มาตรฐานการจัดทำบัญชี สำหรับหน่วยงานภาครัฐ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ
Advertisements

บทที่ 1 การรวมธุรกิจ.
บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
1. 2 งบประมาณ ทั้งสิ้น 33, ลบ. งบประจำ ลบ. (0.37%) งบ บุคลากร ลบ. (0.25%) งบ ดำเนินงา น ลบ. (0.12%) งบลงทุน 33,
พังงา นางสาวอัญชลี ตันวานิช สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
LOGO การคำนวณต้นทุนผลผลิต ของปีงบประมาณ 2553 โดย นายธีรชาติ พันธุ์หอม หัวหน้าฝ่ายแผนงานและ งบประมาณด้านก่อสร้าง คณะทำงานต้นทุนผลผลิตสำนัก ชลประทานที่ 11.
15 กันยายน 2558 หมวดงบลงทุน. งบ ลงทุน 1) ครุภัณฑ์ 2) ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่าย เพื่อการลงทุน ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายใน ลักษณะค่าครุภัณฑ์
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
การมอบนโยบายแนวทาง การปฏิรูปที่ดินประจำปี 2559 โดย นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส เลขาธิการ ส. ป. ก.
คำแนะนำ นายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน พ. ศ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน พ.
แนวทางการบริหารจัดการเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดย สหกรณ์ นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ วันที่
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ พัสดุ ประกาศคณะรักษาความรักษา ความสงบแห่งชาติ การซื้อและ การจัดจ้างด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e – GP) และการบริหาร งบประมาณ ขององค์กรปกครองส่วน.
การอุดหนุน งบประมาณ ให้แก่ สถานศึกษาใน สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการ การศึกษาขั้น พื้นฐาน.
กระบวนการทางการบัญชี บันทึก  สมุดรายวันขั้นต้น
แนวปฏิบัติทางบัญชีสิ้นปีงบประมาณ
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบการควบคุมภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 7
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
มาตรฐานการสอบทาน รหัส 2410
ระบบ ISO 9001:2015 สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
หลักสูตร สารวัตรงบประมาณ การเงินและพัสดุ
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร12
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
แนวทางการปฏิบัติงานตามข้อสั่งการ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บทที่ 5 การวางแผนทางการเงิน ผศ. อรทัย รัตนานนท์ รศ.อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
การปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับหน่วยงานภายใน ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
การจัดทำบัญชีสิ้นปีงบประมาณ
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไข ของกองวิจัยและพัฒนาข้าว
(มีผลใช้บังคับวันที่ ๑ พ.ย. ๒๕๕๗)
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย เพื่อประกอบอาชีพเสริม
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
ประเด็นปัญหาที่ตรวจพบจากการตรวจสอบ
มาตรฐานการจัดทำบัญชี สำหรับหน่วยงานภาครัฐ หลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการเงินการคลังภาครัฐ ระดับ ชำนาญการ 11 มิถุนายน ๒๕๕๘.
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
สรุปมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาก่อสร้าง
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
บทที่ 1 วิวัฒนาการของรายงานทางการเงิน
แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG
บทที่ 6 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
การจัดองค์กรของรัฐในประเทศไทย ********************
Supply Chain Management
การจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

มาตรฐานการจัดทำบัญชี สำหรับหน่วยงานภาครัฐ

การปฏิรูประบบบัญชีภาครัฐ ผลที่คาดหวัง เครื่องมือ ต้นทุนที่แท้จริงอันเกิดจากการใช้ทรัพยากรในการดำเนินการ เกณฑ์คงค้าง ต้นทุนผลผลิต ฐานะการเงินที่ถูกต้องครบถ้วน รายงานการเงิน ความเป็นสากล และโปร่งใสของข้อมูลทางบัญชี มาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจถึงที่มาของการทำบัญชีเกณฑ์คงค้างในภาครัฐ จึงเริ่มด้วยการพูดถึงแนวคิดพื้นฐานเหล่านี้ก่อน เรื่องที่สำคัญคือต้นทุนการทำงาน เมื่องปม.ปรับเปลี่ยนเป็นแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ ในเอกสารงปม.ต้องระบุถึงผลผลิตของกรมซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงเป้าหมายการให้บริการระดับกระทรวง มีการพูดถึงผลผลิตซึ่งเป็นงานที่กรมต้องส่งมอบให้แก่ประชาชนผู้รับบริการ และมีการพูดถึงการบริหารภาครัฐแนวใหม่ที่ต้องเน้นประสิทธิภาพ สังเกตได้จากการนำเครื่องมือเพื่อการบริหารมาใช้มากมายโดยกพร. เช่น PMQA KPI รายบุคคล การรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองของหน่วยงานซึ่งจะต้องระบุถึงผลงานที่วางแผนว่าจะทำภายในปีงปม. ซึ่งนำมาสู่ความต้องการทราบต้นทุนที่แท้จริง (full cost) ของการทำงานของแต่ละกรมในการส่งมอบผลผลิต การใช้ตัวเลขรายจ่ายที่มีการจ่ายเป็นตัวเงินออกไปไม่สามารถสะท้อนถึงต้นทุนจริงดังกล่าวได้ เพราะในการทำงานของสรก.ต้องมีสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่ใช้งานได้เกินกว่า 1 ปี ในทางบัญชีต้องมีการกระจายต้นทุนสินทรัพย์เป็นคชจ.ไปตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์นั้น ดังนั้นจึงเหมาะสมกว่าที่จะทำบัญชีเกณฑ์คงค้างเพื่อวัดมูลค่าทรัพยากรที่มีการใช้หมดไปในการสร้างผลผลิต นอกจากข้อมูลต้นทุน สรก.มีการใช้เงินนอกงปม.มากขึ้น มีการใช้งานสินทรัพย์ถาวรทั้งครุภัณฑ์ อาคาร ต่าง ๆ จำนวนมาก ด้านหนี้สินก็เป็นอีกส่วนหนึ่งซึ่งหน่วยงานราชการควรจะเปิดเผยให้สาธารณชนทราบเพื่อความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล การนำบัญชีเกณฑ์คงค้างมาใช้จะทำให้บรรลุความต้องการข้อนี้ได้ดี รายงานการเงิน และรายงานอื่น ๆ ที่ใช้ข้อมูลทางบัญชี การตัดสินใจของผู้บริหารด้วยการใช้ข้อมูลทางบัญชีที่มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งในระดับหน่วยงานและระดับรัฐบาล

การปฏิรูประบบบัญชีภาครัฐ เปลี่ยนหลักการบัญชี เกณฑ์เงินสด เกณฑ์คงค้าง ขยายวัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชี ควบคุมและติดตาม การใช้งบประมาณ ติดตามสถานะการเงิน และการใช้ทรัพยากร ในการดำเนินงาน (ต้นทุนผลผลิต)

การปฏิรูประบบบัญชีภาครัฐ ขยายขอบเขตการจัดทำรายงาน รายงานประกอบการ ติดตามงบประมาณ รายงานการเงิน เพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป ปรับแนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์การบัญชี ระบบบัญชีส่วนราชการ มาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐ ตั้งแต่อดีตส่วนราชการถูกมองเป็นเพียงตัวแทนทำงานให้รัฐบาล เรียกว่าใช้เงินครบก็จบหน้าที่ การทำรายงานจึงมีเพียงการแสดงให้เห็นว่าได้ใช้จ่ายเงินงปม.ที่รัฐจัดสรรให้ได้เท่าไร และเป็นการมุ่งตอบคำถามให้กับรัฐบาลผู้เดียวเฉพาะเรื่องการใช้จ่ายเงินงปม. แต่เมื่อความโปร่งใสเป็นประเด็นถกเถียงกันมากขึ้นทั้งในภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจประมาณปี พ.ศ.2540 และมีการพูดกันถึงประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐ การรายงานแต่เพียงการใช้จ่ายเงินงปม.ดูจะไม่ครบถ้วนรอบด้านและยังเป็นการรายงานกันแต่เพียง ”วงใน” ประชาชนผู้เสียภาษีไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลการเงินนี้ แม้ว่าตามพรบ.ข้อมูลข่าวสารคนทั่วไปสามารถขอได้จากสรก. แต่เมื่อไม่มีข้อกำหนดให้สรก.ทำรายงานอื่นนอกจากรายงานการใช้จ่ายเงินงปม. ก็ไม่มีข้อมูลจะให้ ตามหลักบัญชีเกณฑ์คงค้างต้องมีการทำรายงานการเงิน (งบการเงิน) เป็นเรื่องสำคัญ การพัฒนาที่สำคัญเรื่องหนึ่งก็คือการกำหนดให้สรก.ต่าง ๆ ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อการบริหารจัดการทางการเงินของตนโดยการจัดทำรายงานการเงิน (เพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป) ขึ้นและพร้อมจะให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกคนได้เห็น คำว่ารายงานการเงินเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปก็คือรายงานการเงินอย่างที่ทำกันอยู่ ซึ่งหมายถึงรายงานการเงินที่ทำให้ผู้ใช้ทั่ว ๆ ไป ไม่ได้เจาะจงกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด เช่น รองปลัดที่คุมกรม ปลัดกระทรวง รมช.ที่ดูแลกระทรวง ครม. สภาฯ ผู้รับเหมางานกรม นักวิชาการ ประชาชนผู้สนใจทั่วไป ใครก็ได้ ข้อมูลในรายงานให้ไว้เพียงพอแก่การตัดสินใจทางการเงินในภาพรวม เช่น การติดตามการใช้ทรัพยากร แต่อาจไม่มีข้อมูลที่ละเอียดพอสำหรับผู้ใช้ที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น หากตัดสินใจจะปรับภารกิจกรมโดยการตัดงานบางส่วนโอนไปเป็นตั้งองค์การมหาชนทำแทน ซึ่งกรณีนั้นอาจจำเป็นต้องมีการทำรายงานเฉพาะต่างหาก

