วิชาการผลิตสุกร ระดับปวส.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

โทร. ๐-๔๕๗๙-๕๐๖๑ “ สุขภาพดีวิถีไทย สมุนไพร ได้มาตรฐาน บริการประทับใจ”
พวกเราต่างคิดว่าการกินผลไม้เป็นเรื่องง่ายๆ แค่ซื้อมา แล้วก็ปอก จากนั้นก็หยิบเข้าปากเท่านั้น คุณจะได้รับประโยชน์มากกว่าถ้าคุณรู้ว่าควรจะกินอย่างไร.
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดนครปฐม ประจำเดือน กรกฎาคม 2555 ดร.นพ.ถวัลย์ พบลาภ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม.
เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
เป็นอาหารที่มีคุณค่า
เด็กหญิงรุ่งฟ้า ชูรุ่ง
ผัก.
ของเทศบาลตำบลหนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี
โครเมี่ยม (Cr).
พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สถาบันด้านปัจจัยการ ผลิตทางการเษตร ( ตลาดแรงงาน ) ศ.491 การวิเคราะห์การผลิต และนโยบายการผลิตสินค้าเกษตร รศ. ภราดร ปรีดาศักดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
องุ่น สตอ เบอร์รี่ เชอร์รี่ แอปเปิ้ล แดง แอปเปิ้ล ชมพู แอปเปิ้ล เขียว แอปเปิ้ล เหลือง โกโก้ บลูเบอร์รี่ ส้มเขียวหวาน ส้มมะปิด ( ส้มจิ๊ด ) สับปะรด แตงโม.
1. การผสมใดต่อไปนี้ที่แยกออก จากกันได้ด้วยการระเหยแห้ง 1. เกลือป่นกับ น้ำ 2. น้ำมันพืชกับ น้ำ 3. ข้าวเปลือก กับแกลบ 4. ผงตะไบ เหล็กกับทราย.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
ประวตศาสตร์เป็ นวชาทศี่ ึกษาเกยวกบอดตี โดยศึกษาถึง พฤตกิ รรมของมนุษย์ ตามบริบทของช่วงเวลาทเกดขึนซึ่งมผล ต่อมนุษยชาตเิ มอื่ เหตุการณ์น้ันเปลยี่
หลักเกณฑ์วิธีที่ดีในการผลิตอาหาร
สาเหตุโรครวงไหม้ของข้าวในประเทศไทย
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
หลักการเลี้ยงสัตว์ คำบรรยาย โดย ครูสีกุน นุชชา
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
วิชาการทำฟาร์มสุกร บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร.
ความเค้นและความเครียด
ระดับความเสี่ยง (QQR)
เพลี้ยไฟมะม่วง ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืช Plant Protection Sakaeo
มาทำความรู้จักกับ เห็ดปลวกฟาน.
มาทำความรู้จักกับ มาทำความรู้จักกับ เห็ดหูหนูขาว.
ความหมายของเลเซอร์ เลเซอร์ คือการแผ่รังสีของแสงโดยการกระตุ้นด้วยการขยายสัญญาณแสง คำว่า Laser ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation.
ปลาฉลามและนกชนิดต่างๆ
ตำรับยาเหลืองปิดสมุทร
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
ประสบการณ์การ การใช้ระบบติดตามผลการดำเนินงานในกลุ่มผู้ใช้ยา/สารเสพติด
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ยาที่ใช้ในโรคไตเรื้อรัง (Pharmacotherapy in CKD) ประกอบการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพพยาบาล หน่วยปฐมภูมิ เขต 3 ภญ.จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม.
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
พฤติกรรม (Behavior) สิ่งเร้า ภายนอก ภายใน
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนบน Autosome
World Time อาจารย์สอง Satit UP
Delirium พญ. พอใจ มหาเทพ 22 มีนาคม 2561.
“Thailand’s Sustainable Business” ณ โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท
มาทำความรู้จักกับ เห็ดหนังช้าง.
การผุพังอยู่กับที่ โดย นางสาวเนาวรัตน์ สุชีพ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
กฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ.....
ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
บทที่ 3 โรงเรือนและอุปกรณ์โคเนื้อ
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
วิชาการผลิตสุกร ระดับปวส.
ศาสนาเชน Jainism.
ความช้าเร็ว ที่เกิดของวิปัสสนา
องค์กรต้นแบบอนามัยไร้พุง ปี 2552
รู้เรื่องยา แท้งปลอดภัย
ยุคกลาง : Medieval Age The Black Death A.D 1348 อาจารย์สอง Satit UP.
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
งานสังคมครั้งที 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน โดย น.ส.อธิชา ฤทธิ์เจริญ ม.4 MEP-A เลขที่ 21.
Singapore ประเทศสิงคโปร์.
กรณีศึกษา : เทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม
Lean Management การลดขั้นตอนการนัดตรวจสุขภาพจิตของ นร.กพ
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
นำเสนอโดย ABC DEFG คณะเกษตรศาสตร์สาขา สัตวศาสตร์
วัฏจักรของน้ำ + พายุหมุนเขตร้อน
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วิชาการผลิตสุกร ระดับปวส. วิชาการผลิตสุกร ระดับปวส. บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร เรียบเรียงใช้เพื่อการศึกษา โดยนายสีกุน นุชชา แผนกวิชาสัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง แหล่งที่มาเนื้อหาหลัก วิชาการจัดการฟาร์มสุกร รศ.ดร.สุทัศน์ ศิริ สาขาวิชาสัตวศาสตร์(สุกร) มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 7. พยาธิภายนอกของสุกร (external parasites) ทำให้เกิดโรคขี้เรื้อนสุกร (hog mange) เกิดจากไร (mites) 2 ชนิดคือ Sarcoptes scabiei และ Demodex phylloides 7.1 โรคขี้เรื้อนที่เกิดจากไรชนิด Sarcoptes scabiei อาการ ตัวไรมีขนาดเล็กๆ จะชอนไชเข้าไปอาศัยอยู่ที่ชั้นผิวหนังกําพร้าของสุกรตลอดชีวิตของมัน โดยจะฝังตัวอยู่ตรงโคนของขนทําให้รูขนอุดตัน อาการแรกที่สังเกตว่าสุกรเป็นขี้เรื้อน พบแผลผื่นคันบริเวณขอบตา ใบหู และรอบๆ จมูก หรือบริเวณที่ผิวหนังอ่อนแอและมีขนบาง ผิวหนังเกิดการระคายเคืองเป็นผื่นหนาขึ้น สุกรแสดงอาการคันมากและพยายามถูผิวหนังกับคอก ทําให้เกิดแผลน้ําเหลืองเยิ้มบริเวณที่คัน ต่อมาน้ําเหลืองแห้งเป็นสะเก็ดอยู่บนผิวหนัง ถ้าไม่มีการรักษาผิวหนังนั้นจะหนาและมีรอยย่น

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 7. พยาธิภายนอกของสุกร (external parasites) 7.1 โรคขี้เรื้อนที่เกิดจากไรชนิด Sarcoptes scabiei ในสุกรที่โตแล้วจะพบแผลผื่นคันรอบๆ ใบหู หาง ซอกขาหลัง ซอกขาหน้า ในรายที่เป็นมากจะเป็นผื่นสะเก็ดทั่วตัว ขนร่วง เบื่ออาหาร และน้ําหนักลด แผลผื่นคันนี้อาจพบได้หลังจากตัวไรไปเกาะอยู่แล้ว 6 สัปดาห์ ลักษณะของแผลที่ผิวหนังคล้ายกับอาการของโรค parakeratosis ที่เกิดจากการขาดธาตุสังกะสี สุกรตัวอื่นติดไรชนิดนี้โดยไรตัวเมียจะไปวางไข่ที่ใต้ผิวหนังวันละ 2-3 ฟอง เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน ไข่ของไรจะมีขนาด 0.15x0.1 มิลลิเมตร หลังจากวางไข่แล้ว ตัวเมียจะตาย ส่วนไข่จะใช้เวลาฟักเป็นตัวอ่อนประมาณ 5 วัน ตัวอ่อน (larvae) อาจอยู่ในรูขนต่อไปหรืออาจออกมาเดินบนผิวหนังของสุกรเพื่อหาที่ซุกตัวใหม่ จากตัวอ่อนจะเปลี่ยนไปเป็นระยะดักแด้ (nymphal stage) จากนั้นจะลอกคราบกลายเป็นตัวแก่ (adult) ตัวแก่จะผสมพันธุ์กันในคราบที่ลอกหรือบนผิวหนังของสุกรใกล้ๆ กับที่ตัวเมียจะฝังตัวลงไปเพื่อวางไข่ใหม่

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร ภาพที่ 8.14 โรคขี้เรื้อนที่เกิดจากไรชนิด Sarcoptes scabiei ผิวหนังเป็นผื่นหนา ตกสะเก็ด ที่มา: สุวรรณา พรหมทอง, (มปพ.)

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 7. พยาธิภายนอกของสุกร (external parasites) 7.1 โรคขี้เรื้อนที่เกิดจากไรชนิด Sarcoptes scabiei วงจรชีวิตตั้งแต่เป็นไข่จนกระทั่งเป็นตัวเมียท้องแก่ใช้เวลา 10-15 วัน ไรชนิดนี้ไม่ผสมพันธุ์กันที่อื่นนอกจากบนผิวหนังของสุกรที่มันอาศัยอยู่เท่านั้น สามารถมีชีวิตนอกตัวสุกรได้นาน 2-3 สัปดาห์ และไข่ของมันถ้าตกไปในที่เหมาะสมอาจมีชีวิตอยู่ได้ 2-4 สัปดาห์ แต่ถ้าภาวะไม่เหมาะสม เช่น แดดร้อนจัด อาจตายภายใน 1 วัน การวินิจฉัยได้ว่าสุกรเป็นโรคขี้เรื้อนหรือไม่โดยขูดผิวหนังกําพร้ามาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบตัวไร

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร ภาพที่ 8.15 วงจรชีวิต Sarcoptes scabiei ที่มา: สุวรรณา พรหมทอง, (มปพ.)

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 7. พยาธิภายนอกของสุกร (external parasites) 7.2 โรคขี้เรื้อนที่เกิดจากไรชนิด Demodex phylloides อาการ ไรชนิดนี้อาศัยอยู่ที่ต่อมขนใต้ผิวหนัง พบน้อยในสุกรแต่พบมากใน คน สุนัข ตัวเล็กกว่าชนิดแรก มีขนาดเพียง 0.25 มิลลิเมตร ตัวยาวคล้ายหนอนสามารถแบ่งได้เป็นส่วนหัว อก และท้อง ส่วนอกมีขาสั้นๆ 4 คู่ ไข่มีรูปร่างยาว คล้ายกระสวย ถ้าน้อยๆ สุกรไม่แสดงอาการ แต่ตัวไรที่มากขึ้นทำให้สุกรตัวนั้นอ่อนแอ ขาดอาหาร อาการขั้นแรกที่แสดงคือ มีแผลบริเวณรอบๆ จมูกและขอบตา จากนั้นลามไปที่คอ สีข้าง ท้อง และซอกขา ในระยะแรกผิวหนังส่วนนี้จะมีสีแดง พร้อมกับมีสะเก็ดรังแค ในระยะต่อมาจะมีตุ่มแข็งๆ เกิดขึ้นบนผิวหนัง ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดจนถึงเม็ดถั่ว ต่อมาตุ่มนั้นจะแตกและมีของเหลวคล้ายครีมข้นสีขาวออกมา ตุ่มที่แตกนั้นอาจบรรจบกันเกิดเป็นแผลอักเสบมีหนองเกิดขึ้น การวินิจฉัยโดยการขูดสะเก็ดออกมาดูตัวไร

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 7. พยาธิภายนอกของสุกร (external parasites) 7.2 โรคขี้เรื้อนที่เกิดจากไรชนิด Demodex phylloides การติดต่อ 1. สุกรเป็นขี้เรื้อนได้โดยการสัมผัสโดยตรงกับสุกรตัวที่เป็นแล้ว 2. สุกรถูกขังไว้ในคอกที่สุกรเคยเป็นอยู่แล้วย้ายออกไปไม่นาน การป้องกัน การสุขาภิบาลที่ดี ทําความสะอาดคอกด้วยยาฆ่าพยาธิภายนอกบ่อยๆ การรักษา ทําการอาบหรือพ่นยาฆ่าไร เช่น น้ํายามาลาไธออน (malathion), lime sulfur, toxaphene หรือ lindane เป็นต้น การพ่นควรพ่นตามตัวสุกรและบริเวณคอกสัตว์ให้ทั่ว ระวังอย่าให้เข้าตา ปาก หรือจมูก ทิ้งระยะห่างกัน 10-14 วัน หรืออาจใช้กํามะถันชนิดละลายน้ํา 1 ส่วน ผสมกับน้ํามันหมู 12 ส่วน ทาให้ทั่ว ปัจจุบันมีบริษัทผลิตยาถ่ายพยาธิตัวกลมและสามารถกําจัดพยาธิภายนอกได้อีกด้วย จึงอาจพิจารณาตามคําแนะนําในการใช้

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร ภาพที่ 8.16 Demodex phylloides หรือ Demodex folliculorum ที่มา: สุวรรณา พรหมทอง, (มปพ.)

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 8. พยาธิภายในของสุกร (Internal parasites) 8.1 พยาธิตัวกลม (Ascaris lumbricoides) พยาธิตัวกลมจะมีอยู่ทุกแห่งที่มีการเลี้ยงสุกร พยาธิตัวแก่จะอยู่ในลําไส้เล็ก และจะชอนไชเข้าไปในท่อน้ําดี ตัวอ่อนจะกระจายไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายทางเลือด และน้ําเหลือง จึงสามารถพบพยาธิชนิดนี้ได้ทุกแห่งของร่างกายแม้แต่ในตับและปอด รูปร่าง ลําตัวกลม สีขาวครีม ตัวเมียยาวเกือบ 12 นิ้ว ตัวผู้สั้นกว่าเล็กน้อย ส่วนท้ายของตัวผู้จะงอคล้ายเบ็ด ไข่ของพยาธิจะมีเปลือกหุ้มหนารูปไข่สีน้ําตาล ยาว 4587 ไมครอน กว้าง 37-57 ไมครอน ไข่ที่ตรวจพบในอุจจาระจะมีสีน้ําตาล

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 8. พยาธิภายในของสุกร (Internal parasites) 8.1 พยาธิตัวกลม (Ascaris lumbricoides) วงจรชีวิตของพยาธิตัวกลม ตัวแก่ของพยาธิอาศัยอยู่ในทางเดินอาหารส่วนต้น เมื่อมีการผสมพันธุ์ ไข่ที่ถูกผสมจะถูกขับถ่ายออกมาพร้อมกับอุจจาระ (ตัวเมีย 1 ตัวจะวางไข่ครั้งละหลายล้านฟอง) ตัวอ่อนเจริญเติบโตอยู่ในไข่ใช้เวลา 18 วัน หรืออาจอยู่ในไข่หลายปีจนกว่าสุกรจะกินเข้าไป เมื่อสุกรกินเข้าไปน้ําย่อยจากกระเพาะอาหารของสุกรจะย่อยเปลือกไข่ออก ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อน จากนั้นตัวอ่อนจะเจาะผนังกระเพาะ จากนั้น 10-12 วันจะลอกคราบครั้งที่ 3 ตัวอ่อนระยะนี้เกือบทั้งหมดจะเข้าสู่หลอดลม สุกรจะไอและตัวอ่อนถูกกลืนเข้าไปใหม่ ดังนั้นการลอกคราบครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของการเจริญเติบโตจะเกิดที่ลําไส้เล็กและเป็นตัวแก่อยู่ในลําไส้เล็กนี้เอง รวมระยะเวลาตั้งแต่เป็นไข่จนฟักออกเป็นตัวอ่อนใช้เวลา 50-60 วัน

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 8. พยาธิภายในของสุกร (Internal parasites) 8.1 พยาธิตัวกลม (Ascaris lumbricoides) วงจรชีวิตของพยาธิตัวกลม พยาธิตัวผู้เมื่อผสมพันธุ์กับตัวเมีย น้ําเชื้อจะยังสามารถผสมกับไข่ของตัวเมียได้อีกประมาณ 16 สัปดาห์ พยาธิตัวกลมนี้จะถูกขับออกจากร่างกายได้เองตามธรรมชาติเมื่อมันอยู่ในร่างกายสุกร 20 สัปดาห์และจะหมดไปจากตัวสุกรประมาณสัปดาห์ที่ 55

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร ภาพที่ 8.17 วงจรชีวิตของ Ascaris lumbricoides ที่มา: สุวรรณา พรหมทอง, (มปพ.)

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 8. พยาธิภายในของสุกร (Internal parasites) 8.1 พยาธิตัวกลม (Ascaris lumbricoides) อาการ สุกรจะไอ น้ําหนักลด เบื่ออาหาร ร่างกายอ่อนแอ แคระเเกรน บางทีมีอาการดีซ่านด้วย สุกรจะไอหลังจากที่ได้รับไข่พยาธิที่ลอกคราบครั้งที่ 1 แล้วเข้าไปในระยะที่มีอาการไอ อุณหภูมิร่างกายจะสูง 40-41 องศาเซลเซียส ต่อมาอีก 2-3 วัน อาการไอจะหายไป โดยไม่มีอาการของปอดบวม ตัวอ่อนที่เข้าไปในตับจะทําให้เนื้อตับถูกทําลายถ้าผ่าดูจะพบรอยแผลเป็นจุดขาวๆ ส่วนที่ปอดจะพบจุดเลือดหลังจากไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกายแล้ว 2-3 วัน ในส่วนของลําไส้เล็กจะถูกทําลายน้อยนอกจากจะมีพยาธิตัวแก่จํานวนมากจนอุดตันลําไส้ กรณีพยาธิชอนไชไปท่อน้ําดี ทําให้เกิดการอุดตันในท่อน้ําดีสุกรแสดงอาการดีซ่าน ส่วนตัวแก่ของพยาธิจะแย่งอาหารที่สุกรกินเข้าไป

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร ภาพที่ 8.18 ก ปอดจะพบจุดเลือด ข ลําไส้เล็กจะถูกทําลายน้อยจะมีพยาธิตัวแก่จํานวนมากจนอุดตันลําไส้ ที่มา: สุวรรณา พรหมทอง, (มปพ.)

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 8. พยาธิภายในของสุกร (Internal parasites) 8.1 พยาธิตัวกลม (Ascaris lumbricoides) การป้องกัน 1. ทําความสะอาดคอกเป็นประจํา โดยเฉพาะคอกคลอดต้องทําความสะอาดก่อนนําสุกรเข้าคลอด 2. ทําความสะอาดตัวแม่สุกรก่อนนําเข้าคอกคลอด 3. การสุขาภิบาลที่ดี 4. มีการถ่ายพยาธิเป็นประจําตามโปรแกรม การรักษา ใช้ยาถ่ายพยาธิ ซึ่งมีทั้งชนิดผสมอาหารหรือชนิดฉีดแล้วแต่ความสะดวกของผู้เลี้ยง โดยทําตามคําแนะนําของบริษัทผู้ผลิต

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 8. พยาธิภายในของสุกร (Internal parasites) 8.2 โรคทริคิโนซีสหรือโรคพยาธิตัวตืด (Trichinosis) สาเหตุ เกิดจากพยาธิตัวตืด ชื่อ Trichinella spiralis พยาธินี้ทําอันตรายต่อคนได้ สุกรที่มีพยาธินี้ห้ามนํามารับประทาน วงจรชีวิตของพยาธิตัวตืด ตัวแก่จะอาศัยในลําไส้เล็กของสุกร เมื่อผสมพันธุ์กัน ตัวเมียวางไข่ในเยื่อบุผนังลําไส้เล็ก ตัวอ่อนหลังจากฟักแล้วจะชอนไชผ่านเข้าสู่เส้นเลือดไปอยู่ในบริเวณกระบังลมและตามกล้ามเนื้อของสุกร โดยเข้ากระเปาะ (cyst) มีลักษณะเป็นตุ่มคล้ายเม็ดสาคู โดยใช้ระยะเวลาตั้งแต่กินเนื้อที่มีพยาธิเข้าไปจนกระทั่งตัวอ่อนเข้ากระเปาะอยู่ในกล้ามเนื้อ 1-4 สัปดาห์ ตัวอ่อนที่เข้ากระเปาะมีชีวิตอยู่ได้หลายปี

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 8. พยาธิภายในของสุกร (Internal parasites) 8.2 โรคทริคิโนซีสหรือโรคพยาธิตัวตืด (Trichinosis) การติดต่อ คนจะติดโรคนี้โดยกินเนื้อสุกรที่มีตัวอ่อนของพยาธิ (เม็ดสาคู) ชนิดนี้เข้าไป จะแสดงอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรง เบื่ออาหาร ระบบย่อยอาหารผิดปกติ อึดอัดในท้อง ต่อมาจะมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อ และส่วนต่างๆ ที่ตัวอ่อนของพยาธินี้เดินทางไปถึง ถ้าขึ้นสมองก็จะทําให้เสียชีวิตได้ การทําลายตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดถูกทําลายได้ด้วยความร้อน 77 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที หรือเก็บในที่อุณหภูมิ -15 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 วัน การรักษา ใช้ยาถ่ายพยาธิที่มีจําหน่ายในท้องตลาด ขนาดและวิธีใช้ให้ปฏิบัติตามคำแนะนําของบริษัทผู้ผลิต

บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร บทที่ 8 การสุขาภิบาลและโรคสุกร ภาพที่ 8.19 วงจรชีวิตของพยาธิตัวตืด ที่มา: สุวรรณา พรหมทอง, (มปพ.)