ครูสมศรีกับยุคปฏิรูปการศึกษา
สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา ชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ จัดทำโดย 1.นางสาวดอกอ้อ โกติรัมย์ 493050004-7 2.นางสาวจุฑามาศ นุชิต 493050360-5 3.นางสาวอรสา แก้วกลม 493050392-2 สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา ชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1. ให้วิเคราะห์จากแนวคิด วิธีการจัดการเรียนการสอนและการใช้สื่อการสอนของครูสมศรี และวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน ว่าสอดคล้องกับยุคปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือไม่ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ
อธิบาย จากการวิเคราะห์ พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบของครูสมศรีไม่สอดคล้องกับยุคปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพราะว่า การจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนจะต้องได้คิด วางแผน ดำเนินกิจกรรม พัฒนา สร้างสรรค์องค์ความรู้ขึ้นมาได้ด้วยตนเอง หน้าที่ของครูในที่นี้ ไม่ใช่คอยป้อนความรู้แต่ครูจะทำหน้าที่ ชี้แนะแนวทาง แนะนำแหล่งการเรียนรู้ และแนะวิธีการไม่ว่าจะเป็น การสืบค้น การแก้ไขปัญหาทั้งในบทเรียนและชีวิตจริง หรือ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในส่วนของผู้เรียนเองจะต้องนำหลักการวิธีการต่างๆมาพิจารณาแล้วนำไปปฏิบัติ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ สืบเสาะหาคำตอบตามสื่อการเรียนรู้ต่างๆที่เป็นประโยชน์อันจะนำไปสู่การพัฒนากระบวนการคิด สิ่งสำคัญที่ได้รับก็คือผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งเราสามารถกล่าวได้ว่า การปฏิรูปการศึกษาก็คือการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อตัวผู้เรียนนั่นเอง
2. จงวิเคราะห์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุคปฏิรูปการเรียนรู้ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางด้านใดบ้าง พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลสนับสนุน
การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเรียนการสอน ถ้าย้อนคิดถึงห้องเรียนแบบเก่าโดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะ เป็นห้องที่ประกอบด้วย โต๊ะเรียน เก้าอี้ เรียงเป็นแถว การเรียนการสอนจะมีครูยืนอยู่หน้าชั้นเรียน และ ถ่ายทอด เนื้อหา ในขณะที่ผู้เรียนนั่งฟังตามแนวความคิดนี้ครูผู้สอน จะเป็นผู้ที่ดำเนินการ กำกับควบคุมการวางแผน การดำเนิน การและการประเมินผล ซึ่งเป็นการเรียนโดย "เน้นทักษะการจดจำ" ท่องจำอย่างเดียวเท่านั้น ( Rote Learning)
แนวคิดใหม่เกี่ยวกับการเรียนและการสอน ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้เข้ามามีอิทธิพล ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เราอย่างมาก "การศึกษาจึงต้องเป็นพลวัตร" นั่นคือ ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันและสอดคล้องกับ กระแสการเปลี่ยนแปลงของชาติและสังคมโลกอยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องให้การศึกษาที่มีคุณภาพโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศต่างๆให้เป็นประโยชน์
ด้านครูผ้สอน อดีต : ครูผู้สอนมีความสนใจ ทุ่มเท เสียสละ มุ่งมานะพยายามและมีความอดทนสูงและเอาใจใส่ต่อการเรียนการสอน การอบรมลูกศิษย์ให้มีความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและการดำเนินชีวิต ถือว่าป็นครูที่เป็นกัลยาณมิตรโดยแท้จริง ปัจจุบัน : ครูมีบทบาทในด้านการสอนหนังสือเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เอาใจใส่ลูกศิษย์เท่าที่ควร มีการพัฒนาตนเองเพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น นำสื่อต่างๆ มาใช้อย่างเหมาะสม และส่งเสริมนักเรียนหาความรู้ด้วยตนเอง
ด้านผู้เรียน อดีต : ผู้เรียนไม่ค่อยมีบทบาทในการเรียนการสอน เป็นการเรียนแบบท่องจำ โดยมีครูเป็นผู้คอยให้ความรู้ ป้อนข้อมูลทุกอย่างและเป็นคนดำเนินการเรียนการสอนแต่เพียงผู้เดียว ทำให้ผู้เรียนขาดทักษะในการคิด ปัจจุบัน : นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหาวิชาการมากขึ้น รู้จักใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน กล้าแสดงออก กล้าตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ใฝ่หาความรู้และค้นคว้าด้วยตนเอง และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
