การอ้างอิงในเนื้อหา ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ จันทร์ลุน.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การจัดสรรตำแหน่งและการ คัดเลือก เพื่อบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเข้า รับราชการ.
Advertisements

รูปแบบรายงาน.
การจัดการองค์ความรู้ ( KM )
ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงงาน เรื่อง อินเทอร์เน็ต(Internet)
สรุปสถานการณ์การ ระบาดเพลี้ยแป้ง ระหว่างวันที่ สิงหาคม 2554.
กระบวนการของการอธิบาย
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
การแต่งกายประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
โปรแกรมคำนวณคะแนน สหกรณ์ ตามเกณฑ์ดีเด่นแห่งชาติ กรมส่งเสริม สหกรณ์ กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงิน และร้านค้า วิธีการใ ช้
การมอบนโยบายแนวทาง การปฏิรูปที่ดินประจำปี 2559 โดย นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส เลขาธิการ ส. ป. ก.
แนวทางการบริหารจัดการเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดย สหกรณ์ นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ วันที่
จัดทำโดย นางสาว อุศนันท์หาดรื่น ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ปีการศึกษา 2557.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ทิศทางการนำระบบบริหาร จัดการคลังข้อสอบ และการทดสอบมาตรฐานฝีมือ แรงงาน ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์สู่หน่วย ปฏิบัติ โดย วรรณี โกมลกวิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานกำหนด.
โดย... นายวินิจ รักชาติ อดีตผู้อำนวยการ สำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จังหวัด กาญจนบุรี
ของฝากสุรินทร์ : เม็ดบัวอบกรอบมาย, ผ้าไหม , ผักกาด ( Best 3 Souvenirs of Surin)
เกณฑ์การประเมินเพื่อ เลื่อนระดับสูงขึ้น
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
อาจารย์จุฑามาศ พรหมทอง สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
เครื่องมือเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด
การตรวจสอบ การคัดลอกผลงานทางวิชาการ ด้วยโปรแกรม Turnitin
การศึกษาประเภทเสียงและความหมายของคำในกลุ่มภาษาต่างประเทศ
เรื่อง ความพึงพอใจต่อการให้บริการห้องสมุด
(2)บรรณานุกรม.
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
คู่มือ การจัดทำและนำส่งการรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ทำแผน และผู้บริหารแผน ขั้นตอนที่
การดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
แนวทางใหม่ในการบริหารงานบุคคล ลูกจ้างประจำเงินรายได้
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงาน และการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
ผลงานทางวิชาการ ความหมาย ลักษณะ ประเภท
กลุ่มเกษตรกร.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การสร้างสรรค์และผลิตเครื่องมือการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร 1
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
คำสำคัญ : ความชุกวัณโรค, ผู้ต้องขังในเรือนจำ
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ผลการเรียนรู้ 1. สามารถบอกความหมายของการสืบค้นข้อมูลได้ 2. สามารถบอกประเภทของการสืบค้นข้อมูลได้ 3. สามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
ศูนย์ทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ ตัวชี้วัดกรม ตัวชี้วัดตามภารกิจหน่วยงาน แบบวิเคราะห์การถ่ายทอดตัวชี้วัด ความเชื่อมโยงการถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับหน่วยงานลงสู่ระดับกลุ่มงาน.
รายวิชา การบริหารการศึกษา
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
บรรยายครั้งที่ 8 - กราฟฟิกวิศวกรรม 1
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
การอ้างอิง.
ศาสนาเชน Jainism.
กิจกรรมที่ 7 นายปรีชา ขอวางกลาง
การจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
การขับเคลื่อน การจัดทำแผนการพัฒนากำลังคน รายจังหวัด
การวิเคราะห์กลั่นกรองหนังสือราชการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แนวทางการออกแบบนิตยสาร
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การอ้างอิงในเนื้อหา ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ จันทร์ลุน

การอ้างอิงในเนื้อหา การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี (Name –Year Reference) การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: เชิงอรรถ (Footnotes)

การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี วัตถุประสงค์ของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 1. บอกแหล่งที่มาของข้อมูลหรือข้อความต่าง ๆ ที่ยกมาเป็นการ ยืนยันหลักฐาน เพื่อความน่าเชื่อถือ(validation) 2. บอกแหล่งที่มาของข้อมูลหรือข้อความต่าง ๆ ที่ยกมาเป็นการ แสดงว่า ผู้เขียนได้นำข้อมูลหรือข้อความจะเป็นโดยการคัดหรือโดย การสรุปก็ตามจากงานเขียนของผู้อื่นมาใช้ เป็นการให้เกียรติแก่ ผลงานของผู้ได้ทำมาก่อน (acknowledgement)

ส่วนประกอบของรายงานทางวิชาการ ทบทวน 2. ส่วนเนื้อเรื่อง 2.2 ส่วนประกอบในเนื้อหา 2.2.1 อัญประภาษ หรือ อัญพจน์ คือ ข้อความที่คัดลอกมา 2.2.2 การอ้างอิง คือ การอ้างอิงในเนื้อหา 2.2.3 ตาราง 2.2.4 ภาพประกอบ

ตำแหน่งการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 1. เอาผู้แต่งไว้ในวงเล็บ จะระบุชื่อผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค (,) ปีที่พิมพ์ เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลข หน้าที่อ้างอิงจากเอกสารนั้น โดยพิมพ์ไว้ในวงเล็บต่อท้ายข้อความในเนื้อหา ผู้แต่งชาวไทย ระบุชื่อและชื่อสกุลของผู้แต่งสำหรับเอกสารที่เขียนทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ เครื่องหมายจุลภาค (,) ปีที่พิมพ์ เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลข หน้าที่อ้างอิง พิมพ์ไว้ในวงเล็บต่อท้ายข้อความในเนื้อหา ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระบุเฉพาะชื่อสกุลของผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค (,) ปีที่พิมพ์ เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าที่อ้างอิง พิมพ์ไว้ในวงเล็บต่อท้ายข้อความใน เนื้อหา ยกเว้นเมื่ออ้างชื่อของผู้แต่งชาวต่างประเทศเป็นภาษาไทย ต้องกำกับชื่อ ภาษาต่างประเทศไว้ในวงเล็บด้วย

เน้นเนื้อหา.............................(ชื่อผู้แต่ง,\ปีที่พิมพ์:\เลขหน้าที่อ้างอิง)

ตำแหน่งการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 2. เอาผู้แต่งไว้นอกวงเล็บ ใช้ในกรณีกล่าวถึงชื่อของผู้แต่งไว้ในข้อความแล้ว การอ้างอิงระบบ นาม-ปี ไม่ต้องระบุชื่อผู้แต่งไว้ในวงเล็บอีก ให้ระบุเฉพาะปีที่พิมพ์ เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าที่อ้างอิง ในกรณีชาว ต่างประเทศก็ให้ระบุชื่อสกุลของผู้แต่ง แล้วให้ระบุปีที่พิมพ์ เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าที่อ้างอิง ซึ่งโดยปกติชาว ต่างประเทศจะต้องอ่านชื่อทับศัพท์ภาษาไทยก่อนแล้ววงเล็บชื่อ ภาษาต่างประเทศไว้ในวงเล็บพร้อมปีพิมพ์ และเลขหน้า

เน้นเจ้าของเอกสาร ชื่อผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์:\เลขหน้าที่อ้างอิง).........................

ส่วนประกอบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 1. การเขียนชื่อผู้แต่ง 2. การเขียนชื่อเอกสาร 3. ปีที่พิมพ์ 4. การเขียนหมายเลขหน้า

ส่วนประกอบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 1. การเขียนชื่อผู้แต่ง 1.1 ผู้แต่งที่เป็นบุคคล 1.1.1 ผู้แต่งชาวไทย พิมพ์ “ชื่อ” ตามด้วย “ชื่อสกุล” ประยุทธ์ จันทร์โอชา กรณีมีฐานันดรหรือบรรดาศักดิ์ ให้ใส่คำเต็มของฐานันดร หรือบรรดาศักดิ์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

ส่วนประกอบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 1. การเขียนชื่อผู้แต่ง 1.1 ผู้แต่งที่เป็นบุคคล กรณีพระมีสมณศักดิ์ ให้ใส่คำเต็มของสมณศักดิ์ แล้วพิมพ์ชื่อผู้ แต่งในเครื่องหมายวงเล็บ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ) สำหรับพระที่ไม่มีสมณศักดิ์ให้พิมพ์ชื่อผู้แต่งตามที่ปรากฏที่ หน้าปกในหนังสือ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต

ส่วนประกอบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 1. การเขียนชื่อผู้แต่ง 1.1.2 ผู้แต่งชาวต่างประเทศพิมพ์เฉพาะชื่อสกุล Joy Hendry พิมพ์ Hendry ยกเว้นกรณีที่ผู้แต่งสกุลซ้ำกับรายการอื่น ให้ระบุทั้งชื่อสกุลและชื่อ โดยมี เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นระหว่างชื่อสกุลและชื่อ Arthur Judson Brown พิมพ์ Brown, Arthur Judson Beverly Brown พิมพ์ Brown, Beverly กรณีผู้แต่งสกุลซ้ำในรายการเดียวกัน ให้ระบุชื่อสกุลและชื่อของผู้แต่งคนแรก ส่วนผู้แต่งคนต่อไประบุเฉพาะสกุล M. A. Light and I. H. Light พิมพ์ Light, M. A., and Light

ส่วนประกอบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 1. การเขียนชื่อผู้แต่ง 1.2 ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน องค์กร หรือส่วนราชการ 1.2.1 กรณีที่มีทั้งชื่อหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย ให้ใส่เฉพาะ ชื่อหน่วยงานย่อยยกเว้นชื่อหน่วยงานย่อยเป็นชื่อทั่วไปที่ใช้ซ้ำกันใน หลาย ๆ หน่วยงาน ให้ใส่ชื่อหน่วยงานใหญ่ กรมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย

ส่วนประกอบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 1. การเขียนชื่อผู้แต่ง 1.2 ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน องค์กร หรือส่วนราชการ 1.2.2 กรณีเป็นหน่วยงานของรัฐบาล อย่างน้อยต้องเริ่มระดับกรม เช่น กรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ส่วนประกอบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 1. การเขียนชื่อผู้แต่ง 1.2 ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน องค์กร หรือส่วนราชการ 1.2.3 กรณีเป็นชื่อคณะกรรมการที่ได้รับการจัดตั้งโดยหน่วยงาน ให้ถือเป็น ส่วนหนึ่งของหน่วยงาน ต้องใส่ชื่อหน่วยงานหลักก่อน สำนักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการประสานงานและขับเคลื่อนการ ดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี 1.2.4 คณะกรรมการหรือหน่วยงานที่มีสำนักงานเป็นอิสระ ให้ใส่ชื่อ คณะกรรมการหรือหน่วยงานนั้น ราชบัณฑิตยสถาน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ส่วนประกอบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 1. การเขียนชื่อผู้แต่ง 1.3 ผู้แต่งใช้นามแฝง ให้พิมพ์ชื่อนามแฝงตามงานที่ปรากฏ โดยไม่ จำเป็นต้องค้นหานามจริง เสฐียรโกเศศ Alison 1.4 ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง 1.4.1 กรณีปรากฏชื่อผู้รวบรวม ผู้จัดพิมพ์ หรือบรรณาธิการ ให้พิมพ์ชื่อ ผู้รวบรวม ผู้จัดพิมพ์ หรือบรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี, บรรณาธิการ Medhi Krongkaew, ed.

ส่วนประกอบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 1. การเขียนชื่อผู้แต่ง 1.4 ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง 1.4.2 กรณีงานแปลที่ไม่ระบุชื่อผู้แต่งในภาษาเดิม ให้ระบุชื่อผู้แปล เช่น ถาวร สิกขโกศล, ผู้แปล 1.4.3 กรณีไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งและผู้รับผิดชอบอื่น ๆ ให้ใส่ชื่อเรื่อง ในตำแหน่งของผู้แต่ง เช่น อุรังคธาตุ

ส่วนประกอบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 2. การเขียนชื่อเอกสาร กรณีงานเขียนไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง หรือผู้รับผิดชอบอื่น ๆ ให้ใส่ชื่อ เรื่องในตำแหน่งของผู้แต่ง โดยพิมพ์ชื่อเรื่อง (title) ตามที่ปรากฏ ในหน้าปกใน (title page) ไม่ต้องพิมพ์ชื่อรอง (ถ้ามี) สำหรับชื่อเรื่องภาษาต่างประเทศ เฉพาะอักษรตัวแรกของคำแรก ของชื่อเรื่องให้ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (capital letter) กรณีเป็น ชื่อเฉพาะให้ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่กับอักษรตัวแรกของคำนั้น ๆ ด้วย Longman advanced American dictionary The International Who’s Who 1981-1982

ส่วนประกอบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 3. ปีที่พิมพ์ ให้ลงปีที่พิมพ์ของหนังสือตามที่ปรากฏในหน้าปกใน ถ้าปกในของ หนังสือไม่ระบุปีที่พิมพ์ ให้ใช้ปีที่พิมพ์ในหน้าหลังของปกใน หรือถ้า ไม่มีให้ใช้ปีที่พิมพ์ซึ่งอยู่กับชื่อของโรงพิมพ์ หรือใช้ปีลิขสิทธิ์แทน ให้ใส่ปีที่พิมพ์ที่ค้นได้ไว้ในเครื่องหมาย [ ] ในกรณีหาได้จากที่อื่นๆ นอกเหนือจากในตัวเล่ม ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ให้ระบุด้วยอักษรย่อ “ม.ป.ป.” (ไม่ปรากฏปีที่ พิมพ์) สำหรับภาษาอังกฤษใช้ “n.d.” (no date)

ส่วนประกอบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 4. การเขียนหมายเลขหน้า ใส่หมายเลขหน้าของเอกสารที่ปรากฏข้อความที่ยกมาอ้างหรือที่อ้างถึง โดยไม่ต้องใช้คำว่า “หน้า” หรือ “p.” (page) หรือ “pp.” (pages) ในกรณีไม่ปรากฏหมายเลขหน้าใช้คำว่า “ไม่ปรากฏเลขหน้า” หรือ “n. pag.” (no page) กรณีอ้างอิงถึงทฤษฎี ผลการสำรวจ หรือผลการวิจัยในลักษณะที่เป็น การสรุปแนวคิดโดยส่วนรวม จากเอกสารเรื่องนั้น ๆ ทั้งเล่ม หรืออ้างอิง จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การอ้างอิงให้ระบุชื่อผู้แต่งและปีที่พิมพ์โดยไม่ ต้องระบุเลขหน้า

พรวิไล จรรย์ศุภรินทร์ (2542) ได้ศึกษาเรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์ในห้องสมุดโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ...

รูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี ในวงเล็บ

รูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี ในวงเล็บ

รูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี ในวงเล็บ ตัวอย่างผู้แต่งมากกว่าสามคน ผู้แต่งชาวไทย ระบุชื่อและชื่อสกุลของผู้แต่งคนแรก แล้วตามด้วย “และคณะ” หรือ ” และคนอื่น ๆ” ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระบุเฉพาะชื่อสกุลของผู้แต่งคนแรก แล้วตามด้วย “and others” หรือ “et al.”

รูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี ในวงเล็บ

รูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี ในวงเล็บ

รูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี ในวงเล็บ

รูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี ในวงเล็บ

รูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี ในวงเล็บ

รูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี การอ้างอิงจากเอกสารหลายเรื่องในคราวเดียวกัน 1. ชื่อผู้แต่งและปีที่พิมพ์ซ้ำกัน งานของผู้แต่งคนเดียวกัน (หรือผู้แต่ง มากกว่า 1 คนขึ้นไป ที่มีลำดับผู้แต่งเหมือนกัน) พิมพ์เผยแพร่ในปีเดียวกัน ให้กำหนดอักษรกำกับไว้ต่อจากปีที่พิมพ์ ได้แก่ ก ข ค สำหรับภาษาไทย และ ภาษาต่างประเทศใช้ a b c ใช้อักษรชื่อเรื่องเป็นเกณฑ์ในการจัดเรียง ตัวอย่าง ภุชชงค์ จันทวิช. (2528ก). “เครื่องถ้วยที่พบใหม่ในจังหวัดตาก.” ศิลปวัฒนธรรม 6, 5 (มีนาคม): 12-15. ภุชชงค์ จันทวิช. (2528ข). “ไปดูสมบัติพระนางจามเทวีที่บ้านสันกาวาฬ.” ศิลปวัฒนธรรม 6, 10 (สิงหาคม): 34-38.

รูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี การอ้างอิงจากเอกสารหลายเรื่องในคราวเดียวกัน 2. ชื่อผู้แต่งซ้ำกัน แต่ปีที่พิมพ์ต่างกัน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งเพียงครั้งเดียว แล้ว เรียงลำดับเอกสารหลายเรื่องนั้นไว้ตามลำดับของปีที่พิมพ์ โดยใช้ เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่น

รูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี การอ้างอิงจากเอกสารหลายเรื่องในคราวเดียวกัน 3. ชื่อผู้แต่งไม่ซ้ำกัน ให้เรียงเอกสารตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง โดยใช้ เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นระหว่างเอกสาร

รูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี การอ้างอิงหนังสือหลายเล่มจบ (ชื่อผู้แต่ง, ปี: หมายเลขของเล่มที่อ้าง: หมายเลขหน้าที่อ้าง)

รูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี การอ้างอิงจากหลักฐานทุติยภูมิ ใช้ในกรณีไม่ได้อ่านต้นฉบับจริง แต่ได้ จากการอ่านงานของผู้อื่นอีกครั้งหนึ่ง การเขียนอ้างอิงสำหรับกรณีเช่นนี้เขียนได้ 2 แบบ ดังนี้ 1. ถ้าขึ้นต้นด้วยเอกสารปฐมภูมิ มีวิธีอ้างดังนี้ (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, 2459: 110, อ้างถึงใน แม้นมาส ชวลิต, 2509: 38) 2. ถ้าขึ้นต้นด้วยเอกสารทุติยภูมิ มีวิธีอ้างดังนี้ (แม้นมาส ชวลิต, 2509: 38, อ้างจาก สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, 2459: 110)

รูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบุผู้แต่งและปีพิมพ์เช่นเดียวกับหนังสือ แต่เนื่องจากสารสนเทศประเภทนี้ มักมีการปรับปรุงให้ ทันสมัยอยู่เสมอ จึงให้ระบุปีที่เอกสารได้รับการ ปรับปรุงในตำแหน่งปีพิมพ์ หากไม่มีข้อมูลดังกล่าวให้ระบุปีที่ค้นเอกสาร แทน และไม่มีการระบุเลขหน้า

การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: เชิงอรรถ

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ เชิงอรรถอ้างอิง (Citation Footnotes) เชิงอรรถเสริมความ (Content Footnotes) เชิงอรรถโยง (Cross-Reference Footnote)

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ 1. เชิงอรรถอ้างอิง เชิงอรรถอ้างอิง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. บอกแหล่งที่มาของข้อมูลหรือข้อความต่าง ๆ ที่ยกมาเป็นการยืนยัน หลักฐาน เพื่อความน่าเชื่อถือ (validation) 2. บอกแหล่งที่มาของข้อมูลหรือข้อความต่าง ๆ ที่ยกมาเป็นการแสดงว่า ผู้เขียนได้นำข้อมูลหรือ ข้อความจะเป็นโดยการคัดหรือโดยการสรุปก็ตาม จากงานเขียนของผู้อื่นมาใช้ เป็นการให้เกียรติแก่ผลงานของผู้ได้ทำมาก่อน (acknowledgement)

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ 1. เชิงอรรถอ้างอิง การให้หมายเลขเชิงอรรถ การให้หมายเลขเชิงอรรถ ให้เรียงลำดับตัวเลขตั้งแต่ 1 ไปจนจบบท และเริ่มลำดับตั้งแต่ 1 อีก เมื่อขึ้นต้นบทใหม่ ตำแหน่งของเชิงอรรถ ตำแหน่งของเชิงอรรถให้วางเชิงอรรถไว้ส่วนล่างสุดของแต่ละหน้าที่มี การอ้างอิง โดยคั่นเนื้อเรื่องกับเชิงอรรถด้วยเส้นขีดจากขอบกระดาษ ด้านซ้ายมือยาว 2 นิ้ว การพิมพ์เชิงอรรถ บรรทัดแรกของเชิงอรรถแต่ ละรายการจะเว้นย่อหน้า 0.75 นิ้ว บรรทัดต่อไปพิมพ์ชิดขอบกระดาษ ด้านซ้ายตามปกติ

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ 1. เชิงอรรถอ้างอิง ส่วนประกอบของเชิงอรรถอ้างอิง 1. การเขียนชื่อผู้แต่ง 2. การเขียนชื่อเอกสาร 3. ครั้งที่พิมพ์ 4. ข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์ 5. การเขียนหมายเลขหน้า

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ 1. เชิงอรรถอ้างอิง 1. การเขียนชื่อผู้แต่ง หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับนามปี แตกต่างกันในการจัดรูปแบบ เช่น ผู้แต่งใช้นามแฝง ให้พิมพ์ชื่อนามแฝงตามงานที่ปรากฏ เช่น นุชนาถ [นามแฝง] กรณีปรากฏชื่อผู้รวบรวม ผู้จัดพิมพ์ หรือบรรณาธิการ เช่น ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี, บรรณาธิการ กรณีงานแปลที่ไม่ระบุชื่อผู้แต่งในภาษาเดิม เช่น ถาวร สิกขโกศล, ผู้แปล ถ้าไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งใช้ชื่อเรื่องแทน

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ 1. เชิงอรรถอ้างอิง 2. การเขียนชื่อเอกสาร พิมพ์ชื่อเรื่อง (title) ตามที่ปรากฏในหน้าปกใน (title page) สำหรับชื่อเรื่องภาษาต่างประเทศ เฉพาะอักษรตัวแรกของคำแรกของชื่อเรื่อง และชื่อรองให้ใช้ อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (capital letter) กรณีเป็นชื่อเฉพาะ ให้ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่กับอักษรตัวแรกของคำนั้น ๆ Information literacy landscapes : Information literacy in education, workplace and everyday contexts

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ 1. เชิงอรรถอ้างอิง 3. ครั้งที่พิมพ์ ให้ใช้ตั้งแต่ครั้งที่ 2 ขึ้นไป และรายละเอียดการพิมพ์อื่นๆ ด้วย เช่น พิมพ์ครั้งที่ 2 2nd ed. พิมพ์แก้ไขครั้งที่ 3 3rd ed., rev. พิมพ์ครั้งที่ 3 3th ed.

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ 1. เชิงอรรถอ้างอิง 4. ข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์ 4.1 เมืองที่พิมพ์ ถ้าปรากฏชื่อเมืองหลายเมือง ให้ใส่ชื่อเมืองแรกชื่อเดียวเท่านั้น ถ้าไม่ปรากฏเมืองที่พิมพ์ให้ระบุด้วยอักษรย่อ “ม.ป.ท.” (ไม่ ปรากฏสถานที่พิมพ์) ภาษาอังกฤษ ใช้ “n.p.” (no place)

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ 1. เชิงอรรถอ้างอิง 4. ข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์ 4.2 สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์ พิมพ์เฉพาะชื่อสำนักพิมพ์ เช่น เคล็ดไทย สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีไม่มีสำนักพิมพ์ให้ใช้โรงพิมพ์แทน เช่น โรงพิมพ์กรมการศาสนา Columbia University Press ถ้าในหนังสือไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ให้ระบุด้วยอักษรย่อ “ม.ป.ท.” (ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์) ภาษาอังกฤษใช้ “n.p.” (no publisher) กรณีไม่ปรากฏทั้งเมืองที่พิมพ์และสำนักพิมพ์ให้ใช้ “ม.ป.ท.” สำหรับหนังสือ ภาษาไทย และ “n.p.” สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ เพียงตัวเดียว

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ 1. เชิงอรรถอ้างอิง 4. ข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์ 4.3 ปีที่พิมพ์ ให้ลงปีที่พิมพ์ของหนังสือตามที่ปรากฏในหน้าปกใน ถ้าปกในของหนังสือไม่ระบุปีที่พิมพ์ ให้ใช้ปีที่ พิมพ์ในหน้าหลังของปกใน หรือถ้าไม่มีให้ใช้ปีที่พิมพ์ซึ่งอยู่กับชื่อของโรงพิมพ์ หรือใช้ปีลิขสิทธิ์แทน ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ให้ระบุด้วยอักษรย่อ “ม.ป.ป.” (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) สำหรับภาษาอังกฤษ ใช้ “n.d.” (no date) การพิมพ์วันที่ เดือน ปี เอกสารภาษาไทย พิมพ์ วันที่ เดือน ปี สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษพิมพ์ เดือน วันที่, ปี เช่น 30 พฤศจิกายน 2553 November 30, 2010

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ 1. เชิงอรรถอ้างอิง 5. การเขียนหมายเลขหน้า ใส่หมายเลขหน้าของเอกสารที่ปรากฏข้อความที่ยกมาอ้างหรือที่อ้างถึง โดย ไม่ต้องใช้คำว่า “หน้า” หรือ “p.” (page) หรือ “pp.” (pages) นำหน้า หมายเลขของหน้า ในกรณีไม่ปรากฏหมายเลขหน้าใช้คำว่า “ไม่ปรากฏเลข หน้า” สำหรับเอกสารภาษาไทย และใช้คำว่า “n. pag.” (no page) สำหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ

รูปแบบของเชิงอรรถอ้างอิง 1. หนังสือ

รูปแบบของเชิงอรรถอ้างอิง 1. หนังสือ ประเสริฐ ณ นคร, โคลงนิราศหริภุญชัย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ท่า พระจันทร์, 2516), 26. สมิทธิ ศิริภัทร และอุไรศรี วรศะริน, วัดส้ม (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญพาณิชย์ , 2520), 59. สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย, บรรณารักษศาสตร์ชุดประโยคครูมัธยม (พระนคร: สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย, 2507), 1-7.

รูปแบบของเชิงอรรถอ้างอิง 2. บทความเฉพาะบางเรื่องในหนังสือรวมเล่ม สืบศักดิ์ สนธิรัตน และพงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศัตรูพืช,” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการศัตรูพืช หน่วยที่ 1-7 สาขาวิชาส่งเสริม การเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (นนทบุรี:สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2539), 1-40.

รูปแบบของเชิงอรรถอ้างอิง 3. บทความในวารสาร ศรีศักร วัลลิโภดม, “ข้าวกับการพัฒนาของรัฐในประเทศไทย,” ศิลปวัฒนธรรม 6, 7 (พฤษภาคม 2528): 114-118. Katie Wilson, “Rights and responsibilities in interlibrary cooperative ventures,” Southeastern Librarian 30 (Spring 1980): 22.

รูปแบบของเชิงอรรถอ้างอิง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 1. ระบบออนไลน์ 1.1 ข้อมูลจากเว็บไซต์ กาญจนา นาคสกุล, เครื่องหมายทวิภาค, เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2554, เข้าถึงได้จาก http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=314

รูปแบบของเชิงอรรถอ้างอิง เชิงอรรถแบบย่อ ใช้ในกรณีที่ต้องการอ้างอิงซ้ำถึงเอกสารที่ได้เคยอ้างมาแล้ว 1. การอ้างเอกสารนั้นซ้ำโดยไม่มีเอกสารอื่นมาคั่น และข้อความที่นำมาอ้างปรากฏอยู่ ในหน้าเดียวกัน ให้ใช้ “เรื่องเดียวกัน” สำหรับเอกสารภาษาไทย เอกสารภาษาต่างประเทศใช้ “Ibid.” 2. การอ้างเอกสารนั้นซ้ำโดยไม่มีเอกสารอื่นมาคั่น แต่ข้อความที่นำมาอ้างปรากฏอยู่ใน ต้นฉบับต่างเลขหน้ากัน ให้ระบุหมายเลขหน้าที่อ้างด้วย เช่น เรื่องเดียวกัน, 20. หรือ Ibid., 20. 3. การอ้างเอกสารนั้นซ้ำในบทเดียวกันและมีเอกสารอื่นมาคั่น ให้เขียนเชิงอรรถแบบย่อ โดยระบุเพียงรายการที่เกี่ยวกับผู้แต่ง ชื่อเรื่องและหน้าที่อ้างถึง

รูปแบบของเชิงอรรถอ้างอิง

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ 2. เชิงอรรถเสริมความ เชิงอรรถเสริมความ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ขยายความคิดหรือข้อมูลที่ทำได้ไม่เต็มที่ในส่วนเนื้อหา เพราะอาจทำให้เกิด ความสับสนหรือทำให้กระแสความคิดขาดความต่อเนื่อง จึงเขียนขยายประเด็น ปัญหาหรืออธิบายความเพิ่มเติมไว้ต่างหาก (content footnote) 2. แจ้งให้ผู้อ่านอ่านเรื่องราวในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องตอนนั้นจาก หน้าอื่นของงานเล่มเดียวกัน โดยไม่ต้องกล่าวซ้ำอีก (cross-reference) เพื่อให้ผู้อ่านติดตามความคิดหรือเนื้อเรื่องให้กระชับมากขึ้น

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ 2. เชิงอรรถเสริมความ อธิบายหรือขยายความเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจนขึ้น เรียกว่า การอ้างอิงใน เชิงอรรถเสริมความ (content footnote) ให้แยกส่วนที่เสริมความนั้น ออกมาต่างหาก พิมพ์ไว้ที่ส่วนล่างของแต่ละหน้าที่อ้างอิงเช่นเดียวกันกับ เชิงอรรถปกติ ถ้าข้อความที่ปรากฏในเชิงอรรถเสริมความนั้นไม่ใช่เนื้อหาที่ ผู้เขียนเขียนขึ้นเอง ให้ระบุแหล่งที่มาตามหลักเกณฑ์การเขียนเชิงอรรถ อ้างอิง หรือในกรณีที่ต้องการโยงไปให้ดูเรื่องที่เกี่ยวข้องในหน้าอื่นหรือบท อื่น

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ เชิงอรรถเสริมความ

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ เชิงอรรถเสริมความ

รายงานประจำภาค: งานกลุ่ม ให้ใช้การอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ นาม-ปี ศึกษาคู่มือที่เรียนอย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อให้การอ้างอิงถูกต้องมาก ที่สุด การนำเนื้อหามาทำรายงานเราไม่ได้เขียนขึ้นเองจึงต้องมีการอ้างอิง ว่าข้อความ ข้อเขียน หรือประโยคต่างๆ ที่นำมานั้นเอามาจากแหล่ง ใด สัปดาห์หน้าจะแจ้งรายละเอียดการทำรายงานทั้งหมดใน Blog