การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูล เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารจากต้นทางไปยังปลายทางโดยผ่านช่องทางการสื่อสาร ทั้งสื่อแบบที่ต้องใช้สายและไม่ใช้สายนอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับชนิดของสัญญาณ ประเภทของ การส่งสัญญาณข้อมูล วิธีการสื่อสารข้อมูล ทิศทางการสื่อสารข้อมูล อุปกรณ์แปลงสัญญาณ วิธีการแปลงสัญญาณ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยทั่วไปจะประกอบด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ ช่องทางการสื่อสาร ข้อมูล และอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ นอกจากนั้นยังมีแบบจำลองไอเอสโอ ซึ่งเป็นระบบเปิดเพื่อเป็น แนวทางมาตรฐาน เพื่อให้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างระบบกันทำงานร่วมกันได้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล ก่อนที่จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ การติดต่อสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลและข่าวสารจะผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น ไปรษณีย์ โทรศัพท์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อหลักในการติดต่อสื่อสาร เป็นเวลานาน ยุคแรกการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน การทำงานทุกอย่างจะเป็นแบบรวมศูนย์ นั่นคือจะมี คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องหลักทำงานที่ศูนย์กลาง งานต่างๆจะต้องส่งมาประมวลผลที่ศูนย์กลาง ยุคต่อมา พัฒนาเป็นระบบการประมวลผลทางไกล ซึ่งจะประกอบด้วยเทอร์มินัลที่จะเชื่อมต่อกับ คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลาง ระบบนี้ถึงแม้ว่าจะมีการกระจายการใช้งานของผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกล แต่ ระบบการทำงานก็ยังรวมศูนย์อยู่ที่คอมพิวเตอร์กลางขององค์การอยู่นั่นเอง
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) เมื่อมีการนำไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ทำให้เกิดการทำงานแบบกระจายศูนย์อย่างชัดเจนและ แพร่หลายมากขึ้น ในขณะเดียวกันหากมีงานที่ซับซ้อนและไม่สามารถทำงานได้โดย ไมโครคอมพิวเตอร์ก็สามารถที่จะประมวลผลภายใต้คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลางได้ ซึ่งจะเห็นว่าการ ทำงานดังกล่าวเป็นรูปแบบการประมวลผลแบบกระจาย ในช่วงแรก จะทำงานเป็นเอกเทศโดยเป็นรูปแบบการทำงานแบบกระจายศูนย์ นั่นคือ ไม่มีการ เชื่อมโยงถึงกัน จนกระทั่งเกิดระบบแลน การทำงานใดๆจะทำโดยเจ้าของงานซึ่งเป็นต้นทางของ ข้อมูลเพื่อการประมวลผล แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถเชื่อมโยงกับผู้ใช้ในจุดต่างๆที่อยู่ห่างไกล กันได้ ทำให้การสื่อสารข้อมูลในสำนักงานมีความสะดวกและเป็นเครื่องมือสำคัญของการสื่อสาร ข้อมูลในสำนักงานปัจจุบันนี้
ความหมายของการสื่อสารโทรคมนาคมและการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึง การส่งผ่านสัญญาณ หรือพลังงาน ซึ่ง อาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ระหว่างผู้ส่งและผู้รับที่อยู่ห่างไกลกัน ในการ ส่งผ่านสัญญาณจะอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล ซึ่งจะเป็นแบบใช้สายโดยใช้ลวดตัวนำฉนวน หรือแบบไม่ใช้สายโดยส่งสัญญาณผ่านชั้นบรรยากาศ เช่น การสื่อสารโดยการใช้โทรศัพท์ (tele+phone = การพูดระยะไกล) การแพร่ภาพโทรทัศน์ (tele + vision = การดูระยะไกล) โทรเลข (tele + graph = การเขียนทางไกล) เป็นต้น