แนวคิดในการกำหนดหลักการบัญชีภาครัฐ หลักการควบคุม รัฐบาลควบคุมหน่วยงานภาครัฐ จัดทำงบการเงินรวมของแผ่นดิน (รัฐบาล) หน่วยงานภาครัฐควบคุมทรัพยากร กำหนดหน่วยงานที่เสนอรายงานเป็นหน่วยที่มีอำนาจ ควบคุมทรัพยากร (ระดับกรม) การกำหนดหลักการควบคุมจะเป็นประโยชน์ในกรณีพิจารณาว่าหน่วยงานควรบันทึกสินทรัพย์รายการใดหรือไม่ เช่น หน่วยงานขุดบ่อเก็บน้ำให้ท้องถิ่นแล้วยกให้ท้องถิ่นดูแลต่อ ถือว่าบ่อเก็บน้ำนั้นไม่ใช่สินทรัพย์ของหน่วยงานตามหลักการควบคุม เพราะหน่วยงานไม่ได้เป็นผู้ดูแลจัดการรับผิดชอบ และไม่ได้ใช้ประโยชน์จากบ่อเก็บน้ำนั้นในการสร้างผลผลิตตามภารกิจของหน่วยงาน อย่างไรก็ดีในกรณีที่หน่วยงานสร้างสินทรัพย์ให้สาธารณชนใช้ แม้ตัวหน่วยงานเองไม่ได้ใช้แต่หน่วยงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการ บำรุงรักษา และหากจะมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมอยู่ในอำนาจของหน่วยงานที่จะให้ความตกลง ก็ถือว่าหน่วยงานควบคุมทรัพยากรรายการนั้นเช่นกัน และต้องบันทึกบัญชีสินทรัพย์ของหน่วยงาน ส่วนเรื่องการใช้หลักการควบคุมเพื่อพิจารณาหน่วยงานที่จะนำมาจัดทำงบการเงินรวมของแผ่นดินนั้น จะถือว่ารัฐบาลควบคุมหากรัฐบาลสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานและ/หรือนโยบายการเงินของหน่วยงาน เช่น ผ่านรมต.ผู้กำกับดูแลกระทรวง

แนวคิดในการกำหนดหลักการบัญชีภาครัฐ หน่วยงานภาครัฐ ถูกควบคุมโดยรัฐบาล (มีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายสำคัญ) ใช้จ่ายเงินงบประมาณเป็นหลักในการดำเนินงาน (ระยะยาว) รัฐบาลควบคุม ใช้เงินงบประมาณเป็นส่วนใหญ่ บัญชีรัฐบาล (9999) การกำหนดหลักการควบคุมจะเป็นประโยชน์ในกรณีพิจารณาว่าหน่วยงานควรบันทึกสินทรัพย์รายการใดหรือไม่ เช่น หน่วยงานขุดบ่อเก็บน้ำให้ท้องถิ่นแล้วยกให้ท้องถิ่นดูแลต่อ ถือว่าบ่อเก็บน้ำนั้นไม่ใช่สินทรัพย์ของหน่วยงานตามหลักการควบคุม เพราะหน่วยงานไม่ได้เป็นผู้ดูแลจัดการรับผิดชอบ และไม่ได้ใช้ประโยชน์จากบ่อเก็บน้ำนั้นในการสร้างผลผลิตตามภารกิจของหน่วยงาน อย่างไรก็ดีในกรณีที่หน่วยงานสร้างสินทรัพย์ให้สาธารณชนใช้ แม้ตัวหน่วยงานเองไม่ได้ใช้แต่หน่วยงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการ บำรุงรักษา และหากจะมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมอยู่ในอำนาจของหน่วยงานที่จะให้ความตกลง ก็ถือว่าหน่วยงานควบคุมทรัพยากรรายการนั้นเช่นกัน และต้องบันทึกบัญชีสินทรัพย์ของหน่วยงาน ส่วนเรื่องการใช้หลักการควบคุมเพื่อพิจารณาหน่วยงานที่จะนำมาจัดทำงบการเงินรวมของแผ่นดินนั้น จะถือว่ารัฐบาลควบคุมหากรัฐบาลสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานและ/หรือนโยบายการเงินของหน่วยงาน เช่น ผ่านรมต.ผู้กำกับดูแลกระทรวง ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐ 6 6

ใช้เงินงบประมาณเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐ 1. รัฐบาลควบคุม+ไม่ใช้เงินงปม. >> เป็น ทุนหมุนเวียน 4. ไม่ถูกรัฐบาลควบคุม+ไม่ใช้เงินงปม. >> ไม่เป็น ธนาคารแห่งประเทศไทย 2. ไม่ถูกรัฐบาลควบคุม+ใช้เงินงปม. >> เป็น หน่วยงานอิสระตามรธน. 5. รัฐบาลควบคุม+ไม่ใช้เงินงปม. >> ไม่เป็น รัฐวิสาหกิจไม่ใช้งปม. เช่น ปตท. 3. รัฐบาลควบคุม+ใช้เงินงปม. >> เป็น ส่วนราชการ 6. ไม่ถูกรัฐบาลควบคุม+ใช้เงินงปม. >> ไม่เป็น ไม่มี (มีเพียงใช้งปม.บางส่วน) รัฐบาลควบคุม ใช้เงินงบประมาณเป็นส่วนใหญ่ 3 1 2 7 5 6 การกำหนดหลักการควบคุมจะเป็นประโยชน์ในกรณีพิจารณาว่าหน่วยงานควรบันทึกสินทรัพย์รายการใดหรือไม่ เช่น หน่วยงานขุดบ่อเก็บน้ำให้ท้องถิ่นแล้วยกให้ท้องถิ่นดูแลต่อ ถือว่าบ่อเก็บน้ำนั้นไม่ใช่สินทรัพย์ของหน่วยงานตามหลักการควบคุม เพราะหน่วยงานไม่ได้เป็นผู้ดูแลจัดการรับผิดชอบ และไม่ได้ใช้ประโยชน์จากบ่อเก็บน้ำนั้นในการสร้างผลผลิตตามภารกิจของหน่วยงาน อย่างไรก็ดีในกรณีที่หน่วยงานสร้างสินทรัพย์ให้สาธารณชนใช้ แม้ตัวหน่วยงานเองไม่ได้ใช้แต่หน่วยงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการ บำรุงรักษา และหากจะมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมอยู่ในอำนาจของหน่วยงานที่จะให้ความตกลง ก็ถือว่าหน่วยงานควบคุมทรัพยากรรายการนั้นเช่นกัน และต้องบันทึกบัญชีสินทรัพย์ของหน่วยงาน ส่วนเรื่องการใช้หลักการควบคุมเพื่อพิจารณาหน่วยงานที่จะนำมาจัดทำงบการเงินรวมของแผ่นดินนั้น จะถือว่ารัฐบาลควบคุมหากรัฐบาลสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานและ/หรือนโยบายการเงินของหน่วยงาน เช่น ผ่านรมต.ผู้กำกับดูแลกระทรวง 4 ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐ 7. รัฐบาลควบคุม+ใช้เงินงปม. >> ไม่เป็น รัฐวิสาหกิจใช้งปม. เช่น กกท. 7 7

แนวคิดในการกำหนดหลักการบัญชีภาครัฐ หน่วยงานภาครัฐ แต่ละหน่วยเบิกจ่ายภายใต้หน่วยงาน(กรม)เดียวกันบันทึกรายการ ของตนเองเป็นหน่วยทางบัญชีแยกจากกัน ทุกหน่วยเบิกจ่ายภายใต้หน่วยงานรวมกันจัดทำงบการเงิน 1 ชุด หน่วยเบิกจ่าย(ลูก 1) หน่วยเบิกจ่าย(ลูก 2) หน่วยเบิกจ่าย(แม่) การกำหนดหลักการควบคุมจะเป็นประโยชน์ในกรณีพิจารณาว่าหน่วยงานควรบันทึกสินทรัพย์รายการใดหรือไม่ เช่น หน่วยงานขุดบ่อเก็บน้ำให้ท้องถิ่นแล้วยกให้ท้องถิ่นดูแลต่อ ถือว่าบ่อเก็บน้ำนั้นไม่ใช่สินทรัพย์ของหน่วยงานตามหลักการควบคุม เพราะหน่วยงานไม่ได้เป็นผู้ดูแลจัดการรับผิดชอบ และไม่ได้ใช้ประโยชน์จากบ่อเก็บน้ำนั้นในการสร้างผลผลิตตามภารกิจของหน่วยงาน อย่างไรก็ดีในกรณีที่หน่วยงานสร้างสินทรัพย์ให้สาธารณชนใช้ แม้ตัวหน่วยงานเองไม่ได้ใช้แต่หน่วยงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการ บำรุงรักษา และหากจะมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมอยู่ในอำนาจของหน่วยงานที่จะให้ความตกลง ก็ถือว่าหน่วยงานควบคุมทรัพยากรรายการนั้นเช่นกัน และต้องบันทึกบัญชีสินทรัพย์ของหน่วยงาน ส่วนเรื่องการใช้หลักการควบคุมเพื่อพิจารณาหน่วยงานที่จะนำมาจัดทำงบการเงินรวมของแผ่นดินนั้น จะถือว่ารัฐบาลควบคุมหากรัฐบาลสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานและ/หรือนโยบายการเงินของหน่วยงาน เช่น ผ่านรมต.ผู้กำกับดูแลกระทรวง หน่วยเบิกจ่าย(ลูก 3) 8 8

แนวคิดในการกำหนดหลักการบัญชีภาครัฐ รายการระหว่างกัน 3 ระดับ รัฐบาล(9999) – หน่วยงาน หน่วยงาน – หน่วยงาน หน่วยเบิกจ่าย – หน่วยเบิกจ่าย (ภายใต้หน่วยงานเดียวกัน) รายได้/ค่าใช้จ่าย (BP) รายได้/ค่าใช้จ่าย การกำหนดหลักการควบคุมจะเป็นประโยชน์ในกรณีพิจารณาว่าหน่วยงานควรบันทึกสินทรัพย์รายการใดหรือไม่ เช่น หน่วยงานขุดบ่อเก็บน้ำให้ท้องถิ่นแล้วยกให้ท้องถิ่นดูแลต่อ ถือว่าบ่อเก็บน้ำนั้นไม่ใช่สินทรัพย์ของหน่วยงานตามหลักการควบคุม เพราะหน่วยงานไม่ได้เป็นผู้ดูแลจัดการรับผิดชอบ และไม่ได้ใช้ประโยชน์จากบ่อเก็บน้ำนั้นในการสร้างผลผลิตตามภารกิจของหน่วยงาน อย่างไรก็ดีในกรณีที่หน่วยงานสร้างสินทรัพย์ให้สาธารณชนใช้ แม้ตัวหน่วยงานเองไม่ได้ใช้แต่หน่วยงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการ บำรุงรักษา และหากจะมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมอยู่ในอำนาจของหน่วยงานที่จะให้ความตกลง ก็ถือว่าหน่วยงานควบคุมทรัพยากรรายการนั้นเช่นกัน และต้องบันทึกบัญชีสินทรัพย์ของหน่วยงาน ส่วนเรื่องการใช้หลักการควบคุมเพื่อพิจารณาหน่วยงานที่จะนำมาจัดทำงบการเงินรวมของแผ่นดินนั้น จะถือว่ารัฐบาลควบคุมหากรัฐบาลสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานและ/หรือนโยบายการเงินของหน่วยงาน เช่น ผ่านรมต.ผู้กำกับดูแลกระทรวง 9 9

