Service-Oriented Architecture
Service-Oriented Architecture Service Oriented Architecture (SOA) เป็นสถาปัตยกรรมเชิงบริการ ซึ่งเป็นแนวคิดในการออกแบบระบบ หรือซอฟต์แวร์ ขององค์กรในลักษณะเชิงบริการ โดย services เหล่านี้เป็นอิสระต่อกัน มีฟังก์ชันการทำงานที่มีขอบเขตชัดเจน มุ่งเน้นให้มีการนำสารสนเทศที่มีอยู่เดิมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการทำให้ทรัพยากรที่มีความหลากหลายและซับซ้อนสามารถทำงานร่วมกันได้ โดยบริการต่างๆของซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้นสามารถสื่อสารกันด้วยมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป หน่วยของลอจิกซึ่งมีลักษณะเป็น Service ได้จัดเตรียมบริการไว้ให้ Services อื่นเรียกใช้ โดยแต่ละ Service จะเป็นอิสระต่อกัน และสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั้ง Service ที่อยู่ภายในและภายนอกองค์กร ทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ โดยผ่านเทคโนโลยีที่มีอยู่โดยไม่จำเป็นต้องพัฒนาใหม่ทั้งหมด
สถาปัตยกรรมเชิงบริการ Service Oriented Architecture (SOA) SOA เปรียบเสมือนแบบจำลองการจัดระเบียบ และพัฒนาซอฟต์แวร์ที่อยู่บนพื้นฐานของ Service ซึ่งแบบจำลองนี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ ความสามารถ และการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของระบบต่างๆของซอฟต์แวร์ ที่มีการเชื่อมต่อสื่อสารกัน เพื่อให้ผู้ใช้ องค์กร ทั้งภายในและภายนอก สามารถค้นหาข้อมูล แลกเปลี่ยน Service ของข้อมูลได้อย่างอิสระโดยไม่คำนึงถึงภาษาที่ใช้พัฒนาของโปรแกรม หรือความแตกต่างกันทางด้านเทคโนโลยี สถาปัตยกรรมเชิงบริการประกอบด้วยโครงสร้างทางไอที 4 layers : Resource Layer Service Layer Process Layer Access Layer
Resource Layer เป็นชั้นของระบบโครงสร้างไอทีต่างๆ ในปัจจุบัน เช่นระบบฐานข้อมูล Oracle ระบบโซลูชัน SAP เป็นต้น Service Layer เป็นชั้นของส่วนประกอบเซอร์วิสต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ โดยส่วนประกอบเซอร์วิสเหล่านี้จะพัฒนามาจากโมดูล (Module) ต่างๆ ที่ทำงานบน Resource Layer เช่นโมดูลของฐานข้อมูล Oracle โมดูลของระบบโซลูชัน SAP และโมดูลของโปรแกรมประยุกต์ที่อาจพัฒนาด้วย Java หรือ .NET เป็นต้น Service Consumer A Service .NET Platform Java Platform
Process Layer ซึ่งเป็นชั้นของกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ที่พัฒนาขึ้นมาจากการส่วนประกอบเซอร์วิสต่างๆ Access Layer ซึ่งเป็นชั้นของการเรียกใช้กระบวนการทางธุรกิจที่พัฒนาขึ้นโดยอาจเรียกใช้เซอร์วิสจาก web application ผ่านทางเว็บไซต์ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Phone)
SOA ประสานงานกับระบบอื่น ๆ New Service Service Consumer Interface Service Interface Service Implementation
IT Management Integration อพบ อทบ BI Analytical Reports Personal data Welfare Data Warehouse Data Integration Data Mining ERP SCM Knowledge Discovery Point Of Sales Accounting Finance Manufacturing Etc. Supply Chain Costing Logistic Tracking Forecasting
