การวิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ เพื่อการใช้งาน ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ จันทร์ลุน
ประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์ สารสนเทศที่สืบค้นได้ สารสนเทศมีจำนวนมาก ประเมิน ได้สารสนเทศที่มีคุณค่านำมาใช้งาน ตรงกับความต้องการ น่าเชื่อถือ วิเคราะห์ รับรู้สารสนเทศแล้วบันทึกสารสนเทศ ผ่านการดู อ่าน ฟัง สังเคราะห์ จัดกลุ่มและสร้างความสัมพันธ์ของสารสนเทศ
การประเมินสารสนเทศ การตรวจสอบว่าสารสนเทศที่ได้มานั้น สามารถตอบคำถามที่ตั้งไว้ได้ ละเอียดครอบคลุมทุกประเด็น มีคำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผลและมี เอกสารอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือเพียงใด เป็นขั้นตอนในการประเมินเพื่อคัดเลือกสารสนเทศ ที่เราได้จาก การสืบค้นที่มีคุณค่า มีความน่าเชื่อถือ ในทางวิชาการ เป็นการ พิจารณาคัดเลือกจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ ทั้งจากห้องสมุด สถาบันบริการสารสนเทศ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
การวิเคราะห์สารสนเทศ การวิเคราะห์ (analysis) หมายถึง การจำแนกแยกแยะองค์ประกอบของสิ่ง ใดสิ่งหนึ่งที่ซับซ้อนออกเป็น ส่วน ๆ เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจว่าสิ่งนั้นทำ มาจากอะไร มีลักษณะ สำคัญและมีองค์ประกอบอะไร องค์ประกอบ เหล่านั้นประกอบขึ้นมาโดยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร และเมื่อ เปรียบเทียบกับองค์ประกอบอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันแล้ว มีความแตกต่างกัน อย่างไร
การวิเคราะห์สารสนเทศ การวิเคราะห์สารสนเทศ (information analysis) หมายถึง กระบวนการทำ ความเข้าใจสารสนเทศทั้งหมดที่ได้จากการคัดเลือกเพื่อจำแนกแยกแยะ สารสนเทศออกเป็นส่วน ๆ และสกัดเอาเฉพาะสารสนเทศที่เด่นและมี ลักษณะเฉพาะออกจากสารสนเทศดังกล่าว โดยยึดเอาความต้องการของ ผู้ใช้ และเกณฑ์การประเมินสารสนเทศเป็นพื้นฐานในการดำเนินการ
การสังเคราะห์สารสนเทศ การสังเคราะห์ (synthesis) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามหลังการวิเคราะห์ หมายถึง การรวบรวมผสมผสานองค์ประกอบที่แตกต่างกันอย่างเป็นระบบ จนกลายเป็นสิ่งใหม่ตามความต้องการ องค์ประกอบเหล่านี้ อาจเป็น ความคิดเรื่องราว หรือสิ่งของก็ได้
การสังเคราะห์สารสนเทศ การสังเคราะห์สารสนเทศ (information synthesis) เป็นการเน้นรายละเอียดของ กิจกรรมที่กระทำว่าเป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการวิเคราะห์สารสนเทศมา ผ่านการเปรียบเทียบกลั่นกรอง ประเมิน อนุมาน และร้อยเรียงเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ในลักษณะใหม่ด้วยความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวอย่างถ่องแท้ เป็นการจัดกลุ่ม สารสนเทศที่มีแนวคิดเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ของสารสนเทศ ตามลำดับ การสังเคราะห์สารสนเทศสามารถนำไปสู่ความสำเร็จของการ ดำเนินงานต่าง ๆ มากมาย เพราะเป็นการเชื่อมโยงความสามารถในการรับรู้จาก ผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ คน
กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ หลังจากสารสนเทศถูกคัดเลือก ผู้ใช้สารสนเทศจะต้องนำสารสนเทศ เหล่านั้นมาตรวจสอบ ประเมิน และคัดสรรเอาเฉพาะส่วนสำคัญและ สอดคล้องกับความต้อง การของผู้ใช้แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ในรูปแบบที่ เหมาะสมตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ กำหนดไว้ กิจกรรมที่กระทำในขั้นตอนนี้สามารถจำแนกได้เป็น 6 ขั้นตอน ตามลำดับดังนี้
กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ 1. รายละเอียดเกี่ยวกับสารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้วิเคราะห์และสังเคราะห์ ทั้ง นี้เพราะผู้วิเคราะห์จะเริ่มกระบวนการวิเคราะห์จากการสันนิษฐานข้อมูล และ บริบทของข้อมูลที่จะใช้วิเคราะห์ก่อน 2. รายละเอียดเกี่ยวกับแบบแผนในการจัดระบบ และการกำหนดหมวดหมู่ของ สารสนเทศในหัวข้อ /สาขาวิชาดังกล่าว เพื่อเป็นเกณฑ์ในการกำหนดหัวข้อในการ วิเคราะห์ วิธีการทำความเข้าใจ
กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ 3. รายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาและบริบทของปัญหา เพราะการวิเคราะห์และ สังเคราะห์สารสนเทศ กระทำขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยแก้ปัญหาในการใช้ สารสนเทศของผู้ใช้ให้ตรงวัตถุประสงค์ 4. รายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่ควรพิจารณา วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ ทรัพยากรที่จะใช้ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ข้อจำกัดของระบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ
กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ 5. รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการในการดึงข้อมูล หรือสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโดยทั่ว ไปมักจะต้องมีเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับเรื่องนั้นเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ เลือก และดึงข้อมูลหรือสารสนเทศ 6. เกณฑ์ในการประเมิน และการตรวจสอบสารสนเทศในแต่ละส่วนที่ดึงออกมา เพื่อเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์และการสังเคราะห์
ขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ การอ่านเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ ที่ผ่านการประเมินแล้วว่า สามารถนำมาใช้งานได้จริงๆ ดึงเนื้อหาของสารสนเทศที่สอดคล้องกับประเด็น แนวคิดต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา ทำการบันทึกเนื้อหาลงใน บัตรบันทึก นำบัตรบันทึกมาจัดกลุ่มตามประเด็นแนวคิด เพื่อใช้ในการเรียบเรียงเนื้อหาต่อไป
รายละเอียดขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ 1. อ่านจับใจความสำคัญของเรื่องที่ต้องการศึกษา 2. พิจารณาเนื้อหาสารสนเทศที่สอดคล้องกับประเด็นแนวคิดต่างๆ ที่ต้องการจะศึกษา 3. บันทึกสารสนเทศที่สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา เช่น - คำสำคัญ หรือแนวคิด - แหล่งที่มาของข้อมูล เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าของแหล่งข้อมูล - ใจความหรือข้อความสำคัญ 4. จัดกลุ่มเนื้อหาให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
รายละเอียดขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ บัตรบันทึกความรู้ การบันทึก เป็นการเขียนเรื่องราว ข้อความ ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับจากการฟัง การอ่าน เพื่อเตือนความจำ หรือศึกษาค้นคว้า บัตรบันทึกความรู้ คือ บัตรแข็งขนาด 5 ”x 8 ” หรือ 4 ”x 6 ” หรือกระดาษรายงาน A 4 พับครึ่งใช้บันทึกข้อมูลที่ ต้องการ ควรจดบันทึกเฉพาะตอนที่จะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาตามหัวข้อ หรือโครงเรื่องที่กำหนดไว้
รายละเอียดขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ บัตรบันทึกความรู้ ส่วนประกอบของบัตรบันทึกความรู้ 1. หัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นคว้า ลงไว้ที่หัวมุมบนขวาของบัตร 2. แหล่งที่มาของข้อมูลให้เขียนตามรูปแบบบรรณานุกรม 3. เลขหน้าเฉพาะของข้อความในส่วนที่ใช้ค้น 4. ข้อความที่บันทึก
รายละเอียดขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ วิธีเขียนบัตรบันทึกความรู้ 1. ใช้หัวข้อเรื่องหรือโครงเรื่องเป็นหลักในการรวบรวมข้อมูลและเนื้อหาของเรื่อง การรวบรวม ให้ทำทีละหัวข้อ 2. บัตรบันทึกแผ่นหนึ่งๆ ใช้บันทึกเนื้อหาเพียงหัวข้อเรื่องเดียว 3. หัวข้อเรื่องเดียวกัน ถ้าบันทึกจากหนังสือต่างเล่มกัน ให้แยกบัตรบันทึกคนละแผ่น 4. หนังสือเล่มเดียวกัน ถ้าบันทึกต่างหัวข้อเรื่องกัน ก็ให้แยกบัตรบันทึก 5. บัตรบันทึกให้ใช้เพียงด้านเดียว ถ้าเก็บเนื้อหาไม่หมด ให้ต่อบัตรใหม่ 6. บัตรบันทึกความรู้อาจเพิ่มเติมหรือจำหน่ายออกได้จนกว่าจะเห็นว่าครอบคลุมเนื้อหาครบ สมบูรณ์
รายละเอียดขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ รูปแบบของบัตรบันทึก
รายละเอียดขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ วิธีเขียนบัตรบันทึกเนื้อหา 1. แบบย่อความ ( Summary Note ) หรือสรุปความ 2. แบบคัดลอกข้อความ ( Quotation Note ) 3. แบบถอดความ ( Paraphrase Note )
รายละเอียดขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ วิธีเขียนบัตรบันทึกเนื้อหา 1. แบบย่อความ ( Summary Note ) หรือสรุปความ 1.1 อ่านเอกสารในหัวเรื่องที่กำลังบันทึกให้ตลอดเสียก่อนเพื่อสำรวจเนื้อหาสาระ และแนวคิดของเรื่อง 1.2 วิเคราะห์เนื้อหาและเก็บประเด็นหรือสาระสำคัญหลักของหัวเรื่องให้ครบถ้วน 1.3 ประเด็นรองหรือรายละเอียดที่เป็นสาระที่สำคัญของแต่ละประเด็น ให้รวบรวม และจัดให้เป็นระเบียบกะทัดรัดไว้ที่ประเด็นนั้นๆ
รายละเอียดขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ วิธีเขียนบัตรบันทึกเนื้อหา 1. แบบย่อความ ( Summary Note ) หรือสรุปความ
รายละเอียดขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ วิธีเขียนบัตรบันทึกเนื้อหา 2. แบบคัดลอกข้อความ ( Quotation Note ) เป็นการบันทึกด้วยการเลือกคัดลอกข้อความ บางตอนที่ต้องการจากต้นฉบับตามตัวอักษรทุกประการ เพื่อใช้ข้อความนั้นสำหรับอ้างอิง เป็นประเด็นใน การวิจารณ์ หรือเป็นตัวอย่างประกอบเรื่องที่เขียน ลักษณะของข้อความที่บันทึกโดยวิธีคัดลอก 2.1 เป็นคำจำกัดความ หรือความหมายของคำ 2.2 เป็นสูตร กฎ หรือระเบียบข้อบังคับ 2.3 เป็นข้อความซึ่งมีเนื้อหาสาระที่หนักแน่น กะทัดรัด ลุ่มลึก เฉียบคม และกินใจ 2.4 เป็นข้อความซึ่งเป็นคติเตือนใจ มีความงามและความไพเราะทางภาษา เช่น สุภาษิต คำพังเพย สุนทรพจน์
รายละเอียดขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ วิธีเขียนบัตรบันทึกเนื้อหา 2. แบบคัดลอกข้อความ ( Quotation Note ) ใส่เครื่องหมายอัญประกาศที่ข้อความ
รายละเอียดขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ วิธีเขียนบัตรบันทึกเนื้อหา 3. แบบถอดความ ( Paraphrase Note ) การบันทึกวิธีนี้ใช้ในกรณีต่อไปนี้ 3.1 ต้นฉบับเป็นร้อยกรอง แต่ต้องการใช้เป็นร้อยแก้ว 3.2 ต้นฉบับเป็นภาษาที่ไม่แพร่หลายคุ้นเคย เช่น ภาษาบาลี ภาษาถิ่น เป็นต้น 3.3 ต้นฉบับเป็นภาษาต่างประเทศ 3.4 การถอดความ ควรพิถีพิถันให้มีคุณภาพ กล่าวคือ สื่อความเข้าใจได้ชัดเจนแจ่ม แจ้ง ใจความถูกต้องและครบประเด็น ใจความตรงความหมายเดิม ใช้ภาษาสละสลวย กะทัดรัดและสำนวนเป็นไทย ๆ ได้บรรยากาศเหมือนของเดิม หรือใกล้เคียงมากที่สุด
รายละเอียดขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ วิธีเขียนบัตรบันทึกเนื้อหา 3. แบบถอดความ ( Paraphrase Note ) ตัวอย่างการบันทึกโดยวิธีถอดความ หัวข้อเรื่องที่ค้นคว้า : ลักษณะกุลสตรีไทย หนังสือที่ใช้ค้นคว้า : หนังสือลิลิตพระลอ. พิมพ์ครั้งที่ 25. โดยองค์การค้าของคุรุสภา. กรุงเทพฯ: 2527, หน้า 9. ข้อความที่จะถอด : โคลงบทหนึ่ง กล่าวถึงพระเพื่อนพระแพงตอบสนองพระพี่เลี้ยงจะออกอุบาย ชักชวนพระลอให้เสด็จมาหาดังนี้ ความคิดผิดรีตได้ ความอายที่เอย หญิงสื่อชักชวนชาย สู่หย้าว เจ็บเผือว่าแหนงตาย ดีกว่า ไส้นา เผือหากรักท้าวท้าว ไปรู้จักเผือ
รายละเอียดขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ วิธีเขียนบัตรบันทึกเนื้อหา 3. แบบถอดความ ( Paraphrase Note ) ตัวอย่างการบันทึกโดยวิธีถอดความ
ขั้นตอนการสังเคราะห์สารสนเทศ จัดกลุ่มสารสนเทศที่มีแนวคิดเดียวกัน ไว้ด้วยกัน นำสารสนเทศที่มีแนวคิดเดียวกันมาจัดกลุ่มอีกครั้ง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ตามลำดับชั้น นำแนวคิดต่างๆ ที่เราได้สร้างความสัมพันธ์ในแต่ละกลุ่ม ของแนวคิด มารวบรวมเป็นโครงสร้างใหม่ ประเมินโครงร่างที่ได้ ครอบคลุมครบถ้วนหรือไม่ กรณีไม่ ครบถ้วน ต้องกลับไปเริ่มที่กระบวนการแสวงหาคำตอบใหม่
ขั้นตอนการสังเคราะห์สารสนเทศ การเขียนแผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (Mind Map)
ขั้นตอนการสังเคราะห์สารสนเทศ Mind Map คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมอง ลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิม ที่เป็นบรรทัด ๆ เรียงจากบนลงล่าง ทำให้สามารถเห็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้ สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า “ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่าง ความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน”
ขั้นตอนการสังเคราะห์สารสนเทศ ขั้นตอนการสร้าง Mind Map 1. เขียน/วาดมโนทัศน์หลักตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ 2. เขียน/วาดมโนทัศน์รองที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์หลักไปรอบ ๆ 3. เขียน/วาดมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์รองแตกออกไปเรื่อย ๆ 4. ใช้ภาพหรือสัญลักษณ์สื่อความหมายเป็นตัวแทนความคิดให้มากที่สุด 5. เขียนคำสำคัญ (Key word) บนเส้นและเส้นต้องเชื่อมโยงกัน 6. กรณีใช้สี ทั้งมโนทัศน์รองและย่อยควรเป็นสีเดียวกัน 7. คิดอย่างอิสระมากที่สุดขณะทำ
