ประวัติศาสตร์ศิลป์ตะวันออก History of Oriental Arts 2 (2-0-4) รหัสวิชา 0605108 พิทักษ์ น้อยวังคลัง 9/19/2018
ศิลปกรรม “ตะวันออก” ยุคก่อนประวัติศาสตร์ คำถามสำคัญ 1.รูปแบบ (Style) เป็นอย่างไร 2.ประติมานวิทยา (Iconography) เป็นอย่างไร 3.บริบทเกี่ยวกับก่อนประวัติศาสตร์ (Historical Context ) เป็นอย่างไร 4.สร้างงานศิลปะ (The work of Art) เพื่ออะไร 9/19/2018
9/19/2018
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ และสมัยพระเวท อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ และสมัยพระเวท 9/19/2018 4
ศิลปะในประเทศอินเดีย มีระยะเวลามากกว่า 4,500 ปี มีความโดดเด่น ส่งอิทธิพลให้กับหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การศึกษาศิลปะอินเดียจึงเป็นรากฐานที่สำคัญในการศึกษาศิลปะในภูมิภาคนี้และประเทศไทย สำหรับประเทศไทยรับรับอิทธิพลของศิลปะอินเดีย ทั้งใน สถาปัตยกรรม ประติมากรรม รวมถึงคติความเชื่อของการสร้างงานศิลปะด้วย 9/19/2018 5
ภูมิหลังอินเดีย ประเทศอินเดียเป็นดินแดนอารยธรรมแห่งหนึ่งของโลกที่มีการรับอารยธรรมจากภายนอกและเผยแพร่อารยธรรมไปสู่ดินแดนต่าง ๆ ประเทศอินเดียได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากต่างประเทศ 4 ครั้ง 1.ประมาณ 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช อิทธิพลจากเมโสโปเตเมียแพร่เข้ามาในลุ่มแม่น้ำสินธุจนถึงประมาณ 1,000 ปีก่อนพุทธศักราช ชาวอารยันได้บุกรุกอินเดียและทำลายอารยธรรมดั้งเดิม 2.ราวพุทธศตวรรษที่ 3 ได้รับอิทธิพลศิลปะจากอิหร่านและกรีก 3.พุทธศตวรรษที่ 6 ได้รับอิทธิพลของกรีกและโรมัน มีบทบาทต่อศิลปะอินเดีย 4.พุทธศตวรรษที่ 16 กลุ่มมุสลิมซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้รุกรานอินเดีย 9/19/2018 6
ศิลปะสมัยก่อนอินเดีย รากฐานศิลปะก่อนอินเดียคือวัฒนธรรมที่ใช้ภาษาสันสกฤต มีศิลปะที่เมืองหะรัปปา (Harappa) และโมเหนโช-ดาโร (Mohenjo-daro) ทางแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ เมื่อ 1,500 ปีก่อนพุทธศักราช อารยธรรมบนลุ่มแม่น้ำสินธุ 9/19/2018
ซากเมืองโบราณโมโฮนโจ-ดาโรและฮารัปปา อายุ 2,500-1,500 ปีก่อนศริสต์ศักราช 9/19/2018
เมืองโมเฮนโจดาโร 9/19/2018
ประติมากรรมชายมีเครา 9/19/2018
ประติมากรรมหญิงสำริด 9/19/2018
ภาพแกะสลักบนหินสบู่รูปคนและสัตว์ 9/19/2018
ภาพแกะสลักบนหินสบู่รูปคนสวดเครื่องสวมหัวมีเขา 9/19/2018
แผนที่ภูมิประเทศของอินเดีย 9/19/2018
สมัยพระเวท ยุคพระเวท คือ ช่วงแรกที่ชาวอารยันเริ่มเข้ามาในอินเดีย หลักฐานที่กล่าวถึงเรื่องราวของชาวอารยันช่วงนี้ คือ คัมภีร์พระเวท ซึ่งเป็นตำราที่รวบรวมโคลงและบทสวดทางศาสนา อารยธรรมยุคมหากาพย์ปรากฏในลักษณะต่างๆดังนี้ - การปกครองอาศัยรวมกันเป็นเผ่า มีผู้นำ คือ ผู้ใหญ่บ้าน มีหน้าที่แจกจ่ายที่ดินและเก็บภาษี - สร้างที่อยู่โดยก่อกำแพงด้วยโคลน พื้นปูด้วยดินเหนียว หลังคามุงด้วยหญ้า - ดำรงชีพด้วยการเลี้ยงปศุสัตว์ทั้ง วัว ม้า แพะ แกะ ทำการเกษตรทั้งทำนาและท้าไร่ - งานหัตถกรรมฝีมือเช่น ช่างปั้น ช่างไม้ ช่างทำอาวุธ 9/19/2018
คัมภีร์พระเวท 9/19/2018
คัมภีร์พระเวท 9/19/2018
ฤคเวท 9/19/2018
จักรวรรดิคุปตะ (อังกฤษ: Gupta Empire) เป็นจักรวรรดิอินเดียโบราณที่รุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ. 280 จนกระทั่งปี ค.ศ. 550 มีอาณาบริเวณที่ครอบคลุมตางตอนเหนือและตอนกลางของอินเดียทั้งหมด และบังคลาเทศปัจจุบัน ก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าศรีคุปต์ โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ปาฏลีบุตรที่ปัจจุบันคือปัฏนาทางตอนเหนือของรัฐพิหาร 9/19/2018
ความรุ่งเรืองของจักรวรรดิภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์คุปตะทำให้มีความเจริญในด้าน -วิทยาศาสตร์และศิลปะ - ด้านความเจริญทางด้านวัฒนธรรม สมัยจักรวรรดิคุปตะถือกันโดยนักวิชาการบางคนว่าเป็นยุคทองของอินเดียในด้านวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม, ศิลปะ, วรรณคดี, ตรรกศาสตร์, คณิตศาสตร์, ดาราศาสตร์, ศาสนา และปรัชญา 9/19/2018
9/19/2018
พระมหาจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิคุปตะ 9/19/2018
ศิลปะทางด้านสถาปัตยกรรม ในสมัยคุปตะนี้มีความงดงามเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อนๆ เช่น ที่ถ้ำอชันตา ( Ajanta ) ปรากฏว่าสถาปัตยกรรมของอินเดียได้เปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่รูปร่างของเสาที่กลายเป็นการประดับตกแต่งลวดลายต่างๆ อย่างมากมาย มีบัวหัวเสารูปร่างคล้ายผ้าโพกหัวแขก วงโค้งรูปเกือกม้าที่เรียกว่า กูฑุ มีขนาดเล็กลงไปอีก และกลายเป็นเครื่องประดับตกแต่งอย่างธรรมดา ผนังถ้ำประดับประดาไปด้วยเครื่องตกแต่ง และพระพุทธรูป 9/19/2018
ในช่วงปลายของศิลปะคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๓) สถาปัตยกรรมของอินเดียก็ยังมีความงดงามอยู่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ เสาต่างๆเริ่มมีรูปร่างใหญ่ขึ้น และบางครั้งก็มีบัวหัวเสารูปผ้าโพกหัวแขกขนาดใหญ่ รวมทั้งฐานของเสาที่สูงขึ้นมากจนเกือบทำให้ลำตัวของเสาหายไป สถาปัตยกรรมที่สำคัญในช่วงหลังนี้มีเทวสถานที่สำคัญอยู่ ๒ แห่ง คือ เอลลูรา (Ellura) และ เอเลฟันตะ ( Elephanta) งานสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจและน่าประหลาดใจที่สุดคือ ถ้ำเอลลูราที่ ๑๖ หรือ ถ้ำไกรลาส ที่สลักลงไปในหินก้อนใหญ่มหึมากลางแจ้งรอบเทวสถานแห่งนี้ขุดเข้าไปในศิลาโดยรอบ ที่มาวลีปุรัมทางภาคใต้ของอินเดียได้พบศาสนสถานเล็กๆ ที่เรียกว่า รถะ ซึ่งเชื่อกัน ว่าให้อิทธิพลต่อรูปแบบศาสนสถานในเอเชีย 9/19/2018
ถ้ำอชันตา ( Ajanta ) 9/19/2018
