ปฐพีศาสตร์ทั่วไป (General soil) 361201 โดย ดร. นิวัติ อนงค์รักษ์ การใช้ทรัพยากรดินเพื่อการเกษตร (พืชผักและไม้ผล) บ้านขุนช่างเคี่ยน อ.เมือง จ.เชียงใหม่
นิยามและความสำคัญของทรัพยากรดิน บทที่ 12 นิยามและความสำคัญของทรัพยากรดิน
นิยามทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรที่ดิน 1. ที่ดิน (Land) ที่ดิน หมายถึง ส่วนประกอบต่างๆ ทางกายภาพของสิ่งแวดล้อม (physical environment) ทั้งหมดของพื้นแผ่นดิน ซึ่งประกอบด้วย บรรยากาศที่อยู่เหนือพื้นดิน (atmosphere) ดิน (soils) น้ำ (water) หิน (rocks) สภาพภูมิประเทศ (topography) พืชและสัตว์ (plants and animals) และผลของการกระทำของมนุษย์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน (past and present human activity) ส่วนประกอบเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ( ดุสิต, 2530)
ทรัพยากรที่ดิน (land resource)
ที่ดิน หมายถึง ที่ดินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ อันอาจใช้ประโยชน์สนองความต้องการของมนุษย์ในทางด้านต่างๆ โดยคำนึงถึงผลตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นเป็นประการสำคัญ (เฉลียว, 2530) ที่ดิน หมายถึง ผืนแผ่นดินที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือใช้เป็นที่ประกอบกิจการต่างๆ ของมนุษย์ เช่น เป็นที่ตั้งของบ้านเรือน เมือง โรงงานอุตสาหกรรม และทิวทัศน์ธรรมชาติอันสวยงามเหล่านี้ เป็นต้น ซึ่งไม่ใช่เพื่อประโยชน์ในการผลิตทางการเกษตร (นิวัติ, 2546)
ที่ดิน หมายถึง พื้นที่หนึ่งๆ ที่อยู่บนพื้นผิวของโลก ประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ คือ สภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและชีวภาพซึ่งมีอิทธิพลต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังนั้นที่ดินจึงไม่ได้หมายถึงดินเพียงอย่างเดียวแต่จะหมายรวมถึงลักษณะภูมิสัณฐาน (landforms) ภูมิอากาศ (climate) อุทกวิทยา (hydrology) พืชพรรณ (vegetation) และสัตว์ (fauna) ซึ่งการปรับปรุงที่ดิน (land improvement) ได้แก่ การทำขั้นบันไดและการระบายน้ำ เป็นต้น (FAO, 1993)
1. ดิน; เนื้อดิน (Soil) ดินมี 2 ความหมาย ตามแนวทางในการศึกษาดิน 1) ปฐพีวิทยาธรรมชาติ (pedology) ดิน หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติ (natural body) ที่ปกคลุมผิวโลกอยู่บางๆ เกิดขึ้นจากผลของการแปรสภาพหรือผุพังของหินและแร่ และอินทรียวัตถุผสมคลุกเคล้ากัน 2) ปฐพีวิทยาสัมพันธ์ (edaphology) ดิน หมายถึง เทหวัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติรวมกันขึ้นเป็นชั้น (profile) จากส่วนผสมของแร่ธาตุต่างๆ ที่สลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยกับอินทรียวัตถุที่เปื่อยผุพัง อยู่รวมกันเป็นชั้นบางๆ ห่อหุ้มผิวโลก และเมื่อมีอากาศและน้ำเป็นปริมาณที่เหมาะสมแล้วจะช่วยค้ำจุนพร้อมทั้งช่วยในการยังชีพและการเจริญเติบโตของพืช (คณาจารย์, 2544)
