ลมและพายุ (พายุ)
ลมมีกี่ชนิด? ลมประจำปี - ลมสินค้า ลมประจำฤดู - ลมมรสุมฤดูร้อน ลมมรสุมฤดูหนาว (หน้า 146) ลมประจำถิ่น - ลมว่าว ลมตะเภา ลมบ้าหมู ลมสลาตัน ลมประจำเวลา - ลมบก ลมทะเล ลมพายุ ลมบก ลมทะเล
ลมบก-ลมทะเล ลมบก ลมทะเล เวลากลางวัน ลมบก ลมทะเล เวลากลางวัน พื้นดินดูดกลืนความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ ทำให้อากาศเหนือพื้นดินร้อนลอยตัวสูงขึ้น (ความกดอากาศต่ำ) อากาศเหนือพื้นน้ำมีอุณหภูมิต่ำกว่า (ความกดอากาศสูง) จึงจมตัวและเคลื่อนเข้ามาแทนที่ ทำให้เกิดลมพัดจากทะเลเข้าสู่ชายฝั่ง เรียก ลมทะเล
ลมบก-ลมทะเล ลมบก ลมทะเล เวลากลางคืน ลมบก ลมทะเล เวลากลางคืน พื้นดินคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ ทำให้อากาศเหนือพื้นดินจมตัว (ความกดอากาศสูง) และเคลื่อนตัวไปแทนที่อากาศที่อุ่น เหนือพื้นน้ำซึ่งยกตัวขึ้น (ความกดอากาศต่ำ) จึงเกิดลมพัดจากบกไปสู่ทะเล เรียก ลมบก
ลมมรสุม ลมมรสุมเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างพื้นทวีปกับพื้นมหาสมุทร ซึ่งเกิดเป็นบริเวณกว้างและมีช่วงเวลาในการเกิดนาน ลมมรสุมฤดูร้อน - พัดจากมหาสมุทรอินเดียผ่านอ่าวไทย ละปะทะขอบฝั่ง ตะวันออกของอ่าวไทย - พัดผ่านไทยตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงกลางเดือน ตุลาคม - ขณะพัดผ่านประเทศไทยจะพัดพาไอน้ำจากมหาสมุทร มาด้วยจำนวนมาก ทำให้มีฝนตกชุก
ลมมรสุม ลมมรสุมฤดูหนาว - พัดจากประเทศจีนและไซบีเรียผ่านภาคเหนือและภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมาจนถึงบริเวณอ่าวไทยตอนใต้ - พัดผ่านไทยตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือน กุมภาพันธ์ - ขณะพัดผ่านประเทศไทยจะทำให้อากาศมีความหนาวเย็น
ลมพายุคืออะไร? ลมพายุ คือ ลมที่พัดด้วยความเร็วสูง เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศใน 2 บริเวณมีความแตกต่างกันมาก เราเรียกลมพายุที่หมุนรอบจุดศูนย์กลางว่า พายุหมุน (Cyclonic storm) เนื่องจากในการเกิดพายุหมุน โลกเกิดการหมุนรอบตัวเองอยู่แล้ว ทำให้ทิศทางของลมพายุที่เกิดในซีกโลกเหนือมีทิศทางการพัดเข้าหาศูนย์กลางในทิศทวนเข็มนาฬิกา และมีทิศทางของลมเข้าสู่ศูนย์กลางในทิศตามเข็มนาฬิกา ในซีกโลกใต้ ดูตัวอย่าง
พายุหมุนมีกี่ชนิด? พายุหมุน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1.พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclone) เกิดเฉพาะในมหาสมุทรเขตร้อน (ละติจูด 30o เหนือถึง 30o ใต้) ที่มีอุณหภูมิของผิวน้ำทะเลสูงกว่า 26.5 oC มีกำลังแรง (ความเร็วลมอาจสูงถึง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ซึ่งบริเวณที่เกิดพายุบ่อยมีอยู่ 6 เขต (หน้า 147) 2. พายุหมุนนอกเขตร้อน (Extratropical cyclone) เกิดในเขตละติจูดกลางและในเขตละติจูดสูง มีตั้งแต่ระดับความรุนแรงไม่มาก จนถึงระดับความรุนแรงมาก เกิดในพื้นที่ 3 เขต (หน้า 147)
ขอเน้นพายุหมุนเขตร้อน พายุหมุนเขตร้อน ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้ 1. ศูนย์กลางพายุ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-50 กิโลเมตร 2. ตาพายุ เป็นบริเวณจุดศูนย์กลางของพายุที่มีรูปร่างรี มีความกดอากาศต่ำที่สุด อุณหภูมิบริเวณนี้จะสูง 3. บริเวณรอบๆพายุ (แขนของพายุ) เป็นส่วนที่มีความเร็วลมสูง ก่อให้เกิดเมฆและฝนอย่างรุนแรง
เราจะเรียกชื่อพายุได้อย่างไร ในการเรียกชื่อพายุ มีได้ 3 แบบ คือ 1. เรียกตามทิศทางในการเคลื่อนที่ของพายุหมุน ไซโคลน (Cyclone) ลมพายุที่พัดหมุนวนจากบริเวณความกดอากาศสูงเข้าสู่ศูนย์กลางที่มีความกดากาศต่ำ (ถ้าเกิดในเขตร้อน เรียก พายุหมุนเขตร้อน แต่ถ้าเกิดนอกเขตร้อน เรียก พายุหมุนนอกเขตร้อน) แอนติไซโคลน (Anticyclone) ลมพายุที่พัดหมุนวนออกจากศูนย์กลางที่มีความกดอากาศสูง สู่บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำโดยรอบ
เราจะเรียกชื่อพายุได้อย่างไร ในการเรียกชื่อพายุ มีได้ 3 แบบ คือ 2. เรียกตามประเภทของพายุหมุน โดยใช้ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุหมุนเขตร้อนเป็นเกณฑ์ ประเภท ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุ กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอต พายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น < 63 63-118 >118 < 34 34-64 >64 1 นอต = 1 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง = 1.85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เราจะเรียกชื่อพายุได้อย่างไร ในการเรียกชื่อพายุ มีได้ 3 แบบ คือ 3. เรียกตามบริเวณที่เกิด ชนิด สถานที่เกิด ไซโคลน เฮอริเคน วิลลี-วิลลี ใต้ฝุ่น บาเกียว ทอร์นาโด อ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ มหาสมุทรอินเดีย อ่าวเมกซิโก มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน ออสเตรเลีย ทะเลจีน ฟิสิปปินส์ สหรัฐอเมริกา
หาชื่อพายุ Thailand Durian Ramasoon Hanuman Chaba Khanun ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต โดยสรุปหลักการตั้งชื่อพายุ และบอกชื่อของพายุ พร้อมทั้งประเทศที่เกิดมา 5 ชื่อ Thailand Durian Ramasoon Hanuman Chaba Khanun http://th.wikipedia.org/wiki/การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน http://www.rmutphysics.com/CHARUD/specialnews/6/hurricane/hurricane12.htm
ผลกระทบที่เกิดจากพายุหมุน ให้นักเรียนดูตัวอย่างผลกระทบที่เกิดจากพายุ และสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ในหัวข้อ “ผลกระทบที่เกิดจากพายุ” แล้วสรุปลงในสมุดของตนเอง (คะแนนบันทึกการเรียนรู้) ตัวอย่างที่ 1 ตัวอย่างที่ 2 ตัวอย่างที่ 3
การพยากรณ์อากาศ ว 31101
ว่ากันด้วยเรื่องของ “การพยากรณ์อากาศ” ศัพท์ที่ควรรู้ การพยากรณ์อากาศ คือ การคาดคะเนลักษณะอากาศล่วงหน้า โดยเจ้าหน้าที่ของกรมอุตุนิยมวิทยา อุตุนิยมวิทยา คือ วิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับอากาศ และการเปลี่ยนแปลงของอากาศ แผนที่อากาศ คือ แผนที่ที่แสดงลักษณะของอากาศในเวลาขณะใดขณะหนึ่งที่ผ่านมาในแต่ละวัน
จะตรวจสภาพอากาศต้องใช้ข้อมูลจากไหน? ในการเก็บข้อมูลการตรวจสภาพอากาศ จะอาศัยเครื่องมือหลายๆอย่างประกอบกัน ได้แก่ - Thermometer - Hygrometer - Rain gauge - Wind vane - Anemometer - เรดาร์ตรวจอากาศ - บัลลูนตรวจอากาศ - ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา …
ในแผนที่อากาศมีอะไร? ในแผนที่อากาศ จะมีสัญลักษณ์ต่างๆ ดังนี้ ตัวอักษร H แทนบริเวณที่มีความกดอากาศสูง
ในแผนที่อากาศมีอะไร? ในแผนที่อากาศ จะมีสัญลักษณ์ต่างๆ ดังนี้ ตัวอักษร L แทนบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ
ในแผนที่อากาศมีอะไร? ในแผนที่อากาศ จะมีสัญลักษณ์ต่างๆ ดังนี้ เส้นโค้งที่ลากขวางอยู่ในแผนที่อากาศ คือเส้นที่แสดงว่าบริเวณนั้นมีความกดอากาศเท่ากัน เรียกว่า เส้นไอโซบาร์
สัญลักษณ์แสดงลักษณะของสภาพอากาศ ในแผนที่อากาศมีอะไร? สัญลักษณ์แสดงลักษณะของสภาพอากาศ
สัญลักษณ์แสดงความเร็วลมที่ใช้ในแผนที่อากาศ ในแผนที่อากาศมีอะไร? สัญลักษณ์แสดงความเร็วลมที่ใช้ในแผนที่อากาศ (หน่วย kn) 0-2 3-7 13-17 18-22 23-27 28-32 33-37 38-42 43-47 48-62 53-57 58-62 63-67 98-102 102-107
สัญลักษณ์แสดงปริมาณเมฆที่ใช้ในแผนที่อากาศ ในแผนที่อากาศมีอะไร? สัญลักษณ์แสดงปริมาณเมฆที่ใช้ในแผนที่อากาศ ท้องฟ้าไม่มีเมฆ มีเมฆ 1 ส่วน มีเมฆ 3 ส่วน มีเมฆ 5 ส่วน มีเมฆเกิน 5 ส่วน มีเมฆ 8 ส่วน มีเมฆเกิน 8 ส่วน มีเมฆ 9 ส่วน มีเมฆเกิน 9 ส่วน มีเมฆเต็มท้องฟ้า
สัญลักษณ์แสดงสภาพอากาศที่ใช้ในแผนที่อากาศ ในแผนที่อากาศมีอะไร? สัญลักษณ์แสดงสภาพอากาศที่ใช้ในแผนที่อากาศ
สัญลักษณ์แสดงสภาพอากาศที่ใช้ในแผนที่อากาศ ในแผนที่อากาศมีอะไร? สัญลักษณ์แสดงสภาพอากาศที่ใช้ในแผนที่อากาศ
สัญลักษณ์แสดงชนิดของเมฆที่ใช้ในแผนที่อากาศ ในแผนที่อากาศมีอะไร? สัญลักษณ์แสดงชนิดของเมฆที่ใช้ในแผนที่อากาศ เซอรัส Ci เซอโรคิวมูลัส Cc เซอโรสเตรตัส Cs อัลโตคิวมูลัส Ac อัลโตสเตรตัส As นิมโบสเตรตัส Ns สเตรโตคิวมูลัส Sc สเตรตัส St คิวมูลัส Cu คิวมูโลนิมบัส Cb สัญลักษณ์
สัญลักษณ์แสดงชนิดของเมฆชั้นสูงที่ใช้ในแผนที่อากาศ ในแผนที่อากาศมีอะไร? สัญลักษณ์แสดงชนิดของเมฆชั้นสูงที่ใช้ในแผนที่อากาศ
สัญลักษณ์แสดงชนิดของเมฆชั้นกลางที่ใช้ในแผนที่อากาศ ในแผนที่อากาศมีอะไร? สัญลักษณ์แสดงชนิดของเมฆชั้นกลางที่ใช้ในแผนที่อากาศ
สัญลักษณ์แสดงชนิดของเมฆชั้นต่ำที่ใช้ในแผนที่อากาศ ในแผนที่อากาศมีอะไร? สัญลักษณ์แสดงชนิดของเมฆชั้นต่ำที่ใช้ในแผนที่อากาศ
ในแผนที่อากาศมีอะไร?
เมื่อได้ข้อมูลครบแล้วจะรายงานพยากรณ์อากาศอย่างไร? ในการรายงานการพยากรณ์อากาศ จะมีข้อมูลในการรายงานดังนี้ (หน้า 156-159) 1. อากาศร้อน 2. อากาศหนาว 3. การกระจายของฝน 4. ปริมาณฝน 5. ปริมาณเมฆในท้องฟ้า 6. สถานะของทะเล 7. ร่องมรสุม ***** 8. ลมพัดสอบ ***** 9. ฟ้าหลัว ***** 10. บริเวณความกดอากาศสูง 11. บริเวณความกดอากาศต่ำ ให้นักเรียนทำความเข้าใจและสรุปลงสมุดของตนเอง
(Thai Meteorological Departments) กิจกรรม ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ในหัวข้อ “รายงานพยากรณ์อากาศ” แล้วสรุปรายงานพยากรณ์อากาศที่ตนเองสนใจลงสมุด (ครูจะสุ่มเรียกออกมารายงานหน้าชั้นในการเรียนครั้งต่อไป) http://www.tmd.go.th/xml/index.html (Thai Meteorological Departments)
กิจกรรม http://www.tmd.go.th/xml/index.html
กิจกรรม
คำพยากรณ์อากาศ
แนวข้อสอบปลายภาค 60 ข้อ 30 คะแนน เมฆ 15 ข้อ (ดูลักษณะของเมฆชนิดต่างๆ, ดูรูปเมฆ) หยาดน้ำฟ้า 10 ข้อ (ดูแบบฝึกหัดที่ให้ไป) ลม 10 ข้อ (ดูลม, ลมบก-ลมทะเล, เครื่องมือ) พายุ 10 ข้อ (ดูพายุ, พายุหมุน, ลมมรสุมฤดูร้อน-หนาว, พายุหมุนเขตร้อน, ผลกระทบที่เกิดจากพายุหมุนเขตร้อน) การพยากรณ์อากาศ 15 ข้อ (แผนที่อากาศ, สัญลักษณ์ในแผนที่อากาศ, การพยากรณ์อากาศ, เกณฑ์ในการพยากรณ์อากาศ)