ความหมายของการสื่อสารโทรคมนาคมและการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) การสื่อสารข้อมูล (Data communication) หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสาร จากผู้ ส่งต้นทางไปยังผู้รับปลายทางที่อยู่ห่างไกล โดยผ่านช่องทางการสื่อสารเพื่อเป็น สื่อกลางในการส่งข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นแบบใช้สาย หรือไม่ใช้สายก็ได้ ส่วนข้อมูลหรือ ข่าวสารนั้นอาจจะเป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดียก็ได้ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารโทรคมนาคม โดยเน้นการส่งผ่าน ข้อมูล โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นหลัก
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) ข่าวสาร (Message) ตัวกลาง (Medium) โปรโตคอล (Protocol) ซอฟต์แวร์ (Software) ข้อมูล (Data) ข้อความ (Text) รูปภาพ (Image) เสียง (Voice)
ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูล
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการเลือกตัวกลาง อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Transmission Rate) ระยะทาง ระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ ค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ค่าใช้จ่ายประจำ และค่าบำรุงรักษา ความสะดวกในการติดตั้ง บางพื้นที่อาจเหมาะกับการเดินสาย หรือบางพื้นที่อาจจะเหมาะกับสื่อ แบบไร้สาย ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม วิธีที่ใช้ในการสื่อสาร เช่นการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม หรือแบบขนาน ทิศทางที่ใช้ส่งข้อมูลเป็น แบบทางเดียว กึ่งสองทาง หรือแบบสองทาง เป็นต้น
ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) สัญญาณอนาล็อก คือ สัญญาณที่อยู่ในรูปแบบของคลื่น (Waveform) ที่มีความ ต่อเนื่องกัน (Continuous) มีการเปลี่ยนแปลงระดับของสัญญาณขึ้น – ลงตามขนาดของ สัญญาณ (Amplitude) และมีความถี่ (Frequency) ที่เรียกว่า Hertz (Hz) ตัวอย่างของ สัญญาณอนาล็อก เช่น เสียงพูด (Voice) กระแสไฟฟ้าสลับ เป็นต้น
ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) สัญญาณดิจิตอล (digital Signal) สัญญาณดิจิตอล หรือเรียกว่า “สัญญาณพัลซ์ (Pulse Signal)” สัญญาณที่มีระบบของ สัญญาณเพียง 2 ระดับ คือ สูงและต่ำ การเปลี่ยนระดับสัญญาณจะไม่มีความ ต่อเนื่องกัน (Discrete) โดยปกติแล้วระดับสูงจะแทนด้วยตัวเลข 1 และระดับต่ำจะแทน ด้วย 0
ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) ในการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณอนาล็อกนั้นเมื่อระยะทางในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลให้ พลังงานของสัญญาณอ่อนลงเรื่อย ๆ ดังนั้นในการส่งสัญญาณอนาล็อกที่ระยะทางไกล ๆ จึง จำเป็นต้องมีเครื่องขยายสัญญาณ (Amplifier) เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับสัญญาณ แต่ข้อเสียของการ ใช้เครื่องขยายสัญญาณคือจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวน (Noise) ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้วงจรกรอง สัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออก ส่วนสัญญาณดิจิตอลเมื่อเพิ่มระยะทางในการส่งขึ้นจะส่งผลให้สัญญาณดิจิตอลจางหายไป (เปลี่ยนจาก 1 เป็น 0) ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องทวนสัญญาณ (Repeater) ในการกู้ข้อมูลคืน มาแล้วจึงส่งสัญญาณออกไปใหม่
ประเภทของการรับ - ส่งสัญญาณข้อมูล แบบขนาน (Parallel Transmission) รับส่งข้อมูลครั้งละหลาย ๆ บิตพร้อมกัน จำนวนของสายสื่อสารเท่ากับจำนวนบิตของข้อมูลที่ ต้องการส่งไปแบบขนานกัน เสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรม ไม่สามารถส่งไปในระยะทางที่ไกล ๆ ได้เนื่องจากข้อมูลแต่ละบิตอาจจะไปถึงปลายทางไม่พร้อมกัน เร็วกว่าการส่งแบบอนุกรม นิยมใช้ในการรับส่งเพียงใกล้ ๆ เช่นการส่งข้อมูลออกไปพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์เป็นต้น
ประเภทของการรับ - ส่งสัญญาณข้อมูล (ต่อ) แบบอนุกรม (Serial Transmission) รับส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิตเรียงตามลำดับกันไป ใช้สายสื่อสารเพียงเส้นเดียวเท่านั้น สามารถส่งไปได้ในระยะทางที่ไกล ๆ นิยมใช้ในการสื่อสารข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์ เมาส์ และ COM Port
ประเภทของการรับ - ส่งสัญญาณข้อมูล (ต่อ) Asynchronous Transmission เพิ่มบิตควบคุม Start Bit, Stop Bit และ Parity Bit เพื่อใช้แบ่งข้อมูลออกมาเป็น 1 ตัวอักขระ (1 Character) ความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะช้า เนื่องจากต้องมีการเพิ่มทั้ง 3 บิตนั้นลงไป ยังตัวอักขระทุกตัว พบการรับส่งข้อมูลแบบนี้ได้ในอุปกรณ์ที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูล ต่ำ เช่นโมเด็ม คีย์บอร์ด เป็นต้น Synchronous Transmission เพิ่มไบต์ที่เป็น Header Trailer และParity Bit ไว้ที่ส่วนหัวและท้ายของแพ็คเก็ตข้อมูลทำให้ สามารถรับ – ส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งการรับส่งข้อมูลนั้น ทั้งฝั่งรับและฝั่งส่งจะต้อง ทำงานให้สอดคล้องโดยใช้สัญญาณนาฬิกา (Clock) ที่มีความถี่เท่ากันหากใช้ความถี่ไม่ เท่ากันจะทำให้การรับ - ส่งข้อมูลผิดพลาดวิธีนี้จะเหมาะกับระบบที่ต้องมีการรับ – ส่ง ข้อมูลตลอดเวลา
ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล แบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลได้เพียงทางเดียวเท่านั้น ผู้รับไม่สามารถส่งข้อมูลตอบกลับมาได้ เช่น การ กระจายเสียงทางวิทยุและการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ เป็นต้น แบบทางใดทางหนึ่ง (Half-duplex Transmission) แต่ละฝ่ายสามารถรับ – ส่งข้อมูลได้แต่จะไม่สามารถทำได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร ของตำรวจ กระดานสนทนา (Web board) อีเมล์ เป็นต้น แบบสองทิศทาง (Full-duplex Transmission) สามารถรับส่ง – ข้อมูลได้พร้อมกันทั้งสองทาง ตัวอย่างเช่น การคุยโทรศัพท์ การสนทนา ออนไลน์ในห้องสนทนา (Chat Room) เป็นต้น
ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล (ต่อ)
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย (Network) คือ กลุ่มของเทคโนโลยี (ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ตัวกลาง และอื่นๆ) ที่สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้น สามารถติดต่อสื่อสารกัน และเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างกัน และใช้แหล่งข้อมูลร่วมกันแบบ เรียลไทม์ (real time) ในปัจจุบันองค์กรบางองค์กรใช้ระบบรวมศูนย์กลาง คือ ใช้เครื่องเมนเฟรมและเครื่องเทอร์มินัล แต่ในขณะเดียวกันระบบธุรกิจและโรงเรียนจำนวนมากได้เปลี่ยนจากระบบรวมศูนย์กลางเป็น ระบบเครือข่ายแบบใช้เครื่องพีซี เพราะมีความยืดหยุ่นมากกว่าการใช้เครื่องเมนเฟรมร่วมกับ เครื่องเทอร์มินัล
ประโยชน์ของการใช้ระบบเครือข่าย การใช้งานพร้อมกัน ระบบเครือข่ายจะอนุญาตให้ผู้ใช้หลายๆ คนใช้โปรแกรมและข้อมูลต่างๆ ได้ในเวลา เดียวกัน การใช้อุปกรณ์รอบข้างร่วมกัน ระบบเครือข่ายจะอนุญาตให้ผู้ใช้หลายๆ คน ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น การสื่อสารส่วนบุคคล ระบบเครือข่ายสามารถทำให้ผู้ใช้ติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น การสำรองข้อมูลที่ง่ายขึ้น ระบบเครือข่ายสามารถทำให้ผู้ใช้และผู้ดูแลระบบสำรองข้อมูลที่สำคัญได้ง่าย
ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายระยะใกล้หรือเครือข่ายแลน แลน คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กัน เช่น ในแผนกเดียวกัน ใน สำนักงาน หรือตึกทำการเดียวกัน โดยแต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้
ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) เครือข่ายแลนเป็นเครือข่ายสำคัญที่ปรับเปลี่ยนการทำงานภายในสำนักงานให้เป็นระบบ สำนักงานอัตโนมัติ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลมาช่วยอำนวยความ สะดวก ในการทำงานในสำนักงานด้านต่างๆ ได้แก่ - การติดต่อสื่อสารภายในสำนักงาน เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างพนักงาน การนัด หมาย เป็นต้น - การใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน เช่น การใช้แฟ้มข้อมูล หรือ ฐานข้อมูลกลางระหว่างหน่วยงาน การใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น - การทำงานร่วมกัน เช่น การทำงานกลุ่ม เพื่อส่งเอกสารระหว่างสมาชิกในกลุ่ม การประชุม ทางไกล เป็นต้น
ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) ชนิดของเครือข่ายแลน (แบ่งตามการจัดการทรัพยากรของเครือข่ายคอมพิวเตอร์) แบบลูกข่าย/แม่ข่าย (Client/Server) มีแม่ข่าย (Server) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่มักจะใช้ควบคุมการทำงานในเครือข่ายเป็นผู้ให้บริการแก่ คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายแลน - แบบแม่ข่ายกำหนดหน้าที่เฉพาะ (Delicate Server) - แบบแม่ข่ายไม่กำหนดหน้าที่เฉพาะ (Non delicate server) แบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer) คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายมีสถานะเท่าเทียมกันหมด คอมพิวเตอร์แต่ละ เครื่องสามารถเป็นผู้ให้บริการและผู้รับบริการในขณะใดขณะหนึ่ง
ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) เครือข่ายระยะไกลหรือเครือข่ายแวน แวน คือ ระบบเครือข่ายแลนสองระบบเครือข่ายหรือมากกว่าเชื่อมต่อกัน โดยส่วนมากจะ ครอบคลุมพื้นที่กว้าง ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งมีสำนักงานขนาดใหญ่ และฝ่ายการผลิตตั้งอยู่ ที่เมืองหนึ่ง ฝ่ายการตลาดตั้งอยู่อีกเมืองหนึ่ง แต่ละแผนกต้องมีการใช้ทรัพยากร ข้อมูล และ โปรแกรม นอกจากนี้แต่ละแผนกต้องการใช้ข้อมูลร่วมกับแผนกอื่นด้วย จึงต้องมีการระบบแวน
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus Network) ใช้สายสัญญาณต่อเชื่อม ซึ่งเรียกว่า “บัส (Bus)” เป็นทางเดินของข้อมูลร่วมกันระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์โดยสัญญาณจะถูกกระจายไปตลอดทั้งเส้นทาง
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) ข้อดีของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus Network) การใช้สายส่งข้อมูลจะใช้สายส่งข้อมูลร่วมกันทำให้ใช้สายส่งข้อมูล ได้อย่างงเต็มประสิทธิภาพช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการ บำรุง เครือข่ายแบบบัสมีโครงสร้างที่ง่ายและมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจาก ใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว การเพิ่มจุดใช้บริการใหม่เข้าไปในเครือข่ายสามารถทำได้ง่าย เนื่องจากจุดใหม่จะใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) ข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus Network) การหาข้อผิดพลาดทำได้ยาก เนื่องจากในเครือข่ายจะไม่มี ศูนย์กลางในการควบคุมอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง ดังนั้นการตรวจสอบ ข้อผิดพลาดจึงต้องทำจากหลาย ๆ จุดในเครือข่าย ในกรณีที่เกิดการเสียหายในสายส่งข้อมูล จะทำให้ทั้งเครือข่ายไม่ สามารถทำงานได้ เมื่อมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลเมื่อมีกา รับส่งข้อมูล
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ที่ เป็นศูนย์กลางโดยใช้ฮับ (Hub) หรือสวิตช์ (Switch) เป็นจุดเชื่อมต่อและจะเรียกคอมพิวเตอร์ที่ เป็นศูนย์กลางนั้นว่า “โฮสต์คอมพิวเตอร์ (Host Computer)”