แนวคิดในการกำหนดหลักการบัญชีภาครัฐ การบันทึกบัญชีตามความรับผิดชอบ รายการที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ ไม่จำกัดเฉพาะความเป็น เจ้าของ เช่น ที่ดินราชพัสดุ เน้นผลผลิตมากกว่าประเภทเงิน บันทึกเงินในงบประมาณ และเงินนอกประมาณในลักษณะเดียวกัน ตามรายการที่เกิดขึ้น เน้นที่ผลผลิตมากกว่าประเภทเงิน คือในอดีตส่วนราชการบันทึกการใช้จ่ายเงินงบประมาณเป็นรายจ่าย แต่ไม่บันทึกการใช้จ่ายเงินนอกเป็นรายจ่าย ตามหลักเน้นที่ผลผลิตหน่วยงานต้องบันทึกคชจ. เหมือนกันไม่ว่าจะใช้จ่ายจากเงินงปม. หรือเงินนอก ไม่ว่าจะเป็นเงินนอกประเภทใด เช่น เงินนอกฝากคลัง เงินนอกฝากธ.พาณิชย์ หรือแม้แต่กรณีหน่วยงานไม่ได้รับเงินสด แต่ได้รับเป็นสินทรัพย์ เช่น การรับบริจาค รับความช่วยเหลือ หากหน่วยงานนำมาใช้ในการสร้างผลผลิตก็ถือว่าเป็นทรัพยากรที่นำมาใช้และต้องไปรวมเป็นต้นทุนเหมือนกัน รวมถึงเงินนอกที่หน่วยงานได้รับและมีกฎหมายระบุยกเว้นไว้ให้ไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ก็ถือว่านำไปใช้สร้างผลผลิตเช่นเดียวกัน ไม่แบ่งแยกว่าเงินงปม.บันทึกแบบหนึ่ง ส่วนเงินนอกบันทึกอีกแบบหนึ่ง แต่การบันทึกบัญชีย่อมต้องเป็นไปตามรายการที่เกิดขึ้น เช่น หน่วยงานรับเงินค่าสินบนรางวัลนำจับ แล้วต้องแบ่งเป็นส่วน ๆ ตามระเบียบ ส่วนหนึ่งจ่ายให้คนชี้เบาะแส ส่วนหนึ่งเข้าเป็นรายได้ของหน่วยงานเก็บไว้ใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในระเบียบซึ่งจะต้องจัดสรรเป็นเงินรางวัลจ่ายให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำการจับกุมจำนวนหนึ่ง หน่วยงานก็ต้องบันทึกเงินที่กันไว้จ่ายให้บุคคลผู้ชี้เบาะแสเป็นหนี้สิน ส่วนที่เก็บเข้าหน่วยงานบันทึกเข้าเป็นรายได้(เงินนอก)ก่อน และบันทึกคชจ.เมื่อเบิกเงินนอกนั้นไปจ่ายให้จนท.ตามที่จัดสรรให้อีกทีหนึ่ง 10

แนวคิดในการกำหนดหลักการบัญชีภาครัฐ สรุปขอบเขตของการบันทึกรายการแต่ละองค์ประกอบในงบการเงิน สินทรัพย์ - ควบคุมประโยชน์การใช้งาน อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ หนี้สิน - ภาระผูกพันที่ต้องชดใช้ ทุน - สินทรัพย์สุทธิเมื่อเริ่มเกณฑ์คงค้าง/ตั้งหน่วยงาน สินทรัพย์สุทธิเปลี่ยนแปลงสุทธิสะสม รายได้ - สินทรัพย์สุทธิเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่าย - สินทรัพย์สุทธิลดลง การกำหนดหลักการควบคุมจะเป็นประโยชน์ในกรณีพิจารณาว่าหน่วยงานควรบันทึกสินทรัพย์รายการใดหรือไม่ เช่น หน่วยงานขุดบ่อเก็บน้ำให้ท้องถิ่นแล้วยกให้ท้องถิ่นดูแลต่อ ถือว่าบ่อเก็บน้ำนั้นไม่ใช่สินทรัพย์ของหน่วยงานตามหลักการควบคุม เพราะหน่วยงานไม่ได้เป็นผู้ดูแลจัดการรับผิดชอบ และไม่ได้ใช้ประโยชน์จากบ่อเก็บน้ำนั้นในการสร้างผลผลิตตามภารกิจของหน่วยงาน อย่างไรก็ดีในกรณีที่หน่วยงานสร้างสินทรัพย์ให้สาธารณชนใช้ แม้ตัวหน่วยงานเองไม่ได้ใช้แต่หน่วยงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการ บำรุงรักษา และหากจะมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมอยู่ในอำนาจของหน่วยงานที่จะให้ความตกลง ก็ถือว่าหน่วยงานควบคุมทรัพยากรรายการนั้นเช่นกัน และต้องบันทึกบัญชีสินทรัพย์ของหน่วยงาน ส่วนเรื่องการใช้หลักการควบคุมเพื่อพิจารณาหน่วยงานที่จะนำมาจัดทำงบการเงินรวมของแผ่นดินนั้น จะถือว่ารัฐบาลควบคุมหากรัฐบาลสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานและ/หรือนโยบายการเงินของหน่วยงาน เช่น ผ่านรมต.ผู้กำกับดูแลกระทรวง 11 11

มาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐ หลักการและนโยบายบัญชีภาครัฐ มาตรฐานรายงานการเงิน ผังบัญชีมาตรฐาน เอกสารทั้ง 3 ฉบับนี้ออกโดยประกาศกระทรวงการคลัง และถือเป็นมาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐ ซึ่งหน่วยงานต้องถือปฏิบัติ โดยรวมเรียกว่ามาตรฐานเพราะเป็นสิ่งที่หน่วยงานต้องทำตามให้เป็นแบบเดียวกัน ในทางปฏิบัติ หน่วยงานบางแห่งอาจไม่ได้ใช้ผังบัญชีมาตรฐานในการทำงาน เนื่องจากเป็นมาตรฐานที่มีรายละเอียดมาก ไม่เหมือนหลักการและนโยบายบัญชี และมาตรฐานรายงานการเงิน แต่เมื่อหน่วยงานจะต้องส่งข้อมูลงบทดลองเข้าระบบ GFMIS ก็ต้องยึดตามผังบัญชีมาตรฐาน โดยการแปลงข้อมูลเข้าตามรายการในผังบัญชีมาตรฐาน

มาตรฐานบัญชีที่ใช้อ้างอิง IPSAS (International Public Sector Accounting Standards) มาตรฐานการบัญชีไทย IAS (International Accounting Standards) มาตรฐานที่ใช้เป็นหลักคือมาตรฐานการบัญชีของไทย ซึ่งในปัจจุบันมาตรฐานบัญชีไทยก็ถูกปรับให้เหมือนกับ IAS และมาตรฐาน IPSAS ก็กำหนดตาม IAS โดยสรุปแล้วทั้งหมดก็จะมีเนื้อหาเหมือนกัน IFRS (International Financial Reporting Standards)

ขอบเขตการถือปฏิบัติตามหลักการและนโยบายบัญชีฯ ส่วนราชการระดับกรม หน่วยงานภาครัฐลักษณะพิเศษ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน หน่วยงานอิสระที่ตั้งขึ้นโดยกฎหมายเฉพาะ กองทุนเงินนอกงบประมาณ

โครงสร้างของหลักการและนโยบายบัญชีฯ หลักการและนโยบายบัญชีทั่วไป หลักการและนโยบายบัญชีแต่ละองค์ประกอบของ งบการเงิน

หลักการและนโยบายบัญชีทั่วไป หน่วยงานที่เสนอรายงาน งบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน หลักการบัญชี รอบระยะเวลาบัญชี การดำเนินงานต่อเนื่อง การโอนสินทรัพย์และหนี้สิน รายการพิเศษ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศ หลักและนโยบายทั่วไปเหมือนกับกฎ กติกา มารยาท ที่เป็นจุดเริ่มต้นและเป็นตัวตีกรอบให้กับการทำงานบัญชีต่อๆ ไป

ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน ความเข้าใจได้ ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความมีนัยสำคัญ ความเชื่อถือได้ การเปรียบเทียบกันได้ ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน เป็นเหมือนหลักการที่ใช้ในการตัดสินใจในการจัดทำข้อมูล เพื่อนำเสนอในงบการเงิน ซึ่งตัวงบการเงินนี้ถือเป็นหัวใจหลักของการทำบัญชีการเงิน เพราะเป็น สิ่งที่จะเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกคนได้รับรู้ความเป็นไปทางการเงินของหน่วยงานอย่างเท่าเทียมกัน เป็นผลผลิตจากการทำงานบัญชีตลอดทั้งปี ข้อมูลในงบการเงินจึงถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นต้องมีหลักยึดว่าควรนำเสนอข้อมูลอย่างไรงบการเงินจึงจะน่าเชื่อถือ

ความเข้าใจได้ (Understandability) ข้อมูลในงบการเงินต้องสามารถเข้าใจได้ดีในทันทีที่ผู้ใช้งบการเงินใช้ ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลแม้ว่าจะมีความซับซ้อน แต่ถ้าเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ก็ไม่ควรละเว้นที่จะแสดงในงบการเงิน เพียงเพราะเหตุผลที่ว่าข้อมูล ดังกล่าวยากเกินกว่าที่ผู้ใช้งบการเงินบางคนจะเข้าใจได้ ข้อแม้ว่า ผู้ใช้งบการเงินมีความรู้ตามควรเกี่ยวกับธุรกิจ กิจกรรมเชิงเศรษฐกิจและ การบัญชี รวมทั้งมีความตั้งใจตามควรที่จะศึกษาข้อมูลดังกล่าว

ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) ข้อมูลที่มีประโยชน์ต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน ข้อมูล จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจได้ก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นช่วยให้ผู้ใช้งบ การเงินสามารถประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งช่วย ยืนยันหรือชี้ข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงินได้ ข้อพิจารณา ความมีนัยสำคัญ การไม่แสดงข้อมูลหรือการแสดงข้อมูลผิดพลาดมีผลกระทบต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ความมีนัยสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดของรายการหรือขนาดของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายใต้สภาพการณ์เฉพาะซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป หลักข้อนี้เน้นว่าข้อมูลที่อยู่ในงบการเงินควรจะตอบสนองความต้องการผู้ใช้งบในการใช้ตัดสินใจ ทางการเงิน เช่น ประเมินว่าที่หน่วยงานมีค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ โดยทั่วไป เป็นเพราะหน่วยนั้นมีการจ่ายเงินในลักษณะค่าใช้จ่ายอุดหนุนตามนโยบายของรัฐสูงมาก เช่น เงินสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ข้อมูลจะตอบสนองในลักษณะนี้ได้ หน่วยงานก็ต้องพิจารณาว่าหากคชจ.อุดหนุนของตนให้ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมเป็นรายการใหญ่เมื่อเทียบกับคชจ.อื่น ๆ (มีนัยสำคัญ) ก็ควรแยกแสดงรายการนี้ออกมาต่างหากให้เห็นชัด เช่น แสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นต้น

ความเชื่อถือได้ (Reliability) ข้อมูลที่ไม่มีความผิดพลาดที่มีนัยสำคัญ รวมทั้งไม่มีความลำเอียง ในการนำเสนอข้อมูลที่ทำให้ข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง ข้อพิจารณา 1. การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม 2. เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ 3. ความเป็นกลาง 4. ความระมัดระวัง 5. ความครบถ้วน

การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม ข้อมูลจะมีความเชื่อถือได้เมื่อรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีได้ แสดงอย่างเที่ยงธรรม ตามที่ต้องการให้แสดงหรือควรแสดง ดังนั้น งบดุลควรแสดงสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ เฉพาะรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ ณ วันที่เสนอรายงาน ข้อนี้เชื่อมโยงกับหลักเกณฑ์การรับรู้รายการ ที่มี 2 ข้อ คือรายการที่เกิดขึ้นมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ และสามารถประมาณจำนวนเงินของรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ ถ้าเข้าเกณฑ์นี้แล้วก็ต้องรับรู้รายการนั้นตามหลัก ไม่ว่าการรับรู้รายการนั้น (บันทึกบัญชีและแสดงในงบการเงิน) จะทำให้หน่วยงานดูแย่หรือดูดีอย่างไรก็ไม่ควรนำมาคิดว่าจะแสดงรายการนั้นในงบการเงินดีหรือไม่

เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ ข้อมูลต้องบันทึกและแสดงตามเนื้อหาและความเป็นจริง เชิงเศรษฐกิจ มิใช่ตามรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว เนื้อหาของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีอาจไม่ตรงกับรูปแบบ ทางกฎหมายหรือรูปแบบที่ทำขึ้น ข้อนี้ค่อนข้างยากในการนำมาใช้ในภาคราชการ เรื่องที่ชัดเจนที่สุดคือในกรณีสัญญาเช่าการเงินคือโดยรูปแบบสัญญาตามกฎหมายเป็นการจ่ายค่าเช่ารายเดือนเท่านั้เน แต่หากพิจารณาเนื้อแท้ของการตกลงกันในสัญญาก็คือผู้เช่าตั้งใจจะครอบครองเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่เช่านั้น ในทางบัญชีจึงต้องการสื่อให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะใช้การเขียนคำพูด หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาให้ดูเหมือนเป็นเพียงแค่การเช่าก็ตาม แต่ทั้งนี้ต้องมีลักษณะเข้าเงื่อนไขที่ทำให้คนทั่วไปก็จะคิดอย่างเดียวกันว่าแท้จริ่งแล้วก็คือการซื้อสินทรัพย์เพียงแต่จัดการเรื่องการจ่ายเงินในแบบที่ไม่ต้องจ่ายทั้งก้อนทันที ซึ่งการพูดว่าให้ดูเนื้อหาความจริงทางเศรษฐกิจของรายการ ไม่ใช่ดูแต่รูปแบบทางกฎหมายเท่านั้น ก็เป็นข้อที่ยากข้อหนึ่งในบัญชีราชการ เนื่องจากราชการถือกฎ ระเบียบ เป็นหลัก อย่างในกรณีงบประมาณจังหวัด ที่มีการนำไปซื้อสินทรัพย์และนำไปใช้งานที่หน่วยดำเนินการในจังหวัด เช่น ศูนย์ทดลองพืชไร่ในจังหวัด แต่กฎ ระเบียบทำให้ต้องถือว่าสินทรัพย์นั้นเป็นของสนง.จังหวัดในฐานะเจ้าของงปม.จังหวัด แม้ตนเองจะไม่ได้เป็นผู้ใช้งานสินทรัพย์นั้น หากบันทึกบัญชีที่ศูนย์ทดลองพืชไร่ ก็อาจจะทำให้ข้อมูลออกมาขัดต่อระเบียบ และอาจเป็นปัญหากับการตั้งงปม.ดูแลบำรุงรักษาต่อไป จึงต้องให้บันทึกสินทรัพย์ที่จังหวัดตามกฎ ระเบียบ แม้จะไม่สามารถสื่อถึงต้นทุนที่แท้จริงในการทำงานของหน่วยดำเนินการได้ แต่ทั้งนี้ก็เป็นเพราะความไม่ชัดเจนในการแบ่งแยกภารกิจงานและขอบเขตของหน่วยผู้รับผิดชอบด้วย

สัญญาเช่า สัญญาเช่าการเงิน สัญญาเช่าดำเนินงาน Dr. สินทรัพย์ xx Cr. เจ้าหนี้สัญญาเช่าการเงิน xx Dr. เจ้าหนี้สัญญาเช่าการเงิน xx Cr. เงินสด/เงินฝากธนาคาร xx สัญญาเช่าดำเนินงาน Dr. ค่าเช่า xx

ความเป็นกลาง ข้อมูลที่แสดงอยู่ในงบการเงินมีความน่าเชื่อถือเมื่อมีความเป็น กลาง หรือปราศจากความลำเอียง งบการเงินจะขาดความเป็น กลาง หากการเลือกข้อมูลหรือการแสดงข้อมูลในงบการเงินนั้น มีผลทำให้ผู้ใช้งบการเงินตัดสินใจหรือใช้ดุลยพินิจตามเจตนา ของกิจการ

ความระมัดระวัง การใช้ดุลยพินิจที่จำเป็นในการประมาณการภายใต้ความไม่แน่นอน เพื่อมิให้สินทรัพย์หรือรายได้แสดงจำนวนสูงเกินไป และหนี้สิน หรือค่าใช้จ่ายแสดงจำนวนต่ำเกินไป แต่ไม่ใช่จะทำการตั้งค่าเผื่อหรือสำรองสูงเกินความเป็นจริง

ความครบถ้วน ข้อมูลในงบการเงินที่เชื่อถือได้ต้องครบถ้วนภายใต้ข้อจำกัดของ ความมีนัยสำคัญและต้นทุนในการจัดทำ รายการบางรายการ หากไม่แสดงในงบการเงินจะทำให้ข้อมูลมีความผิดพลาด หรือ ทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด ดังนั้น ข้อมูลดังกล่าวจะมีความ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจน้อยลงและขาดความน่าเชื่อถือได้

การเปรียบเทียบกันได้ (Comparability) ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของกิจการ ในรอบระยะเวลาต่างกันเพื่อคาดคะเนถึงแนวโน้มของฐานะ การเงินและผลการดำเนินงานของกิจการนั้น

การโอนสินทรัพย์และหนี้สิน รับรู้มูลค่าสุทธิตามบัญชีของ ส/ท หรือ น/ส เป็นส่วนทุน ของหน่วยงานผู้โอนและผู้รับโอน รับรู้มูลค่าสุทธิตามบัญชีของ ส/ท หรือ น/ส เป็นค่าใช้จ่าย และรายได้ของหน่วยงานผู้โอนและผู้รับโอน การโอนสินทรัพย์และหนี้สินที่ใช้หลักการข้อนี้ เป็นการโอนสินทรัพย์จากหน่วยงานหนึ่งไปให้อีกหน่วยงานหนึ่งซึ่งเป็นหนว่ยงานภาครัฐด้วยกัน เช่น ส่วนราชการก. โอนให้ส่วนราชการข. และเป็นการโอนให้ทั้งหมดเนื่องจากหน่วยงานผู้โอนไม่ได้ดำเนินงานต่อไปจากการยุบเลิก กรณีนี้ถือว่าสินทรัพย์หนี้สินที่โอนไปนั้นเป็นการคืนทุนไปสู่เจ้าของคือรัฐบาล เป็นการโยกย้ายทรัพยากรจากการใช้เพื่อภารกิจที่หนึ่งไปที่อื่น จึงถือว่าโอนไปพร้อมกับล้างรายการส่วนทุนออก ส่วนผู้รับโอนถือว่าได้รับสินทรัพย์หนี้สินมาเริ่มตั้งต้นการดำเนินงานของหน่วยงาน เป็นทุนเริ่มแรกที่เจ้าของให้ไว้สำหรับการดำเนินงานต่อ ๆ ไป จึงรับสินทรัพย์และหนี้สินมาพร้อมกับบันทึกเป็นทุน

