การบัญชีภาษีอากร AC 316 อาจารย์ประจำวิชา อ.บุญผ่อง สายเพ็ชร
คำอธิบายรายวิชา วิชาเรียนก่อน (วิชาพื้นฐาน) BA 319 การภาษีอากร
บทที่ 1 การบัญชีเพื่อการภาษีอากร - ความหมาย และวัตถุประสงค์ของการบัญชีภาษีอากร - ขอบเขตของวิชาการบัญชีภาษีอากร - การจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี - หลักเกณฑ์การรับรู้รายการและการคำนวณกำไรทางบัญชี - การคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
วัตถุประสงค์ของการบัญชีภาษีอากร การบัญชีภาษีอากร หมายถึง การจัดทำบัญชีของธุรกิจ รวมทั้ง การจัดทำบัญชีพิเศษและรายงานภาษีต่างๆตามที่กฎหมาย กำหนด วัตถุประสงค์ของการบัญชีภาษีอากร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องใช้ในการคำนวณภาษสรพากร และภาษี อากรประเภทอื่นที่ธุรกิจมีหน้าที่เสียภาษี รวมทั้งภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ตามเวลาที่ กฎหมายกำหนด
ขอบเขตของวิชาการบัญชีภาษีอากร เป็นการจัดทำบัญชีที่จะให้ข้อมูลเพื่อการเสียภาษี และนำส่ง ภาษีสรรพากร ซึ่งแก่ ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยกิจการต้องยื่นแบบ แสดงรายการภาษีพร้อมทั้งชำระค่าภาษี และยื่นแบบเพื่อนำส่ง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภายในเวลาที่กำหนด
การจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชี (พ.ศ.2543) เป็นกฎหมายว่าด้วยการ บัญชีที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน มีบทบัญญัติให้ธุรกิจมีการจัดทำ บัญชีที่ให้ข้อมูลในงบการเงินเชื่อถือได้ โดย กำหนดผู้รับผิดชอบ ในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ แนวปฏิบัติในการจัดทำบัญชี และ หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการจัดทำบัญชีของธุรกิจ พร้อมทั้งบทลงโทษ
หลักเกณฑ์การรับรู้รายการและการคำนวณกำไรทางบัญชี หลักเกณฑ์การรับรู้รายการและการคำนวณกำไรทางบัญชี ที่ต้อง นำไปปรับปรุงให้เป็นไปตามเงื่อนไขการคำนวณกำไรเพื่อเสีย ภาษีตามกฎหมาย สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
แม่บทการบัญชี เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการจัดทำและนำเสนองบ การเงิน วัตถุประสงค์งบการเงิน ข้อสมมติในการจัดทำงบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน องค์ประกอบและการรับรู้ องค์ประกอบของงบการเงิน การวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบ การเงิน รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับต้นทุน การรับรู้รายการ เป็นองค์ประกอบของงบการเงินแม่บทการ บัญชีกำหนดให้มีการรับรู้รายการ องค์ประกอบของงบการเงิน โดยให้ความหมาย และเงื่อนไขของการรับรู้รายการไว้ ดังนี้
การรับรู้รายการ หมายถึง การรวมรายการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ งบดุลหรืองบกำไรขาดทุน หากรายการนั้นเป็นไปตามคำนิยาม ขององค์ประกอบ และเข้าเงื่อนไข ทั้ง 2 ข้อ เมื่อมีความเป็นได้ที่ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจใน อนาคตของรายการจะเข้ากิจการหรือออกกิจการ 2. รายการดังกล่าวมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
การคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี ซึ่งสรุปหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี หรือกำไร(ขาดทุน) ทางภาษี ดังนี้
เกณฑ์ที่ใช้ในการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ระบุให้เงินได้ที่ต้องเสียภาษี คือ กำไรสุทธิที่คำนวณจากรายได้ ของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ ระบุไว้ สรุปได้ว่า การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี ใช้เกณฑ์คง ค้างตามหลักการบัญชีที่รายได้และค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีนั้น
2. การผ่อนปรนการใช้เกณฑ์สิทธิ สำหรับรายได้ของธุรกิจบางประเภทที่การคำนวณตามเกณฑ์ สิทธินั้นอาจแสดงรายได้ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง จึงได้มี การผ่อนปรนการใช้สิทธิสำหรับการคำนวณรายได้ของกิจการ บางประเภท
3. เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่าย เงื่อนไขที่เกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการที่มีทั้งเหมือน และต่างไปจากหลักเกณฑ์ทางบัญชี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ในการจัดเก็บภาษี ได้แก่ - มาตรา 65 ทวิ - มาตรา 65 ตรี - มาตรา 70 ตรี
บทที่ 1 การบัญชีเพื่อการภาษีอากร (ต่อ) - เกณฑ์ที่ใช้รวบรวมเงินได้พึงประเมินเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - ภาระหน้าที่ของผู้มีหน้าที่เสียภาษี - ความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่เสียภาษี - การขอคืนภาษีสรรพากร
เกณฑ์ที่ใช้รวบรวมเงินได้พึงประเมินเพื่อคำนวณภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา เกณฑ์ที่ใช้รวบรวมเงินได้พึงประเมินเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้คำนวณภาษีอากร คือ ใช้เกณฑ์เงินสด ในการรวบรวมรายได้ เพื่อคำนวณเงินได้สุทธิที่จะใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาระหน้าที่ของผู้มีหน้าที่เสียภาษี บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลที่มีเงินได้มีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ตามเวลาที่กำหนด ดังนี้ บุคคลธรรมดา 1.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี ในกรณีผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) ให้ผู้มีเงินได้ถึงเกณฑ์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเดือน มีนาคม ปีถัดไป ไม่ว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่ ผู้มีเงินได้หลายประเภทที่มิใช่นิติบุคคล ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.90)
1. 2 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี 1.2 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(5) ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ภายในเดือนกันยายนของทุกปี 2. ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี 2.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี 2.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ให้ยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.ง.ด.51) ภายใน 2 เดือน นับแต่ในครึ่งรอบระยะบัญชี
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 3.1 ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บิการในราชอาณาจักร ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ภายในวันที่ 15 ของเดือนภาษีถัดไป 3.2 ผู้ประกอบการที่จ่ายค่าบริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) และชำระภาษีภายในวันที่ 7 นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายค่าบริการนั้น