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) ข้อดีของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network) เครือข่ายแบบสตาร์จะมีโฮสต์คอมพิวเตอร์อยู่ ที่จุดเดียวทำให้ง่ายในการติดตั้งหรือจัดการ กับระบบ จุดใช้งาน 1 จุด ต่อกับสายส่งข้อมูล 1 เส้น เมื่อเกิดการเสียหายของจุดใช้งานใดใน เครือข่ายจะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของ จุดอื่น ๆ
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) ข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network) เนื่องจากแต่ละจุดจะต่อโดยตรงกับโฮสต์ คอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงต้องใช้สายส่งข้อมูล จำนวนมากทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นใน การติดตั้งและบำรุงรักษา การเพิ่มจุดใหม่เข้าในระบบจะต้องเดินสาย จากโฮสต์คอมพิวเตอร์ออกมาส่งผลให้การ ขยายระบบทำได้ยาก การทำงานขึ้นอยู่กับโฮสต์คอมพิวเตอร์ถ้า โฮสต์คอมพิวเตอร์เกิดเสียหายขึ้นก็จะไม่ สามารถใช้งานเครือข่ายได้
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง (Ring Network) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง มีการต่อเชื่อมกันเป็นวงแหวน (Ring Network) การรับส่งข้อมูลจะ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การติดต่อสื่อสารจะใช้ “โทเค็น (Token)” เป็นสื่อกลางในการติดต่อ ภายในเครือข่าย
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) ข้อดีของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง (Ring Network) ใช้สายส่งข้อมูลน้อย ความยาวของสายส่งข้อมูล จะใกล้เคียงกับแบบบัส แต่จะน้อยกว่าแบบสตาร์ ทำให้เพิ่มความน่าเชื่อถือของการส่งข้อมูลได้มาก ขึ้น เหมาะสำหรับใช้กับเคเบิลเส้นใยแก้วนำแสง เนื่องจากจะช่วยให้ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง ข้อมูลในวงแหวนจะเดินทางเดียว ในการส่งแต่ละ จุดจะเชื่อมกับจุดติดกันด้วยสายส่งข้อมูลทำให้ สามารถเลือกได้ว่าจะใช้สายส่งข้อมูลแบบไหนใน แต่ละส่วนของระบบ เช่น เลือกใช้เคเบิลใยแก้ว นำแสงในส่วนที่ใช้ในโรงงานซึ่งมีปัญหาด้าน สัญญาณ ไฟฟ้ารบกวนมาก เป็นต้น
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) ข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง (Ring Network) การส่งข้อมูลบนวงแหวนจะต้องผ่านทุก ๆ จุดที่ อยู่ในวงแหวน ดังนั้นหากมีจุดใดจุดหนึ่งเสียหาย ทั้งเครือข่ายก็จะไม่สามารถติดต่อกันได้ จนกว่าจะ นำจุดที่เสียหายออกไป หรือแก้ไขให้ใช้งานได้ ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดอาจต้องทดสอบ ระหว่างจุดกับจุดถัดไป เพื่อหาดูว่าจุดใดเสียหาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและเสียเวลามาก ยากต่อการเพิ่มจุดใช้งานใหม่
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) การเชื่อมเครือข่ายแบบผสม (Mesh Network) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบผสม เป็นเครือข่ายที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน เครือข่ายแบบผสมนี้จะใช้ การผสมรูปแบบการเชื่อมต่อหลาย ๆ แบบเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เครือข่ายแบบบัสผสมกับเครือข่าย แบบสตาร์ เป็นต้น
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Network) เริ่มแรกนั้นสามารถรับส่งข้อมูลได้ 2 Mbps (Megabits per Second) จนพัฒนาให้สามารถส่ง ข้อมูลได้ 11 Mbps ด้วยราคาที่ถูกลง ทำให้เครือข่ายไร้สายได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งเครือข่ายไร้ สายนี้จะใช้เทคโนโลยีที่สามารถส่งข้อมูลไปบนความถี่ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ ซึ่งเรียกว่า “Spread Spectrum” โดยข้อมูลที่แยกส่งออกไปนั้นจะประกอบกันเหมือนเดิมที่ ตัวรับสัญญาณ เครือข่ายไร้สายจะช่วยอำนวยความสะดวกและความคล่องตัวในการใช้งานเครือข่าย ไม่ว่า จะอยู่ที่ไหนภายในบริเวณพื้นที่ของเครือข่ายก็สามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้ข้อมูลได้อย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับเครือข่ายปกติ
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Network)
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Network)
อุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices) อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater) อุปกรณ์ทวนสัญญาณทำงานใน Layer ที่ 1 ของ OSI Model เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณ ดิจิตอลเข้ามาแล้วสร้างใหม่ (Regenerate) ให้เป็นเหมือนสัญญาณข้อมูลเดิมที่ส่งมาจากต้นทาง จากนั้นค่อยส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น โดยที่สัญญาณ ไม่สูญหาย
อุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices) (ต่อ) ฮับ (Hub) Hub ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย จะมี “พอร์ต (Port)” ใช้เชื่อมต่อระหว่าง Hub กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ เครือข่ายตัวอื่น ๆ Hub จะทวนสัญญาณและส่งต่อข้อมูลนั้น ออกไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่กับ Hub
อุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices) (ต่อ) บริดจ์ (Bridge) บริดจ์ ทำงานใน Layer ที่ 2 ของ OSI Mode ใช้เชื่อมต่อ Segment ของ เครือข่าย 2 Segment หรือมากกว่าเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็น เครือข่ายที่ใช้ Data Link Protocol ตัวเดียวกัน และ Network Protocol ตัว เดียวกัน เช่น ต่อ Ethernet LAN (ใช้ Topology แบบบัส และใช้ โปรโตคอล Ethernet) 2 Segment เข้าด้วยกัน Bridge สามารถกรองข้อมูลที่จะส่งต่อได้ โดยตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ ส่งนั้นมีปลายทางอยู่ที่ใด ทำให้สามารถจัดการกับความหนาแน่น ของข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
อุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices) (ต่อ) เราเตอร์ (Router) เราเตอร์ ทำงานใน Layer ที่ 3 ของ OSI Model ใช้เชื่อมต่อเครือข่าย 2 เครือข่ายหรือมากกว่าเข้าด้วยกัน โดยที่เครือข่ายนั้นจะต้องใช้ Network Protocol ตัวเดียวกัน แต่ใช้ Data Link Protocol ต่างกันได้ (ต่อ Ethernet LAN เข้ากับ Token LAN ได้) Router สามารถกรองข้อมูลได้ เช่นเดียวกับ Bridge และสามารถหาเส้นทางในการส่งแพ็คเก็ตข้อมูล ไปยังเครื่องปลายทางได้สั้นที่สุดด้วย
OSI Model (Open Systems Interconnection Model) หน่วยงานกำหนดมาตรฐานสากล หรือ ISO ระบุว่าควรแบ่งโปรโตคอลออกเป็น 7 เล เยอร์ (Layer) และในแต่ละเลเยอร์ควรมีหน้าที่อะไรบ้าง ดังนั้นเมื่อบริษัทต่าง ๆ ได้ผลิต โปรโตคอลใหม่ขึ้นมา ก็ออกแบบให้สอดคล้องกับ OSI Model นี้เพื่อให้สามารถ ติดต่อสื่อสารกับระบบของต่างบริษัทได้
OSI Model (Open Systems Interconnection Model) (ต่อ) Application Layer ประกอบไปด้วย Application Protocol ต่าง ๆ ที่มีผู้นิยมใช้ งาน เช่น E-mail, File Transfer เป็นต้น Presentation Layer จัดการเกี่ยวกับรูปแบบของข้อมูลโดยการแปลงข้อมูลให้อยู่ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานที่ทุกเครื่องเข้าใจ Session Layer สร้างการเชื่อมต่อเชิงตรรกะระหว่างเครื่องสองเครื่อง ทำ การ Synchronize ข้อมูลเพื่อป้องกันปัญหาการเชื่อมต่อหลุด Transport Layer ตัดข้อมูลออกเป็น segment ตรวจสอบความครบถ้วน ให้บริการเรื่องคุณภาพ Network layer แปลงข้อมูลเป็น packet และกำหนดเส้นทาง Data Link Layer อธิบายการส่งข้อมูลไปบนสื่อกลาง เพิ่ม Header และ Trailer เพื่อใช้ในการตรวจสอบต่าง ๆ Physical Layer ทำหน้าที่ดูแลการส่งข้อมูลที่เป็น Bit ไปในช่องทางการ สื่อสาร
โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอล คือ ระเบียบวิธีการ กฎ และข้อกำหนดต่าง ๆ ใน การติดต่อสื่อสารรวมถึง มาตรฐานที่ใช้เพื่อให้สามารถ ส่งผ่านข้อมูล ไปยังปลายทางได้อย่าง ถูกต้อง
โปรโตคอล (Protocol) (ต่อ) TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) โปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันใช้ ระบบปฏิบัติการที่ต่างกันและอยู่บนเครือข่ายที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันผ่านทาง เครือข่ายได้โดย TCP/IP จะประกอบไปด้วยโปรโคตอล 2 ตัว TCP (Transmission Control Protocol) และ IP (Internet Protocol)
โปรโตคอล (Protocol) (ต่อ) HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) โปรโตคอลที่ใช้ในการส่งเว็บเพจ (Web Page) ที่อยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาให้เครื่องไคลเอ็นท์ที่ทำ การร้องขอไปทำให้ผู้ใช้งานสามารถท่องไปในเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกได้ FTP (File Transfer Protocol ) โปรโตคอลที่ใช้ในการส่งโอนไฟล์ข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์โดยจะเรียกการโอนไฟล์จากเครื่อง เซิร์ฟเวอร์มาที่เคลื่อนไคลเอ็นท์ว่า “Download” และเรียกการโอนไฟล์จากเครื่องไคลเอ็นท์ไปไว้ที่ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ว่า “Upload”
โปรโตคอล (Protocol) (ต่อ) SMTP (Simple Mail Transport Protocol) โปรโตคอลที่ใช้ในการส่ง E-mail ไปยัง Mailbox ที่จุดหมายปลายทาง POP3 (Post Office Protocol – 3) โปรโตคอลที่ใช้ในการดึง E-mail จาก Maibox ของผู้ให้บริการมาเก็บไว้ที่เครื่องตนเอง เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการับ E-Mail
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ Videoconference เป็นการรวมเทคโนโลยี 2 อย่าง เข้าไว้ด้วยกัน นั่นคือ เทคโนโลยีวีดีโอและเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ จุดประสงค์ของการใช้เทคโนโลยี Videoconference นั้นเพื่อสนับสนุนการประชุม ทางไกลเป็นหลัก Videoconference เป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้อุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมการ์ด เสียง กล้องถ่ายวีดีโอขนาดเล็ก ไมโครโฟน ลำโพง (หรือหูฟัง หรือ Head-Set) และต้องมีโปรแกรม ที่ใช้ควบคุมการรับส่งข้อความ ภาพ และเสียง ตลอดจนไฟล์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ผู้ร่วมประชุมเห็นภาพและได้ยินเสียงของผู้ร่วมประชุมคนอื่น ๆ ได้
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ) Voice Mail Voice Mail เป็นเทคโนโลยีที่ทำหน้าที่คล้ายกับเครื่องตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ โดยบันทึกเสียง ของผู้พูดไว้ใน Voice Mailbox ของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยสัญญาณดิจิตอล ภายใน Voice Mailbox นี้สามารถแบ่งเป็นโฟลเดอร์ย่อย ๆ ให้ผู้ใช้แต่ละคนได้ ทำให้สามารถเรียกข้อความขึ้นมาฟังตอบกลับหรือส่งต่อข้อความ ไปถึงผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้และหากต้องการส่งข้อความไปถึงผู้รับ พร้อมกันหลายคนก็สามารถทำได้
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ) Fax ข้อมูลอาจเป็นข้อความที่พิมพ์ขึ้นหรือเขียนขึ้นด้วยมือ และอาจจะมีรูปภาพด้วยก็ได้ ผู้ใช้สามารถ เลือกใช้เครื่องแฟ็กซ์ หรือจะใช้คอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้งแฟ็กซ์/โมเด็มเป็นอุปกรณ์สื่อสารก็ได้ ผู้ใช้สามารถดูข้อความหรือรูปภาพผ่านทางหน้าจอได้ทันทีไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมาเป็นเอกสาร นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้เป็นไฟล์ได้
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ) Group Ware Group Ware คือ โปรแกรมที่ช่วยสนับสนุนให้มีการแบ่งปัน สารสนเทศผ่านทางเครือข่าย (LAN และ WAN) โดย GroupWare เป็นองค์ประกอบของแนวความคิดอิสระที่เรียกว่า “Workgroup Computing” ซึ่งประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ของเครือข่ายซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมงานทุกคนสามารถสื่อสารถึงกัน และร่วมกันจัดการโครงการต่าง ๆ ร่วมประชุมตาม หมายกำหนดการตลอดจนร่วมกันตัดสินใจเป็นกลุ่มได้
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ) Collaboration Collaboration เป็นความสามารถของซอฟต์แวร์แต่ละชนิดที่ทำให้ผู้ใช้งานทำงานร่วมกันได้โดย ต่อเชื่อมถึงกันผ่าน Server เช่น โปรแกรม Microsoft Office XP ที่สามารถปฏิบัติงานหรือติดต่อ งานร่วมกับผู้อื่นได้และมีความสามารถในการควบคุมการประชุมแบบออนไลน์ (Online Meeting) เช่น สามารถแบ่งปันไฟล์เอกสารให้กับผู้อื่นได้เปิดอ่านพร้อมกันและถ้ามีใครซักคนเปลี่ยนแปลง ข้อมูลไฟล์คนอื่น ๆ ที่กำลังเปิดไฟล์อยู่ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วย เป็นต้น
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ) EDI (Electronic Data Interchange) EDI คือ การแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้าในรูปแบบมาตรฐานสากล จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยระบบ EDI จะมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 2 อย่าง คือ การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทน เอกสารที่เป็นกระดาษและเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ต้องอยู่ในรูปแบบ มาตรฐานสากลด้วยสององค์ประกอบนี้ให้ทุกธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยนเอกสารกันได้ทั่ว โลก
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ) GPS (Global Positioning System) ระบบ GPS ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของ GPS Receiver (อุปกรณ์รับสัญญาณ) ผ่านทางดาวเทียม ปัจจุบันนี้ได้มีผู้นำระบบ GPS ไปประยุกต์ใช้มากมาย ตัวอย่างเช่น การป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สิน การนำร่องเรือ เดินสมุทร การควบคุมการบินอัตโนมัติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ผู้นำไปใช้ในโครงการวิจัยสัตว์ป่า โดยฝัง GPS Receiver ไว้ที่ในตัว สัตว์ (GPS Receiver จะถูกออกแบบและสร้างมาให้เล็กเป็นพิเศษ) เพื่อ เฝ้าสะกดรอยตาม หรือหากนำไปฝังไว้ในตัวนักโทษก็จะทำให้ การติดตามจับกุมนักโทษแหกคุกทำได้ง่ายขึ้น
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ) ตัวอย่างบริการบนอินเตอร์เน็ต (Internet) E-mail Telnet Gopher, Archie Instant Messaging, Chat Room Internet Telephony Newsgroup USENET
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ) อินเตอร์เน็ต (Internet) อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งเกิดจากการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ จำนวนมากเข้าไว้ด้วยกันทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นชนิดใดหรือขนาดใดตาม สามารถส่งผ่านและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศซึ่งกันและกันได้ โดยใช้โปรโตคอลเป็น สื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันเหมือนเส้นใยแมงมุม หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า “เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web: WWW)”
อดิศร ศัตรูพินาศ เลขที่37 ม.6/3 จัดทำโดย อดิศร ศัตรูพินาศ เลขที่37 ม.6/3