การโอนสินทรัพย์และหนี้สิน (ต่อ) โอนตามนโยบายรัฐบาล เช่น ยุบเลิกหน่วยงาน หน่วยงานผู้โอน เดบิต ค่าเสื่อมราคาสะสม ทุน เครดิต สินทรัพย์ หน่วยงานผู้รับโอน เดบิต สินทรัพย์ เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม ปัจจุบันในระบบ GFMIS การโอนส/ท และน/ส ยังมีข้อแตกต่างจากหลักนี้ คือ เมื่อโอนสินทรัพย์ เช่น ครุภัณฑ์ข้ามกรม ลงบัญชีแบบเดียวกัน ไม่ว่าหน่วยงานที่โอนสินทรัพย์ไปจะยุบเลิกหรือยังดำเนินการอยู่ปกติก็ตาม โดยลงบัญชี่ค่าใช้จ่ายโอนสินทรัพย์ที่ผู้โอน และลงบัญชีรายได้รับโอนสินทรัพย์ที่ผู้รับโอน ส่วนสินทรัพย์หนี้สินที่เหลือนอกนั้นจึงบันทึกคู่กับทุนในกรณียุบเลิกหน่วยงาน

การโอนสินทรัพย์และหนี้สิน (ต่อ) หน่วยงานสมัครใจโอน เช่น กองทุนโอนส/ท ให้สรก. รถยนต์ราคาทุน 100 อายุ 5 ปี ต้นปีที่ 3 โอนไปให้หน่วยงานอื่น ข้อมูลตามบัญชีของหน่วยงานผู้โอน สินทรัพย์-ราคาทุน 100 ค่าเสื่อมราคาสะสม 40 การโอนในกรณีนี้เป็นเพียงการยกสินทรัพย์บางรายการให้หน่วยงานภาครัฐอีกแห่งหนึ่งด้วยเหตุผลอื่นใดที่ไม่ใช่การยุบเลิกหน่วยงาน เช่น ให้เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานผู้รับซึ่งมีส่วนส่งเสริมหรือเกี่ยวเนื่องกับภารกิจของผู้โอน ตัวอย่างเช่น กองทุนแห่งหนึ่งตั้ง่ขึ้นเพื่อการรักษาระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ ซื้อสินทรัพย์เป็นครุภัณฑ์ แล้วโอนให้กับส่วนราชการแห่งหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ตรวจตราปราบปรามการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนตามแนวชายแดน เพื่อใช้ลาดตระเวนจับกุมผู้ลักลอบ ถือเป็นการโอนสินทรัพย์ให้โดยสมัครใจเพราะงานของส่วนราชการนั้นมีส่วนป้องกันไม่ให้ระดับราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงมากอันเกิดจากมีน้ำมันเถื่อนเข้ามาในตลาด มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่โอนไปนั้นจะถูกบันทึกเป็น่คชจ.ของผู้โอน และบันทึกเป็นรายได้ของผู้รับโอนด้วยจำนวนเดียวกัน เนื่องจากเป็นหน่วยงานภาครัฐดัวยกันทั้งคู่

การโอนสินทรัพย์และหนี้สิน (ต่อ) หน่วยงานผู้โอน เดบิต ค่าใช้จ่ายโอน ส/ท 60 ค่าเสื่อมฯ สะสม 40 เครดิต สินทรัพย์ 100 หน่วยงานผู้รับโอน เดบิต สินทรัพย์ (สุทธิ) 60 เครดิต รายได้รับโอนส/ท 60 อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้รับโอนเป็นหน่วยงานภาครัฐ แต่ได้รับโอนมาจากหน่วยงานอื่นที่ไม่ถือเป็นหน่วยงานภาครัฐตามกรอบแนวคิดการควบคุมโดยรัฐบาล ถือว่าสินทรัพย์ที่ได้รับโอนมานั้น ต้องแสดงตามมูลค่ายุติธรรมตามสภาพสินทรัพย์ที่ได้รับโอนมานั้น ซึ่งควรจะสะท้อนถึงประโยชน์ใช้งานในอนาคตที่เหลืออยู่ของสินทรัพย์นั้นเช่นเดียวกับการรับบริจาคเป็นสินทรัพย์ เช่น กรณีส่วนราชการได้รับสินทรัพย์มาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือว่าไม่ได้รับมาจากหน่วยงานภาครัฐ เพราะรัฐบาลไม่ได้ควบคุมการดำเนินงานของอปท. ดังนั้น ส่วนราชการผู้รับโอนต้องบันทึกสินทรัพย์ตามมูลค่ายุติธรรม (ราคาตลาดในขณะนั้นของสินทรัพย์อย่างเดียวกัน)

รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศ บันทึกเป็นเงินบาท ณ วันที่เกิดรายการ ณ วันที่รายงาน รายการที่เป็นตัวเงิน ใช้อัตราปิด รายการที่ไม่เป็นตัวเงิน ใช้อัตราวันที่เกิดรายการ รับรู้ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นรายได้ / ค่าใช้จ่าย เมื่อ มีการชำระเงิน / รายงานรายการที่เป็นตัวเงิน

หลักการและนโยบายบัญชีแต่ละองค์ประกอบของงบการเงิน สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย

คำนิยาม เกณฑ์การรับรู้ เป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะเกิดเหตุการณ์ วัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้รายการนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญข้อหนึ่งของหลักการบัญชีเกณฑ์คงค้าง เพราะจะต้องพิจารณาว่าเมื่อไรจึงจะเหมาะสมที่จะบันทึกสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย ซึ่งหากเป็นเกณฑ์เงินสดก็เพียงแต่บันทึกรับและจ่ายเมื่อมีการรับและจ่ายเงินสด แต่เกณฑ์คงค้างมีหลักการทั่วไปว่า รายการที่จะบันทึกต้องมีลักษณะตามคำนิยามของสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย เสียก่อน เช่น รัฐบาลประกาศนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ยังไม่ถือว่าทำให้เกิดรายการใด ๆ ตามคำนิยามขององค์ประกอบของงบการเงินเหล่านั้น ต้องเข่าเกณฑ์การรับรู้ข้อแรกคือมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่แล้ว เช่น ผู้มีอำนาจอนุมัติรายการที่หน่วยงานขอเบิกจ่ายจากงปม.เพื่ออุดหนุนให้โรงเรียนมาแล้ว ถือว่าเกิดภาระผูกพันจะต้องจ่ายแน่แล้ว เข้าเกณฑ์ข้อสองคือ ทราบจำนวนเงินแม้ไม่แน่นอนแต่ก็ประมาณได้อย่างมีเหตุผลน่าเชื่อถือแล้ว เช่น จำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงไปบ้างภายหลังขึ้นอยู่กับว่าจำนวนนักเรียนที่โรงเรียนจะรับเข้าเรียนจะเปลี่ยนแปลงไปจากจำนวนที่ประมาณการไว้เพียงใด แต่ถือว่าจำนวนที่ประมาณได้มีหลักฐานรองรับตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว

คำนิยาม สินทรัพย์ หนี้สิน ทรัพยากรในความควบคุม เกิดผลประโยชน์ในอนาคต ศักยภาพในการให้บริการ เพิ่มขึ้น หนี้สิน เกิดภาระผูกพันในปัจจุบัน จะเสียทรัพยากรในอนาคต ศักยภาพในการให้บริการ ลดลง โดยทั่วไปผลประโยชน์ในอนาคตมักถูกมองในรูปตัวเงิน (ตามลักษณะการใช้สินทรัพย์ของเอกชน) เช่น รถที่ใช้ขนส่งสินค้าให้ลูกค้า ก็ใช้เพื่อให้เกิดการขายสินค้าได้เงินเข้ากิจการ แต่ในภาครัฐ สินทรัพย์ไม่ได้ใช้เพื่อหาเงินรายได้ สินทรัพย์ภาครัฐจึงเน้นให้ประโยชน์ในอนาคตในรูปศักยภาพในการให้บริการที่เพิ่มขึ้น เช่น ซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่เพื่อให้สามารถใช้เก็บข้อมูลให้บริการประชาชนได้รวดเร็วขึ้นมากขึ้น เป็นต้น

ทรัพยากรในความควบคุม อาคารบนที่ราชพัสดุ ได้รับค่าตอบ แทนการใช้ ใช้ในการผลิตผลผลิต ใช่ ได้ประโยชน์ จากการขาย อนุญาตหรือ ปฏิเสธการใช้ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ คำว่าในความควบคุม อาจเป็นการได้รับประโยชน์ข้อใดข้อหนึงหรือหลายข้อในภาพข้างต้น แต่ส่วนใหญ่พิจารณาจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรนั้นเพื่อการสร้างผลผลิตของหน่วยงาน จึงถือเป็นสินทรัพย์ของหน่วยงาน เช่น ใช้ตึกที่ทำการเป็นสำนักงาน แม้ว่าตึกนั้นจะเป็นที่ราชพัสดุซึ่งให้กระทรวงการคลัง่โดยธนารักษ์เป็นเจ้าของ ทรัพยากรในความควบคุม

คำนิยาม (ต่อ) รายได้ ผลประโยชน์ (Inflow) เข้า หน่วยงาน สินทรัพย์สุทธิเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่าย ผลประโยชน์ (Outflow) ออกจากหน่วยงาน สินทรัพย์สุทธิลดลง

เงินงบประมาณงบลงทุน รายได้ตามคำนิยาม ใช่ ใช่ รายได้ ผลประโยชน์เข้าหน่วยงาน ใช่ สินทรัพย์สุทธิเพิ่มขึ้น ใช่ ข้อนี้ใช้นิยามของรายได้ตามหลักบัญชีทั่วไปมาตัดสินว่าอะไรบ้างถือเป็นรายได้ ยกตัวอย่าง งบประมาณงบลงทุนที่ส่วนราชการเบิก ได้รับเงินเป็นผลประโยชน์เข้าหน่วยงาน และเมื่อได้เงินมาแล้วไม่ได้มีภาระหนี้สินติดมาด้วย เท่ากับมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นมาอย่างเดียว จึงถือได้ว่าสุทธิแล้วมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้น ถือว่างบลงทุนที่เบิกมานั้นเป็นรายได้ รายได้

นโยบายบัญชีที่สำคัญบางรายการ เงินทดรองราชการ วัสดุคงคลัง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน เจ้าหนี้ รายได้แผ่นดินรอนำส่งคลัง เงินกู้ รายได้จากเงินงบประมาณ รายได้แผ่นดิน กำไร/ขาดทุนจากการ จำหน่ายสินทรัพย์ เลือกนโยบายบัญชีที่สำคัญบางรายการขึ้นมาพูด เพื่อให้เห็นว่าตามหลักการกำหนดอย่างไร ซึ่งในทางปฏิบัติตามระบบ GFMIS ในปัจจุบันอาจมีความแตกต่างไปบ้าง