ขั้นตอนการสังเคราะห์สารสนเทศ วิธีการเขียน Mind Map 1. เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน 2. วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลาง หน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต 3. คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็น คำที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย บนเส้น ซึ่งเส้นแต่ละเส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง 4. แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำ หรือ วลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา
ขั้นตอนการสังเคราะห์สารสนเทศ วิธีการเขียน Mind Map (ต่อ) 5. แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำ หรือวลีเส้นที่แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อย ๆ 6. การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มี ความหมายชัดเจน 7. คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น 8. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยง ต่อกัน
ขั้นตอนการสังเคราะห์สารสนเทศ การนำไปใช้งาน 1. ใช้ระดมพลังสมอง 2. ใช้นำเสนอข้อมูล 3. ใช้จัดระบบความคิดและช่วยความจำ 4. ใช้วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ 5. ใช้สรุปหรือสร้างองค์ความรู้
ขั้นตอนการสังเคราะห์สารสนเทศ
ขั้นตอนการสังเคราะห์สารสนเทศ
การรวบรวมและเรียบเรียงสารสนเทศ การกำหนดแนวทางในการปรับโครงสร้างลักษณะเนื้อหาของ สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์แล้ว ต้องกำหนดรูป แบบ วิธีการ และภาษาในการนาเสนอให้อยู่ในลักษณะที่ เหมาะสมสอดคล้องกับเงื่อนไข และความต้องการของผู้ใช้ มากที่สุด เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน และ สามารถนำความรู้ที่ได้จากความเข้าใจดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ ได้อย่างเหมาะสม
การรวบรวมและเรียบเรียงสารสนเทศ 1. ขอบเขตเนื้อหา (content extent) อาจพิจารณาได้เป็น 2 มิติ ได้แก่ - ความกว้างของเนื้อหาที่นำเสนอ (breadth) กล่าวคือ เนื้อหาที่ นำเสนอเป็นปัญหาทั่วไป หรือเฉพาะเจาะจง - ความลึกซึ้งของเนื้อหาที่นาเสนอ (depth) หมายถึง การพิจารณาว่า ควรคัดเลือก กลั่นกรอง และสรปุเฉพาะประเด็นสำคัญ หรือนำเสนอข้อมูล ที่เป็นรายละเอียดสมบูรณ์ครบถ้วน
การรวบรวมและเรียบเรียงสารสนเทศ 2.ความซับซ้อนทางวิชาการ (technical sophistication) หมายถึง ระดับความซับซ้อนของเนื้อหาทางวิชาการและระดับความสามารถในการที่ ผู้ใช้จะทำความเข้าใจเนื้อหาแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับต่ำ หมายถึง การแนะนำแนวคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือแง่มุมใด แง่มุมหนึ่งของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และไม่ใช้ศัพท์เทคนิค ระดับกลาง หมายถึง การแนะนำหลาย ๆ แนวคิดของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และใช้ศัพท์เทคนิคบ้าง โดยได้อธิบายความหมายไว้อย่างละเอียด
การรวบรวมและเรียบเรียงสารสนเทศ 2.ความซับซ้อนทางวิชาการ (technical sophisitication) ระดับสูง หมายถึง การนำเสนอแนวคิด หรือแง่มุมที่มีสาระของเรื่องใด เรื่องหนึ่งหลาย ๆ แนวคิดอย่างครอบคลุม และใช้ศัพท์เทคนิคอย่าง กว้างขวาง ระดับสูงมาก หมายถึง การนำ เสนอข้อมูลในลักษณะการอภิปราย ความสัมพันธ์ของหัวข้อต่าง ๆ ที่ค่อนข้างซับซ้อน รวมทั้งการอภิปราย ผลในระยะยาวของความสัมพันธ์เหล่านั้นในระดับนี้ นิยมใชศัพท์ และ แนวคิดต่าง ๆ จากสาขาวิชาอื่น ๆ อย่างเสรี
การรวบรวมและเรียบเรียงสารสนเทศ 3. ระดับความไม่เปลี่ยนแปลงของสารสนเทศและการเพิ่มคุณค่า (degree of invariable and value added) หมายถึง ระดับความคงที่และความสม่ำเสมอของสารสนเทศจากต้น ฉบับที่ ปรากฏในสารสนเทศ เช่น ทัศนคติ ผลการเปรียบเทียบ ผลการ ทดสอบที่ถูกเพิ่มในผลผลิตสารสนเทศรูปแบบใหม่
การรวบรวมและเรียบเรียงสารสนเทศ 4. การเรียงลำดับเนื้อหา (linearity) หมายถึงการพิจารณาความ เปลี่ยนแปลงของลำดับการนำเสนอเนื้อหาเมื่อเปรียบเทียบกับเอกสาร ต้นฉบับ 5. ลักษณะที่เกี่ยวกับเวลา (temporal aspects) หมายถึง การระบุ ลักษณะทางเวลาซึ่งมี 2 มิติ ได้แก่ ความทันสมัย หมายถึง อายุของสารสนเทศที่นำมาใช้ในการประมวลให้ สำเร็จรูป ควรเป็นสารสนเทศใหม่ภายในช่วงเวลาเท่าใด เช่น 6 เดือนถึง 1 ปี หรือ มากกว่านั้น เป็นต้น ความถี่ของการผลิต หมายถึง สารสนเทศมีกำหนดออกอย่างไร
การรวบรวมและเรียบเรียงสารสนเทศ 6. คุณภาพทางบรรณาธิการ (editorial quality) หมายถึง คุณลักษณะที่ เกี่ยวกับรูปแบบ การนำเสนอซึ่งจะทำให้เนื้อหาถูกรสนิยมและง่ายขึ้นหรับผู้ใช้ ซึ่ง ได้แก่ ไวยากรณ์ การสร้างประโยค ความสัมพันธ์ระหว่างคำในประโยค ความชัดเจน และความเป็นระเบียบ ความสมดุล และความแตกต่าง ความต่อเนื่อง และความเชื่อมโยง การออกแบบ คุณภาพของกราฟิก และสี
การรวบรวมและเรียบเรียงสารสนเทศ 7. คุณภาพของสารสนเทศ (information quality) หมายถึง ระดับ ของความถูกต้อง ความสมเหตุสมผล และความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะเกี่ยวข้อง กับการประเมินสารสนเทศ ก่อนที่จะนำมาประมวลให้สำเร็จรูป
ลักษณะการรวบรวมและเรียบเรียงสารสนเทศ 1. การรวบรวมสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากหลายๆ แหล่ง เช่น รายชื่อสิ่งพิมพ์ใหม่ บรรณานุกรม 2. การลดทอน และปรับความยาวของเนื้อหา เช่น สาระสังเขป รายงาน สรปุสำหรับผู้บริหาร 3. การรวบรวมสารสนเทศจากต้นฉบับซึ่งมีรูปแบบพร้อมใช้ (ready-made types) เช่น สาระสังเขปทางสถิติ (statistical abstract) การย่อเรื่อง (summaries) แผ่นโปสเตอร์ และแผ่นปลิว 4. การตรวจสอบ วิเคราะห์ ปรับแต่ง และสังเคราะห์ สารสนเทศจำนวนมากจากแหล่ง สารสนเทศต่าง ๆ แล้วนำมาเปรียบเทียบเพื่อแสดงให้เห็นพัฒนาการ แนวโน้ม 5. การรวบรวมข้อมูล จากสารสนเทศทุติยภูมิแล้วนำมาวิเคราะห์ เปลี่ยนรูปจากสารสนเทศที่ เน้นวิชาการให้อยู่ในลักษณะของการนำเสนอที่ทำให้เข้าใจข้อมูลและตัวเลขได้ง่ายขึ้น เช่น แผนภูมิ ตาราง