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40) และชำระภาษี (ถ้ามี) ภายในวันที่ 15 ของเดือนภาษีถัดไป
ความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่เสียภาษี ความรับผิดทางอาญา ผู้เสียภาษีที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอประจำตัวผู้เสียภาษี ไม่จัดทำบัญชีหรือรายงานที่กำหนด และหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีความผิดอาจต้องรับโทษทางอาญา ความรับผิดทางแพ่ง ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรพากรที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีหรือไม่นำส่งภาษีตามกำหนดเวลา มีความผิดอาจต้องรับโทษทางแพ่ง
การขอคืนภาษีสรรพากร กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย เป็นจำนวนเงินเกินกว่า ค่าภาษีที่ควรต้องชำระ หรือยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ไว้เกินกว่าภาษีที่ควรชำระ ผู้เสียภาษีมีสิทธิขอคืนเงินภาษีที่ถูก หักไว้เกินหรือที่ได้ชำระภาษีไว้เกินกว่าจำนวนที่ควรชำระโดย ปฏิบัติดังนี้
ให้ผู้ที่ชำระภาษีไว้เกินขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี นับแต่วัน สุดท้ายกำหนดเวลายื่นรายการภาษี หรือนับแต่วันที่ยื่นรายการ โดยยื่นคำร้อง(แบบ ค.10) ณ สนง.สรรพากรพื้นที่เขตการขอคืน ภาษี ในต่างจังหวัดให้ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ณ ที่ว่ากาอำเภอ โดยแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
2. ผู้ที่ชำระภาษีหรือถูกหักภาษีไว้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องเสีย จะขอคืนภาษี โดยให้ยื่นคำร้อง (แบบ ค.10) ก็ได้ ซึ่งต้องรอให้ถึง ระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี และ กรอกข้อความและลงนามในช่องขอคืนเงินภาษีพร้อมทั้งแนบ เอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
บทที่ 2 ภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจ - การแยกหน่วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - การจัดทำบัญชีและเกณฑ์ที่ใช้ในการรวบรวมเงินได้ของผู้ประกอบธุรกิจ - การผ่อนปรนการใช้เกณฑ์เงินสด - การหักค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการประกอบธุรกิจ - เงินได้พึงประเมินที่สามารถเลือกมารวมคำนวณภาษี
การแยกหน่วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากบุคคลธรรมดาเสียภาษีในอัตราก้าวหน้า ดังนั้น การ แยกหน่วยภาษีจะทำให้ฐานภาษีเงินได้ของผู้ประกอบธุรกิจแคบ ลง เป็นการลดภาระภาษีเงินได้ ถ้าผู้ประกอบการที่แยกหน่วยภาษี ไม่เสียภาษีให้ถูกต้องอาจถูกประเมินภาษี ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหรือ บุคคลในคณะบุคคลต้องรับผิดชอบ โดยที่คนใดคนหนึ่งหรือทุก คนอาจถูกอายัดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดและนำเงินที่ได้มา ชำระภาษีที่ค้างจ่าย ตามมาตรา 12
การจัดทำบัญชีและเกณฑ์ที่ใช้ในการรวบรวมเงินได้ของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการธุรกิจที่มีหน่วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ต้อง จัดทำบัญชีตาม พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ.2543 แต่ต้องจัดทำบัญชี ตามตรา 17 วรรค 2 แห่งประมวลรัษฎากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) ซึ่งต้องบันทึกรายการที่เกิดขึ้นตาม เกณฑ์คงค้าง เพื่อให้ได้ข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน เป็นประโยชน์ต่อการ ตัดสินใจ
แต่ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบธุรกิจ ยังคงต้องใช้ เกณฑ์เงินสด ในการรวบรวมรายได้ที่เป็นเงินได้พึง ประเมิน เพื่อคำนวณเงินได้สุทธิที่จะใช้เป็นฐานในการคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การผ่อนปรนการใช้เกณฑ์เงินสด เกณฑ์ที่ใช้ในการรวบรวมรายได้ที่เป็นเงินได้พึงประเมิน เพื่อ คำนวณเงินได้สุทธิที่จะใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ใช้ เกณฑ์เงินสด แต่เงินได้รับล่วงหน้ากลับเป็น ภาระทางภาษีเนื่องจากต้องนำมาเสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า จึง ให้มีการผ่อนปรนการใช้เกณฑ์เงินสดเฉพาะเงินที่ได้รับล่วงหน้า
การหักค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการประกอบธุรกิจ วิธีที่ 1 หักค่าใช้จ่ายตามอัตราเหมา วิธีที่ 2 หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ซึ่งต้องเป็น ค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะดังนี้ (1) เป็นค่าใช้จ่ายปกติที่มีความเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจประเภทนั้นๆ
(2) เป็นค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนที่เหมาะสมแก่การประกอบกิจการนั้นๆ (3) เป็นค่าใช้จ่ายที่ให้หักได้ ตามเงื่อนไขการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษี ตามประมวลรัษฎากร (4) เป็นผู้ประกอบการธุรกิจต้องจัดทำบัญชี และมีการเก็บหลักฐานเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
เงินได้พึงประเมินที่สามารถเลือกนำมารวมคำนวณภาษี เงินได้ที่สามารถที่จะเลือกนำมารวมหรือไม่นำมารวมคำนวณ ภาษีมี ดังนี้ ดอกเบี้ย เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวมที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยเสน่หา หรือเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งทางการค้าหากำไรที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในวันที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธ์แล้ว เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมิใช่ผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์ แต่เป็นกรณีที่เข้าข่ายเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มุ่งทางการค้าหรือหากำไร
บทที่ 2 ภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจ (ต่อ) - เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี - การหักค่าลดหย่อน - การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ - รายได้ขั้นต่ำที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ - การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาร
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี เงินได้จากการขายหรือส่วนลดจากการขายอากรแสตมป์หรือตราไปรษณีย์ยากรของรัฐบาล ดอกเบี้ย รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยากร เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล รางวัลสลากบำรุงกาชาดไทย ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการคืนภาษีตามมาตรา 4 ทศ
เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม เงินได้จากกิจการของโรงเรียนราษฎร์ เงินได้จากการจำหน่ายหรือส่วนลดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล เงินได้จากการขายสินค้ายาสูบ ที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร
เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนรวมที่จัดตั้งตามพรบ เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนรวมที่จัดตั้งตามพรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2534 เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เงินปันผลที่ได้รับจากกิจการที่ได้รับส่งเสริมทุน เงินได้ที่จ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันชีวิตที่มีสัญญาประกันตั้งแต่10 ปีขึ้นไป
หักค่าลดหย่อน ค่าลดหย่อนที่หักได้สำหรับห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคล คือค่าลดหย่อนสำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ตามจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วน หรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนที่อยู่ในประเทศไทย คนละ 30,000 บาท แม่เมื่อรวมค่าลดหย่อนแล้วไม่เกิน 60,000 บาท ค่าลดหย่อนสิทธิส่วนตัวให้นำมาหักในการคำนวณภาษีของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลไม่ได้ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ต้องมีหนังสือรับรองที่มีชื่อห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและเอกสารที่นำไปค้ำประกันเงินกู้ ต้องมีชื่อห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลอยู่ในใบเสร็จจึงจะนำมาหักได้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับ ผู้ประกอบธุรกิจ การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับ ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) ถึง 40(8) ในปีภาษีที่ล่วงมา ให้คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้ง 2 วิธี 1) คำนวณจากฐานเงินได้สุทธิ 2) คำนวณจากฐานเงินได้พึงประเมิน เพื่อเปรียบเทียบค่าภาษีที่คำนวณได้จาก 2 วิธี ว่าค่าภาษีที่มากกว่าไปชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายงานภาษีเงินได้ครึ่งปี และ/หรือภาษีเงินได้ประจำปี ตามบทบัญญัติตามมาตรา 48
รายได้ขั้นต่ำที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ผู้ประกอบธุรกิจที่มีคู่สมรสและมีเงินได้พึงประเมินจากการประกอบธุรกิจ ที่ได้รับ ในปีภาษี ที่ล่วงมาแล้วเกิน 60,000 บาท กรณีที่ไม่มีคู่สมรส มีเงินได้เกิน 30,000 บาท คณะบุคคลและห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลมีเงินได้เกิน 30,000 บาท
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ประกอบธุรกิจต้องเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นเอง หรือมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้อื่นยานแทนก็ได้ ผู้ประกอบธุรกิจที่มีเงินได้ที่อยู่ในต่างประเทศ ให้ผู้จัดการกิจการอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินนั้นยื่นในนามผู้มีเงินได้ ผู้มีเงินได้ที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนหรือของคณะบุคคลนั้นยื่นรายการในนามห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคล กรณีผู้ประกอบธุรกิจมีคู่สมรสและความเป็นสามีภริยามีตลอดปีภาษีและต่างมีเงินได้ ให้ถือเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี
บทที่ 3 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย -วัตถุประสงค์ของภาษีหัก ณ ที่จ่าย -หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและของผู้มีเงินได้ -การหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย -การหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย -การหักภาษีเงินได้ตามมาตรา ๒ เตรส แห่งประมวลรัษฎากร
วัตถุประสงค์ของการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อบรรเทาภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้รับเงินได้ เพื่อให้รัฐบาลมีรายได้เข้าคลังอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีของภาครัฐ
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและของผู้มีเงินได้ หน้าที่ของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 1.1 ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 1.2 คำนวณภาษีที่ต้องหักให้ถูกต้องครบถ้วน 1.3 ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1.4 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลา 1.5 จัดทำแบบแจ้งข้อความเกี่ยวกับเงินได้ของคนต่างด้าว 1.6 จัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและของผู้มีเงินได้ ความรับผิดชอบผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 2.1 ความรับผิดทางแพ่ง 2.2 ความรับผิดทางอาญา 3. หน้าที่และความรับผิดของผู้มีเงินได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
การหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย การหักเงินภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ประเภทค่าจ้าง เงินเดือน การรับทำงานให้ 1.1 การหักภาษีสำหรับการจ่ายเงินค่าจ้างที่จ่ายเป็นปกติ 1.2 กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่จ่ายให้ระหว่างปีภาษี 1.3 การหักภาษีเมื่อมีการจ่ายเงินได้เพิ่มเติมจากเงินได้ประจำ 1.4 การหักภาษีสำหรับการจ่ายเงินที่มีจำนวนคราวที่จ่ายไม่แน่นอน 1.5 การหักภาษีสำหรับการจ่ายเงินได้เพิ่มเติมจากค่าจ้างตามปกติ 1.6 กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินให้ผู้รับที่คู่สมรสมีเงินได้ 1.7 การหักภาษีกรณีผู้มีเงินได้มีสิทธิสำหรับค่าลดหย่อนเปลี่ยนแปลงไป 1.8 การหักภาษีสำหรับการจ่ายเงินได้ที่นายจ้างให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงาน 1.9 การหักภาษีกรณีที่นายจ้างออกภาษีแทนให้แก่ลูกจ้าง 1.10 การหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ของค่าแรงรายวัน
การหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) และ (4) 2.1 การหักภาษีจากเงินได้ประเภทค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น 2.2 การหักภาษีสำหรับการจ่ายเงินได้ประเภทดอกเบี้ย 2.3 การหักภาษีสำหรรับเงินได้ประเภทเงินปันผล การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) และ (6) กรณีส่วนราชการองค์การของรัฐบาล หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) และ (8)
การหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินได้ให้ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ 5.1 กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้เป็นทางการค้าหรือหากำไร 5.2 กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไร
การหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย การหักภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 69 ทวิ การหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ
การหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) และ (3) การจ่ายเงินได้ประเภทดอกเบี้ยตามมาตรา 40 (4) (ก) การจ่ายเงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร หรือประโยชน์อื่นใด ตามมาตรา 40 (4) (ข) การจ่ายเงินได้ประเภทค่าเช่า ตามมาตรา 40 (5) การจ่ายเงินได้จากวิชาชีพอิสระ ตามมาตรา 40 (6) การจ่ายเงินได้ประเภทค่าจ้างตามมาตรา 40 (7) และค่าจ้างทำของตามมาตรา 40 (8) การจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40 (8) ซึ่งเป็นเงินรางวัลในการประกวด แข่งขัน ชิงโชค
การหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร 8. การจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40 (8) ที่เป็นเงินค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่จ่ายให้นักแสดงสาธารณะ 9. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ที่เป็นเงินค่าโฆษณา 10. การจ่ายเงินค่าบริการที่ไม่เข้าข้อยกเว้นและไม่ใช่ค่าบริการที่ถูกกำหนดให้หักภาษีไว้ในข้ออื่นแล้ว การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ที่เป็นค่าขนส่ง การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ที่เป็นเงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ที่เป็นเงินค่าเบี้ยประกันวินาศภัย เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ที่เป็นค่าซื้อผลทางการเกษตร
บทที่ 4 การบัญชีภาษีธุรกิจเฉพาะ - ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ - กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ - ฐานภาษีธุรกิจเฉพาะ - รายรับที่ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ - การคำนวณและการชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ - การบันทึกรายการเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ - การจัดทำรายงานและการเก็บเอกสาร
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ การธนาคาร การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ การรับประกันชีวิต การรับจำนำ การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถือว่าเป็นทางค้าหรือหากำไรที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การขายหลักทรัพย์ การประกอบกิจการอื่น
กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ กิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กิจการของสหกรณ์ออกทรัพย์ เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น กิจการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กิจการของการเคหะแห่งชาติ เฉพาะการขายหรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ กิจการรับจำนำของกระทรวง ทบวง กรม และองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น กิจการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับที่กำหนดให้เป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
ฐานภาษีธุรกิจเฉพาะ รายรับ หมายถึง เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ หรือพึงได้รับไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องจากการประกอบกิจการ มูลค่า หมายถึง ราคาตลาดของทรัพย์สิน ของกิจการ ของค่าตอบแทนหรือของประโยชน์ใด ๆ ขาย หมายความรวมถึง สัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ เช่าซื้อหรือจำหน่ายจ่ายโอนไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่
การคำนวณและการชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะมีหน้าที่ต้องออกใบรับหรือใบเสร็จรับเงินให้ผู้จ่ายเงินทันทีทุกครั้งที่รับเงินไม่ว่าจะมีการเรียกร้องให้ออกใบรับหรือไม่ และให้ใช้สำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานประกอบการบันทึกรายการรับเงินของกิจการ
การบันทึกรายการเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ กิจการที่มีรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะบันทึกรายการปรับปรุงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะค้างจ่ายของเดือนภาษีนั้น ๆ เป็นประจำทุกเดือน หรือจะทำการปรับปรุงเฉพาะเดือนสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ เพื่อให้การรับรู้รายการค่าภาษีธุรกิจเฉพาะของรอบระยะเวลาบัญชีและรับรู้รายการหนี้สินค้าภาษีธุรกิจเฉพาะค้างจ่ายเป็นไปตามหลักการบัญชี ใ
บทที่ 5 ภาษีมูลค่าเพิ่ม - กิจการที่ต้องเสียและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม - ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม - ใบกำกับภาษี - การจัดทำใบกำกับภาษี - ภาษีซื้อต้องห้าม - การเฉลี่ยภาษีซื้อ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีทางอ้อมที่กำหนดให้ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า และผู้ที่ประมวลรัษฎากรกำหนดเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สามารถผลักภาระภาษีให้กับผู้ซื้อสินค้าและ/หรือผู้รับบริการ โดยเรียกเก็บค่าภาษีมูลค่าเพิ่มนอกเหนือจากค่าสินค้าและบริการ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
กิจการที่ต้องเสียและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การขายสินค้าที่เป็น สังหาริมทรัพย์และ/หรือการให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพโดยทั่วไปที่มิใช่การให้บริการที่ถูกกำหนดให้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.1 กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 2.2 กิจการที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 และ พระราชกฏษฎีกาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 2.2.1 การขายสินค้า (ที่มิใช่การส่งออก) บางประเภท 2.2.2 การนำเข้าสินค้าที่เป็นพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน 2.2.3 ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการดังกล่าวมีมูลค่าของฐานภาษีไม่เกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม 1.8 ล้านบาทต่อปี ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ถูกกำหนดให้มีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 78 เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม และการจัดทำใบกำกับภาษี ซึ่งเป็นเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการบันทึกรายการที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามหลักและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีและการจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
ใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า หรือได้รับชำระค่าบริการ ใบกำกับภาษี หมายความถึงใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ใบเสร็จรับเงินที่ทางราชการออกให้ในการขายทอดตลาด ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร กรมศุลกากร หรือกรมสรรพสามิต ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มา
ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกำภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้า หรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นชั่วคราวที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ผู้ขายทอดตลาดที่มิใช่ส่วนราชการซึ่งขายของทอดตลาดของผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยให้ผู้ขายทอดตลาดออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ผู้ประกอบการจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ หรือเพราะอธิบดีสั่งเพิกถอดการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียน
การจัดทำใบกำกับภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีทุกครั้ง เมื่อความรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น โดยให้ส่งต้นฉบับให้กับผู้ซื้อสินค้าและหรือผู้รับบริการ และให้เก็บสำเนาไว้
ภาษีซื้อต้องห้าม ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บ มาหักจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บ เพื่อการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนภาณีนั้น ๆ ได้ ต่อเมื่อภาษีซื้อนั้นเป็นภาษีซื้อที่เป็นไปตามหักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ประมวลรัษฎากรกำหนดเท่านั้น ภาษีซื้อที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ไม่สามารถนำไปหักจากภาษีขายได้ นิยมเรียกภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มว่า ภาษีซื้อต้องห้าม
การเฉลี่ยภาษีซื้อ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้จากการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการที่ไม่ต้องเยภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ กิจการที่ได้รับยกเว้นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น ไม่สามารถนำภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินที่ใช้ร่วมกันทั้ง 2 กิจการไปหักจากภาษีขายได้ทั้งจำนวน ประมวลรัษฎากรกำหนดให้เฉลี่ยภาษีซื้อที่จ่ายไปสำหรับการลงทุนในทรัพย์สินถาวรนั้น เพื่อให้ได้ภาษีซื้อสำหรับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อนำไปหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ สำหรับเดือนภาษีนั้นๆ ได้
บทที่ 6 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม - ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม - การคำนวณมูลค่าฐานภาษี - อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม - การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการโดยทั่วไป ฐานภาษีสำหรับการส่งออกสินค้า ตามมาตรา 79/1(1) ฐานภาษีสำหรับการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ตามมาตรา 79/1(2) 3.1 กรณีรับขนคนโดยสาร 3.2 กรณีรับขนสินค้า 4. ฐานภาษีสำหรับการนำเข้า ฐานภาษีกรณีขายผลิตภัณฑ์น้ำมัน 5.1 น้ำมันดิบ 5.2 ผลิตภัณฑ์น้ำมันแต่ละชนิด
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตราปกติ ร้อยละ 10 อัตราภาษีร้อยละ 0
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม การคำนวรภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจัดทะเบียนต้องเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งต้องพิจารณาทั้งจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและฐานภาษีตามที่กล่าวมาแล้ว การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องชำระเป็นรายเดือนภาษี หรือมีสิทธิขอรับคืนภาษี หรือขอนำไปเป็นเครดิตภาษีเดือนถัดไป - ภาษีซื้อ - ภาษีขาย
การบันทึกรายการที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบันทึกรายการของกิจการให้บริการ การบันทึกรายการของกิจการขายสินค้า - การขายสินค้า - การขายเชื่อที่ภายหลังเกิดหนี้สูญ - การฝากขาย - การขายโดยให้ส่วนลด - การขายโดยมีการขนส่งให้ลูกค้า - การเพิ่มยอดขายหรือค่าบริการเกินกว่าจำนวนที่ตกลงกัน - การลดยอดขายหรือลดค่าบริการหลังจากการขาย - การให้เข้าทรัพย์ การให้เข่าแบบลีสซิ่ง และการเช่าซื้อ - การขายสินค้าที่มีการส่งเสริมการขาย
การบันทึกรายการที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบันทึกรายการนำเข้าสินค้า การบันทึกรายการเกี่ยวกับภาษีซื้อต้องห้าม ภาษีซื้อต้องห้ามที่ให้หักเป็นค่าใช้จ่ายหรือถือเป็นมูลค่าของทรัพย์สินได้ ภาษีซื้อที่เป็นรายจ่ายต้องห้าม การบันทึกรายการจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ให้บริการในต่างประเทศ
การจัดทำรายงานที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม รายงานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำดังนี้ รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
ระยะเวลาที่ต้องจัดเก็บเอกสารและรายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดเก็บ และรักษารายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ณ สถานประกอบการที่จัดทำรายงานนั้น หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกำหนดไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ต้องจัดทำรายงานในกรณีที่อธิบดีเห็นสมควรกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเก็บรักษารายงานเกิน 5 ปีได้ แต่ต้องไม่เกิน 7 ปี กรณีที่ประสงค์จะเก็บเอกสารดังกล่าวในสถานที่อื่น หลังจากเก็บที่สถานประกอบการนั้น ครบ 1 ปีแล้ว จึงมีสิทธิขออนุญาตต่ออธิบดีขอเปลี่ยนสถานที่เก็บได้ เมื่อผู้ประกอบการเลิกประกอบกิจการ ให้จัดเก็บรักษาเอกสารดังกล่าวต่อไปไม่น้อยกว่า 2 ปี
สอบกลางภาค
บทที่ 6 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม - การบันทึกรายการเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม - การจัดทำรายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม - ระยะเวลาที่ต้องเก็บเอกสารและรายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม - ตัวอย่างการบันทึกและจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม
การบันทึกรายการที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบันทึกรายการที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มในบัญชีและการจัดทำรายงานต่าง ๆ ต้องมีเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ เอกสารที่ได้จากบุคคลภายนอก เอกสารที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำเพื่อให้กับบุคคลภายนอก เช่น ใบกำกับสินค้า ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ใบส่งของ ใบส่งคืนสินค้า ใบเสร็จเงินของทางราชการที่มีรายการภาษีมูลคาเพิ่ม และเอกาสารภายในที่จัดทำขึ้นกรณีเกิดความรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อประกอบการบันทึกบัญชี
การบันทึกรายการที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบันทึกรายการ ให้ปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป สำหรับการจัดทำรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้จัดทำตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มเรื่องการจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม จะกล่าวในหัวข้อต่อไปนี้ การบันทึกรายการของกิจการให้บริการ การบันทึกรายการของกิจการขายสินค้า การบันทึกรายการนำเข้าสินค้า การบันทึกรายการเกี่ยวกับภาษีซื้อต้องห้าม การบันทึกรายการจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ให้บริการในต่างประเทศ
การจัดทำรายงานที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 87 และตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม และในบางกรณียังต้องจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามประกาศอธิบดี การจัดทำรายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องลงรายการในรายงาน ตามแบบที่อธิบดีกำหนดและให้จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ ผู้รับผิดชอบในการจัดทำรายงานควรทำความเข้าใจใน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้การจัดทำรายงานเป็นไปอย่างถูกต้อง
รายงานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำ รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
ระยะเวลาที่ต้องจัดเก็บเอกสารและรายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดเก็บ และรักษารายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ณ สถานประกอบการที่จัดทำรายงานนั้น หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกำหนดไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ต้องจัดทำรายงาน ในกรณีที่อธิบดีเห็นสมควรกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเก็บปรึกษารายงานเกิน 5 ปีได้ แต่ต้องไม่เกิด 7 ปี กรณีที่ประสงค์จะเก็บเอกสารดังกล่าวในสถานที่อื่น หลังจากเก็บที่สถานประกอบการนั้น ครบ 1 ปีแล้ว จึงมีสิทธิขออนุญาตต่ออธิบดีของเปลี่ยนสถานที่เก็บได้ เมื่อผู้ประกอบการเลิกประกอบกิจการ ให้จัดเก็บรักษาเอกสารดังกล่าวต่อไปไม่น้อยกว่า 2 ปี
บทที่ 7 ภาษีเงินได้นิติบุคคล -นิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ - ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล -การคำนวณภาษีจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่าย -การคำนวณภาษีของนิติบุคคลต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
นิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล คือ บุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย สหกรณ์ประเภทต่างๆ ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. สหกรณ์ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด ตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ บริษัทมหาชนจำกัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลอาจต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ถ้าเป็นนิติบุคคลตามที่ถูกระบุไว้ใน มาตรา 39
การจัดทำบัญชีของนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี ตามมาตรา 68 ทวิ ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงบริษัทต่างประเทศที่มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ให้ถือว่าบุคคลที่เป็นลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนเป็นตัวแทนของบริษัทต่างประเทศ และมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชียื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศ
ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล ฐานรายได้ก่อนหักรายจ่าย ฐานเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ฐานเงินกำไรที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทย ฐานกำไรสุทธิ
การคำนวณภาษีจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่าย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ที่ประกอบกิจการการขนส่งระหว่างประเทศที่ได้ทำกิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทย ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล ให้เสียภาษีจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายในอัตราร้อยละ 10 ตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
การคำนวณภาษีของนิติบุคคลต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศที่มิได้มาประกอบกิจการในประเทศไทย แต่มีเงินได้หรือได้รับเงินกำไรที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ถือว่ามีแหล่งเงินได้อยู่ในประเทศไทย ต้องเสียภาษีให้ประเทศไทย โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวเป็นผู้มีหน้าที่หักและนำส่งภาษี ซึ่งแยกฐานภาษีสำหรับนิติบุคคลได้ต่างประเทศที่ได้รับเงินได้จากประเทศไทย
บทที่ 7 ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ต่อ) - เกณฑ์การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี - การผ่อนปรนการใช้เกณฑ์สิทธิ - เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี - เงื่อนไขที่เกี่ยวกับการรายได้ - การยกเว้นภาษีเงินได้และการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี - เงื่อนไขเกี่ยวกับการตีราคาทรัพย์สินและหนี้สิน
การผ่อนปรนการใช้เกณฑ์สิทธิ การผ่อนปรนการใช้เกณฑ์สิทธิสำหรรับกิจการบางประเภทในการรวบรวมรายได้และค่าใช้จ่าย เพื่อการคำนวณกำไรทางภาษี ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 มีดังนี้ 1. กิจการธนาคาร ประกันภัย และสถาบันการเงิน 2. กิจการประกันชีวิต 3. กิจการฝากขายสินค้า 4. กิจการให้เช่าทรัพย์สิน 5. กิจการให้เช่าซื้อหรือขายผ่อนชำระ 6. กิจการก่อสร้าง 7 กิจการค้าอสังหาริมทรัพย์ 8. กิจการสนามกอล์ฟ 9. กิจการหลักทรัพย์ซึ่งประกอบกิจการขายชอร์ต 10. กิจการหลักทรัพย์ ซึ่งประกอบกิจการซื้อ 11. บริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือขายทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือ ซื้อคืน
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี ตามหลักการบัญชี ได้กำหนดให้รายได้และค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวัดผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คงค้าง ซึ่งแม่บทการบัญชีได้ให้นิยามของคำว่า รายได้ และ ค่าใช้จ่าย รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขการรับรู้รายการรายได้และค่าใช้จ่ายไว้ รายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ตามหลักการบัญชีนั้น อาจมีทั้งรายการที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องหรือไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
เงื่อนไขเกี่ยวกับการรายได้ รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปของกระแสเข้า หรือการเพิ่มของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและขายตกลงและเปลี่ยนสินทรัพย์กันในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองกันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
การยกเว้นภาษีเงินได้และการให้สิทธิประโยชน์ ผู้ที่รับผิชอบด้านภาษีอากรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ควรศึกษาเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามกฎหมายอื่นเพิ่มเติม และควรติดตามการแก้ไขปรับปรุงประมวลรัษฎากร และอนุบัญญัติตามประมวลรัษฎากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การปฏิบัติทางภาษีเป็นอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์แก่กิจการ
เงื่อนไขเกี่ยวกับการตีราคาทรัพย์สินและหนี้สิน สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิการต้องสูญเสียทรัพยากรที่เป็นประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
เงื่อนไขเกี่ยวกับการตีราคาทรัพย์สินและหนี้สิน เงื่อนไขการตีราคาทรัพย์สิน เงื่อนไขเกี่ยวกับการตีค่าหรือราคาของทรัพย์สินหรือหนี้สิ้น ที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ เงื่อนไขเกี่ยวกับการตีราคาสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นรอบบัญชี เงื่อนไขการตีราคาทรัพย์สินในวันเลิกหรือควบเข้ากัน
บทที่ 8 การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล - ค่าใช้จ่ายและรายจ่ายทางบัญชี - เงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร - เงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่ายตามอนุมัติแห่งประมวลรัษฎากร และกฎหมายอื่น
ค่าใช้จ่ายและรายจ่ายทางบัญชี ค่าใช้จ่าย หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมตามปกติของกิจการ รายการขายทุนที่เป็นไปตามคำนิยามของค่าใช้จ่าย รวมถึงรายการขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้ว และขาดทุนจากการตีราคาทางบัญชี รายจ่าย หมายถึง รายการที่ได้รับเงินและ/หรือที่ได้จ่ายเงินไปแล้ว
เงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร 1. เงื่อนไขที่เป็นรายจ่ายต้องห้าม 2. เงื่อนไขการหักค่าสึกหรอ 3. เงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายหนี้สูญจาบัญชีลูกหนี้
เงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่ายตามอนุบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรและกฎหมายอื่น ประมวลรัษฎากร มีอนุบัญญัติหรือกฎหมายลูกที่เป็นเงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่ายที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลควรทราบนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาได้แก่ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร คำสั่งกรมสรรพากร
บทที่ 8 การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล(ต่อ) - อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล - การปรับกำไรทางบัญชีให้เป็นกำไรทางภาษี และการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล - การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลร้อยละ 30 ภาษีตามมาตรา 70 นอกจากที่ระบุใน (ค) ร้อยละ 15 ภาษีตามมาตรา 70 เฉพาะกรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ข) ร้อยละ 10 ภาษีตามมาตรา 70 ทวิ ร้อยละ 10 ภาษีจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้อันมิใช้รายได้ตามมาตรา 65 ทวิ (13) ร้อยละ 10
การปรับกำไรทางบัญชีให้เป็นกำไรทางภาษีและการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล วิธีที่นิยมใช้ในการคำนวณกำไรทางภาษี เพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ วิธีกระทบยอดกำไรทางบัญชีให้เป็นกำไรทางภาษี โดยนำรายได้และค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทางภาษีตามมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ มาตรา 65 ตรี มาตรา 70 ตรี และอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร รวมทั้งสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะได้ตามกฎหมายอื่น เช่น พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน
การคำนวณภาษีเงินนิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้จากฐานกำไรสุทธิมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 ครั้ง คือ ครึ่งรอบ และสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ พร้อมชำระภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับภาษีครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และชำระภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของวันครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 67 ทวิ โดยกำหนดให้ประมาณการกำไรเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
บทที่ 9 การบัญชีภาษีเงินได้ - นิยามศัพท์ที่ใช้ในการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ - เงื่อนไขการคำนวณกำไรทางภาษีที่ไม่สอดคล้องกับหลักการบัญชี - ผลแตกต่างชั่วคราวและสาเหตุที่ทำให้เกิดผลต่าง
นิยามศัพท์ที่ใช้ในการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ กำไร (ขาดทุน)ทางบัญชี หมายถึง กำไรหรือขาดทุนสำหรับงวดก่อนหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ กำไร(ขาดทุน)ทางภาษี หมายถึง กำไร(ขาดทุน) สำหรับงวด ซึ่งคำนวณตามเกณฑ์ของข้อบังคับที่กำหนดโดยหน่วยงานจัดเก็บภาษีเพื่อใช้คำนวณภาษีเงินได้ที่ต้องชำระหรือได้รับคืน ค่าใช้จ่าย(รายได้)ภาษีเงินได้ หมายถึง จำนวนรวมที่ใช้ในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสำหรับงวดบัญชีที่คำนวณเงินภาษีเงินได้ในงวดปัจจุบันและภาษีได้รอการตัดบัญชี ภาษีเงินได้ในงวดปัจจุบัน หมายถึง จำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ หรือสามารถขอคืนได้ โดยคำนวณจากกำไร (ขาดทุน) ทางภาษีสำหรับงวด
นิยามศัพท์ที่ใช้ในการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หมายถึง จำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องจ่ายในอนาคต ซึ่งเกิดจากผลแตกต่างชั่วคราวที่ต้องเก็บภาษี สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หมายถึง จำนวนภาษีเงินได้ที่สามารถขอคืนได้ในงวดอนาคตซึ่งเกิดจาก ผลแตกต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี ขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ยกไป เครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ยกไป ผลแตกต่างชั่วคราว หมายถึง ผลต่างระหว่างราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ หรือหนี้สินที่แสดงในงบดุลกับฐานภาษีของสินทรัพย์ หรือหนี้สินนั้น
นิยามศัพท์ที่ใช้ในการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฐานภาษีของสินทรัพย์และหนี้สิน หมายถึง จำนวนที่ถือเป็นมูลค่าของสินทรัพย์หรือหนี้สิน เพื่อประโยชน์ทางภาษีอากร ฐานภาษีของสินทรัพย์ หมายถึง ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่หักด้วยจำนวนที่กฎหมายภาษีอากรให้นำมาหักออกจากมูลค่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจทางภาษีที่กิกจารได้รับประโยชน์คืนจากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ถ้าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่ได้รับไม่ต้องเสียภาษี ฐานภาษีจะเท่ากับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ ฐานภาษีของหนี้สิน หมายถึง ราคาตามบัญชีของหนี้สินหักด้วยจำนวนของหนี้สินที่เกี่ยวข้องที่กฎหมายภาษีอากรอนุญาตให้นำไปหักภาษีอาการในอนาคต ในกรณีของรายได้ที่ได้รับล่วงหน้า ฐานภาษีของหนี้สินคือ มูลค่าตามบัญชีหักด้วยจำนวนของรายได้ที่ไม่ต้องนำไปเสียภาษีในงวดอนาคต
เงื่อนไขการคำนวณกำไรทางภาษีที่ไม่สอดคล้องกับหลักการบัญชี 1.เงื่อนไขทางภาษีที่ไม่มีผลต่อค่าภาษีเงินได้ในงวดอนาคต 1.1 เงื่อนไขที่เกี่ยวกับ รายได้ ที่เป็นเงินปันผลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และรายได้ที่ถูกประเมินหรือต้องกำหนดให้เท่ากับราคาตลาด หรือมูลค่ายุติธรรม 1.2 เงื่อนไขเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่าย ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ เงินบริจาคและค่าใช้จ่ายรายการอื่น ๆ ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนด 2. เงื่อนไขทางภาษีที่มีผลกระทบต่อค่าภาษีเงินได้ในงวดอนาคต
ผลต่างชั่วคราวและสาเหตุที่ทำให้เกิดผลแตกต่าง ผลแตกต่างชั่วคราว หมายถึง ผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หรือหนี้สินกับฐานภาษีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแยกผลแตกต่างชั่วคราวที่จะมีผลต่อค่าภาษีเงินได้ในอนาคต สาเหตุที่ทำให้เกิดผลแตกต่างชั่วคราว ได้แก่ เงื่อนไขทางภาษีเกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่ายบางรายการที่ให้รับรู้ได้ต่างงวดกับทางบัญชี ซึ่งรายได้และค่าใช้จ่ายมีผลกระทบกับราคาตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สินและทำให้ราคาตามบัญชีต่างไปจากฐานภาษี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดผลแตกต่างชั่วคราวที่จะมีผลต่อค่าภาษีในงวดอนาคต แต่อาจมีผลกระทบต่อค่าภาษีงวดปัจจุบันหรือไม่มีก็ได้
บทที่ 9 การบัญชีภาษีเงินได้(ต่อ) - การวัดมูลค่ารายการภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี - ผลแตกต่างชั่วคราวกับการรับรู้รายการภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี - ขั้นตอนการรับรู้รายการค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้หรือรายได้ภาษีเงินได้ - การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับภาษีเงินได้ในงบการเงิน
การวัดมูลค่ารายการภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี การวัดมูลค่าหนี้สิน/สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สำหรับงวดปัจจุบันและงวดก่อน ด้องรับรู้ด้วยจำนวนที่คาดว่าจะต้องจ่ายหรือได้รับคืนจากหน่วยงานที่จัดเก็บภาษี และกฎหมายภาษีอากร ที่มีผลบังคับใช้หรือผ่านขั้นตอนส่วนใหญ่เพื่อให้มีผลบังคับใช้ภายในวันที่ในงบดุล
ผลแตกต่างชั่วคราวกับการรับรู้รายการภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ผลแตกต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี เป็นผลแตกต่างชั่วคราวที่ทำให้เกิดจำนวนที่จะต้องเสียภาษี ซึ่งกิจการต้องนำมารวมคำนวณกำไร (ขาดทุน) ทางภาษีในงวดอนาคต ผลแตกต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี เป็นผลแตกต่างชั่วคราวที่ทำให้เกิดจำนวนที่สามารถนำไปใช้หักภาษีซึ่งกิจการต้องนำมารวมคำนวณกำไร (ขาดทุน)ทางภาษีในงวดอนาคต
ขั้นตอนการรับรู้รายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ณ วันต้นงวดบัญชีที่จะนำมาตรฐานการบัญชีภาษีเงินได้มาใช้ ให้รวบรวมรายการสินทรัพย์และหนี้สินที่ได้รับผลกระทบจากรายการปรับปรุงรายได้และค่าใช้จ่าย รวมทั้งรายการปรับปรุงมูลค่าสินทรัพย์ที่รับรู้ตรงไปยังส่วนของผู้ถือหุ้น ที่ทำให้ราคาตามบัญชีต่างจากฐานภาษี และผลกระทบนั้นจังมีผลต่อภาษีในงวดอนาคต ให้รับรู้รายการหนี้สิน/สินทรัพย์ภาษีเงินได้ด้วยการตัดบัญชี และปรับปรุงกำไรสะสมและส่วนเกินทุน-ปรับมูลค่าสินทรัพย์ เพื่อให้ยอดคงเหลือมีจำนวนเสมือนหนึ่งว่าได้นำวิธีหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีมาใช้ก่อนแล้ว
ขั้นตอนการรับรู้รายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ณ วันสิ้นงวดบัญชีให้รับรู้รายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ โดยมีขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล ดังนี้ รับรู้รายการภาษีเงินในงวดปัจจุบัน รับรู้รายการหนี้สิน/สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ปิดบัญชีที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้
การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับภาษีเงินได้ในงบการเงิน การแสดงรายการในงบการเงิน งบดุล งบกำไรขาดทุน การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี