แนวทางการคัดกรองภาวะซีดในเด็ก และการให้ยาเสริมธาตุเหล็ก ในคลินิกเด็กดี พญ.ปัฐมาลักษณ์ เผือกผ่อง โรงพยาบาลนครพิงค์ 1
วัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคคลากรผู้ปฏิบัติงานในคลินิกเด็กดีสามารถ วางระบบในการคัดกรองภาวะซีดในเด็ก ให้ยาเสริมธาตุเหล็กได้อย่างถูกต้องและให้การรักษาที่เหมาะสม
ปัญหาทางโลหิตวิทยาที่พบบ่อยใน เด็กของประเทศไทย คือ ภาวะโลหิตจาง (ซีด) ความสำคัญ ปัญหาทางโลหิตวิทยาที่พบบ่อยใน เด็กของประเทศไทย คือ ภาวะโลหิตจาง (ซีด)
ปัญหาภาวะซีดในเด็กไทย ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะของการขาดธาตุเหล็ก โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กพบได้บ่อยในช่วง 2 ช่วงอายุ คือ ช่วงอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี วัยรุ่น 4
ความหมายภาวะซีด การที่มีปริมาณของเม็ดเลือดแดง (red cell mass) หรือระดับค่าฮีโมโกลบิน (hemoglobin, Hb) ลดลงต่ำกว่า 2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (-2 SD) ของค่าเฉลี่ย (mean) ณ ช่วงอายุนั้นๆ
คำจำกัดความภาวะซีด (WHO) อายุ เพศ Hb ชาย หญิง 6 เดือน - 5 ปี √ <11 g/dl > 5 - 12 ปี <11.5 g/dl > 12 -15 ปี <12 g/dl > 15 ปี √ (ไม่ตั้งครรภ์) <13 g/dl √ (ตั้งครรภ์) 6
รายงานการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทย สถานการณ์ปัญหา รายงานการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทย โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SENUTS) ปี 2553 -2555 พบภาวะซีดในกลุ่มเด็กปฐมวัยอายุ 6 เดือน -12 ปี เขตชนบท ร้อยละ 41.7 เขตเมือง ร้อยละ 26 7
สถานการณ์ปัญหา รายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการ ของประเทศไทย (ครั้งที่ 5) ปี 2546 พบภาวะซีดในกลุ่มเด็กวัยเรียน อายุ 6-8 ปี ร้อยละ 46.7 อายุ 9-11 ปี ร้อยละ 25.4 อายุ 12-14 ปี ร้อยละ 15.7 8
สถานการณ์ปัญหา ผลการคัดกรองภาวะซีดในคลินิกเด็กดี โรงพยาบาลนครพิงค์ (มิ.ย.58 – พ.ค. 59) อายุ จำนวนเด็ก ทั้งหมด เด็กที่มี ภาวะซีด (คน) ภาวะซีด (%) 6 เดือน 437 143 32.72 1 ปี 310 78 25.16 6เดือน และ 1ปี 747 221 25.59
ภาวะซีดและธาตุเหล็ก ฮีโมโกลบิน (สารสีแดงในเม็ดเลือดแดง) ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญของฮีโมโกลบิน ถ้าขาดธาตุเหล็กการสร้างฮีโมโกลบินจะลดลงเกิดภาวะซีดตามมา 10
ธาตุเหล็กในร่างกาย ทารกแรกเกิดได้รับธาตุเหล็กจากมารดาผ่าน ทางรกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หลังคลอดจะได้ธาตุเหล็กจากอาหารได้แก่ น้ำนมแม่และอาหารอื่น ๆ 11
ธาตุเหล็กในร่างกาย ธาตุเหล็กจากน้ำนมแม่จะดูดซึมได้ดีมากถึง ร้อยละ 50 ของธาตุเหล็กที่มีอยู่ (50% bioavailability) น้ำนมแม่จึงเป็นอาหารที่ดีที่สุด สำหรับทารกในภาวะปกติจะเพียงพอสำหรับลูก จนถึงอายุ 6 เดือน 12
ปัจจัยเสี่ยงของการขาดธาตุเหล็ก ประวัติมารดาก่อนคลอด : มีภาวะซีดระหว่างตั้งครรภ์ เป็นเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี ตั้งครรภ์หลายครั้ง (multiple gestation) ประวัติทารก : น้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด
ปัจจัยเสี่ยงของการขาดธาตุเหล็ก การดื่มนม : ดื่มนมผสมสูตรที่ไม่มีธาตุเหล็กเสริม เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปที่ดื่มนมแม่อย่างเดียวโดยไม่ได้อาหารที่มีธาตุเหล็กพอเพียง
สาเหตุของการขาดธาตุเหล็ก 1. ได้รับธาตุเหล็กจากอาหารน้อย อายุ 1 - 2 ปีแรก ดื่มแต่นมอย่างเดียว/ได้รับอาหารเสริมช้า ได้นมผสมที่ไม่ได้เสริมธาตุเหล็ก อายุ 2 ปี ขึ้นไป มีนิสัยบริโภคไม่เหมาะสม ได้แก่ ไม่ชอบไข่ ไม่กินเนื้อสัตว์ เป็นต้น ลดความอ้วน
สาเหตุของการขาดธาตุเหล็ก 2. ร่างกายมีความต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น ทารกคลอดก่อนกำหนด ได้รับธาตุเหล็กจากแม่มาน้อย อัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าทารกปกติในช่วง 6 เดือนแรก ธาตุเหล็กไม่เพียงพอในการสร้างเม็ดเลือดแดง เกิดภาวะซีดได้ตั้งแต่อายุเพียง 2-3 เดือน
สาเหตุของการขาดธาตุเหล็ก 3. การเสียเลือด มีเลือดกำเดา เลือดออกจากแผลในกระเพราะอาหาร มีพยาธิปากขอ มีประจำเดือนมากผิดปกติ
ระดับของการขาดธาตุเหล็ก มี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 ภาวะพร่องธาตุเหล็กในร่างกาย (iron depletion) ระดับที่ 2 ภาวะพร่องธาตุเหล็กในเลือด (decreased transport) ระดับที่ 3 ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anemia)
หลักการรักษาภาวะซีด 1. การให้ยาธาตุเหล็ก 2. การให้คำแนะนำเรื่องอาหาร/ยาธาตุเหล็กเสริม 3. การรักษาสาเหตุ
การศึกษาเรื่อง ผลกระทบต่อระดับเชาว์ปัญญา (cognitive function) ซึ่งประเมินจาก IQ test และผลการเรียนวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ - พบว่าในเด็กนักเรียนที่ขาดธาตุเหล็ก ถ้าตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะต้นและให้รับการรักษาจนระดับ Hb/Hct เพิ่มขึ้น จะทำให้ระดับเชาว์ปัญญาเพิ่มขึ้น