Applied Behavioral Analysis ABA

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
อาจารย์ ดร. นฤมล รักษาสุข
Advertisements

การบริหารการพยาบาล เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการบริการพยาบาล
Drug Use Behavior พฤติกรรมการใช้ยา
Mathematical Model of Physical Systems. Mechanical, electrical, thermal, hydraulic, economic, biological, etc, systems, may be characterized by differential.
LIT MBA รุ่นที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา มกราคม 2559.
การบริหารโครงการ (Project Management) โครงการ คือ งาน (task) ซึ่งมีการ กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ที่ แน่นอนและมีความต้องการใช้ทรัพยากร ต่างๆใน แต่ละกิจกรรมโดย.
การฝึกอบรมคืออะไร.
นโยบาย และนโยบายการศึกษา
สัญญา หลักประกันและ การบริหารสัญญา
รายวิชา คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข
จิตวิทยาการเรียนรู้.
ตัวแบบสินค้าคงคลัง (Inventory Model)
Thai Quality Software (TQS)
การจัดการเชิงกลยุทธ์
การวิเคราะห์งบการเงิน
การส่งเสริมสุขจิต วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
E. I. SQUARE. All rights reserved
การบำบัดรักษาทางสังคมจิตใจ สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ในการอบรมการบริการผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสำหรับผู้ปฏิบัติ หลักสูตรกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
13 October 2007
การแบ่งส่วนตลาด การตลาดเป้าหมาย และการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ Market Segmentation, Market Targeting, and Product Positioning การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation)
Controlling 1.
การพัฒนางานผู้ป่วยนอก
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2548 เห็นชอบให้สำนักงาน กพร
Generic View of Process
Introduction to CRISP-DM
กระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภค (Consumer’s Decision Making)
พัฒนาระดับภาค ๖ ภาค การจัดทำแผน ปีงบประมาณ ๒๕๖๑
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร 2552 VS 2558
รวบรวมข้อมูลโดย กลุ่มแผนงานงบประมาณอุดมศึกษา สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สัญญาณและระบบ (SIGNALS AND SYSTEMS)
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางการตลาด Marketing Environmental Analysis
Multimedia Production
การบริหารกำลังคนภาครัฐ
เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา โดย อาจารย์สุวิสาข์ เหล่าเกิด
การมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชน: แนวคิด และประสบการณ์วิจัย
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง
4.8 พัฒนาการเด็กวัยเรียน
คณะบริหารธุรกิจ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท bu.ac.th
หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
ธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา
การจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง
การแบ่งส่วนตลาดและการตลาดเป้าหมาย (Market Segmentation and Targeting)
Function Based ตัวชี้วัดที่ 17
แนวคิดการจัดทำแผนพัฒนา และงบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
บทที่ 6 การแบ่งส่วนตลาด การตลาด เป้าหมาย และการวางตำแหน่ง ผลิตภัณฑ์
อาจารย์เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
โครงการพัฒนานักบริหารรุ่นใหม่ กรมอนามัย ประจำปีงบประมาณ 2558 ณ โรงแรมซัมมิท ไพน์เฮิร์สท กอล์ฟคลับ จ.ปทุมธานี
Selecting Research Topics for Health Technology Assessment 2016
เรื่องอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
กระบวนการเรียนรู้ของผู้บริโภค
UHC : Universal Health Coverage: Achieving Social Protection for All
การแบ่งส่วนตลาด การตลาดเป้าหมาย และการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ Market Segmentation, Market Targeting, and Product Positioning การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation)
(เครื่องมือทางการบริหาร)
ผศ.ดร.พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
โครงสร้างข้อมูล( Data Structure)
ตัวแบบพฤติกรรมผู้บริโภค (Model of Consumer Behavior)
ปศธ.พบดรีมทีม ร่วมสานฝันพัฒนา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในปี2551
บทที่ 5 ตัวแบบพฤติกรรมผู้บริโภค
พว.พิมพ์วรา อัครเธียรสิน
ตลาดบริการ และ ลูกค้าเป้าหมาย วิชาการจัดการธุรกิจบริการ
ทบทวนกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่สำคัญซี่งมีมิติในเชิงคดี
หน่วยการเรียนที่ 5 เทคนิคและวิธีการในการพัฒนาตน
รวมทั้งสิ้น (ล้านบาท)
Program Evaluation Achakorn Wongpreedee, Ph.D.
โดย สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดจันทบุรี
บทที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Applied Behavioral Analysis ABA นายบัณฑิต แจงประดิษฐ นักจิตวิทยาคลินิกชำนาญการ กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลแพร่

ABA เป็นกระบวนการ ที่เป็นวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการจัดการกับพฤติกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ

จุดมุ่งเน้นของ ABA 1.เน้นการปรับพฤติกรรมด้วยการวางเงื่อนไข 2.มุ่งทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้อินทรีย์เกิดพฤติกรรม เพื่อประโยชน์ในการ สร้างความเข้าใจ อธิบาย ทำนาย และควบคุม 3.เน้นสร้างพฤติกรรมใหม่ที่ดี และลดพฤติกรรมที่ไม่ดี 4.หมั่นเสริมแรงให้พฤติกรรมที่ดีนั้นคงอยู่ได้นานๆ 5.เน้นการปรับประยุกต์ตามสถานการณ์ และกาลเทศะที่เหมาะสม

ข้อตกลงพื้นฐาน พฤติกรรมคือ สิ่งที่มนุษย์กระทำและสามารถสังเกตเห็นได้ ทั้ง การกระทำในทางบวก และทางลบ เช่น การหายใจ การเล่นกับ เพื่อน การตี

สิ่งที่เกิดก่อนพฤติกรรม ABA Model Antecedents สิ่งที่เกิดก่อนพฤติกรรม Behavior พฤติกรรม Consequenes ผลที่ตามมา ( Good / Bad )

ผลที่ตามมาของพฤติกรรม เป็น ตัวกำหนดพฤติกรรมต่อไปเสมอ ABA Model ผลที่ตามมาของพฤติกรรม เป็น ตัวกำหนดพฤติกรรมต่อไปเสมอ

Antecedents สิ่งที่เกิดก่อนพฤติกรรม ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก อาการปวด งานยากมากจนเกินไป ความเหนื่อยล้า มีสิ่งที่บกพร่อง ความเบื่อเซ็ง เด็กพิเศษที่มีปัญหาด้านความต้องการ อาการของโรคทางกาย เด็กพิเศษที่มีปัญหาบกพร่องในทักษะด้านต่างๆ ระบบประสาทสัมผัส

Consequenes ผลที่ตามมา ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก อยากได้สิ่งเสริมแรง ผู้มีส่วนได้เสียในการ ให้หรือไม่ให้รางวัลแก่เด็ก Tangible มีพฤติกรรมเพื่อต้องการอะไรบางอย่าง ผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ Sensory ระบบประสาทสัมผ้ส

ขั้นตอนการวางแผนก่อนปรับพฤติกรรม 1.ต้องให้คำจำกัดความ หรือนิยามพฤติกรรมที่ต้องการจะปรับนั้นเสียก่อนว่าคืออะไร 2. กำหนดปริมาณและความถี่ของพฤติกรรมเป้าหมายของพฤติกรรมนั้นๆ ให้ชัดเจน ( กำหนดกรอบของพฤติกรรม ) 3.สังเกตและจดบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และตัวกระตุ้นที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก 4. กำหนดเป้าหมายของพฤติกรรมที่พึงประสงค์ว่าจะเอาแค่ไหน และปริมาณเท่าไหร่

ขั้นตอนการปรับพฤติกรรม ขั้นตอนที่ 1: ต้องมีการอธิบายเกี่ยวกับภูมิลักษณะของพฤติกรรมอย่างละเอียด ขั้นตอนที่ 2: มีการเก็บข้อมูลของพฤติกรรม ขั้นตอนที่ 3: มีการระบุหน้าที่ (Function ) ของพฤติกรรม ขั้นตอนที่ 4: มีการวางแผนการปรับพฤติกรรมอย่างเป็นขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 การอธิบายภูมิลักษณะของพฤติกรรมอย่างละเอียด ขั้นตอนที่ 1 การอธิบายภูมิลักษณะของพฤติกรรมอย่างละเอียด 1.เลือกพฤติกรรมที่ต้องการมา 1 พฤติกรรม เช่น พฤติกรรมทำร้ายตนเอง 2. อธิบายพฤติกรรมนั้นให้ชัดเจน : เช่น การกัดตนเอง เอามือทุบหัวตนเอง ระหว่าง ครั้งจะหยุด 1 นาที

การแยกความแตกต่างระหว่าง Topography กับ Function

Topography VS Function เป็นคำอธิบายลักษณะของพฤติกรรม เป็นสิ่งที่ผู้ปกครอง และครูมักจะมาพบและบอกถึง เช่น การตีเพื่อน กัดตัวเอง กรีดร้อง เอาหัวโขกผนัง ลักขโมย Function ทำไมพฤติกรรมนี้จึงต้องเกิดขึ้น สาเหตุของพฤติกรรม เช่น ต้องการความสนใจ ต้องการของกิน / ของเล่น

Topography or Function (Tantrum ) พูดหยาบคาย Topography or Function อยากเล่นมือถือ Topography or Function

Function or The Behavior Escape : การหลีกเหลี่ยงในสิ่งที่เด็กไม่อยากทำ โดยการยืดเวลาออกไป เพียงเล็กน้อยก็ตาม Attention : การเรียกร้องความสนใจ Tangible : การแสดงพฤติกรรม เพื่อต้องการอะไรบางอย่าง Automatic : พฤติกรรมที่กระตุ้นตนเอง ( มักพบในเด็กพิเศษ เช่นกลุ่ม Autism เช่น การกรีดร้อง ส่งเสียงดัง )

Function or Behavior A - ตัวแปรต้น (สิ่งที่เกิดขึ้นก่อนแสดงพฤติกรรม ) เช่น พ่อแม่กำลังคุยกัน B - พฤติกรรมที่เกิดขึ้น เช่น ลูกกรีดร้อง C - ผลที่ตามมา ( สิ่งที่เกิดขึ้นหลังเด็กมีพฤติกรรมแล้ว) เช่น พ่อแม่หยุดคุยกันแล้ว หันมาดุลูก เพราะฉะนั้น พฤติกรรมกรีดร้อง = พฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ (Attention )

Function or Behavior A - ตัวแปรต้น (สิ่งที่เกิดขึ้นก่อนแสดงพฤติกรรม ) เช่น เมื่อถึงเวลาต้องทำการบ้าน B - พฤติกรรมที่เกิดขึ้น เช่น ลูกกรีดร้อง ส่งเสียงดัง C - ผลที่ตามมา ( สิ่งที่เกิดขึ้นหลังเด็กมีพฤติกรรมแล้ว) เช่น พ่อบ่นจึงยืดเวลาการ ทำการบ้านของเด็กออกไป เพราะฉะนั้น พฤติกรรมกรีดร้อง = พฤติกรรมหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่อยากทำ (Escape )

Function or Behavior A - ตัวแปรต้น (สิ่งที่เกิดขึ้นก่อนแสดงพฤติกรรม ) เช่น ลูกกำลังเล่นมือถือ พ่อขอมือ ถือคืน B - พฤติกรรมที่เกิดขึ้น เช่น ลูกกรีดร้อง C - ผลที่ตามมา ( สิ่งที่เกิดขึ้นหลังเด็กมีพฤติกรรมแล้ว) เช่น พ่อให้เล่นมือถือต่อ เพราะฉะนั้น พฤติกรรมกรีดร้อง = พฤติกรรมที่แสดงเพื่อต้องการสิ่งบางสิ่ง (Tangible )

