เอกสารประกอบการสอน วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมบริการ (TAH1201) Tourism Industry and Hospitality Management Program.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
วิเคราะห์ประวัติศาสตร์สังคมไทย
Advertisements

ครูรุจิรา ทับศรีนวล “Travel plan”. “Travel plan”
ประเภทบุคลากร นักวิชาการสาธารณสุข, นักทรัพยากรบุคคล, จพ.ธุรการ Production Line 1.จัดทำแผนบุคลากร 2.จัดประชุม/สัมมนา 3.ประเมินผลและจัดการความรู้ 4.ร่วมผลิตบุคลากรทางการแพทย์
Operations in the Tourism Industry
บทที่ 4 กลยุทธ์ระบบสารสนเทศ
ความก้าวหน้าการพัฒนากฎหมาย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอนามัย
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริการ
การเพิ่มผลผลิต.
แผนยุทธศาสตร์และการบริหารโครงการ
เอกสารประกอบการสอน บทที่ 4 ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ Tourism Industry and Hospitality Management Program.
แนวปฏิบัติสำหรับการศึกษานานาชาติ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ (eTourism) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรวัต แสงสุริยงค์ URL:
การเตรียมพร้อมทรัพยากรมนุษย์สู่ไทยแลนด์ 4.0
ทรัพยากรการท่องเที่ยว (TIM 1301)
การจัดการองค์ความรู้
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 1 : Introduction to Data Communication and Computer Network Part2 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ.
จรรยาบรรณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ
แผนการดำเนินงาน Highlight ปี 2559
นโยบายการพัฒนาสถานประกอบการเพื่อสุขภาพมุ่งสู่คุณภาพ
ความรู้เกี่ยวกับการ นำเข้าและส่งออก
การเตรียมความพร้อมในการจัดทำงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
TIM2303 การขายและตลาดอุตสาหกรรมท่องเที่ยว SALE & MARKETING IN Tourism Industry อ.เอกชัย สีทำมา.
หน่วยที่ 3 องค์การและการบริหารงานภายในองค์กร Organization & Management
GATT & WTO.
ตราประจำสถาบันของท่าน (ถ้ามี)
Globalization and the Law
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-Historic) ประมาณ 40,000 – 4,000 ปี ก่อนค.ศ.
บทที่ 2 อุปสงค์และอุปทานการท่องเที่ยว
Tourism Industry Vs Retail Business in Thailand Suan Sunandha Rajabhat University Bangkok, Thailand January 13, 2019.
เอกสารประกอบการสอน บทที่ 3 ความสำคัญและ ผลกระทบจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ Tourism Industry and Hospitality Management Program.
การพัฒนาระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ National e-Payment
แผนบริหารความเสี่ยง (องค์กร) ปี 2562 มทร.พระนคร
ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ปี 2559 : ผู้ประกอบการพร้อมหรือยัง..... กับการรับมือเศรษฐกิจซึมยาว
หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
การจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-Historic) ประมาณ 40,000 – 4,000 ปี ก่อนค.ศ.
Time management.
Welcome! ภาคการศึกษา 2 /2546 วิชา การเงินระหว่างประเทศ (International Finance) ผู้สอน ดร. ลักคณา วรศิลป์ชัย 4/10/2019.
THM 3307 การจัดการงานฝ่ายห้องพัก 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้
THM3430 การจัดการไมซ์ในธุรกิจที่พักแรม
Selecting Research Topics for Health Technology Assessment 2016
เอกสารประกอบการสอน บทที่5 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการโรงแรม
นโยบายและทิศทางการส่งเสริมสุขภาพในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง
เอกสารประกอบการสอน บทที่6 นักท่องเที่ยว และพฤติกรรมการเดินทางในรูปแบบต่างๆ Tourism Industry and Hospitality Management Program.
Education การศึกษาในยุคกลาง
เอกสารประกอบการสอน บทที่ 7 แนวโน้มและ สถานการณ์ด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทยอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ Tourism Industry and Hospitality Management.
SERVICE MARKETING การตลาดบริการ • ความหมายของการบริการ • ความสำคัญของการบริการ • ความแตกต่างระหว่างสินค้าและการบริการ • ประเภทธุรกิจบริการ.
เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของ Meetings
แนวทางปฏิบัติด้านการเงินของ ศบท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
การควบคุม (Controlling)
ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ
บทที่ 6 การเขียนผังงาน (Flowchart)
อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน)
นโยบายและแนวทางในการกำกับมาตรฐาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริการ
ความหมายประเภทนักท่องเที่ยว
สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
นักท่องเที่ยวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ตราประจำสถาบันของท่าน Results and Discussion
ยุคกลาง : Medieval Age The Manor System.
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ การท่องเที่ยว และทรัพยากรการท่องเที่ยว.
สรุปผลการตรวจสอบ รายงานการจัดการพลังงาน ประจำปี 2554มี ความครบถ้วนและถูกต้องตามที่กฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ กำหนดทุกประการ.
รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การปกครองท้องถิ่นไทย PPA 1103
การจัดการงานคลังและงบประมาณ อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เอกสารประกอบการสอน วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมบริการ (TAH1201) Tourism Industry and Hospitality Management Program

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น วิวัฒนาการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ขอบข่ายและความหมายของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรมบริการที่ประกอบด้วยธุรกิจมากมาย ประเภททั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจจัดนำเที่ยว ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร และธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยทางอ้อม ได้แก่ ธุรกิจด้านการ ก่อสร้าง ร้านบริการซักรีด ร้านเสริมสวย ธุรกิจโฆษณา เป็นต้น การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรม (Industry) ที่ทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด ยิ่ง วิทยาการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่มีมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้อุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยวมีบทบาทมากเท่านั้น เพราะมนุษย์เราต้องการพบเห็นสิ่งใหม่ๆ และต้องการ ศึกษาหาความรู้ประสบการณ์ และต้องการเปลี่ยนบรรยากาศที่ซ้ำซากจำเจจากชีวิตการ ทำงานรวมทั้งมีความจำเป็นด้านอื่นๆเช่น การเดินทางเพื่อเยี่ยมเยือนเพื่อนฝูง ญาติมิตร หรือการเดินทางเพื่อร่วมประชุมสัมมนา

ความหมายของการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว(Tourism) เป็นกระบวนการ กิจกรรม และผลที่ได้จากความสัมพันธ์ และปฎิสัมพัธ์ระหว่าง นักท่องเที่ยว ผู้ให้บริการ การท่องเที่ยว เจ้าของบ้าน ชุมชน รัฐบาล และสิ่งแวดล้อม โดยมีองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ปัจจัย คือ การเดินทาง การพัก ค้างแรม และการกินอาหารนอกบ้าน (Goeldner&Ritchie,2012:7)

1.ต้องเป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว สหพันธ์องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ (Inter-national Union of Official Travel Organization:IUOTO) ได้ให้ความหมายของ “การท่องเที่ยว” ว่าจะต้องเป็นการท่องเที่ยวที่มีเงื่อนไขตามหลักสากล ดังต่อไปนี้ 1.ต้องเป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว 2.ต้องเป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ 3.ต้องเป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆก็ตามที่มิใช่เพื่อประกอบอาชีพหรือหารายได้ในการนั้น

องค์การการท่องเที่ยวโลก(World Tourism Organization :WTO) ได้ให้คำจำกัดความว่า “การท่องเที่ยว ประกอบด้วย กิจกรรมการท่องเที่ยวของบุคคลไปยังสถานที่ต่างๆและพำนักนอดเขต สถานที่พักปกติของตน ในระยะเวลาไม่เกิน1ปี ติดต่อกัน เพื่อการพักผ่อน ธุรกิจ และวัตถุประสงค์ อื่นๆ” (Goeldner&Ritchie,2012:7) นอกจากนี้ ยังได้ให้คำจำกัดความของคำต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการ ท่องเที่ยว ได้แก่ ผู้มาเยือน(Visitors) หมายถึง บุคคลซึ่งมา(หรือไป) ยังประเทศหนึ่งซึ่งมิใช่การอยู่อาศัย ถาวร ด้วยเหตุจูงใจใดก็ได้ ซึ่งมิใช่การอยู่อาศัยถาวร ด้วยเหตุจูงใจใดก็ได้ ซึ่งมิใช่เป็นการไปประกอบ อาชีพที่ได้รับค่าจ้างตอบแทน และเข้ามาอยู่อย่างน้อย 24 ชั่วโมงหรือมากกว่าแต่ไม่เกิน 12เดือน และ มีเหตุจูงใจในการเยือนเพื่อการพักผ่อน หรือเพื่อการปฎิบัติภารกิจอื่นๆ ส่วนบุคคลเช่น ช้อปปิ้ง พบ แพทย์ หรือเพื่อเยี่ยมเพื่อหรือญาติ หรือเพื่อธุรกิจ เช่นการปรึกษาหารือทางธุรกิจ การ ประชุมสัมมนา การดูงาน ฯลฯ

ผู้มาเยือนมี 2 ประเภท คือ “นักท่องเที่ยว” (Tourists) และ “นักทัศนาจร” (Excurionists) ดังนี้ 2.นักทัศนาจร (Excursionist) คือ ผู้ที่เดินทางมาเยือนชั่วคราวที่เข้าไปอยู่ในประเทศเพียงวันเดียว (น้อยกว่า 24ชั่วโมง) และมิได้พักค้างคืน รวมทั้งผู้โดยสารพาหนะทางเรือ ประเภทเรือสำราญ(Cruise) ด้วย

สำหรับ”นักท่องเที่ยวภายในประเทศ” (Domestic Tourists) คือ นักท่องเที่ยวที่ เดินทางไปไหนก็ตามโดยใช้เส้นทางที่มิได้ใช้อยู่เป็นปกติประจำวัน และมีระยะทาง น้อยกว่า 80 กิโลเมตร (50 ไมล์) หรือออกไปนอกเขตจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของตน (Wiley,2546) และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก็ได้ให้คำจำกัดความตามที่องค์การการ ท่องเที่ยวโลกกำหนดขึ้นที่กรุงโรม เป็นหลักในการจดบันทึกรวบรวมสถิติจำนวน “นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ” (International Tourist) เช่นเดียวกัน

ความหมายของธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจท่องเที่ยว (Tourism Business) หมายถึง การดำเนินกิจกรรมบริการด้านการ ท่องเที่ยว ได้แก่ บริการด้านการเดินทางบริการด้านอาหารและการพักแรม และบริการ ด้านการนำเที่ยวซึ่งเป็นการดำเนินการโดยหวังผลกำไร ธุรกิจท่องเที่ยวจึงเป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมบรืการที่มีผลต่อเศรษฐกิจของชาติ และเป็นอุตสาหกรรมหลักที่เกื้อหนุนภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ทำให้ธุรกิจอื่นๆมากมายเช่น ธุรกิจที่พัก ธุรกิจด้านภัตตาคาร ผลิตผลทางการเกษตร สินค้าเบ็ดเตล็ดอื่นๆ

จีและคณะ (Gee, Choy & Makens , 1984:14) ได้อธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกับธุรกิจต่างๆดังต่อไปนี้ 1.ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว เช่น สายการบิน โรงแรมและที่พัก การขนส่งภาคพื้นดิน บริษัทนำเที่ยว ร้านอาหาร ภัตตาคารและร้านค้าปลีกต่างๆ 2.ธุรกิจสนับสนุนการท่องเที่ยว หรือมีความเชี่ยวชาญในสาขาวืชาการ่างๆ เช่น บริษัทจัดนำเที่ยว หรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการนำเที่ยว บุคลากร ฝ่ายบริหารในธุรกิจโรงแรม และบริษัทที่ทำการวิจัยหรือวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันการเงิน บริษัทก่อสร้าง สถาบันการศึกษาและฝึกอบรมที่เกี่ยวกับวิชาการท่องเที่ยวอื่นๆ 3. หน่วยงานหรือองค์การต่างๆของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน ซึ่งมีหน้าที่ในการวางแผนอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว สถาบันการเงิน บริษัทก่อสร้าง สถาบันการศึกษาและฝึกอบรมที่เกี่ยวกับวิชาการท่องเที่ยวอื่นๆ

วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว ในยุคสมัยดึกดำบรรพ์มนุษย์ไม่มีถิ่นที่อยู่อาศัยถาวร จะเดินทางเร่ร่อนไปตามที่ต่างๆที่มี อาหารอุดมสมบูรณ์และชีวิตปลอดภัยจากศัตรูแม้ในปัจจุบันมนุษย์บางกลุ่มวิวัฒน์ไปจากเดิม เมื่อกว่า 100,000 ปีมาแล้วเพียงเล็กน้อยเช่นชนเผ่า Gaucho ในอาร์เจนติน่าชนเผ่า Tsaatan มองโกเลียก็ยังคงเร่ร่อนย้ายถิ่นอยู่เพื่อความอยู่รอดอยู่ตลอดเวลาตามหลักทางจิตวิทยานับได้ว่า เป็นช่วงเวลาที่นานพอที่พฤติกรรมเช่นนี้จะเข้าไปอยู่ในระบบประสาทของมนุษย์ใน กระบวนการดัดแปลงตามให้เข้ากับธรรมชาติเกือบจะกล่าวได้ว่ามนุษย์ปัจจุบัน ยังคงมี ความรู้สึกชอบเดินทาง อยากจะเดินทางไปไหนๆ เพื่อแสวงหาสิ่งที่ดีกว่าและตอบสนองความ อยากรู้อยากเห็น

สมัยก่อนสมัยปัจจุบัน การท่องเที่ยวมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งถึงสมัยปัจจุบันซึ่งอาจจะแบ่งได้เป็น4 ช่วง คือ สมัยโบราณ สมัยยุคกลาง สมัยก่อนสมัยปัจจุบัน สมัยปัจจุบัน

1.การท่องเที่ยวในสมัยโบราณ (Ancient Time Tourism) ยุคนี้ซึ่งตั้งต้นประมาณปีที่ 10,000 ก่อนคริสตกาล และสิ้นสุดลงเมื่อประมาณ 3,000หรือ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล นักวิชาการเรียกว่าช่วงก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric Period) มนุษย์ยุคนี้เปลี่ยนวิธีการดำรงชีวิตแบบเดินทางเร่ร่อนมาเป็นชีวิตอย่างมีที่พำนักอาศัยถาวรและมีสังคมเกิดขึ้นคนมีความสุขสำราญกับชีวิตแบบใหม่คนอยู่กับที่จึงมีเวลามากขึ้นที่จะพัฒนาและทำนุบำรุงสิ่งอื่นๆในสิ่งแวดล้อมนอกเหนือไปจากการกินอยู่และป้องกันภัย การมีเวลาว่างเพราะไม่ต้องเดินทางเร่ร่อนทำให้คนเริ่มคิดและสังเกตพิจารณาสิ่งแวดล้อมและเปลี่ยนแปลงประดิษฐ์วัสดุในธรรมชาติให้คนได้ใช้มากกว่าที่ได้เคยได้รับอยู่แล้วมากขึ้น ศิลปะ ก็เกิดขึ้นในปลายยุคหิน (Late Stone Age) มีการสร้างหมู่บ้านมีการค้าขายด้วยการแลกเปลี่ยนสินค้ามีการทำสงครามกันระหว่างเผ่าในด้านศิลปะมีการขัดฝนหินให้เรียบร้อยขึ้นและคมขึ้น

2. การท่องเที่ยวในยุคกลาง(Middle Ages Tourism) ในยุโรประหว่างปี ค.ศ. 500 ถึง ค.ศ.1500 เป็นยุคซึ่งนักประวัติศาสตร์เรียกว่า "ยุคกลาง" หรือ "มัธยสมัย" ในช่วงต้นของยุคนี้เรียกว่า "ยุคมืด" แทบทุกประเทศวุ่นวายด้วยข้อพิพาทต่างๆเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างการสิ้นสุดลงของอาณาจักรโรมันโบราณมีการรบพุ่งแย่งชิงดินแดนและทรัพย์สมบัติ ศีลธรรมเสื่อม ราษฎรถูกกดขี่ และมีทุกข์มากกว่ามีสุขเป็นเหตุจุงใจอย่างหนึ่งที่ผู้คนอยากจะอพยพหนีไปอยู่ที่อื่นการเดินทางกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้นอันตรายมากขึ้นและซับซ้อนมากขึ้นและประชาชนเริ่มเข้าสู่ความนิยมในคริสต์ศาสนา

การท่องเที่ยวในสมัยก่อนสมัยปัจจุบัน(Precursors of Modern Tourism) เป็นการ กำหนดช่วงเวลาอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่16 ถึงเวลาประมาณ 100 ปีถอยหลังไปจากปัจจุบันในช่วงเวลานั้นมีอาณาจักรใหม่เกิดขึ้นมีการพบดินแดนใหม่หลายแห่งเช่นอเมริกา ออสเตรเลียการค้นพบดินแดนใหม่จุงใจให้อาณาจักรที่มีอำนาจออกล่าเมืองขึ้นเพื่อตั้งเป็นอาณานิคมรูปแบบการค้าขายเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเกิดการค้าขายปลีกและขายส่ง การเดินทางของผู้จาริกแสวงบุญที่ได้พักอยู่ตามที่พักแรมฟรีซึ่งเรียกว่า "ฮอสไพส์" ก็สิ้นสุดลงเพราะทางการศาสนาหมดอำนาจและขาดความอุปการะจากพระเจ้าแผ่นดินแต่การเดินทางแสวงบุญยังดำเนินอยู่จึงมีผู้ตั้งโรงแรมขึ้นเรียกว่า "อินน์" และมีการเก็บค่าธรรมเนียมที่พักและจำหน่ายอาหาร

4. การท่องเที่ยวในสมัยปัจจุบัน(Present Time Tourism) ช่วง 100 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันในทวีปยุโรปได้เกิดการ ปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1750 ถึง ค.ศ. 1850ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในด้านการผลิตการตลาดและการจัดการเช่นมีการนำเอาเครื่องจักรกลต่างๆเข้ามาใช้ในการผลิตขนาดใหญ่เพื่อมวลชนการนำเอาพลังงานชีวิตใหม่ที่สามารถขับเคลื่อน เครื่องจักรกลให้ทำงานได้ได้แก่รถไฟ เรือกลไฟ รถยนต์ ซึ่งผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์

ประวัติความเป็นมาของการท่องเที่ยวไทย ประวัติการท่องเที่ยวของไทยนั้น ได้มีการสันนิษฐานกันว่าการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีมานานแล้วเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในระยะแรกการท่องเที่ยวจะเป็นกิจกรรมของเจ้าขุนมูลนาย ซึ่งการเดินทางในระยะแรกๆ นั้นเต็มไปด้วยความยากลำบาก เพราะขาดการคมนาคมที่ดี แต่ก็มีการเดินทางเพื่อศาสนกิจ การเมือง และการค้า ดังปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์

เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย เดือนตุลาคมพ.ศ. 2514 มีการขยายสนามบินเชียงใหม่เป็นสนามบิน นานาชาติและวันที่ 5 ตุลาคมพ.ศ. 2514 เครื่องบินจัมโบ้เจ็ตโบว์อิ้ง 747 ของ สายการบินโอเอซีทดลองจอดที่สนามบินดอนเมืองเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2519 จัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศโดยได้รับความ ร่วมมือจากเนเธอร์แลนด์นับเป็นแผนพัฒนาการท่องเที่ยวฉบับแรกของ ประเทศแผนนี้ได้วางกรอบพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทยอย่างมีระบบ และใช้เป็นหลักการวางแผนพัฒนาของการท่องเที่ยวท้องถิ่นได้ทั่วประเทศ

พ.ศ. 2523 คณะรัฐมนตรีได้ประกาศเป็นปีท่องเที่ยวไทยเพื่อส่งเสริมให้คนไทย เดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้นจัดงานแสดงวัฒนธรรมในภูมิภาคทั่วประเทศ และภาคกลางจัดงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทยและเสริมสร้างเอกลักษณ์ไทยที่สวน อัมพรเป็นครั้งแรกตอบมางานนี้ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีได้รับความสนใจจาก ประชาชนไทยมากต่อมาได้ขยายปรับปรุงงานเป็นงานท่องเที่ยวนานาชาติ พ.ศ. 2530 คณะรัฐมนตรีได้ประกาศเป็นปีท่องเที่ยวไทยเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ในวันที่ห้าธันวาคมพ.ศ. 2530 และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ซึ่งการประกาศปีท่องเที่ยวไทยช่วงหลังหลังก่อให้เกิดผลดีกับประเทศ มากขึ้นมีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น