การสำรวจสถานบริการและพนักงานบริการ ทำเนียบ สังวาลประกายแสง กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 8-9 สิงหาคม 2559
วัตถุประสงค์ เพื่อทราบจำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมาย เพื่อกำหนดเป้าหมายการทำงานด้านการควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและวางแผนจัดบริการควบคุมป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ เพื่อทราบปัญหาการดำเนินงานควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อใช้วางแผนคำนวณงบประมาณถุงยางอนามัย
ประโยชน์ของการสำรวจสถานบริการ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในงานระบาดวิทยา โดยใช้เป็นกรอบในการสุ่มกลุ่มเป้าหมาย เพื่อดำเนินงานสำรวจเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวี รวมถึงติดตามและประเมินผลการดำเนินงานป้องกันต่างๆ ทราบจำนวนสถานบริการและพนักงานบริการ/ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และสาวประเภทสอง เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างเจ้าหน้าที่/พนักงาน/เจ้าของผู้ดูแลสถานบริการ ทราบรูปแบบของการให้บริการ เพื่อประชาสัมพันธ์หน่วยงาน / กิจกรรม / ขอความร่วมมือ เพื่อทราบปัญหาที่เกิดจากการให้บริการของหน่วยงานหรือจากการบริหารจัดการในการสำรวจกลุ่มเป้าหมายในแต่ละกิจกรรม
พื้นที่/หน่วยงานรับผิดชอบในการสำรวจ ทุกพื้นที่ในประเทศไทยที่มีกลุ่มเป้าหมาย : FSW MSW TGSW หน่วยงานที่เป็นผู้สำรวจ : หน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ที่มีพื้นที่รับผิดชอบในการจัดบริการสุขภาพ หน่วยงานกำกับติดตาม : สคร. : ระดับเขต สสจ. : ระดับจังหวัด ส่วนกลาง : กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ (Primary care) หมายถึง สถานบริการตั้งแต่ระดับสถานีอนามัย ศูนย์เทศบาล ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ หรือหน่วยบริการอื่นๆ ทั้งหน่วยบริการของภาครัฐและเอกชน มีภารกิจด้านงานส่งเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพ ป้องกันโรค และการรักษาพยาบาลให้บริการสิ้นสุดที่บริการผู้ป่วยนอก (OPD) ซึ่งเป็นหน่วยบริการที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางตำบลที่สุดและประชาชนในตำบลนั้นสามารถเดินทางเข้าถึงบริการสะดวกที่สุด โดยควรจัดแพทย์ให้บริการในหน่วยบริการในลักษณะหมุนเวียน หรือบริการประจำเป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป เวชศาสตร์ครอบครัว เวชศาสตร์ป้องกัน อาชีวเวชศาสตร์ หรือระบาดวิทยา กำหนดเป็นระดับ ๑
Discussion
แนวคิดในการจัดเก็บข้อมูล หน่วยบริการสาธารณสุขแต่ละแห่งเก็บข้อมูลในพื้นที่ของตนเอง พื้นที่รับผิดชอบ แหล่งที่จัดเก็บ ได้แก่ สถานบริการ 24 ประเภท ได้แก่ สำนักค้าประเวณี (ซ่อง) โรงแรม บังกะโล เกสต์เฮ้าส์ โรงน้ำชา บาร์เบียร์ บาร์เกย์ บาร์อโกโก้ ดิสโก้เธค ไนท์คลับ ผับ คาราโอเกะ คอกเทลเลาจน์ อาบอบนวด นวดแผนโบราณ/สปา ซาวน่า/ฟิตเนส คอฟฟี่ชอบ คาเฟ่ ร้านอาหาร/สวนอาหาร ร้านเสริมสวย ร้านตัดผมชาย บริการทางโทรศัพท์/อินเทอร์เน็ต สถานที่สาธารณะ อื่นๆ
อธิบายความหมายของตัวแปรในแบบบันทึกข้อมูล หน้าที่ 1 ชื่อ/รหัสผู้สำรวจ.................................. สังกัดหน่วยบริการ....................................อ./เขต...........จ................. วันที่สำรวจ.................เวลา.....................
หน้าที่ 2 ข้อมูลทั่วไป ชื่อสถานที่/ร้าน.............................................................................. ที่อยู่ ซอย................................ถนน.......................... พิกัด............................................. เบอร์โทรศัพท์................................................................................. ประเภทสถานบริการ.................................................................... ชื่อผู้ให้ข้อมูล.......................................................... ตำแหน่ง........................................................ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้............................................... ประเภทผู้ให้ข้อมูล ชาย หญิง FSW MSM MSW TG TGSW
จากการสังเกตหรือสัมภาษณ์ หน้าที่ 3 ข้อมูลสถานบริการ จำนวน จากการสังเกตหรือสัมภาษณ์ SW MSW TGSW MSM TG พนักงานชาย พนักงานหญิง ช่วงเวลาที่เปิดบริการ : เริ่มเปิดเวลา ปิดเวลา เปิดบริการมานานเท่าไร (ถ้ายังไม่ครบปีให้ตอบเป็นเดือน) ราคาในการให้บริการ (สามารถตอบได้เป็นช่วง) ในรอบสัปดาห์ 1. มีลูกค้ามามากที่สุดวันไหนบ้าง 2. ช่วงเวลาไหนมากที่สุด 3. จำนวนลูกค้าประมาณกี่คน/วัน ในรอบปี 1. ช่วงเดือนที่มีพนักงานมากที่สุด ( ตอบได้มากกว่า 1 เดือน)/ จำนวนกี่คน 2. ช่วงเดือนที่มีพนักงานน้อยที่สุด คุณรู้จักสถานที่อื่นๆ ที่ไหนอีกบ้าง (ที่มีกลุ่มเป้าหมายตามแบบ สำรวจ)............................................................
รูปแบบการสรุปรายงานของแต่ละพื้นที่ (1)
รูปแบบการสรุปรายงานของแต่ละพื้นที่ (2)
ขั้นตอนและวิธีการสำรวจสถานบริการและพนักงานบริการ ขั้นตอนการเตรียมการ 1.1 การจัดเตรียมผู้รับผิดชอบในทีมงานสำรวจ 1.2 เตรียมความพร้อมก่อนการสำรวจ 1.3 ประชุมชี้แจง 1.4 ติดต่อประสานงานกับแหล่งบริการ ขั้นตอนการดำเนินการสำรวจภาคสนาม 2.1 ดำเนินการสำรวจแหล่งบริการในพื้นที่พร้อมกันทั่วประเทศ โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1 – 31 มกราคมของทุกปี 2.2 สอบถามข้อมูลที่ต้องการสำรวจตามแบบบันทึกรายงานผลการสำรวจตามเครื่องมือที่กำหนด (โทรศัพท์มือถือ) ขั้นตอนสรุปผลการสำรวจและจัดทำรายงาน 3.1 สรุปผลตามแบบฟอร์มการรายงาน 3.2 จัดส่งรายงานให้ สสจ. สคร. กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ภาพแผนที่จาก GPS
ระยะเวลาการเก็บข้อมูล ชื่อหน่วยบริการฯ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. สรุปข้อมูล