Function or Behavior A - ตัวแปรต้น (สิ่งที่เกิดขึ้นก่อนแสดงพฤติกรรม )เช่น เด็กออทิสติก เล่นอยู่แล้วรู้สึก เบื่อ B - พฤติกรรมที่เกิดขึ้น เช่น กรีดร้อง ส่งเสียงดัง C - ผลที่ตามมา ( สิ่งที่เกิดขึ้นหลังเด็กมีพฤติกรรมแล้ว) เช่น เด็กรู้สึกมีความสุขที่ได้ ทำพฤติกรรมดังกล่าว เพราะฉะนั้น พฤติกรรมกรีดร้อง = พฤติกรรมที่ทำเพื่อกระตุ้นตนเอง (Automatic )

เพราะอะไร Function จึงสำคัญ Function มีผลต่อ Intervention เป็นพื้นฐานของ Intervention ที่เฉพาะเจาะจง และมีประสิทธิภาพ เช่น เด็กมีพฤติกรรมไม่ยอมทำการบ้าน การปรับพฤติกรรมด้วยการทำ Time out จะไม่ได้ผล เพราะเด็กจะได้รับรางวัล คือ ไม่ต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ

คำถาม # 1 พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นเมื่อถูกร้องขอให้ทำงานที่ยาก Functionของพฤติกรรม คือ ? Escape Attention Tangible Automatic

คำถาม # 2 พฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นเมื่อต้องการให้เพื่อนในห้องมาเล่นหรือพูดคุยด้วยFunction ของพฤติกรรม คือ ? Escape Attention Tangible Automatic

คำถาม # 3 พฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นเมื่อเด็กต้องหยุดเล่นของเล่น หรือ หยุดทำกิจกรรมบางอยากที่ ตนเองชอบ Functionของพฤติกรรม คือ ? Escape Attention Tangible Automatic

คำถาม # 4 ทำพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นซ้ำๆเป็นเวลานาน ในขณะที่ไม่มีคนอยู่ในขณะนั้น Functionของพฤติกรรม คือ ? Escape Attention Tangible Automatic

คำถาม # 5 พฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นเมื่อจะให้เด็กไปอาบน้ำ Functionของพฤติกรรม คือ ? Escape Attention Tangible Automatic

คำถาม # 6 พฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นเมื่อเอาอาหาร ของเล่น หรือกิจกรรมบางอย่างออกไปจากเด็ก Functionของพฤติกรรม คือ ? Escape Attention Tangible Automatic

คำถาม # 7 พฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นเมื่อไม่มีใครให้ความสนใจกับเด็ก Functionของพฤติกรรม คือ ? Escape Attention Tangible Automatic

คำถาม # 8 พฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นเมื่อเด็กรู้สึกสนุกเมื่อกำลังทำพฤติกรรมนั้น Functionของพฤติกรรม คือ ? Escape Attention Tangible Automatic

คำถาม # 9 พฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นเมื่อเด็กพยายามทำให้คุณอารมณ์เสียหรือรำคาญเมื่อคุณไม่ให้ ความสนใจเขา Functionของพฤติกรรม คือ ? Escape Attention Tangible Automatic

คำถาม # 10 พฤติกรรมที่ปรากฏขึ้น และหยุดลงทันทีเมื่อเด็กได้ของเล่น อาหาร หรือกิจกรรมที่เขา ต้องการ Functionของพฤติกรรม คือ ? Escape Attention Tangible Automatic

คำถาม # 11 พฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นเมื่อเด็กต้องให้คุณใช้เวลาร่วมกับเขา Functionของพฤติกรรม คือ ? Escape Attention Tangible Automatic

คำถาม # 12 พฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นเมื่อเด็กถูกบอกว่าเขาไม่สามารถได้บางสิ่งที่เขาต้องการ Functionของพฤติกรรม คือ ? Escape Attention Tangible Automatic

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล Antecedent Low Attention : สภาวะที่เด็กไม่ได้รับความสนใจ Demand :เมื่อถูกขอร้องให้ทำงานต่างๆ Denied Access : การไม่ได้รับในสิ่งที่ร้องขอ / ถูกบังคับให้แบ่งปัน / ถูกริบสิ่งที่ ตนเองต้องการออกจากตัว Nome : ไม่มีทั้ง 3สิ่งที่กล่าวมา เด็กก็ทำพฤติกรรม เพื่อให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น หรือ เพื่อลดความเจ็บปวด

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล Consequences Attention : เด็กได้รับความสนใจทั้งทางบวกและทางลบ Escape :เด็กไม่ต้องทำในสิ่งที่ถูกร้องขอ หรือได้ยืดเวลาออกไป Access Granted: การได้รับอนุญาตให้เข้าถึงสิ่งของ กิจกรรม / ได้ยืดเวลาใน การเข้าถึงสิ่งของ อาหาร หรือกิจกรรม Nome : ไม่ใช่ 3 อย่างข้างบน ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล ควรดู Function ควบคู่กันทั้ง Antecedent และ Consequences หาก Consequences ไม่ชัดเจน ระบุ Function ไม่ได้ ให้กลับไปดู Function ที่ Antecedent เพื่อช่วยในการตัดสินใจ มีความเป็นไปได้ที่ Attention สูงควบคู่กับ Functionอื่นเนื่องจากเด็กมี พฤติกรรมอะไรซักอย่าง เรามักจะให้เป็น Attentionเสมอ

คำถาม ขณะคุณแม่กำลังอ่านหนังสือ น้องเหมียวก็มุดลงไปร้องไห้ใต้โซฟา คุณแม่จึงวาง หนังสือและอุ้มน้องเหมียวไปเล่นด้วย A: B: C:

คำถาม ขณะเมื่อจะต้องไปโรงเรียน ป็อบวิ่งไปที่โซฟาแล้วเอาหัวโขก จนแม่ต้องเข้ามายื้อยุด ฉุดกระชาก A: B: C:

คำถาม น้องพิงค์กำลังเล่นไอแพดอย่างสนุก คุณพ่อก็บอกว่า ได้เวลากินข้าวแล้ว น้องพิงค์ก็ลง ไปนอนดิ้นกับพื้น A: B: C:

พ่อแม่ทะเลาะกัน โยโย่ไม่ยอมไปโรงเรียน พ่อแม่จึงหยุดทะเลาะกัน แล้วมาถามอาการ ของโยโย่ A: B: C:

เมื่อครอบคัวกำลังดูละคร โทนี่จะกรีด ทำให้พ่อต้องดุโทนี่ ส่วนน้องและแม่หันมามอง A: B: C:

แดนเบื่อวิชาภาษาไทย จึงก่อกวนการเรียนของเพื่อน ครูหันมาดุ และให้แดนออกไปอยู่ นอกห้อง A: B: C:

คำถาม ขณะที่คุณแม่กำลังนั่งทำงาน บิ๊กเอาสีมาวาดที่ผนัง แม่จึงต้องลุกขึ้นมาดุบิ๊ก A: B: C:

คำถาม เมื่อคุณแม่เรียกทำการบ้าน เจมส์จะร้องไห้เสียงดัง แม่จึงต้องเรียกเจมส์มาอบรม A: B: C:

ขณะที่แพทกำลังเล่นบ้านบอล คุณแม่ชวนกลับบ้าน แพทจึงมีพฤติกรรมงอแงลงมือลง เท้า คุณแม่จึงยอมให้เล่นต่ออีก A: B: C:

ขั้นตอนที่ 3 ระบุหน้าที่ (Function ) ของพฤติกรรม มี 2 ในการประเมินบทบาทของพฤติกรรม ทางตรง เช่น การสังเกต ทางอ้อม เช่น การสอบถามข้อมูลจาก ครู ผู้ปกครอง

ขั้นตอนที่ 4 การวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขั้นตอนที่ 4 การวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม Antecedent Modification = ครู/ ผู้ปกครองต้องลงมือกระทำเพื่อ ไม่ให้เกิดพฤติกรรมบางอย่าง - การปรับเปลี่ยนที่ตัวแปรสาเหตุ - สิ่งที่ครู / ผู้ปกครองต้องชิงลงมือทำ ก่อนที่จะมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น

ขั้นตอนที่ 4 การวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขั้นตอนที่ 4 การวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2. Replace Behavior สอนพฤติกรรมใหม่ที่พึงประสงค์ให้แก่เด็ก เด็กทำพฤติกรรมใหม่ แล้วได้ผลตามที่เด็กต้องการ

ขั้นตอนที่ 4 การวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขั้นตอนที่ 4 การวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3. Behavior Management procedure สิ่งที่ผู้ปกครองทำ หลังจากมีพฤติกรรมเกิดขึ้น

Antecdent Modification Non – contingent Reinforcement NCR Task Modification Demand Fading Providing choice

Non – contingent Reinforcement NCR ให้รางวัลแก่เด็กไปก่อนตั้งแต่ยังไม่ต้องทำพฤติกรรม แต่การจะให้รางวัลอย่างไรต้องคำนึงถึง Function of the behavior Escape : ร้องไห้ไม่อยากไปโรงเรียน ให้เบรกบ่อยๆ Attention : แกล้งเพื่อนเพื่อเรียกร้องความสนใจ เพิ่มความสนใจในตัวของเด็ก มากขึ้น Tangible : เช่นให้ของเล่น หรือให้ทำกิจกรรมที่เด็กชอบ Automatic : เช่น นวด ให้กระโดดบน แทมโบริน จำไว้เสมอว่าการให้แบบฟรีๆ นี้ต้องตอบสนองต่อ Function

Task Modification เปลี่ยนงานให้ง่ายและสนุกขึ้น ให้ทำงานที่เปลี่ยนก่อนที่เด็กจะแสดงพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เพราะถ้าเปลี่ยนทีหลัง เด็กจะรู้ทันทีว่ามันคืองานที่เขาไม่ชอบอยู่ดีเช่น ตัวอย่าง แข่งกันล้างจาน (ใครเสร็จก่อนได้รางวัล ) แบ่งงานให้ทำเป็นกลุ่ม ช่วยเหลือบ้างในตอนแรกๆ แล้วค่อยๆลดความช่วยเหลือลง ใช้ได้ดีใน Function ,Tangible , Escape

Demand Fading ลดความต้องการลง แตกงานเป็นขั้นตอนง่ายๆ เริ่มทำจากงานที่ง่ายที่สุดก่อน ไม่ควรลัดขั้นตอนไปทำงานที่ยากขึ้น จนกว่าจะแน่ใจว่าเด็กทำงานก่อนหน้านี้ได้คล่อง แล้ว วิธีนี้ใช้ได้ดีใน Function , Escape

Providing choice ให้ทำงานที่ต้องทำแต่สามารถเลือกสิ่งที่ทำได้ เด็กจะรู้สึกว่าตนเองมีอำนาจควบคุมบางอย่างได้บ้างโดยไม่ต้องทำตามคำสั่งเพียง อย่างเดียว ตัวอย่าง หนูอยากทำการบ้านเลขก่อน หรือภาษาไทยก่อน วันนี้หนูอยากให้คุณพ่อหรือคุณแม่ไปส่งที่โรงเรียน หนูอยากปิดไอแพดเองหรืออยากให้คุณแม่ปิดให้ หนูอยากทำการบ้านในบ้านหรือในสวนนอกบ้าน

การปรับเปลี่ยน สถานที่ วิธีการเรียนรู้ อาหาร เวลา ขั้นตอน สิ่งที่ปรับเปลี่ยนนี้ควรทำก่อนเกิดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

# Replace Behavior การสอนพฤติกรรมทดแทน เป็นพฤติกรรมที่สอนให้เด็กทำทดแทนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ พฤติกรรมFunction เสมอ พฤติกรรมที่ให้ทำทดแทนกันต้องง่ายกว่าพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมฉีกหนังสือเพราะอยากได้ความสนใจ สอนให้กวักมือ / เรียก พฤติกรรมที่สอนให้เด็กทำทดแทนกันนี้ต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการของ เด็กได้ *** ต้องคำนึงไว้เสมอว่าสิ่งที่สอนบางอย่างที่เราคิดว่าง่ายอาจยากมากเกินไปสำหรับ เด็ก ***

# Behavior Management Procedure Extinction Overcorrection Timeout Response Cost Token System

Differential Reinforcement ความแตกต่างกันของการเสริมแรง DRO : Reinforcement of other behavior DRA : Reinforcement of alternative behavior DRI : Reinforcement of incompatible behavior DRL : Reinforcement of low rates behavior

Reinforcement of other behavior DRO เสริมแรงทุกพฤติกรรมเป้าหมาย เป็นการเสริมแรงตัวเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ อาจต้องมีการกำหนดช่วงเวลา เช่น ถ้าเด็กไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว อาจเสริมแรงทุกๆพฤติกรรม ในช่วงหลังอาหารเช้า หลังอาหารกลางวัน และหลังอาหารเย็น มักใช้ควบคู่กับเทคนิค Extinction ( การลดพฤติกรรมที่ไม่ดีลง ) การเสริมแรงต้องคำนึงถึง Function ของพฤติกรรมเสมอ

Reinforcement of alternative behavior DRA เสริมแรงเมื่อเด็กได้กระทำพฤติกรรมที่เราได้สอนทดแทนไป ถ้าเด็กทำพฤติกรรมอื่นให้ Extinction การเสริมแรงต้องคำนึงถึง Function ของพฤติกรรม เช่น Ex1 ถ้าเด็กทำลายข้าวของเพื่อต้องการเรียกร้องความสนใจ ให้ครูสอน พฤติกรรมที่ใช้ทดแทนกัน เช่น การเรียกครู ยกมือ กวักมือ ถ้าเด็กทำตามที่ครูสอน ก็ ให้การเสริมแรงทางบวกเช่น กอด ลูบหัว ยิ้ม พูดคุยด้วย Ex2 ร้องไห้เมื่ออยากกินขนม สอนให้ขอ และเสริมแรงเมื่อเด็กทำได้

Reinforcement of incompatible behavior DRI เสริมแรงกับพฤติกรรมทดแทนกัน สอนให้เด็กทำพฤติกรรมที่ทดแทนกัน โดยพฤติกรรมทกแทนนี้จะเป็นตัวขัดขวางให้ เด็กไม่สามารถกระทำพฤติกรรมที่ไม่ดี ซึ่งเมื่อเด็กทำตามพฤติกรรมทดแทนที่สอน ครูก็ให้การเสริมแรง เช่น พฤติกรรมชอบถอนผม สอนพฤติกรรมทดแทนเช่น หวีผม นวดศีรษะ หยิบขนมของคนอื่น สอนพฤติกรรมทดแทนคือ เอามือล้วงกระเป๋า เมื่อเด็กทำ พฤติกรรมทดแทนก็ให้ขนม กัดเพื่อน สอนพฤติกรรมทดแทน กัดผ้าเช็ดหน้า ครูต้องเริ่มให้ความสนใจและเบรก พฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็ก

ตัวอย่าง ผู้ป่วยสูบบุหรี่ = พฤติกรรมเป้าหมาย เคี้ยวหมากฝรั่งแทนการสูบบุหรี่ = พฤติกรรมทดแทน การกัดเล็บ = พฤติกรรมเป้าหมาย ยื่นมือมาให้ครูจับเอาไว้ = พฤติกรรมทดแทน ***จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมทดแทนต้องขัดขวางไม่ให้เด็กทำพฤติกรรม เป้าหมายได้สำเร็จ ****

Reinforcement of low rates behavior DRL : เสริมแรงต่อพฤติกรรมดำรงค์ดุล การเสริมพฤติกรรมที่มีอัตราการเกิดที่น้อยลง เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความพอดี ของพฤติกรรมที่มีอยู่ เป็นการปรับรูปแบบของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นแล้วแทนการกำจัด พฤติกรรม ซึ่งมี 2 วิธี 1.จำกัดพฤติกรรมคงที่แต่ขยายเวลาให้นานขึ้น เช่นผู้ป่วยต้องการลดกาดื่มกาแฟ จากเดิม 7แก้วต่อ 1สัปดาห์ ก็ขยายเวลาเป็น 7แก้ว ต่อ 2 สัปดาห์ 2. จำกัดจำนวนพฤติกรรมให้ลดลงในระยะเวลาคงเดิม เช่นลดการดื่มกาแฟ เป็น 4 แก้ว ต่อ 1 สัปดาห์

คำถาม

สวัสดีครับ