ลักษณะการรวบรวมและเรียบเรียงสารสนเทศ 6. การตีความข้อมูล / สารสนเทศเชิงวิชาการ แล้วนำเสนอในรูปแบบที่สั้นกะทัดรัด และเน้น สารสนเทศ ที่เด่นเช่น สรปุนโยบาย ข้อเท็จจริง (fact sheets) 7. การปรับแต่งและการเปลี่ยนรูปสารสนเทศที่มีสาระสำคัญด้านเทคนิคให้อยู่ในลักษณะการอธิบาย วิธีการทำ (how to) หรือในลักษณะที่ผู้ใช้สามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ง่าย เช่น คู่มือ 8. การปรับเปลี่ยนสารสนเทศทั่วๆไป ให้อยู่ในรูปของการนำเสนอข่าวสารทันสมัยแก่ผู้ใช้ เช่น จดหมาย ข่าว แผ่นข่าว(news sheets) และข่าวแจก 9. การแปลสารสนเทศจากภาษาต่างๆ ให้เป็นภาษาสากล เช่น ภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่ผู้ใช้คุ้นเคย 10. การแปลงสารสนเทศเชิงวิชาการให้อยู่ในรูปแบบโสตทัศนวัสดุ ช่น สไลด์ประกอบเสียง วีดิทัศน์ และ การนำเสนอโดยใช้โปรแกรม (power point)
ตัวอย่างการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และรวบรวมเรียบเรียง ผลไม้ไทย 1. ความอุดมสมบูรณ์ของผลไม้ไทย 2. คุณค่าของผลไม้ไทย 2.1 คุณค่าด้านเศรษฐกิจ 2.2 คุณค่าด้านโภชนาการ 3. การเลือกซื้อผลไม้ 4. การเก็บรักษาผลไม้
ตัวอย่างการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และรวบรวมเรียบเรียง 1. วิเคราะห์หัวข้อที่ต้องการนำสารสนเทศมาใช้ มานำเสนอ 2. กำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องโดยการกำหนดหัวข้อย่อยที่เกี่ยวข้อง 3. คัดเลือกแหล่งสารสนเทศ สืบค้น และประเมินสารสนเทศที่สืบค้นได้ 4. วิเคราะห์สารสนเทศที่สืบค้นได้ตามลำดับหัวข้อ 5. สังเคราะห์สารสนเทศที่ผ่านการวิเคราะห์เข้าด้วยกัน 6. เรียบเรียงสารสนเทศที่สังเคราะห์เป็นเนื้อหาพร้อมนำเสนอ
ตัวอย่างการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และรวบรวมเรียบเรียง เช่น หัวข้อการเลือกซื้อผลไม้ ทำการศึกษารายละเอียดจากแหล่งสารสนเทศประเภทต่างๆ จากนั้น ประเมินและวิเคราะห์เนื้อหาตามหัวข้อ เช่น มีหนังสือ เอกสารที่กล่าวถึงการเลือกซื้อผลไม้มี 5 รายการ ให้วิเคราะห์เนื้อหา หัวข้อการเลือกผลไม้มาทั้งหมดว่าแต่ละเล่มว่าอย่างไร นำเนื้อหาที่ได้จากทั้ง 5 รายการมาสังเคราะห์รวมกันเป็นหัวข้อเดียวคือ การ เลือกซื้อผลไม้ ด้วยการเรียบเรียงของเราเอง ทำเช่นนี้กับทุกๆ หัวข้อ หรือเรื่องที่ต้องการศึกษา หรือเรื่องที่ต้องการนำเสนอ
ทักษะในการวิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ หมั่นฝึกสังเกตและสร้างความสงสัย ฝึกนิสัยการไม่พอใจสภาพที่รู้สึกว่าคลมุเครือและหมั่นซักถาม โดยใช้ คำถามเชิงวิเคราะห์ (ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด และเพราะเหตุใด) ฝึกคิดโดยการจำแนกแยกแยะ และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของสิ่ง ต่างๆ อยู่เสมอ ฝึกขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติม
ทักษะในการวิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ ฝึกนิสัยการไม่พอใจสิ่งเดิม คอยแสวงหาสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ (ความรู้ใหม่) ฝึกนิสัยการสะสมข้อมูลเพื่อให้มีวัตถุดิบทางความคิดมากพอที่จะนำ มา ใช้ในการสังเคราะห์สิ่งต่างๆ ฝึกนิสัยการผสมผสาน และเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ ฝึกใจให้เป็นกลาง ไม่มีอคติ เพื่อช่วยในการนำข้อมูลที่ได้จากการ วิเคราะห์มาจัดเรียงเป็นหมวดหมู่อย่างเหมาะสม
งานกลุ่ม: รายงานประจำภาค ให้นักศึกษาส่งตัวแทนไปเลือกหัวข้อทำรายงาน เริ่มลงชื่อได้วันที่ 30 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2560 แฟ้มจะวางที่หน้าห้อง 36-201 ลงชื่อแล้วให้ใส่แฟ้มคืนในตู้ด้วย เลือกหัวข้อก่อน รายละเอียดจะตามมาภายหลัง