World Wide Web อินเตอร์เน็ต เว็บและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อาจารย์ยืนยง กันทะเนตร สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
อินเตอร์เน็ต (Internet) และเว็บ (Web) อินเตอร์เน็ต (Internet) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มทำโครงงานพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากล ชื่อ อาร์พาเน็ต (ARPANET) อินเทอร์เน็ตเป็นลักษณะของเครือข่ายทางกายภาพที่เกิดขึ้นจากการนำสายสัญญาณ สายเคเบิล และดาวเทียม เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ขณะที่กำลังเชื่อมต่อเครือข่ายจะเรียกว่าการออนไลน์ (Online)
อินเตอร์เน็ต (Internet) และเว็บ (Web) เว็บ (Web) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1991 โดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ (Center for European Nuclear Research : CERN) เว็บเป็นลักษณะของสื่อมัลติมีเดียที่สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ตได้
อินเตอร์เน็ต (Internet) และเว็บ (Web) ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและเว็บนับพันล้านคนทั่วโลก ส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานดังต่อไปนี้ - การสื่อสาร (Communication) - การเลือกซื้อสินค้า (shopping) - การค้นหา (Searching) - ความบันเทิง (Entertainment) - การศึกษา (Education)
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Access) การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เมื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอินเทอร์เน็ต เหมือนกับว่าคอมพิวเตอร์ของคุณเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งควบคุมทั่วทั้งโลก ผู้ให้บริการ (Providers) ผู้ให้บริการในการเชื่อมต่อสู่อินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) ทั้งแบบผ่านสายเคเบิล และแบบไร้สาย ได้แก่
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Access) เบราว์เซอร์ (browser) เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้การเข้าใข้ทรัพยากรต่างๆ บนเว็บ ได้แก่ Microsoft Internet Explorer, Mozilla Firefox, Google Chrome เป็นต้น
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Access) - URLs การจะเชื่อมต่อไปยังแหล่งทรัพยากรต่างๆ ได้นั้น จะต้องระบุตำแหน่งและที่อยู่ของทรัพยากร โดยจะประกอบไปด้วยสองส่วน คือ โพรโทคอล (Protocol) และชื่อโดเมน (domain name) ซึ่งใช้ระบุเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีทรัพยากรเหล่านั้นอยู่
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Access) ลักษณะของหน่วยงาน รหัสโดเมน สหรัฐอเมริกา ไทย กลุ่มธุรกิจการค้า .com .co.th สถาบันการศึกษา .edu .ac.th หน่วยงานของรัฐบาล .gov .go.th หน่วยงานทางทหาร .mil .mi.th หน่วยงานเกี่ยวกับเครือข่าย .net .nu.th หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร .org .or.th
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Access) - Web Server Web Server คืออะไร ? เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำการติดตั้ง Software เกี่ยวกับ Server ที่ทำหน้าที่บริการและส่งข้อมูลให้กับ Client ที่ทำการ Request ข้อมูล และ Web Server จะทำการ Response เพื่อส่งผลลัพธ์ไปยัง Client โดย Web Server ทั่ว ๆ ไปที่เราคุ้น ๆ กันดีคือติดตั้ง Software ที่ชื่อว่า IIS (Internet Information Services) และ Apache โดย Service เหล่านี้จะบริการข้อมูลผ่าน Port : 80 และรับส่งข้อมูลผ่าน Web Browser ส่วนมาก
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Access) - Web Server
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Access) - Web Hosting Web Hosting คืออะไร ? เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) คือบริการพื้นที่ที่อยู่บน Web Server ที่ผู้ให้บริการนำ Server ของตัวเองไปตั้งเป็น Web Server และให้บริการด้านการเช่าใช้งาน ผู้ใช้สามารถขอทำการเช่าพื้นที่เหล่านั้นมาใช้งาน โดยที่ผู้ใช้ทีหน้าที่จ่ายค่าบริการ ตามอัตราที่ผู้ให้บริการกำหนดขึ้น และผู้ให้บริการก็มีหน้าที่ ดูแล Web Server ให้สามารถให้บริการและจัดสรรทรัพยากรให้กับผู้ใช้ สามารถที่จะใช้งานได้
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Access) - HTML ภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ หรือบางครั้งอาจจะมีการเชื่อมโยงหลายมิติ หรือไฮเปอร์ลิงค์หรือลิงค์ ไปยังสารสนเทศในรูปแบบอื่นๆ เช่น ภาพ เสียง หรือคลิปวิดิโอเป็นต้น
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Access) - DHTML ( ย่อมาจาก Dynamic HTML) เป็นเทคนิค (ไม่ใช่ภาษา) ที่ช่วยให้การแสดงเว็บเพจน่าสนใจมากขึ้น สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้มากกว่าเว็บเพจในรูปแบบ HTML ปกติ โดยไม่ต้องติดต่อกับ Web Server ตลอดเวลา วิธีการสร้างเเว็บเพจแบบ DHTML จะอาศัยเทคโนโลยีในการสร้างเว็บเพจหลายๆ ตัว เช่น JavaScript, VB Script, ActiveX Control , Document Object Model , CSS และเทคโนโลยีอื่นๆ
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Access) - DHTML ( ย่อมาจาก Dynamic HTML) ตัวอย่างเว็บ http://visualizer.halowaypoint.com/ http://silesoleil.com/ https://robertsspaceindustries.com/
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Access) - DHTML ( ย่อมาจาก Dynamic HTML) ตัวอย่างเว็บ http://silesoleil.com/
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Access) - DHTML ( ย่อมาจาก Dynamic HTML) ตัวอย่างเว็บ https://robertsspaceindustries.com/
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Access) - JavaScript จาวาสคริปต์เป็นภาษาโปรแกรมที่เขียนร่วมกับภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) ได้
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Access) - Applets เป็นโปรแกรมพิเศษซึ่งเขียนด้วยภาษาจาวา แอพเพล็ตจะทำให้เว็บไซต์น่าสนใจขึ้นด้วยการนำเสนอภาพเคลื่อนไหว แสดงกราฟฟิก รวมถึงเกมส์และอื่นๆ อีกมากมาย
การติดต่อสื่อสาร (Communication) ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) หรืออีเมล (e-mail) เป็นการแลกเปลี่ยนข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอินเทอร์เน็ต ส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญของอีเมล ได้แก่ หัวข้อ (รวมถึงที่อยู่ หัวข้อ กราฟฟิก รูปภาพ และสิ่งที่แนบ) ข้อความ และคำลงท้าย อีเมลขยะเป็นอีเมลที่รบกวนการทำงานอาจจะรวมถึงไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แฝงมากับอีเมล
การติดต่อสื่อสาร (Communication)
การติดต่อสื่อสาร (Communication) โปรแกรมอินสแตนท์เมสเซจจิง โปรแกรมอินสแตนท์เมสเซจจิง (Instant Messaging : IM) เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถสื่อสารกันได้ทันทีทันใดกับเพื่อนๆ โปรแกรมสื่อสารโดยทั่วไปจะสนับสนุนการติดต่อสื่อสารกับบริการอื่นๆ ด้วย
การติดต่อสื่อสาร (Communication) - โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social network) ชุมชนออนไลน์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกัน มี 6 ประเภท คือ 1. เผยแพร่ตัวตน (Identity Network) ใช้สำหรับนำเสนอตัวตน เผยแพร่ประวัติส่วนตัว ความเป็นตัวเอง และเรื่องราวของตนเองทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ มายสเปช (My space) กูเกิลพลัส (Google+) และเฟซบุ๊ก (Facebook)
การติดต่อสื่อสาร (Communication)
การติดต่อสื่อสาร (Communication) 2. เผยแพร่ผลงาน (Creative Network) ใช้สำหรับนำเสนอผลงานของตัวเองไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ วิดิโอ เสียงเพลง บล็อก เป็นต้น
การติดต่อสื่อสาร (Communication) 3. ความสนใจตรงกัน (Interested Network) เชื่อมโยงคนที่มีความสนใจเหมือนกัน งานอดิเรกเหมือนกัน 4. ร่วมกันทำงาน (Collaboration Network) ใช้เว็บไซต์เป็นสื่อกลางในการทำงานร่วมกันโดยกลุ่มคนซึ่งอาจอยู่ภายในองค์กรเดียวกันหรือต่างองค์กรโดยมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน
การติดต่อสื่อสาร (Communication) 5. เพียร์ทูเพียร์ (Peer to Peer : P2P) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่าย (Client) ด้วยกันโดยตรงเพื่อแชร์ทรัพยากร
การติดต่อสื่อสาร (Communication) 6. ความจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกเข้าร่วมอยู่ภายในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้มีอยู่จริง แต่ถูกสร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์
การติดต่อสื่อสาร (Communication) บล็อก ไมโครบล็อก และวิกิ บล็อก (blog) หรือ เว็บบล็อก (web log) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างเว็บส่วนตัว คล้ายเป็นสมุดบันทึกออนไลน์มีการจัดเรียงลำดับการโพสต์เนื่อหา หรือข้อความ
การติดต่อสื่อสาร (Communication) บล็อก ไมโครบล็อก และวิกิ ไมโครบล็อก (microblog) มีลักษณะคล้ายบล็อก ต่างกันที่อนุญาตให้เขียนข้อความสั้นๆ ในแต่ละครั้ง
การติดต่อสื่อสาร (Communication) บล็อก ไมโครบล็อก และวิกิ วิกิ (Wiki) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ที่ผู้เข้าชมสามารถมีส่วนร่วมในการกรอกข้อมูล เพิ่ม หรือแก้ไขข้อมูล เหมือนกับการเขียนบทความร่วมกัน
เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล โปรแกรมค้นหา (search engine) เป็นโปรแกรมพิเศษที่ช่วยในการค้นหาตำแหน่งสารสนเทศบนเว็บจะมีบริการค้นหาที่แตกต่างกัน 2 แบบ คือ การค้นหาแบบใช้คำหลัก (keyword search) โดยใส่คำหลักหรือวลีของสารสนเทศที่ต้องการค้นหา
เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล โปรแกรมค้นหา (search engine) การค้นหาแบบไดเรกเทอรี่ (directory search) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศที่ต้องการโดยระบุไดเรกเทอรี่หรือรายการที่แยกตามประเภทหรือหัวข้อ
เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล โปรแกรมเมตาเสิร์ช (metasearch engine) เป็นโปรแกรมที่ส่งคำหลักที่ต้องการค้นหาไปยังโปรแกรมค้นหาอื่นหลายๆ โปรแกรมพร้อมๆ กัน จากนั้นโปรแกรมเมตาเสิร์ชจะรับผลที่ได้จากโปรแกรมอื่นๆ และกลั่นกรองเว็บไซต์ที่ซ้ำกันออก เรียงลำดับเว็บไซต์ที่ตรงกับคำหลัก แล้วแสดงรายการทั้งหมดให้เห็น เช่น www.dogpile.com
เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล โปรแกรมค้นหาเฉพาะทาง (specialized search engine) โปรแกรมค้นหาเฉพาะทาง เป็นบริการค้นหาข้อมูลเฉพาะทางด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น จึงช่วยให้การค้นหาในวงแคบลง หัวข้อ เว็บไซต์ สิ่งแวดล้อม www.eco-web.com แฟชั่น www.infomat.com ประวัติศาสตร์ www.historynet.com กฎหมาย www.llrx.com/guide การแพทย์ www.metside.com
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (e-commerce) เป็นการซื้อขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ - B2C เป็นประเภทของ e-commerce ที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุด เช่น ธนาคารออนไลน์ การลงทุนหุ้นออนไลน์ และการซื้อขายสินค้าออนไลน์
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce) - ธนาคารออนไลน์ (online banking) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า อีแบงก์กิ้ง (e-banking) กลายมาเป็นบริการมาตรฐานของธนาคารที่จำเป็นในปัจจุบัน ลูกค้าธนาคารสามารถทำธุรกรรมต่างผ่านโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ได้
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce) - การลงทุนหุ้นออนไลน์ (online stock trading) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า อีเทรดดิ้ง (e-trading) ทำให้ผู้ที่ต้องการลงทุนในตลาดหุ้นสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทางอินเทอร์เน็ตซึ่งสะดวกสบายกว่าการใช้บริการโบรกเกอร์ ประหยัดค่าใช้จ่าย
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce) - การซื้อขายสินค้าออนไลน์ (online shopping) หรือเรียกว่า อีรีเทลลิ่ง (e-retailing) เกี่ยวข้องกับการซื้อและขายสินค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ต มีเว็บไซต์และบริการจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถชมสินค้า ต่อรองราคาและตกลงซื้อขายได้
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce) - C2C การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ C2C ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การประมูลสินค้า ซึ่งเว็บประมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เว็บไซต์บริษัทรับประมูล (aution house sites) และเว็บไซต์การประมูลระหว่างบุคคล (person-person auction sites)
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce) - B2B เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าและบริการระหว่างธุรกิจด้วยกัน ส่วนมากจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทผู้ผลิตกับผู้จัดหาวัตถุดิบ
การชำระเงินค่าสินค้าและบริการ สิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจอีคอมเมร์ชคือ การพัฒนาความรวดเร็ว ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือของวิธีการชำระเงิน สามตัวเลือกในการชำระเงินขั้นพื้นฐาน ได้แก่ เช็ค บัตรเครดิตและเงินสดอิเล็กทรอนิกส์
โปรแกรมเว็บยูทิลิตี (web Utilities) - ปลั๊กอิน (plug-in) เป็นโปรแกรมที่ถูกเรียกใช้งานโดยอัตโนมัติและทำงานเป็นส่วนหนึ่งของเบราเซอร์ ที่ใช้กันมากได้แก่ Acrobat Reader Windows Media Player Quick Time RealPlayer
โปรแกรมเว็บยูทิลิตี (web Utilities) - ตัวกรอง (filter) ผู้ปกครอง องค์กรหรือบริษัทสามารถติดตั้งโปรแกรมตัวกรองเพื่อป้องกันการเข้าถึงเว็บไซตที่ไม่เหมาะสม ตัวกรอง เว็บไซต์ CyberPatrol www.cyberpatrol.com Cybersitter www.cybersitter.com iProtectYou Pro Web Filter www.softforyou.com Net Nanny www.netanany.com Safe Eyes Platinum www.sateeyes.com
โปรแกรมเว็บยูทิลิตี (web Utilities) - ยูทิลิตีถ่ายโอนไฟล์ (File Transfer Utilities) ใช้ในการคัดลอกไฟล์จากเครื่องแม่ข่ายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เรียกว่าการดาวน์โหลด (download) หรือใช้คัดลอกไฟล์จากเครื่องผู้ใช้ไปยังเครื่องแม่ข่าย เรียกว่าการอัพโหลด (Upload) ที่นิยมได้แก่ 1. เอฟทีพี (File Transfer protocol : FTP) ใช้ในการคัดลอกไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์บนอินเทอร์เน็ต นิยมใช้เป็นเครื่องมือของผู้พัฒนาเว็บไซต์ในการอัพโหลดและดาวน์โหลดไฟล์
โปรแกรมเว็บยูทิลิตี (web Utilities) 2. บริการถ่ายโอนไฟล์ผ่านเว็บ (Web-based file transfer service) มักใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ขนาดใหญ่ โดยใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ในการอัพโหลดไปยังเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการ และให้ผู้รับใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ในการดาวน์โหลดเช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมอื่นเพิ่มเติม
โปรแกรมเว็บยูทิลิตี (web Utilities) 3. บิตทอร์เรนต์ (BitTorrent) ใช้หลักการกระจายหน้าที่ในการให้บริการถ่ายโอนไฟล์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดาวน์โหลด
ถาม-ตอบ ?