การออกแบบแผ่นพับใน การสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร BROCHURE DESIGN การออกแบบแผ่นพับใน การสอน
แผ่นพับ (Brochure) แผ่นพับ หมายถึงสื่อโฆษณาที่เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทไดเร็กเมล (Direct Mail) ที่ผู้ผลิตส่งตรงถึงผู้บริโภค มีทั้งวิธีการส่งทางไปรษณีย์และแจกตามสถานที่ต่าง ๆ ลักษณะเด่นของแผ่นพับคือ มีขนาดเล็ก หยิบง่าย ให้ข้อมูลรายละเอียดได้มากพอสมควร ผู้อ่านสามารถเลือกเวลาใดอ่านก็ได้ ผู้ออกแบบมีเทคนิคการออกแบบตามอิสระ หลากหลาย ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่ำกว่าสิ่งพิมพ์ชนิดอื่น นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่ถึงเป้าหมายได้อย่างแท้จริง - แผ่นพับเป็นเอกสารที่มักใช้ในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ส่งข้อมูลให้สาธารณะไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลในเชิงความรู้ หรือทางการขายสินค้า หรือเพื่อประโยชน์อื่น - การจัดทำแผ่นพับนั้นอาจจะใช้วิธีการ ถ่ายเอกสาร พิมพ์อิงค์เจ็ท พิมพ์เลเซอร์ หรือ การพิมพ์ออฟเซ็ท การพิมพ์ออฟเซ็ท 4 สี ให้คุณภาพสีที่สดสวย
ลักษณะของแผ่นพับ »» มีลักษณะคล้ายแผ่นปลิว »» แต่มีขนาดใหญ่กว่า (เมื่อคลี่ออกมา) »» บรรจุรายละเอียดได้มากกว่าใบปลิว »» มีได้ตั้งแต่ 2-5 ทบ หรือมากกว่านั้น »» มีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าใบปลิว »» วิธีการพับมีหลายแบบ
องค์ประกอบที่สำคัญของแผ่นพับ 1. ปกหน้า logo : ตราสินค้า และชื่อหน่วยงาน หรือบริษัท พาดหัว : ข้อความหลักที่เรียกร้องความน่าสนใจ ภาพ (ปกหน้า) : เป็นภาพที่ใหญ่ และขายเนื้อหาโดยรวม ได้ดีที่สุด และต้องดูดีด้วย เพราะส่วนมากมักใช้ภาพเดียว ข้อความบนปก : เป็นการเลือกข้อความที่กระชับแบบ ย่อ และเป็นใจความ เลือกลงมาวางไว้บนปกหน้า
องค์ประกอบที่สำคัญของแผ่นพับ (ต่อ) 2. หน้าใน + เนื้อหา : ข้อมูลบอกเล่าที่ใช้บอกเกี่ยวกับข้อมูลรายละเอียด ของ สินค้า การบริการ กิจกรรมต่างๆ + ภาพ (หน้าใน) : อาจใช้หลายภาพ ขึ้นอยู่กับนำมาใช้ขยายความในแต่ละกลุ่มช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ และช่วยส่งเสริมในการสร้าง Guide ในการอ่าน ที่ดี
องค์ประกอบที่สำคัญของแผ่นพับ (ต่อ) 3. ปกหลัง + เนื้อหา : อาจใช้เป็นพื้นที่ในการใส่ที่อยู่ ที่ติดต่อ + ภาพ (ปกหลัง) : เป็นภาพอาจใช้ผสมกับ Graphic เพื่อให้ความรู้สึกถึงตัวคาแลคเตอร์ของสินค้า และบริการดังกล่าว
การออกแบบแผ่นพับ การออกแบบแผ่นพับเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากแผ่นพับมีวิธีการพับหลายแบบและไม่มีเลขหน้ากำกับเหมือนกับหนังสือที่จะบังคับให้ผู้อ่าน อ่านไปทีละหน้า ดังนั้นผู้ทำแผ่นพับจึงต้องออกแบบจัดเรียงลำดับการเสนอข้อความและรูปภาพในการโฆษณาให้เหมาะสมกับลักษณะของการพับนั้น ๆ เพราะถ้าออกแบบไม่ดีแล้วจะทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนใจการอ่านได้ง่าย
ขั้นตอนการสร้างแผ่นพับ …» เริ่มแรกก็เปิด Microsoft Word จากนั้นคลิกที่แท็ป Page Layout (เค้าโครงหน้ากระดาษ) …» ตั้งค่าแนวกระดาษให้เป็นแนวนอนที่ Page Layout > Orientation > Landscape (สำหรับคนที่ใช้ภาษาไทย: เค้าโครงหน้ากระดาษ > การวางแนว > แนวนอน) …» จากนั้นตั้งค่าขอบกระดาษที่ Margins > Custom Margins.. (ภาษาไทย: ระยะขอบ > ระยะขอบแบบกำหนดเอง…) …» จากนั้นกำหนดขอบตามรูปครับ เสร็จแล้วคลิก OK (สำหรับของใครที่หน่วยเป็นนิ้ว ดูวิธีเปลี่ยนหน่วยเป็นเซ็นติเมตรได้ ที่นี้) …» หลังจากตั้งค่าหน้ากระดาษ ขั้นตอนต่อไปเป็นการตั้งค่า คอมัมน์ ให้เป็น 3 คอมัมน์ เลือกได้ที่ Columns > Three (ภาษาไทย: คอมัมน์ > สาม)
ขั้นตอนการสร้างแผ่นพับ (ต่อ) …» จากนั้นใส่ข้อมูลหรือตกแต่ง ตามที่ต้องการ โดยเมื่อพิมพ์ ไปเรื่อยๆจนสุดบรรทัดในบริเวณช่องแรกข้อความจะมาอยู่บรรทัดต่อไปเอง เมื่อพิมพ์ไปจนสุดบรรทัดสุดท้าย ข้อความก็จะย้ายไปยังช่องกลางและ เมื่อพิมพ์ไปจนสุดบรรทัดสุดท้ายข้อความก็จะย้ายไปยังช่องถัดไป …» ปกติแผ่นพับจะใช้ 6 ช่อง คือทำเป็น 2 หน้าโดยการกด Enter ไปเรื่อยจนขึ้นหน้า 2 และสั่งปริ้นแบบหน้าหลัง การเรียงลำดับช่องตามรูปภาพครับ ซึ่งควรจะต้องวางแผนหรือวางโครงสร้างของแผ่นพับก่อนค่อยเริ่มทำครับ
แผ่นพับที่นิยมใช้ แผ่นพับ ขนาด A4 1 พับ 2 ตอน 2 หน้า ขนาดกางออก A4 (ซม.) 21.0x29.7 ขนาดสำเร็จ (ซม.) 14.8 x 21.0 จำนวนด้านการพิมพ์ 2 ด้าน จำนวนหน้า 4 หน้า แผ่นพับ ขนาด A4 2 พับ 3 ตอน 2 หน้า ขนาดกางออก A4 (ซม.) 21.0x29.7 ขนาดสำเร็จ (ซม.) 9.9 x 21.0 จำนวนด้านการพิมพ์ 2 ด้าน จำนวนหน้า 6 หน้า
ข้อดีของแผ่นพับ ผลิตและปรับปรุงได้ง่าย เพิ่มโอกาสให้กับการขาย สร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร ลดต้นทุน ลดเวลา ในการตอบคำถาม ประหยัด วงการศึกษามักใช้เผยแพร่โดยการถ่ายเอกสารขาวดำ ขนาดเล็ก พกพาสะดวก ผู้อ่านสามารถอ่านซ้ำได้เมื่อต้องการ นำไปใช้ได้ในหลายวัตถุประสงค์
ข้อควรคำนึง หน้าแรกของแผ่นพับต้องออกแบบให้สวยงาม สะดุดตา และน่าหยิบมาอ่าน จัดเรียงลำดับเนื้อหาให้เหมาะสม เพราะแผ่นพับไม่มีเลขหน้ากำกับ ผู้อ่านอาจ สับสนได้ควรจัดทำโครงร่าง (Layout) การนำเสนอเนื้อหา ภาพ, กราฟิกประกอบ ฯลฯ ควรพับง่ายไม่ซับซ้อน หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นพับที่มีหลายหน้า เพราะจะทำให้อ่านยาก นำเสนอข้อมูลให้จบในแต่ละส่วนที่พับ หากจำเป็นต้องข้ามส่วน ควรออกแบบให้สะดวกหรือต่อเนื่องเข้าใจง่าย ภาพหรือกราฟิกที่ใช้ประกอบ ควรส่งเสริมหรือสอดคล้องกับเนื้อหา ใช้หลักองค์ประกอบศิลป์ ช่วยออกแบบ
จบการนำเสนอ
นำเสนอโดย นายปัณณวัฒน์ เซ็นเยาะ เลขที่ 019 นายปัณณวัฒน์ เซ็นเยาะ เลขที่ 019 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร