บทที่2 การผลิต (Production)
การผลิต ( Production ) การผลิต หมายถึง การนำวัตถุดิบและทรัพยากรซึ่งเป็นปัจจัยในการผลิตมาแปร สภาพ โดยผ่านกระบวนการผลิตตามลำดับขั้นตอนของการกระทำก่อนหลัง ออกมาเป็นผลผลิต ได้แก่ สินค้าและบริการให้ได้ปริมาณและมี คุณภาพ ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด การผลิตที่มีประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงปัจจัยด้าน ปริมาณ คุณภาพ เวลา และราคา
องค์ประกอบของการผลิต ปัจจัยการผลิต ( Input ) คือ วัตถุดิบหรือวัสดุต่างๆ ที่นำมาประกอบหรือผสมกันโดยผ่านการผลิตตามขั้นตอนแล้วออกมาเป็นสินค้า กระบวนการผลิต ( Process ) เป็นขั้นตอนการเคลื่อนย้ายหรือแปรสภาพวัตถุดิบ เพื่อให้เกิดเป็นสินค้า ผลผลิต ( Output ) คือ ผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายของการผลิต หลังจากออกมาเป็นรูปผลิตภัณฑ์แล้วผ่านขั้นตอนการตรวจสอบครั้งสุดท้าย
ปัจจัยการผลิต ปัจจัยการผลิต หมายถึง สิ่งต่างๆที่นำเข้าที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตเพื่อให้ได้สินค้า หรือ บริการ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ - วัตถุ ( Material ) วัตถุดิบ หรือ เครื่องมือเครื่องจักร - ทรัพยากร ( Resource ) ที่ดิน เงินทุน แรงงาน พลังงาน - สภาพแวดล้อม ( Environment ) ปรากฏการณ์ธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศ กฎหมาย วัฒนธรรมและประเพณี
ปัจจัยคงที่และปัจจัยแปรผัน (Fixed Factor and Variable Factor) ปัจจัยคงที่ หมายถึง ปัจจัยการผลิตที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนการผลิต กล่าวคือ ผลิตสินค้าจำนวนเท่าใดก็ตาม ปัจจัยการผลิตนี้จะใช้จำนวนคงที่เสมอ ปัจจัยคงที่จะเป็นปัจจัยการผลิตในระยะสั้นเท่านั้น เช่น ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร ปัจจัยแปรผัน หมายถึง ปัจจัยการผลิตที่เปลี่ยนแปลงจำนวนการใช้ตามจำนวนการผลิต ถ้าผลิตสินค้าจำนวนมากก็ต้องใช้ปัจจัยชนิดนี้มาก แต่ถ้าผลิตสินค้าจำนวนน้อยก็ใช้ปัจจัยนี้น้อยด้วย
กระบวนการผลิต / กระบวนการแปรสภาพ กระบวนการผลิต / กระบวนการแปรสภาพ หมายถึงกระบวนการที่ทำให้ปัจจัยการผลิตมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ได้ผลผลิตตามต้องการ แบ่งได้เป็น 5 ลักษณะ คือ - การแปรสภาพโดยการแยกออก - การแปรสภาพโดยการรวมตัว - การแปรสภาพด้วยวิธีทางกายภาพและทางเคมี - การแปรสภาพด้วยวิธีทางชีวภาพ - การแปรสภาพโดยการบริการ
ผลผลิต ผลผลิต (Output) หมายถึง ผลผลิตที่ได้ออกมาจากกระบวนการผลิตอาจเป็นสินค้าและบริการที่นำไปบริโภคได้ทันที เราเรียกว่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (final product) หรืออาจจะเป็นสินค้าและบริการที่นำไปใช้เป็นปัจจัยการผลิตเพื่อทำการผลิตสินค้าและบริการชนิดอื่นต่อไป เราเรียกว่า สินค้าและบริการขั้นกลาง (intermediate product)
การผลิตกับระยะเวลา ในทางเศรษฐศาสตร์ได้แบ่งระยะเวลาในการผลิตเป็น 2 ระยะด้วยกัน ระยะสั้น (short run period) หมายถึง ช่วงเวลาการผลิตที่ผู้ผลิตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดหรือจำนวนปัจจัยการผลิตบางอย่างได้ ดังนั้นในระยะสั้นจะมี ปัจจัยการผลิตอยู่ 2 ชนิด คือ ปัจจัยคงที่ (fixed factor)และปัจจัยแปรผัน (variable factor) ระยะยาว (long run period) หมายถึง ช่วงเวลาที่ปัจจัยการผลิตทุกชนิดสามารถเปลี่ยนแปลงขนาดหรือจำนวนได้ทั้งหมด ดังนั้นในระยะยาว ปัจจัยการผลิตทุกชนิด คือ ปัจจัยแปรผันดังนั้นในระยะยาว ปัจจัยการผลิตทุกชนิด คือ ปัจจัยแปรผัน
การบริหารการผลิต การบริหารการผลิต หมายถึง การจัดระบบการทำงานของหน่วยงานผลิตต่างๆ ให้ประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ การบริหารการผลิต ต้องรับผิดชอบเรื่อง - การกำหนดและจัดเตรียมการผลิต - การวางแผนติดตั้งและควบคุมกระบวนการผลิต - การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดและจัดเตรียมระบบการผลิต การเลือกที่ตั้งโรงงาน ( plant Location ) การออกแบบสินค้า ( Product Design ) การวางแผนกระบวนการผลิต ( Process Planning ) การวางแผนโรงงาน ( Plant Layout ) การวิเคราะห์วิธีการทำงาน ( Method Analysis ) การตั้งมาตรฐานการผลิต ( Product Standard ) การกำหนดค่าจ้างแรงงาน ( wage Administration ) การออกแบบงาน ( Job Design )
การวางแผนติดตั้งและควบคุมกระบวนการผลิต การวางแผนการผลิต ( Production Planning ) การควบคุมสินค้าคงคลัง ( Inventory Control ) การกำหนดเวลาตารางทำงาน ( Scheduling ) การควบคุมคุณภาพ ( Quality Control ) การควบคุมค่าใช้จ่าย ( Cost Control ) การบำรุงรักษา ( Maintenance )
การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง งานการผลิตต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น การเงิน การบุคคล การจำหน่าย เป็นต้น การเกี่ยวข้องกัน ได้แก่ ด้านข้อมูลข่าวสาร และการปฏิบัติงาน
ประเภทของการผลิต จำแนกตามคุณลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ - การผลิตตามคำสั่งซื้อ - การผลิตเพื่อรอจำหน่าย จำแนกตามปริมาณการจำหน่าย - การผลิตแบบเป็นครั้งคราว หรือ แบบโครงการ - การผลิตแบบต่อเนื่อง - การผลิตแบบช่วงหรือเว้นระยะ
แนวความคิดของการเพิ่มผลผลิต การปรับปรุงที่ตัวคน การปรับปรุงหน่วยงาน การปรับปรุงตัวงาน การปรับปรุงเทคโนโลยี
การปรับปรุงที่ตัวคน การปรับปรุงที่ตัวคน หมายถึง การพยายามที่จะกระตุ้น จูงใจ และเพิ่มพูนความรู้ให้พนักงาน เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและเต็มใจที่จะทำงาน นิยมใช้ 3 วิธี คือ 1. คัดเลือกบุคคลที่มีผลผลิตสูง ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้ - มีบุคลิกที่เหมาะสมกับงาน - มีความสนใจงานที่ทำ - มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า - เป็นคนตื่นตัว มีพลังและขยันขันแข็ง
- วิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม - สร้างทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2. ฝึกอบรม มีโครงการทำ แนวทางคือ - รู้ทิศทางขยายงาน - วิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม - สร้างทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม - มีการติดตามผลและจูงใจหลังการฝึกอบรม
- รู้ถึงความต้องการของลูกน้อง - ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน 3. จูงใจ มีข้อพิจารณาดังนี้ - รู้ถึงความต้องการของลูกน้อง - ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน - มอบหมายงานที่ตรงกับบุคลิก ความสนใจและความถนัด - ขึ้นเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง ให้รางวัลอย่างเป็นธรรม - ให้โอกาสได้ทำงานสำคัญ หรือท้าทายบ้าง - ช่วยแก้ปัญหาต่างๆให้ลูกน้อง - ปรับโครงสร้างเงินเดือนให้เหมาะสม
การปรับปรุงหน่วยงาน ปรับโครงสร้าง - ลดขั้นตอนการดำเนินงานที่ซับซ้อนลงไป - แบ่งปริมาณงานและกำลังคนให้พอเหมาะ - จัดสายบังคับบัญชาให้กะทัดรัดและคล่องตัว สร้างบรรยากาศการทำงาน - จัดกิจกรรมอย่างไม่ไปเป็นทางการเพื่อสร้างความสนิทสนม - กระตุ้นและเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้เสนอความคิด - ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเป็นธรรม - ช่วยขจัดข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลในหน่วยงาน
ใช้เทคนิคการบริหารแบบมีส่วนร่วม - เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีส่วนร่วมในการบริหาร - จัดกิจกรรมกลุ่ม หรือการมีตัวแทนของพนักงาน - ในเขามีส่วนรับรู้ความเป็นไปของหน่วยงาน
การปรับปรุงตัวงาน ปรับปรุงวิธีการทำงาน - กำหนดการทำงานให้เป็นระบบและมีมาตรฐานเดียวกัน รวมงาน - งานที่ซับซ้อนในหลายส่วนงานให้นำเข้ามารวมกัน - ให้ผู้ปฏิบัติได้ทำงานที่หลากหลายมากขึ้น แยกงาน - กระจายงานให้เดินงานได้สะดวกและคล่องตัว เพิ่มความรับผิดชอบและอำอาจตัดสินใจ - กำหนดตำแหน่งงานใหม่ เพื่อไม่ให้งานล่าช้า
การปรับปรุงเทคโนโลยี ใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ประยุกต์ใช้เครื่องมืออย่างเหมาะสม ติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต คุณภาพ ( Quality ) การลดต้นทุน ( Cost ) การส่งมอบ ( Delivery ) ความปลอดภัย ( Safety ) ขวัญและกำลังใจ ( Morale ) สิ่งแวดล้อม ( Environment ) จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ( Business Ethics )
คุณภาพ ( Quality ) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกับการเพิ่มผลผลิต การสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้น ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายดังนี้ - การป้องกันความบกพร่อง - การประเมินผล - ความสูญเสียของงานที่บกพร่อง - การรับประกัน และการซ่อมแซม
การลดต้นทุน ( cost ) วัตถุดิบ - เลือกวัตถุดิบที่มีราคาถูก หาง่าย มีคุณสมบัติดี - ขจัดการสูญเสียของวัตถุดิบ จัดระบบการจัดเก็บและควบคุมวัสดุ การทำงานของเครื่องจักร - ทำความสะอาดและบำรุงรักษา - ควบคุมการใช้ให้ถูกวิธี - ไม่เดินเครื่องโดยไม่ทำการผลิต
การส่งมอบ ( Delivery ) ค่าจ้างพนักงาน - ฝึกอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจมีทักษะการทำงานอย่างถูกต้อง - ปรับปรุงวิธีการทำงาน - ฝึกพนักงานให้ทำงานได้หลายด้าน การส่งมอบ ( Delivery ) หมายถึง การส่งงานจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่ง จนกระทั่งถึงมือลูกค้า ควรจัดการส่งมอบให้ตรงเวลา ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป ออกแบบให้ระบบการผลิตมีการไหลอย่างต่อเนื่อง
ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง การสูญเสียจากอุบัติเหตุ การป้องกันไม้ให้เกิดอุบัติเหตุและดำเนินการให้สูญเสียน้อยที่สุด ประโยชน์ของความปลอดภัย - ผลผลิตเพิ่มขึ้น - ต้นทุนการผลิตลดลง - กำไรมากขึ้น - เป็นปัจจัยในการจูงใจ - สงวนทรัพยากรมนุษย์ของชาติ
ขวัญและกำลังใจ ( Morale ) ขวัญ คือ สิ่งที่ไม่มีตัวตนที่เป็นสิริมงคล กำลังใจ คือ สภาพจิตใจที่มีความเชื่อมั่น ลักษณะของขวัญและกำลังใจ พิจารณาได้ดังนี้ - สภาพจิตใจ ทัศนคติ อารมณ์ และความรู้สึก - ผลกระทบต่องาน ความร่วมมือ ความกระตือรือร้น วินัย - ความมุ่งมั่น ความเต็มใจในการทำงาน - ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับหัวหน้างาน
สิ่งแวดล้อม ( Environment ) การยกระดับขวัญและกำลังใจ - ควบคุมดูแลปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจ - ตรวจสอบขวัญและกำลังใจ - ปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่อง สิ่งแวดล้อม ( Environment ) การดำเนินกระบวนการผลิตแบบให้เกิดของเสียมากที่สุด - การลดแหล่งกำเนิดของเสีย - การใช้หมุนเวียน การนำมาใช้ใหม่ การสกัดสิ่งมีค่า การปรับเปลี่ยน
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ( Business Ethics ) กระแสอุตสาหกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม - ส่งผลให้เกิดการยอมรับจากสังคม จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ( Business Ethics ) เว้นจากการเบียดเบียนลูกค้า เช่น กักตุนสินค้า ขายสินค้าไม่มีคุณภาพ เว้นจากการเบียดเบียนผู้จัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบ เช่น กดราคา ไม่จ่ายเงิน เว้นจากการเบียดเบียนผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของ เช่น ไม่จ่ายเงินปันผล ปิดบังข้อมูล เว้นจากการเบียดเบียนพนักงาน เช่น กดค่าแรง ไม่ให้สวัสดิการ เว้นจากการเบียดเบียนราชการ เช่น หลบเลี่ยงภาษี เว้นจากการเบียดเบียนคู่แข่ง เช่น ปล่อยข่าวลือ เว้นจากการเบียดเบียนสังคม เช่น โฆษณาหลอกลวง บรรทุกเกินกำหนด เว้นจากการเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม เช่น ปล่อยสารพิษ ส่งเสียงรบกวน