คุณลักษณะพื้นฐานของ Web Services ลักษณะการให้บริการของ Web Services นั้น จะถูกเรียกใช้งานจาก application อื่นๆ ในรูปแบบ RPC (Remote Procedure Call) ซึ่งการให้บริการจะมีเอกสารที่อธิบายคุณสมบัติของบริการกำกับไว้ โครงสร้างของเอกสารที่ใช้เป็นสื่อในการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการคือ XML ทำให้เราสามารถเรียกใช้ Component ใด ๆ ก็ได้ ในระบบ หรือ Platform ใด ๆ ก็ได้ บน Protocol HTTP ซึ่งเป็น Protocol สำหรับ World Wide Web หรืออินเตอร์เน็ต อันเป็นช่องทางที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในการติดต่อสื่อสารกันระหว่าง Application กับ Application ในปัจจุบัน
องค์ประกอบของ Web Service หรือเรียกว่า Service Broker มีหน้าที่รับลงทะเบียนและช่วยในการค้นหาเว็บเซอร์วิส Service Registry เก็บรายละเอียดของเซอร์วิสต่าง ๆ เช่น นิยาม และตำแหน่งของเว็บเซอร์วิส ดังนั้น service registry จึงทำหน้าที่คล้ายกับสมุดโทรศัพท์เพื่อช่วยให้ผู้ขอใช้บริการสามารถค้นหาเซอร์วิสที่ต้องการได้ rService Registry ค้นหา เผยแพร่ Service Provider (ผู้ให้บริการ) มีหน้าที่ในการพัฒนาและติดตั้งเว็บเซอร์วิสในเซิร์ฟเวอร์ของตน และนิยามความหมายของเซอร์วิสและบอกวิธีการเรียกใช้ และลงทะเบียนเซอร์วิสของตนไว้ที่ Service Registry rService Requestor rService Provider เรียกใช้ Service Requestor (ผู้รับบริการ) เป็นผู้เรียกใช้เว็บเซอร์วิส โดยจะทำการค้นหาเซอร์วิสจาก service directory แล้วจึงเขียนคำสั่งเรียกใช้เซอร์วิสใน application ของตน
องค์ประกอบของเว็บเซอร์วิส ระบบเว็บเซอร์วิสมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ 1. Service Requestor เป็นผู้ที่ต้องการเรียกใช้บริการจาก Provider ซึ่งสามารถค้นหาบริการที่ต้องการได้จาก UDDI Registry หรือ Service Registry หรือติดต่อจาก Provider โดยตรง 2. Service Registry ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้ Provider มาลงทะเบียนไว้ โดยใช้ WSDL ไฟล์ บอกรายละเอียดของบริษัท และบริการที่มีให้ ซึ่งอาจจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ 3. Service Provider เป็นผู้ให้บริการมีหน้าที่ในการเปิดบริการเพื่อรองรับการขอใช้บริการจาก Requestor ที่เรียกเข้ามาขอใช้ บริการ
ผู้ร้องขอ (Requester) พัฒนาระบบใช้บริการเพื่อขอบริการจาก Data sources ของหน่วยงานโดยตรง (แสดงใน 3 สไลด์ถัดไป) UDDI (Universal Description, Discovery and Integration) เป็นไดเร็กทอรี ที่เก็บรวบรวม Web Services ที่มีการลงทะเบียนไว้ ซึ่งอาจ รวมไปถึงบริการอื่นๆที่เป็นอิเลคทรอนิกส์ และไม่เป็นอิเลคทรอนิกส์ด้วย UDDI จะเก็บรวบรวมข้อมูลของ Web Services Requester ศึกษา Web Services Description Language (WSDL) คือ เอกสาร XML ที่อธิบายรายละเอียดในการติดต่อกับเว็บเซอร์วิส เพื่อให้ แอพพลิเคชั่นที่ต้องการเรียกใช้เว็บเซอร์วิสรู้ว่าเซอร์วิสนั้นให้บริการอะไรบ้าง และจะติดต่อได้อย่างไร Requester พัฒนาระบบใช้บริการด้วย WSDL เพื่อติดต่อบริการจาก Data sources ของหน่วยงานโดยตรง
ขั้นตอนการทำงานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ 2 หน่วยงาน โครงสร้างหน่วยงาน ค้นหาบริการ บริการที่เปิดให้ใช้งาน WSDL ขั้นตอนขอใช้บริการ หน่วยงานผู้ใช้บริการ พัฒนาระบบใช้บริการ Web service UDDI ลงทะเบียนบริการ Web Application Server แลกเปลี่ยนข้อมูล พัฒนาระบบให้บริการ Web service XML หน่วยงานผู้ให้บริการ Web Services Server
Example I: Hospital Services Hospital A Insurance Company Social Security Organization Ministry of Interior Hospital B Services Directory Center Services Information 2 Patient History Person Information Insurance Payment Government Payment 3 System based SOA 1
Example II: Travel Services Thai Airways Quantus Airway China Airline Insurance X Insurance Y 1 System based SOA Services Directory Center 1 3 2 Hotel A 3 Hotel B I want to go to New York on next Monday at 11:00 PM. Do you have flight and a room of hotel in the city? Travel Agency Hotel C
การให้ Directory Service เป็นผู้เรียกใช้บริการไปยัง Data Sources ภาพในสไลด์ถัดไป เป็นเว็บเซอร์วิสที่แตกต่างไปจาก 3 สไลด์ข้างต้น จากภาพพบว่า web application ที่ให้บริการในการค้นหา จะส่งคำค้นมายัง Directory Service เพื่อให้ Directory Service เป็นผู้เรียกใช้บริการไปยัง Data Source
Web Services Interoperability Web Service ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศจากแอพพลิเคชันที่ต่างกันเป็นไปโดยง่าย โดยแอพพลิเคชันนั้นๆ สามารถเขียนด้วย Java และรันอยู่บน Sun Solaris Application Server หรืออาจจะเขียนด้วย C++ และรันอยู่บน Windows NT หรืออาจะเขียนด้วย Perl และรันอยู่บนเครื่อง Linux ซึ่งมาตรฐานของ Web Service ทำให้อินเทอร์เฟซของแอพพลิเคชันเหล่านี้ ถูกอธิบายโดย WSDL และทำให้อยู่ในมาตรฐานของ UDDI หลังจากนั้น จึงสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันโดย XML ผ่าน SOAP อินเตอร์เฟซ Web Service สามารถถูกเรียกใช้ภายในองค์กรเองหรือจากภายนอกองค์กร โดยผ่านไฟร์วอล์ ดังนั้นจึงมีองค์กรใหญ่ๆ มากมาย กำลังพัฒนาระบบที่มีอยู่ของตน ให้เข้ากับ Web Service ซึ่งนับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เนื่องจาก Web Service สามารถเพิ่มศักยภาพในการทำงานขององค์กร อีกทั้งลดค่าใช้จ่ายในการจัดการทรัพยากรขององค์กรได้นอกจากนั้น Web Service ยังสามารถใช้ร่วมกับ Web Application โดยส่งผ่านข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
เว็บเซอร์วิส ประกอบด้วยอะไรบ้าง ? เว็บเซอร์วิส คือแอพพลิเคชั่น ที่ถูกสร้างให้รอรับการเรียกใช้งานจากแอพพลิเคชั่นอื่นบนอินเตอร์เน็ต โดยสื่อสารกันด้วยข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบ XML ซึ่งรูปแบบ XML ที่ใช้นี้ ถูกกำหนดเป็นมาตรฐานชื่อว่า SOAP โดยข้อมูลอาจถูกส่งผ่านทางโปรโตคอล HTTP ,SMTP หรือ FTP แต่ที่นิยมใช้มาก คือ HTTP เว็บเซอร์วิส ประกอบด้วยอะไรบ้าง ? Application – โปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการ XML – eXtensible Markup Language เป็นรูปแบบภาษาที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแอปพลิเคชั่นบนอินเตอร์เน็ต SOAP - Simple Object Access Protocol โปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างแอพพลิเคชั่น WSDL – Web Service Description Language ไฟล์ที่เก็บวิธีการเรียกใช้งาน Web Service UDDI – Universal Description, Discovery and Integration ไดเรกทอรีที่รวบรวม WSDL จำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน
Service-Oriented Architecture A service-oriented architecture is an information technology approach or strategy in which applications make use of (perhaps more accurately, rely on) services available in a network such as the World Wide Web. B C A D Implementing a service-oriented architecture can involve developing applications that use services, making applications available as services so that other applications can use those services, or both
