารทางวิชาการ (ที่ไม่ใช่งานวิจัย) คนละ 1 บทความ โดยเป็นบทความที่ทันสมัยและตีพิมพ์ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี นับจากปัจจุบัน และเตรียมนำเสนอทุกคน (บทความที่นำเสนอในชั้นเรียนจะเป็นข้อสอบ 1 ข้อ)

เนื้อหา ความหมายของหลักสูตร ประเภทของหลักสูตร มโนทัศน์ต่างๆของหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานหลักสูตร

หลักสูตรคืออะไร??? 1. แบ่งกลุ่มๆ ละ 5 คน จากนั้นร่วมกันทำใบงานที่ 1

ความหมายของหลักสูตร Curriculum มาจากคำในภาษาละตินว่า “Currere” ซึ่งมีความหมายว่า “The course to run, : ทางวิ่ง ลู่วิ่ง” A race course subject matter to be mastered : ลู่แข่งขันของเนื้อหาสาระที่ต้องเรียนรู้

ความหมายของหลักสูตร Curriculum as documents Curriculum as field of study Curriculum as subjects and subjects matter - Curriculum as plans Curriculum as educational activities Curriculum as objectives - Curriculum as learner’s experiences

1. หลักสูตร คือ เอกสาร (document) หลักสูตรในความหมายนี้เป็นการมองว่าเป็นเอกสารที่ถูกเขียนขึ้น เช่น หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 หลักสูตรสถานศึกษา แผนการจัดการเรียนรู้ ประมวลรายวิชา นักการศึกษาที่ได้ให้ความหมายของหลักสูตรลักษณะนี้ ได้แก่ Beauchamp และ Henson

2.หลักสูตรคือสาขาวิชา (field of study) หลักสูตรในความหมายนี้เป็นการมองว่าหลักสูตรเป็นสาขาวิชาหนึ่งที่มุ่งวิเคราะห์และสังเคราะห์สถานภาพ แนวโน้ม แนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตร ตลอดจนมีองค์ความรู้ งานวิจัย ทฤษฎี หลักการ ผู้เชี่ยวชาญเป็นของตนเอง นักการศึกษาที่ได้ให้ความหมายของหลักสูตรในลักษณะนี้ เช่น Slattery และ Hewitt

3. หลักสูตร คือ รายวิชาหรือเนื้อหาวิชาที่เรียน หลักสูตรในความหมายนี้เป็นการมองว่าหลักสูตรคือรายวิชาหรือเนื้อหาวิชาที่ได้จัดเตรียมไว้สำหรับผู้เรียนในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งหรือในระดับการศึกษาใดการศึกษาหนึ่ง เช่น วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา เป็นต้น นักการศึกษาที่ได้ให้ความหมายของหลักสูตรในลักษณะนี้ เช่น Good และ Marsh

4. หลักสูตรคือแผน (plans) หลักสูตรในความหมายนี้ให้ความสนใจกับลำดับขั้นตอนที่สถานศึกษาหรือผู้สอนกำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้ เช่น ผู้สอนวางแผนการจัดการเรียนรู้โดยเขียนแผนการสอน นักการศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาที่ได้ให้ความหมายของหลักสูตรในลักษณะนี้ เช่น Saylor, Alexander, and Lewis; Eisner และ ราชบัณฑิตยสถาน

5. หลักสูตรคือกิจกรรม (activities) หลักสูตรในความหมายนี้มองในด้านกิจกรรมการเรียนการสอนหรือกิจกรรมทางการศึกษาที่จัดให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ประสบการณ์ และคุณลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ อาทิ ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน นักการศึกษาที่ได้ให้ความหมายของหลักสูตรในลักษณะนี้เช่น Walker; Hewitt; Thornton; และกมล สุดประเสริฐ

6. หลักสูตรคือจุดหมาย (objectives) หลักสูตรในความหมายนี้หมายถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องเรียนทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุจุดหมายที่ได้กำหนดไว้ นักการศึกษาที่ได้ให้ความหมายของหลักสูตรในลักษณะนี้ เช่น Gagné; Lavatelli, Moore, and Kalsounis; Popham and Baker

