เสนอ อาจารย์ สุพิน ดิษฐสกุล

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
7.3 Example of solution of Poisson’s Equation
Advertisements

PE Bag – large size (ถุงพลาสติกใหญ่ PE)
ความรู้เรื่องพลาสติกชนิดต่างๆ
Polymer พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า มอนอเมอร์มาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
ColOR COSMETic FOR SKIN (Face powder)
โดย คุณครูพัชรี ลิ้มสุวรรณ
I. 5: Additives for Plastics (Ref. A. Kumar and R. K
Part II: Classification of polymer
เคมีของชีวิต สารประกอบอินทรีย์
1.1 Addition polymerization (แบบการเติม)
Principles ( หลักการ ) Applications ( การใช้ งาน ) Maintenance ( การ บำรุงรักษา )
นางสาวสรัญญา ชื่นเย็น (พี่ออย) เจ้าหน้าที่ศูนย์นวัตกรรมการจัดการ อ.ก้องภู นิมานันท์ อาจารย์ที่ปรึกษา 1.น.ส.นพรัตน์ ปฏิกรณ์ (คุ๊กกี้) นายบุรินทร์
PITH ANALYSIS THAILAND PLASTICS ANALYSIS REPORT
การแต่งตั้ง เลื่อน ย้าย ข้าราชการ
ปริมาณสารสัมพันธ์ Stoichiometry.
สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สัญญา หลักประกันและ การบริหารสัญญา
วิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อ.ชนกนันท์ บางเลี้ยง
เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวต (Chemical basic of organisms)
การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้ โดย ดนัย บุณยเกียรติ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1.3 มิติสิ่งแวดล้อม การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ.
บทที่ 5 แบบจำลองกระบวนการ
สารชีวโมเลกุล (Biomolecules) ดร.ธิดา อมร.
การสร้างเว็บไซด์อีคอมเมิร์ซ
พลาสติกกับการใช้งานบรรจุภัณฑ์
การวิเคราะห์การไหลของกำลังไฟฟ้าในระบบไฟฟ้า
ชั่วโมงที่ 6–7 พันธะไอออนิก และพันธะโคเวเลนต์
การจำแนกสารรอบตัว โดย ครูวนิดา สวนดอกไม้
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
1.3 มิติสิ่งแวดล้อม การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ.
บทที่ 11 ระบบปฏิบัติการ Linux T.Kunlaya Charoenmongkonvilai
/ Soil Fertility and Plant Nutrition
1.
ประชุมหารือการตามจ่าย เงินกันและOP Refer
ปรัชญา วิสัยทัศน์ ปณิธาน พันธกิจ
แผนการเงินการคลัง (Planfin) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
การพัฒนาดิจิทัลคอลเลคชั่น
Yeunyong Kantanet School of Information and Communication Technology
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม,การจัดงาน
หลักเกณฑ์ในการตั้งตัวแทน
ความยืดหยุ่น Elasticity
กิจกรรมที่7 บทบาทของโลหะทองแดงในปฏิกิริยา
5 แบบจำลองกระบวนการ Process Modeling
พอลิเมอร์ (Polymer) พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วยหน่วยเล็กๆ ของสารที่อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค วันที่ 17 ตุลาคม 2560
สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดชัยภูมิ
การบริหารสัญญา และหลักประกัน.
วิชา วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 6 จังหวัดสระแก้ว
บทที่ 7 การจัดเก็บวัสดุและหีบห่อ
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
อุทธรณ์,ฎีกา.
สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดสุรินทร์
ส่งสัญญาณเตือนระยะต้น
ระบบโปรแกรมทะเบียนเกษตรกรรายแปลง
CPE 332 Computer Engineering Mathematics II
แนวปฏิบัติที่ดีในการเพิ่มประสิทธิภาพ การทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตรดิตถ์
狗隻的訓練 聖士提反女子中學附屬小學 孫晞庭.
ประเด็นการขับเคลื่อนองค์การไปสู่ระบบราชการ 4.0
Polymer พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า มอนอเมอร์มาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
พอลิเมอร์ (Polymer) โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่
การใช้ระบบโปรแกรม การกำหนดสิทธิ์การใช้งาน  เจ้าหน้าที่ บันทึก
การตั้งมาตรฐานคุณภาพ
1.3 มิติสิ่งแวดล้อม การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ.
อันตราย! อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจ “โฟม”
สรุปผลการตรวจสอบ รายงานการจัดการพลังงาน ประจำปี 2554มี ความครบถ้วนและถูกต้องตามที่กฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ กำหนดทุกประการ.
เงินนอกงบประมาณ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรตามเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านบัญชีในระบบ GFMIS (กระทรวงสาธารณสุข) นายธราธิป หนูเจริญ นักวิชาการคลังชำนาญการ.
การยื่นข้อเสนอโครงการวิจัย
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เสนอ อาจารย์ สุพิน ดิษฐสกุล Polymer & Plastic โดย ภัคพล กาญจนาลัย วิวัศ เติมกลิ่นจันทน์ นรินทร วัฒนคุลัง เสนอ อาจารย์ สุพิน ดิษฐสกุล

Polymer & Plastic

Polymer & Plastic Polymer Plastic

พอลิเมอร์ ประเภทของพอลิเมอร์ โครงสร้างของพอลิเมอร์ พอลิเมอร์ คืออะไร ?? ประเภทของพอลิเมอร์ โครงสร้างของพอลิเมอร์ ปฏิกิริยาพอลิเมอรไรเซชัน และการสังเคราะห์พอลิเมอร์ พลาสติก Back

1 1 2 พอลิเมอร์ คือ สารประกอบอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วย หน่วยซ้ำ (repeating unit) ซึ่งแต่ละหน่วยเรียกว่า มอนอเมอร์ ( Monomer ) หน่วยของสารนั้นอาจจะเป็นหน่วยที่เหมือนกันหรือต่างกันมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ สารที่พบในชีวิตประจำวันหลายอย่าง ดังเช่น โปรตีน ไม้ ยาง พลาสติก ฯลฯ ล้วนเป็นสารประเภท พอลิเมอร์ทั้งสิ้น พลาสติก Back

หน่วยซ้ำของพอลิเมอร์ 2 หน่วยซ้ำของพอลิเมอร์ ( CF2 CF2 )n Teflon ( CH2 CH2 )n Polyethylene ( CH2 CH )n Cl PVC พลาสติก Back

แบ่งตามชนิดของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบ แบ่งตามกระบวนการสังเคราะห์ 1 2 3 4 5 ประเภทของพอลิเมอร์ แบ่งตามการเกิด แบ่งตามชนิดของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบ แบ่งตามกระบวนการสังเคราะห์ พลาสติก Back

แบ่งตามการเกิด พอลิเมอร์ธรรมชาติ Proteins Nucleic acids Cellulose ก. พอลิเมอร์ธรรมชาติ เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น โปรตีน แป้ง เซลลูโลส ยางธรรมชาติ พอลิเมอร์ธรรมชาติ Proteins Nucleic acids Cellulose Rubber พลาสติก Back

พอลิเมอร์สังเคราะห์ Nylon Polyethylene Polyester ข. พอลิเมอร์สังเคราะห์ นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามนำสารที่มีโมเลกุลเล็กๆมารวมกันทางเคมีโดยเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อให้ได้สารใหม่ที่มีโมเลกุลใหญ่ๆ ที่เรียกว่า พอลิเมอร์ จนเป็นผลสำเร็จ เช่น การสังเคราะห์ยางเทียม ผ้าไหมเทียม ตลอดจนผลิตภัณฑ์พลาสติกต่างๆวัตถุดิบสำคัญที่นำมาใช้สังเคราะห์สารพอลิเมอร์เหล่านี้ ได้แก่ ผลิตผลพลอยได้จากการกลั่น ปิโตรเลียม ถ่านหิน สินแร่ เป็นต้น พอลิเมอร์สังเคราะห์ Nylon Polyethylene Polyester พลาสติก Back

แบ่งตามชนิดของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบ ก. โฮโมพอลิเมอร์ เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ชนิดเดียวกัน เช่น แป้ง พอลิเอทิลีน PVC ข. โคพอลิเมอร์ เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ต่างชนิดกัน เช่น โปรตีน พอลิเอสเทอร์ พลาสติก Back

แบ่งตามกระบวนการสังเคราะห์ ก. การรวมตัวแบบต่อเติม การรวมแบบต่อเติม (addition polymerization) เป็นกระบวนการที่เกิดจากมอนมเมอร์ชนิดเดียวกันหรือต่างกันมารวมกันที่ตำแหน่งพันธะคู่ ทำให้พันธะคู่สลายกายเป็นพันธะเดี่ยว ได้สารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ในลักษณะที่เป็นโซ่ตรงหรือโซ่กิ่ง ในกระบวนการนี้จะไม่มีการสูญเสียโมเลกุลเล็กๆ Ex. ข. การรวมแบบควบแน่น (condensation polymerization) เป็นกระบวนการที่เกิดจากมอนอเมอร์ต่างชนิดกันมารวมเข้าด้วยกัน แล้วสูญเสียโมเลกุลของน้ำ แอลกอฮอล์ หรือแอมโมเนียไป Ex. + H2O พลาสติก Back

โครงสร้างของพอลิเมอร์ ก. พอลิเมอร์แบบเส้น เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์สร้างพันธะต่อกันเป็นสายยาว โซ่พอลิเมอร์เรียงชิดกันมากว่าโครงสร้างแบบอื่น ๆ จึงมีความหนาแน่น และจุดหลอมเหลวสูง มีลักษณะแข็ง ขุ่นเหนียวกว่าโครงสร้างอื่นๆ ตัวอย่าง PVC พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีน พลาสติก Back

โครงสร้างของพอลิเมอร์ ข. พอลิเมอร์แบบกิ่ง เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ยึดกันแตกกิ่งก้านสาขา มีทั้งโซ่สั้นและโซ่ยาว กิ่งที่แตกจาก พอลิเมอร์ของโซ่หลัก ทำให้ไม่สามารถจัดเรียงโซ่พอลิเมอร์ให้ชิดกันได้มาก จึงมีความหนาแน่นและจุดหลอมเหลวต่ำยืดหยุ่นได้ ความเหนียวต่ำ โครงสร้างเปลี่ยนรูปได้ง่ายเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ตัวอย่าง พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ พลาสติก Back

โครงสร้างของพอลิเมอร์ ค. พอลิเมอร์แบบร่างแห เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ ต่อเชื่อมกันเป็นร่างแห พอลิเมอร์ชนิดนี้มีความแข็งแกร่ง และเปราะหักง่าย ตัวอย่างเบกาไลต์ เมลามีนใช้ทำถ้วยชาม พลาสติก Back

การจัดทิศทางของโมเลกุลในพอลิเมอร์ หมู่อัลคิวชนิดเดียวกันอยู่ทางฝั่งเดียวกัน เรียกว่า Isotactic หมู่อัลคิวอยู่ชนิดเดียวกันอยู่ทางฝั่งตรงข้ามสลับกัน เรียกว่า Syndiotactic หมู่อัลคิวชนิดต่างกันอยู่สลับไปมา เรียกว่า Atactic พลาสติก Back

ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน และการสังเคราะห์พอลิเมอร์ พอลิเมอร์ไรเซชัน (Polymerization) คือกระบวนการเกิดสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ (พอลิเมอร์) จากสารที่มีโมเลกุลเล็ก (มอนอเมอร์) ประเภทพอลิเมอไรเซชันมีอยู่ สองระบบ คือ 1. แบ่งตามชนิดของปฏิกิริยา 2. แบ่งตามกลไกการเพิ่มขนาดของสายพอลิเมอร์ พลาสติก Back

แบ่งตามชนิดของปฏิกิริยา ก. ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันแบบเติม (addition polymerization) ภาวะที่เหมาะสม ตัวอย่าง ตัวเร่งปฏิกิริยา อุณหภูมิ พลาสติก Back

ข. ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันแบบควบแน่น (condensation polymerization) มอนอเมอร์ต่างชนิด หมู่ฟังก์ชันต่างกันมาต่อกัน พอลิเมอร์ควบแน่น + โมเลกุลเล็ก ตัวอย่าง หมายเหตุ พอลิเมอร์บางชนิดเป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากสารอนินทรีย์ เช่น ฟอสฟาซีน ซิลิโคน พลาสติก Back

แบ่งตามกลไกการเพิ่มขนาด ของสายพอลิเมอร์ ก. พอลิเมอไรเซชันแบบลูกโซ่ (chain poymerization) ข. พอลิเมอไรเซชันแบบขั้น (step polymerization) พลาสติก Back

พอลิเมอไรเซชันแบบลูกโซ่ การเกิดปฏิกิริยาแต่ละครั้งจะเกิด กับหลายโมเลกุลพร้อมกันรวมกัน ปฏิกิริยาเกิดอย่างรวดเร็ว อาจมีโมเลกุลเดี่ยวหลงเหลือไม่ เกิดปฏิกิริยา พลาสติก Back

พอลิเมอไรเซชันแบบขั้น การเกิดปฏิกิริยาแต่ละครั้งจะเกิด กับแค่โมเลกุล 2 โมกุลเท่านั้น มอนอเมอร์จะหายไปรวดเร็ว ใช้เวลานานกว่าจะเป็นโซ่ยาว โมเลกุลทุกตัวจะเกิดปฏิกิริยา พลาสติก Back

การสังเคราะห์พอลิเมอร์ ในทางปฏิบัติ พอลิเมอร์สังเคราะห์จากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันของมอนอเมอร์มีวิธีการพื้นฐานในทางปฏิบัติ 4 ลักษณะด้วยกัน คือ 1. วิธีการสังเคราะห์แบบบัลค์ (bulk polymerisation) 2. วิธีการสังเคราะห์แบบสารละลาย (solution polymerisation) 3. วิธีการสังเคราะห์แบบซัสเพนชัน (suspension polymerisation) 4. วิธีการสังเคราะห์แบบอีมัลชัน (emulsion polymeisation) พลาสติก Back

1. วิธีการสังเคราะห์แบบบัลค์ (bulkpolymerisation) การสังเคราะห์แบบบัลค์ เป็นระบบการสังเคราะห์ที่ประกอบด้วย มอนอเมอร์ (monomer) กับสารก่อเกิดปฏิกิริยา (initiator) หรือสารเร่งการเกิดปฏิกิริยา (catalyst) เท่านั้นเมื่อเวลาเริ่มต้นของปฏิกิริยา การสังเคราะห์วิธีการนี้จัดว่าเป็นระบบที่มีความบริสุทธิสูงมาก ได้พอลิเมอร์ที่มีการปนเปื้อนต่ำ เพราะเมื่อปฏิกิริยาเสร็จสิ้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีเพียงพอลิเมอร์เท่านั้น อาจจะมีมอนอเมอร์เหลืออยู่บ้างเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะมอนอเมอร์จะต้องทำหน้าที่เป็นสารตัวทำละลายพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้น การมีพอลิเมอร์ซึ่งเป็นโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่และยาวละลายอยู่ในมอนอเมอร์ทำให้ความหนืดของส่วนผสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในระหว่างการสังเคราะห์ นอกจากความหนืดที่เกิดเพิ่มขึ้นเมื่อใช้เวลาของการสังเคราะห์นานขึ้นเรื่อยๆแล้ว เนื่องจากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันเป็นปฏิกิริยาคายความร้อนทำให้อุณหภูมิภายในระบบเพิ่มขึ้นอีกด้วย การกระจายความร้อนภายในระบบเกิดได้ต่ำเพราะความหนืดที่เกิดเพิ่มขึ้นระหว่างการสังเคราะห์ ทำให้การสังเคราะห์วิธีการนี้มีโอกาสเกิดตำแหน่งจุดเข้มของความร้อน ซึ่งอาจเป็นตำแหน่งที่ทำให้เกิดการสลายตัวของพอลิเมอร์ระหว่างการสังเคราะห์ พลาสติก Back

2. วิธีการสังเคราะห์แบบสารละลาย (solution polymerisation) การสังเคราะห์แบบสารละลาย เป็นวิธีการสังเคราะห์ที่คิดค้นขึ้น เพื่อขจัดปัญหาเกี่ยวกับความหนืดและการเกิดจุดเข้มของความร้อนระหว่างการสังเคราะห์แบบบัลค์ มีการใช้ตัวทำละลายแท้จริง เช่น คลอโรฟอร์ม ทูโลอีน หรืออื่นๆร่วมในระบบ ตัวทำละลายที่เลือกใช้นี้ต้องสามารถละลายส่วนผสมทุกชนิดในระบบได้ซึ่งรวมทั้งพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วย ความหนืดของระบบเมื่อเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันมีเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันกับวิธีการสังเคราะห์แบบบัลค์ อย่างไรก็ตามไม่สูงเท่ากับกรณีของการสังเคราะห์แบบบัลค์ การควบคุมความหนืดสามารถทำได้โดยการเติมเพิ่มปริมาณตัวทำละลายเข้าไปในระบบระหว่างการสังเคราะห์ การใช้ตัวทำละลายเข้าไปมีส่วนร่วมในการสังเคราะห์วิธีการนี้ พบว่าการคงค้างของตัวทำละลายในเนื้อพอลิเมอร์ (polymer matrix) มีส่วนทำให้พอลิเมอร์เกิดการปนเปื้อน นอกจากนี้ปริมาณปนเปื้อนเพราะตัวทำละลายในการสังเคราะห์พอลิเมอร์แต่ละครั้งมีความแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลกระทบถึงสมบัติของพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเสมอ พลาสติก Back

3. วิธีการสังเคราะห์แบบซัสเพนชัน (suspension polymerisation) เป็นวิธีการสังเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดในเรื่องความบริสุทธิ์ของพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นและความสามารถในการระบายความร้อนจากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน การสังเคราะห์ด้วยวิธีการนี้จะใช้การกวนสารละลายระหว่างมอนอเมอร์กับสารก่อเกิดปฏิกิริยาในตัวกลางบางชนิดที่ไม่ผสมกับสารละลายมอนอเมอร์ เช่น น้ำ เป็นต้น ทำให้ภายในหยดสารละลายมอนอเมอร์มีสภาพคล้ายกับวิธีการสังเคราะห์แบบบัลค์ ความร้อนจากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันจะระบายออกจากหยดมอนอเมอร์ไปยังตัวกลาง การสังเคราะห์วิธีการนี้การกวนจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปฏิกิริยาพอลิเมอไรซ์เกิดขึ้นในเปอร์เซนต์ที่สูงพอจนทำให้หยดมอนอเมอร์มีสภาพผิวที่แกร่งพอ จนสามารถจะแยกออกจากระบบได้ ในทางปฏิบัติอาจมีการเติมสารความแกร่งหรือสร้างประจุบนผิวของหยดมอนอเมอร์ เรียกว่า “สารซัสเพนดิง (suspending agent)” เพื่อทำให้การรวมตัวกันของหยดมอนอเมอร์เมื่อเกิดการกระทบกันระหว่างการกวนน้อยลง พอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นจะมีรูปทรงกลมหรือรีเล็กน้อยตามลักษณะของหยดมอนอเมอร์ที่แขวนตัวอยู่ในตัวกลาง ข้อบกพร่องของการสังเคราะห์วิธีการนี้อยู่ที่ระบบการกวนเพราะหาตำแหน่งใบพัดไม่เหมาะสม สัดส่วนตัวกลางกับมอนอเมอร์ไม่มากพอ หรือเกิดการขัดข้องทางระบบไฟฟ้าระหว่างการสังเคราะห์จะส่งผลให้การสังเคราะห์วิธีการนี้ไม่ประสบความสำเร็จ พลาสติก Back

4. วิธีการสังเคราะห์แบบอีมัลชัน (emulsion polymeisation) เป็นวิธีการสังเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นโดยการทำให้หยดมอนอเมอร์สามารถแขวนลอยอยู่ได้ในน้ำโดยไม่เกิดการตกตะกอนและไม่ต้องอาศัยการกวนเพื่อทำให้เกิดการกระจายตัวของหยดมอนอเมอร์ ซึ่งลักษณะนี้เป็นลักษณะที่พบได้ในระบบอีมัลชันจากสารธรรมชาติ เช่น น้ำนม หรือน้ำยางพารา เป็นต้น การคงสภาพของมอนอเมอร์ในตัวกลางของระบบนี้ต้องอาศัยสารช่วยการคงสภาพ เรียกว่า “สารอีมัลซิฟายอิง (emulsifying agent)” พอลิเมอร์ที่ได้มักจะมีขนาดที่เล็กมากจนมีลักษณะคล้ายผงละเอียดและมีสภาพผิวที่ขุระมากกว่าการสังเคราะห์แบบซัสเพนชัน พลาสติก Back

เทคโนโลยีเกี่ยวกับพลาสติก พลาสติกคืออะไร ประเภทของพลาสติก ตัวอย่างพลาสติก เทคโนโลยีเกี่ยวกับพลาสติก พอลิเมอร์ Back

พลาสติก พลาสติกเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่มนุษย์รู้จักมานานกว่า ๑๓๐ ปี และนำมาใช้ประโยชน์ แทนโลหะ ไม้ หรือวัสดุธรรมชาติอื่นๆ เช่น ทำเส้นใยสำหรับผลิตสิ่งทอ หล่อเป็นลำเรือและชิ้นส่วนของยานยนต์ ภาชนะ และวัสดุ บรรจุภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งอุปกรณ์และเครื่องใช้อื่นๆอีกมาก พลาสติกสามารถทำให้เป็นรูปต่างๆ ได้ด้วยความร้อน พลาสติกเป็นพอ ลิเมอร์สังเคราะห์ที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ มวลโมเลกุลมาก พอลิเมอร์ Back

ปัจจุบันพลาสติกมีบทบาทอย่างยิ่งใน ชีวิตประจำวัน เราจะพบเห็นพลาสติกในรูปของผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่ตื่นนอน ตอนเช้าจนกระทั่งเข้านอนในตอนกลางคืน เริ่มตั้งแต่แปรงสีฟัน หวี กล่องใส่สบู่ ขวด และกระปุกเครื่องสำอาง เครื่องประดับของ สตรี หัวก๊อกน้ำ ฝักบัวและสายยาง ประตู ห้องน้ำ เสื้อผ้า กระดุม ถุงเท้า รองเท้า เครื่องใช้ไฟฟ้า วิทยุ โทรทัศน์ ถ้วย จาน โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องตกแต่งบ้าน สีทาบ้าน กระเบื้องมุงหลังคาแบบโปร่งแสง ชิ้นส่วน รถยนต์และพาหนะอื่นๆ กระเป๋า เครื่องใช้สำนักงานต่างๆ ตลอดจนอุปกรณ์การแพทย์และชิ้นส่วนอวัยวะเทียม อาจกล่าวได้ว่า ไม่ว่าจะไปที่แห่งใดก็จะพบเห็นพลาสติกเสมอ พอลิเมอร์ Back

สมบัติ เสถียร สลายตัวยาก มีมวลน้อย เบา เป็นฉนวนความร้อนและไฟฟ้าที่ดี ส่วนมากอ่อนตัวและหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน จึงเปลี่ยนเป็นรูปต่าง ๆ ได้ตามประสงค์ พอลิเมอร์ Back

ประเภทของพลาสติก ก. เทอร์มอพลาสติก ได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเมื่อเย็นลงจะแข็งตัว สามารถเปลี่ยนรูปได้ พลาสติกประเภทนี้โครงสร้างโมเลกุลเป็นโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อย มาก จึงสามารถหลอมเหลว หรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิม ตัวอย่าง พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน พอลิเมอร์ Back

ข. พลาสติกเทอร์มอเซต คงรูปหลังการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงก็จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ พลาสติกประเภทนี้โมเลกุลจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับกันแน่น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้ ตัวอย่าง เมลามีน พอลิยูรีเทน พอลิเมอร์ Back

ตัวอย่างพอลิเมอร์ ที่นำมาทำพลาสติก เทอร์โมเซต เทอร์โมพลาสติก พอลิเมอร์ Back

เทอร์โมพลาสติก พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน พอลิไวนิลคลอไรด์ พอลิยูรีเทน พอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน พอลิเอไมด์ (ไนลอน) พอลิเอสเทอร์ พอลิเมอร์ Back

พอลิเอทิลีน (PE) คุณสมบัติ : เล็บขีดเป็นรอย ไม่ละลายในสารละลายทั่วไป ประโยชน์ : ถุง ภาชนะ ท่อน้ำ ฟิล์มถ่ายภาพ ของเล่นเด็ก ดอกไม้พลาสติก พอลิเมอร์ Back

พอลิโพรพิลีน (PP) คุณสมบัติ : ขีดด้วยเล็บไม่เป็นรอย ไม่แตก ประโยชน์ : โต๊ะ เก้าอี้ เชือก พรม พอลิเมอร์ Back

พอลิสไตรีน (PS) คุณสมบัติ : เปราะ ละลายได้ในคาร์บอน เตตระคลอไรด์ และ โทลูอีน ประโยชน์ : โฟม อุปกรณ์ไฟฟ้า เลนส์ ของเล่นเด็ก พอลิสไตรีน (PS) พอลิเมอร์ Back

พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) คุณสมบัติ : อ่อนตัวได้คล้ายยาง ประโยชน์ : กระดาษปิดผนัง ภาชนะบรรจุ สารเคมี รองเท้า กระเบื้องปูพื้น ฉนวนหุ้มสายไฟ พอลิเมอร์ Back

พอลิยูรีเทน คุณสมบัติ : แข็งเหนียว นุ่มฟูแบบฟองน้ำ ประโยชน์ : เส้นใย ยางเทียม กาว สารเคลือบผิว พอลิยูรีเทน พอลิเมอร์ Back

พอลิเตตระฟลูออโรด์เอทิลีน (Teflon) คุณสมบัติ : เหนียว ทนสารเคมี ผิวลื่น ไม่ยึด ติดภาชนะ ประโยชน์ : เครือบผิวภาชนะหุงต้ม สายไฟ พอลิเมอร์ Back

พอลิเอไมด์ Nylon (PA) คุณสมบัติ : เหนียว ยืดหดได้ ทนแรงขัดถู ประโยชน์ : เชือกได้ ถุงน่อง สายไฟฟ้า พอลิเมอร์ Back

พอลิเอสเทอร์ (PET) คุณสมบัติ : แข็ง เหนียว ใส ทนแรงขัดถู ประโยชน์ : เชือก ด้าย แห อวน พอลิเอสเทอร์ (PET) พอลิเมอร์ Back

เทอร์โมเซต พอลิยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ พอลิฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์ อีพอกซี พอลิเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ พอลิเมอร์ Back

พอลิยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ คุณสมบัติ : แข็งเปราะ ทนความร้อนสารเคมี ประโยชน์ : กาว แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ พอลิเมอร์ Back

พอลิฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์ คุณสมบัติ : แข็ง เปราะ ทนความร้อนสูง เป็น ฉนวนไฟฟ้า ประโยชน์ : กาว แผงวงจรไฟฟ้า พอลิเมอร์ Back

อีพอกซี คุณสมบัติ : ไม่ละลายในสารไฮโดรคาร์บอนและน้ำ ประโยชน์ : กาว เรซินเคลือบผิว อีพอกซี พอลิเมอร์ Back

พอลิเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ คุณสมบัติ : ทนสารเคมี ต้านทานน้ำได้ดี ประโยชน์ : ภาชนะใส่อาหาร เรซินเคลือบผิว พอลิเมอร์ Back

เทคโนโลยีเกี่ยวกับพลาสติก พลาสติกเป็นวัสดุที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น โดยการนำวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำมันปิโตรเลียม มาแยกเป็นสารประกอบ บริสุทธิ์หลายชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารประกอบระหว่างคาร์บอน (ถ่าน) กับก๊าซ ไฮโดรเจน เมื่อนำเอาสารประกอบแต่ละ ชนิดมาทำปฏิกิริยาให้มีลักษณะต่อๆกันเป็นเส้นสายยาวมากๆ ก็จะได้วัสดุที่มีสมบัติเป็น พลาสติก พลาสติกที่เกิดจากสารประกอบ ที่ต่างกันจะมีสมบัติแตกต่างกันไปด้วย และ พลาสติกบางชนิดอาจเกิดจากสารประกอบ มากกว่า ๑ ชนิดก็ได้ พอลิเมอร์ Back

กรรมวิธีการผลิตพลาสติกมีได้หลายวิธี แต่วิธีที่ใช้การมากที่สุดคือ การใช้สารพอลิเมอร์ที่ยังหลอมละลายในความร้อนสูงอยู่และเป็นสารที่จะใช้ทำพลาสติก นำมาหล่อเทใส่แบบใน model ที่เตรียมไว้ แล้วนำมาประกอบกันทีหลัง เป็นต้น พอลิเมอร์ Back

พอลิเมอร์ Back

Reference Link for more information ปิโตรเคมี (จุฬา) (pdf file) Plastic (ENCARTA DICTIONARY 2004) http://www.chem.rochester.edu/~chem421/classes.htm http://www.woranari.ac.th/woranari/scihouse_web/petrochemical.htm http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK28/chapter8/t28-8-l1.htm#sect1 http://classroom.psu.ac.th/users/wachirapan/342_402/content.htm http://www.pt.ac.th/ptweb/studentweb/plastic/index.html Back

END