Web Services Technologies XML UDDI SOAP WSDL World Wide WebConsortium (W3C): www.w3c.org OASIS: www.oasis-open.org
เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนา Web Service XML (The Extensible Markup Language 1.0) XML (The Extensible Markup Language 1.0) เป็นภาษา Markup ที่เป็น text-based ซึ่งทำให้เป็น มาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว ผู้ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ และกำหนดมาตรฐานของ XML คือ World Wide Web Consortium (W3C) ความแตกต่างระหว่าง XML กับ HTML คือ HTML ถูกนำมาใช้ในการสร้าง เว็บเพจ ที่สามารถแสดงผลได้โดยโปรแกรมเบราวเซอร์ แต่ XML จะใส่ tags ได้อย่างอิสระ แล้วทำการส่ง XML ชุดนี้ไป ประมวลผลยังแอพพลิเคชั่นใด ๆ ที่สามารถใช้ข้อมูลใน XML นี้
XML & HTML HTML ภาษาที่ใช้ในการเขียน Web มากที่สุด เพราะมีรูปแบบที่ง่ายต่อการแสดงผลของ Browser เนื่องจาก มี tag ตายตัวที่สามารถบอกได้ว่าเมื่อเจอ tag นี้จะแสดงผลอย่างไร เช่น เมื่อเจอ tag <B>…</B> ในเอกสารก็ให้แสดงข้อความที่อยู่ระหว่าง tag เป็นตัวหนา แต่จะสังเกตได้ว่าคอมพิวเตอร์จะไม่เข้าใจว่าข้อความนั้นคืออะไร เพียงแต่รู้ว่าจะแสดงผลอย่างไร นั่นแสดงว่าไม่สามารถนำข้อมูลภายใน tag เหล่านี้ไปทำการประมวลใดๆ ได้เลย XML เป็นภาษาที่มีลักษะเป็น tag คล้าย HTML แต่ไม่ได้มุ่งที่การแสดงผล XML มุ่งที่การสื่อความหมายโดยอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถกำหนด tag ขึ้นได้เองเพื่อให้สื่อความหมายทางภาษาของมนุษย์ แต่คอมพิวเตอร์เองก็เข้าใจเช่นกัน ทำให้ข้อมูลระหว่าง tag สามารถนำไปประมวลผลต่อได้
ตัวอย่าง รูปแบบเอกสาร xml ไม่ได้บอกวิธีแสดงผลไว้ แต่เอกสารสามารถสื่อความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ และนำค่าไปประมวลผลต่อได้ แต่ถ้าเราต้องการจะแสดงผลเราต้องใช้ควบคู่กันกับ HTML <ComputerBook> <book> <name> Data Exchange</name> <price>10.00$</price> </book> <name>xml</name> </ComputerBook>
SOAP (Simple Object Access Protocol) SOAP เป็นโปรโตคอลหรือระเบียบวิธีในการส่ง message ระหว่างเว็บเซอร์วิส SOAP เป็น Transport Protocol ที่มี XML เป็นพื้นฐาน (เอกสารที่ถูกกำหนดรูปแบบด้วยโครงสร้างภาษา XML) และใช้ HTTP เป็นโปรโตคอลร่วมในการส่งผ่านเครือข่าย ทำให้เว็บเซอร์วิสสามารถสื่อสารกันได้แม้ว่า จะอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์คนละแพลตฟอร์ม หรือพัฒนาด้วยภาษาโปรแกรมที่ต่างกันก็ตาม เมื่อผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น ต้องการใช้งาน เว็บเซอร์วิส ผู้พัฒนาก็เพียงแค่เขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับโมดูล SOAP ในภาษาที่ตนใช้ จากนั้น SOAP ก็จะสร้าง SOAP message เพื่อติดต่อกับแอพพลิเคชั่นปลายทางให้โดยอัตโนมัติ SOAP จะระบุวิธีในการเข้ารหัสส่วนหัว (Header Encoding) ของทั้ง HTTP และไฟล์ XMLไว้อย่างชัดเจนทั้งใน ส่วนของการติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งและส่งผ่านข้อมูลไปให้ รวมถึงระบุวิธีที่โปรแกรมซึ่งถูกเรียกนั้นจะส่งค่าคืนกลับมาด้วย
ตัวอย่างของ SOAP messages <soap:Envelope xmlns:soap="http://schemas.xmlsoap.org/soap/envelope/"> <soap:Body> <getProductDetails xmlns="http://library.example.com/ws"> <bookID>954839</bookID> </getProductDetails> </soap:Body> </soap:Envelope> </code>
SOAP message ที่ถูกส่งกลับมาจากเว็บเซอร์วิสของห้องสมุด ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อหนังสือ คำอธิบาย ชื่อผู้แต่ง และสถานะของหนังสือ <soap:Envelope xmlns:soap="http://schemas.xmlsoap.org/soap/envelope/"> <soap:Body> <getBookDetailsResponse xmlns="http://library.example.com/ws"> <getBookDetailsResult> <bookName>Web Service by Truehits</bookName> <bookID>954839</bookID> <description>Web Service Quick Guide for Developer.</description> <author>Sorrawut Korsuwansiri</author> <inStock>true</inStock> </getBookDetailsResult> </getBookDetailsResponse> </soap:Body> </soap:Envelope> </code>
แนวทางในการศึกษาและพัฒนาต่อไปเกี่ยวกับ XML ศึกษาการ Validate ข้อมูลในไฟล์ XML ว่ามี Schema ถูกต้องตาม ความต้องการหรือไม่ด้วย metadata file เช่น .xsd , .dtd ศึกษาทำความเข้าใจกับหลักการทำงานของระบบ Web Service ศึกษา UDDI (Universal Description, Discovery and Integration) ซึ่งเป็นไดเรกทอรี ที่เก็บรวบรวม Web Services ที่ มีการลงทะเบียนไว้ ซึ่งอาจรวมไปถึงบริการอื่นๆที่เป็นอิเลคทรอนิกส์ และไม่ เป็นอิเลคทรอนิกส์ด้วย UDDI จะเก็บรวบรวมข้อมูลของ Web Services ศึกษา Web Services Description Language (WSDL) คือ เอกสาร XML ที่อธิบายรายละเอียดในการติดต่อกับเว็บเซอร์วิส เพื่อให้ แอพพลิเคชั่นที่ต้องการเรียกใช้เว็บเซอร์วิสรู้ว่าเซอร์วิสนั้นให้บริการ อะไรบ้าง และจะติดต่อได้อย่างไร
ขั้นตอนการทำงานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ 2 หน่วยงาน โครงสร้างหน่วยงาน ค้นหาบริการ บริการที่เปิดให้ใช้งาน WSDL ขั้นตอนขอใช้บริการ หน่วยงานผู้ใช้บริการ พัฒนาระบบใช้บริการ Web service UDDI ลงทะเบียนบริการ Web Application Server แลกเปลี่ยนข้อมูล พัฒนาระบบให้บริการ Web service XML หน่วยงานผู้ให้บริการ Web Services Server
ภาพรวมของการแลกเปลี่ยนข้อมูล แต่ละองค์กรมีฐานข้อมูลเป็นของตนเอง กรมการขนส่งฯ ทะเบียนราษฎร์ สำนักงานตำรวจฯ
ทำข้อตกลงร่วมกันในการแลกเปลี่ยนและส่งผ่านข้อมูล - มีความจำเป็นที่จะต้องแลกเปลี่ยนกันหรือไม่? - มีข้อมูลใดที่สามารถใช้ร่วมกันระหว่างองค์กรได้บ้าง ? XML Schema ตำรวจ ทะเบียนราษฎร์ ขนส่ง
ข้อมูลที่ร้องขอระหว่างองค์กรมีอะไรบ้าง? ตำรวจ ประวัติอาชากรรม, คดีความ ทะเบียนราษฎร์ ข้อมูลบุคคล, ภูมิลำเนา, ผู้เกี่ยวข้อง รายละเอียดยานพาหนะ ผู้เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ คดีที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ ขนส่ง
หลักการส่งผ่านข้อมูลผ่านเครือข่ายทำได้อย่างไร ? Interface Request DataBase Web Service Response XSD,DTDXML
ขั้นตอนการสร้าง XML Schema และการนำไปใช้งาน ทราบความต้องการของผู้ร้องขอว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง สร้างข้อตกลงร่วมกันในการส่งข้อมูลภายใต้ชื่อที่เข้าใจตรงกัน (XML Schema) นำข้อมูลจากฐานข้อมูลของตนมาสร้างมุมมอง (Query View)ให้มีโครงสร้างครบถ้วนตามความต้องการของผู้ร้องขอ Export View to XML File จะได้ไฟล์ XML ที่มีโครงสร้างตามความต้องการ ผู้ร้องขอนำไฟล์ที่ได้ไป Import to Database หรือใช้ประโยชน์ตามต้องการ
กรมตำรวจเตรียมข้อมูลสำหรับสำนักทะเบียนราษฎร์ ลำดับ ข้อมูล ชื่ออ้างอิง 1 หมายเลขบัตร ปชช. PersonID 2 ชื่อ FirstName 3 นามสกุล LastName 4 หมายเลขคดี CaseID 5 ชื่อคดี CaseName 6 วันที่เกิดเหตุ CaseDate 7 พื้นที่เกิดเหตุ CasePlace
ตัวอย่าง XML Schema สำหรับทะเบียนราษฎร์ ลำดับ ข้อมูล ชื่ออ้างอิง 1 หมายเลขบัตร ปชช. PersonID 2 ชื่อ FirstName 3 นามสกุล LastName 4 หมายเลขคดี CaseID 5 ชื่อคดี CaseName 6 วันที่เกิดเหตุ CaseDate 7 พื้นที่เกิดเหตุ CasePlace XML Schema จะบอกโครงสร้างของ ข้อมูล ชื่อคอลัมน์ ชนิดข้อมูล
ตัวอย่างและข้อมูลใน XML File สำหรับทะเบียนราษฎร์ ลำดับ ข้อมูล ชื่ออ้างอิง 1 หมายเลขบัตร ปชช. PersonID 2 ชื่อ FirstName 3 นามสกุล LastName 4 หมายเลขคดี CaseID 5 ชื่อคดี CaseName 6 วันที่เกิดเหตุ CaseDate 7 พื้นที่เกิดเหตุ CasePlace
XML Schema ระหว่างองค์กร กองบัญชาการตำรวจแห่งชาติ กับ กรมการขนส่งทางบก เลขที่บัตร ปชช.(PersonID) เลขที่ใบขับขี่ (LicenseID) วันที่เกิดคดี (OccureDate) สถานที่เกิดคดี (CasePlace) รายละเอียดคดี (CaseDesc) ทะเบียนรถยนต์ (VehicleID) ประเภทยานพาหนะ (VehicleType) หมายเลขเครื่องยนต์ (MachineID) ผู้ครอบครอง (OwnerName) ปีที่จดทะเบียน (RecordYear) ทะเบียนรถ(VehicleID) สน.ที่รับแจ้งความ (PoliceStation) วันที่เกิดเหตุ(OccureDate)) สถานที่เกิดคดี (CasePlace) รายละเอียดคดี (CaseDesc) ตำรวจ (ร้องขอ) ขนส่ง (ร้องขอ)
เตรียมข้อมูลสำหรับกรมการขนส่งทางบก ข้อมูลบุคคล - คดี ลำดับ ข้อมูล ชื่ออ้างอิง 1 หมายเลขบัตร ปชช. PersonID 2 เลขที่ใบขับขี่ LicenseID 3 ชื่อ FirstName 4 นามสกุล LastName 5 วันที่เกิดคดี OccureDate 6 สถานที่เกิดคดี CasePlace 7 รายละเอียดคดี CaseDesc ข้อมูลยานพาหนะ - คดี ลำดับ ข้อมูล ชื่ออ้างอิง 1 ทะเบียนรถ VehicleID 2 สน.ที่รับแจ้งเหตุ PoliceStation 3 วันที่เกิดคดี OccureDate 4 สถานที่เกิดคดี CasePlace 5 รายละเอียดคดี CaseDesc
ตัวอย่าง XML Schema สำหรับกรมการขนส่ง ข้อมูลยานบุคคล - คดี ลำดับ ข้อมูล ชื่ออ้างอิง 1 หมายเลขบัตร ปชช. PersonID 2 เลขที่ใบขับขี่ LicenseID 3 ชื่อ FirstName 4 นามสกุล LastName 5 วันที่เกิดคดี OccureDate 6 สถานที่เกิดคดี CasePlace 7 รายละเอียดคดี CaseDesc
ตัวอย่างข้อมูลใน XML File สำหรับกรมการขนส่ง ข้อมูลยานบุคคล - คดี ลำดับ ข้อมูล ชื่ออ้างอิง 1 หมายเลขบัตร ปชช. PersonID 2 เลขที่ใบขับขี่ LicenseID 3 ชื่อ FirstName 4 นามสกุล LastName 5 วันที่เกิดคดี OccureDate 6 สถานที่เกิดคดี CasePlace 7 รายละเอียดคดี CaseDesc
ตัวอย่างข้อมูลใน XML File สำหรับกรมการขนส่ง ข้อมูลยานพาหนะ - คดี ลำดับ ข้อมูล ชื่ออ้างอิง 1 ทะเบียนรถ VehicleID 2 สน.ที่รับแจ้งเหตุ PoliceStation 3 วันที่เกิดคดี OccureDate 4 สถานที่เกิดคดี CasePlace 5 รายละเอียดคดี CaseDesc
นำ XML ไฟล์ที่ได้รับมาใช้ประโยชน์อย่างไร ? Database สำนักงานตำรวจฯ XML นำข้อมูลจากหน่วยงานอื่นมาเป็นส่วนขยายข้อมูล เพิ่มเติมจากหน่วยงานของตนให้สมบูรณ์มากขึ้น
ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จาก XML ที่ได้รับจากองค์กรอื่น ข้อมูลบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีความ ข้อมูลของ สตช. ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ เลขที่บัตร ปชช. ชื่อ – สกุล เพศ อายุ สีผม สีผิว ส่วนสูง น้ำหนัก กรุ๊ปเลือด ชื่อบิดา ชื่อมารดา ภูมิลำเนาเดิม ชื่อคู่สมรส จำนวนบุตร
ตัวอย่างข้อมูลที่ได้จากสำนักทะเบียนราษฎร์ มีข้อมูลเพิ่มเติมจากเดิมที่ สตช.จัดเก็บ เช่น กรุ๊ปเลือด สถานที่เกิด ภูมิลำเนาเดิม สตช.นำมาใช้ประโยชน์ในแง่ของการ สืบสวนสอบสวน ติดตามตัวผู้ต้องหาหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาได้
แนวนโยบายสนับสนุน สนับสนุนการพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางของการให้บริการ (User-centric services) อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนให้สามารถเข้าถึงบริการหลากหลายประเภทได้จากจุดเดียว มีขั้นตอนการให้บริการที่ไม่ยุ่งยากและซ้ำซ้อน สนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูลและบริการอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างระบบให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน สนับสนุนให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมโยงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานที่มีระบบสารสนเทศที่แตกต่างกันได้อย่างอัตโนมัติ (Cross Platforms Interconnection) ด้วยการสร้างความสอดคล้องให้ชื่อรายการข้อมูล และกำหนดโครงสร้างของข้อมูลในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และรูปแบบของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้
แนวนโยบายสนับสนุน (ต่อ) 3. เลือกใช้ “มาตรฐานเปิด” และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล (Open & International Standards) เพื่อเพิ่มโอกาสในการเชื่อมโยงธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในระดับประเทศและระดับสากล โดยไม่ถูกผูกขาดกับผลิตภัณฑ์ใดๆ เนื่องจากมาตรฐานที่เปิดเผยรายละเอียดทางเทคนิคช่วยให้ขยายขีดความสามารถของระบบในการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นได้สะดวก 4. กำหนดกติการ่วม (Common Rules) ในการตั้งชื่อรายการข้อมูล (Data elements) ที่นำไปสู่การกำหนดชื่อรายการข้อมูลที่เป็นมาตรฐานของประเทศ (National Standardized Data Set) ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้ในการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และระบบให้บริการร่วมแบบเบ็ดเสร็จ การกำหนดมาตรฐานชื่อรายการข้อมูลให้ใช้ร่วมกันนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยขจัดความคลุมเครือในการเรียกชื่อรายการข้อมูลที่หลากหลายและแตกต่างกันของแต่ละหน่วยงานเท่านั้น หากยังช่วยสร้างความสอดคล้องให้ชื่อรายการข้อมูลซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมโยงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานที่มีระบบสารสนเทศที่แตกต่างกันได้อย่างอัตโนมัติอีกด้วย
แนวนโยบายสนับสนุน (ต่อ) 5. สร้างความเข้าใจในเนื้อหาของมาตรฐานร่วมและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงมาตรฐานร่วมตามเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่และลักษณะความต้องการการใช้งานที่เปลี่ยนไป เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวจะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเต็มใจที่จะนำมาตรฐานร่วมไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบจริง และทำให้หน่วยงานเหล่านั้นมีความพยายามที่จะขยายผลความร่วมมือในการปรับปรุงมาตรฐานให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ในวงกว้างมากขึ้น 6. สร้างหน่วยงานเจ้าภาพที่มีทรัพยากรเพียงพอพร้อมทั้งสร้างกลไกในการปรับปรุงชุดมาตรฐานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เพื่อให้ครอบคลุมและมีประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้ที่กว้างขวางมากขึ้น และมีผลกระทบต่อการนำมาตรฐานร่วมไปใช้งานให้น้อยที่สุด