7. หลักสูตรคือประสบการณ์ (experiences) ทั้งปวงของผู้เรียนที่จัดโดยสถานศึกษา หลักสูตรในความหมายนี้หมายถึงประสบการณ์ทุกชนิดที่สถานศึกษาเป็นผู้วางแผนและจัดให้แก่ผู้เรียน โดยผู้เรียนอยู่ภายใต้การดูแลและการสอนของผู้สอน อาทิ ประสบการณ์การทำงานกลุ่มที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนรู้ นักการศึกษาที่ได้ให้ความหมายของหลักสูตรในลักษณะนี้เช่น Marsh and Willis และ Oliva and Gordon

ความหมายของหลักสูตรโดยสรุป หลักสูตรเป็นที่รวมของเนื้อหาที่วางแผนไว้:หลักสูตรในความหมาย static (คงที่)

ความหมายของหลักสูตรโดยสรุป 2. หลักสูตรหมายถึงประสบการณ์ทั้งหมดที่สถานศึกษาเป็นผู้นำทางให้เกิดการเรียนรู้ :หลักสูตรในความหมาย dynamic ความหมายกว้างรวมทุกอย่างที่โรงเรียนจัดให้ รวมเนื้อหาและประสบการณ์

กิจกรรมที่ 1 1.ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆ ล่ะ 5 คน ศึกษาความหมายของคำศัพท์เกี่ยวกับหลักสูตร 2.เปรียบเทียบคำทางหลักสูตร โดยระบุความเหมือนและความแตกต่าง

คำศัพท์เกี่ยวกับหลักสูตร Curriculum development Curriculum construction Curriculum planning Curriculum design Curriculum organization

คำศัพท์เกี่ยวกับหลักสูตร Curriculum implementation Curriculum management and administration Curriculum analysis Curriculum evaluation Curriculum adaptation Curriculum improvement Curriculum Change

ระดับของหลักสูตรและการทำงานด้านหลักสูตร 1. หลักสูตรในระดับกว้าง (macro curriculum) การวางแผนหลักสูตรในขอบเขตกว้าง จัดทำเอกสารหลักสูตรที่ให้แนวทางทั่วไป ให้แนวทางไปประยุกต์ใช้ 2. หลักสูตรในระดับแคบ (micro curriculum) ครอบคลุมถึงการที่ครูแต่ละคนออกแบบการสอนสำหรับผู้เรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง วางแผนการสอน/กิจกรรมที่ผู้เรียนและครูจะทำร่วมกัน

ระดับของหลักสูตร (ยึดหลักความห่างของการทำงานด้านหลักสูตรจากตัวผู้เรียน) - หลักสูตรระดับสังคม เป็นการออกแบบโดยผู้บริหาร นักวิชาการ นักการเมือง เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปรัชญา จุดมุ่งหมาย เรื่องที่จะศึกษา ระยะเวลา สื่อ ในลักษณะจัดการศึกษาทั้งหมดของสังคม - หลักสูตรระดับสถาบัน สถานศึกษานำหลักสูตรระดับสังคมมาปรับใช้และจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

ระดับของหลักสูตร (ยึดหลักความห่างของการทำงานด้านหลักสูตรจากตัวผู้เรียน) - หลักสูตรระดับการสอน เป็นการวางแผนของครูโดยคำนึงถึงหลักสูตรระดับสถาบัน และยังเกี่ยวข้องกับทัศนะ ความคิดเห้นและสไตล์ของครูแต่ละคนด้วย - หลักสูตรระดับประสบการณ์ เป็นระดับที่ผู้เรียนได้รับรู้ เรียนรู้ และมีประสบการณ์ ซึ่งก็ผันแปรไปตามภูมิหลัง ความสนใจ แรงจูงใจที่แตกต่างกัน

องค์ประกอบของหลักสูตร

Taba (1962) หลักสูตรมี 4 องค์ประกอบ 1) จุดประสงค์ 2) เนื้อหาวิชา 3) วิธีสอน/การจัดการ 4) การประเมินผล Walker (2003) หลักสูตรประกอบด้วย 3 ลักษณะ 1) เนื้อหา ระบุเนื้อหา หัวข้อ หรือประเด็นที่เรียนรู้ 2) เป้าหมาย ระบุเป้าหมายด้าน ปัญญา สังคม บุคคล โดยอาจเป็นเป้าหมายในระดับสูงมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ หรือเป้าหมายใกล้ตัวจุดประสงค์การเรียนรู้ 3) การจัดการ เช่น การวางแผนในด้านขอบข่ายและลำดับของเนื้อหา

Beane (2001) ลักษณะทั่วไปของหลักสูตร 1) มีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของผู้เรียน 2) มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทั้งด้านเนื้อหาและกระบวนการ 3) มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเกี่ยวกับหัวข้อและประเด็นที่หลากหลาย 4) มีลักษณะเกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ 5) มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในหลากหลายระดับ

องค์ประกอบของหลักสูตร 1.องค์ประกอบที่เป็นเอกสาร เป็นองค์ประกอบ ของหลักสูตรที่ถูกกำหนดและเขียนขึ้น (written curriculum) ให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน ได้แก่ หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร เวลาเรียน เนื้อหา กิจกรรม การเรียนการสอน การวัดและประเมินผล

องค์ประกอบของหลักสูตร 2.องค์ประกอบที่เป็นกระบวนการ เป็น องค์ประกอบของหลักสูตรที่มีลักษณะเป็นการดำเนินการ ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดหลักสูตรที่เป็นเอกสาร ตลอดจนเป็น กระบวนการที่นำหลักสูตรที่เป็นเอกสารไปใช้ เช่น การ จัดการหลักสูตร การตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร การ ออกแบบหลักสูตร การวางแผนหลักสูตร การนำ หลักสูตรไปใช้ การประเมินหลักสูตร

องค์ประกอบของหลักสูตร 1. หลักการของหลักสูตร หลักการของหลักสูตรคืออะไร? หลักการของหลักสูตรเขียนอย่างไร?

ตัวอย่าง เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชนที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลา และการจัดการเรียนรู้ เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ตัวอย่าง - เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมมีประสบการณ์ตรงในการใช้คอมพิวเตอร์สร้างสื่อการเรียนการสอน - เป็นหลักสูตรฝึกอาชีพเสริมให้แก่สตรีหม้ายในสามจังหวัดชายแดนใต้ - เป็นหลักสูตรที่มุ่งแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

ตัวอย่าง - เป็นหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับแรงงานไทยที่จะไปประกอบอาชีพในประเทศ - เป็นหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น - เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เข้ารับการอบรมให้มีความรู้ ความสามารถและเจตคติที่ดีในการสนทนาภาษาอังกฤษ

องค์ประกอบของหลักสูตร 1. หลักการของหลักสูตร คือลักษณะเฉพาะของหลักสูตร แนวคิดที่หลักสูตรยึดถือ และบอกว่าหลักสูตรจัดขึ้นเพื่ออะไร การเขียนหลักการมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เป็น” บอกลักษณะเฉพาะของหลักสูตรที่สะท้อนมาจากข้อมูลพื้นฐาน เช่น ประเภทของหลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย สภาพปัญหา กระบวนการที่ใช้ ระบุเป้าหมายปลายทางของหลักสูตร

องค์ประกอบของหลักสูตร 2. จุดมุ่งหมาย : ความคาดหวังของหลักสูตรว่าเมื่อผู้เรียนจบหลักสูตรแล้วจะมีคุณลักษณะอย่างไร 1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต

ตัวอย่าง เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการจักสานผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความทักษะในการสานผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพสุจริต

องค์ประกอบของหลักสูตร 3. โครงสร้างของหลักสูตร : แสดงภาพรวมว่าหลักสูตรได้จัดเนื้อหาและประสบการณ์ในลักษณะใด 5. เนื้อหาหลักสูตร : ขอบเขตเนื้อหาที่ผู้เรียนจะได้รับ 6. แนวทางการประเมินผล 7. แนวทางการใช้หลักสูตร

หลักการทั่วไปของหลักสูตร หลักการทั่วไปของหลักสูตร (axiom) คือความจริง หลักการทั่วไป คุณสมบัติ หรือข้อตกลงทั่วไปที่ถือว่าเป็นจริงและยอมรับกันทั่วไปในหมู่นักพัฒนาหลักสูตรซึ่งมี 10 ประการ (Oliva & Gordon 2013) 1. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ 2. หลักสูตรเป็นผลผลิตของแต่ละช่วงเวลา

3. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรที่เกิดขึ้นในช่วงแรกนั้นจะเกิดขึ้นร่วมกันกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรที่เกิดขึ้นในช่วงต่อมา 4. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรด้วย 5. การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากกลุ่มบุคคลหลากหลายฝ่าย 6. การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการตัดสินใจเลือกจากทางเลือกที่มีอยู่หลากหลาย

7. การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่ไม่สิ้นสุด 8. การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่ครอบคลุม 9. การพัฒนาหลักสูตรจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อดำเนินการอย่างมีระบบ 10. การพัฒนาหลักสูตรควรเริ่มจากหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ในขณะนั้น

รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร (Model of Curriculum Development)

1. ศึกษาใบงานที่ 2 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร ภารกิจที่ 2 1. ศึกษาใบงานที่ 2 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร 2. เปรียบเทียบความเหมือนความต่างของแต่ละรูปแบบ 3. ระบุจุดเด่นของแต่ละรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร 4. สังเคราะห์สร้างรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของตนเองขึ้น

1 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ Tyler 1) มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่สถานศึกษาควรให้ผู้เรียนได้บรรลุ? 2) จะต้องมีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างเพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายทางการศึกษา? 3) ประสบการณ์ทางการศึกษาที่ถูกกำหนดไว้นั้น จะสามารถจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร? 4) จะประเมินผลจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?

การเลือกและจัดประสบการณ์ เนื้อหาวิชา สังคม แหล่งข้อมูล ปรัชญา ก.ศ. ผู้เรียน จุดประสงค์แท้จริง เรียบเรียง จิตวิทยา จุดประสงค์ชั่วคราว ขั้นตอนที่ 2 (L-Learning) การเลือกและจัดประสบการณ์ ขั้นตอนที่ 3 (E-Evaluation) การประเมินผล ขั้นตอนที่ 1 (O-Objective) www.themegallery.com

2. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ Taba หนังสือ Curriculum Development: Theory and Practice (1962) ที่ปรับขยายแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรจาก Ralph Tyler 1) การวินิจฉัยความต้องการ เป็นขั้นตอนในการสำรวจสภาพปัญหา ความต้องการและความจำเป็นต่างๆ ของสังคมและผู้เรียน 2) การกำหนดจุดประสงค์ โดยจะต้องกำหนดจุดประสงค์ให้ชัดเจนและครอบคลุม

3) การเลือกเนื้อหา โดยจะต้องเลือกเนื้อหาให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ได้กำหนดจุดประสงค์ไว้ อีกทั้งเนื้อหานั้นจะต้องมีความเชื่อถือได้ สำคัญต่อการเรียนรู้ สอดคล้องกับวัยวุฒิและความสามารถของผู้เรียน 4) การจัดเนื้อหา การจัดเนื้อหาจะต้องคำนึงถึงลำดับ ความต่อเนื่อง ความยากง่ายของเนื้อหาสาระ และจะต้องคำนึงถึงวุฒิภาวะ ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน

5) การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ เลือกให้สอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาของหลักสูตร 6) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยคำนึงถึงจุดประสงค์ เนื้อหาสาระและความต่อเนื่องของประสบการณ์การเรียนรู้ 7) การกำหนดสิ่งที่จะประเมินและวิธีที่ใช้ประเมิน การพิจารณาว่าจะประเมินสิ่งใด จะใช้วิธีใด และใช้เครื่องมืออะไรในการประเมิน ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้

รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ Saylor, Alexander, & Lewis 1) การกำหนดเป้าหมาย จุดประสงค์และขอบเขตความรู้ - สำรวจข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อมของสังคมทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความต้องการและความคาดหวังของสังคม ความต้องการของผู้เรียน ปรัชญาทางการศึกษา แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมากำหนดเป็นเป้าหมาย จุดประสงค์และขอบเขตของความรู้

2) การออกแบบหลักสูตร - การเลือกรูปแบบของหลักสูตรที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การเลือกและจัดเนื้อหาสาระ การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ โดยขั้นตอนต่างๆ จะต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย จุดประสงค์ และขอบเขตของความรู้

3) การนำหลักสูตรไปใช้ - วางแผนและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการกำหนดวิธีการสอน สื่อและวัสดุอุปกรณ์ ตามความเหมาะสมให้สอดคล้องกับเป้าหมาย จุดประสงค์ ขอบเขตของความรู้และเนื้อหาสาระ 4) การประเมินหลักสูตร - การตัดสินใจเลือกเทคนิควิธีการประเมินผลเพื่อเป็นการตัดสินใจในคุณภาพและความสำเร็จของหลักสูตร

เป้าหมาย จุดประสงค์และขอบเขตของความรู้ การประเมินผลหลักสูตร เป้าหมาย จุดประสงค์และขอบเขตของความรู้ การนำหลักสูตร ไปใช้ การออกแบบหลักสูตร การประเมินผลหลักสูตร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ Saylor, Alexander, และ Lewis www.themegallery.com

4. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ โอลิวา (Oliva) 1) กำหนดความต้องการจำเป็นของผู้เรียนในภาพรวม 2) กำหนดความต้องการจำเป็นของสังคม 3) เขียนข้อความแสดงปรัชญาและเป้าประสงค์ทางการศึกษา (aims) ที่ครอบคลุมความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องกำหนดจากความต้องการจำเป็นของบุคคลและสังคมนั้นๆ ตลอดจนจากหลักปรัชญาและจิตวิทยา

4) กำหนดความต้องการจำเป็นของผู้เรียนอย่างเฉพาะเจาะจงในแต่ละโรงเรียน 5) กำหนดความต้องการจำเป็นของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ 6) กำหนดความต้องการจำเป็นของสาขาวิชาที่จะนำมาสอนในโรงเรียน 7) กำหนดเป้าหมายของหลักสูตรของโรงเรียนโดยอิงจากเป้าประสงค์ ความเชื่อ และความต้องการจำเป็นในขั้นตอนที่ 1-6

8) กำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรของโรงเรียนโดยอิงจากเป้าหมายของหลักสูตร 9) จัดหลักสูตรและนำหลักสูตรไปใช้ ขั้นตอนนี้เป็นทั้งการวางแผนและการปฏิบัติ โดยผู้พัฒนาหลักสูตรต้องกำหนดและสร้างโครงสร้างของหลักสูตร 10) กำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอน โดยกำหนดให้เหมาะสมกับระดับการศึกษาและรายวิชา 11) กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน โดยกำหนดให้เหมาะสมกับระดับการศึกษาและรายวิชา

12) เลือกยุทธศาสตร์การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน 13) เลือกเทคนิคการประเมินในขั้นต้น 14) นำยุทธศาสตร์การเรียนการสอนไปใช้ 15) เลือกเทคนิคการประเมิน 16) ประเมินการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิค วิธีและเครื่องมือตามที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 15 17) ประเมินหลักสูตร โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการประเมินหลักสูตรทั้งโปรแกรม

รูปแบบของโอลิวา ขั้นตอนที่ 1-8, 10-13 และ 15 เป็นขั้นตอนการวางแผน ส่วนขั้นตอนที่ 14 และ 16-17 เป็นขั้นตอนการปฏิบัติ โดยมีขั้นตอนที่ 9 เป็นทั้งขั้นตอนการวางแผนและขั้นตอนการปฏิบัติ นอกจากนั้น รูปแบบนี้ยังประกอบไปด้วยรูปแบบย่อย (submodel) 2 รูปแบบ คือ รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรในขั้นตอนที่ 1-9 และ 17 และรูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนในขั้นตอนที่ 10-16

สรุปกระบวนการพัฒนาหลักสูตร 1.การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตร 2.กำหนดหลักการและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3.กำหนดเนื้อหาและประสบการณ์ 4.ออกแบบยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ 5.ออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 6.นำหลักสูตรไปใช้ 7.วัดและประเมินผลการเรียนการสอน 8.ประเมินหลักสูตร 9.ปรับปรุงหลักสูตร