งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

By Poonyaporn Siripanichponng

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "By Poonyaporn Siripanichponng"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 By Poonyaporn Siripanichponng
ลม ฟ้า อากาศ By Poonyaporn Siripanichponng

2 ลม ฟ้า อากาศ ลมฟ้าอากาศ หมายถึง สภาวะของบรรยากาศในช่วงเวลาสั้น เช่น อุณหภูมิสูงสุดในแต่ละวัน ปริมาณน้ำฝนในช่วงเวลา 4 ชั่วโมง เป็นต้น

3 ลม ฟ้า อากาศ ลม เกิดจาก ความแตกต่างของอุณหภูมิ (ความกดอากาศ) ของอากาศใน 2 บริเวณ ลมจะพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงเข้าสู่บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ

4 ลม ฟ้า อากาศ 1. ลมประจำเวลา คือ ลมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างกัน ลมทะเล คือ ลมที่พัดจากทะเลขึ้นสู่พื้นดินและเกิดขึ้นในเวลากลางวันเนื่องจากในเวลากลางวันพื้นดินร้อนกว่าพื้นน้ำ ทำให้ความกดอากาศเหนือพื้นดินต่ำกว่าความกดอากาศเหนือพื้นน้ำอากาศจึงเคลื่อนที่จากพื้นน้ำสู่พื้นดิน

5 ลม ฟ้า อากาศ

6 ลม ฟ้า อากาศ ลมบก คือ ลมที่พัดจากพื้นดินออกสู่ทะเลและเกิดขึ้นในเวลากลางคืน เนื่องจากในเวลากลางคืนเย็นกว่าพื้นน้ำ ทำให้ความกดอากาศเหนือพื้นดินสูงกว่าความกดอากาศเหนือพื้นน้ำ อากาศจึงเคลื่อนที่จากพื้นดินไปสู่พื้นน้ำ

7 ลม ฟ้า อากาศ

8 ลม ฟ้า อากาศ 2. ลมประจำฤดู
2. ลมประจำฤดู เป็นลมที่เกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหนึ่ง ๆ มีบริเวณกว้างและเป็นลมที่พัดเป็นเวลานานตลอดฤดูของทุกปี ได้แก่ ลมมรสุม ซึ่งเป็นลมที่มีการเปลี่ยนแปลงทิศทางของลมที่พัดจากฤดูหนึ่งไปยังอีกฤดูหนึ่งในทิศทางตรงกันข้าม และเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ ลมมรสุมแบ่งได้ 2 ชนิด คือ

9 ลม ฟ้า อากาศ มรสุม สาเหตุหลักมาจากความแตกต่างของอุณหภูมิอากาศระหว่างพื้นทวีปและมหาสมุทร โดยการสะสมหรือคายความร้อนของพื้นทวีปหรือมหาสมุทรในแต่ละฤดูซึ่งได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ แตกต่างกัน

10 มรสุมฤดูหนาว & มรสุมฤดูร้อน ลม ฟ้า อากาศ
อิทธิพลจากมรสุมอาจมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละภูมิภาค โดยมรสุมที่สำคัญแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ มรสุมฤดูหนาว & มรสุมฤดูร้อน

11 ลม ฟ้า อากาศ 2.1 ลมมรสุมฤดูร้อนเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน เนื่องจากภาคพื้นทวีปเอเชียมีอากาศอบอุ่นขึ้น เพราะในช่วงนี้โลกหันซีกโลกเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนซีกโลกใต้จะได้รับแสงเฉียงจากดวงอาทิตย์

12 ลม ฟ้า อากาศ อุณหภูมิของอากาศลดต่ำลง เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ
สูงขึ้น ทำให้มวลอากาศร้อนและชื้น มหาสมุทร พื้นทวีป

13 ลม ฟ้า อากาศ มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความดันอากาศสูงในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย นำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทยเมื่ออากาศชื้นปะทะกับชายฝั่งและภูมิประเทศซึ่งเป็นภูเขาจะเกิดการควบแน่นทำให้มีเมฆมากและฝนชุกทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเลและเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น

14 ลม ฟ้า อากาศ ทิศทางของลมมรสุมฤดูร้อน

15 ลม ฟ้า อากาศ 2.2 ลมมรสุมฤดูหนาวหลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้วประมาณเดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับฤดูหนาวของประเทศไทยจะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย เป็นลมมรสุมที่พัดจากภาคพื้นทวีปลงสู่ทะเล เป็นลมเย็นและแห้ง

16 ลม ฟ้า อากาศ ลมมรสุมฤดูหนาวเกิดขึ้นเนื่องจากในฤดูหนาวซีกโลกใต้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์มากกว่าซีกโลกเหนือ อุณหภูมิของพื้นน้ำในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้เส้นศูนย์สูตรลงมาจึงสูงกว่าภาคพื้นดินซึ่งทำให้เกิดลมมรสุมขึ้น ในประเทศไทยรู้จักลมมรสุมฤดูหนาวในชื่อ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

17 ลม ฟ้า อากาศ มีแหล่งกำเนิดมาจากบริเวณความดันอากาศสูงบนซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากแหล่งกำเนิดมาปกคลุมประเทศไทย เป็นลมหนาว อากาศแห้งแล้งมีไอน้ำน้อย

18 ลม ฟ้า อากาศ เมื่อพัดมายังประเทศไทยทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีอากาศหนาวเย็นยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนตก เนื่องจากลมนี้เมื่อพัดผ่านอ่าวไทยจะรับเอาไอน้ำไว้ และเมื่อขึ้นสู่ฝั่งจึงนำฝนมาตกด้วย

19 ลม ฟ้า อากาศ ทิศทางของลมมรสุมฤดูหนาว

20 ลม ฟ้า อากาศ

21 ลม ฟ้า อากาศ

22 ลม ฟ้า อากาศ 3. ลมประจำปีหรือลมประจำภูมิภาคต่าง ๆ
3. ลมประจำปีหรือลมประจำภูมิภาคต่าง ๆ เป็นลมที่เกิดจากความกดอากาศที่มีอยู่เดิมตลอดปี เนื่องจากบริเวณขั้วโลกและบริเวณ เส้นศูนย์สูตรได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดลมพัดผ่านส่วนต่าง ๆ ของโลก เป็นประจำเช่น ลมสินค้า   

23 ลม ฟ้า อากาศ ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ คือ ลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงกึ่งศูนย์สูตร ทางซีกโลกใต้เข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นศูนย์สูตร    ลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงกึ่งศูนย์สูตร ทางซีกโลกเหนือเข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นศูนย์สูตร

24 ลม ฟ้า อากาศ ชนิดของลม 1. ลมประจำถิ่น เป็นลมที่ปรากฏเด่นชัดในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง และในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งโดยเฉพาะ ได้แก่ ลมมรสุม หรือลมประจำฤดู ลมบกลมทะเล ลมภูเขา ลมหุบเขา ลมสินค้า เป็นต้น

25 ลม ฟ้า อากาศ

26 ลม ฟ้า อากาศ 2. ลมพายุฟ้าคะนอง เป็นลมพายุฝน เกิดจากอากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้นความกดอากาศต่ำลง จึงขยายตัวและเย็นลงจนไอน้ำควบแน่นเป็นฝนตกลงมา ขณะที่ฝนตกผ่านอากาศ อากาศจะเย็นตัวและหดตัวเข้าหากันเกิดเป็นศูนย์กลางของพายุฝนขึ้น ขณะเกิดลมพายุฝนฟ้าคะนอง มักจะเกิดลูกเห็บตกลงมาด้วยเสมอ

27 ลม ฟ้า อากาศ 3. ลมพายุหมุนเขตร้อน เป็นลมที่พัดหมุนเข้าสู่บริเวณจุดศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาโดยเกิดขึ้นตรงบริเวณเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อนซึ่งอยู่ระหว่างละติจูด 30 องศาเหนือและ 30 องศาใต้

28 ลม ฟ้า อากาศ พายุหมุน ลมพายุ คือ ลมที่พัดด้วยความเร็วสูง เพราะความกดอากาศในสองบริเวณแตกต่างกันมาก เรียกลมพายุที่หมุนรอบจุดศูนย์กลางว่า พายุหมุน

29 ลม ฟ้า อากาศ 1. พายุดีเปรสชั่น เป็นพายุที่มีความเร็วรอบศูนย์กลางเฉลี่ยไม่เกิน 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในบริเวณที่เกิดพายุหรือมีพายุชนิดนี้เคลื่อนที่ผ่าน ท้องฟ้าจะมืดครึ้มและปกคลุมด้วยเมฆหนาทึบ มีฝนตกปานกลางหรือตกหนักแผ่เป็นบริเวณกว้างและตกติดต่อกันเป็นเวลานาน พายุดีเปรสชั่น เป็นพายุที่พัดมาถึงประเทศไทยมากที่สุด

30 ลม ฟ้า อากาศ

31 ลม ฟ้า อากาศ 2. พายุโซนร้อน เป็นพายุหมุนที่เกิดขึ้นในเขตร้อน มีความเร็วลมรอบศูนย์กลางระหว่าง 63 – 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

32 ลม ฟ้า อากาศ

33 ลม ฟ้า อากาศ 3. พายุรุนแรง มีความเร็วของลมรอบศูนย์กลางเกินกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามบริเวณที่เกิด ดังนี้

34 ลม ฟ้า อากาศ 3.1 พายุไต้ฝุ่น เกิดในทะเลจีนใต้ ถ้าพัดขึ้นฝั่งในทวีปอเมริกา เรียกว่า พายุทอร์นาโด

35 ลม ฟ้า อากาศ

36 ลม ฟ้า อากาศ 3.2 พายุไซโคลน เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดีย

37 ลม ฟ้า อากาศ 3.3 พายุเฮอร์ริเคนหรือสลาตัน เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และทะเลฝั่งตะวันตกของอ่าวเม็กซิโก 3.4 พายุวิลลี – วิลลี เกิดในออสเตรเลีย

38 ลม ฟ้า อากาศ

39 ลม ฟ้า อากาศ พายุหมุนเขตร้อน
พายุหมุนเขตร้อนจะก่อตัวขึ้นในบริเวณร่องความกดอากาศต่ำแถบศูนย์สูตร คือ ในบริเวณละติจูด 8 องศาหรือ 15 องศาเหนือและใต้ อุณหภูมิที่จะเกิดได้ต้องมีอุณหภูมิที่พื้นน้ำทะเลสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส

40 ลม ฟ้า อากาศ พายุหมุนเขตร้อนเป็นพายุหมุนที่มีศูนย์กลางความกดอากาศต่ำที่ลมบิดเป็นเกลียวมีความเร็วลมมาก และทำให้เกิดฝนตกหนัก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 ถึง 500 กิโลเมตร ความเร็วลม 120 ถึง 200 กิโลเมตร

41 ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง
ลม ฟ้า อากาศ ประเภท ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง (กิโลเมตร/ชั่วโมง) ลักษณะของพายุ 1. พายุดีเปรสชั่น 2. พายุโซนร้อน 3. พายุไต้ฝุ่น ไม่เกิน 63 63 – 118 มากกว่า 118 พายุที่มีกำลังอ่อน มีฝนตกปานกลางถึงตกหนัก มีฝนตกหนัก มีฝนตกหนักมาก ลมพัดแรง การเรียกชื่อ พายุหมุน

42 ลม ฟ้า อากาศ ขั้นตอนแรกของการเกิดพายุหมุนเขตร้อน คือ การก่อตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำอย่างแรง ที่เกิดขึ้นในกระแสลมค้า ที่พัดจากตะวันออกไปตะวันตก ซึ่งมีกระบวนการพาความร้อนเกิดขึ้น เนื่องจากพัดผ่านพื้นน้ำที่อุ่นมาก ทำให้การระเหยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ๒๖ - ๒๗ องศาเซลเซียส

43 ลม ฟ้า อากาศ ขณะที่อากาศลอยสูงขึ้นไป ไอน้ำก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็ก เป็นส่วนหนึ่งของเมฆ และในขณะเดียวกันก็ปลดปล่อยพลังงานแฝงจำนวนมากสู่บรรยากาศ นอกจากนี้อากาศอุ่นเหนือพื้นทะเลที่เคลื่อนตัวลอยสูงขึ้นไปดังกล่าว ทำให้เกิดบริเวณความกดอากาศต่ำใกล้พื้นน้ำ

44 ลม ฟ้า อากาศ ซึ่งเป็นตัวการ ทำให้เกิดลมที่หมุนพัดพาเข้าสู่บริเวณดังกล่าว ลมที่หมุนจะพัดหอบเอาอากาศที่มีความชื้นสูงจากพื้นมหาสมุทรอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการเกิดพายุหมุนได้ แล้วพัฒนาต่อไปเป็นพายุดีเปรสชัน พายุเขตร้อน และพายุไต้ฝุ่น ตามความแรงของลมหมุนนี้

45 ลม ฟ้า อากาศ บริเวณต่างๆ ของโลก ที่เกิดพายุหมุนเขตร้อน แนวลูกศรแสดงเส้นทางที่พายุมักเคลื่อนตัวไป

46 ลม ฟ้า อากาศ บริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อน ได้แก่
1. แถบหมู่เกาะอินดิสตะวันตก ทะเลแคริบเบียน และอ่าวเม็กซิโก 2. ทางด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือรวมทะเลจีนใต้ หมู่เกาะ ฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะญี่ปุ่น 3. ทางด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกใต้รวมหมู่เกาะฟิจิ และชายฝั่งด้านตะวันออก ของทวีปออสเตรเลีย

47 ลม ฟ้า อากาศ 5. มหาสมุทรอินเดียแถบเกาะมาดากัสการ์
4. ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออกของเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา 5. มหาสมุทรอินเดียแถบเกาะมาดากัสการ์ 6. ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล

48 ลม ฟ้า อากาศ

49 ลม ฟ้า อากาศ พายุฟ้าคะนอง
พายุฟ้าคะนอง จะเกิดขึ้นบ่อยมากในเขตร้อน บางทีเรียกว่า พายุไฟฟ้า โดยทั่วไปเป็นพายุเฉพาะท้องถิ่น พายุนี้มักเกิดบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้น เช่น ในเดือนพฤษภาคมของประเทศไทย เป็นฤดูฝน

50 ลม ฟ้า อากาศ การเกิดพายุฟ้าคะนอง แบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
การเกิดพายุฟ้าคะนอง แบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นเริ่มก่อตัว เป็นขั้นเริ่มต้นมีลักษณะเมฆเป็นแบบคิวมูลัสที่กำลังจะพัฒนาเป็น เมฆคิวมูโลนิมบัส ในขั้นนี้จะมีกระแสลมพัดขึ้นตามแนวตั้งตลอดตั้งแต่ฐานเมฆไปจนถึงยอดเมฆ ความเร็วลมที่พัดขึ้นไปอาจแรงถึง 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บางครั้งอาจถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

51 ลม ฟ้า อากาศ 2. ขั้นพัฒนาเต็มที่ ขั้นนี้ภายในเมฆคิวมูลัสยังมีกระแสลมที่พัดขึ้นตามแนวตั้ง และมีกระแสลมพัดลงตามแนวตั้งจากเมฆลงมาสู่พื้นดินตามเม็ดฝนลงมา

52 ลม ฟ้า อากาศ ไอน้ำจะเกิดการกลั่นตัวเป็นเม็ดน้ำและมีขนาดโตขึ้นจนหนักเกินกว่าที่กระแสลมจะพยุงไว้ แต่ในระดับสูงของเมฆขึ้นไปจะมีทั้งฝนและหิมะ สำหรับพายุฟ้าคะนองที่มีกระแสลมพัดขึ้นอย่างแรงเม็ดน้ำจะถูกพัดขึ้นไปในระดับสูงมาก และอาจตกลงมาเป็นลูกเห็บได้

53 ลม ฟ้า อากาศ 3. ขั้นสลายตัว ขั้นนี้กระแสลมที่พัดลงตามแนวตั้งจะแผ่ไปทั่วก้อนเมฆจนกระทั่ง กระแสลมที่พัดขึ้นจะหมดไปทำให้หยาดน้ำค่อย ๆ ลดลง และพายุฟ้าคะนองก็ค่อย ๆ อ่อนกำลังลง

54 ลม ฟ้า อากาศ

55 ลม ฟ้า อากาศ ขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนองเกล็ดน้ำแข็งบางส่วนจะถูกกระแสลมหอบขึ้นและลง การที่เกล็ดน้ำแข็งมีการเคลื่อนที่สวนทางกันจะทำให้เกิดการสะสมและแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าในก้อนเมฆ

56 ลม ฟ้า อากาศ ถ้าการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าเกิดภายในก้อนเมฆหรือระหว่างก้อนเมฆที่อยู่ติดกันและมีความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างตำแหน่งทั้งสองมากพอ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดสนามไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยประจุไฟฟ้าบวกจะอยู่ทางด้านบนของเมฆเคลื่อนที่เข้าหาประจุไฟฟ้าลบบริเวณใต้กลุ่มเมฆทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกิดปรากฏการณ์ ฟ้าแลบ

57 ลม ฟ้า อากาศ ถ้าประจุไฟฟ้าบวกที่อยู่ใต้พื้นผิวดินเคลื่อนที่เข้าหาประจุไฟฟ้าลบบริเวณใต้ก้อนเมฆ จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอากาศอย่างเฉียบพลันจากก้อนเมฆถึงพื้นผิวทำให้เกิดปรากฏการณ์ ฟ้าผ่า

58 ลม ฟ้า อากาศ

59 ลม ฟ้า อากาศ ขณะที่เกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่า อากาศโดยรอบจะมีอุณหภูมิสูงประมาณ 30,000 องศาเซลเซียส ทำให้อากาศเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นเสียง ฟ้าร้อง

60 ลม ฟ้า อากาศ ฟ้าแลบและฟ้าร้องเกิดขึ้นพร้อมกัน แต่แสงเดินทางมาถึงเราก่อนเสียง เราจึงเห็นฟ้าแลบ ก่อนได้ยินเสียงฟ้าร้อง

61 ลม ฟ้า อากาศ

62 ลม ฟ้า อากาศ เมฆทวีจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
ลักษณะอากาศขณะเกิดพายุฟ้าคะนอง มีดังนี้ เมฆทวีจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว มีลมพัดแรง และลมกระโชกเป็นครั้งคราว อาจเป็นอันตรายต่อทรัพย์สิน อาคารบ้านเรือน เสียหาย เป็นต้น ฝนเริ่มตกและตกหนักในเวลาต่อมา อาจเกิดน้ำท่วมได้

63 ลม ฟ้า อากาศ เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้
บางครั้งอาจจะเกิดลูกเห็บ อาจจะมีลมวงเกิดขึ้น

64 ลม ฟ้า อากาศ ความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศ ภูมิอากาศ
กาลอากาศและภูมิอากาศ มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เช่นเดียวกับอากาศยกตัวอย่าง เช่น การประกอบอาชีพ การอยู่อาศัย และกิจวัตรประจำวันของมนุษย์

65 ลม ฟ้า อากาศ เราสามารถแบ่งเขตภูมิอากาศในแต่ละซีกโลกออกเป็น 3 เขต ดังนี้ 1. เขตร้อน แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมชัน และมีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะอยู่ เหนือศีรษะได้ พื้นที่เขตนี้จึงรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ได้มากกว่าส่วนอื่น ๆ ของโลก

66 ลม ฟ้า อากาศ 2. เขตอบอุ่น แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมเฉียง แม้ว่าไม่มีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือศีรษะแต่ก็ยังได้รับแสงอาทิตย์ตลอดปี

67 ลม ฟ้า อากาศ 3. เขตหนาว แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมลาด มีโอกาสได้รับแสงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาวน้อยมาก

68 ลม ฟ้า อากาศ เอลนีโญ สภาวะเอลนีโญ เมื่อลมสินค้ามีกำลังอ่อนกว่าปกติ ทำให้กระแสน้ำผิวหน้าของมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเป็นกระแสน้ำอุ่นเคลื่อนที่ไปยังทิศตะวันตกได้น้อย ซ้ำยังเคลื่อนที่กลับมาแทนที่กระแสน้ำเย็นบริเวณชายฝั่งตะวันออก

69 ลม ฟ้า อากาศ ส่งผลให้ชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกมีการสะสมความร้อนและความชื้นแล้วเกิดพายุฝนขึ้น แต่ในขณะเดียวกันชายฝั่งตะวันตกก็ไม่มี กระแสน้ำอุ่น เคลื่อนที่เข้ามา ส่ง ผลให้ชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดความแห้งแล้งขึ้น เรียกปรากฏการณ์ที่ผิวน้ำทะเลที่อุ่นพัดมาแทนที่กระแสน้ำเย็นนี้ว่า เอลนีโญ

70 ลม ฟ้า อากาศ ลานีญา สภาวะลานีญา เมื่อลมสินค้ามีกำลังแรงมากกว่าปกติ ทำให้กระแสน้ำผิวหน้าของมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกมากขึ้น

71 ลม ฟ้า อากาศ ส่งผลให้บริเวณชายฝั่งตะวันออกของมหาสมทุรแปซิฟิกมีความแห้งแล้งมากกว่าเดิม แต่ในขณะเดียวกัน บริเวณชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกกลับมีการสะสมอุณหภูมิและไอน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดฝนตกหนักมากขึ้นกว่าเดิม เรียกปรากฏการณ์ที่ผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกตินี้ว่า ลานีญา

72 ลม ฟ้า อากาศ

73 ลม ฟ้า อากาศ

74 ลม ฟ้า อากาศ

75 ลม ฟ้า อากาศ ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) คือ ปรากฏการณ์ที่แก๊สในชั้นบรรยากาศชนิดหนึ่งที่ เรียกว่าแก๊สเรือนกระจกดูดกลืนรังสีคลื่นยาวที่สะท้อนมาจากผิวโลกแล้วคายรังสีความร้อนกลับมายังผิวโลกอีกครั้ง หนึ่ง

76 ลม ฟ้า อากาศ ทำให้โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น ปรากฏการณ์เรือนกระจกที่พอเหมาะพอดีจะช่วยให้ผิวโลกไม่ร้อนจนเกินไปใน เวลากลางวัน และไม่เย็นจนเกินไปในเวลากลางคืน แต่ถ้ามากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global warming)

77 ลม ฟ้า อากาศ

78 ลม ฟ้า อากาศ ปรากฏการณ์เรือนกระจกมีลำดับการเกิดขึ้นโดยเริ่มจากการที่รังสีจากดวงอาทิตย์เดินทางมายัง โลก เมื่อเจอกับชั้นบรรยากาศของโลก รังสีบางส่วนจะสะท้อนกลับไป แต่บางส่วนจะผ่านเข้ามาได้

79 ลม ฟ้า อากาศ เมื่อรังสีจากดวง อาทิตย์เดินทางมาถึงผิวโลก จะถูกดูดกลืนไว้ในรูปของพลังงานความร้อน ทำให้ผิวโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อผิวโลก สะสมความร้อนไว้มากขึ้นก็จะคายออกมาในรูปของรังสีอินฟราเรด รังสีอินฟราเรดที่ผิวโลกคายออกมาบางส่วน เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศออกไป แต่บางส่วนถูกแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศดูดกลืนไว้ ส่งผลให้ผิวโลกอุ่นขึ้น

80 ลม ฟ้า อากาศ แก๊สเรือนกระจก
แก๊สเรือนกระจก (Greenhouse gases) เป็นแก๊สที่มีคุณสมบัติในการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด ทำให้ โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น มีความสำคัญเพราะช่วยรักษาอุณหภูมิของโลกไม่ให้ร้อนหรือเย็นจนเกินไป แต่ถ้ามีแก๊สเรือน กระจกมากเกินไปจะทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นจึงทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

81 ลม ฟ้า อากาศ 1) ไอน้ำ (Water vapor) มีอิทธิพลต่อการควบคุมอุณหภูมิของโลกมากที่สุด มีปริมาณร้อยละ ในอากาศ ที่ไหนมีไอน้ำอยู่มาก ที่นั่นก็มีความชื้นสูง ไอน้ำในอากาศเป็นส่วนหนึ่งในวัฏจักรของน้ำเมื่อลอยตัวสูงขึ้น แล้วอุณหภูมิลดต่ำลงจะเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ำหรือเกล็ดน้ำแข็ง ก่อให้เกิดเมฆ

82 ลม ฟ้า อากาศ 2) คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) เป็นแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ และการหายใจ ในปัจจุบัน คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศมีปริมาณเพิ่ม ขึ้นอย่างมากเนื่องจากการเติบโตของ อุตสาหกรรม จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เราสามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้ด้วยการ ปลูกต้นไม้ และลดการใช้พลังงาน

83 ลม ฟ้า อากาศ 3) มีเทน (Methane) เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เกิดจากพื้นที่นาข้าว จาก การหมักมูลสัตว์ และอาจพบได้ในชั้นถ่านหิน โดยปกติแล้ว มีเทนจะถูกปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศในปริมาณมากกว่า คาร์บอนไดออกไซด์ แต่จะสลายตัวได้เร็วกว่า จึงมีผลต่อภาวะโลกร้อนน้อยกว่าคาร์บอนไดออกไซด์

84 ลม ฟ้า อากาศ 4) ไนตรัสออกไซด์ (Nitrous oxide) โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อ แก๊สหัวเราะ (Laughing gas) เพราะในอดีตนามาใช้ในการผ่าตัดและการทันตกรรม เพื่อให้ลืมความเจ็บปวด และน้องๆ หลายคน อาจจะรู้จักไนตรัสออกไซต์จากการเล่นเกมรถแข่ง เพราะมันช่วยในการเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ได้ ไนตรัสออกไซด์ จะก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนได้รุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 298 เท่า ในปริมาณที่เท่ากัน แต่โชคดีที่ว่า ไนตรัส ออกไซด์มีปริมาณในบรรยากาศน้อยมากเมื่อเทียบกับคาร์บอนไดออกไซด์

85 ลม ฟ้า อากาศ 5) โอโซน (Ozone) มีอยู่มากในบริเวณชั้นโอโซน ซึ่งอยู่ในชั้นบรรยากาศสต ราโตสเฟียร์เกิดจากการที่ออกซิเจนอะตอมเดี่ยวรวมตัวกับโมเลกุลของแก๊สออกซิเจนมีหน้าที่ช่วยในการ ดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ไม่ให้เดินทางมาถึงพื้นโลก แต่โอโซนจะมีประโยชน์ต่อเมื่ออยู่ในชั้น บรรยากาศสตราโตสเฟียร์เท่านั้น หากโอโซนอยู่ในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์จะเกิดอันตราย เพราะเป็นแก๊สพิษ

86 ลม ฟ้า อากาศ 6) คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) หรือ ซีเอฟซี (CFC) หรือ ฟรีออน (Freon) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอน ฟลูออรีน และคลอรีน อยู่ในสถานะแก๊ส นำมาใช้เป็นสารทำความเย็นในตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นตัวขับดันในกระป๋องสเปรย์และใช้เป็นตัวทำละลาย ซีเอฟซีเป็นแก๊สเรือน กระจก และเป็นตัวการที่ทำลายชั้นโอโซน ทำให้รังสีจากดวงอาทิตย์เดินทางมาถึงพื้นโลกได้มากขึ้น ก่อให้เกิด อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

87 ลม ฟ้า อากาศ ภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน (Global warming) เป็นภาวะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบริเวณผิวโลกและในน้ำ ทะเลสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปรากฏการณ์เรือนกระจก

88 ลม ฟ้า อากาศ การเกิดภาวะโลกร้อน ภาวะโลกร้อนเกิดจากการที่แก๊สเรือนกระจกมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้ดูดกลืนรังสี อินฟราเรดได้มากขึ้น การที่แก๊สเรือนกระจกมีปริมาณเพิ่มขึ้นก็เนื่องมาจากการกระทำของมนุษย์ อย่างเช่น การเผา ไหม้ในรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรมก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์และโอโซนเพิ่มมากขึ้น การทำการเกษตร สมัยใหม่และการเลี้ยงปศุสัตว์ทำให้เกิดมีเทนเพิ่มมากขึ้น

89 ลม ฟ้า อากาศ ผลที่เกิดขึ้น จากภาวะโลกร้อน
1) อากาศมีความแปรปรวนมากขึ้น ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นก็จะรุนแรงมากขึ้น และเกิด ภูมิอากาศสุดโต่ง (Extreme weather) 2) น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลาย ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น แผ่นดินที่อยู่ไม่สูงจาก ระดับน้ำทะเลจะจมน้ำ 3) เกิดโรคระบาดมากขึ้น เพราะเชื้อโรคจะเจริญเติบโตได้ดี 4) สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์หลายชนิด

90 ลม ฟ้า อากาศ การพยากรณ์อากาศ
การพยากรณ์อากาศ (Weather forecast) คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ในการพยากรณ์ลักษณะของอากาศในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง

91 ลม ฟ้า อากาศ การที่เราจะพยากรณ์อากาศได้จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 อย่าง คือ 1) ความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์และกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ อาศัยวิธีการเฝ้าสังเกตและจดบันทึกไว้

92 ลม ฟ้า อากาศ 2) ทราบสภาวะอากาศในปัจจุบัน ที่ใช้เป็นข้อมูลเริ่มต้นสำหรับการพยากรณ์อากาศนั้น ได้มาจากการตรวจอากาศซึ่งมีทั้งการตรวจอากาศผิวพื้น การตรวจอากาศชั้นบนในระดับความสูงต่างๆ และสิ่งสำคัญที่จะต้องทำการตรวจเพื่อพยากรณ์อากาศ

93 ลม ฟ้า อากาศ 3) สามารถนำองค์ประกอบทั้งสองอย่างมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อคาดหมายการเปลี่ยนแปลง ของบรรยากาศที่จะเกิดขึ้น

94 ตัวอย่าง เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ
ตัวอย่างที่ 1 ลมฟ้าอากาศคืออะไร ลักษณะอากาศที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตระยะยาว ค่าทางสถิติของลมฟ้าอากาศในระยะเวลายาวนาน การคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับสภาวะอากาศบนพื้นที่ใดๆ สภาวะโดยทั่วไปของลมฟ้าอากาศบนพื้นที่ใดๆในระยะเวลาอันสั้น

95 ตัวอย่าง เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ
ตัวอย่างที่ 2 ลักษณะอากาศแบบใดที่มีผลทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองได้มากที่สุด ความชื้นสูง อุณหภูมิต่ำ ความชื้นต่ำ อุณหภูมิสูง ความชื้นสูง อุณหภูมิสูง ความชื้นต่ำ อุณหภูมิต่ำ

96 ตัวอย่าง เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ
ตัวอย่างที่ 3 พายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นเมื่อใด ลมเย็นปะทะกับลมร้อน ความดันอากาศ 2 บริเวณต่างกันมาก หย่อมความกดอากาศต่ำมีบริเวณแคบๆ ความกดอากาศเหนือดินและเหนือน้ำต่างกัน

97 ตัวอย่าง เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ
ตัวอย่างที่ 4 กระแสลมจะพัดจากบริเวณใดไปยังบริเวณใด จากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ จากบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศสูง จากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศปานกลาง จากบริเวณที่มีความกดอากาศปานกลางไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศสูง

98 ตัวอย่าง เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ
ตัวอย่างที่ 5 บริเวณที่อยู่ที่ตาพายุจะเป็นอย่างไร ลมพัดแรง อากาศมืดครึ้ม และมีลมแรง มีเมฆมากและมีฝนตกหนัก อากาศแจ่มใส มีเมฆเล็กน้อย ลมพัดอ่อนๆ

99 ตัวอย่าง เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ
ตัวอย่างที่ 6 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับมรสุมที่เกิดในประเทศที่อยู่ทางซีกโลกเหนือเมื่อซีกโลกใต้เอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ ความดันอากาศเหนือทวีปจะสูงกว่าความดันอากาศเหนือมหาสมุทร อุณหภูมิของอากาศเหนือทวีปจะต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศเหนือมหาสมุทร ลมจะพัดจากมหาสมุทรไปทวีป 1. และ 2. 2. และ 3. 1. และ 3. 1. 2. และ 3.


ดาวน์โหลด ppt By Poonyaporn Siripanichponng

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google