ดินสามารถอธิบายความหมายได้ 2 ลักษณะ คือ 1) ทางธรณีวิทยา ดิน หมายถึง มวลวัสดุที่เกิดจากการผุพังของผิวเปลือกโลกจากหินหรือชั้นตะกอนและยังไม่จับตัวกัน วางตัวบนหินดาน 2) ทางปฐพีศาสตร์ ดิน หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมพื้นผิวโลกอยู่เป็นชั้นบางๆ เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุ ซึ่งประกอบด้วยอินทรียวัตถุ อนินทรียวัตถุ น้ำ และอากาศ เป็นแหล่งที่มาของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ดินมีลักษณะและสมบัติแตกต่างกันไปในที่ต่างๆ ของโลกเนื่องจากปัจจัยที่สำคัญ คือ ภูมิอากาศ วัตถุต้นกำเนิด สภาพภูมิประเทศ พืชพรรณ สิ่งมีชีวิต และระยะเวลา (ราชบัณฑิตยสถาน, 2544)
ดินและสภาพแวดล้อมในการเกิดดิน
3. พื้นที่; ลักษณะภูมิประเทศ (Terrain) พื้นที่ ในทางวิศวกรรมและในทางทหาร หมายถึง ที่ดินเหมือนกันแต่บางครั้งมักจะมีความหมายเฉพาะเจาะจงยังสัณฐานภูมิประเทศ (landform) ในที่ดินนั้นหรือสภาพของชั้นดินและหินของที่ดินนั้น (ดุสิต, 2530) ลักษณะภูมิประเทศ หมายถึง ลักษณะภูมิประเทศบริเวณใดบริเวณหนึ่งของพื้นผิวโลก ที่มีรูปร่างลักษณะทางกายภาพ เช่น ความสูง ความลาดชัน เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น ลักษณะภูมิประเทศเป็นเขา (hilly terrain) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา (mountainous terrain) (ราชบัณฑิตยสถาน, 2544)
ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบและภูเขา
4. ธรณีสัณฐาน; ภูมิสัณฐาน (Landfrom) ธรณีสัณฐาน หมายถึง แบบรูปหรือลักษณะของเปลือกโลกที่มีรูปพรรณสัณฐานต่างๆ กัน เช่น ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบ และอื่นๆ การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศ เรียกว่า ธรณีสัณฐานวิทยา (ราชบัณฑิตยสถาน, 2544) ภูมิสัณฐาน มีอิทธิพลต่อการเกิด และการใช้ประโยชน์ของดินมาก และสามารถใช้เป็นลักษณะทางกายภาพที่ชี้บ่งว่าขอบเขตของหน่วยดินแต่ละชนิดจะอยู่ ณ ที่ใดได้ด้วย การศึกษาภูมิสัณฐานเป็นสาขาวิชาหนึ่ง เรียกว่า ธรณีสัณฐานวิทยา ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างขวางมาก (เอิบ, 2542)
5. บรรยากาศ (Atmosphere) ลมฟ้าอากาศ หมายถึง สภาพของบรรยากาศในเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง และมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวันเวลาและสถานที่ ภูมิอากาศ หมายถึง สภาพของบรรยากาศโดยทั่วๆ ไปของท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งเป็นผลเฉลี่ยจากการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศประจำวัน หรือเป็นค่าเฉลี่ยของลักษณะลมฟ้าอากาศในระยะเวลานานๆ (รังสรรค์, 2547)
บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกด้วยอำนาจแรงดึงดูดของโลกนั้นมีความสำคัญต่อการดำรงชีพและการหายใจของสิ่งมีชีวิต ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้อุณหภูมิของโลกร้อนจัดในเวลากลางวัน หรือหนาวจัดในเวลากลางคืน ทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันกั้นรังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ รังสีคอสมิก ไม่ให้ผ่านเข้ามาทำลายสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลก ทำหน้าที่เป็นตัวกลางสะท้อนแสงและสะท้อนคลื่นวิทยุที่ใช้ในระบบการสื่อสารโทรคมนาคม นอกจากนี้เมื่อบรรยากาศเคลื่อนที่จะเป็นตัวการสำคัญทำให้มีการถ่ายเทพลังงานความร้อนและมวลจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ซึ่งมีผลต่อความสมดุลของระบบนิเวศ และยังมีผลกระทบต่อการไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรด้วย (รังสรรค์, 2547)
การกรองรังสีจากดวงอาทิตย์ของชั้นบรรยากาศโลก 10 km 45 km 80 km การกรองรังสีจากดวงอาทิตย์ของชั้นบรรยากาศโลก
น้ำ (Water) น้ำเป็นทรัพยากรที่ดินที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนพื้นโลกมาก น้ำที่อยู่ในวัฏจักรจะหมุนเวียนเปลี่ยนไปจากสภาพหนึ่งไปยังอีกสภาพหนึ่ง อยู่ตลอดเวลาโดยไม่สิ้นสุด เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ ตกลงมาสู่พื้นโลก บางส่วนระเหยกลับสู่บรรยากาศ บางส่วนไหลลงสู่ดินกลายเป็นน้ำใต้ดิน แม่น้ำลำธาร มหาสมุทร และระเหยกลับสู่บรรยากาศเป็นไอจับตัวเป็นก้อนเมฆและเป็นฝนตกลงสู่พื้นโลกอีก หมุนเวียนกันไป น้ำต่างๆ เหล่านี้มีอิทธิพลอย่างมากในการใช้ประโยชน์ที่ดินหนึ่งๆ (ดุสิต, 2530)
น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากมาย แต่จะปรากฏอยู่ในบริเวณจำกัด มิได้กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปทุกแห่ง ตามธรรมดาบริเวณแหล่งน้ำจืดทั่วๆ ไป จะมีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นทั้งนี้ ก็เพราะประชาชนเหล่านั้นได้อาศัยน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค เพื่อการเกษตรกรรมและการขนส่งจึงอาจกล่าวได้ว่า น้ำมีอิทธิพลต่อการดำรงชีพและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เป็นอย่างมาก (อำนาจ, 2543) น้ำเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีการหมุนเวียนเคลื่อนที่จากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง และเปลี่ยนแปลงจากสถานะหนึ่งไปเป็นอีกสถานะหนึ่ง เช่น เป็นของแข็ง ของเหลว และเป็นไอน้ำ เป็นต้น การหมุนเวียนเปลี่ยนไปของน้ำนี้เรียกว่า วัฎจักรของน้ำ (นิวัติ, 2546)
วัฎจักรของน้ำ (water cycle)
พืชพรรณ (Vegetation) ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป่าไม้ หมายถึง ที่ดินที่ไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ครอบครองตามกฎหมายที่ดิน (สวัสดิ์, 2546) ป่าไม้ หมายถึง บริเวณที่มีต้นไม้หลายชนิด ขนาดต่างๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น ความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ป่าไม้ คือ สังคมของต้นไม้และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อันมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และปกคลุมเนื้อที่กว้างใหญ่ มีการใช้ประโยชน์จากอากาศ น้ำ และวัตถุธาตุต่างๆ ในดิน เพื่อการเจริญเติบโตจนถึงอายุขัย และมีการสืบพันธุ์ของตนเอง ทั้งให้ผลผลิตและบริการที่จำเป็นอันจะขาดเสียมิได้แก่มนุษย์ (Allen, 1950 อ้างโดย นิวัติ, 2546)
ทรัพยากรป่าไม้ (forest resource)
สัตว์ (Animal) สัตว์ป่า เป็นทรัพยากรชนิดที่เกิดขึ้นทดแทนและรักษาให้คงอยู่ได้ (replaceable and maintainable) เมื่อปล่อยให้สูญพันธุ์ไปแล้วไม่อาจหาพันธุ์อื่นมาทดแทนเหมือนพันธุ์เดิมได้ ดังนั้นจะต้องมีการสงวนพันธุ์ไว้มิให้ถูกทำลายจนสูญพันธุ์ไป ดังเช่น สมันหรือเนื้อสมัน (Cervus schomburgki) และแรด (Rhinoceros sondaicus) เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิดกำลังจะสูญพันธุ์ในไม่ช้า เช่น ควายป่า กระซู่ โคไพร เนื้อทราย ละองหรือละมั่ง เลียงผ่า และกวางผา เป็นต้น (ปรีชาและนงลักษณ์, 2546)
สัตว์ป่า ตามพระราชบัญญัติ (พ. ร. บ. ) สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ. ศ สัตว์ป่า ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 หมายถึง สัตว์ทุกชนิด ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ปีก และแมลงหรือแมง ที่เกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือแหล่งน้ำธรรมชาติอย่างเสรี รวมทั้งไข่ของสัตว์ทุกชนิด ยกเว้นสัตว์พาหนะที่ได้จัดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะและลูกที่เกิดมาภายหลัง (สวัสดิ์, 2546)
ทรัพยากรสัตว์ป่า (wildlife resource)
แร่และหิน (Mineral and Rock) ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของหินและแร่ ดังนี้ แร่ หมายถึง ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบ มีสูตรเคมีและสมบัติอื่นๆ ที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัด หิน หมายถึง มวลของแข็งที่ประกอบด้วยแร่ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ หินอัคนี (igneous rock) หินชั้นหรือหินตะกอน (sedimentary rock) และหินแปร (metamorphic rock) (ราชบัณฑิตยสถาน, 2544)
แร่ เป็นทรัพยากรประเภทที่ไม่งอกเงยขึ้นมาใหม่ได้ เมื่อขุดเจาะและนำมาใช้ประโยชน์แล้วจะสิ้นเปลืองหมดไปในที่สุด ส่วนพื้นดินบริเวณที่ทำแร่ไปแล้วก็มักจะเสื่อมคุณค่าทำประโยชน์อันใดมิได้ การที่จะฟื้นฟูให้พื้นที่นั้นกลับสู่สภาพเดิมจำต้องลงทุนสูง บางครั้งก็ไม่แน่นักว่าเงินทุนที่ใช้ในการปรับปรุงเพื่อให้พื้นดินกลับสู่สภาพเดิม หรือเพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ อาจจะมากกว่าราคาแร่หรือผลกำไรที่ได้จากการทำเหมืองแร่นั้นๆ ก็ได้ เหตุนี้พื้นที่หลังการทำเหมืองจึงถูกปล่อยให้เป็นเหมืองร้างเสียเป็นส่วนมาก (นิวัติ, 2546)
แร่และหิน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมภายในประเทศ นอกจากผลิตนำมาใช้ในอุตสาหกรรมแล้วยังมีความสำคัญ ในฐานะเป็นสินค้าออกน้ำรายได้เข้าประเทศ แร่ที่พบภายในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ดีบุก ทังสเตน แบไรต์ ฟลูออไรต์ ตะกั่ว สังกะสี พลวง ลิกไนต์ ยิปซัม หินปูน แมงกานีส โพแทช และรัตนชาติ (วรรณี, 2546)
ทรัพยากรแร่และหิน (mineral and rock resource)
มนุษย์ (Human) มนุษย์ เป็นทรัพยากรธรรมชาติของที่ดินอย่างหนึ่งโดยอาศัย ใช้ประโยชน์จากพลังงานทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น แรงงาน ซึ่งก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดินเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนที่ดินนั้นอย่างมาก (ดุสิต, 2530) มนุษย์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากตัวเองให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติและต่อสังคม โดยอาศัยกำลังงานที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ และกำลังที่ว่านี้เป็น สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้เช่นเดียวกับทรัพยากรอื่นๆ จึงถือได้ว่ากำลังงานมนุษย์ เป็นทรัพยากรธรรมชาติ (human power as natural resoures) (นิวัติ, 2546)
มนุษย์ คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่ถือกำเนิดบนโลกนับล้านปีมาแล้ว มีโครงสร้างพื้นฐานของร่างกายและความต้องการในการดำรงชีวิตเช่นเดียวกับสัตว์ทั่วไป แต่มีวิวัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่า มีสมองขนาดใหญ่จึงรู้จักคิด จดจำและควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่าสัตว์อื่น สามารถคิดสัญลักษณ์ ภาษา หรือวิชาความรู้ต่างๆ รู้จักวางแผนและปรับตัวเพื่อเอาชนะอุปสรรคอันตราย รู้จักควบคุมชีวิตพืชและสัตว์ รวมทั้งปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิติจนสามารถอยู่รอดและแพร่เผ่าพันธุ์ออกไปทั่วโลก มนุษย์จึงถือว่าตนเป็นสัตว์ที่ประเสริฐกว่าสัตว์อื่น (สวัสดิ์, 2546)
นิยามที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรที่ดิน การใช้ที่ดิน (Land use) การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ดิน เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งทางด้านวัตถุหรือจิตใจหรือทั้งสองอย่าง ซึ่งเป็นกิจกรรมของมนุษย์ที่กระทำต่อทรัพยากรที่ดินต่างๆ การใช้ที่ดินอาจจะเป็นการใช้ที่ดินในปัจจุบันหรือในอนาคตก็ได้ (ดุสิต, 2530)
ในการประเมินคุณภาพที่ดิน สิ่งที่จะต้องมาเกี่ยวข้องเป็นพิเศษ ได้แก่ การใช้ที่ดิน ซึ่งอธิบายได้ในรูปของชนิดการใช้ที่ดิน (kinds of land use) และความต้องการปัจจัยในการใช้ที่ดิน (land use requirements) ชนิดการใช้ที่ดินของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย สามารถจำแนกเป็น 9 ประเภทหลัก คือ พืชอาหาร (food crops), พืชหัว (root crops), พืชน้ำมัน (oil crops), พืชน้ำตาล (sugar producing crops), ผลไม้และพืชผัก (fruit and vegetable crops), พืชเส้นใย (fiber producing crops), พืชที่ใช้ทำเครื่องดื่ม (beverage crops), พืชอุตสาหกรรม (industrial crops) และหญ้าเลี้ยงสัตว์ (pasture) (กองวางแผนการใช้ที่ดิน, 2535)
การใช้ที่ดิน คือ ลักษณะกายภาพบนพื้นที่ดินอันเป็นผลมาจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ การใช้ที่ดินเกิดขึ้นเนื่องจากมนุษย์มีความต้องการในด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย รวมทั้งที่พักผ่อนหย่อนใจ และอื่นๆ เพื่อที่จะสนองความต้องการดังกล่าวมนุษย์จึงต้องเปลี่ยนแปลงหรือปลูกสร้างสิ่งต่างๆ เช่น บ้านเรือน ถนน วัด โรงเรียน พื้นที่เพาะปลูก ร้านค้า ฯลฯ การใช้ที่ดินสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ (สุรีย์, 2544) 1) การใช้ที่ดินในชนบท 2) การใช้ที่ดินในเมือง การใช้ที่ดิน หมายถึง การจัดการที่ดินตามที่มนุษย์ต้องการ ซึ่งรวมทั้งการใช้ที่ดินในชนบท เขตชานเมือง และเขตอุตสาหกรรม (FAO, 1993)
นโยบายที่ดิน (Land policy) นโยบายที่ดิน หมายถึง แนวปฏิบัติหรือวิธีการที่จะทำให้ที่ดินบังเกิดผลดีมีประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติโดยส่วนรวมมากที่สุด นโยบายอาจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปตามความเหมาะสมของสถานการณ์ รัฐจำเป็นที่จะต้องวางแผนกำหนดนโยบายและแผนการใช้ที่ดินของประเทศให้แน่นอนและเด่นชัด เนื่องจากที่ดินเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการผลิตเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อกิจการต่างๆ จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ถ้าไม่มีนโยบายและแผนการใช้ที่ดินปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ การใช้ที่ดินไม่ถูกต้องตามคุณภาพของที่ดิน มีการบุกรุกทำลายป่าไม้ต้นน้ำลำธารเพื่อนำมาใช้เป็นที่เพาะปลูก (วรรณี, 2546)
วิวัฒนาการของการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Evolution of land use) วิวัฒนาการของการใช้ประโยชน์ที่ดิน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง หรือเป็นอีกหลายๆ รูปแบบ เช่น การเปลี่ยนแปลงจากที่ดินป่าไม้ไปเป็นพื้นที่เกษตร เมือง แหล่งน้ำ และถนนหนทาง หรือจากพื้นที่เกษตรไปเป็นเมือง ถนนหนทาง และแหล่งน้ำ เป็นต้น (นิวัติ, 2547)
ประเภทของการใช้ที่ดิน (Land utilization type) ประเภทของการใช้ที่ดิน เป็นแบบของการใช้ที่ดินที่เฉพาะเจาะจง เช่น การใช้ที่ดินเพื่อเพาะปลูกพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง การใช้ที่ดินเพื่อเป็นแหล่งอุตสาหกรรม การใช้ที่ดินเพื่อทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น (ดุสิต, 2530) ประเภทของการใช้ที่ดิน เป็นชนิดหรือระบบการใช้ที่ดินที่กล่าวถึงสภาพการผลิตและเทคนิคในการดำเนินการในการใช้ที่ดิน ทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ได้แก่ ชนิดพืชที่ปลูก เงินทุน แรงงาน เครื่องจักร ขนาดฟาร์ม ลักษณะถือครองที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานที่ต้องการการจัดการ วัสดุที่ใช้ในฟาร์ม เป้าหมายของการผลิต ผลผลิต ผลตอบแทนที่ได้รับ เป็นต้น (กองวางแผนการใช้ที่ดิน, 2535)
การใช้ที่ดินสำคัญ (Major kind of land use) การใช้ที่ดินอย่างหนึ่งในสองสามอย่าง สำหรับการใช้ที่ดินสำคัญ เช่น การปลูกพืชไร่โดยอาศัยน้ำฝน การทำการเกษตรโดยใช้การชลประทาน การทำสวนป่า ทุ่งหญ้าธรรมชาติ และสถานที่พักผ่อน (ดุสิต, 2530) การใช้ที่ดินร่วนกัน (Combined use) การใช้ที่ดินร่วมกัน มากกว่าหนึ่งชนิดของการใช้ที่ดินสำคัญ เช่น การใช้ที่ดินเพื่อปลูกพืชไร่และทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ในไร่นาเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ที่ดินในไร่นาหนึ่งๆ หลายอย่างรวมกัน (ดุสิต, 2530)
การใช้ที่ดินแบบต่างๆ บนพื้นที่เดียวกัน (Multiple use) การใช้ที่ดินหลายแบบของการใช้ที่ดินที่สำคัญในพื้นที่เดียวกัน เช่น การใช้พื้นที่เพื่อทำป่าไม้ อนุรักษ์สัตว์ป่า และเป็นสถานที่พักผ่อนด้วย (ดุสิต, 2530) การใช้ที่ดินไม่อาจเปลี่ยนการใช้กลับได้ (Irreversible use) การใช้ที่ดินแล้วไม่สามารถที่จะเปลี่ยนกลับมาใช้แบบเดิมได้ เช่น ที่ดินป่าไม้เดิมหรือที่ดินที่ชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ มีการจับจองตั้งบ้านเรือนต่างๆ หรือเป็นแหล่งอุตสาหกรรม ซึ่งไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงกลับไปใช้ที่ดินแบบเดิมได้เนื่องจากเป็นการใช้ที่ดินอย่างถาวร (ดุสิต, 2530)
การใช้ที่ดินที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (Reversible use) การใช้ที่ดินที่เปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาได้ เช่น ที่ดินที่เป็นป่าไม้เปลี่ยนไปเป็นที่เพาะปลูกต่างๆ หรือจากที่เพาะปลูกเปลี่ยนเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ สวนป่าหรือป่าไม้ เป็นต้น (ดุสิต, 2530)
จบการสอนบทที่ 12