ถ้ำอชันตา (อังกฤษ: Ajanta Caves, มราฐี: अजिंठा लेणी) ตั้งอยู่ในเมืองออรังกาบาด รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย ได้ชื่อว่าเป็น วัดถ้ำในพุทธศาสนาที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก สร้างเมื่อ พ.ศ. 350 โดยพระภิกษุในสมัยนั้นได้ค้นพบสถานที่แห่งนี้ เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมกรรมฐานเป็นอย่างยิ่ง จึงได้เจาะภูเขาเพื่อสร้างเป็นกุฏิ โบสถ์ วิหาร ฯลฯ เพื่ออาศัยอยู่อย่างสันโดษ เนื่องจากเป็นสถานที่ห่างไกลผู้คน ภายในเต็มไปด้วยงานแกะสลักหิน เป็นองค์เจดีย์ เป็นพระพุทธรูป และภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำ เล่าเรื่องราวต่างๆ ในพุทธประวัติและชาดก ในปี พ.ศ. 2527 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดย องค์การยู 9/19/2018
จิตรกรรมผนังถ้ำอชันตา 9/19/2018
ภาพวาดพระปัทมปาณิโพธิสัตว์และ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ จิตรกรรมที่ผนังถ้ำอชันตา หมายเลข1 ศิลปะคุปตะตอนปลาย หรือหลังคุปตะ(พุทธศตวรรษที่12) ถือกันว่าเป็นงานจิตรกรรมที่งดงามที่สุดภาพหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย 9/19/2018
ศิลปะทางด้านประติมากรรม ทางด้านประติมากรรม ศิลปะสมัยคุปตะส่วนใหญ่เป็นประติมากรรมรูปมนุษย์มิใช่รูปสัตว์ หรือรูปมนุษย์ที่อยู่กับธรรมชาติ หรือถ้ามีก็เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น ไม่มีความสำคัญเหมือนกับสมัยมถุรา และอมราวดี ศิลปะคุปตะได้ถ่ายทอดสุนทรียภาพทางความงามออกมาให้ปรากฏ โดยการสร้างมนุษย์ให้มีความงาม สมบูรณ์แบบ เหมือนวัยหนุ่มสาว ประติมากรรมที่สร้างขึ้นจะเนียนเรียบ อาภรณ์ที่สวมใส่ก็แนบเนื้อ เหมือนผ้าที่เปียกน้ำ ทำให้แทบมองทะลุเข้าไปเนื้อในได้ 9/19/2018
ประติมากรรมชิ้นสำคัญที่สุดในสมัยนี้ คือ พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สลักจากหินทรายที่สารนาถ พุทธลักษณะมีรัศมีกลมใหญ่ สลักลวดลายพรรณพฤกษาประดับอย่างงดงาม ริ้วจีวรบางแนบเนื้อติดกับพระองค์คล้ายผ้าเปียกน้ำ พระพักตร์กลม พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์แสดงปางปฐมเทศนา(ปางแสดงธรรม) เบื้องล่างสลักเป็นรูปปัจวัคคีย์ และกวางหมอบ มีธรรมจักรคั่นกลาง ปัจวัคคีย์มีขนาดเล็กแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์ จึงอาจกล่าวได้ว่าไม่มีรูปเคารพใดที่สวยงามเทียบกับพระพุทธรูปองค์นี้ได้ทั้งในความหมายและรูปแบบศิลปะ 9/19/2018
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา 9/19/2018
ปางปฐมเทศนา เป็นพระพุทธรูปลักษณะประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายทำประคองพระหัตถ์ขวา วางบนพระเพลา (ตัก) หรือถือชายจีวร พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) จีบนิ้วพระหัตถ์ เป็นเครื่องหมายว่าพระธรรมจักร มีเครื่องประกอบทำเป็นรูปวงล้อ (ธรรมจักร) กับรูปกวางไว้ตรงพุทธบัลลังก์ และบางทีมีปัญจวัคคีย์พนมมือด้วย (พระพุทธรูปปางนี้ที่ไทยเราเอามาสมมุติเรียกว่า พระคันธารราฐสำหรับขอฝน) 9/19/2018
แผนที่ อาณาจักรเมารยะ 260 ปี ก่อน ค.ศ. และ อาณาจักรคุปตะ ค.ศ. 400 9/19/2018
แผนที่ google Earth 9/19/2018