บทที่ 1 ความหมายขอบเขต และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ผู้สอน ครูวาสนา พลทองมาก โรงเรียนบ้านบึงสามัคคีกำแพงเขต
Advertisements

Chapter 1 Introduction to Information Technology
ชุดที่ 2 Hardware.
Introduction to computers
เรื่อง องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ จำทำโดย นาย เดชฤทธิ์ ร้อยพรหมมา
ลักษณะของข่าวสารที่ดี
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
มัลติมีเดีย ประกอบประมวลสาระ
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
Welco me to. วัตถุประสงค์ :  เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจวิธีการใช้ คอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสมและเป็น ประโยชน์  เพื่อให้นักศึกษารู้จักใช้คอมพิวเตอร์ให้ เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า.
โปรแกรมสำเร็จรูปในงานอาชีพ
Introduction to Information Techonology Fundamental วรวิทย์ พูลสวัสดิ์ : Information Technology Fundamental.
LOGO แนวคิดเกี่ยวกับระบบ สารสนเทศ นางสาวกนกรัตน์ นพ โสภณ SMET
อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device) Input หมายถึง การป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผลโดย User จะเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าสู่ เครื่อง.
NEW MEDIA. สื่อใหม่ คือ สื่อเก่าที่เปลี่ยนรูปลักษณ์ ภายนอก คุณเชื่อความคิดนี้หรือไม่
เนื้อหาที่จะเรียน คอมพิวเตอร์คืออะไร ระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ อินเตอร์เน็ต Microsoft Office.
เข้าสู่ วิชา การงานอาชีพ จัดทำโดย ด. ญ. สุชัญญา เขียวสมอ ม.1/14 เลขที่ 38 ด. ญ. พรรณวษา ยาวะระ ม.1/14 เลขที่ 32 นำเสนอ อาจารย์ ฐิตาพร ดวงเกตุ โรงเรียนวินิตศึกษา.
ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือ เหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆที่ เป็นตัวเลข ข้อความหรือ รายละเอียดซึ่งอาจอยู่ใน รูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง.
ระบบสารสนเทศ อ.วรพจน์ พรหมจักร.
เทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์ศิริพร ศักดิ์บุญญารัตน์
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบและการวิเคราะห์ระบบ
บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศ
สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)
Information Systems Development
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตร Fundamental หัวข้อวิชา องค์กรและระบบงานตรวจสอบภายใน สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง.
หน่วยที่ 3 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
13 October 2007
ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น
คอมพิวเตอร์คืออะไร      คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อประโยชน์ต่อการแสวงหาสารสนเทศ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูล.
Information and Communication Technology Lab3 New
MGT 228 การจัดการสมัยใหม่
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ * Management Information Systems
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า Information Technology for Study Skill 01/12/61.
การวิเคราะห์อัตรากำลัง โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
การบริหารความปลอดภัยสารสนเทศ
บทที่ 6 วิศวกรรมระบบ (System Engineering)
Information and Communication Technology Lab2
ระบบสารสนเทศ (Information System)
บทที่ 7 ระบบสารสนเทศ.
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Information Technology for Life)
ผู้สอน : อ.บุศรินทร์ เอี่ยมธนากุล [อ.อ้อย]
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
13 October 2007
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
นวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ INNOTECH
แนะนำรายวิชา การออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย
Introduction to information System
Introduction to information System
Database ฐานข้อมูล.
Yeunyong Kantanet School of Information and Communication Technology
บทเรียนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
นายสมชัย ชวลิตธาดา EKACHAI SCHOOl โรงเรียนเอกชัย
บรรยายโดย คุณครูกิริยา ทิพมาตย์ สพม. เขต 23
ข้อมูลและสารสนเทศ.
ประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ณ โรงแรมเอวาน่า บางนา กทม
เทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์ศิริพร ศักดิ์บุญญารัตน์
อ.พิณรัตน์ นุชโพธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
การพัฒนา IT ให้บูรณาการเข้ากับโครงสร้างและระบบงาน
บทที่ 2 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
นายเกรียงไกร แก้วมีศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี
[ บทที่ 3 ] ระบบสารสนเทศ.
การรายงานผลการดำเนินงาน
ไว้วางใจได้ เชื่อถือได้
Introduction to Structured System Analysis and Design
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
Data resource management
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 1 ความหมายขอบเขต และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

สารบัญ ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา การยศาสตร์ จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การคำนวณผล และการค้นคืนสารสนเทศ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ 25 26 27 28 29 30 31 ข้อมูล กระบวนการประมวลผล สารสนเทศ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยี (Technology) คือ การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายต่อการนำไปใช้งาน สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว มีความหมายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ เช่น การรวบรวม การคำนวณ และการวิเคราะห์ผล มี 4 ส่วนหลัก คือ การนำเข้า (Input) การประมวลผล (Processing) การส่งออกผล (Output) ผลตอบกลับ (Feedback) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการในการประมวลผลข้อมูล Input Process Output Feedback บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเข้า (Input) ส่วนของการส่งข้อมูลเข้าสู่การประมวลผลด้วยอุปกรณ์นำเข้าต่าง ๆ การประมวลผล (Processing) การดำเนินการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อข้อมูล ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ การส่งออกผล (Output) การแสดงผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล ผลตอบกลับ (Feedback) ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงการรับ การส่ง หรือการดำเนินการกับข้อมูล รวมถึงการแสดงถึงข้อผิดพลาดหรือปัญหา บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม หมายถึง การเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับเทคโนโลยีทางการสื่อสารให้เกิดเป็นระบบเครือข่ายขึ้น เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลหรือสารสนเทศได้ทั้งระยะใกล้และระยะไกล ทำให้การเผยแพร่ทำได้รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีข้อมูลดิจิทัล หมายถึง เทคโนโลยีในการจัดเก็บและนำเสนอรูปแบบของข้อมูล มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว สามารถแลกเปลี่ยนและสื่อสารข้อมูลที่เรียกว่า ข้อมูลมัลติมีเดีย ข้อมูลที่ประกอบไปด้วยข้อมูลในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลเสียง บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกลไกสำคัญในการสร้างคุณค่าหรือมูลค่าให้กับงาน หมายถึง การที่เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กร/หน่วยงาน/บุคคล ได้มาซึ่งสารสนเทศที่จำเป็นต่อการตัดสินใจ เทคโนโลยีที่ช่วยในการประมวลผลข้อมูลตามความจำเป็นได้โดยสะดวก ผู้ตัดสินใจได้สารสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ทันกาล บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกลไกสำคัญในการสร้างคุณค่าหรือมูลค่าให้กับงาน วัดได้จากเวลาที่ใช้ในการตัดสินใจ ใช้เวลาน้อย  สารสนเทศนั้นมีคุณค่ามาก วัดได้จากรายรับหรือผลกำไรที่ได้เพิ่มขึ้น ประเมินจากการความสามารถในการเปรียบเทียบข้อมูลและจัดการงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยอัตโนมัติ ประเมินจากผลของการตัดสินใจด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศแล้วทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายหรือนโยบายขององค์กร บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน เข้าไปปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงกระบวนการในการทำงานทั้งในภาคอุตสาหกรรมและในภาคพาณิชยกรรม เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย ดำเนินกิจกรรมขององค์กร ช่วยมองหาโอกาสในการขยายการดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ทำให้องค์กรมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาของผู้ที่เข้ามาติดต่อประสานงาน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ บทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การดำรงชีวิตประจำวันเปลี่ยนไปในทางที่สะดวกสบายขึ้น เช่น มีการพัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้เกิดความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การประยุกต์ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ บทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ช่วยเสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เช่น การกระจายข้อมูลข่าวสารไปทั่วทุกเขตแดน เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ การเรียนการสอนในโรงเรียน/สถานศึกษา ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับทั้งผู้สอนและผู้เรียนในบริบทของการเรียนในชั้นเรียน การศึกษาด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

บทบาท ความสำคัญ และประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ บทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การใช้ระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับกิจกรรมสิ่งแวดล้อม เช่น การดูแลรักษาผืนป่าและผืนน้ำ การพยากรณ์อากาศ เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ เช่น หน่วยงานการทหาร มีการใช้เทคโนโลยีระบบควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศ (Information Systems) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศ (Information Systems) ระบบสารสนเทศคือตัวอย่างของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสร้างระบบอำนวยความสะดวกในการทำงาน มุ่งไปสู่การสร้าง ระบบรวม โดยในระบบหนึ่งสามารถทำงานพร้อมกันได้หลายงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้ประมวลผลข้อมูลด้านบัญชี ใช้ในการงานจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความหรือจดหมาย บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศ (Information Systems) ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ ช่วยทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น ช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่หรือมีปริมาณมากได้โดยสิ้นเปลืองเนื้อที่น้อยลง ช่วยลดต้นทุน ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เป็นไปได้ด้วยดี บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศ (Information Systems) ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ ช่วยในการตัดสินใจ ช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/บริการที่เหมาะสม ช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ดีขึ้น ช่วยทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Working Life) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศ (Information Systems) มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ต้องได้มาซึ่งข้อมูลที่ดีและถูกต้อง ลักษณะของข้อมูลที่ดี Accurate มีความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลหรือ สารสนเทศ ไม่มีข้อผิดพลาด Complete มีความสมบูรณ์ครอบคลุมตามความเหมาะสม Economical ประหยัด คุ้มค่าการลงทุนเพื่อให้ได้มา Flexible มีความยืดหยุ่น สามารถใช้ได้หลากหลายเป้าหมาย บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศ (Information Systems) ลักษณะของข้อมูลที่ดี Reliable มีความน่าเชื่อถือซึ่งจะทำให้เกิดเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือของสารสนเทศขึ้นอยู่กับ วิธีการรวบรวมข้อมูลที่ได้มา Relevant มีความสัมพันธ์กับเรื่อง เช่น ตรงประเด็น มี ความสำคัญต่อการตัดสินใจ Simple ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศ (Information Systems) ลักษณะของข้อมูลที่ดี Timely รวดเร็วและทันต่อการใช้งาน Verifiable สามารถตรวจสอบได้เพื่อความถูกต้องแม่นยำ Accessible สามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยอาจมีการกำหนด สิทธิการเข้าใช้งานเพื่อความปลอดภัย Secure มีความปลอดภัย จากการเข้าถึงโดยผู้ใช้ที่ไม่มี สิทธิ์ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information System: CBIS) คือ ระบบสารสนเทศที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์สร้างระบบงานที่สอดคล้องกับความต้องการ เช่น ระบบบัญชีเงินเดือน (Payroll Systems) ระบบสั่งซื้อสินค้า (Purchasing Systems) ระบบควบคุมรายการสินค้า (Inventory Systems) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ CBIS มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการ คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) ฐานข้อมูล (Database) การติดต่อสื่อสาร (Communication) กระบวนการ (Procedure) บุคลากร (Peopleware) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการนำข้อมูลเข้า ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ ซอฟต์แวร์ (Software) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยควบคุมให้ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ ฐานข้อมูล (Database) การเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันไว้ด้วยกัน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ การติดต่อสื่อสาร (Communication) การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันและติดต่อสื่อสารกันได้ กระบวนการ (Procedure) ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง บุคลากร (Peopleware) บุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น ผู้พัฒนา ผู้ใช้งาน ผู้บริหาร บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล การติดต่อสื่อสาร กระบวนการ บุคลากร บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา ระบบทะเบียนออนไลน์ http://reg.buu.ac.th/ เป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของนิสิตโดยตรง ข้อมูลการศึกษาของนิสิตทุกอย่างจะถูกจัดเก็บในระบบนี้ นิสิตสามารถลงทะเบียน ตรวจสอบการลงทะเบียน ตรวจสอบตารางเรียน ตรวจสอบเกรดที่ได้ ขอรับข้อมูลข่าวสารเป็นข้อความสั้น (SMS) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา ระบบสำนักหอสมุด http://www.lib.buu.ac.th/ เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการค้นหาหนังสือและสื่อประกอบการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เช่น สื่อวีดิทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ วารสารวิชาการ เอกสารวิชาการ มีเอกสารบางส่วนได้ถูกแปลงให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเรียกใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทันที บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา http://studentmail.buu.ac.th/ ได้เชื่อมต่อกับระบบ Live ของบริษัท Microsoft ดังนั้น นิสิตสามารถใช้ที่อยู่อีเมลที่ได้จากมหาวิทยาลัยบูรพาในการเข้าสู่ระบบ Live mail ได้โดยอัตโนมัติ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา ระบบการศึกษาออนไลน์ (e-Learning) http://ncourse.buu.ac.th/ นิสิตสามารถลงทะเบียนเข้าใช้งานเอกสารประกอบการเรียนการสอนตามที่อาจารย์ได้แนะนำไว้ ซึ่งมีหลากหลายสาขาวิชาที่มีบทเรียนออนไลน์นี้ นิสิตยังสามารถที่จะสมัครเรียนวิชาอื่น ๆ ด้วยตนเอง ถ้านิสิตมีความสนใจส่วนตัว โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา ระบบประเมินการเรียนการสอน http://assess.buu.ac.th/ ในช่วงปลายภาคการศึกษานิสิตทุกคนจะต้องทำการประเมินการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา โดยนิสิตสามารถเข้าไปในระบบสารสนเทศ แล้วทำการประเมินตามความเป็นจริงของการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในตลอดภาคการศึกษาที่ผ่านมา โดยระบบนี้จะเก็บการประเมินของนิสิตทุกคนไว้เป็นความลับ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ระบบสารสนเทศที่สำคัญในมหาวิทยาลัยบูรพา บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) การยศาสตร์ เป็นการศึกษาการใช้งานเครื่องมือเครื่องกลต่าง ๆ เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ อุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจากการใช้อุปกรณ์เครื่องมือเหล่านั้น สัมพันธ์กับการปรับแต่งสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับร่างกายของเรา เช่น การติดตั้งและวิธีการใช้งานของคีย์บอร์ด จอมอนิเตอร์ เมาส์ เก้าอี้ การปรับระดับแสง บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) Click บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) แป้นพิมพ์ (Keyboard) การใช้คีย์บอร์ดไม่ถูกวิธีอาจทำให้ปวดไหล่หรือปวดข้อมือเรื้อรังได้ การติดตั้งควรใช้ถาดเลื่อนคีย์บอร์ดและมีที่สำหรับวางเมาส์ไว้ข้าง ๆ ควรตั้งคีย์ไม่ให้สูงหรือต่ำจนเกินไป ให้แขนวางในมุมตั้งฉาก นั่งโดยไหล่ไม่ห่อ หากคีย์บอร์ดอยู่ต่ำกว่าโต๊ะที่วางจอมอนิเตอร์ ให้ปรับคีย์บอร์ดในระดับที่ขนานกับพื้น ผู้ที่เป็นคนไหล่กว้างควรใช้คีย์บอร์ดแบบแยกเพื่อการใช้งานที่สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) แป้นพิมพ์ (Keyboard) การใช้คีย์บอร์ดไม่ถูกวิธีอาจทำให้ปวดไหล่หรือปวดข้อมือเรื้อรังได้ ไม่ควรลงน้ำหนักการพิมพ์แรง ๆ ตามอารมณ์ เพราะจะทำให้ปวดข้อมือได้ ควรปล่อยให้ข้อมืออยู่ในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ให้ข้อศอกอยู่ในมุมที่เปิด 90 องศาหรือมากกว่านั้น โดยให้หัวไหล่ผ่อนคลายและข้อศอกอยู่ข้างลำตัว คีย์บอร์ดควรอยู่ตรงกลางไม่เอียงไปทางซ้ายหรือขวา ไม่วางมือบนที่รองแขน ทำได้เฉพาะตอนพักจริง ๆ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) แป้นพิมพ์ (Keyboard) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) จอคอมพิวเตอร์ (Monitor) ควรติดตั้งจอมอนิเตอร์ให้อยู่ตรงกลาง ไม่ต้องหมุนไปดูจอทำให้ไม่ปวดคอหรือปวดไหล่ การนั่งห่างจากจอประมาณ 1 ช่วงแขนจะเป็นการถนอมสายตาด้วย ตำแหน่งด้านบนของจอควรให้อยู่ในระดับสายตาและให้แหงนหน้าจอขึ้นเล็กน้อย เพื่อจะได้ไม่เมื่อยคอเพื่อเอียงคอดูจอ ตรวจสอบไม่ไห้เกิดแสงสะท้อนเนื่องจากแสงที่เข้ามาจากหน้าต่าง พร้อมปรับระดับแสงสว่างให้พอดีกับแสงสว่างโดยรอบของห้องที่ใช้งาน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) จอคอมพิวเตอร์ (Monitor) ใช้สีและขนาดอักษรให้เห็นได้ชัดเจน อย่าจ้องหน้าจอเป็นเวลานานเพราะจะทำให้แสบตา ใช้หลัก 20:20:20 คือ พักการทำงาน 20 วินาที หลังจากทำงาน 20 นาที และมองไปไกล 20 ฟุต จะช่วยให้สายตาได้พักและปรับโฟกัส ป้องกันสายตาสั้น รักษาความสะอาดหน้าจอจากฝุ่นและคราบต่าง ๆ จะทำให้มองเห็นได้ชัดเจน ทั้งยังเป็นการกระทำที่ถูกสุขลักษณะอีกด้วย บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) จอคอมพิวเตอร์ (Monitor) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) เมาส์ (Mouse) การใช้เมาส์อย่างไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ เช่น การเกร็งข้อมือเพื่อจับเมาส์จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่โพรงกระดูกข้อมือได้ การทำงานกับคอมพิวเตอร์มีส่วนที่ทำงานหนักที่สุดคือนิ้วและมือ กล้ามเนื้อที่ควบคุมนิ้วและมือนี้อยู่ที่บริเวณข้อมือถึงข้อศอก ส่วนเส้นประสาทที่ควบคุมมือจะเชื่อมผ่านช่องว่างระหว่างกระดูกข้อมือเรียกว่า โพรงกระดูกข้อมือ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) เมาส์ (Mouse) การใช้เมาส์อย่างไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ การที่ข้อมือเคลื่อนไหว ขนาดของโพรงกระดูกข้อมือก็เกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วย สร้างความกดดันให้กับเส้นประสาทตรงกลาง การทำงานตลอดวัน โดยข้อมืองอและกดทับบนโต๊ะสามารถทำให้เส้นเอ็นหรือเส้นประสาทที่ข้อมือเกิดอาการปวดได้ ในระยะยาวอาจจะเกิดการอักเสบ นำไปสู่การปวด ชา และปวดรุนแรงที่นิ้วมือได้ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) เมาส์ (Mouse) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) เก้าอี้ (Chair) เก้าอี้ควรมีขนาดพอดีตัว ไม่เล็กเกินไป สามารถปรับระดับความสูงได้ เท้าต้องวางขนานกับพื้น เวลานั่งพนักพิงควรราบไปกับหลัง ไม่ควรนั่งงอตัว ควรนั่งให้ตัวตรง บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) เก้าอี้ (Chair) ควรนั่งพิงพนักให้เต็ม เบาะเก้าอี้ไม่ควรแหงนขึ้นหรือแหงนลง ควรจะขนานกับพื้น ท่านั่งควรเป็นมุม 90 องศา หัวเข่าตั้งฉากกับพื้น ฝ่าเท้าแนบขนานกับพื้น ปรับเก้าอี้ให้อยู่ในตำแหน่งที่รู้สึกสบายเพื่อให้ไม่ปวดหลัง ควรเดินไปทำกิจกรรมอื่น ๆ บ้าง เพื่อป้องกันการเมื่อยล้า บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) เก้าอี้ (Chair) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) แสง (Lighting) แสงเป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อการมองเห็นที่ควรคำนึงถึงเพื่อมิให้บั่นทอนประสิทธิภาพในการทำงาน ควรใช้โคมไฟบนโต๊ะทำงานสีขาวที่มีความสว่างเพียงพอต่อการมองเห็น เป็นการดีมากหากตำแหน่งของแสงไฟนั้นสามารถปรับขึ้นลงได้ การใช้ผ้าม่านจะช่วยควบคุมแสงจากภายนอก หลอดไฟที่ใช้ก็ควรให้แสงสว่างในโทนเดียวกันในห้องที่ผนังมีสีไม่ฉูดฉาดเกินไป บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การยศาสตร์ (Ergonomics) แสง (Lighting) บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด การออกกำลังกายที่ถูกต้องจะช่วยยืดอายุการใช้งานอวัยวะ ช่วยป้องกันการเจ็บป่วย สิ่งสำคัญคือ เมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่งควรเปลี่ยนอิริยาบถ จะช่วยลดความตึงเครียดของร่างกายและอารมณ์ได้ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด การบริหารตา หลับตาแน่น ๆ สัก 10 วินาที แล้วลืมตาขึ้น หรือ หาวเพื่อเรียกน้ำตา มองไปที่โล่ง ๆ ไกล ๆ สัก 10 - 20 วินาที บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด การบริหารไหล่ ยืนท่าตรง ยกไหล่ขึ้นให้สูงที่สุด แล้วหมุนลงช้า ๆ ไปทางด้านหลัง ทำ 10 รอบ ยืนท่าตรง ยกไหล่ขึ้นให้สูงที่สุด แล้วหมุนลงช้า ๆ ไปทางด้านหน้า ทำ 10 รอบ ยืนท่าตรง ยื่นแขนออกไปข้างหน้าให้สุด แล้วเอามือประสานกัน ออกแรงดึงมือที่ประสานกันนั้นออก ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ทำ 10 รอบ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด การบริหารไหล่ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด การบริหารต้นคอ ยืนท่าตรง ใช้มือซ้ายจับด้านขวาของศีรษะ แล้วกดลงทางซ้ายช้า ๆ ค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้าง บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด การบริหารต้นคอ ยืนท่าตรง หันหน้าไปทางซ้ายสุด กดคางลงหาไหล่ แล้วหมุนคอไปทางด้านขวา เงยหน้าขึ้น ค้างไว้ 10 วินาที แล้วกดคางลงหาไหล่ หมุนคอไปทางด้านซ้าย ทำสลับกัน 5 รอบ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด การบริหารมือ ยื่นแขนทั้งสองออกไปข้างหน้าให้สุด กำมือทั้งสองข้างให้แน่นที่สุด 5 วินาที แล้วกางนิ้วมือออกให้สุด 5 วินาที ทำสลับกัน 10 รอบ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด การบริหารมือ ยื่นแขนทั้งสองออกไปข้างหน้า มือซ้ายตั้งขึ้น เอามือขวาจับนิ้วมือซ้ายไว้ แล้วดึงเข้าหาตัว ค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้างกัน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด การบริหารมือ ยื่นแขนทั้งสองออกไปข้างหน้า มือซ้ายงอลง เอามือขวาจับนิ้วมือซ้ายไว้ แล้วดึงเข้าหาตัว ค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้างกัน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด การบริหารเท้า นั่งบนเก้าอี้ แล้วยื่นขาข้างหนึ่งไปข้างหน้า เหยียดเท้าให้สุด แล้วหมุนข้อเท้าช้า ๆ 10 รอบ แล้วสลับข้างกัน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นำมาซึ่งภัยหรืออันตรายต่อผู้ใช้หรือองค์กร การรับทราบและเข้าใจวิธีการป้องกันภัยรูปแบบต่างๆ เหล่านี้จึงมีความจำเป็น ตัวอย่างภัยที่อาจเกิดขึ้น การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การปฏิเสธการให้บริการ (Denial of Service) ไวรัสคอมพิวเตอร์ การบุกรุกผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าไปใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต การโกงหรือหลอกลวงต่าง ๆ การโจรกรรมทั้งรูปแบบของข้อมูลหรืออุปกรณ์ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลเทคโนโลยีสานสนเทศ มีหน้าที่จัดระเบียบและบริหารจัดการองค์กร ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐานกับประชาชน เป็นแกนกลางในการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีสาระสำคัญคือ เรื่องข้อความที่จัดทำขึ้นเป็นรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะไม่ถูกปฏิเสธความมีผลทางกฎหมาย กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีสาระสำคัญคือ เรื่องการใช้ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เพื่อยืนยันเอกสารหรือหลักฐาน บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ มีสาระสำคัญคือ เรื่องของการเข้ามากำกับดูแลความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นในเรื่องสิทธิการใช้ การละเมิดสิทธิ์ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีสาระสำคัญคือ เรื่องของข้อมูลในรูปดิจิทัลสามารถเผยแพร่และกระจายได้รวดเร็ว การส่งต่อ การกระจายข่าวสารอาจกระทบถึงสิทธิส่วนบุคคล บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายว่าด้วยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ มีสาระสำคัญคือ เรื่องของกิจกรรมทางด้านการเงิน การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การใช้เครดิตแลกเปลี่ยนกัน รวมถึงการใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือรูปแบบเอกสารการเงินอิเล็กทรอนิกส์อื่น บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยในประเทศไทยได้มีการนำพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

สรุป บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

สรุป เทคโนโลยีคือการนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ในการคิดค้น ประดิษฐ์ และพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ พัฒนาองค์กรให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถแข่งขันในตลาดการค้าเสรี การดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ในปัจจุบัน แทบจะเรียกได้ว่า ไม่มีส่วนไหนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

สรุป แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีแต่เรื่องดีเพียงด้านเดียว ภัยอันตรายที่แฝงตัวมา รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจตามมาอีกมากมาย พึงระลึกไว้ว่า “จงใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช้ในทางที่ผิด จึงจะเกิดผลดีทั้งต่อตนเองและสังคม และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง” บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

คำถาม บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