ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานไม่สำเร็จ ในพื้นที่บริการสุขภาพที่ 9 ปี 2555- 2557 กัลยาณี จันธิมา , สส.ม., พญ.ผลิน กมลวัทน์, พ.บ., ปิยะพร มนต์ชาตรี พยบ. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา คำสำคัญ : วัณโรคดื้อยาหลายขนาน ,ความสำเร็จการรักษา ปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนานเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการผ่าเหล่าของเชื้อวัณโรค การเคยได้รับการรักษาด้วยยาสูตรมาตรฐานที่ไม่ครบ ไม่ต่อเนื่องกินๆ หยุดๆ หรือการติดเชื้อดื้อยาตั้งแต่แรกตลอดจนพบในผู้อพยพเข้ามาจากประเทศที่มีความชุกของโรคสูง การติดต่อจากผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ทำให้มีการแพร่ระบาดในชุมชนหรือโรงพยาบาล จากการศึกษาของอติภา กมลวัทน(1) ซึ่งศึกษาในสถานบริการในจังหวัด นครราชสีมา สุรินทร์ ชัยภูมิและบุรีรัมย์ พบว่า อัตราการดื้อยาหลายขนานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีระหว่างปี พ.ศ.2546-2550 เป็น 0.7, 0.5, 1.4, 1.2 และ 6.0 ตามลำดับ วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบ ข้อมูลที่นำมาศึกษาเป็นผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานที่ได้รับการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการและสามารถติดตามประวัตินำมาวิเคราะห์ได้จำนวน 157 คน ในโรงพยาบาลศูนย์ 4 แห่ง ในจังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ ชัยภูมิและบุรีรัมย์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกการรักษาและรายงานที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลทั่วไปและผลการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการรักษาวัณโรคดื้อยาไม่สำเร็จใช้ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ไม่สำเร็จในพื้นที่บริการสุขภาพที่ 9 ระหว่างปีพ.ศ. 2555 – 2557 ผลการวิจัย ตารางที่ 2 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานที่ไม่สำเร็จ จำแนกตามปัจจัยแสดงความสัมพันธ์ ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ปัจจัย จำนวน (n=157) ร้อยละ เพศ ชาย หญิง 109 48 69.4 30.6 อายุ 17-86 ปี เฉลี่ย 50 ปี S.D. =16 ประเภทการขึ้นทะเบียนรักษา ผู้ป่วยใหม่ 32 20.3 กลับเป็นซ้ำ 42 26.8 รักษาซ้ำภายหลังล้มเหลว 69 44.0 ขาดยา 14 8.9 ผลการรักษา หาย 31 19.25 ครบ ล้มเหลว 6 5.7 ตาย 12 7.6 11 7.0 ไม่นำมาประเมิน 63 40.1 การสูบบุหรี่ ไม่เคยสูบแต่เลิก 83 52.8 เคยสูบแต่เลิก 68 43.4 ปัจจุบันยังสูบ 3.8 ประวัติการต้องโทษ ไม่เคย เคย 149 8 94.9 5.1 โรคประจำตัว ไม่มี 111 70.7 เบาหวาน 17 10.8 ความดันโลหิตสูง อื่นๆ 18 11.5 การติดเชื้อเอชไอวี ติดเชื้อเอชไอวี 13 8.3 ไม่ติดเชื้อเอชไอวี 144 91.7 คุณลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 157 ราย พบว่า เป็นเพศชายร้อยละ 69.4 มีอายุเฉลี่ย 50 ปี S.D.=16.0 ส่วนใหญ่มีประวัติเคยรักษาวัณโรคมาก่อน ร้อยละ 79.7 เป็นกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวก มากที่สุดร้อยละ 91.1 มีเบาหวานเป็นโรคร่วมร้อยละ 29.3 และพบการติดเชื้อ HIV ร้อยละ 8.3 มีผลการรักษาสำเร็จร้อยละ 39.5 กำลังรักษาร้อยละ 40.1 รักษาไม่สำเร็จร้อยละ 20.3 ซึ่งเป็นผลมาจาก การขาดยา รักษาล้มเหลวและการเสียชีวิต คิดเป็นร้อยละ 7.0, 5.7 และ 7.6 ตามลำดับ การมีอายุน้อยกว่า 50 ปี (RR=0.28, 95%CI: 0.05-0.38) เป็นปัจจัยป้องกันการเกิดผลการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานไม่สำเร็จ สรุปผล ดังนั้นการให้คำปรึกษาและความรู้ในการดูแลตนเองในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปีและผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นเบาหวานร่วมอย่างเคร่งครัด จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานไม่สำเร็จได้ การนำไปใช้ประโยชน์ ผลการศึกษานี้ใช้ในการวางแผนการจัดรูปแบบ การให้บริการและติดตามผู้ป่วย MDR-TB ทั้งในคลินิกวัณโรคในโรงพยาบาลและในชุมชน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไปซึ่งจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งตัวผู้ป่วย แพทย์ ชุมชนและครอบครัวผู้ป่วย การพัฒนาทางห้องปฎิบัติการ รวมทั้งนโยบายระดับประเทศทั้งงบประมาณและกำลังคนการตระหนักถึงปัญหานี้ดีกว่าคอยให้เกิดปัญหาMDR-TBที่ลุกลามและยากต่อการควบคุมในอนาคต เอกสารอ้างอิง 1.อติภา กมลวัทน์, นาตยา พันธุ์รอด, และเศวต ช านาญกรม. (2551). สถานการณ์วัณโรคดื้อยาใน สถานบริการเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 13 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546-2550.วารสารวัณ โรค โรคทรวงอกและเวชบ าบัดวิกฤต, 29(3), 199-206. . .