เงินทดรองราชการ ตามหลักการฯ ลักษณะ - เงินรับจากรัฐบาลเพื่อทดรองจ่ายคชจ.ปลีกย่อยในสนง. เมื่อใช้ จ่ายเงินแล้วต้องรวบรวมหลักฐานเพื่อเบิกงปม.มาชดใช้คืน การรับรู้ - เมื่อได้รับเงิน พร้อมกับบันทึกเงินทดรองราชการรับจากคลัง การแสดงรายการ – ภายใต้หัวข้อเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด การบันทึกรายการในระบบ GFMIS เมื่อตั้งเบิกเงินทดรองในระบบฯ เดบิต เงินทดรองราชการ เครดิต ใบสำคัญค้างจ่าย

เงินทดรองราชการ (ต่อ) เมื่อรายการตั้งเบิกได้รับอนุมัติ เดบิต ค้างรับกรมบัญชีกลาง เครดิต T/R – เงินทดรองราชการ รับรู้เงินทดรองราชการรับจากคลังเมื่อกรมบัญชีกลางสั่งจ่ายเงินให้หน่วยงาน เดบิต T/E – เงินทดรองราชการ เครดิต เงินทดรองราชการรับจากคลัง เดบิต เงินฝากธนาคาร เครดิต ค้างรับกรมบัญชีกลาง ส่วนราชการบันทึกการจ่ายเงินออกไปทั้งจำนวน เดบิต ใบสำคัญค้างจ่าย เครดิต เงินฝากธนาคาร

วัสดุคงคลัง ตามหลักการฯ ลักษณะ – สินทรัพย์ใช้หมดเปลืองสิ้นไปในการดำเนินงานปกติ มูลค่า ไม่สูง ปกติไม่คงทนถาวร การรับรู้ - เมื่อหน่วยงานตรวจรับของแล้ว และปรับปรุงรายการ ณ วัน สิ้นปีจากการตรวจนับยอดคงเหลือ การแสดงรายการ – ภายใต้หัวข้อสินค้าและวัสดุคงเหลือ ในกลุ่ม สินทรัพย์หมุนเวียน

ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ตามหลักการฯ ลักษณะ – สินทรัพย์ที่มีสภาพคงทนถาวร ให้ประโยชน์แก่หน่วยงานใน ระยะยาวเกินกว่า 1ปี มูลค่าต่อรายการตั้งแต่ 5,000 บาท ขึ้นไป การรับรู้ – เมื่อหน่วยงานตรวจรับของแล้ว (จากการซื้อและจ้างก่อสร้าง) การแสดงรายการ – ภายใต้หัวข้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ในกลุ่ม สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน โดยแสดงมูลค่าสุทธิตามบัญชีในงบการเงิน และ เปิดเผยรายละเอียดราคาทุน และค่าเสื่อมราคาสะสมในหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน

ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ การบันทึกรายการในระบบ GFMIS บันทึกเมื่อหน่วยงานตรวจรับ/ตั้งเบิกในระบบฯเป็นพักสินทรัพย์ และ โอนเป็นสินทรัพย์ประเภทนั้นๆ เมื่อสร้าง/บันทึกรายละเอียดในข้อมูล หลักสินทรัพย์ (รายตัว) ในระบบฯ บันทึกเป็นพักงานระหว่างก่อสร้าง เมื่อตรวจรับงานจ้างก่อสร้างสินทรัพย์ ที่ต้องมีการจ่ายเงินหลายงวด โอนเป็นงานระหว่างก่อสร้างเมื่อสร้าง/ บันทึกรายละเอียดในข้อมูลหลักสินทรัพย์ (รายตัว - งานระหว่างก่อสร้าง) ในระบบฯ จนกระทั่งการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย จึงโอนงานระหว่าง ก่อสร้างออกเป็นสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง เช่น อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้าง

รายจ่ายภายหลังการได้มาซึ่งสินทรัพย์ รายจ่ายนั้นทำให้หน่วยงานได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจหรือ ศักยภาพในการให้บริการตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ เพิ่มขึ้นจากมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อายุการใช้งานนานขึ้นและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ลดต้นทุนการดำเนินงานที่ประเมินไว้เดิมอย่างเห็นได้ชัด

รายจ่ายภายหลังการได้มาซึ่งสินทรัพย์ (ต่อ) ทาสีอาคารสำนักงาน กั้นห้องเพิ่มภายในอาคาร สำนักงาน ปรับปรุงห้องน้ำเดิม จ้างบริษัทปรับภูมิทัศน์โดยรอบ สำนักงานด้วยการถมที่ดิน จัดทำป้ายไฟข้อมูลโดยติดตั้ง บริเวณภายนอกอาคาร ควรรับรู้รายการอย่างไร ?

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ตามหลักการฯ ลักษณะ – สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินซึ่งระบุแยกได้แต่ไม่มีรูปร่าง ให้ ประโยชน์แก่หน่วยงานในระยะยาวเกินกว่า 1 ปี เช่น โปรแกรม คอมพิวเตอร์ การรับรู้ – เมื่อหน่วยงานตรวจรับของแล้ว (กรณีตรวจรับงานเป็นงวด ๆ บันทึกเป็นสินทรัพย์ระหว่างพัฒนาไว้จนพัฒนาเสร็จเรียบร้อยจึงโอน ออกเป็นสินทรัพย์ประเภทนั้น) การแสดงรายการ – ภายใต้หัวข้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ในกลุ่มสินทรัพย์ ไม่หมุนเวียน โดยแสดงมูลค่าสุทธิตามบัญชีในงบการเงิน และเปิดเผย รายละเอียดราคาทุน และค่าตัดจำหน่ายสะสมในหมายเหตุประกอบงบ การเงิน

เจ้าหนี้ ตามหลักการฯ ลักษณะ – ภาระผูกพันต่อบุคคลอื่นที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานปกติ การรับรู้ – เมื่อหน่วยงานได้ตรวจรับสินค้า/บริการ สินทรัพย์จาก ผู้ขายแล้ว การแสดงรายการ – ภายใต้หัวข้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ในกลุ่มหนี้สิน หมุนเวียน ตามราคาทุน และเปิดเผยรายละเอียดประเภทเจ้าหนี้ใน หมายเหตุประกอบงบการเงิน

รายได้แผ่นดินรอนำส่งคลัง ตามหลักการฯ ลักษณะ – เงินที่ได้รับไว้โดยมีภาระจะต้องนำส่งคลังเป็นรายได้ แผ่นดินในงวดปีถัดไป การรับรู้ – เมื่อหน่วยงานปรับปรุงบัญชีสิ้นปี การแสดงรายการ – แสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียน ในระบบ GFMIS เมื่อบันทึกปรับปรุงสิ้นปีแล้ว จะมีการกลับรายการ ณ วันเริ่มต้นปีบัญชีถัดไป

เงินกู้ ตามหลักการฯ ลักษณะ – ภาระผูกพันอันเกิดจากเงินที่กู้ยืมจากบุคคลอื่น การรับรู้ – เมื่อได้รับเงินกู้ หรือเมื่อแหล่งเงินผู้ให้กู้แจ้งว่าได้เบิกจ่าย เงินกู้ให้แก่เจ้าหนี้ของหน่วยงานโดยตรงแล้ว การแสดงรายการ – แสดงตามราคาทุน โดยแสดงเงินกู้ที่มีกำหนดชำระ คืนภายใน 1 ปีและส่วนของเงินกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระคืนภายใน 1 ปี เป็นหนี้สินหมุนเวียน และแสดงเงินกู้ที่ถึงกำหนดชำระคืนเกินกว่า 1 ปี เป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน

รายได้จากเงินงบประมาณ ตามหลักการฯ ลักษณะ – เงินงบประมาณที่หน่วยงานเบิกจากคลัง การรับรู้ – เมื่อหน่วยงานได้รับเงิน/เมื่อได้รับหลักฐานแจ้งการจ่ายเงิน ให้กับผู้มีสิทธิแล้ว เมื่อได้รับอนุมัติการเบิก (จ่ายตรง) หรือเมื่อตั้งเบิก (จ่ายผ่าน) การแสดงรายการ – แสดงด้วยยอดสุทธิจากงบประมาณเบิกเกินส่งคืน ภายใต้หัวข้อรายได้จากการดำเนินงาน ในงบรายได้และค่าใช้จ่าย และ เปิดเผยรายละเอียดประเภทของเงินงบประมาณที่เบิกจากคลังก่อนหัก ยอดเบิกเกินส่งคืน รวมทั้งแสดงยอดงบประมาณเบิกเกินส่งคืนเป็น รายการหักในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

รายได้จากเงินงบประมาณ (ต่อ) ในระบบ GFMIS บันทึกรายได้จากเงินงบประมาณเมื่อหน่วยงานตั้งเบิกเข้าสู่ระบบแล้ว กรณีหน่วยงานเลือกวิธีจ่ายเงินเข้าบัญชีเงินฝากฯ หน่วยงาน เดบิต ค้างรับกรมบัญชีกลาง เครดิต T/R – รายได้งปม.จากรัฐบาล (ตามงบ) บันทึกรายได้จากเงินงบประมาณเมื่อกรมบัญชีกลางอนุมัติสั่งจ่ายเงินเข้า บัญชีผู้ขายแล้ว กรณีหน่วยงานเลือกวิธีจ่ายเงินตรงเข้าบัญชีผู้ขาย เดบิต เจ้าหนี้

รายได้แผ่นดิน ตามหลักการฯ ลักษณะ – เงินที่หน่วยงานได้รับและจะต้องนำส่งคลังเป็นรายได้ แผ่นดิน การรับรู้ – เมื่อเกิดรายได้ (ปัจจุบันใช้เกณฑ์เงินสด) การแสดงรายการ – แสดงรายได้แผ่นดินจัดเก็บตามมูลค่าขั้นต้น (gross basis) ก่อนหักรายการใด ๆ และแสดงรายละเอียดรายการหัก ต่าง ๆ ตามลำดับ ได้แก่ การถอนคืนรายได้ การจัดสรรรายได้ (ยกเว้น ตามระเบียบ) การนำส่งคลัง การปรับปรุงรายได้รอนำส่งคลัง ไว้ใน หมายเหตุประกอบงบการเงิน

กำไร/ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ ตามหลักการฯ ลักษณะ – ผลต่างระหว่างเงินที่หน่วยงานได้รับจากการขายสินทรัพย์ ถาวรที่เลิกใช้และมูลค่าสุทธิตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ณ วันที่ขาย การรับรู้ – รับรู้เมื่อส่งมอบสินทรัพย์ให้กับผู้ซื้อแล้ว การแสดงรายการ – หากหน่วยงานเก็บเงินจากการขายไว้ใช้ได้ จะแสดงกำไร/ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ไว้ในหัวข้อรายได้/ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกิดจากการดำเนินงาน หากหน่วยงานต้องนำส่งเงินจากการขายเข้าคลัง จะแสดงเงินที่ได้รับจากการขายเป็นรายได้แผ่นดินในหมายเหตุประกอบงบการเงิน และแสดงเฉพาะมูลค่าสุทธิตามบัญชีของสินทรัพย์ที่ขาย (ค่าจำหน่าย) ไว้ในหัวข้อรายได้/ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกิดจากการดำเนินงาน เรื่องกำไรขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์นี้เป็นเรื่องที่ภาครัฐจำเป็นต้องทำแตกต่างจากหลักการทั่วไปอย่างมาก คือไม่มีการรับรู้กำไรหรือขาดทุน เพราะเมื่อหน่วยงานได้รับเงิน่จากการขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช้แล้วออกไปก็ถูกบังคับต้องส่งเงินที่ขายได้เข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ในทางบัญชีก็ไปบันทึกตามนั้นเป็นรายได้แผ่นดิน แต่มูลค่าตามบัญชีที่เหลือของสินทรัพย์ ณ วันที่มีการจำหน่าย ก็ต้องตัดออกไปจากบัญชีให้หมดเนื่องจากไม่มีสินทรัพย์เหลืออยู่อีกแล้ว เมื่อตัดจำหน่ายสินทรัพย์จึงต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายแยกเป็นอีกรายการหนึ่ง จบเรื่องหลักการและนโยบายบัญชีเพียงเท่านี้

กำไร/ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ ในระบบ GFMIS รับรู้เมื่อส่งมอบสินทรัพย์ให้กับผู้ซื้อแล้ว เดบิต เงินสด/เงินฝากธนาคาร เครดิต รายได้จากการจำหน่ายสินทรัพย์ จำหน่ายสินทรัพย์ออกจากระบบฯ เดบิต ค่าจำหน่ายสินทรัพย์ ค่าเสื่อมราคาสะสม เครดิต สินทรัพย์ เรื่องกำไรขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์นี้เป็นเรื่องที่ภาครัฐจำเป็นต้องทำแตกต่างจากหลักการทั่วไปอย่างมาก คือไม่มีการรับรู้กำไรหรือขาดทุน เพราะเมื่อหน่วยงานได้รับเงิน่จากการขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช้แล้วออกไปก็ถูกบังคับต้องส่งเงินที่ขายได้เข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ในทางบัญชีก็ไปบันทึกตามนั้นเป็นรายได้แผ่นดิน แต่มูลค่าตามบัญชีที่เหลือของสินทรัพย์ ณ วันที่มีการจำหน่าย ก็ต้องตัดออกไปจากบัญชีให้หมดเนื่องจากไม่มีสินทรัพย์เหลืออยู่อีกแล้ว เมื่อตัดจำหน่ายสินทรัพย์จึงต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายแยกเป็นอีกรายการหนึ่ง จบเรื่องหลักการและนโยบายบัญชีเพียงเท่านี้

นโยบายบัญชีภาครัฐเฉพาะเรื่อง บัตรภาษี รับรู้หนี้สินจากการออกบัตรภาษีคู่กับค่าใช้จ่ายอุดหนุนผู้ส่งออกเมื่อ ออกบัตรภาษี ลดภาระหนี้สินเมื่อมีการนำบัตรภาษีมาใช้ชำระค่าภาษีหรือบัตร หมดอายุโดยไม่มีการนำมาใช้ บัตรภาษีที่ได้รับโดยหน่วยงานผู้จัดเก็บรายได้ภาษีจัดเป็นรายการ เทียบเท่าเงินสด เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม บัตรภาษีและบัตรภาษีระหว่างทาง หนี้สินจากการออกบัตรภาษี (หนี้สินไม่หมุนเวียน) รายได้เงินชดเชยการส่งออก (จัดสรรจากรายได้ภาษีเข้าเป็นเงินฝากฯ) คชจ.เงินอุดหนุนเพื่อชดเชยการส่งออก (มูลค่าบัตรภาษีที่ออกระหว่างงวด) และรายได้เงินอุดหนุนชดเชยส่งออกรับคืน (บัตรภาษีหมดอายุ) เรื่องกำไรขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์นี้เป็นเรื่องที่ภาครัฐจำเป็นต้องทำแตกต่างจากหลักการทั่วไปอย่างมาก คือไม่มีการรับรู้กำไรหรือขาดทุน เพราะเมื่อหน่วยงานได้รับเงิน่จากการขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช้แล้วออกไปก็ถูกบังคับต้องส่งเงินที่ขายได้เข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ในทางบัญชีก็ไปบันทึกตามนั้นเป็นรายได้แผ่นดิน แต่มูลค่าตามบัญชีที่เหลือของสินทรัพย์ ณ วันที่มีการจำหน่าย ก็ต้องตัดออกไปจากบัญชีให้หมดเนื่องจากไม่มีสินทรัพย์เหลืออยู่อีกแล้ว เมื่อตัดจำหน่ายสินทรัพย์จึงต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายแยกเป็นอีกรายการหนึ่ง จบเรื่องหลักการและนโยบายบัญชีเพียงเท่านี้

นโยบายบัญชีภาครัฐเฉพาะเรื่อง หนี้สาธารณะ วัดมูลค่าหนี้สินตามจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายเพื่อชำระภาระผูกพัน (จากการกู้ยืม) วัดจากมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินที่จะต้องจ่าย ชำระในอนาคต รับรู้ส่วนต่ำ/ส่วนเกินมูลค่าพันธบัตรด้วยวิธีอัตราดอกเบี้ยทบต้น (Effective interest method) ไปปรับปรุงดอกเบี้ยจ่ายตลอดอายุ ที่เหลือของพันธบัตร เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม มูลค่าเงินกู้ต้นงวด เปลี่ยนแปลงระหว่างงวด ปลายงวด อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาของสัญญาเงินกู้ และเงื่อนไขการกู้ยืมที่สำคัญ ภาระค้ำประกัน อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้แปลงค่าหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ดอกเบี้ยจ่ายระหว่างงวด เรื่องกำไรขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์นี้เป็นเรื่องที่ภาครัฐจำเป็นต้องทำแตกต่างจากหลักการทั่วไปอย่างมาก คือไม่มีการรับรู้กำไรหรือขาดทุน เพราะเมื่อหน่วยงานได้รับเงิน่จากการขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช้แล้วออกไปก็ถูกบังคับต้องส่งเงินที่ขายได้เข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ในทางบัญชีก็ไปบันทึกตามนั้นเป็นรายได้แผ่นดิน แต่มูลค่าตามบัญชีที่เหลือของสินทรัพย์ ณ วันที่มีการจำหน่าย ก็ต้องตัดออกไปจากบัญชีให้หมดเนื่องจากไม่มีสินทรัพย์เหลืออยู่อีกแล้ว เมื่อตัดจำหน่ายสินทรัพย์จึงต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายแยกเป็นอีกรายการหนึ่ง จบเรื่องหลักการและนโยบายบัญชีเพียงเท่านี้

งบการเงิน รายงานการเงิน หลักการและนโยบายบัญชีทั่วไป หน่วยงานที่เสนอรายงาน งบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน หลักการบัญชี รอบระยะเวลาบัญชี การดำเนินงานต่อเนื่อง การโอนสินทรัพย์และหนี้สิน รายการพิเศษ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศ หน่วยงานภาครัฐที่เป็นหน่วยงานที่เสนอรายงานต้องจัดทำงบการเงินเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป เรื่องมาตรฐานรายงานการเงินมีพูดไว้ในหลักการทั่วไป ของเอกสารหลักการและนโยบายบัญชีสำหรับ หน่วยงานภาครัฐ (ฉบับที่ 2) โดยชัดเจนว่า หน่วยงานต้องมีการจัดทำรายงานการเงิน

ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน กระแสเงินสด เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ รายงานการเงิน เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน กระแสเงินสด ความหมายทั่วไปของรายงานการเงินต้องแสดงข้อ่มูลทั้ง 3 เรื่องนี้ แต่ในปัจจุบัน ยังไม่มีการกำหนดให้หน่วยงานทำงบกระแสเงินสด มีเพียงงบแสดงฐานะการเงิน และงบรายได้และค่าใช้จ่าย

การใช้ประโยชน์จากรายงานการเงิน ประกอบการตัดสินใจจัดสรรทรัพยากร จัดทำงบการเงินรวมของแผ่นดิน จัดทำรายงานประจำปีในระดับต่าง ๆ

มาตรฐานรายงานการเงิน หลักเกณฑ์ทั่วไป หน่วยงานที่เสนอรายงาน ส่วนประกอบของรายงาน รูปแบบของรายงาน

หลักการและนโยบายบัญชีฯ ฉบับที่ 2 เกณฑ์คงค้าง ความสม่ำเสมอ หลักเกณฑ์ทั่วไป หลักการและนโยบายบัญชีฯ ฉบับที่ 2 เกณฑ์คงค้าง ความสม่ำเสมอ ความมีนัยสำคัญ ข้อมูลเปรียบเทียบ รอบระยะเวลาบัญชี กำหนดส่งรายงาน จะเห็นได้ว่าหลักเกณฑ์ทั่วไปในเรื่องการจัดทำรายงานการเงินส่วนหนึ่งก็อยู่ในหลักการทั่วไป ของหลักการ และนโยบายบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐ และข้อแรกก็กำหนดว่ารายงานการเงินนี้ต้องทำขึ้นจากข้อมูลที่บันทึกไว้ตามข้อกำหนดในหลักการและนโยบายบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

ความมีนัยสำคัญ แยกแสดง รวมแสดงกับรายการลักษณะเดียวกัน รวมแสดงกับรายการลักษณะคล้ายกัน มีนัยสำคัญโดยลักษณะ มีนัยสำคัญโดยขนาด ไม่มีนัยสำคัญ

หน่วยงานที่เสนอรายงาน หน่วยงานที่สามารถคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุผลว่ามีผู้ต้องการใช้ประโยชน์จากรายงานการเงินของหน่วยงานนั้นเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร หน่วยงานในระดับที่(จะ)ได้รับการจัดสรรและอนุมัติงบประมาณ และ มีอำนาจจัดการทรัพยากรการเงินในความดูแล ส่วนราชการระดับกรม ทุนหมุนเวียน หน่วยงานอิสระ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ และอื่น ๆ เช่น งบจังหวัด ตามที่กำหนดไว้ว่า หน่วยงานที่เป็นหน่วยงาน่ที่เสนอรายงานต้อง่จัดทำรายงานการเงิน(เพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป) จึงได้นำมาขยายความในแผ่นนี้ว่าใครบ้างที่ต้องจัดทำรายงานการเงิน แต่การทำงบจังหวัดนั้น ดังได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ในช่วงหลักการและนโยบายบัญชีว่าไม่ได้กำหนดให้เป็นหน่วยงานที่เสนอรายงาน แต่เป็นการทำงบการเงินเพื่อการบริหารมากกว่า

หน่วยงานที่เสนอรายงาน หน่วยงานที่เสนอรายงานซึ่งอยู่ในขอบเขตของการจัดทำรายงานการเงินในภาพรวมของรัฐบาล ต้องส่งรายงานการเงินให้กระทรวงการคลังเพื่อการจัดทำรายงานการเงินรวมของแผ่นดิน หน่วยงานในความ หน่วยงานที่ใช้เงินงบประมาณ ควบคุมของรัฐบาล ในการดำเนินงานเป็นส่วนใหญ่ ส่วนราชการระดับกรม กองทุนเงินนอกงบประมาณ องค์การมหาชน หน่วยงานอิสระ และอื่น ๆ

หน่วยงานที่เสนอรายงาน รัฐบาล ควบคุม ส่งข้อมูลการเงิน องค์กรอิสระ กระทรวง กรม ส่วนกลาง ภูมิภาค กองทุน กรม ส่วนกลาง ภูมิภาค องค์การ มหาชน รสก. สรก.ไม่สังกัดกระทรวง/ หน่วยงานในกำกับ เงินทุน

x การนำเสนอรายงาน ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หน่วยงานภาครัฐ (ระดับกรม) รายการระหว่างกันภายในกรม งบทดลองจังหวัด สินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้/คชจ. ภายนอก รายได้/คชจ.ภายในหน่วยงาน งบทดลองส่วนกลาง งบการเงินระดับกรม สินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้/คชจ. (ภายนอก) รายได้/คชจ.ภายในหน่วยงาน (ส่วนกลาง หักกลบกับ จังหวัด) หากภายในหน่วยงานระดับกรม มีรายการที่เกิดขึ้นระหว่างส่วนกลางและภูมิภาค เช่น การโอนเงินนอกจากส่วนกลางไปยังภูมิภาค แม้ว่าทั้งสองหน่วยซึ่งเป็นหน่วยเบิกจ่ายในระบบ GFMIS จะมีฐานะเป็นหน่วยทางบัญชีแยกจากกัน แต่ละฝ่ายมีงบทดลองสมบูรณ์ของตนเอง และทำให้มีการบันทึกรายการโอนเงินระหว่างกันนี้ เป็นรายได้และค่าใช้จ่ายคนละฝั่ง แต่เมื่อมีการจัดทำงบการเงินของกรมในภาพรวม รายได้ของภูมิภาค และค่าใช้จ่ายของส่วนกลาง จะต้องหายไปทั้งคู่ เนื่องจากเมื่อพิจารณาว่ากรมเป็นหน่วยเดียวในภาพรวม รายการที่ส่วนกลางโอนเงินให้ภูมิภาคก็ถือว่าเป็นการหยิบจากกระเป๋าซ้ายไปใส่กระเป๋าขวาไม่ได้มีความหมายใด ๆ ว่าเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในสายตาของคนที่อยู่นอกหน่วยงาน รายได้และค่าใช้จ่ายที่จะปรากฏในงบการเงินของกรมจึงต้องมีเพียงรายการที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอกเท่านั้น

ส่วนประกอบรายงานการเงิน งบแสดงฐานะการเงิน งบรายได้และค่าใช้จ่าย งบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงิน

มาตรฐานรายงานการเงิน รูปแบบรายงานการเงิน มาตรฐานรายงานการเงิน ส.กรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0423.2 ว410 ลว.21/11/51 เรื่องรูปแบบรายงานการเงินของหน่วยงานภาครัฐ

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน xx งบแสดงฐานะการเงิน สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน xx สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน xx รวมสินทรัพย์ XX หนี้สิน หนี้สินหมุนเวียน xx หนี้สินไม่หมุนเวียน xx รวมหนี้สิน XX สินทรัพย์สุทธิ XX สินทรัพย์สุทธิ ทุน xx รายได้สูง(ต่ำ)กว่าคชจ.สะสม xx รวมสินทรัพย์สุทธิ XX

งบแสดงฐานะการเงิน สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด xx ลูกหนี้ระยะสั้น xx รายได้ค้างรับ xx เงินลงทุนระยะสั้น xx สินค้าและวัสดุคงเหลือ xx สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น xx รวมสินทรัพย์หมุนเวียน xx

งบแสดงฐานะการเงิน สินทรัพย์ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ลูกหนี้ระยะยาว xx เงินลงทุนระยะยาว xx ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สุทธิ) xx สินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน (สุทธิ) xx สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (สุทธิ) xx สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น xx รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน xx

งบแสดงฐานะการเงิน หนี้สิน หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้ระยะสั้น xx ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย xx รายได้แผ่นดินรอนำส่งคลัง xx เงินทดรองรับจากคลังระยะสั้น xx เงินรับฝากระยะสั้น xx เงินกู้ระยะสั้น xx หนี้สินหมุนเวียนอื่น xx รวมหนี้สินหมุนเวียน xx

งบแสดงฐานะการเงิน หนี้สิน หนี้สินไม่หมุนเวียน เจ้าหนี้ระยะยาว xx รายได้รอการรับรู้ระยะยาว xx เงินทดรองรับจากคลังระยะยาว xx เงินรับฝากระยะยาว xx เงินกู้ระยะยาว xx หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น xx รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน xx

งบรายได้และค่าใช้จ่าย รายได้จากการดำเนินงาน XX ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน (XX) รายได้สูง/(ต่ำ)กว่าคชจ.จากการดำเนินงาน XX รายได้/(คชจ.)ที่ไม่เกิดจากการดำเนินงาน XX รายได้สูง/(ต่ำ)กว่าคชจ.จากกิจกรรมตามปกติ XX รายการพิเศษ XX รายได้สูง/(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ XX

งบรายได้และค่าใช้จ่าย รายได้จากการดำเนินงาน รายได้จากรัฐบาล รายได้จากงบประมาณ XX รายได้อื่น XX รายได้จากแหล่งอื่น รายได้จากการขายสินค้าและบริการ XX รายได้จากเงินช่วยเหลือและเงินบริจาค XX

งบรายได้และค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายบุคลากร XX ค่าบำเหน็จบำนาญ XX ค่าใช้จ่ายฝึกอบรม XX ค่าใช้จ่ายเดินทาง XX ค่าวัสดุและใช้สอย XX ค่าสาธารณูปโภค XX ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย XX ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุน XX ค่าใช้จ่ายอื่น XX

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ รายละเอียดประกอบงบการเงิน รายงานฐานะเงินงบประมาณ รายงานรายได้แผ่นดิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ - ข้อมูลทั่วไป ภารกิจหลัก ผลผลิตที่สำคัญ จำนวนบุคลากร ณ วันสิ้นปี - หลักเกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน เกณฑ์คงค้างตามหลักการและนโยบายบัญชี ฉบับ 2 หน่วยงานที่รวมอยู่ในงบการเงิน รายการที่ปรากฏในงบการเงิน (เงินใน+เงินนอก+เงินรายได้แผ่นดิน) รูปแบบการแสดงรายการในงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ - นโยบายบัญชี ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ การรับรู้รายได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย

หมายเหตุประกอบงบการเงิน รายละเอียดประกอบงบการเงิน หมายเหตุ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 3 ลูกหนี้ระยะสั้น 4 หมายเหตุที่ 3 ง/สและรายการเทียบเท่าง/ส เงินสดในมือ xx เงินฝากสถาบันการเงิน xx เงินฝากคลัง xx รวม xx หมายเหตุที่ 4 ลูกหนี้ระยะสั้น ลูกหนี้เงินยืม xx ลูกหนี้ค่าสินค้าและบริการ xx ลูกหนี้อื่น xx รวม xx

หมายเหตุประกอบงบการเงิน รายงานรายได้แผ่นดิน รายได้แผ่นดินที่จัดเก็บ รายได้แผ่นดิน-ภาษี XX รายได้แผ่นดิน-นอกจากภาษี XX รวมรายได้แผ่นดินที่จัดเก็บ XX หัก รายได้แผ่นดินถอนคืนจากคลัง XX รายได้แผ่นดินจัดสรรตามกฎหมาย XX รายได้แผ่นดินนำส่งคลัง (XX) ปรับปรุงรายได้แผ่นดินรอนำส่งคลัง XX - 0 -

หมายเหตุประกอบงบการเงิน รายงานฐานะเงินงบประมาณ รายการ งบสุทธิ สำรองเงิน ใบสั่งซื้อ/สัญญา เบิกจ่าย คงเหลือ แผนงบประมาณ ผลผลิต งบ.... รวม ปีปัจจุบัน รายการ เงินกันสุทธิ เบิกจ่าย คงเหลือ แผนงบประมาณ ผลผลิต งบ.... รวม ปีก่อน