Driscoll (1994) กล่าวว่า อาจจะไม่ใช่เวลาที่จะคิดว่าผู้เรียนเป็นภาชนะที่ว่างเปล่าที่รอรับการเติมให้เต็ม แต่น่าจะคิดว่าผู้เรียนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความตื่นตัวกระฉับกระเฉง และค้นหาความหมาย ซึ่งขณะนี้ผู้เรียนจะถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวในการเรียนรู้ คิดค้น เสาะแสวงหาวิธีที่จะวิเคราะห์ ตั้งคำถาม อธิบายตลอดจนทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ด้านสถานศึกษา ปัจจุบัน : มีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสถานศึกษาในทางที่ดีขึ้น จะเห็นว่ามีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา เปิดโอกาสการเข้าเรียนและเมื่อเรียนสำเร็จแล้วสามารถเรียนต่อในระดับสูงขึ้น มีการพัฒนามาตรฐานทางวิชาการ ส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนให้เข้าแข่งขัน และทำกิจกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้
ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน อดีต : ขาดสื่อในการเรียนการสอน ปัจจุบัน : มีการพัฒนาคุณภาพสื่อการเรียนการสอนในทางที่ดีขึ้น โดยเห็นว่ามีคอมพิวเตอร์ใช้ในการเรียนการสอนที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพเพียงพอทั่วถึง มีแบบเรียนและหนังสืออ่านประกอบพอเพียงเนื้อหาน่าสนใจกว่าเดิมและเหมาะสมกับวัยนักเรียน
3. ให้ปรับวิธีการสอนและวิธีการใช้สื่อการสอนของครูสมศรี ให้เหมาะสมกับยุคปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ปรับวิธีการสอน ครู รูปแบบการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะตกแก่ผู้เรียนสูงสุด ไม่ว่าครูจะสอนแบบใดต้องสอดคล้องกับธรรมชาติ และศักยภาพของผู้เรียน ครูต้องศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล และประเมินผู้เรียนก่อนทำการสอน เพื่อใช้ในการวางแผนการสอน ทำให้ครูเข้าใจผู้เรียนมากขึ้น รูปแบบการเรียนการสอน การเรียนที่ดีไม่จำเป็นต้องให้ครูบอกทุกสิ่งทุกอย่าง ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้ ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักภาพการเรียนรู้ของตนเองได้ และมีครูเป็นผู้แนะนำแนวทางในการเกิดการเรียนรู้อย่างใกล้ชิด
การจัดการเรียนการสอน ครูเตรียมการสอนทั้งเนื้อหาและวิธีการสอน ครูและเด็กจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศให้เหมาะสม ครูเอาใจใส่เป็นรายบุคคล มีเมตตาต่อเด็ก เน้นกิจกรรมการเข้ากลุ่ม ฝึกให้เด็กคิด แก้ไขสถานการณ์ในชีวิตจริง ใช้แหล่งความรู้ที่หลากหลายและเชื่อมโยงกับประสบการณ์ชีวิตจริง
ผล น่าเบื่อ ไม่กระตือรือร้นที่จะหาความรู้ เรียนผ่านแล้วก็ลืม สื่อการสอน ครูสมศรีคนเดิม สื่อการสอน - หนังสือเรียน - สอนบนกระดาน - เปิดวิดีโอให้นักเรียนดู - สอนแบบท่องจำ จำให้ได้มากที่สุดเพื่อไปใช้สอบ ผล น่าเบื่อ ไม่กระตือรือร้นที่จะหาความรู้ เรียนผ่านแล้วก็ลืม
สื่อการสอน ครูสมศรีคนใหม่ สื่อการสอน ใช้สื่อการสอนที่ทันสมัยเข้ากับยุคการปฏิรูปการศึกษา 1.วัสดุ (Software or Materials) เช่น หนังสือเรียน หรือตำรา ของจริง ลูกโลก รูปภาพ ป้ายนิเทศ 2.อุปกรณ์ (Hardware or Equipment) เป็นสื่อที่ประกอบด้วยกลไกไฟฟ้า และอิเลคทรอนิกส์ เช่น เครื่องฉายทั้งหลาย เครื่องฉายสไลด์ เครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ เครื่องเล่นจานเสียง และเครื่องบันทึกเสียง ตลอดจนเครื่องสอนและคอมพิวเตอร์ 3.วิธีการ (Technique or Method)การสื่อสารหรือการถ่ายทอดประสบการณ์ ใช้ขบวนการ หรือการแสดงกรรมวิธี คือใช้ทั้งวัสดุ เครื่องมือ และวิธีการไปด้วยกัน มีเทคนิคหรือวิธีการเป็นสำคัญ
ผลที่ได้รับจากการใช้สื่อที่เข้ากับยุคปฏิรูปการจักการการศึกษา 1. ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน 2. ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว 3. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล 4. ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน 5. ช่วยให้สามารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้ 6. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน 7. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนานและไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน